Category Archives: บทความ

ผ้าไตร กฐิน มีอะไรบ้าง กฐินมีกี่ประเภท อ่านที่นี่ ธาราญา

ผ้าไตร กฐิน

ผ้าไตร กฐิน หรือ ผ้าไตรที่จัดเตรียมถวายกฐินซึ่งเริ่มเตรียมจัดตั้งตามประเพณี เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย  กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียก “ผ้าไตรจีวร” ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ ผ้าไตร กฐิน มีอะไรบ้าง ผ้าไตรกฐิน องค์ประธานของกฐินก็คือ ผ้า ของอย่างอื่นถือว่าเป็นบริวารกฐิน ความสำคัญของกฐิน ดังนี้ 1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็น สังฆทาน เท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้ 2. จำกัดเวลา คือ กฐินเป็น กาลทาน (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วัน ออกพรรษา เป็นต้นไป 3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐิน […]

แก้กรรม คืออะไร และแก้อย่างไรให้ชีวิตเป็นสุข

แก้กรรมอย่างไร

เมื่อเกิดทุกข์ในการดำเนินชีวิต สิ่งหนึ่งที่นิยมทำคือ แก้กรรม อย่างไร จากความเชื่อว่าสิ่งที่เราทำไม่ดีในอดีตหรือในอดีตชาติ ทำให้กรรมหรือกรรมไม่ดีส่งผลจากกรรมนั้น และเกี่ยวข้องกับเจ้ากรรมนายเวร จึงแสวงหาการแก้กรรม หรือ การตัดกรรม เพื่อให้ทุกข์นั้นหายไปหรือบรรเทาจากผลที่ได้รับ แก้กรรม คืออะไร การแก้กรรม คือ แก้ตรงที่ ให้เราสำนึกว่าตรงนั้นเราทำผิด แล้วต่อไปเราจะไม่ทำอกุศลกรรมเช่นนั้นอีกต่อไป มาทำสัญญากันใหม่ ตั้งปณิธานใหม่ เราก็ต้องมาทำสัญญากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สัญญากับเจ้ากรรมนายเวรว่าเราจะไม่ทำอกุศลกรรมเช่นนั้นอีกต่อไป การแก้กรรม หมายความว่า แก้พฤติกรรมที่เคยทำมาอย่างนั้นที่ไม่ดี การที่เราแก้ไขพฤติกรรมที่มาอย่างนั้นแล้ว เขาก็จะไม่ก่อกรรมเช่นนั้นอีก ก็เท่ากับไม่ทำกรรมเพิ่ม ถ้าเขาไม่รู้แล้วไปทำกรรมตรงนั้นอีก ก็เอาแต่เพิ่มกรรมอยู่เรื่อย ต้องให้แก้พฤติกรรมตรงนั้น ไม่ใช่ไปแก้กรรมที่เคยทำมาแล้ว แก้แล้วให้หมดไปอย่างนี้ไม่มี เราไม่ใช่ย้อนอดีตแล้วไปแก้ อย่างนี้ไม่ใช่ แต่เราย้อนอดีตมาเป็นบทเรียน เป็นอุทาหรณ์ เราไม่ใช่แก้ตรงนั้นให้เปลี่ยนผลอดีตได้ อย่างนี้ไม่ได้ เครดิตข้อมูล http://www.dhammathai.org/articles/dbview.php?No=1652 แก้กรรม ทำอย่างไร ขออโหสิกรรม เจ้ากรรมนายเวร เพื่อแก้กรรม กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมในภพชาติต่อๆ ไปการขออโหสิกรรม คือ การขอโทษในสิ่งที่ตนทำผิดต่อผู้อื่นด้วยใจจริง การให้อโหสิกรรม คือ การให้อภัยต่อความผิดพลาดพลั้งที่ผู้อื่นกระทำต่อตน คำว่า […]

ขันธ์ 5 คืออะไร ที่ตั้งแห่งกองทุกข์

ขันธ์ 5

ขันธ์ 5 ที่เรียกว่าตัวเราของเรานั้นเป็นการรวมตัวกันของ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่มีนาม 4 รูป 1 เเล้วเรียกว่า กองทุกข์ทั้งห้า    ซึ่งจะอยู่ใต้กฏแห่งไตรลักษณ์ อย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เช่น เมื่อพ้นวัยหนุ่มสาว รูปนามย่อมเปลี่ยนไป ตามกรรมหรือการกระทำ ไม่เที่ยง ไม่สามารถอยู่คงทนให้เป็นหนุ่มสาว ได้ตลอดกาล ทำให้เกิดความแก่ ชรา ป่วย เป็นทุกข์ ต้องเตรียมพรัดพรากจากของรัก สุดท้ายก็ต้องจากกันไปไม่มีเหลืออยู่ คือ การตาย  ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้นมาจากกองทุกข์ทั้งห้ากอง ขันธ์ 5 คืออะไร คือ  ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด ในทางพุทธศาสนาหมายถึงส่วนหนึ่งๆ ของรูป 1 กับนาม 4 ที่แยกออกเป็น ห้ากอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ […]

อายตนะ คืออะไร มีอะไรบ้าง ผัสสะทั้งหกแห่งกองทุกข์

อายตนะ

อายตนะ ผัสสะแห่งการรับกองทุกข์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกที่ทำให้เกิดขึ้นกับ ขันธ์ทั้ง 5 ทำให้เกิดการปรุงเเต่ง ( รูป , กาย , เวทนา , สังขารและ วิญญาณ) นำมาปรุงแต่งความรู้สึกต่าง ๆ ได้รับเวทนาทั้งสุข ทั้งทุกข์ หรือ เฉยๆ โดยเฉพาะผู้ที่ฝึกปฏิบัติสมาธิ หรือ การฝึกวิปัสนากรรมฐาน ล้วนแล้วจะต้องเจอการเข้ามากระทบผ่าน อายตนะ ทั้ง 6 และการรับรู้นั้นล้วนแล้วต้องอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ เช่น ใจรับรู้ถึงความแก่ชรา แล้วนึกถึงไวเด็กที่ยังดูสดใส ผมดำ บัดนี้ ผมเร่ิมขาว  ย่อมรับรู้ผ่านทางอายนะ บทความแนะนำ วิปัสสนากรรมฐาน คืออะไร ปฏิบัติอย่างไร การรู้แจ้งในธรรม บทความแนะนำ ไตรลักษณ์ คืออะไร ธรรมะแห่งพระอริยะ อายตนะ คืออะไร  อ่านว่า อายะตะนะ แปลว่า ที่เชื่อมต่อ, เครื่องติดต่อ หมายถึงสิ่งที่เป็นสื่อสำหรับติดต่อกัน ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น […]

ผ้าไตร สีราชนิยม มีลักษณะอย่างไร ใช้กับพระสงฆ์มหานิกายหรือธรรมยุต

ผ้าไตร สีราชนิยม

ผ้าไตร สีราชนิยม หรือ ผ้าไตร สีพระราชทาน หรือ ผ้าไตร สีพระราชนิยม มีชื่อเรียกกันหลายอย่างและส่วนมากเป็นสีที่พบมากและส่วนมากพระจะนิยมครองผ้าสีนี้ในงานพิธีต่างๆ เช่น ประเพณีงานบวช ซึ่งหลายท่านยังไม่ทราบว่าวัดที่บวชนั้นเป็น มหานิกาย หรือ ธรรมยุต และทำให้สับสนในในการเลือกซื้อถวาย หรือ นำไป ถวายสังฆทาน ต่าง ๆ เพื่อทำให้บุญให้ผู้ล่วงลับ   บทความแนะนำ ถวายสังฆทาน เพื่อให้ผู้ล่วงลับ ต้องเลือกซื้ออย่างไร ? บทความแนะนำ ผ้าไตร 5 ขันธ์ ผ้าไตร 9 ขันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไร ? ผ้าไตรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ผ้าไตรจีวร โดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ 1.  ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย – จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม – สบง : […]

สังโยชน์ 10 คืออะไร กิเลสที่ผูกมัดจิตใจมนุษย์

สังโยชน์ 10

สังโยชน์ 10 ข้อ  สำหรับผู้ที่ฝึกปฏิบัติเพื่อสร้างความสงบบรรรลุมรรคผลนั้นจะเจอข้อผูกมัดจากกองกิเลสเหล่านี้ทำให้เกิดความท้อถอยและสงสัยลังเลในธรรม  สังโยชน์ คืออะไรและมีอะไรบ้าง คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่ 1. สักกายทิฏฐิ – มีความเห็นว่าขันธ์ 5 คือตัวตน 2. วิจิกิจฉา – มีความสงสัยลังเลในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3. สีลัพพตปรามาส – มีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือการถือข้อปฏิบัติที่ผิด 4. กามราคะ – มีความพอใจในกามคุณ 5. ปฏิฆะ – ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่ 6. รูปราคะ – มีความพอใจในรูปสัญญา 7. อรูปราคะ […]

นิพพาน คืออะไร จุดมุ่งหมายแห่งการดับกองทุกข์

นิพพาน

นิพพาน เป็นอย่างไรและคืออะไร รวมถึงมีสภาพเป็นอย่างไร สร้างความสงสัยให้กับผู้ปฏิบัติเป็นอย่างมาก เกิดคำถามมากมายกับการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเป็นสภาพอย่างไร แต่สิ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายเป็นสิ่งที่สำคัญของนิพพานคือ การหลุดพ้นจาก นิวรณ์ หรือกองทุกข์กิเลส ที่มีอยู่ในขันธ์ 5 ที่เรายึดถือยึดมั่น และนำมาเป็นเหตุการเกิดดับไม่มีที่สิ้นสุด แต่นิพพาน มีจุดมุ่งหมายเดียวคือ ก้าวพ้นแห่งหความทุกข์ ไม่กลับมาเกิดในวัฏฏะสังสารนี้อีกต่อไป   นิพพาน คืออะไร มีความหมายอย่างไร “นิพพาน” ประกอบด้วยศัพท์ นิ(ออกไป, หมดไป, ไม่มี) +วานะ(พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยร้อย คำว่า “วานะ” เป็นชื่อเรียกกิเลสตัณหา โดยสรุป นิพพานก็คือไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ คัมภีร์พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน ๒ ประเภท คือ (๑) สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีเชื้อเหลือ หรือนิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ ในวงการนักธรรม แปลว่า “ดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ” (๒) อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีเชื้อเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ ในวงการนักธรรม […]

ผ้าไตร 7 ชิ้น มีอะไรบ้าง ไตรครอง ไตรเต็ม ไตรจีวร ต่างกันหรือไม่ มีคำตอบ

ผ้าไตร 7  ชิ้น

ผ้าไตร 7 ชิ้น มีอะไรบ้าง หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบ รวมถึง ไตรครอง ไตรเต็ม ไตรจีวร นั้นมีความหมายในการเรียกแตกต่างกันอย่างไร ทำให้เวลาเลือกซื้อสำหรับถวายสังฆทาน เพื่อทำบุญให้ผู้ล่วงลับ หรือ งานบวช นั้นอาจจะมีความสับสนได้ บทความแนะนำ ถวายสังฆทาน เพื่อให้ผู้ล่วงลับ ต้องเลือกซื้ออย่างไร ? ผ้าไตร 7 ชิ้น มีอะไรบ้าง ไตรครองผ้าไตรครบชุด (7 ชิ้น) ประกอบด้วย ผ้าสบงขัณฑ์, ผ้าจีวร, ผ้าพาดบ่าหรือสังฆาฏิ (2 ชั้น), อังสะ, รัดประคด, ผ้ารัดอก ผ้ารับประเคนหรือผ้ากราบ ผ้าไตรแต่ละประเภทใช้สำหรับอย่างไรบ้าง ผ้าไตรชุดใหญ่ ใช้สำหรับการบวชพระ ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย ใช้ในการบวชพระ ฝ่ายธรรมยุตหรือเราเรียกว่าวัดป่านั้นต้องเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 9 ขันธ์ ที่มีสังฆาฏิ 2 ชั้น ประกอบด้วย7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 2 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ […]

วิปัสสนากรรมฐาน คืออะไร ปฏิบัติอย่างไร การรู้แจ้งในธรรม

วิปัสสนากรรมฐาน

วิปัสสนากรรมฐาน เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่นั่งสมาธิที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจเห็นสภาวะของธรรมชาติหรือธรรมะตามความเป็นจริง นำไปสู่การเกิดปัญญาทางธรรมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น อริยสัจสี่ หรือ สติปัฏฐฐานสี่ ล้วนแล้วต้องใช้ปัญญาที่ฝึกฝนมาจากสมาธิที่สร้างปัญญาแบบไม่มีมิจฉาทิฐิ เช่น เห็นตามความเป็นจริง ก็การเกิด ดับ เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องพบเจอ วิปัสสนากรรมฐาน คืออะไร วิ แปลว่า แจ่มแจ้ง แตกต่างจากและวิเศษกว่าการหยั่งรู้โดยโลกวิธี ปัสสนา แปลว่า การเห็น คือ การหยั่งรู้ด้วยปัญญา ซึ่งเกิดจากวิปัสสนาวิธี กรรม แปลว่า การกระทำ คือ การกระทำด้วยใจอัน ประกอบด้วยความเพียร สติ สัมปชัญญะ ตามวิธี การ ฐาน แปลว่า การงาน คือ สิ่งที่ตัวกระทำ ได้แก่ ใจเข้าไปกำหนดเพื่อความรู้แจ้ง วิปัสสนากรรมฐาน คือ การเพียรใช้สติ สัมปชัญญะ เข้าไปกำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายและใจเพื่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้อย่าง “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 นี้ที่บุคคลลงมือปฏิบัติเต็มที่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับสนิท เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อพระนิพานโดยส่วนเดียว” ขอบคุณจากเพจ https://www.banpisan.com หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทำอย่างไร […]

สมถะ คืออะไร ต่างจากวิปัสนากรรมฐานอย่างไร

สมถะ

สมถะ เป็นการฝึกสมาธิให้เกิดใจสงบ  ให้นิ่ง และเป็นผลต่อเนื่องนำไปสู่การเข้าสู่ฌาณตามลำดับ หลายท่ายยังสงสัยว่าทำไมต้องทำสมถะก่อน หรือ ต้องวิปัสนาก่อน อะไรก่อนแน่ หลายที่สอนไม่เหมือนกัน แล้วทำไมถึงต้องทำ สมถะในการนั่งสมาธิ สมถะ คืออะไร สมถะ คือ การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์  ซึ่งตามความหมายแล้วเป็นการทำให้จิตที่ฝึกนั่งสมาธิเกิดความนิ่ง ไม่สับสน หรืออึดอัด ขอบคุณจากเพจ https://www.sanook.com/ เหตุใดถึงต้องนั่งสมาธิแล้วมักให้ฝึกสมถะก่อน ในความเป็นจริงแล้ว จะฝึกวิปัสนากรรมฐานก่อนก็ได้ หรือ สมถะก่อนก็ได้ เพราะขึ้นอยู่กับพื้นฐานของจิตแต่ละคน บางคนมีจิตสมาธิดีมาตั้งแต่เด็กเรียนเก่ง การทำสมาธิก็จะมักไปด้านวิปัสนาเร็ว สภาพจิต โดยธรรมชาติแล้วมักจะไม่นิ่ง เพราะได้รับรู้ผ่านอายตนะตลอดเวลาได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้รับ แสง สี เสียง สัมผัส กลิ่น รส ตลอดเวลาทำให้การที่จะให้ใจเป็นสมาธินั้นยาก  เหมือนลิงที่กระโดดไปมาตลอด เวลานั่งสมาธิก็มักจะรำคาญ อึดอัด คิดโน่นคิดนี่ ไม่สงบ ทำให้การเข้าถึงวิปัสนาเป็นไปได้ยาก ดังนั้น พระอาจารย์หลายท่าน มักจะแนะนำการฝึกสมาธิให้เกิดสมถะเสียก่อน […]