การขออโหสิกรรมคืออะไร และมีขั้นตอนอย่างไร ?

อโหสิกรรม คือ กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมในภพชาติต่อๆ ไปการขออโหสิกรรม คือ การขอโทษในสิ่งที่ตนทำผิดต่อผู้อื่นด้วยใจจริง การให้อโหสิกรรม คือ การให้อภัยต่อความผิดพลาดพลั้งที่ผู้อื่นกระทำต่อตน

คำว่า อโหสิกรรม มาจากคำ 2 คำ คือ 
อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า “ได้มีแล้ว” หมายความว่า ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว 
กรฺม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การกระทำ หมายถึง การกระทำที่มีเจตนา 
แปลรวมกันว่า กรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป 

ด้านดีของการอโหสิกรรม

ตามหลักพระพุทธศาสนา เชื่อว่า  

1) กรรมเบาบาง อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น สำเร็จในชีวิตนี้ และส่งผลชีวิตหน้า 

บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้น จะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า 

แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้ หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม 
นั่นคือ ในฐานะที่ชาวพุทธ เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่น ก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

2) อานิสงส์สูง เพราะละการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ยกระดับก้าวสู่มรรคผลนิพพาน

อโหสิกรรมหรืออภัยทาน-สามารถทำได้จากความเมตตาที่มีอยู่เพียงพอในจิตใจ จึงมีอานิสงส์ใกล้เคียงกับธรรมทาน ที่ถือว่ามีอานิสงส์สูง เพราะเป็นการให้ปัญญา-แสงสว่างเพื่อพัฒนาจิตใจของผู้อื่นให้ก้าวหน้าไปสู่มรรค-ผล-นิพพานในที่สุดต่อไปตามวาสนาบารมีแห่งตน


ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการตัดอัตตา-ตัวตน การยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความทุกข์กับคนทุกคน ถ้าเรายกโทษ ไม่เอาโทษให้ผู้อื่นได้ เท่ากับเราได้สละตัวตนเราออกไปแล้ว เป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้เราและผู้อื่นที่เรายกโทษให้เขา ได้ก้าวขึ้นไปสู่อริยมรรค-อริยผล-และพระนิพพานในอนาคตได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น

วิธีการขออโหสิกรรม 

1) ด้วยการอโหสิร่วมกัน ต่างฝ่ายต่างเอ่ยให้อีกฝ่ายรับรู้ด้วยใจ 

ยิ่งทั้งสองฝ่าย มีความหนักแน่น จิตใจคิดอโหสิอย่างบริสุทธิ์ใจเท่าไหร่ ก็ยิ่งขาดจากเวรได้เด็ดขาดเท่านั้น  

2) ด้วยการอาศัยสัจจวาจาในการทำบุญร่วมกัน 

คือ เมื่อทำบุญใหญ่ร่วมกันแล้วอ้างบุญใหญ่ที่ทำร่วมกันว่า ทำด้วยใจมีไมตรีต่อกัน ขอให้อานิสงส์ จงช่วยล้างเวรภัยระหว่างกัน หากกำลังบุญนั้นถึงพร้อม (เช่น ถวายสังฆทานกับพระอริยสงฆ์) ก็จะทำให้เกิดความอบอุ่น เบิกบานใจร่วมกัน โดยผ่านพ้นแรงอาฆาตเก่า ๆ ได้ จะรู้สึกกันเดี๋ยวนั้นว่า หมดภัยหมดเวรต่อกันแล้ว

3) ด้วยขอโทษ และมีการยกโทษให้จากใจจริง

เมื่อเกิดการประพฤติล่วงเกินผู้อื่นด้วยกาย วาจา หรือใจ แล้วไปขอให้ผู้ที่เราประพฤติล่วงเกินยกโทษให้ เมื่อท่านยกโทษให้แล้วก็ถือว่ากรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม ไม่ให้ผลอีกต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า 

ความจริงใจในการอโหสิกรรม

ความสำคัญของความสมัครใจ ความจริงใจที่จะอโหสิกรรมให้กันนั้น อยู่ที่ความคิดขออภัย ให้อภัย ไม่จองเวรซึ่งกันและกัน ซึ่งพึงระวัง เนื่องจากว่า โดยมากนั้น มักจะเป็นการขออโหสิแบบมีมานะ หรือเจือด้วยโทสะแฝงในใจลึก ๆ บางท่านเจตนาขออภัย ขออโหสิจริง ๆ แต่แล้วในวันหนึ่ง เกิดคิดเล็กคิดน้อยขึ้นมาอีกแบบอดไม่ได้ตามประสาปุถุชน จึงมีผลให้การอโหสิกรรมนั้นให้ผลไม่เต็มที่ สามารถขออโหสิกรรมจากได้จากทุกคน 

อ่านบทความแนะนำ เกี่ยวกับ การแก้กรรม ควรจะแก้อย่างไรให้ถูกต้อง และได้ผลจริง !!

อ่านบทความแกี่ยวกับ ตัดกรรม

คำขอขมาและอธิษฐานจิต (สำหรับอธิษฐานหน้าพระพุทธรูป หรือสวดก่อนนอน)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินบิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วยกาย วาจา ใจ

ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมา ข้าพเจ้าขออนุญาตมีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐาน คำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีตขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระ ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร ขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัว ตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใด ๆ โรคภัยใด ๆ ขอให้มลายสิ้นไป ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม ตั้งแต่บัดนี้จนตราบเข้าสู่นิพพานเทอญ

ข้าพเจ้าขอถอนคำสัญญา คำสาบาน คำอธิษฐาน ที่ผูกมัดตัวเองและผู้อื่น ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระจากสัญญาทั้งปวง (หากข้าพเจ้าหมดอายุแล้ว ข้าพเจ้าขออยู่ต่อเพื่อสร้างบารมี) หากมีผู้ใดเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความอาฆาต ความพยาบาท และคำสาปแช่งในทุกชาติ ทุกภพ ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชนของเจ้ากรรม ขอให้พ้นจากนรกภูมิ และพบแสงสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม

สำหรับท่านใดที่ไม่มีเวลาในการหาซื้อสิ่งของที่ใช้ในการขออโหสิกรรม เนื่องจากบิดามารดานั้นถือว่าเป็นพระอรหันของบ้านในการขอขมาลาโทษต่างๆนั้น นอกจากความตั้งใจและจริงใจในการขอขมาแล้ว ของที่ใช้ขอขมานั้นก็สำคัญด้วยเพื่อแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องซื้อของแพงเสมอไป แต่การเลือกซื้อของที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพนั้นก็แสดงให้เห็นถึงความใสใจได้ ทำให้บุพการีนั้นเกิดปิติสุข น้อมสำนึกในความผิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกายวาจาใดๆที่เคยล่วงเกินท่าน ไม่ว่าจะต่อหน้าและลับหลังก็ตาม สิ่งของคุณภาพเหล่านั้นสามารถค้นหาได้ที่ www.dharayath.com และยังสามารถเลือกซื้อสินค้าได้เลยจากทางเว็บไซต์ หรือสามารถอ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้

สังฆทาน

ชุดบรรเทากรรมด้วยกรรมที่สร้างมาทำให้ทุกกาย ทุกใจ ปัญหารุมเร้า จึงอยากตัดขาดจากเวรกรรม (อโหสิกรรม)

เชิญดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ชุดผ้าไตร

ชุดผ้าไตรจีวร ตัดเย็บประณีต ฝีเข็มคู่ ถูกต้องตามพระธรรมวินัย พร้อมดอกบัวขาว

เชิญดูรายละเอียดเพิ่มเติม