มารู้จักกับ วัดประจำรัชกาล ที่ 1-10  แห่งราชวงศ์จักรีซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์ซึ่งวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์นั้นเป็นสิ่งที่แสดงให้ชาวไทยเห็นว่าประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ของเราทรงเป็นพุทธศาสนิกและอัครศาสนูปถัมภกในพระพุทธศาสนาเสมอมา

ธาราญา ขอชวนสายบุญ ไปไหว้พระ 10 วัด 10 รัชกาล กันค่ะ

วัดประจำรัชกาลที่ 1– วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

  วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดโพธิ์”  เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง 

     ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551และวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ

คลิกแผนที่

วัดประจำรัชกาลที่ 2– วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)

       วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร หรือ วัดแจ้ง เป็นวัดโบราณ จากหลักฐานเชื่อว่าสร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดมะกอกนอก ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของรัชกาลที่ 2 มาบรรจุที่พุทธอาสน์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในอุโบสถ

        วัดอรุณฯ ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงโปรดให้สร้างพระอุโบสถและพระวิหารต่อจนแล้วเสร็จ พร้อมทั้งทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูป ด้วย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดอรุณราชธาราม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการก่อสร้างพระปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งมีความสูง 82 เมตร กว้าง 234 เมตร แต่มาเสร็จสมบูรณ์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดอรุณราชวราราม”

คลิกแผนที่

วัดประจำรัชกาลที่ 3 – วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร (วัดจอมทอง)

       พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านพระเจดีย์สามองค์ ใน พ.ศ.2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึง วัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงครามพร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา

        เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ และถวายเป็นพระอารามหลวงแด่รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นผู้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดราชโอรส ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกสั้นๆจากชื่อเต็มว่า วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชโอรสซึ่งเป็นผู้บูรณะ

คลิกแผนที่

วัดประจำรัชกาลที่ 4 – วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร 

       วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ข้างสวนสราญรมย์ เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.2407 เพื่อเป็นวัดธรรมยุตินิกาย เพื่อให้เจ้านายและข้าราชการทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน ได้บำเพ็ญกุศลกันได้สะดวกขึ้น เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังและทรงพระราชทานนามว่าวัดราชประดิษฐ์สถิตธรรมยุติการาม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

คลิกแผนที่

วัดประจำรัชกาลที่ 5-7  – วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

      คำว่า ราชบพิธ หมายถึง พระราชาทรงสร้าง ซึ่งก็คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับพระอัครมเหสีพระราชเทวี และเจ้าจอมพระสนมเอกของพระองค์ ส่วน สถิตมหาสีมาราม ก็คือเป็นวัดที่ประดิษฐานเสมาขนาดใหญ่ เพราะตามปกติแล้วเสมาของวัดโดยทั่วไปจะอยู่ตามมุมหรือติดอยู่กับตัวพระอุโบสถ แต่เสมาของวัดนี้ตั้งอยู่บนกำแพงรอบวัดถึง 8 ด้าน จึงเป็นการขยายเขตทำสังฆกรรมของสงฆ์ให้กว้างขึ้น

      วัดนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 เท่านั้น แต่ยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 ด้วย เพราะในรัชสมัยของ รัชกาลที่ 7 มิได้มีการสร้างวัด แต่ท่านก็ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธนี้ด้วย ดังนั้นจึงถือเป็นวัดประจำพระองค์ด้วยเช่นกัน

คลิกแผนที่

วัดประจำรัชกาลที่ 6-9 วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

  วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) มีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

      วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เดิมชื่อ วัดใหม่ เป็นวัดโบราณ เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชได้เสด็จมาประทับ และทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตติกนิกายขึ้นที่วัดนี้เป็นครั้งแรก ถือเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่ง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ณ วัดนี้อีกด้วย

       อีกทั้งหลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) จะอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารประดิษฐานที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ซึ่งจะถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 9

คลิกแผนที่

วัดประจำรัชกาลที่ 8 – วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

       วัดสุทัศน์ เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ.2350 แต่มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ.2390 และพระราชทานนามว่า วัดสุทัศนเทพวราราม

      ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี

คลิกแผนที่

วัดประจำรัชกาลที่ 10 – วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (วัดทุ่งสาธิต)

วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร หรือ วัดทุ่งสาธิต สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2399 โดยคหบดีชาวลาวชื่อ นายวันดี ที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ภายหลังจากเจ้าอาวาสรูปสุดท้ายมรณภาพ ทำให้ไม่มีใครสืบสานต่อจนกลายเป็นวัดร้าง ต่อมาปี พ.ศ.2506 วัดได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ให้สวยงามดังเดิม

และเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2508 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ (รัชกาลที่ 10) ทรงรับวัดทุ่งสาธิตไว้ในพระอุปถัมภ์ พร้อมได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร” ด้วย พระอาจารย์สาธิต ฐานวโร ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถวายวัดทุ่งสาธิต แด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ (พระยศรัชกาลที่ 10 ในขณะนั้น)

คลิกแผนที่

Dharaya

Recent Posts

วันวิสาขบูชา 2567 คือวันอะไร มีความสำคัญอย่างไร ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน

วันวิสาขบูชา ปีนี้ตรงกับวันที่ 22 พฤศภาคม 2567 ซึ่งได้รรับการยกย่องว่าเป็นวันคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่ ประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน วันวิสาขบูชา 2567 คือวันอะไร…

2 days ago

ทำบุญ 100 วัน เตรียมอะไรบ้างและมีขั้นตอนอย่างไร

ทำบุญ 100 วัน เตรียมอะไรบ้างสำหรับผู้ที่กำลังจัดเตรียมของทำบุญหรือถวายสังฆทานให้กับผู้ล่วงลับ และต้องเตรียมการจัดงานหรือพิธีสำหรับทำบุญครบ 100 วัน หรือสำหรับผู้ที่เตรียมทำบุญครบ 7วัน , 1 เดือน หรือ 1 ปี…

1 week ago

พรหมวิหาร 4 คืออะไร หลักธรรมแห่งจิตเมตตาสำหรับพ่อแม่

พรหมวิหาร 4 หลักธรรมแห่งความเมตตาสู่การปฏิบัติธรรมเหมือนพรหม หรือ พระพรหม และนำมาเปรียบเทียบได้ดังความรักของพ่อแม่ ที่เปรียบประดุจเป็นพระพรหมของลูก ซึ่งเป็นธรรมะที่ส่งยกจิตใจให้มีความสูงส่งดังพระพรหม ที่มีความเมตาแด่ลูก และไม่คิดจะอิจฉา มีสุขในความเมตา อุเบกขา เป็นธรรมค้ำจุนระหว่างผู้รับกับผู้ให้ได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข บทความแนะนำ ประวัติ…

2 weeks ago

สายมู คืออะไร มีที่มาอย่างไร ทำไมต้องสายมูเตลู

สายมู หรือเรียกกันอีกอย่างว่า สายมูเตลู ในปัจจุบันมีการนำมาเรียกกล่าวถึงบุคคลที่มีความเชื่อเรื่องด้านความศักดิ์สิทธิ์ เครื่องราง ของขลัง รวมถึงการใช้ คาถาอาคม โดยมักจะกล่าวถึงในทางด้านการขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง นำส่งถึงกำลังใจและจิตใจ หรือเป็นการเสริมดวงชะตาให้มีความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน หรือสมหวังในสิ่งที่ขอ ไม่ว่าจะการเงิน การงาน เรียน…

3 weeks ago

ทําบุญครบ 1 ปี เตรียมอะไรบ้าง สำหรับทำบุญถวายสังฆทานให้ผู้ล่วงลับ

ทําบุญครบ 1 ปี เตรียมอะไรบ้าง หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าต้องเตรียมอะไร อย่างไร หรือ ต้องจัดของทำบุญเพื่อถวายสังฆทานให้กับผู้ล่วงลับนั้นต้องเลือกอย่างไร ซึ่งมีความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับวันครบรอบดังนี้ วันพระ เฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ: เป็นวันที่ยมโลกนรกหยุดทัณฑ์ทรมานให้สัตว์นรก 1…

1 month ago

วันสงกรานต์ 2567 ความหมาย ประวัติ และ ประเพณีทำบุญ

วันสงกรานต์ คือวันที่สำคัญกับเราชาวไทย คือ เป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย ที่มีมายาวนาน และที่สำคัญอีกอย่างนั่นก็คือ วันครอบครัว ที่อยู่ในช่วงวันสงกรานต์ ที่คนไทยจะเดินทางกลับบ้าน รดน้ำ ขอพรกับ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และ…

1 month ago

This website uses cookies.