การ ปฏิบัติธรรม คือ การเอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต ทำการทำงาน ทำหน้าที่ ทำทุกเรื่องทุกอย่างให้ดี ให้ถูกต้อง คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ทำให้เป็นชีวิตที่ดี มีความสุขที่แท้จริง เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่ใช่เฉพาะการปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่วัด อยู่ป่า แล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิ ไม่ใช่แค่นั้นอันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้น เรียกว่า เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง แต่อันที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลา เมื่อทำงานหรือทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง ตั้งใจทำให้ดี ให้เกิดคุณประโยชน์ ให้สำเร็จความมุ่งหมายที่ดีงาม ก็เป็นการปฏิบัติธรรม การเตรียมตัวก่อนไปปฏิบัติธรรม 1) เตรียมเคลียร์ภาระและการงาน ผู้ที่เป็น “มนุษย์หาเงินเดือน” ก็ควรรีบลางานแต่เนิ่น ๆ พอใบลาอนุมัติ ก็รีบป่าวประกาศให้เพื่อนร่วมงานและญาติมิตรรู้กันทั่วว่าเราจะหายตัวไปปฏิบัติธรรม (มารหน้าไหนก็อย่าขวาง) หากใครต้องการอะไรจากเรา เขาจะได้สอบถามแต่เนิ่น ๆ ไม่ฉุกละหุก จากนั้นเคลียร์งานเก่าที่คั่งค้างให้เสร็จ งานใดที่ไม่เสร็จง่าย ๆ ก็มอบหมายให้ใครที่ใจดีรับช่วงต่อไปสักระย สำหรับผู้ที่มีภาระต้องรับส่งลูกหลานไปโรงเรียน หรือต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนตู้เย็น ผ่อนทีวี ฯลฯ ก็ควรรีบสะสางหรือมอบหมายภาระอันใหญ่หลวงนี้ให้ใครรับหน้าที่แทนไปก่อน จะได้หมดห่วง 2) เตรียมจัดการเก็บกระเป๋า บางแห่งกำหนดให้ใส่ชุดขาว บางแห่งก็อนุโลมให้สวมกางเกง […]
Tag Archives: ปฏิบัติธรรม
คำว่า ปฏิบัติธรรม นั้น หมายความว่าอย่างไร ปฏิบัติธรรมก็คือ เอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ เอามาใช้ดำเนินชีวิตทำการทำงาน คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง ทำให้เป็นชีวิตที่ดีมีความสุขนั่นเอง เมื่อปฏิบัติธรรมก็หมายถึงว่า เอาธรรมมาใช้ในชีวิตจริง หรือเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต ถ้ายังไม่ได้ใช้ ก็ไม่เรียกว่าเป็นการปฏิบัติพูดง่ายๆ จึงว่า การปฏิบัติธรรมคือการเอาธรรมมาใช้นั่นเอง ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของเรา เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมก็จึงเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่เฉพาะการที่จะปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่ที่วัด ไปอยู่ที่ป่า แล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิอะไรอย่างนั้น ไม่ใช่แค่นั้น อันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เป็นการพยายามนำธรรมมาใช้ในขั้นลึก ในการที่จะฝึกฝนจิตใจอย่างจริงๆ จังๆ ถ้าจะเรียกเป็นภาษาสมัยใหม่ การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้นก็เรียกว่าเป็นการปฏิบัติแบบ intensive เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง ที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลา เรานั่งกันอยู่ในที่นี้ ก็ต้องมีการปฏิบัติธรรม คือเอาธรรมมาใช้ เมื่อปฏิบัติสิ่งนั้น ทำสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เมื่อทำงานหรือทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง ตั้งใจทำให้ดี ให้เกิดคุณประโยชน์ ให้สำเร็จความมุ่งหมายที่ดีงาม ก็เป็นการปฏิบัติธรรม ดังนั้น ถ้าตนมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน แล้วศึกษาเล่าเรียนอย่างถูกต้อง มีความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจเล่าเรียน เล่าเรียนให้ได้ผล ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เช่น เล่าเรียนโดยมีอิทธิบาท ๔ มีฉันทะ พอใจรักในการเรียนนั้น […]
การปฏิบัติธรรม คือ การเอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต ทำการทำงาน ทำหน้าที่ ทำทุกเรื่องทุกอย่างให้ดี ให้ถูกต้อง คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ทำให้เป็นชีวิตที่ดี มีความสุขที่แท้จริง เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่ใช่เฉพาะการปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่วัด อยู่ป่า แล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิ ไม่ใช่แค่นั้นอันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้น เรียกว่า เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง แต่อันที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลา เมื่อทำงานหรือทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง ตั้งใจทำให้ดี ให้เกิดคุณประโยชน์ ให้สำเร็จความมุ่งหมายที่ดีงาม ก็เป็นการปฏิบัติธรรม วิธีการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมมี 2 อย่าง คือ ศมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ล้วนแต่ต้องอาศัยสติเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์กรรมฐาน และอาศัยปัญญาคือสัมปชัญญะเป็นเครื่องกำกับการปฏิบัตินั้นไว้เสมอ ไม่เช่นนั้นเราจะปฏิบัติผิดพลาดได้ง่ายๆ สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน ไม่ว่าเราจะทำสมถะหรือวิปัสสนา เราก็ต้องมีสัมปชัญญะรู้ชัดว่า เราจะทำกรรมฐานชนิดใด และต้องรู้ด้วยว่าเราจะทำกรรมฐานนั้นๆ เพื่ออะไร ซึ่งสมถะนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อทำจิตที่ไม่สงบให้เกิดความสงบ เพื่อทำจิตที่ไม่มีความสุขสบายให้เกิดความสุขสบาย และเพื่อทำจิตที่เป็นอกุศลให้เปลี่ยนเป็นจิตที่เป็นกุศล ส่วนวิปัสสนานั้นไม่ได้ฝึกเพื่อสิ่งเหล่านี้ แต่ฝึกเพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ หรือฝึกเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจเท่านั้นเอง กายกับใจหรือขันธ์ […]
การ ปฏิบัติธรรม ในพระพุทธศาสนาคือ การฝึกอบรมจิตให้เกิดความรอบรู้จนถึงที่สุดว่าอัตภาพของตนเองซึ่งประกอบด้วยรูปและนามนี้นั้นคืออะไร ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถปรับทำให้รูปและนามคือ กายและจิต นี้อยู่ในสภาพปกติได้ ไม่มีความบกพร่องทั้งทางกายและทางจิต และที่สำคัญที่สุดคือไม่ให้มีความพร่องทางจิตเกิดขึ้น ในขณะมีความพร่องทางกายหรือแม้ขณะกายจะต้องแตกดับไปก็ตามที เนื่องจากความพร่องทางจิต คือความทุกข์นั่นเอง ฉะนั้น การ ปฏิบัติธรรม ในพระพุทธศาสนามีจุดประสงค์ในการปฏิบัติเพื่อความจางคลายของทุกข์ แล้วดับทุกข์ให้หมดโดยสิ้นเชิงได้ในที่สุด หากพิจารณากันแล้ว การปฏิบัติพุทธธรรมเป็นความประสงค์และจำเป็นอย่างแท้จริงของคนทุกคน โดยไม่เลือกเชื้อชาติ อาชีพ เพศ และวัยเพียงแต่ให้เขาเหล่านั้นได้เข้าใจอย่างแท้จริง เพราะทุกคนต้องการความสุขและรังเกียจทุกข์ การปฏิบัติธรรม โดยทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่า จะต้องปฏิบัติที่วัด หรือที่สำนักที่จัดขึ้นไว้เพื่อการปฏิบัติโดยเฉพาะเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงเลย เมื่อความทุกข์นั้นสามารถทำให้ลดจางคลายและหมดไปได้ ไม่แต่เฉพาะในวัดและสำนักปฏิบัติเท่านั้น ดังนั้น จำเป็นอย่างไรจึงต้องรอเพียงแค่ไปทำสมาธิ ไหว้พระตอนที่อยู่ในวัด หรือ สำนัก ปฏิบัติ ท่านจงใช้ความพยายามทำความเข้าใจในหลักการสมาธิ ให้แจ่มแจ้ง แล้วท่านจะสามารถหาความสุข (คลายทุกข์) ได้ แม้ในขณะที่ท่านกำลังทำงานประจำวันของท่านอยู่ก็ตาม และแม้นิพพานก็มีอยู่ตรงหน้าท่าน แหละเพียงท่านทำเหตุ (การปฏิบัติ) ให้ถูกต้องและเพียงพอ ผลที่ท่านต้องการก็จะเกิดมีขึ้นปรากฏแก่จิตของท่านตามขั้นตอน หลักการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ทั้งวิธีปฏิบัติและความเข้าใจที่ถูกต้อง เพียงแต่ท่านเป็นคนมีเหตุมีผลใจเปิดรับสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล ไม่ยอมทำหรือปฏิบัติตนในสิ่งนอกเหตุเหนือผล มีขันติ วิริยะ และความตั้งใจจริงพอสมควรเท่านั้น […]