Tag Archives: ผ้าป่า

กฐิน กับ ผ้าป่า คืออะไร และต่างกันอย่างไร

กฐิน คืออะไร

กฐิน เป็นบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย กฐิน คืออะไร? กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น (ที่มาข้อมูลกฐิน จาก https://news.trueid.net/detail/vWyxxKGp0ZMe) จากข้อมูลที่ค้นหายังระบุว่าถึงการได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี […]

ผ้าป่า กับประวัติความเป็นมา

“ผ้าป่า” คือ ผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเอง โดยไม่ได้ทีกี่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า “ซักผ้าป่า” ส่วนการถวายผ้าป่านิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินเรียกว่า “ทอดผ้าป่า” ความเป็นมาของพิธีทอดผ้าป่ากล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ เป็นต้น เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล้กน้อยพอแก่ความต้องการแล้วจึงนำมาซักทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อมสี เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างลำบากยุ่งยากและเป็นงานใหญ่ ภิกษุทั้งหลายจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันอย่างมาก เมื่อชาวบ้านทั้งหลายเห้นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ จึงต้องการนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาติโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้วคือ ไม่ต้องการ ก็จำนำผ้านั้นมาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าป่าจึงมีขึ้นด้วยสาเหตุนี้ การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมา แต่ในปัจจุบันนิยมทำกันในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่าง คือ 1.ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน 2.ผ้าป่าโยง 3.ผ้าป่าสามัคคี […]

การ ทอดกฐิน ในประเทศไทย มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง ?

ทอดกฐิน เป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐิน ของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ กฐินหลวงกฐินหลวงคือผ้าพระกฐินที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปถวายด้วยพระองค์เองกฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือทรงโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น) ทอดกฐิน หลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น ได้แก่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหารวัดราชโอรสารามราชวรวิหารวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดบวรนิเวศราชวรวิหารวัดราชาธิวาสราชวรวิหารวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหารวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหารวัดพระปฐมเจดีย์วัดสุวรรณดารารามวัดนิเวศธรรมประวัติวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พิษณุโลก) กฐินต้นกฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์ กฐินพระราชทานกฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกบินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย) กฐินราษฎร์ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ “บริวารกฐิน” มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฎรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย  

ผ้าป่า คืออะไร ? และมีความสำคัญอย่างไร

คือ ผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเองโดยไม่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า “ชักผ้าป่า” ส่วนการถวายผ้าป่านิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินเรียกว่า “ทอดผ้าป่า” การทอด ผ้าป่า จัดเป็นการทำบุญที่นิยมกันมากในปัจจุบัน โดยมีชื่อเรียกตามลักษณะการรวมกันของเครื่องบริวาร หรือตามวัตถุประสงค์ของการทำบุญที่เกี่ยวกับงานที่จัดขึ้น วิธีการทอดผ้าป่านั้นไม่จำเป็นต้องนำผ้าไปวางทิ้งหรือทอดไว้ในป่าอีกเพราะขยายจากการทอดผ้า เป็นเงินหรือสิ่งของที่บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์โดยปรับเปลี่ยนให้เข้าตามยุคตามสมัยสังคม ถือตามความสะดวกของสาธุชนผู้มาร่วมประกอบพิธี ซึ่งถือว่าได้อุปโลกน์เป็นผ้าป่าไปแล้ว ประเภทของ ผ้าป่า ในปัจจุบันประเภทของผ้าป่ามีชื่อเรียก 3  อย่าง คือ ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน หรือเรียก ผ้าป่าแถมกฐิน ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่ามราจัดทำรวมๆ กันหลายๆ กอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอด ตามวัดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำ จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้ ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตาม สถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอด จะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัด บางที่ก็มีจุดประสงค์เพื่อหาเงินไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นต้น พิธีทอด ผ้าป่า เจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์ที่จะทอดผ้าป่ากับทางเจ้าอาวาส เรียกว่า […]