Tag Archives: สมาธิ

How To ฝึก “สมาธิ” ให้จิตใจสงบ ?

How To ฝึก สมาธิ ให้จิตใจสงบ?

คำว่า “จิตสงบ” นั้นไม่ใช่ว่าไม่มีอะไร แต่ต้องมีความสงบครอบอยู่ ท่านกล่าวถึงองค์ของความสงบขั้นแรกว่า หนึ่งมีวิตก ยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา แล้วก็มีวิจาร คือพิจารณาตามอารมณที่เกิดขึ้นมา ต่อไปก็จะมีปีติคือ ความยินดีในสิ่งที่เราวิตกไปนั้น ในสิ่งที่เราวิจารไปนั้น จะเกิดปีติ คือความยินดีซาบซึ้งอยู่โดยเฉพาะของมัน แล้วก็มีสุข สุขอยู่ไหน สุขอยู่ในการวิตก สุขอยู่ในการวิจาร สุขอยู่กับความอิ่มใจ สุขอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นแหละ แต่ว่ามันสุขอยู่ในความสงบ วิตกก็วิตกอยู่ในความสงบ วิจารก็วิจารอยู่ในความสงบ ความอิ่มใจก็อยู่ในความสงบ สุขก็อยู่ในความสงบ ทั้งสี่อย่างนี้เป็นอารมณ์อันเดียว อย่างที่ห้า คือ เอกัคคตา ห้าอย่างแต่เป็นอันเดียวกัน คือทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์ แต่มีลักษณะอยู่ในขอบเขตอันเดียวกัน คือเมื่อจิตสงบ วิตกก็มี วิจารก็มี ปิติก็มี สุขก็มี เอกัคคตาก็มี ทั้งหมดนี้เป็นอารมณ์เดียวกัน คำที่ว่าอารมณ์เดียวกันนั้น ทำไมจึงมีหลายอย่างหมายความว่า มันจะมีหลายอาการก็ เพราะอาการทั้งหลายเหล่านั้น จะมารวมอยู่ในความสงบอันเดียวกันไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญ เหมือนกับว่ามีคน 5 คน แต่ลักษณะของคนทั้ง 5 คนนั้นมีอาการเดียวกัน คือจะมีอารมณ์ทั้ง 5 อารมณ์ การทำให้จิตใจสงบ […]

ปฏิบัติธรรมที่บ้านก็ได้ จริงหรือ ?

ปฏิบัติธรรมที่บ้านก็ได้ จริงหรือ

การปฏิบัติธรรม คือ การเอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต ทำการทำงาน ทำหน้าที่ ทำทุกเรื่องทุกอย่างให้ดี ให้ถูกต้อง คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ทำให้เป็นชีวิตที่ดี มีความสุขที่แท้จริง เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่ใช่เฉพาะการปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่วัด อยู่ป่า แล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิ ไม่ใช่แค่นั้นอันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง  การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้น เรียกว่า เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง แต่อันที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลา เมื่อทำงานหรือทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง ตั้งใจทำให้ดี ให้เกิดคุณประโยชน์ ให้สำเร็จความมุ่งหมายที่ดีงาม ก็เป็นการปฏิบัติธรรม วิธีการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมมี 2 อย่าง คือ ศมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ล้วนแต่ต้องอาศัยสติเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์กรรมฐาน และอาศัยปัญญาคือสัมปชัญญะเป็นเครื่องกำกับการปฏิบัตินั้นไว้เสมอ ไม่เช่นนั้นเราจะปฏิบัติผิดพลาดได้ง่ายๆ สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน ไม่ว่าเราจะทำสมถะหรือวิปัสสนา เราก็ต้องมีสัมปชัญญะรู้ชัดว่า เราจะทำกรรมฐานชนิดใด และต้องรู้ด้วยว่าเราจะทำกรรมฐานนั้นๆ เพื่ออะไร ซึ่งสมถะนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อทำจิตที่ไม่สงบให้เกิดความสงบ เพื่อทำจิตที่ไม่มีความสุขสบายให้เกิดความสุขสบาย และเพื่อทำจิตที่เป็นอกุศลให้เปลี่ยนเป็นจิตที่เป็นกุศล ส่วนวิปัสสนานั้นไม่ได้ฝึกเพื่อสิ่งเหล่านี้ แต่ฝึกเพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ หรือฝึกเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจเท่านั้นเอง กายกับใจหรือขันธ์ […]

ประโยชน์ของการ ปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิ

ปฏิบัติธรรม, สมาธิ, ไหว้พระ

การ ปฏิบัติธรรม ในพระพุทธศาสนาคือ การฝึกอบรมจิตให้เกิดความรอบรู้จนถึงที่สุดว่าอัตภาพของตนเองซึ่งประกอบด้วยรูปและนามนี้นั้นคืออะไร ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถปรับทำให้รูปและนามคือ กายและจิต นี้อยู่ในสภาพปกติได้ ไม่มีความบกพร่องทั้งทางกายและทางจิต และที่สำคัญที่สุดคือไม่ให้มีความพร่องทางจิตเกิดขึ้น ในขณะมีความพร่องทางกายหรือแม้ขณะกายจะต้องแตกดับไปก็ตามที เนื่องจากความพร่องทางจิต คือความทุกข์นั่นเอง ฉะนั้น การ ปฏิบัติธรรม ในพระพุทธศาสนามีจุดประสงค์ในการปฏิบัติเพื่อความจางคลายของทุกข์ แล้วดับทุกข์ให้หมดโดยสิ้นเชิงได้ในที่สุด หากพิจารณากันแล้ว การปฏิบัติพุทธธรรมเป็นความประสงค์และจำเป็นอย่างแท้จริงของคนทุกคน โดยไม่เลือกเชื้อชาติ อาชีพ เพศ และวัยเพียงแต่ให้เขาเหล่านั้นได้เข้าใจอย่างแท้จริง เพราะทุกคนต้องการความสุขและรังเกียจทุกข์ การปฏิบัติธรรม โดยทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่า จะต้องปฏิบัติที่วัด หรือที่สำนักที่จัดขึ้นไว้เพื่อการปฏิบัติโดยเฉพาะเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงเลย เมื่อความทุกข์นั้นสามารถทำให้ลดจางคลายและหมดไปได้ ไม่แต่เฉพาะในวัดและสำนักปฏิบัติเท่านั้น ดังนั้น จำเป็นอย่างไรจึงต้องรอเพียงแค่ไปทำสมาธิ ไหว้พระตอนที่อยู่ในวัด หรือ สำนัก ปฏิบัติ ท่านจงใช้ความพยายามทำความเข้าใจในหลักการสมาธิ ให้แจ่มแจ้ง แล้วท่านจะสามารถหาความสุข (คลายทุกข์) ได้ แม้ในขณะที่ท่านกำลังทำงานประจำวันของท่านอยู่ก็ตาม และแม้นิพพานก็มีอยู่ตรงหน้าท่าน แหละเพียงท่านทำเหตุ (การปฏิบัติ) ให้ถูกต้องและเพียงพอ ผลที่ท่านต้องการก็จะเกิดมีขึ้นปรากฏแก่จิตของท่านตามขั้นตอน     หลักการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ทั้งวิธีปฏิบัติและความเข้าใจที่ถูกต้อง เพียงแต่ท่านเป็นคนมีเหตุมีผลใจเปิดรับสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล ไม่ยอมทำหรือปฏิบัติตนในสิ่งนอกเหตุเหนือผล มีขันติ วิริยะ และความตั้งใจจริงพอสมควรเท่านั้น […]

การฝึกสมาธิ มีผลอย่างไรกับการทำงาน ?

สมาธิ

สมาธิ การฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขซึ่งมนุษย์เรานั้นสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เมตตาสั่งสอนไว้ ดังนี้ กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีลห้า หรือศีลแปด เพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดีที่ได้กระทำไว้ดีแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่จะตั้งใจทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่าร่างกายทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดีล้วนๆ นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย นั่งให้อยู่ในท่าที่พอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตาหรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่า กำลังเข้าไปสู่สภาวะแห่งความสงบ สบายอย่างยิ่ง นึกกำหนดนิมิต เป็นดวงกลมใส ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตา เย็นใจ ดังประกายของดวงดาว […]

ประโยชน์ในการทำ “สมาธิ”

รู้หรือไม่ว่าในแต่ละวันเราสามารถมีความคิดมากมายได้ถึง 50,000 ความคิด ซึ่งมีทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดีต่อจิตใจเรา ในวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีที่จะกำจัดความยุ่งเหยิง ความคิดในจิตใจของเรา ซึ่งการทำ “สมาธิ” จึงเป็นทางออกที่ดี โดยการฝึกสมาธิในปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายๆ และนี่คือวิธีที่สามารถทำให้คุณฉลาดมากขึ้น มีความสุขมากขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้น สมาธิ ช่วยให้ฉลาดมากขึ้น ในปัจจุบันมีสิ่งต่างๆรอบข้างที่เข้ามาทำให้จิตใจเราจะวอกแวก และยังมีทั้งเสียงรบกวนต่างๆ ที่สามารถทำให้เราเสียสมาธิได้ ซึ่งการทำสมาธิคือทางออก การทำสมาธิช่วยการพัฒนาในด้านของความสนใจ โดยสอนให้เราจดจ่อ แน่วแน่ และตามความคิดของเราได้ทัน อีกทั้งยังเพิ่มเซลล์ประสาทในสมองของเรา โดยเฉพาะในส่วนของการควบคุมและการตอบสนองทางอารมณ์ ผลของการทำสมาธินั่นช่วยให้ฉลาดมากขึ้น ความจำและการเรียนรู้ดีขึ้น  ลดความเครียด ความเครียดสามารถเป็นสาเหตุในการทำลายสุขภาพที่ร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจของเรา เกิดโรควิตกกังวล ความดันโลหิตสูง และโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โชคดีที่การทำสมาธิสามารถทำให้ผ่อนคลายโดยลดการกระตุ้นให้เกิดโรคได้ ใจมีความสุขมากขึ้น เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) แสดงถึงผลการตรวจสมองของการตอบสนองแบบสู้หรือหนีต่อความเครียดที่ลดลง หลังจากการทำสมาธิเป็นเวลา 2 เดือน ในขณะเดียวกัน ผลยังแสดงถึงเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมต่อการแสดงออกด้านพฤติกรรมทางสังคมและความสามารถในการตัดสินใจที่เพิ่มขึ้น จึงขอเสนอว่าการทำสมาธิสามารถช่วยให้จิตใจของเราหลุดพ้นจากความเครียดได้ การนอนหลับดีขึ้น ผู้ใหญ่ประมาณ 30% มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ และมักจะมีสาเหตุมาจากความเครียดและความวุ่นวายใจ การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ โดยให้จิตเราอยู่กับปัจจุบัน  ความคิดไม่ฟุ้งซ่านและจิตใจปลอดโปร่ง อีกทั้งยังควบคุมพฤติกรรมและการแสดงของเรา ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถช่วยให้เรานอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้น ยืดอายุสมอง ผลของการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการทำสมาธิและอายุการทำงานของสมอง  โดยขอแนะนำว่าการยกระดับการทำสมาธิและการยืดหยุ่นของสมองจากการทำสมาธิ  สามารถช่วยปกป้องสติปัญญาจากการเสื่อมถอยได้ […]

เคล็ดลับในการฝึก สมาธิ ง่ายๆ ด้วยตนเอง

สมาธิ คือ ความสงบ ความสบาย และความรู้สึก เป็นสุขอย่างหนึ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท มีสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เมตตาสั่งสอนไว้ ดังนี้ กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีล 5 หรือ ศีล 8  เพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดีที่ได้กระทำไว้ดีแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่จะตั้งใจทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่าร่างกายทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดีล้วนๆ นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายนั่งให้อยู่ในท่าที่พอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตาหรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่ากำลังเข้าไปสู่สภาวะแห่งความสงบ สบายอย่างยิ่ง นึกกำหนดนิมิต เป็นดวงกลมใส ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตา เย็นใจ ดังประกายของดวงดาว […]