Tag Archives: ชุดผ้าไตร

ผ้าไตร 5 ขันธ์ ผ้าไตร 9 ขันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไร ?

ผ้าไตร มัสลิน 9 ขันธ์

ผ้าไตรจีวร 5 ขัณฑ์และผ้าไตรจีวร 9 ขัณฑ์ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์ | สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวายผ้าไตร 9 ขัณฑ์ ผ้าไตรจีวรผ้า 3 ผืน ที่เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุ และสามเณร คือ ผ้าสบง (อันตรวาสก) คือ สำหรับผ้านุ่ง คู่กับผ้าจีวร แบ่งย่อยเป็นสบงขัณฑ์ หรือ สบงครอง คือ ผ้ามาตัดออกเป็นขัณฑ์ และนำมาเย็บต่อกันเป็นผืนเดียวกัน พระสงฆ์ใช้ครองในการทำสังฆกรรม ตามพระธรรมวินัย พระสงฆ์สามารถมีได้เพียงผืนเดียวสบงอนุวาต คือ ผ้าผืนเดียวไม่ได้ตัดขาดออกเป็นขัณฑ์ ลักษณะคล้ายผ้าอาบน้ำฝน พระสงฆ์ใช้ครองในการทำสังฆกรรมไม่ได้ พระสงฆ์จะใช้ครองตอนอยู่ในกุฏิ […]

ทำบุญ ต้อนรับปี 2566 ปีเถาะ

ทำบุญปีใหม่ 2566

ทำบุญต้อนรับปี 2566 ปีเถาะ ทำบุญตักบาตร เนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่การตักบาตรคือการถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณรรูปเดียวหรือหลายรูปจะปฏิบัติเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวก็ได้เนื่องในวันปีใหม่จึงนิยมทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต วัตถุประสงค์ของการตักบาตรนอกจากจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการให้ทานเพื่อบูชาคุณแล้วยังมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1. ธำรงส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนา 2. ส่งเสริมและบำรุงพระภิกษุสามเณรผู้ทรงศีลทรงธรรม 3. ส่งเสริมคุณความดีของผู้ปฏิบัติทั้งผู้ตักบาตรและพระภิกษุสามเณรผู้รับบิณฑบาตร การตักบาตรจึงเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ เพราะเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณรได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฎิบัติธรรมตามพระธรรมวินัย และสั่งสอนประชาชนเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรสืบไป ทั้งนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติด้วยเพราะทำให้เป็นผู้มีใจบุญกุศลและเป็นการส่งเสริมผุ้ทรงคุณธรรม  การทำบุญตักบาตรนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชใหม่ๆ ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงประทับที่สวนมะม่วง พระองค์เสด็จบิณฑบาตผ่านกรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ชาวเมืองเห็นพระมาบิณฑบาตก็ชวนกันนำอาหารมาตักบาตรเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา การตักบาตรจึงถือเป็นประเพณีมาจนบัดนี้ และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้เกด มีพ่อค้า ๒ คน นำข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย พระพุทธองค์ทรงรับไว้ด้วยบาตร นี่ก็เป็นที่มาของการตักบาตรทางพระพุทธศาสนาด้วยประการหนึ่ง นอกการการตักบาตรแล้วยังมีการทำบุญอีกหลากหลายวิธี ดังนี้ 1. ถือศีล 5 อานิสงส์เป็นผลให้เกิดความโชคดี และแก้เคราะห์ลดกรรมได้ 2. ทำบุญปล่อยสัตว์ เป็นการไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น ส่งผลให้หมดทุกข์ หมดภัยและพบความสุขความเจริญในชีวิต 3. ทำบุญ ให้ทาน ทำทานแก่คนยากไร้ เพื่อเป็นบุญส่งเสริมให้ชีวิตมีโชค มีทรัพย์ และมากด้วยบารมี จะมีแต่ความราบรื่น เรื่องติดขัดไม่มี จะแคล้วคลาดปลอดภัย […]

วิธีการเลือกซื้อ เครื่องสังฆภัณฑ์ ฉบับ ธาราญา !!

วิธีการเลือกซื้อ เครื่องสังฆภัณฑ์ ฉบับ ธาราญา !!

การถวายสังฆทาน เครื่องสังฆทาน เป็นการถวายสิ่งของรวมทั้งสังฆภัณฑ์แก่พระภิกษุโดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นรูปใด แม้ว่าในการถวายนั้นจะมีพระสงฆ์มารับประเคนเพียงรูปเดียว แต่หากจุดประสงค์ในการถวายทานมีจุดมุ่งหมายเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์โดยรวมแล้วล่ะก็ถือว่าเป็นสังฆทานทั้งสิ้น ความเป็นมาในการถวายสังฆทาน การถวายสังฆทานมีที่มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยเริ่มจากพระนางมหาปชาบดีซึ่งมีศักดิ์เป็นพระน้านางและพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้าได้นำผ้าใหม่ที่พระนางได้ทรงกรอด้ายและทอขึ้นมาเองเพื่อตั้งใจนำมาถวายพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ทรงให้พระนางนำผ้านั้นถวายแด่หมู่สงฆ์เพื่อให้ได้อานิสงส์ที่มากกว่าถวายผ้าแด่พระพุทธองค์เพียงผู้เดียว พระนางทรงทำตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสบอกไว้ ดังนั้นจึงเป็นที่ของการถวายสังฆทานของชาวพุทธเนื่องจากมีความเชื่อกันว่าได้บุญมากและได้อานิสงส์ที่มากกว่าการถวายทานแด่พระสงฆ์ที่จำเพาะเจาะจงเพียงรูปเดียว อานิสงส์ในการถวายสังฆทาน ชาวพุทธมีความเชื่อกันว่าการถวายสังฆทานได้บุญและได้อานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่าผลของสังฆทานจะส่งให้แก่ผู้ถวายไปทุกภพทุกชาติ ทำให้ไม่ต้องพบเจอกับความขัดสนยากจน ซึ่งผลของสังฆทานจะส่งไปไกลมากจนแม้พระพุทธองค์ก็ยังทรงมองไม่เห็นที่สุดของผลนั้น แม้กระทั่งเข้าสู่พระนิพพานแล้วผลของสังฆทานนั้นก็ยังไม่หมดสิ้น เครื่องสังฆภัณฑ์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง สังฆภัณฑ์โดยความหมายตามคำศัพท์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นของพระสงฆ์ และยังรวมถึงเครื่องใช้ที่ใช้ในพิธีการทางศาสนาอีกด้วย เมื่อจะทำบุญถวายสังฆทาน ในงานบุญหรืองานมงคลต่างๆ สามารถเตรียมเครื่องสังฆภัณฑ์หรือซื้อเครื่องสังฆภัณฑ์จากร้านจำหน่ายโดยเฉพาะ ซึ่งทางร้านจะจัดเตรียมของที่จำเป็นบรรจุเอาไว้เป็นชุดเพื่อความสะดวกในการถวายพระสงฆ์ หากจะซื้อหาสังฆภัณฑ์หรือจัดเตรียมชุดสังฆภัณฑ์ด้วยตนเอง ควรเลือกสิ่งของที่มีคุณภาพและมีความจำเป็นต่อพระสงฆ์จริงๆ เพราะการเลือกของที่มีคุณภาพของสังฆทาน นอกจากจะให้ประโยชน์แก่พระสงฆ์อย่างแท้จริงแล้ว ในความเชื่อทางพุทธศาสนายังถือว่าการถวายทานด้วยของที่ดีมีคุณภาพถือเป็นอานิสงส์อันยิ่งใหญ่อีกด้วย สิ่งของที่สามารถนำมาจัดเป็นชุดสังฆภัณฑ์ ประกอบไปด้วย 1. ผ้าไตรจีวร เป็นผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่มซึ่งประกอบไปด้วยผ้าสามผืนคือจีวร ,สบง และ อังสะ ซึ่งผ้าไตรจีวรประเภทนี้เป็นผ้าไตรจีวรที่พระภิกษุใช้นุ่งห่มในชีวิตประจำวัน แต่หากเป็นผ้าไตรชุดใหญ่จะเป็นผ้าไตรที่ใช้ในการบวชพระ ซึ่งผ้าไตรชนิดดีๆ ที่สามารถนำมาจัดชุดสังฆภัณฑ์ได้นั้นควรเลือกผ้าที่มีความแข็งแรงทนทาน มีการตัดเย็บที่ดี สามารถใช้งานได้ทนทาน อีกทั้งยังสามารถระบายอากาศได้ดี เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองที่มีอากาศค่อนข้างร้อน ซึ่งหากเลือกผ้าที่มีคุณภาพต่ำก็จะทำให้อายุการใช้งานไม่คงทน พระภิกษุไม่สามารถนำไปใช้งานได้เต็มที่ตามจุดประสงค์ของผู้ถวาย ซึ่งผ้าไตรจีวรดีๆ นั้นมักตัดเย็บมาจากผ้ามัสลิน รองลงมาคือผ้าซันฟอไรซ์ ส่วนผ้าโทเรนั้นมีราคาถูกและมีอายุการใช้งานที่ไม่ทนทานนัก มีความเชื่อว่าการถวายผ้าไตรแด่พระสงฆ์ อานิสงส์ถวายผ้าไตร จะส่งผลให้นุ่งห่มอะไรก็งาม ไม่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มดีๆ ผิวพรรณงดงาม […]

ทำไมลูกค้าถึงเลือกทำบุญด้วยชุดสังฆทาน และผ้าไตรจีวร จาก ธาราญา !!

ทำไมลูกค้าถึงเลือกทำบุญด้วยชุดสังฆทาน และผ้าไตรจีวร จาก ธาราญา !!

การ “ทำบุญ” ในทางพุทธศาสนาไม่ได้มีเพียงการให้เงินให้ทอง หรือให้ทาน ทำบุญกับพระและวัดเท่านั้น “บุญ” หมายถึง การกระทำความดี มาจากภาษาบาลีว่า “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ดังนั้น บุญจึงเป็นเหมือนเครื่องกำจัดส่งเศร้าหมองที่เราเรียกกันว่า “กิเลส” ให้ออกไปจากใจ บุญจะช่วยให้เราลด ละ เลิก ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ และช่วยให้ใจเป็นอิสระพร้อมจะก้าวไปสู่การทำคุณงามความดีในขั้นต่อๆ ไป เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ มีความสุข และเป็นความสุขที่สงบและยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ปฏิบัติ เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม น่าเคารพยกย่อง เพราะถือว่าเป็น “คนดี” นั่นเอง นั่นแสดงว่าที่เราทำบุญกันมากมายก็เพราะ หวังประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ดังนั้นยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น ผลจิตใจยิ่งคับแคบ ความเมตตากรุณามีแต่จะน้อยลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง วันนี้ทาง “ธาราญา” จะมาแนะนำ วิธีการทำบุญง่ายๆ 2 วิธี ได้แก่ การทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน และการทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรจีวร การถวายสังฆทานเป็นวิธีการทำบุญอีกวิธีหนึ่งที่คนไทยนิยมเป็นอย่างมาก การทำบุญด้วยชุดสังฆทาน การถวายปัจจัยให้พระสงฆ์ถือเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวผู้ทำเอง ช่วยเสริมดวง […]

สีของ ผ้าไตร มีอะไรบ้าง ? รู้ไว้ไม่เสียหลาย !!

สีของผ้าไตรมีอะไรบ้าง

ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) เป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 8 อย่าง ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ก็มีหลักฐานว่า ทรงใช้ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่าจีวร ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อๆกัน ไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้งได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยเนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรนาของชาวมคธ จึงทรงดำริให้ตัดผ้าจีวร เป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัดแต่งแล้ว ให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ ผ้า 3 ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง ต่อมาทรงอนุญาต ผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่า ภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้ การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตร เพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง […]

เปรียบเทียบชุด ผ้าไตร ธาราญา กับ ชุดผ้าไตร ทั่วไป !!

เปรียบเทียบ ชุดผ้าไตร ธาราญา กับ ชุดผ้าไตร ทั่วไป

การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรเพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง ดั่งความตั้งใจของผู้ถวายมีที่จิตศรัทธานั้น ควรต้องทำความเข้าใจในการเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม เพราะผ้าไตรผู้ซื้อไม่ได้ใช้ จึงไม่เข้าใจว่าจะเลือกอย่างไรพระท่านจึงนำไปใช้ได้จริง คงทน เหมะสมและตัดเย็บถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผ้าไตรจีวรที่ซื้อมาถวายส่วนมากจึงไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เนื้อผ้าหนาเกินไปหรือไม่ระบายอากาศ ลองคิดถึงสภาพอากาศบ้านเรานะคะ และคิดถึงผ้าหลายชั้นที่พระท่านครอง ผ้าหนาและไม่ระบายอากาศจึงไม่เหมะสมที่จะใช้งาน นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึง ขนาด สี และความเหมาะสมกับวัดที่นำไปถวาย เช่น มหานิกายใช้สีเหลืองส้ม  ต่างจากธรรมยุตที่ใชสีกรักและเป็นผ้า 9 ขันธ์ เป็นต้น 5 สิ่งที่ต้องพิจารณา ผ้าไตรแบบไหน ที่พระภิกษุสงฆ์นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนี้ 1 สี ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน สีพระราชทาน พระสงฆ์มหานิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม สีพระราชทาน การเลือกสีควรพิจารณาว่า นำไปถวายวัดไหน ใช้สีอะไร หรือ ถ้าไม่รู้ก็ควรเลือกสีพระราชทาน 2 วัตถุประสงฆ์ในการถวายผ้าไตร ผ้าไตรแบ่งได้ 2 แบบหลักตามความต้องการใช้งาน แบบที่ 1ผ้าไตรชุดใหญ่ ใช้สำหรับการบวชพระ ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย ใช้ในการบวชพระ ฝ่ายธรรมยุตหรือเราเรียกว่าวัดป่านั้นต้องเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 9 ขันธ์ ที่มีสังฆาฏิ […]