Tag Archives: เข้าพรรษา

วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไรกับชาวพุทธ ฉบับ ธาราญา !!

วันเข้าพรรษา มีความสำคัญอย่างไร กับชาวพุธ ฉบับ ธาราญา !!

ประวัติวันเข้าพรรษา “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน โดยแบ่งเป็น การเข้าพรรษาแรก หรือ “ปุริมพรรษา” หรือวันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากนั้นพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน จะมีสิทธิในการรับกฐินในช่วงเวลาหนึ่งเดือน  การเข้าพรรษาหลัง หรือ “ปัจฉิมพรรษา” หรือวันเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่ วันแรมค่ำ 1 เดือน […]

ผ้าอาบน้ำฝนกับประเพณีเข้าพรรษา !!

ผ้าอาบน้ำฝนเข้าพรรษา กับประเพณีเข้าพรรษา

ผ้าอาบน้ำฝนเข้าพรรษา ที่เรียกกันว่า “วัสสิกพัตร” นั้นเป็นสิ่งที่ชาวพุทธในภาคเหนือนิยมแก่พระสงฆ์ในงานเข้าพรรษา เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่พระสงฆ์ ที่เข้าประจำอยู่ในวัด พระยาอนุมานราชธนได้เขียนไว้ในเรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรมของชาวพุทธอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวกับวันเข้าพรรษา คือการถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุสงฆ์เดิมทีเดียวนั้น พระพุธเจ้าทรงอนุญาตให้ ภิกษุใช้ผ้า 3 ผืน ซึ่งรวมเรียกว่าไตรจีวร คือ สบง ได้แก่ ผ้านุ่ง 1 จีวร ได้แก่ผ้าห่ม 1 สังฆาฏิ ได้แก่ผ้าพาดบ่า ยังไม่ได้ทรงอนุญาตให้ใช้ผ้าอาบน้ำฝนครั้นเวลาฝนตกภิกษุที่จะอาบน้ำฝนก็ไม่มีผ้าที่จะนุ่งอาบ จะต้องเปลือยกายอาบน้ำฝน วันหนึ่งนางวิสาขา ใช้หญิงคนใช้ให้เข้าไปในวัดขณะฝนตก หยิงคนใช้เห็นภิกษุเปลือยกาย อาบน้ำฝนเข้าใจว่าเป็นพวกเดียรถียร์ จึงกลับไปบอกนางวิสาขาจึงได้กราบทูลพระพุทธเจ้าเพื่อขอพระบรมพุทธานุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่ภิกษุขอให้ภิกษุรับผ้าอาบน้ำฝนตั้งแต่นั้นมา และได้กลายเป็นประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝนจนบัดนี้ ผ้าอาบน้ำฝนเข้าพรรษา นั้น มีกำหนดไว้ตามที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตคือ กว้างศอกคืบ 14 นิ้ว 1 กระเบียดกับ 2 อนุกระเบียด ยาว 4 ศอกกับ 3 กระเบียด ทำยาวหรือกว้างกว่านี้ใช้ไม่ได้เป็นโทษแก่ภิกษุ เวลาที่จะถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้น มีพระพุทธบัญญัติไว้ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 7 ถึงขึ้น […]

อานิสงส์การถวายเทียนพรรษา รู้ไว้ก่อนเข้าพรรษาปีนี้ !!

อานิสงส์ การถวายเทียนพรรษา รู้ไว้ก่อนเข้าพรรษาปีนี้ !!

ในช่วง วันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นอีกวันที่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะถือโอกาสเข้าวัดทำบุญ ฟังเทศน์ แต่อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เรามักจะเห็นพร้อมๆ กันกิจกรรมการทำบุญคือ“ถวายเทียนพรรษา”ในอดีตมีเรื่องเล่าว่าในระหว่างวันเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์จะไม่สามารถไปจำวัดที่อื่นได้ และประกอบกับว่าในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน วัดในต่างจังหวัดไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องอาศัยแสงสว่างจากเทียน ญาติโยม จึงมีการถวายเทียนในวันเข้าพรรษา เป็นที่มาของการ “แห่เทียนเข้าพรรษา” นั่นเอง โดยการทำบุญด้วยการถวายเทียนแบบนี้มีอานิสงส์ผลบุญที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้การทำบุญด้วยวิธีอื่นๆ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยานเล่าถึงเรื่องราว อานิสงส์การถวายเทียนหรือหลอดไฟในวันเข้าพรรษาว่า “การถวายเทียนเข้าพรรษา หรือว่า ถวายกระแสไฟในพระพุทธ-ศาสนา เหมือนกัน อย่างนี้ถ้าเกิดเป็นเทวดาจะมีรัศมีกายสว่างมากถ้าบรรลุมรรคผล จะเป็นบุคคลผู้เลิศใน ทิพจักขุญาณ อย่างพระอนุรุทธ” ท่านได้ถวายเทียนเข้าพรรษาตลอดมา ถวายพระประทีปโคมไฟวัดไหนมืดชอบถวายตะเกียงบ้างน้ำมันบ้างให้มีแสงสว่างต่อมาในชาติสุดท้าย เมื่อเป็น พระอรหันต์วิชชาสาม ท่านสามารถมี ทิพจักขุญาณสว่างกว่าพระอรหันต์ทั้งหมด แม้แต่ พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณก็ยังสู้ไม่ได้ อีกประการหนึ่งถ้าท่านทั้งหลายไปเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม ก็จะมีรัศมีกายสว่างมาก เพราะเทวดา นางฟ้า และพรหมเขาถือรัศมีกายเป็นสำคัญเขาไม่ถือเครื่องแต่งกายเป็นสำคัญ องค์ไหนถ้ารัศมีกายสว่างมากองค์นั้นมีบุญมาก เมื่อมีจิตใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาเช่นนี้ พระชินศรีตรัสว่าเป็นมงคลอันสูงสุด ดังพระบาลีว่า “ปูชาปูชะนียานัง เอตัมมังคลมุตตมัง” การบูชาบุคคลผู้ควรบูชาเป็นมงคลอันสูงสุด อนึ่งชื่อว่าได้ขวนขวายในกิจ อันปราศจากโทษความเดือนร้อนในภายหลังมิได้ ย่อมได้รับผลพิเศษทั้งในโลกนี้และโลกหน้า การถวายเทียนพรรษานี้เป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน 3 เดือน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงได้จัดทำให้เป็นกุศลพิธีขึ้น เมื่อได้นำเทียนไปถวายพระสงฆ์แล้ว […]