Tag Archives: ผ้าไตรจีวร

ผ้าไตร กฐิน มีอะไรบ้าง กฐินมีกี่ประเภท อ่านที่นี่ ธาราญา

ผ้าไตร กฐิน

ผ้าไตร กฐิน หรือ ผ้าไตรที่จัดเตรียมถวายกฐินซึ่งเริ่มเตรียมจัดตั้งตามประเพณี เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย  กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียก “ผ้าไตรจีวร” ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ ผ้าไตร กฐิน มีอะไรบ้าง ผ้าไตรกฐิน องค์ประธานของกฐินก็คือ ผ้า ของอย่างอื่นถือว่าเป็นบริวารกฐิน ความสำคัญของกฐิน ดังนี้ 1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็น สังฆทาน เท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้ 2. จำกัดเวลา คือ กฐินเป็น กาลทาน (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วัน ออกพรรษา เป็นต้นไป 3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐิน […]

ผ้าไตร 5 ขันธ์ ผ้าไตร 9 ขันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไร ?

ผ้าไตร มัสลิน 9 ขันธ์

ผ้าไตรจีวร 5 ขัณฑ์และผ้าไตรจีวร 9 ขัณฑ์ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์ | สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวายผ้าไตร 9 ขัณฑ์ ผ้าไตรจีวรผ้า 3 ผืน ที่เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุ และสามเณร คือ ผ้าสบง (อันตรวาสก) คือ สำหรับผ้านุ่ง คู่กับผ้าจีวร แบ่งย่อยเป็นสบงขัณฑ์ หรือ สบงครอง คือ ผ้ามาตัดออกเป็นขัณฑ์ และนำมาเย็บต่อกันเป็นผืนเดียวกัน พระสงฆ์ใช้ครองในการทำสังฆกรรม ตามพระธรรมวินัย พระสงฆ์สามารถมีได้เพียงผืนเดียวสบงอนุวาต คือ ผ้าผืนเดียวไม่ได้ตัดขาดออกเป็นขัณฑ์ ลักษณะคล้ายผ้าอาบน้ำฝน พระสงฆ์ใช้ครองในการทำสังฆกรรมไม่ได้ พระสงฆ์จะใช้ครองตอนอยู่ในกุฏิ […]

การถวายผ้าไตรจีวร มีขั้นตอนและอานิสงส์อย่างไร ธาราญามีคำตอบ

ผ้าไตรจีวร คือ เครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุ ในสมัยพุทธกาลการจะหาผ้ามาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มทำได้ยากมาก พระภิกษุต้องเก็บผ้าที่เปื้อนฝุ่นตามถนน ผ้าสกปรกจากกองขยะ หรือแม้กระทั่งจากผ้าห่อศพในป่าช้า เมื่อได้ผ้าเหล่านั้นมาแล้ว พระอานนท์จึงได้เป็นผู้ออกแบบการตัดเย็บ โดยให้พระภิกษุเอาผ้ามาตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ และเย็บปะติดปะต่อกันจนได้เป็นลายคันนาตามที่พระอานนท์ได้ออกแบบ แล้วนำไปซักให้สะอาดและย้อมให้เป็นสีเดียวกันด้วยสีตามธรรมชาติ เช่น สีจากเปลือกไม้ แล้วอธิษฐานใช้เป็นจีวร จึงเรียกผ้านั้นว่า “ ผ้าบังสุกุล “ หรือ ผ้าป่า” ถึงแม้ “ ผ้าบังสุกุลจีวร “ จะเป็นผ้าที่ไม่มีใครอยากได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก สำหรับพระภิกษุ เพราะใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันความร้อน ความหนาว อันเกิดจากดินฟ้าอากาศและสัตว์พวกเหลือบ ยุง หรือสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย รวมทั้งใช้ปกปิดอวัยวะเพื่อไม่ให้เกิดความละอาย แต่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็คือ เพื่อให้เป็นผู้มีความสันโดษมักน้อย มีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้เลี้ยงง่าย อยู่ง่ายเพราะพระภิกษุยังชีพอยู่ได้เพราะชาวบ้านและต้องไม่สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านรวมทั้งที่อยู่อาศัยก็ให้เป็นไปตามอัตภาพ ตามสมณสารูปของพระภิกษุเท่านั้น ขั้นตอนการถวายผ้าไตรจีวร การถวายผ้าไตรจีวรแก่พระภิกษุสามารถถวายได้ทุกวัดและถวายได้ตลอดทั้งปี และทุกโอกาส สามารถทำได้ง่ายๆดังนี้ ถ้าตั้งใจถวายผ้าไตรจีวรอย่างเดียว ก็ให้จัดหาผ้าไตรจีวรที่เหมาะสมทั้งขนาด เนื้อผ้าและสี แล้วนำเข้าไปถวายแก่พระภิกษุเท่านี้ก็สำเร็จสมกับความตั้งใจแล้ว ถ้าตั้งใจถวายสังฆทานด้วยแต่ไม่มีเวลา ก็ให้ซื้อชุดสังฆทานที่ทางร้านจัดเตรียมไว้ หรือถ้ามีเวลาก็ให้สอบถามทางวัดก่อนว่า ทางวัดขาดอะไร ต้องการอะไร ก็เลือกซื้อสิ่งของตามนั้นพร้อมกับถวายผ้าไตรจีวรได้พร้อมกันเลย ถ้าตั้งใจทำบุญเลี้ยงพระด้วย ก็ให้เตรียมอาหารคาว […]

ผ้ามัสลิน และ ผ้าเทโร นิยมนำมาทำผ้าไตรจีวรนั้นแตกต่างกันอย่างไร ธาราญามีคำตอบ

ผ้ามัสลิน ผ้าไตรมัสลิน

ฝ่ายธรรมยุตหรือที่เรานิยมเรียกกันว่า วัดป่า นั้นนิยมใช้ผ้าไตรจีวรโดยทั่วไป มี 2 ชนิดด้วยกัน คือ ผ้าไตรมัสลิน (ผ้ามัสลิน) และ ผ้าไตรโทเร  เป็นผ้าไตรครองชุดใหญ่ 9 ขันธ์ หรือไตรเต็ม 9 ขันฑ์ ที่มีสังฆาฏิ 2 ชั้น ประกอบไปด้วย 7 ชิ้น คือ  สังฆาฏิ 2 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน ซึ่งเนื้อผ้าทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างกันในการนำมาทำผ้าไตรจีวรถวาย       คลิกอ่านเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับ ผ้าไตร 5 ขันธ์ ผ้าไตร 9 ขันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไร ?   ผ้ามัสลิน คืออะไร ? อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผ้ามัสลิน คลิก ผ้ามัสลินคือผ้าที่ผลิตจากใยฝ้าย […]

สีผ้าไตรจีวรมีกี่สีเราจะรู้ได้อย่างไรถวายผ้าไตรวัดไหนใช้สีอะไร ธาราญามีคำตอบ

สีผ้าไตรจีวร

ในประเทศไทยพระสงฆ์ มีทั้งมหานิกายและธรรมยุต จะสวมผ้าไตรจีวรแตกต่างกันในเรื่องของสี ทำให้หลายๆ ท่านเวลาไปทำบุญหรือ ไปวัดต่างๆ เริ่มสงสัยว่าทำไมถึงมีสีของผ้าไตรจีวรแตกต่างกัน แต่ละวัดสีผ้าไตรไม่เหมือนกัน บทความนี้จะมากล่าวถึง สีผ้าไตรจีวร ว่ามีสีอะไรบ้างที่นิยมใช้กันในประเทศไทย และมีความแตกต่างกันในเรื่องใด ธาราญามีคำตอบ สีผ้าไตรจีวร มีอะไรบ้าง สีพระราชนิยม (พระราชทาน) เป็นสีกลางของพระสงฆ์ ทั้งมหานิกายและธรรมยุต หรือสีเดียวกันกับสีเดียวกับองค์สังฆราชครองเป็นสีที่พระราชทานโดย ในหลวงรัชกาลที่  ๙เช่น วัดราชบพิธ วัดบวร วัดเทพศิรินทร์ วัดชนะสงคราม วัดธรรมมงคล วัดพระรามเก้า วัดราชาธิวาส วัดโสมนัส วัดมงกุฏฯ วัดมเหยงคณ์ เป็นต้น อ่านบทความเพิ่มเติม เกี่ยวกับ มหานิกายในประเทศไทย จาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหานิกาย อ่านบทความเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ธรรมยุตนิกายในประเทศไทย จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ธรรมยุตนิกาย สีส้มทอง เป็นสีที่นิยมพระสงฆ์นิกายมหานิกาย  และเป็นสีมาตรฐานที่นิยมทั่วไปตามวัดต่าง ๆ หรือที่มักจะเรียกว่า วัดบ้าน สีแก่นขนุน  เป็นสีที่นิยมพระสงฆ์นิกายธรรมยุต เช่นวัดป่ากรรมฐานทั่วไป หรือที่เรามักเรียกว่า วัดสายพระป่า สีแก่นบวร […]

ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ ผ้าไตรจีวร | ผ้าไตรอาศัย มีเคล็ดลับในการเลือกซื้ออย่างไร

ผ้าไตร ถวายผ้าไตร

หลายคนยังสงสัยในการเลือกซื้อ ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตรอาศัย ว่าจะเลือกแบบใด และมีวิธีเลือกอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของขนาดและสี รวมไปถึงความหนาของผ้าไตร บทความนี้จะรวบรวมทั้งความหมาย วิธีเลือกผ้าไตร และ อานิสงส์การถวายสังฆทานผ้าไตร ผ้าไตร / ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตรอาศัย คืออะไร ผ้าไตร / ผ้าไตรอาศัย คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร   คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์ ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก […]

เคล็ด (ไม่) ลับ การแก้กรรม ฉบับ ธาราญา !!

เคล็ด (ไม่) ลับ การ แก้กรรม ฉบับ ธาราญา !!

วิธีการ แก้กรรม มีมากมาย แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน วิธีที่จะทำให้ กรรมบรรเทาลงได้นั้นมี ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ถ้าเจ้ากรรมนายเวรจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบริเวณที่เจ็บปวดได้รับอโหสิกรรมแล้วจะหายเจ็บปวดทันที กรรมนี้จะเบาลงและจะมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยสังเกตจากตัวเราเองว่า มีสิ่งที่ดีเข้ามามากขึ้นที่ป่วย ก็จะหาย ที่จนก็จะเริ่มมี แสดงว่าเราเริ่มมีบุญแล้ว หากกรรมยังเยอะ ก็ยังลำบากอยู่ เครดิตจกเพจ https://www.sanook.com/horoscope/104853/ แล้ว “กรรม” คืออะไร ? “กรรม” การกระทำด้วยเจตนา ทั้งในอดีตชาติ หรือในปัจจุบันก็ล้วนเป็นกรรมทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมีผลกระทบต่อปัจจุบันและอนาคต “ใครทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมไปตกอยู่ที่ผู้กระทำ” (การ แก้กรรม สามารถช่วยได้ จากหนักเป็นเบา) ไม่มีใครหลุดพ้นหรือหนีจากกฎแห่งกรรมไปได้ วิบากกรรมของแต่ละคนก็แตกต่างกัน วิธีการ แก้กรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ เช่น การใส่บาตร ถือศีล กินเจ ช่วยผู้ที่เดือดร้อน ถวายสังฆทาน สวดมนต์ กราบบิดามารดา ล้วนเป็นมหากุศล การทำบุญให้อธิษฐานจิตทุกครั้ง เพื่อนำส่งบุญให้ตัวเอง มีชีวิตที่ดีขึ้น เจริญขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นกุศลและเป็นบุญทั้งสิ้น คำกล่าวในการแก้กรรม คือ ให้ “ตั้งนะโม 3 จบ” ตามด้วย ข้าพเจ้า…..ชื่อตัวเอง…..นามสกุล………เกิดวันที่……….วันนี้ข้าพเจ้าขอตั้งจิตถึงบารมีสิ่งศักดิ์ทั่วสากลโลก รวมถึงองค์เทพองค์พรหมที่ปกปักษ์รักษากาย สังขาร วิญญาณลูกอยู่ วันนี้ลูกตั้งจิตถวาย……บุญที่ทำ……..ลูกขอถวายบุญกุศลนี้แก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ รวมถึงองค์เทพองค์พรหมทั้งหลายให้มีพระบารมีมากขึ้น และขอให้ทุกๆ พระองค์นำส่งบุญให้ลูกเจริญขึ้นทั้งการงาน […]

จุดประสงค์ของการอุปสมบทคืออะไร ?

จุดประสงค์ของการ อุปสมบท คืออะไร ?

อุปสมบท การอุปสมบทเป็นคำที่คุ้นหูคนไทยมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะผู้ชาย เพราะเรามักจะได้ยินประโยคที่ว่า บวชทดแทนบุญคุณให้พ่อแม่ ให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์” เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่าคำว่า “บวช” กับคำว่า “อุปสมบท” นั้นเป็นคำเดียวกัน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว คำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน แต่สามารถใช้แทนกันได้ จุดประสงค์การอุปสมบท คือ เพื่อทดแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ เช่น บุพการี พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือผู้มีคุณต่อเรา เป็นต้น เพื่อศึกษาธรรมะ คือ ศึกษาสิ่งที่ควรจะต้องทำ และศึกษาสิ่งที่ควรจะต้องละ หมายถึง สิ่งไหนไม่ดีเราจะต้องละ สิ่งไหนที่ดีเราจะทำเพิ่มให้เจริญยิ่งขึ้นไป เพื่อแก้กรรม ส่งกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร คือ เมื่อเราบวชศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมแล้ว ก่อเกิดเป็นบุญกุศล จึงส่งกุศลนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวร เพื่อเข้าใจชีวิตดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ชีวิตไม่หลวงทาง เพื่อเป็นพื้นฐานในการไปศึกษาต่อ หรือแม้แต่จะไปทำหน้าที่ ทำงาน กิจการธุรกิจ หรือดำเนินชีวิต มีครอบครัว การครองเรือน การบวชหรือบวช เป็นคำภาษาไทยสามารถทำการถอดรูปมาจากคำที่อยู่ในภาษาบาลีว่า “ปพฺพชฺชา” ซึ่งมีความหมายว่า “ไปโดยสิ้นเชิง หรือ เว้นโดยสิ้นเชิง” หากทำการแปลเป็นภาษาชาวบ้านทั่วไป ก็คือ […]

การ สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา แก้กรรม ได้จริงหรือ ?

การ สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา แก้กรรม ได้จริงหรือ ?

สะเดาะเคราะห์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งมีทั้งเคราะห์ดีและเคราะห์ร้าย สิ่งที่ดีเรียกว่า “ศุภเคราะห์” สิ่งไม่ดี เรียกว่า “บาปเคราะห์” ก่อนที่บุคคลจะประสบเคราะห์ไม่ว่าจะทางดีหรือทางร้าย มักจะมีเครื่องปรากฏให้เห็นก่อนเรียกว่า “ลาง” ลางที่จะบอกว่ามีเคราะห์ดี เช่น เห็นพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ หรือเห็นพระเจ้า พระสงฆ์ และที่บอกว่าจะมีเคราะห์ร้าย เช่น เห็นบึ้ง เห็นงูทำทาน เห็นข้าวนึ่งแดง เป็นต้น เมื่อมีลางบอกเหตุในทางไม่ดีก็ต้องทำการสะเดาะเคราะห์ นั้นเอง ชาวพุทธเราเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจก็มักจะไปทำบุญเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การถวายสังฆทาน เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระสงฆ์อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก จะทำสิ่งใดก็ราบรื่นไม่ติดขัดพบแต่ความสำเร็จสมปรารถนา รวมทั้งมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ไม่ขัดสน การถวายน้ำมันตะเกียง เพื่อความรุ่งโรจน์โชติช่วงของชีวิตเช่นเดียวกับความสว่างของแสงตะเกียง ทำให้พ้นจากความมืดมิดทั้งการดำเนินชีวิตรวมทั้งปัญหาและความคิดที่สว่างไสวไม่อับจนหนทาง การทำทานแก่คนยากไร้ เป็นการทำบุญที่มาจากจิตใจอันไม่ยึดติด มีความไม่โลภ ผลบุญจึงหนุนนำให้มีแต่ความราบรื่น ยามมีเรื่องติดขัดก็จะมีผู้มาช่วยเหลือค้ำจุน ยามมีเคราะห์ภัยก็จะแคล้วคลาดเพราะแรงอนุโมทนาจิตจากผู้ยากไร้ที่ได้รับสิ่งของจากเรานั่นเอง การรักษาศีล ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเป็นมหากุศล เป็นเกราะคุ้มครองตัวเอง การทำบุญโลงศพ ซื้อโลงศพ บริจาคให้แก่ศพอนาถาไร้ญาติ จะได้อานิสงส์แรงยิ่งนักการทำบุญเช่นนี้จะช่วยเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่ง สามารถต้านเคราะห์ภัยหนักต่างๆและผ่อนหนักเป็นเบาได้ การนั่งสมาธิ หรือสวดมนต์ […]

ขั้นตอนของพิธี อุปสมบท มีอะไรบ้าง ?

ขั้นตอนของ พิธีอุปสมบท มีอะไรบ้าง ?

ในพระพุทธศาสนา เรียกการบวชว่า “การอุปสมบท” แต่เดิมนั้น การบวชเรียกว่า “บรรพชา” ซึ่งแปลว่า เว้นทั่ว  เว้นจากความชั่วทุกอย่าง ปัจจุบันคำว่าบรรพชาใช้กับการบวชสามเณร ในขณะที่อุปสมบทใช้กับการบวชพระภิกษุ การบวชโดยนัยแล้วคือ การละทิ้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่เดิม สู่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ใหม่ ตามครรลองแห่งมรรค เพื่อเป็นการง่าย เพื่อเป็นการสะดวก เป็นทางอันปลอดโปร่ง แก่การบรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ คือ ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ปราศจากมิลทิน หมดจดจากความเศร้าหมอง และเป็นอิสระจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ประเพณีการบวช  ถือเป็นประเพณีที่เคร่งครัด เชื่อว่าการบวชสามารถอบรมให้เป็นคนดีได้ ผู้ชายเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป มักจะบวชเรียน ก่อนเข้าพรรษา ( แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ) ผู้ชายจะเข้าพิธีบวชพร้อม ๆ กัน และประเพณีการบวชจะมีการกวนขนมชนิดหนึ่งคือ ” ยาหนม ” เป็นขนมที่ต้องมีในงานบวช การจัดงานบวชมีขั้นตอนและพิธีการหลายอย่าง ตั้งแต่การเตรียมตัวจนถึงการบวชพระ ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน โดยวันนี้เราก็มีขั้นตอนในการจัดงานบวชมาฝากกัน หากท่านใดที่กำลังจะบวชหรือกำลังจะจัดงานบวชให้กับบุตรหลานก็สามารถศึกษาได้จากบทความนี้ การเตรียมตัวก่อนบวชพระ ขั้นตอนแรกก่อนจัดงานบวชจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในพิธีบวช ผู้ที่จะบวชหรือนาคจะต้องทำการขานนาคและท่องบทสวดคำบาลีต่างๆ จึงต้องฝึกซ้อมให้คล่องก่อนนั่นเอง เพื่อที่เมื่อถึงวันบวชจริงจะได้ไม่มีอาการเขินอายหรือท่องผิดท่องถูกได้ […]