Tag Archives: ทำบุญ

ทำบุญกฐิน คืออะไร

กฐิน

บุญกฐินคือ บุญที่เรียกว่า “กาลทาน” นี้มีกําหนดให้ทําได้เฉพาะใน ช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุก ปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “บุญ เดือน 12” ชาวอีสานเชื่อว่าผู้ใดได้ทําบุญ กฐิน จะไม่ตกนรกและจะได้รับผลบุญที่ทําในชาตินี้ไว้เก็บกินในชาติหน้า งานบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสําคัญ กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียก “ผ้าไตรจีวร” ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น ความหมายและความสำคัญของการถวาย กฐิน ความหมายของกฐิน กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่าไม้สะดึง คือ “กรอบไม้” หรือ “ไม้แบบ” สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ) อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้ กฐินเป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น […]

วันมาฆบูชา ประวัติความเป็นมา และ ความสำคัญ

วันมาฆบูชา

ประวัติความเป็นมา วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง สำหรับประวัติวันมาฆบูชา ความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมถึงกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติมีอะไรบ้าง (ที่มาข้อมูล https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/73/iid/3403) ความหมายของ วันมาฆบูชา คำว่า “มาฆะ” นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า “มาฆบุรณมี” หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 การกำหนดวันมาฆบูชา การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ความสำคัญของวันมาฆบูชาและประวัติวันมาฆบูชา ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์”แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า “ทำความดี […]

คู่รักยุคใหม่ ทำบุญ เข้าวัดในวันวาเลนไทน์

ทำบุญ

คู่รักยุคใหม่ ทำบุญ เข้าวัดในวันวาเลนไทน์ ในวันวาเลนไทน์ คู่รักหลายคู่คงจะวางแผนการไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ปีนี้ลองเปลี่ยนการจากไปเที่ยวอย่างเดียว โดยการเพิ่มทริป ทำบุญ  เข้าไป ซึ่งจะเป็นการแสดงความรักในอีกรูปแบบหนึ่งที่จะได้ทั้งบุญ และได้ทั้งความสุขไปพร้อมๆกัน โดยการทำบุญในวันวาเลนไทน์นั้น ก็ควรเป็นสิ่งของที่มีลักษณะเป็นคู่ เพื่อเป็นการหนุนดวงของคุณและคนรัก การทำบุญที่นิยมนำไปทำบุญร่วมกับคนรักในวันวาเลนไลน์ มีดังนี้ ทำบุญ ด้วยการตักบาตร การตักบาตรร่วมกับคนรักหรือคนในครอบครัว เป็นการทำบุญที่จะช่วยหนุนดวงได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการสร้างความทรงจำดีๆ จากการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยการทำบุญตักบาตรสามารถทำได้ทั้ง ข้าวสาร อาหารแห้ง หรืออาหารอื่นๆ เช่น ข้าวสวย กับข้าว น้ำเปล่า ขนม ผลไม้ ปลากระป๋อง มาม่า และนม เป็นต้น ซึ่งการทำบุญตักบาตรจะนิยมทำกันในช่วงเช้า เวลาที่พระสงฆ์เดินบิณฑบาตรนั่นเอง หรือหากท่านใดอยากทำอาหารไปถวายที่วัดโดยตรงเลยก็ได้ ทำบุญด้วยการถวายสิ่งของจำเป็น สิ่งของที่นิยมนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ มีดังนี้ – สิ่งของที่เป็นคู่ ได้แก่ หมอนคู่ รองเท่าแตะ เชิงเทียนคู่ ผ้าไตรจีวรคู่ และแจกันคู่ เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าการถวายสิ่งของเป็นคู่จะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับคู่รักได้เป็นอย่างดี โดยไม่ว่าคุณจะเป็นคู่รักที่กำลังคบหา หรือแต่งงานแล้ว ก็สามารถถวายได้ […]

กิจจกรรมในวันออกพรรษานี้

กิจกรรมในวันออกพรรษา

วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้” คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ “ตักบาตรเทโว” คำว่า “เทโว” ย่อมาจาก”เทโวโรหน” แปลว่าการเสด็จจากเทวโลกการตักบาตรเทโว จึงเป็นการระลึกถึงวันที่ พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรด พระพุทธมารดาในเทวโลกประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทยก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ที่สมมติว่าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เท่านั้น กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา มีดังนี้ 1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ           2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา           3. ร่วมกุศลธรรม “ตักบาตรเทโว”           4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา           5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ […]

ที่มาที่ไป !! ของ “ผ้าอาบน้ำฝน” ฉบับ ธาราญา

ที่มาที่ไป !! ของ ผ้าอาบน้ำฝน ฉบับ ธาราญา

ความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝน โดยปกตินางวิสาขา จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของนางเป็นประจำ เมื่อการจัดเตรียมภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยพร้อมแล้ว ก็จะให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง วันหนึ่งสาวใช้ได้มาตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงพากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็น นักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า”ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่” นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึงทราบเหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอยเพียง 3 ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง ดังนั้น เมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำจึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำ นางวิสาขา จึงอาศัยเหตุนี้ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้าน และเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขาจึงได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาต ตามที่ขอนั้น และนางวิสาขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ ความหมายของ ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าอาบน้ำฝน เป็นของใช้จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับพระสงฆ์ ซึ่งคนไทยตั้งแต่อดีตมักนำไปถวายพระในเทศกาลเข้าพรรษา บางคนเรียกว่า ผ้าจำนำพรรษา กล่าวคือ เป็นผ้าที่ถวายกันประจำในเทศกาลเข้าพรรษา บางคนก็เรียกสั้นๆ ว่า ผ้าอาบ หรือถ้าเรียกเป็นศัพท์บาลีตามพระพุทธวินัยบาลี จะเรียกว่า ผ้าอุทก หรือ […]

กิจกรรมใน “วันเข้าพรรษา” มีอะไรบ้าง ?

กิจกรรมใน วันเข้าพรรษา มีอะไรบ้าง ?

วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง โดย วันเข้าพรรษา 2565ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ประวัติวันเข้าพรรษา          “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน โดยแบ่งเป็น           – ปุริมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ […]

ความหมายและความสำคัญของ “วันอาสาฬหบูชา”

ความหมายและ ความสำคัญของ วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก “อาสาฬหปูรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ” อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกรกฎาคม หรือเดือนสิงหาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ ความหมายของวันอาสาฬหบูชา อาสาฬหบูชา สามมารถอ่านได้ทั้ง ๒ แบบ คือ “อา-สาน-หะ-บู-ชา” หรือ “อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา” ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า “การบูชาในเดือน ๘ […]

ความหมายของ “ดอกบัว” ในพระพุทธศาสนา !!

ความหมายของ ดอกบัว ในพระพุทธศาสนา !!

ดอกบัว กับพุทธศาสนานั้นเป็นสิ่งที่คู่กันมาโดยตลอด เมื่อเราไปวัด หรือ สถานที่ปฎิบัติธรรม เรามักจะ สังเกตเห็นว่าสิ่งที่พุทธศาสนิกชนนำมากราบและถวายบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะต้องมีดอกบัวเป็นดอกไม้พุทธบูชาประเภทหนึ่งอยู่เสมอ และเราก็มักจะได้ยินถึงการเปรียบเทียบดอกบัวกับมนุษย์ที่บอกว่า บัวก้นบึ้ง เปรียบเทียบกับ โมฆะบุรุษ มนุษย์ที่เกิดมาสูญเปล่า ไม่รู้ผิดหรือชอบ ไม่เกรงกลัวในบาปกรรม บัวใต้น้ำ เปรียบเทียบกับ บุคคลที่ยังรู้ผิดชอบชั่วดีบ้าง มีศีลบ้าง บุคคลกลุ่มนี้หากได้กัลยาณมิตรที่ดี ก็จะมีโอกาส มีความเจริญรุ่งเรือง กลายเป็นบัวปริ่มน้ำได้ บัวปริ่มน้ำ เปรียบเทียบกับ บุคคลที่มีศีล รู้จักการรักษาศีล 5 ให้คงไว้ รู้จักมีเมตตา เผื่อแผ่ ถือศีล 5 ได้ครบบ้าง ไม่ครบบ้าง แต่พยายามหมั่นฝึกฝน และมีโอกาสเป็นผู้เจริญแล้วได้ไม่ยาก บัวพ้นน้ำ เปรียบเทียบกับ ผู้รักษาศีล 5 ได้ครบถ้วน และไม่ละเลยการเพียรทำความดี เป็นผู้เจริญแล้ว ดอกบัวที่เราใช้กราบไหว้บูชา จึงมีความหมายและนัยมากกว่าการเป็นเพียงดอกไม้ที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ความสวยงามไว้เพียงเท่านั้น หากกล่าวไปถึงในอดีต ดอกไม้หลากหลายชนิดบนโลกใบนี้อาจจะไม่ได้มีไว้เพียงแค่เป็นตัวแทน การกราบไหว้ เคารพนับถือบูชาเท่านั้น แต่ความงามของดอกไม้เป็นเสมือนอาภรณ์ที่ประดับร่างกาย เพื่อให้เกิดความสวยงาม เพราะดอกไม้ไม่ได้มีเพียงรูปลักษณ์ที่งดงามท่านั้น แต่ดอกไม้ทุกชนิดบนโลกใบนี้ยังมีกลิ่นหอมเย้ายวนใจอีกด้วย การนำดอกไม้มาประดิษฐ์เป็นอาภรณ์ หรือประดับร่างกาย ยังทำให้มีกลิ่นหอมหวน และจิตใจผ่องใสเบิกบานได้เช่นกัน นอกจากนี้ในบรรดาเครื่องหอมทั้งปวงของคนสมัยโบราณ […]

ความหมายและความสำคัญของ “วันพระ”

ความหมาย และความสำคัญของ วันพระ

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชน เพื่อปฏิบัติ กิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า “วันธรรมสวนะ” อัน ได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทิน จันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ) วันแรม 8 ค่ำ วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)   ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น ความเป็นมาของ “วันพระ” ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยพุทธกาลที่ผ่านมาได้มีเหล่านักบวชนอกศาสนาประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อของตนทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ […]

ทำบุญ ทำทาน อย่างไร ให้ได้อานิสงส์สูงสุด ?

ทำบุญ ทำทาน อย่างไร ให้ได้อานิสงส์สูงสุด ?

ทาน หมายถึง การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่หวังผลตอบแทน เมื่อเราให้ทานแม้จะไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทนก็ตาม แต่ก็จะมีบุญเกิดขึ้น และบุญนั้นจะช่วยให้เราสมบูรณ์พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ ถ้าใครปราศจากการให้ทานเกิดมาก็จะยากจน ทำบุญทำทานได้ไม่สะดวกเพราะมัวแต่กังวลเรื่องการทำมาหากิน  “ทาน” จึงเป็นพื้นทานของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้า ทาน เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ10 การทำทานจึงเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง แล้ว บุญกิริยาวัตถุ10 คือ 1.    ทานมัย – บุญจากการทำทาน คือ การให้ในทุกรูปแบบ 2.    สีลมัย – บุญจากการรักษาศีล คือ รักษาศีล 5 เป็นพื้นฐาน 3.    ภาวนามัย – บุญจากการเจริญสมาธิภาวนา คือ นั่งสมาธิภาวนา 4.    อปจายนมัย – บุญเกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตน คือ ให้เกียรติผู้อื่น 5.    เวยยาวัจจมัย – บุญจากการช่วยเหลือการงานที่ถูกที่ควร เช่น การเป็นจิตอาสา 6.    ปัตติทานมัย – บุญจากการอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้อื่น ทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และผู้เสียชีวิต 7.    ปัตตานุโมทนามัย – บุญจากการอนุโมทนา คือ แสดงความยินดีกับผู้อื่น 8.    ธัมมัสสวนมัย – บุญจากการฟังธรรมในทุกรูปแบบจากพระสงฆ์ 9.    ธัมมเทสนามัย – บุญจากการแสดงธรรม คือ รู้แล้วบอกต่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย อาทิเช่น […]