“สังฆภัณฑ์” และ “สังฆทาน” เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาพุทธศาสนา โดยมักใช้เพื่ออธิบายหลักการและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตพุทธศาสนิกชน แต่มีความแตกต่างกัน บทความนี้ธาราญามีคำตอบในความหมายและมีความแตกต่างกันอย่างไร ความหมาย “สังฆภัณฑ์” สังฆภัณฑ์ คือ สิ่งของเครื่องใช้ในกิจของพระสงฆ์ แต่หากจะขยายความสังฆภัณฑ์ก็คือ เครื่องใช้สำหรับพิธีการทางศาสนาเข้าไปด้วย เช่น โต๊ะหมู่บูชา เครื่องบูชา เครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป รูปเหมือนต่าง ๆเป็นต้น สังฆภัณฑ์ยังรวมถึง สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวของพระสงฆ์ด้วย เช่น จีวร บาตร อาสนะ สบง เป็นต้น สิ่งต่าง ๆที่คนทั่วไปตั้งใจนำมาถวายพระภิกษุสงฆ์ ชุดสังฆทาน คือ คือ การถวายสิ่งของที่เป็นปัจจัยสี่แด่พระภิกษุสงฆ์หรือเป็นสิ่งที่พระภิกษุสงฆ์จำเป็นต้องใช้ หรือสรุปได้ว่า “สังฆทานก็คือทานเพื่อพระสงฆ์” ไม่ใช่ถวายเพื่อมุ่ง สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา ให้ตนเองหรือ อุทิศบุญกุศล ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับโดยนำของที่ผู้ล่วงลับชอบหรือ ใช้อยู่เป็นประจำมาถวายพระ แต่ถ้าหากท่านต้องการทำบุญให้กับสัตว์เลี้ยง ที่เสียชีวิตไปแล้วหรือต้องการบริจาคอาหารสัตว์ให้กับวัดก็สามารถทำได้ เพียงแต่แยกอาหารสัตว์ ออกจากเครื่องสังฆทาน โดยไม่ควรใส่ปะปนกับสิ่งของอื่นๆ เพียงเท่านี้พระภิกษุสงฆ์ก็จะได้ใช้ประโยชน์จากสังฆทาน ที่ถวายและนอกจากคุณจะถวายสังฆทานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว คุณยังได้รับอานิสงส์จากการถวายสังฆทาน อีกด้วย สังฆทานคืออะไร สังฆทาน คือ การถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงพระภิกษุรูปหนึ่งรูปใด […]
Tag Archives: สังฆทาน
ความตายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้นได้เลย จะต่างกันก็เพียงแต่จะช้าหรือจะเร็วเท่านั้นเอง การเตรียมงาน ทำบุญ ดำเนินการเกี่ยวกับ พิธีศพ ตามลัทธิประเพณีนิยม เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ตายและเป็นการไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้ายให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว งานศพ ซึ่งในแต่ละพิธีการจะมีข้อปฏิบัติและสิ่งของที่ควรจัดเตรียมในงานศพ ดังนี้ การจัดงานศพและ ทำบุญให้ผู้ล่วงลับ ต้องเตรียมอะไรบ้าง ? พิธีรดน้ำศพ เริ่มต้นหลังจากนำศพใส่โลงเรียบร้อยแล้ว เป็นพิธีที่ทำเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่ล่วงลับ โดยเจ้าภาพมักจะเชิญคนสนิท ญาติ หรือคนที่รู้จักไปร่วมพิธีรดน้ำศพ โดยทำการเคารพศพ และเทน้ำอบที่ได้จัดเตรียมไว้ลงบนฝ่ามือ และอโหสิกรรมให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พิธีสวดอภิธรรม เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศบุญส่วนกุศล และระลึกถึงคุณความดีของผู้ที่ล่วงลับ ด้วยการนิมนต์พระ จำนวน 4 รูป เพื่อมาสวดบทอภิธรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ซึ่งโดยปกติแล้วในงานสวดอภิธรรมมักจะนิยมสวด 1 คืน 3 คืน 5 คืน และ 7 คืน ในส่วนนี้เองเจ้าภาพต้องมีการจัดเตรียม “สังฆทานงานศพ” หรือเครื่องไทยธรรม และสบง จำนวน 4 ชุด เพื่อทำบุญถวายพระสวดอภิธรรม และบังสุกุล(คลิกอ่านความหมาย)ให้กับผู้เสียชีวิตในแต่ละคืน พร้อมปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่กำลังศรัทธา […]
การถวายสังฆทาน หมายถึงการ ถวายสิ่งของจตุปัจจัยวัตถุแก่หมู่พระสงฆ์ โดยไม่เลือกระบุถวายเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง กล่าวคือ ถวายเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการ หรือเพียงแค่ถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (โดย “ไม่เลือก” ว่าจำเพาะถวายรูปนั้นรูปนี้ เช่น เป็นพระผู้ทรงพรรษา พระรูปที่เรารู้จัก หรือพระรูปที่ตนศรัทธา) ที่เป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ หรือถวายโดยมีเจตนาเพื่อบำรุงพระสงฆ์สามเณรโดยไม่เลือกผู้รับ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน 10 อันดับของสังฆทาน ที่พระจะได้ประโยชน์มากที่สุด 1. เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เนื่องจากพระสมัยนี้ ต้องเรียนพระปริยัติธรรม และจดกำหนดนัดหมายต่างๆ ช่วยจำ บางรูปท่านเป็นเหรัญญิกดูแลค่าใช้จ่าย ยิ่งต้องใช้มาก แต่ไม่ค่อยมีใครถวายเครื่องเขียนเหล่านี้ พระท่านจึงต้องไปเดินหาซื้อเองเสมอ หากเราถวายไป พระท่านจะได้ใช้อย่างแน่นอน 2. ใบมีดโกน ควรเลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพ โกนได้เกลี้ยงเกลา เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ในการปลงผมได้อย่างสะดวกและปลอดภัย 3. ผ้าไตรจีวร แม้จะเป็นสิ่งที่พบเห็นในชุดสังฆทาน แต่ส่วนใหญ่มักเป็นของที่ไม่ได้ขนาดและไม่มีคุณภาพ ดังนั้นผู้ถวายสังฆทาน ควรเลือกอย่างเหมาะสม เช่น ผ้าไตรจีวรที่ทำจากผ้ามัสลิน เพราะเนื้อผ้าเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้น 4. หนังสือธรรมะ สารคดี นิตยสาร หรือที่ให้ความรู้ด้านอื่นๆ […]
วิธีการ แก้กรรม มีมากมาย แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน วิธีที่จะทำให้ กรรมบรรเทาลงได้นั้นมี ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ถ้าเจ้ากรรมนายเวรจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบริเวณที่เจ็บปวดได้รับอโหสิกรรมแล้วจะหายเจ็บปวดทันที กรรมนี้จะเบาลงและจะมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยสังเกตจากตัวเราเองว่า มีสิ่งที่ดีเข้ามามากขึ้นที่ป่วย ก็จะหาย ที่จนก็จะเริ่มมี แสดงว่าเราเริ่มมีบุญแล้ว หากกรรมยังเยอะ ก็ยังลำบากอยู่ แล้ว “กรรม” คืออะไร ? “กรรม” การกระทำด้วยเจตนา ทั้งในอดีตชาติ หรือในปัจจุบันก็ล้วนเป็นกรรมทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมีผลกระทบต่อปัจจุบันและอนาคต “ใครทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมไปตกอยู่ที่ผู้กระทำ” (การ แก้กรรม สามารถช่วยได้ จากหนักเป็นเบา) ไม่มีใครหลุดพ้นหรือหนีจากกฎแห่งกรรมไปได้ วิบากกรรมของแต่ละคนก็แตกต่างกัน วิธีการ แก้กรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ เช่น การใส่บาตร ถือศีล กินเจ ช่วยผู้ที่เดือดร้อน ถวายสังฆทาน สวดมนต์ กราบบิดามารดา ล้วนเป็นมหากุศล การทำบุญให้อธิษฐานจิตทุกครั้ง เพื่อนำส่งบุญให้ตัวเอง มีชีวิตที่ดีขึ้น เจริญขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นกุศลและเป็นบุญทั้งสิ้น คำกล่าวในการแก้กรรม คือ ให้ “ตั้งนะโม 3 จบ” ตามด้วย ข้าพเจ้า…..ชื่อตัวเอง…..นามสกุล………เกิดวันที่……….วันนี้ข้าพเจ้าขอตั้งจิตถึงบารมีสิ่งศักดิ์ทั่วสากลโลก รวมถึงองค์เทพองค์พรหมที่ปกปักษ์รักษากาย สังขาร วิญญาณลูกอยู่ วันนี้ลูกตั้งจิตถวาย……บุญที่ทำ……..ลูกขอถวายบุญกุศลนี้แก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ รวมถึงองค์เทพองค์พรหมทั้งหลายให้มีพระบารมีมากขึ้น และขอให้ทุกๆ พระองค์นำส่งบุญให้ลูกเจริญขึ้นทั้งการงาน การเงิน และความรัก […]
ทาน หมายถึง การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่หวังผลตอบแทน เมื่อเราให้ทานแม้จะไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทนก็ตาม แต่ก็จะมีบุญเกิดขึ้น และบุญนั้นจะช่วยให้เราสมบูรณ์พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ ถ้าใครปราศจากการให้ทานเกิดมาก็จะยากจน ทำบุญทำทานได้ไม่สะดวกเพราะมัวแต่กังวลเรื่องการทำมาหากิน “ทาน” จึงเป็นพื้นทานของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้า ทาน เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ10 การทำทานจึงเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง แล้ว บุญกิริยาวัตถุ10 คือ 1. ทานมัย – บุญจากการทำทาน คือ การให้ในทุกรูปแบบ 2. สีลมัย – บุญจากการรักษาศีล คือ รักษาศีล 5 เป็นพื้นฐาน 3. ภาวนามัย – บุญจากการเจริญสมาธิภาวนา คือ นั่งสมาธิภาวนา 4. อปจายนมัย – บุญเกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตน คือ ให้เกียรติผู้อื่น 5. เวยยาวัจจมัย – บุญจากการช่วยเหลือการงานที่ถูกที่ควร เช่น การเป็นจิตอาสา 6. ปัตติทานมัย – บุญจากการอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้อื่น ทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และผู้เสียชีวิต 7. ปัตตานุโมทนามัย – บุญจากการอนุโมทนา คือ แสดงความยินดีกับผู้อื่น 8. ธัมมัสสวนมัย – บุญจากการฟังธรรมในทุกรูปแบบจากพระสงฆ์ 9. ธัมมเทสนามัย – บุญจากการแสดงธรรม คือ รู้แล้วบอกต่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย อาทิเช่น […]
ภายในช่วงเวลาขึ้นปีใหม่ของจีนนอกจากงานฉลองในช่วงเวลาขึ้นปีใหม่ อีกสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านานคือ ปีชง หรือปีที่ดวงชะตาของคนเราไม่มงคลแก่ดวงชะตาของเราเอง ก่อให้เกิดเป็นธรรมเนียมการ แก้ชง ที่ต้องมีการไปกราบไหว้ขอพรตามวัดต่างๆ เพื่อผ่อนเรื่องเลวร้ายที่อาจเข้ามาและเกิดขึ้นในชีวิตจากหนักให้เป็นเบา ที่มาและความหมายของคำว่าปีชงกับเทพเจ้าไท้ส่วยเอี้ย ปีชง ตามความหมายจีนคำว่า ชง หมายถึง ชน ส่วนนี้อ้างอิงจากหลักความเชื่อโหราศาสตร์จีน เรื่องปีนักษัตรประจำปี รวมถึงหลักการธาตุทั้ง 5 อย่าง ดิน น้ำ ไฟ ไม้ ทอง ตามหลักคิดของลัทธิเต๋า มารวมกับวันเดือนปีเกิดตามปฏิทินจีนโบราณของแต่ละคน และเทพประจำปีของปีนั้นๆ ว่าส่งเสริมหรือขัดแย้งดวงชะตาของแต่ละคนแค่ไหน เมื่อเกิดการชงหรือดวงชะตาชนกับเทพเจ้าขึ้นจะทำให้ดวงชะตาของคนผู้นั้นตกต่ำ ทำให้ชีวิตเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม เต็มไปด้วยการติดขัด ดำเนินชีวิตอย่างยากลำบาก โรคภัยไข้เจ็บถามหา เคราะห์ร้ายและเภทภัยจะถาโถมมาถึงตัว เป็นเหตุให้ต้องมีการไหว้ปีชงเพื่อผ่อนหนักเป็นเบาส่งเสริมดวงชะตาให้ดีขึ้น หรือที่เราอาจรู้จักกันในชื่อ สะเดาะเคราะห์ นั่นเอง รายละเอียดของปีชงและการแก้ชงจัดว่ามีความซับซ้อนเพราะต้องประเมินจากหลายอย่าง มีรายละเอียดต้องคิดถึงมากมาย ทั้งจากวันเกิด เดือนเกิด ปีเกิด เวลาเกิด หากมีความขัดแย้งกับเทพประจำปีนั้นๆ ก็มีการกราบไหว้เพื่อส่งเสริมดวงชะตา ร้องขอความเมตตา เพื่อผ่อนเรื่องเลวร้ายจากหนักให้เป็นเบา นั่นคือหลักการคิดของสิ่งที่เรียกว่าปีชง เทพเจ้าที่มีความเชื่อมโยงกับแนวคิดของปีชงคือ ไท้ส่วยเอี้ย พูดให้ถูกคือเป็นกลุ่มเทพเจ้าที่มีต้นตอมาจากลัทธิเต๋าของชาวจีน เป็นเทพประจำดวงดาวที่เชื่อว่าคอยคุ้มครองดวงชะตาของผู้คนให้แคล้วคลาด ปลอดภัย […]
การ ถวายสังฆทาน เป็นการทำบุญที่คนไทยเชื่อกันว่าเป็นการทำทานที่ได้บุญมาก เพราะสังฆทานเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด ผู้ที่ประสงค์จะทำทานจะเตรียมสิ่งของที่จะถวายทาน เมื่อพร้อมแล้วนำไปยังวัด บอกท่านเจ้าอาวาสว่า ต้องการถวายสังฆทาน ท่านจะนิมนต์พระสงฆ์รูปใดมารับสังฆทานก็ได้ หรือจะเตรียมของแล้วนำของไปยังวัด ไปพบพระสงฆ์รูปใดก็แจ้งความจำนงขอถวายสังฆทาน ท่านก็จะทำพิธีรับสังฆทาน หากกำหนดว่าจะถวายแก่พระรูปใดรูปหนึ่ง การทานนั้นก็ไม่เป็น สังฆทาน ถ้าต้องการอุทิศส่วนบุญ(https://www.sanook.com/horoscope/106341/) ส่วนกุศลให้แก่ผู้ใดผู้ถวายทานก็มักจะบอกหรือเขียนชื่อนามสกุล ให้แก่พระภิกษุ เพื่อท่านจะได้ทำพิธีอุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ที่บอกชื่อนั้น ๆ การทำสังฆทานนั้นหากมีกำลังมีปัจจัย ขอแนะนำว่าควรทำให้ครบทั้งปัจจัยสี่ มีอาหารคาวหวานให้ครบถ้วน น้ำสะอาด เครื่องนุ่งห่ม (เครื่องบวช) ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เพิ่มพระพุทธรูปประจำวันเกิดและหนังสือธรรมะเข้าไปด้วยเพื่อให้จิตใจของเจ้ากรรมนายเวร ช่วยให้เขาใจในรสพระธรรม เพื่อให้เขามีจิตใจที่เย็นสบายพ้นทุกข์ การถวายสังฆทาน คือการทำบุญวิธีหนึ่งที่ได้บุญมากเป็นการอุทิศผลบุญให้กับตนเองหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการถวาย อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และอื่น ๆ ให้กับพระสงฆ์โดยที่ไม่ระบุเจาะจงว่าเป็นพระสงฆ์รูปใดซึ่งถือเป็นหลักสำคัญของการถวายสังฆทาน กล่าวคือต้องตั้งเจตนาว่าจะถวายของสิ่งนั้นแก่สงฆ์เป็นของกลางหรือเป็นของส่วนรวม ไม่ใช่เฉพาะแก่สงฆ์รูปใดรูปหนึ่งนั่นเอง และถ้าจะให้ดีไม่ควรเจาะจงวัดไหนๆ ทั้งสิ้นด้วย ส่วนคำว่า “สังฆทาน” นั้น แปลตรงตัวว่า ถวายเป็นของสงฆ์ และของที่จะถวายสังฆทานนั้นมี 2 ประเภท คือ ของฉัน (ของกิน) กับ ของใช้ แต่ต้องเป็นของที่ถวายพระแล้วพระใช้ได้โดยไม่ผิดวินัยสงฆ์ด้วย เมื่อทราบกันแล้วว่าสังฆทาน […]
สังฆทาน คือ การถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงพระภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อถวายให้แล้วก็ถือว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก อาจจะมี เพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่า เป็นการถวายสังฆทานเหมือนกัน สังฆทาน แยกเป็น 2 คำ ได้แก่ ”สังฆะ” และ ”ทาน” โดย (สังฆะ) หมายถึง ภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ (ทาน) หมายถึง การให้, แบ่งปัน, แจกจ่ายวัตถุสิ่งของปัจจัยสี่ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เมื่อรวมความหมายแล้ว “สังฆทาน” ฉะนั้นแล้วการตั้งใจถวายเครื่องสังฆทานแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า “ปาฏิปุคลิกทาน” เราไม่เรียกว่าเป็นการถวายสังฆทานเพราะทานเช่นนี้ยังไม่ช่วยทำให้จิตใจห่างจากความยึดติดถือมั่น แต่กระนั้นก็ยังถือว่าเป็นทานที่ควรทำอยู่เพราะถือเป็นการฝึกให้ปัจเจกบุคคลรู้จักพัฒนาตนให้มีธรรม การถวายสังฆทานมีที่มาอย่างไร ในสมัยพุทธกาลพระนางมหาปชาบดี (พระแม่น้า) ต้องการถวายผ้าจีวรแก่พระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระนางถวายแก่สงฆ์ โดยอรรถาธิบายว่า การถวายแก่สงฆ์ย่อมให้อานิสงส์มากกว่าถวายแก่พระองค์เป็นการเฉพาะ ตั้งแต่นั้นมา ชาวพุทธจึงถือกันว่า การถวายสังฆทาน เป็นมหาทานที่ทำให้มีอานิสงส์มาก ได้บุญมาก การเลือกซื้อสังฆทานยุคใหม่ เลือกซื้อสังฆทานในปัจจุบัน หรือการเลือกซื้อ แบบ New Normal เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน ทำให้หลากหลายธุรกิจต้องปรับตัวไปตาม ๆ กัน เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงวัดหรือศาสนสถานของชาวพุทธศาสนิกชนชาวไทยด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันก็เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 และเรื่องฝุ่น pm2.5 ทำให้วิถีการทำบุญถวายสังฆทานของชาวไทยเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเลือกซื้อสังฆทานการในโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้น […]
สะเดาะเคราะห์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งมีทั้งเคราะห์ดีและเคราะห์ร้าย สิ่งที่ดีเรียกว่า “ศุภเคราะห์” สิ่งไม่ดี เรียกว่า “บาปเคราะห์” ก่อนที่บุคคลจะประสบเคราะห์ไม่ว่าจะทางดีหรือทางร้าย มักจะมีเครื่องปรากฏให้เห็นก่อนเรียกว่า “ลาง” ลางที่จะบอกว่ามีเคราะห์ดี เช่น เห็นพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ หรือเห็นพระเจ้า พระสงฆ์ และที่บอกว่าจะมีเคราะห์ร้าย เช่น เห็นบึ้ง เห็นงูทำทาน เห็นข้าวนึ่งแดง เป็นต้น เมื่อมีลางบอกเหตุในทางไม่ดีก็ต้องทำการสะเดาะเคราะห์ นั้นเอง ชาวพุทธเราเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจก็มักจะไปทำบุญเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การถวายสังฆทาน เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระสงฆ์อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก จะทำสิ่งใดก็ราบรื่นไม่ติดขัดพบแต่ความสำเร็จสมปรารถนา รวมทั้งมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ไม่ขัดสน การถวายน้ำมันตะเกียง เพื่อความรุ่งโรจน์โชติช่วงของชีวิตเช่นเดียวกับความสว่างของแสงตะเกียง ทำให้พ้นจากความมืดมิดทั้งการดำเนินชีวิตรวมทั้งปัญหาและความคิดที่สว่างไสวไม่อับจนหนทาง การทำทานแก่คนยากไร้ เป็นการทำบุญที่มาจากจิตใจอันไม่ยึดติด มีความไม่โลภ ผลบุญจึงหนุนนำให้มีแต่ความราบรื่น ยามมีเรื่องติดขัดก็จะมีผู้มาช่วยเหลือค้ำจุน ยามมีเคราะห์ภัยก็จะแคล้วคลาดเพราะแรงอนุโมทนาจิตจากผู้ยากไร้ที่ได้รับสิ่งของจากเรานั่นเอง การรักษาศีล ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเป็นมหากุศล เป็นเกราะคุ้มครองตัวเอง การทำบุญโลงศพ ซื้อโลงศพ บริจาคให้แก่ศพอนาถาไร้ญาติ จะได้อานิสงส์แรงยิ่งนักการทำบุญเช่นนี้จะช่วยเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่ง สามารถต้านเคราะห์ภัยหนักต่างๆและผ่อนหนักเป็นเบาได้ การนั่งสมาธิ หรือสวดมนต์ […]
สังฆทานคืออะไร? สังฆทาน แยกคำได้ว่า “สังฆะ” แปลว่า หมู่ กลุ่ม หรือส่วนรวม และ “ทาน” แปลว่าการให้ ความหมายโดยรวมคือ ถวายเป็นของสงฆ์ ดังนั้นคำว่า สังฆทาน แปลได้ว่า เป็นทานที่ตั้งใจถวายแก่พระสงฆ์โดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง ให้เป็นของส่วนรวม โดยจะถวายอะไรก็ได้ที่เหมาะสมกับชีวิตสมถะของพระภิกษุสงฆ์ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธา เป็นการแสดงถึงความตั้งใจจะถวายด้วยศรัทธาอันเป็นสาธารณะ และนี้แหละคือความหมายของคำว่าสังฆทาน ผู้ที่ถวายสังฆทานจะได้ทาน 3 ประการ ดังนี้1. วัตถุทาน – ช่วยลดความตระหนี่ของผู้ถวาย ฝึกเป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน2. อภัยทาน – ช่วยลดความโกรธ ฝึกรู้จักการให้อภัยโดยการแผ่เมตตาหลังการทำบุญ3. ธรรมทาน – การถวายหนังสือแด่พระสงฆ์เมื่อท่านนำไปอ่านแล้วเกิดความรู้ ถือเป็นทานที่เกิดจากการให้ธรรมะ ช่วงวันสำคัญทางพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนมักนิยมเข้าวัดไปทำบุญกัน โดยสิ่งหนึ่งที่นิยมทำ คือ การทำสังฆทาน หลายท่านมักซื้อของที่จัดเตรียมไว้สำเร็จแล้ว หรือการไปซื้อของใช้มาจัดเป็นชุดสังฆทานเอง ซึ่งสิ่งของ 10 อย่างที่พระสงฆ์จำเป็นต้องใช้ มีประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวันของพระสงฆ์ ได้แก่ เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เนื่องจากพระสมัยนี้ต้องเรียนพระปริยัติธรรม และจดกำหนดนัดหมายต่างๆ ช่วยจำ บางรูปท่านเป็นเหรัญญิกดูแลค่าใช้จ่าย ยิ่งต้องใช้มาก แต่ไม่ค่อยมีใครถวายเครืองเขียนเหล่านี้ พระท่านจึงต้องไปหาซื้อเองเสมอ […]