Tag Archives: ผ้าไตรจีวร

เคล็ด (ไม่) ลับ การแก้กรรม ฉบับ ธาราญา !!

เคล็ด (ไม่) ลับ การ แก้กรรม ฉบับ ธาราญา !!

วิธีการ แก้กรรม มีมากมาย แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน วิธีที่จะทำให้ กรรมบรรเทาลงได้นั้นมี ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ถ้าเจ้ากรรมนายเวรจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบริเวณที่เจ็บปวดได้รับอโหสิกรรมแล้วจะหายเจ็บปวดทันที กรรมนี้จะเบาลงและจะมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยสังเกตจากตัวเราเองว่า มีสิ่งที่ดีเข้ามามากขึ้นที่ป่วย ก็จะหาย ที่จนก็จะเริ่มมี แสดงว่าเราเริ่มมีบุญแล้ว หากกรรมยังเยอะ ก็ยังลำบากอยู่ แล้ว “กรรม” คืออะไร ? “กรรม” การกระทำด้วยเจตนา ทั้งในอดีตชาติ หรือในปัจจุบันก็ล้วนเป็นกรรมทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมีผลกระทบต่อปัจจุบันและอนาคต “ใครทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมไปตกอยู่ที่ผู้กระทำ” (การ แก้กรรม สามารถช่วยได้ จากหนักเป็นเบา) ไม่มีใครหลุดพ้นหรือหนีจากกฎแห่งกรรมไปได้ วิบากกรรมของแต่ละคนก็แตกต่างกัน วิธีการ แก้กรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ เช่น การใส่บาตร ถือศีล กินเจ ช่วยผู้ที่เดือดร้อน ถวายสังฆทาน สวดมนต์ กราบบิดามารดา ล้วนเป็นมหากุศล การทำบุญให้อธิษฐานจิตทุกครั้ง เพื่อนำส่งบุญให้ตัวเอง มีชีวิตที่ดีขึ้น เจริญขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นกุศลและเป็นบุญทั้งสิ้น คำกล่าวในการแก้กรรม คือ ให้ “ตั้งนะโม 3 จบ” ตามด้วย ข้าพเจ้า…..ชื่อตัวเอง…..นามสกุล………เกิดวันที่……….วันนี้ข้าพเจ้าขอตั้งจิตถึงบารมีสิ่งศักดิ์ทั่วสากลโลก รวมถึงองค์เทพองค์พรหมที่ปกปักษ์รักษากาย สังขาร วิญญาณลูกอยู่ วันนี้ลูกตั้งจิตถวาย……บุญที่ทำ……..ลูกขอถวายบุญกุศลนี้แก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ รวมถึงองค์เทพองค์พรหมทั้งหลายให้มีพระบารมีมากขึ้น และขอให้ทุกๆ พระองค์นำส่งบุญให้ลูกเจริญขึ้นทั้งการงาน การเงิน และความรัก […]

จุดประสงค์ของการอุปสมบทคืออะไร ?

จุดประสงค์ของการ อุปสมบท คืออะไร ?

อุปสมบท การอุปสมบทเป็นคำที่คุ้นหูคนไทยมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะผู้ชาย เพราะเรามักจะได้ยินประโยคที่ว่า บวชทดแทนบุญคุณให้พ่อแม่ ให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์” เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่าคำว่า “บวช” กับคำว่า “อุปสมบท” นั้นเป็นคำเดียวกัน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว คำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน แต่สามารถใช้แทนกันได้ จุดประสงค์การอุปสมบท คือ เพื่อทดแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ เช่น บุพการี พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือผู้มีคุณต่อเรา เป็นต้น เพื่อศึกษาธรรมะ คือ ศึกษาสิ่งที่ควรจะต้องทำ และศึกษาสิ่งที่ควรจะต้องละ หมายถึง สิ่งไหนไม่ดีเราจะต้องละ สิ่งไหนที่ดีเราจะทำเพิ่มให้เจริญยิ่งขึ้นไป เพื่อแก้กรรม ส่งกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร คือ เมื่อเราบวชศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมแล้ว ก่อเกิดเป็นบุญกุศล จึงส่งกุศลนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวร เพื่อเข้าใจชีวิตดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ชีวิตไม่หลวงทาง เพื่อเป็นพื้นฐานในการไปศึกษาต่อ หรือแม้แต่จะไปทำหน้าที่ ทำงาน กิจการธุรกิจ หรือดำเนินชีวิต มีครอบครัว การครองเรือน การบวชหรือบวช เป็นคำภาษาไทยสามารถทำการถอดรูปมาจากคำที่อยู่ในภาษาบาลีว่า “ปพฺพชฺชา” ซึ่งมีความหมายว่า “ไปโดยสิ้นเชิง หรือ เว้นโดยสิ้นเชิง” หากทำการแปลเป็นภาษาชาวบ้านทั่วไป ก็คือ […]

การ สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา แก้กรรม ได้จริงหรือ ?

การ สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา แก้กรรม ได้จริงหรือ ?

เคราะห์คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งมีทั้งเคราะห์ดีและเคราะห์ร้าย สิ่งที่ดีเรียกว่า “ศุภเคราะห์” สิ่งไม่ดี เรียกว่า “บาปเคราะห์” ก่อนที่บุคคลจะประสบเคราะห์ไม่ว่าจะทางดีหรือทางร้าย มักจะมีเครื่องปรากฏให้เห็นก่อนเรียกว่า “ลาง” ลางที่จะบอกว่ามีเคราะห์ดี เช่น เห็นพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ หรือเห็นพระเจ้า พระสงฆ์ และที่บอกว่าจะมีเคราะห์ร้าย เช่น เห็นบึ้ง เห็นงูทำทาน เห็นข้าวนึ่งแดง เป็นต้น เมื่อมีลางบอกเหตุในทางไม่ดีก็ต้องทำการสะเดาะเคราะห์ นั้นเอง ชาวพุทธเราเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจก็มักจะไปทำบุญเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การถวายสังฆทาน เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระสงฆ์อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก จะทำสิ่งใดก็ราบรื่นไม่ติดขัดพบแต่ความสำเร็จสมปรารถนา รวมทั้งมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ไม่ขัดสน การถวายน้ำมันตะเกียง เพื่อความรุ่งโรจน์โชติช่วงของชีวิตเช่นเดียวกับความสว่างของแสงตะเกียง ทำให้พ้นจากความมืดมิดทั้งการดำเนินชีวิตรวมทั้งปัญหาและความคิดที่สว่างไสวไม่อับจนหนทาง การทำทานแก่คนยากไร้ เป็นการทำบุญที่มาจากจิตใจอันไม่ยึดติด มีความไม่โลภ ผลบุญจึงหนุนนำให้มีแต่ความราบรื่น ยามมีเรื่องติดขัดก็จะมีผู้มาช่วยเหลือค้ำจุน ยามมีเคราะห์ภัยก็จะแคล้วคลาดเพราะแรงอนุโมทนาจิตจากผู้ยากไร้ที่ได้รับสิ่งของจากเรานั่นเอง การรักษาศีล ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเป็นมหากุศล เป็นเกราะคุ้มครองตัวเอง การทำบุญโลงศพ ซื้อโลงศพ บริจาคให้แก่ศพอนาถาไร้ญาติ จะได้อานิสงส์แรงยิ่งนักการทำบุญเช่นนี้จะช่วยเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่ง สามารถต้านเคราะห์ภัยหนักต่างๆและผ่อนหนักเป็นเบาได้ การนั่งสมาธิ หรือสวดมนต์ ทุกวัน […]

ขั้นตอนของพิธี อุปสมบท มีอะไรบ้าง ?

ขั้นตอนของ พิธีอุปสมบท มีอะไรบ้าง ?

ในพระพุทธศาสนา เรียกการบวชว่า “การอุปสมบท” แต่เดิมนั้น การบวชเรียกว่า “บรรพชา” ซึ่งแปลว่า เว้นทั่ว  เว้นจากความชั่วทุกอย่าง ปัจจุบันคำว่าบรรพชาใช้กับการบวชสามเณร ในขณะที่อุปสมบทใช้กับการบวชพระภิกษุ การบวชโดยนัยแล้วคือ การละทิ้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่เดิม สู่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ใหม่ ตามครรลองแห่งมรรค เพื่อเป็นการง่าย เพื่อเป็นการสะดวก เป็นทางอันปลอดโปร่ง แก่การบรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ คือ ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ปราศจากมิลทิน หมดจดจากความเศร้าหมอง และเป็นอิสระจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ประเพณีการบวช  ถือเป็นประเพณีที่เคร่งครัด เชื่อว่าการบวชสามารถอบรมให้เป็นคนดีได้ ผู้ชายเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป มักจะบวชเรียน ก่อนเข้าพรรษา ( แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ) ผู้ชายจะเข้าพิธีบวชพร้อม ๆ กัน และประเพณีการบวชจะมีการกวนขนมชนิดหนึ่งคือ ” ยาหนม ” เป็นขนมที่ต้องมีในงานบวช การจัดงานบวชมีขั้นตอนและพิธีการหลายอย่าง ตั้งแต่การเตรียมตัวจนถึงการบวชพระ ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน โดยวันนี้เราก็มีขั้นตอนในการจัดงานบวชมาฝากกัน หากท่านใดที่กำลังจะบวชหรือกำลังจะจัดงานบวชให้กับบุตรหลานก็สามารถศึกษาได้จากบทความนี้ การเตรียมตัวก่อนบวชพระ ขั้นตอนแรกก่อนจัดงานบวชจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในพิธีบวช ผู้ที่จะบวชหรือนาคจะต้องทำการขานนาคและท่องบทสวดคำบาลีต่างๆ จึงต้องฝึกซ้อมให้คล่องก่อนนั่นเอง เพื่อที่เมื่อถึงวันบวชจริงจะได้ไม่มีอาการเขินอายหรือท่องผิดท่องถูกได้ […]

วิธี สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา ฉบับ ธาราญา !!

วิธี สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา ฉบับ ธาราญา !!

การสะเดาะเคราะห์ เป็นการทำพิธีตามความเชื่อโบราณว่าจะสามารถส่งเสริมดวงชะตาให้ดีขึ้นมักรวมไปถึงการต่ออายุ หรือแก้ไขสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นดีการเริ่มทำบุญตั้งแต่ต้นปีก็จะเพิ่มดวง เสริมสง่าราศีให้ชีวิตมีความสุขและประสบความสำเร็จตลอดทั้งปีและตลอดไป ทั้งนี้พิธีสืบชะตา ต่ออายุ และสะเดาะเคราะห์ เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่กระจายอยู่ในวัฒนธรรมแถบเอเชีย โดยเฉพาะในหมู่ชาวพุทธทุกนิกาย ทั้งชาวไทย จีน ไปจนถึงทิเบต รูปแบบประเพณี ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของท้องถิ่น สำหรับการสะเดาะเคราะห์ที่ชาวไทยนิยมกระทำนั้นได้แก่ อันได้แก่ 1. ถือศีล 5 การถือศีล 5 เป็นประจำจะช่วยเสริมดวงชะตา และจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงามการทำดีและไม่เบียดเบียนใครถือเป็นการทำบุญกุศลที่ได้อานิสงส์เป็นผลให้เกิดความโชคดี และแก้เคราะห์ลดกรรมได้ 2. การถือศีล 8 จะช่วยเสริมดวงและแก้เคราะห์ได้เช่นเดียวกับการถือศีล 5 แต่การถือศีล 8 นั้นปฏิบัติได้ยากยิ่งแต่เมื่อปฏิบัติได้สำเร็จจะได้กุศลแรงนักปฏิบัติแล้วยังช่วยเสริมดวงอำนาจบารมีได้ 3. กินเจ ก็เพื่อลดละชีวิตสัตว์ ซึ่งได้อานิสงส์ผลบุญสูงและควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดถ้าอธิษฐานไว้ว่า 7 วัน ก็ทำให้ครบ 7 วัน อาจตั้งจิตว่าจะทำทุกวันพระและทุกเดือนหรือปฏิบัติทุกเดือน เดือนละ 3 วัน หรือ 7 วัน เป็นต้น 4. ไหว้พระและถวายดอกไม้ ธูปเทียน รวมทั้งการปิดทองคำเปลวและเครื่องหอมผลบุญนี้จะทำให้ชีวิตรุ่งเรือง มีความเจริญก้าวหน้า 5. ถวายน้ำมันตะเกียง เพื่อความรุ่งโรจน์โชติช่วงของชีวิตเช่นเดียวกับความสว่างของแสงตะเกียง ทำให้พ้นจากความมืดมิดทั้งการดำเนินชีวิตรวมทั้งปัญหาและความคิดที่สว่างไสวไม่อับจนหนทาง 6. ถวายสังฆทาน เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระสงฆ์อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก จะทำสิ่งใดก็ราบรื่นไม่ติดขัดพบแต่ความสำเร็จสมปรารถนา รวมทั้งมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ ไม่ขัดสน 7. ไหว้พระไหว้บูชาเทพต่างๆ จะทำให้พบกับความสุข ความเจริญเกิดความสุขใจว่ามีที่พึ่งพิงยึดเหนี่ยวนำมาซึ่งกำลังใจในการต่อสู้ชีวิตต่อไปและรู้สึกเสมอว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง […]

อานิสงส์การถวายเทียนพรรษา รู้ไว้ก่อนเข้าพรรษาปีนี้ !!

อานิสงส์ การถวายเทียนพรรษา รู้ไว้ก่อนเข้าพรรษาปีนี้ !!

ในช่วง วันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นอีกวันที่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะถือโอกาสเข้าวัดทำบุญ ฟังเทศน์ แต่อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เรามักจะเห็นพร้อมๆ กันกิจกรรมการทำบุญคือ“ถวายเทียนพรรษา”ในอดีตมีเรื่องเล่าว่าในระหว่างวันเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์จะไม่สามารถไปจำวัดที่อื่นได้ และประกอบกับว่าในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน วัดในต่างจังหวัดไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องอาศัยแสงสว่างจากเทียน ญาติโยม จึงมีการถวายเทียนในวันเข้าพรรษา เป็นที่มาของการ “แห่เทียนเข้าพรรษา” นั่นเอง โดยการทำบุญด้วยการถวายเทียนแบบนี้มีอานิสงส์ผลบุญที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้การทำบุญด้วยวิธีอื่นๆ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยานเล่าถึงเรื่องราว อานิสงส์การถวายเทียนหรือหลอดไฟในวันเข้าพรรษาว่า “การถวายเทียนเข้าพรรษา หรือว่า ถวายกระแสไฟในพระพุทธ-ศาสนา เหมือนกัน อย่างนี้ถ้าเกิดเป็นเทวดาจะมีรัศมีกายสว่างมากถ้าบรรลุมรรคผล จะเป็นบุคคลผู้เลิศใน ทิพจักขุญาณ อย่างพระอนุรุทธ” ท่านได้ถวายเทียนเข้าพรรษาตลอดมา ถวายพระประทีปโคมไฟวัดไหนมืดชอบถวายตะเกียงบ้างน้ำมันบ้างให้มีแสงสว่างต่อมาในชาติสุดท้าย เมื่อเป็น พระอรหันต์วิชชาสาม ท่านสามารถมี ทิพจักขุญาณสว่างกว่าพระอรหันต์ทั้งหมด แม้แต่ พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณก็ยังสู้ไม่ได้ อีกประการหนึ่งถ้าท่านทั้งหลายไปเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม ก็จะมีรัศมีกายสว่างมาก เพราะเทวดา นางฟ้า และพรหมเขาถือรัศมีกายเป็นสำคัญเขาไม่ถือเครื่องแต่งกายเป็นสำคัญ องค์ไหนถ้ารัศมีกายสว่างมากองค์นั้นมีบุญมาก เมื่อมีจิตใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาเช่นนี้ พระชินศรีตรัสว่าเป็นมงคลอันสูงสุด ดังพระบาลีว่า “ปูชาปูชะนียานัง เอตัมมังคลมุตตมัง” การบูชาบุคคลผู้ควรบูชาเป็นมงคลอันสูงสุด อนึ่งชื่อว่าได้ขวนขวายในกิจ อันปราศจากโทษความเดือนร้อนในภายหลังมิได้ ย่อมได้รับผลพิเศษทั้งในโลกนี้และโลกหน้า การถวายเทียนพรรษานี้เป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน 3 เดือน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงได้จัดทำให้เป็นกุศลพิธีขึ้น เมื่อได้นำเทียนไปถวายพระสงฆ์แล้ว […]

วิธีการเลือกซื้อ เครื่องสังฆภัณฑ์ ฉบับ ธาราญา !!

วิธีการเลือกซื้อ เครื่องสังฆภัณฑ์ ฉบับ ธาราญา !!

การถวายสังฆทาน เครื่องสังฆทาน เป็นการถวายสิ่งของรวมทั้งสังฆภัณฑ์แก่พระภิกษุโดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นรูปใด แม้ว่าในการถวายนั้นจะมีพระสงฆ์มารับประเคนเพียงรูปเดียว แต่หากจุดประสงค์ในการถวายทานมีจุดมุ่งหมายเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์โดยรวมแล้วล่ะก็ถือว่าเป็นสังฆทานทั้งสิ้น ความเป็นมาในการถวายสังฆทาน การถวายสังฆทานมีที่มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยเริ่มจากพระนางมหาปชาบดีซึ่งมีศักดิ์เป็นพระน้านางและพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้าได้นำผ้าใหม่ที่พระนางได้ทรงกรอด้ายและทอขึ้นมาเองเพื่อตั้งใจนำมาถวายพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ทรงให้พระนางนำผ้านั้นถวายแด่หมู่สงฆ์เพื่อให้ได้อานิสงส์ที่มากกว่าถวายผ้าแด่พระพุทธองค์เพียงผู้เดียว พระนางทรงทำตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสบอกไว้ ดังนั้นจึงเป็นที่ของการถวายสังฆทานของชาวพุทธเนื่องจากมีความเชื่อกันว่าได้บุญมากและได้อานิสงส์ที่มากกว่าการถวายทานแด่พระสงฆ์ที่จำเพาะเจาะจงเพียงรูปเดียว อานิสงส์ในการถวายสังฆทาน ชาวพุทธมีความเชื่อกันว่าการถวายสังฆทานได้บุญและได้อานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่าผลของสังฆทานจะส่งให้แก่ผู้ถวายไปทุกภพทุกชาติ ทำให้ไม่ต้องพบเจอกับความขัดสนยากจน ซึ่งผลของสังฆทานจะส่งไปไกลมากจนแม้พระพุทธองค์ก็ยังทรงมองไม่เห็นที่สุดของผลนั้น แม้กระทั่งเข้าสู่พระนิพพานแล้วผลของสังฆทานนั้นก็ยังไม่หมดสิ้น เครื่องสังฆภัณฑ์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง สังฆภัณฑ์โดยความหมายตามคำศัพท์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นของพระสงฆ์ และยังรวมถึงเครื่องใช้ที่ใช้ในพิธีการทางศาสนาอีกด้วย เมื่อจะทำบุญถวายสังฆทาน ในงานบุญหรืองานมงคลต่างๆ สามารถเตรียมเครื่องสังฆภัณฑ์หรือซื้อเครื่องสังฆภัณฑ์จากร้านจำหน่ายโดยเฉพาะ ซึ่งทางร้านจะจัดเตรียมของที่จำเป็นบรรจุเอาไว้เป็นชุดเพื่อความสะดวกในการถวายพระสงฆ์ หากจะซื้อหาสังฆภัณฑ์หรือจัดเตรียมชุดสังฆภัณฑ์ด้วยตนเอง ควรเลือกสิ่งของที่มีคุณภาพและมีความจำเป็นต่อพระสงฆ์จริงๆ เพราะการเลือกของที่มีคุณภาพของสังฆทาน นอกจากจะให้ประโยชน์แก่พระสงฆ์อย่างแท้จริงแล้ว ในความเชื่อทางพุทธศาสนายังถือว่าการถวายทานด้วยของที่ดีมีคุณภาพถือเป็นอานิสงส์อันยิ่งใหญ่อีกด้วย สิ่งของที่สามารถนำมาจัดเป็นชุดสังฆภัณฑ์ ประกอบไปด้วย 1. ผ้าไตรจีวร เป็นผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่มซึ่งประกอบไปด้วยผ้าสามผืนคือจีวร ,สบง และ อังสะ ซึ่งผ้าไตรจีวรประเภทนี้เป็นผ้าไตรจีวรที่พระภิกษุใช้นุ่งห่มในชีวิตประจำวัน แต่หากเป็นผ้าไตรชุดใหญ่จะเป็นผ้าไตรที่ใช้ในการบวชพระ ซึ่งผ้าไตรชนิดดีๆ ที่สามารถนำมาจัดชุดสังฆภัณฑ์ได้นั้นควรเลือกผ้าที่มีความแข็งแรงทนทาน มีการตัดเย็บที่ดี สามารถใช้งานได้ทนทาน อีกทั้งยังสามารถระบายอากาศได้ดี เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองที่มีอากาศค่อนข้างร้อน ซึ่งหากเลือกผ้าที่มีคุณภาพต่ำก็จะทำให้อายุการใช้งานไม่คงทน พระภิกษุไม่สามารถนำไปใช้งานได้เต็มที่ตามจุดประสงค์ของผู้ถวาย ซึ่งผ้าไตรจีวรดีๆ นั้นมักตัดเย็บมาจากผ้ามัสลิน รองลงมาคือผ้าซันฟอไรซ์ ส่วนผ้าโทเรนั้นมีราคาถูกและมีอายุการใช้งานที่ไม่ทนทานนัก มีความเชื่อว่าการถวายผ้าไตรแด่พระสงฆ์ อานิสงส์ถวายผ้าไตร จะส่งผลให้นุ่งห่มอะไรก็งาม ไม่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มดีๆ ผิวพรรณงดงาม […]

ความแตกต่างระหว่าง สังฆทานและสังฆภัณฑ์

ความแตกต่างระหว่าง สังฆทานและสังฆภัณฑ์

การถวายสังฆทาน หมายถึงการ ถวายสิ่งของจตุปัจจัยวัตถุแก่หมู่พระสงฆ์ โดยไม่เลือกระบุถวายเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง กล่าวคือ ถวายเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการ หรือเพียงแค่ถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (โดย “ไม่เลือก” ว่าจำเพาะถวายรูปนั้นรูปนี้ เช่น เป็นพระผู้ทรงพรรษา พระรูปที่เรารู้จัก หรือพระรูปที่ตนศรัทธา) ที่เป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ (ได้รับเผดียงสงฆ์) หรือถวายโดยมีเจตนาเพื่อบำรุงพระสงฆ์สามเณรโดยไม่เลือกผู้รับ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน มูลเหตุที่ทำให้พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน มาจาก ทักขิณาวิภังคสูตร ในพระไตรปิฎก ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสังฆทานว่า “ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชมน์อยู่  ครั้งนั้นทรงประทับอยู่ ณ วัดนิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้า ได้เกิดศรัทธาแรงกล้า ทรงทอจีวรด้วยพระองค์เองเพื่อนำมาถวายแก่พระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ทรงได้ปฏิเสธที่จะรับถวายผ้าจีวรดังกล่าว โดยได้ตรัสให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีนำผ้าดังกล่าวไปถวายแก่กองกลางคณะสงฆ์ เพราะทรงเห็นว่าการถวายผ้าเป็นสังฆทานจักได้อานิสงส์มากกว่า แม้จะถวายแก่พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาก็ตาม (การถวายหรือให้ทานแก่พระพุทธเจ้า พระภิกษุหรือบุคคลทั่วไป ทรงจัดเป็นปาฏิปุคลิกทาน) อีกทั้งการถวายเป็นสังฆทานนั้นย่อมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งพระสงฆ์ทั้งปวงด้วย จากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสถึงปาฏิปุคลิกทาน 14 ประเภท (มีการถวายทักษิณาแก่พระพุทธเจ้าเป็นอาทิ) และตรัสถึงทักษิณาทานที่ถวายแก่สงฆ์ (สังฆทาน) ว่ามี 7 ประการ คือ ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย (ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ให้ทานในภิกษุสงฆ์ ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ […]

ทำไมลูกค้าถึงเลือกทำบุญด้วยชุดสังฆทาน และผ้าไตรจีวร จาก ธาราญา !!

ทำไมลูกค้าถึงเลือกทำบุญด้วยชุดสังฆทาน และผ้าไตรจีวร จาก ธาราญา !!

การ “ทำบุญ” ในทางพุทธศาสนาไม่ได้มีเพียงการให้เงินให้ทอง หรือให้ทาน ทำบุญกับพระและวัดเท่านั้น “บุญ” หมายถึง การกระทำความดี มาจากภาษาบาลีว่า “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ดังนั้น บุญจึงเป็นเหมือนเครื่องกำจัดส่งเศร้าหมองที่เราเรียกกันว่า “กิเลส” ให้ออกไปจากใจ บุญจะช่วยให้เราลด ละ เลิก ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ และช่วยให้ใจเป็นอิสระพร้อมจะก้าวไปสู่การทำคุณงามความดีในขั้นต่อๆ ไป เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ มีความสุข และเป็นความสุขที่สงบและยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ปฏิบัติ เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม น่าเคารพยกย่อง เพราะถือว่าเป็น “คนดี” นั่นเอง นั่นแสดงว่าที่เราทำบุญกันมากมายก็เพราะ หวังประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ดังนั้นยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น ผลจิตใจยิ่งคับแคบ ความเมตตากรุณามีแต่จะน้อยลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง วันนี้ทาง “ธาราญา” จะมาแนะนำ วิธีการทำบุญง่ายๆ 2 วิธี ได้แก่ การทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน และการทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรจีวร การถวายสังฆทานเป็นวิธีการทำบุญอีกวิธีหนึ่งที่คนไทยนิยมเป็นอย่างมาก การทำบุญด้วยชุดสังฆทาน การถวายปัจจัยให้พระสงฆ์ถือเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวผู้ทำเอง ช่วยเสริมดวง […]

สีของ ผ้าไตร มีอะไรบ้าง ? รู้ไว้ไม่เสียหลาย !!

สีของผ้าไตรมีอะไรบ้าง

ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) เป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 8 อย่าง ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ก็มีหลักฐานว่า ทรงใช้ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่าจีวร ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อๆกัน ไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้งได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยเนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรนาของชาวมคธ จึงทรงดำริให้ตัดผ้าจีวร เป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัดแต่งแล้ว ให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ ผ้า 3 ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง ต่อมาทรงอนุญาต ผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่า ภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้ การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตร เพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง […]