Tag Archives: การทำบุญ

ทำบุญ ต้อนรับปี 2566 ปีเถาะ

ทำบุญปีใหม่ 2566

ทำบุญต้อนรับปี 2566 ปีเถาะ ทำบุญตักบาตร เนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่การตักบาตรคือการถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณรรูปเดียวหรือหลายรูปจะปฏิบัติเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวก็ได้เนื่องในวันปีใหม่จึงนิยมทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต วัตถุประสงค์ของการตักบาตรนอกจากจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการให้ทานเพื่อบูชาคุณแล้วยังมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1. ธำรงส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนา 2. ส่งเสริมและบำรุงพระภิกษุสามเณรผู้ทรงศีลทรงธรรม 3. ส่งเสริมคุณความดีของผู้ปฏิบัติทั้งผู้ตักบาตรและพระภิกษุสามเณรผู้รับบิณฑบาตร การตักบาตรจึงเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ เพราะเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณรได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฎิบัติธรรมตามพระธรรมวินัย และสั่งสอนประชาชนเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรสืบไป ทั้งนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติด้วยเพราะทำให้เป็นผู้มีใจบุญกุศลและเป็นการส่งเสริมผุ้ทรงคุณธรรม  การทำบุญตักบาตรนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชใหม่ๆ ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงประทับที่สวนมะม่วง พระองค์เสด็จบิณฑบาตผ่านกรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ชาวเมืองเห็นพระมาบิณฑบาตก็ชวนกันนำอาหารมาตักบาตรเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา การตักบาตรจึงถือเป็นประเพณีมาจนบัดนี้ และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้เกด มีพ่อค้า ๒ คน นำข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย พระพุทธองค์ทรงรับไว้ด้วยบาตร นี่ก็เป็นที่มาของการตักบาตรทางพระพุทธศาสนาด้วยประการหนึ่ง นอกการการตักบาตรแล้วยังมีการทำบุญอีกหลากหลายวิธี ดังนี้ 1. ถือศีล 5 อานิสงส์เป็นผลให้เกิดความโชคดี และแก้เคราะห์ลดกรรมได้ 2. ทำบุญปล่อยสัตว์ เป็นการไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น ส่งผลให้หมดทุกข์ หมดภัยและพบความสุขความเจริญในชีวิต 3. ทำบุญ ให้ทาน ทำทานแก่คนยากไร้ เพื่อเป็นบุญส่งเสริมให้ชีวิตมีโชค มีทรัพย์ และมากด้วยบารมี จะมีแต่ความราบรื่น เรื่องติดขัดไม่มี จะแคล้วคลาดปลอดภัย […]

การ ทอดกฐิน ในประเทศไทย มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง ?

ทอดกฐิน เป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐิน ของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ กฐินหลวงกฐินหลวงคือผ้าพระกฐินที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปถวายด้วยพระองค์เองกฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือทรงโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น) ทอดกฐิน หลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น ได้แก่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหารวัดราชโอรสารามราชวรวิหารวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดบวรนิเวศราชวรวิหารวัดราชาธิวาสราชวรวิหารวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหารวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหารวัดพระปฐมเจดีย์วัดสุวรรณดารารามวัดนิเวศธรรมประวัติวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พิษณุโลก) กฐินต้นกฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์ กฐินพระราชทานกฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกบินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย) กฐินราษฎร์ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ “บริวารกฐิน” มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฎรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย  

ความเป็นมาและความสำคัญของ พวงมาลัย

        ประเทศไทยเราได้รับวัฒนธรรมการร้อยมาลัยมาจากอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศต้นกำเนิดสำคัญของศิลปะการร้อยมาลัยของหลายประเทศ โดยชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูจะร้อยพวงมาลัยด้วยวัสดุจากดอกไม้สด เช่น ดอกมะลิ หรือ ดอกกุหลาบ นำไปบูชาเทพต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล         การร้อยมาลัยได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงรัชกาลที่ 5 ซึ่งจะมีการจัดประกวดการร้อยมาลัยหรือการจัดดอกไม้เพื่อใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เรียกได้ว่าศิลปะการร้อยมาลัยเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงระดับรสนิยมของสังคมในช่วงนั้น เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ประชันความเหนือชั้นระหว่างผู้หญิงด้วยกันได้ ทั้งนี้เพราะในยุคนั้น ผู้หญิงต้องมีฝีมือการเป็นแม่บ้านแม่เรือนสูงกว่าผู้หญิงในยุคปัจจุบัน ทักษะการจัดดอกไม้หรือการร้อย พวงมาลัย ที่ประณีตและสวยงามจึงเปรียบเสมือนการเพิ่มคุณค่าให้ผู้หญิงในยุคที่สังคมยังมีการปกครองแบบผู้ชายเป็นใหญ่         ศิลปะการร้อยมาลัยได้รับการสืบทอดมาเรื่อย ๆ กลายเป็นวิชาความรู้ที่มีการสอนตามวิทยาลัยในวัง โรงเรียนการเรือน จนถึงสถาบันวิชาชีพต่าง ๆ ในปัจจุบัน พวงมาลัย ถูกนำมาใช้ตามงานมงคลมากมาย ได้แก่ งานแต่งงาน งานรับขวัญต่าง ๆ หรือ งานแสดงการต้อนรับบุคคลสำคัญ สื่อให้เห็นว่า พวงมาลัย จัดเป็นงานประดิษฐ์ที่ยังคงมีคุณค่าเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่คนไทยใช้ในงานสำคัญ ๆ ที่แสดงออกถึงความเคารพ และ […]

ความหมายของกฐินในแต่ละรูปแบบ

กฐิน หรือ มหากฐิน เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่ง ที่มีความศรัทธาโดยเฉพาะ กล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน ณ วัดใด ก็ให้ทำใบปวารณาจองกฐินติดใบบอกไว้ ณ เขตวัดนั้นๆ เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน ซึ่งจะเป็นผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาวซึ่งยังไม่ได้ตัด ก็ให้ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังไม่ได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งจัดเป็นองค์กฐิน นำไปทอด ณ วัดที่ได้จองไว้นั้น นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐินจะต้องมี ผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุดในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกสั้นๆ ว่า เทียนปาติโมกข์ จำนวน 24 เล่ม และมีธงผ้าขาวเขียนรูปจระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัดที่อยู่ตามริมน้ำ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว (ถ้าเป็นวัดที่อยู่ไกลแม่น้ำให้มีธงผ้าขาวเขียนรูปตะขาบปักไว้หน้าวัดแทนรูปสัตว์น้ำ) การปักธงนี้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และอนุโมทนาร่วมกุศลด้วยได้ นอกจากนี้แล้วยังมีประเพณีนิยมอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับเวลาของการทอดกฐิน ถ้าเป็นเวลาเช้าจะมีการทำบุญถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุ สามเณร ในวัดด้วยกฐินที่ราษฎรเป็นเจ้าภาพนำองค์กฐินและบริวารกฐินไปทอดยังวัดต่างๆ นี้เรียกว่า กฐิน หรือ มหากฐิน เหตุที่เรียกว่ามหากฐินอาจเป็นเพราะจะให้เห็นความแตกต่างจากกฐินอีกชนิดหนึ่งคือ จุลกฐิน […]

การทำบุญด้วยสังฆทานอันประณีต ดียังไง ?

การทำบุญ เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการชำระใจให้บริสุทธิ์สะอาด บุญเป็นความสุขใจที่เกิดขึ้นหลังจากใครก็ตามได้ทำสิ่งที่มีคุณค่าต่อตนหรือต่อผู้อื่น การทำบุญ นั้นไม่ได้ทำแค่กับคนเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง สัตว์ และ สิ่งอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อม คำว่า บุญ หมายถึง การชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญในงานมงคล หรืออวมงคล ถ้าจะทำให้ถูกต้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือ ความหลง และการทำบุญ คนทั่วไปมักหมายถึง การทำทานนั่นเอง เป็นการให้สิ่งของแกผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ด้วยความเต็มใจ แต่คำว่า “บุญ” ในทางพระพุทธศาสนา มีความหมายมากกว่าการให้ ซึ่ง “บุญ” ในความหมายของทางพระพุทธศาสนา หมายถึง “ความดี” ฉะนั้นการที่เรากระทำความดี ก็ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งเช่นกัน เพราะความดีนั้นเกิดจากจิตใจที่บริสุทธิ์ เมื่อทำความดีก็จะเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์นั่นเอง วิธีการทำบุญอย่างง่ายด้วยสังฆทานอันประณีต วิธี การทำบุญ อย่างง่ายที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ในทุกวัน คือ          1. การเอื้อเฟื้อ ให้ปัน         […]