ประเทศไทยเราได้รับวัฒนธรรมการร้อยมาลัยมาจากอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศต้นกำเนิดสำคัญของศิลปะการร้อยมาลัยของหลายประเทศ โดยชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูจะร้อยพวงมาลัยด้วยวัสดุจากดอกไม้สด เช่น ดอกมะลิ หรือ ดอกกุหลาบ นำไปบูชาเทพต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล การร้อยมาลัยได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงรัชกาลที่ 5 ซึ่งจะมีการจัดประกวดการร้อยมาลัยหรือการจัดดอกไม้เพื่อใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เรียกได้ว่าศิลปะการร้อยมาลัยเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงระดับรสนิยมของสังคมในช่วงนั้น เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ประชันความเหนือชั้นระหว่างผู้หญิงด้วยกันได้ ทั้งนี้เพราะในยุคนั้น ผู้หญิงต้องมีฝีมือการเป็นแม่บ้านแม่เรือนสูงกว่าผู้หญิงในยุคปัจจุบัน ทักษะการจัดดอกไม้หรือการร้อย พวงมาลัย ที่ประณีตและสวยงามจึงเปรียบเสมือนการเพิ่มคุณค่าให้ผู้หญิงในยุคที่สังคมยังมีการปกครองแบบผู้ชายเป็นใหญ่ ศิลปะการร้อยมาลัยได้รับการสืบทอดมาเรื่อย ๆ กลายเป็นวิชาความรู้ที่มีการสอนตามวิทยาลัยในวัง โรงเรียนการเรือน จนถึงสถาบันวิชาชีพต่าง ๆ ในปัจจุบัน พวงมาลัย ถูกนำมาใช้ตามงานมงคลมากมาย ได้แก่ งานแต่งงาน งานรับขวัญต่าง ๆ หรือ งานแสดงการต้อนรับบุคคลสำคัญ สื่อให้เห็นว่า พวงมาลัย จัดเป็นงานประดิษฐ์ที่ยังคงมีคุณค่าเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่คนไทยใช้ในงานสำคัญ ๆ ที่แสดงออกถึงความเคารพ และ […]
Tag Archives: สังฆาฏิ
กฐิน หรือ มหากฐิน เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่ง ที่มีความศรัทธาโดยเฉพาะ กล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน ณ วัดใด ก็ให้ทำใบปวารณาจองกฐินติดใบบอกไว้ ณ เขตวัดนั้นๆ เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน ซึ่งจะเป็นผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาวซึ่งยังไม่ได้ตัด ก็ให้ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังไม่ได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งจัดเป็นองค์กฐิน นำไปทอด ณ วัดที่ได้จองไว้นั้น นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐินจะต้องมี ผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุดในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกสั้นๆ ว่า เทียนปาติโมกข์ จำนวน 24 เล่ม และมีธงผ้าขาวเขียนรูปจระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัดที่อยู่ตามริมน้ำ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว (ถ้าเป็นวัดที่อยู่ไกลแม่น้ำให้มีธงผ้าขาวเขียนรูปตะขาบปักไว้หน้าวัดแทนรูปสัตว์น้ำ) การปักธงนี้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และอนุโมทนาร่วมกุศลด้วยได้ นอกจากนี้แล้วยังมีประเพณีนิยมอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับเวลาของการทอดกฐิน ถ้าเป็นเวลาเช้าจะมีการทำบุญถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุ สามเณร ในวัดด้วยกฐินที่ราษฎรเป็นเจ้าภาพนำองค์กฐินและบริวารกฐินไปทอดยังวัดต่างๆ นี้เรียกว่า กฐิน หรือ มหากฐิน เหตุที่เรียกว่ามหากฐินอาจเป็นเพราะจะให้เห็นความแตกต่างจากกฐินอีกชนิดหนึ่งคือ จุลกฐิน […]
ผ้าไตรธรรมยุตหรือที่เราเรียกกันว่า วัดป่า นั้นจะต้องเป็นผ้าไตรครองชุดใหญ่ 9 ขันธ์ หรือไตรเต็ม 9 ขันฑ์ ที่มีสังฆาฏิ 2 ชั้น ประกอบไปด้วย 7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 2 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน ผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรธรรมยุตที่นิยมใช้โดยทั่วไป มี 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้ ผ้าโทเร ผ้าโทเรนั้นจะมีลักษณะเป็นผ้าบาง มีส่วนผสมของ Polyester 65% และ Cotton 35% ใส่สบาย ระบายอากาศได้ดีมาก เพราะเป็นผ้าบางดูแลง่าย ซึมซับเหงื่อได้ดีระดับหนึ่ง เหมาะสำหรับใช้ตัดเป็นเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม ราคาไม่แพง จะไม่ทนทานเท่าผ้ามัสลิน ผ้ามัสลิน ผ้ามัสลินนั้นจะมีราคาแพงกว่าผ้าจีวรที่ตัดเย็บด้วยเนื้อผ้าโทเร หรือผ้าฝ้าย ด้วยเหตุผลที่ว่าผ้ามัสลิน เป็นเนื้อผ้าที่บางเบา ห่มแล้วสบาย เวลาอากาศร้อนผ้าจะเย็น เวลาอากาศเย็นก็เก็บไอร้อนจากตัวไว้ได้ดี ซักแล้วแห้งง่าย […]
ผ้าไตร หลายคนอาจสงสัยว่าคืออะไร ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับผ้าไตร ก่อนที่จะซื้อผ้าไตรถวายพระหรือนำไปทำบุญ ผ้าไตร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์ ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า ผ้าไตร ส่วนใหญ่มักนิยมเรียกย่อๆ ว่า ไตร ไตรเต็ม หรือ ไตรแบ่ง ไตรเต็ม คือ ผ้าไตรที่จัดรวมกันไว้เป็นชุดครบทั้ง 3 ผืน เหมือนผ้าไตรที่นิยมวายกันโดยทั่วไป บางโอกาสอาจจะเพิ่ม กายพันธน์ ผ้าอังสะ […]