Tag Archives: การขออโหสิกรรม

บทสวด อโหสิกรรม ให้กับเจ้ากรรมนายเวร !!

บทสวด อโหสิกรรม ให้กับเจ้ากรรมนายเวร !!

เจ้ากรรมนายเวร คือใครก็ได้ที่เราเคยไปสร้างความไม่พอใจให้แก่เขา ไม่ว่าจะเป็นกาย วาจา หรือใจ หากมีคนผูกใจเจ็บว่าในอนาคตมีโอกาสเมื่อไหร่ขอแก้แค้นผู้ที่เบียดเบียนเรา หรือผูกใจต่อเราว่าขอให้ได้ทำร้ายคืน ผู้ที่มีจิตแค้นผูกใจเจ็บว่าจะล้างแค้นนั้นแหละเรียกเจ้ากรรมนายเวร แต่ทุกวันนี้และคำคำนี้ใช้กันจนพร่ำเพรื่อ แล้วมองกันดูว่าน่ากลัว มองในแง่ที่น่ากลัวลึกลับ หรือบางคนมองเป็นเรื่องเหลวไหล ถึงแม้กรณีว่าจะมีการ อโหสิกรรม ให้ ให้อภัยคือไม่โกรธไม่ผูกใจเจ็บ แต่ทว่าเราต้องได้รับใช้ผลของกรรมที่เราทำไปแล้ว ณ จุดนั้น ได้กรรมแต่ไม่ได้เวร แต่กรณีของบางรายที่ไม่ยอมอโหสิกรรมคือผูกใจเจ็บ เราจึงได้ทั้งเวร ทั้งกรรม บางทีมีโอกาสก็แกล้งกันคืนบ้าง มีอคติต่อกันบ้าง ต่างคนต่างสร้างกรรมต่อกัน พอตายไป บางทีคนหนึ่งไปเกิดเป็นคนอีกรอบ อีกคนยังไม่ได้ไปเกิดเป็นคนแต่ไปอยู่ในภพของโอปาติกะบ้าง บางทีเป็นโอปาติกะที่มีฤทธิ์เช่น เทวดา จิตที่ยังมีความอาฆาตต่อกันนั้น ยังไม่ได้ให้อภัย จึงมีการตามไปแก้แค้น ตามไปเอาคืนอยู่ตลอด จึงวุ่นวาย เจ้ากรรมนายเวรของเราทุกๆคน จึงมีได้ทุกภพ ไม่ว่าจะเป็นพรหม เทวดา นางฟ้า สัมภเวสี อสุรกาย พญานาค สัตว์เดรัจฉาน หรือแม้แต่มนุษย์ด้วยกันเอง แล้วแต่ภพภูมิ และบ่วงกรรมที่หมุนเวียนไป บางวาระกรรมมาสนองสองดวงจิตโคจรกันมาอีกวาระ คนบางคนแค่เราเจอหน้าครั้งแรกก็รู้สึกเกลียดไม่ถูกชะตาแล้ว เจ้ากรรมนายเวรที่น่ากลัวก็ได้แก่ พรหม เทวดา มนุษย์ด้วยกัน เพราะเขามีฤทธิ์ […]

การขออโหสิกรรมคืออะไร และมีขั้นตอนอย่างไร ?

อโหสิกรรม คือ กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมในภพชาติต่อๆ ไปการขออโหสิกรรม คือ การขอโทษในสิ่งที่ตนทำผิดต่อผู้อื่นด้วยใจจริง การให้อโหสิกรรม คือ การให้อภัยต่อความผิดพลาดพลั้งที่ผู้อื่นกระทำต่อตน คำว่า อโหสิกรรม มาจากคำ 2 คำ คือ อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า “ได้มีแล้ว” หมายความว่า ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว กรฺม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การกระทำ หมายถึง การกระทำที่มีเจตนา แปลรวมกันว่า กรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป  ด้านดีของการอโหสิกรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา เชื่อว่า   1) กรรมเบาบาง อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น สำเร็จในชีวิตนี้ และส่งผลชีวิตหน้า  บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้น จะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า  แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้ หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม นั่นคือ ในฐานะที่ชาวพุทธ เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่น ก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข 2) อานิสงส์สูง เพราะละการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ยกระดับก้าวสู่มรรคผลนิพพาน อโหสิกรรมหรืออภัยทาน-สามารถทำได้จากความเมตตาที่มีอยู่เพียงพอในจิตใจ จึงมีอานิสงส์ใกล้เคียงกับธรรมทาน ที่ถือว่ามีอานิสงส์สูง เพราะเป็นการให้ปัญญา-แสงสว่างเพื่อพัฒนาจิตใจของผู้อื่นให้ก้าวหน้าไปสู่มรรค-ผล-นิพพานในที่สุดต่อไปตามวาสนาบารมีแห่งตน ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการตัดอัตตา-ตัวตน การยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความทุกข์กับคนทุกคน ถ้าเรายกโทษ ไม่เอาโทษให้ผู้อื่นได้ เท่ากับเราได้สละตัวตนเราออกไปแล้ว เป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่ […]