พรหมวิหาร 4 คืออะไร หลักธรรมแห่งจิตเมตตาสำหรับพ่อแม่

พรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร 4 หลักธรรมแห่งความเมตตาสู่การปฏิบัติธรรมเหมือนพรหม หรือ พระพรหม และนำมาเปรียบเทียบได้ดังความรักของพ่อแม่ ที่เปรียบประดุจเป็นพระพรหมของลูก ซึ่งเป็นธรรมะที่ส่งยกจิตใจให้มีความสูงส่งดังพระพรหม ที่มีความเมตาแด่ลูก และไม่คิดจะอิจฉา มีสุขในความเมตา อุเบกขา เป็นธรรมค้ำจุนระหว่างผู้รับกับผู้ให้ได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข

บทความแนะนำ ประวัติ “พระพรหม” ที่หลายคนยังไม่เคยรู้

พรหมวิหาร 4 คืออะไร

พรหมวิหาร 4หรือ พรหมวิหารธรรม เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก่

เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า
กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์
มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง ประกอบด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป
อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน

เครดิตจากเพจ

https://th.wikipedia.org/wiki/

 

พรหมวิหารเหตุใดถึงหลักธรรมสำคัญต่อพ่อแม่อย่างไร

มักเคยได้ยินบ่อย ๆว่า พ่อและแม่เปรียบเสมือน พระพรหมของลูก ซึ่งอธิบายตามหลักธรรมดังน้ี

หลักเมตตา 

เมื่อเกิดมาพ่อแม่รักถนอมด้วยความเมตตาออกจากจิตใจโดยแท้ ห่วงว่าลูกจะหิว จะเจ็บ จะไม่สบาย  ปราถนาดีต่อลูก

หลักกรุณา 

เมื่อลูกเติบโตกลัวจะเจ็บไข้ได้ป่วย ห่วงจะไม่มีความรู้ ห่วงจะได้รับความลำบาก จึงต้องเข้าช่วยเหลือลูก ลำบากหาเงินยอมอด นำเงินมาเลี้ยงดูลูกด้วยความกรุณา เมื่อลูกเกิดปัญหาใดๆ ที่ทำให้ทุกข์ใจก็จะเข้าช่วยเหลือ เพื่อให้ทุกข์เหล่านั้นบรรเทาหายไป คอยอยู่เคียงข้างลูก

หลักมุทิตา

คอยส่งเสริมและผลักดันให้ลูกประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่ลูกอยากจะทำ หรือดำเนินการใช้ชีวิต โดยไม่มีความอิจฉาและมีแต่ความยินดีกลับความสำเร็จกับการทำงานนั้น ๆ ของลูก

หลักอุเบกขา

วางเฉยหรือ ถึงแม้ลูกจะกระทำผิดหรือ พลาดพลั้งพ่อแม่ ก็จะไม่โทษ แม้ลูกจะประสบความสำเร็จมากมายมีเงินทอง ก็ไม่คิดที่อยากจะอยากได้หรืออิจฉาลูก วางเฉยด้วยใจที่เป็นพหรม และ ปล่อยให้ลูกได้ดำเนินการตัดสินใจต่อการดำเนินชีวิตเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

 

จากคุณธรรมในใจที่มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พ่อแม่ ซึ่งสรุปได้ตามหลักสังคหวัตถุ เป็น ๔ อย่าง คือ

๑. พ่อแม่มีแต่การให้แก่ลูก ที่เรียกว่า ทาน เสียสละให้ลูก

๒. พ่อแม่พูดจาด้วยน้ำใจปรารถนาดี และอบรมสั่งสอนให้คำแนะนำ ชี้แจงบอกเล่าสิ่งที่เป็นประโยชน์ เรียกว่า ปิยวาจา

๓. พ่อแม่ลงมือลงแรง เอาแรงกายของท่านทำโน่นทำนี่ให้ โดยเฉพาะเมื่อลูกยังเล็กอยู่ทำอะไรเองไม่ได้พ่อแม่ก็ทำให้ ตั้งแต่อุ้มเรา จูงเรา ป้อนข้าว อาบน้ำ แต่งตัวให้ ฯลฯ การเลี้ยงดูต่างๆ ท่านต้องลงมือปฏิบัติโดยใช้เรี่ยวแรงของท่านช่วยเราทั้งนั้น การเอาแรงกายเข้าช่วยนี้ เรียกว่า อัตถจริยา

๔. พ่อแม่อยู่กับลูก ร่วมสุขร่วมทุกข์กับลูก ทำตัวเข้ากับลูกได้ ปฏิบัติต่อลูกทุกคนอย่างเสมอภาค เสมอต้นเสมอปลายกับลูก ไม่ถือเนื้อถือตัว อย่างลูกสมัยปัจจุบันนี้ บางทีเล่นศีรษะพ่อแม่ข้ามไปข้ามมา ท่านก็ไม่ถือสา แต่คนอื่นมาทำอย่างนั้นไม่ได้พ่อแม่จะโกรธเอา ข้อนี้เรียกว่า สมานัตตตา

เครดิตจากเพจ