ผ้าไตร สีราชนิยม มีลักษณะอย่างไร ใช้กับพระสงฆ์มหานิกายหรือธรรมยุต

ผ้าไตร สีราชนิยม

ผ้าไตร สีราชนิยม หรือ ผ้าไตร สีพระราชทาน หรือ ผ้าไตร สีพระราชนิยม มีชื่อเรียกกันหลายอย่างและส่วนมากเป็นสีที่พบมากและส่วนมากพระจะนิยมครองผ้าสีนี้ในงานพิธีต่างๆ เช่น ประเพณีงานบวช ซึ่งหลายท่านยังไม่ทราบว่าวัดที่บวชนั้นเป็น มหานิกาย หรือ ธรรมยุต และทำให้สับสนในในการเลือกซื้อถวาย หรือ นำไป ถวายสังฆทาน ต่าง ๆ เพื่อทำให้บุญให้ผู้ล่วงลับ   บทความแนะนำ ถวายสังฆทาน เพื่อให้ผู้ล่วงลับ ต้องเลือกซื้ออย่างไร ? บทความแนะนำ ผ้าไตร 5 ขันธ์ ผ้าไตร 9 ขันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไร ? ผ้าไตรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ผ้าไตรจีวร โดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ 1.  ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย – จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม – สบง : […]

สังโยชน์ 10 คืออะไร กิเลสที่ผูกมัดจิตใจมนุษย์

สังโยชน์ 10

สังโยชน์ 10 ข้อ  สำหรับผู้ที่ฝึกปฏิบัติเพื่อสร้างความสงบบรรรลุมรรคผลนั้นจะเจอข้อผูกมัดจากกองกิเลสเหล่านี้ทำให้เกิดความท้อถอยและสงสัยลังเลในธรรม  สังโยชน์ คืออะไรและมีอะไรบ้าง คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่ 1. สักกายทิฏฐิ – มีความเห็นว่าขันธ์ 5 คือตัวตน 2. วิจิกิจฉา – มีความสงสัยลังเลในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3. สีลัพพตปรามาส – มีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือการถือข้อปฏิบัติที่ผิด 4. กามราคะ – มีความพอใจในกามคุณ 5. ปฏิฆะ – ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่ 6. รูปราคะ – มีความพอใจในรูปสัญญา 7. อรูปราคะ […]

นิพพาน คืออะไร จุดมุ่งหมายแห่งการดับกองทุกข์

นิพพาน

นิพพาน เป็นอย่างไรและคืออะไร รวมถึงมีสภาพเป็นอย่างไร สร้างความสงสัยให้กับผู้ปฏิบัติเป็นอย่างมาก เกิดคำถามมากมายกับการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเป็นสภาพอย่างไร แต่สิ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายเป็นสิ่งที่สำคัญของนิพพานคือ การหลุดพ้นจาก นิวรณ์ หรือกองทุกข์กิเลส ที่มีอยู่ในขันธ์ 5 ที่เรายึดถือยึดมั่น และนำมาเป็นเหตุการเกิดดับไม่มีที่สิ้นสุด แต่นิพพาน มีจุดมุ่งหมายเดียวคือ ก้าวพ้นแห่งหความทุกข์ ไม่กลับมาเกิดในวัฏฏะสังสารนี้อีกต่อไป   นิพพาน คืออะไร มีความหมายอย่างไร “นิพพาน” ประกอบด้วยศัพท์ นิ(ออกไป, หมดไป, ไม่มี) +วานะ(พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยร้อย คำว่า “วานะ” เป็นชื่อเรียกกิเลสตัณหา โดยสรุป นิพพานก็คือไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ คัมภีร์พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน ๒ ประเภท คือ (๑) สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีเชื้อเหลือ หรือนิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ ในวงการนักธรรม แปลว่า “ดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ” (๒) อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีเชื้อเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ ในวงการนักธรรม […]

ผ้าไตร 7 ชิ้น มีอะไรบ้าง ไตรครอง ไตรเต็ม ไตรจีวร ต่างกันหรือไม่ มีคำตอบ

ผ้าไตร 7  ชิ้น

ผ้าไตร 7 ชิ้น มีอะไรบ้าง หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบ รวมถึง ไตรครอง ไตรเต็ม ไตรจีวร นั้นมีความหมายในการเรียกแตกต่างกันอย่างไร ทำให้เวลาเลือกซื้อสำหรับถวายสังฆทาน เพื่อทำบุญให้ผู้ล่วงลับ หรือ งานบวช นั้นอาจจะมีความสับสนได้ บทความแนะนำ ถวายสังฆทาน เพื่อให้ผู้ล่วงลับ ต้องเลือกซื้ออย่างไร ? ผ้าไตร 7 ชิ้น มีอะไรบ้าง ไตรครองผ้าไตรครบชุด (7 ชิ้น) ประกอบด้วย ผ้าสบงขัณฑ์, ผ้าจีวร, ผ้าพาดบ่าหรือสังฆาฏิ (2 ชั้น), อังสะ, รัดประคด, ผ้ารัดอก ผ้ารับประเคนหรือผ้ากราบ ผ้าไตรแต่ละประเภทใช้สำหรับอย่างไรบ้าง ผ้าไตรชุดใหญ่ ใช้สำหรับการบวชพระ ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย ใช้ในการบวชพระ ฝ่ายธรรมยุตหรือเราเรียกว่าวัดป่านั้นต้องเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 9 ขันธ์ ที่มีสังฆาฏิ 2 ชั้น ประกอบด้วย7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 2 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ […]

วิปัสสนากรรมฐาน คืออะไร ปฏิบัติอย่างไร การรู้แจ้งในธรรม

วิปัสสนากรรมฐาน

วิปัสสนากรรมฐาน เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่นั่งสมาธิที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจเห็นสภาวะของธรรมชาติหรือธรรมะตามความเป็นจริง นำไปสู่การเกิดปัญญาทางธรรมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น อริยสัจสี่ หรือ สติปัฏฐฐานสี่ ล้วนแล้วต้องใช้ปัญญาที่ฝึกฝนมาจากสมาธิที่สร้างปัญญาแบบไม่มีมิจฉาทิฐิ เช่น เห็นตามความเป็นจริง ก็การเกิด ดับ เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องพบเจอ วิปัสสนากรรมฐาน คืออะไร วิ แปลว่า แจ่มแจ้ง แตกต่างจากและวิเศษกว่าการหยั่งรู้โดยโลกวิธี ปัสสนา แปลว่า การเห็น คือ การหยั่งรู้ด้วยปัญญา ซึ่งเกิดจากวิปัสสนาวิธี กรรม แปลว่า การกระทำ คือ การกระทำด้วยใจอัน ประกอบด้วยความเพียร สติ สัมปชัญญะ ตามวิธี การ ฐาน แปลว่า การงาน คือ สิ่งที่ตัวกระทำ ได้แก่ ใจเข้าไปกำหนดเพื่อความรู้แจ้ง วิปัสสนากรรมฐาน คือ การเพียรใช้สติ สัมปชัญญะ เข้าไปกำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายและใจเพื่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้อย่าง “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 นี้ที่บุคคลลงมือปฏิบัติเต็มที่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับสนิท เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อพระนิพานโดยส่วนเดียว” ขอบคุณจากเพจ https://www.banpisan.com หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทำอย่างไร […]

สมถะ คืออะไร ต่างจากวิปัสนากรรมฐานอย่างไร

สมถะ

สมถะ เป็นการฝึกสมาธิให้เกิดใจสงบ  ให้นิ่ง และเป็นผลต่อเนื่องนำไปสู่การเข้าสู่ฌาณตามลำดับ หลายท่ายยังสงสัยว่าทำไมต้องทำสมถะก่อน หรือ ต้องวิปัสนาก่อน อะไรก่อนแน่ หลายที่สอนไม่เหมือนกัน แล้วทำไมถึงต้องทำ สมถะในการนั่งสมาธิ สมถะ คืออะไร สมถะ คือ การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์  ซึ่งตามความหมายแล้วเป็นการทำให้จิตที่ฝึกนั่งสมาธิเกิดความนิ่ง ไม่สับสน หรืออึดอัด ขอบคุณจากเพจ https://www.sanook.com/ เหตุใดถึงต้องนั่งสมาธิแล้วมักให้ฝึกสมถะก่อน ในความเป็นจริงแล้ว จะฝึกวิปัสนากรรมฐานก่อนก็ได้ หรือ สมถะก่อนก็ได้ เพราะขึ้นอยู่กับพื้นฐานของจิตแต่ละคน บางคนมีจิตสมาธิดีมาตั้งแต่เด็กเรียนเก่ง การทำสมาธิก็จะมักไปด้านวิปัสนาเร็ว สภาพจิต โดยธรรมชาติแล้วมักจะไม่นิ่ง เพราะได้รับรู้ผ่านอายตนะตลอดเวลาได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้รับ แสง สี เสียง สัมผัส กลิ่น รส ตลอดเวลาทำให้การที่จะให้ใจเป็นสมาธินั้นยาก  เหมือนลิงที่กระโดดไปมาตลอด เวลานั่งสมาธิก็มักจะรำคาญ อึดอัด คิดโน่นคิดนี่ ไม่สงบ ทำให้การเข้าถึงวิปัสนาเป็นไปได้ยาก ดังนั้น พระอาจารย์หลายท่าน มักจะแนะนำการฝึกสมาธิให้เกิดสมถะเสียก่อน […]

โพชฌงค์ 7 ธรรมะแห่งการตรัสรู้คืออะไรและมีอะไรบ้าง

โพชฌงค์ 7

โพชฌงค์ 7 ธรรมะแห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นธรรมะที่ประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่ผ่านมาก็จะมีธรรมะ โพชฌงค์เป็นเครื่องธรรมะหรือหลักธรรมในการตั้งไว้ของการเข้าสู่การตรัสรู้ และหลายท่านคงเคยได้ยินบทสวดที่ชื่อว่า โพชฌังคปริตร ที่เป็นการเอาหลักธรรมแห่งปัญญาที่เป็นเครื่องแห่งการตรัสรู้ มาท่องและยังมีความเชื่อว่าผู้ใดได้สวดจะทำให้โรคภัยไข้เจ็บจะหายไป “7 ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ” โพชฌงค์ 7 ธรรมะแห่งการตรัสรู้คืออะไร คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่าง สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์ อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) […]

สังฆทาน คือ อะไรและมีความหมาย รวมถึงมีกี่ประเภท

สังฆทาน คือ

หลายท่านในวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนา มักจะชวนกันไปทำบุญ ถวายสังฆทาน แต่ไม่เข้าใจความหมายว่า สังฆทาน คือ อะไร และทำไมถึงเรียกว่า สังฆทาน การจัดของทำบุญทั่วไปกับการจัดของถวายสังฆทานแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร และมีความสำคัญอย่างไร สังฆทาน คือ อะไร ถ้าแปลตามคำศัพท์เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่ ถ้าแยกความหมายเเล้ว สังฆะ แปลว่า กลุ่ม หรือหมู่ ส่วน ทาน แปลว่าการให้ รวมความหมายได้ว่า ทานที่ถวายให้แก่กลุ่มพระสงฆ์โดยไม่เจาะจงพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ทำบุญสามารถถวายอะไรก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมกับการใช้ชีวิตของพระสงฆ์ สังฆทานมีกี่ประเภท การถวายโดยอุทิศให้แก่สงฆ์ โดยอุทิศให้เป็นเผดียงสงฆ์ (ไม่ระบุเฉพาะว่าจะถวายรูปไหน) เช่นการถวายสลากภัต แม้พระจะได้รับของที่ถวายแค่รูปเดียว แต่ถือได้ว่าพระสงฆ์ที่มารับถวายเป็นพระที่ได้รับมอบหมายจากสงฆ์ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย (ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ให้ทานในภิกษุสงฆ์ ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เผดียงสงฆ์ว่า […]

พละ 5 คืออะไร หลักธรรมกำจัดนิวรณ์ แห่งการรู้แจ้ง

พละ 5

พละ 5 ธรรมะอันเป็นพลังที่ขจัด ความสงสัย ลังเล ไม่สบายใจไม่อยากอยู่ในโลกนี้ ทำให้หดหู่ล้วนมีสาเหตุมาจากนิวรณ์ 5 ผู้ที่ฝึกปฏิบัติสมาธิหรือวิปัสนากรรมฐาน ต้องอาศัยหลักธรรมแห่งการรู้แจ้งในข้อนี้ พละ 5 คืออะไร คือ กำลังห้าประการ ได้แก่ 1. ศรัทธาพละ  ความเชื่อ กำลังแห่งความเชื่อ ความศรัทธา เป็นศรัทธาที่มีสติในความเชื่อ และไม่งมงาย อธิบายตามหลักเหตุผล เข่น เชื่อในความขยันและอดทน ย่อมผ่านอุปสรรคและนำพาไปสู่ความสำเร็จ 2.วิริยะพละ ความเพียร กำลังแห่งความเพียรพยายาม ไม่ท้อถอย ทำให้ลดความหดหู่ลงไป มีกำลังใจให้กับตัวเอง เมื่อเห็นสภาวะเเห่งเหตุผลและความเป็นจริง ส่งผลให้มีความศรัทธาที่มีความเพียร เช่นไม่ท้อในการทำความดีเเละละความชั่ว ไม่ท้อ 3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังแห่งสติ ระลึกรู้ รู้ตัวเองว่าทำอะไร ไม่สามารถทำให้ความโกรธ ราคะ เข้ามาครอบงำจิตใจ เพราะการรู้ตัวว่าเหตุเหล่านี้จากนิวรณ์นำมาสู่ความเดือนร้อนในภายหลังมากมาย ตั้งสติด้วยอารมณ์แห่งวิปัสนากรรมฐาน รู้ ทุกอย่างต้องดับ จากกันไปเป็นตามธรรมดา เห็นการปรุงแต่งจากสังขารเหล่านั้นก็ไม่เที่ยง 4.สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังแห่งใจที่ตั้งมั่น […]

นิวรณ์ 5 คืออะไร เหตุของกิเลสทำจิตไม่สงบ แก้อย่างไร

นิวรณ์

ความวุ่นวาย ความไม่สงบ นำพาจิตใจไม่ผ่องใส ไม่ว่าจิตจะอยู่ในภาวปกติ หรือ เข้าสมาธิ ความสงสัย ลังเล ต่าง ๆ นั้นนำพาแต่ทำให้จิตไม่สงบวุ่นวาย ตัว นิวรณ์ 5 อย่างที่เป็นตัวนำพาสู่เหตุ ของความไม่สงบของจิต นิวรณ์ คืออะไร คือ เครื่องกั้นและปิดขวางไม่ให้บรรลุความดีไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้ หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป ซึ่งมี 5 ข้อ นิวรณ์ 5 ข้อมีอะไรบ้าง 1.กามฉันทะ ความพอใจในกาม ( sensual desire ) หมายถึงกลุ่มอารมณ์ประเภท ความลุ่มหลง ความรักใคร่ ความต้องการทางเพศ การติดใจ ความต้องการ ความปรารถนา ความหลงใหลใฝ่ฝัน เป็นต้น 2.พยาบาท ความปองร้าย ( illwill ) หมายถึงกลุ่มอารมณ์ประเภท ความโกรธ ความเกลียด ความแค้น ความริษยา ความดูหมิ่น […]