วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้” คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ “ตักบาตรเทโว” คำว่า “เทโว” ย่อมาจาก”เทโวโรหน” แปลว่าการเสด็จจากเทวโลกการตักบาตรเทโว จึงเป็นการระลึกถึงวันที่ พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรด พระพุทธมารดาในเทวโลกประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทยก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ที่สมมติว่าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เท่านั้น กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา มีดังนี้ 1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ 2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา 3. ร่วมกุศลธรรม “ตักบาตรเทโว” 4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา 5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ […]
Tag Archives: ถวายสังฆทาน
ความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝน โดยปกตินางวิสาขา จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของนางเป็นประจำ เมื่อการจัดเตรียมภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยพร้อมแล้ว ก็จะให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง วันหนึ่งสาวใช้ได้มาตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงพากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็น นักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า”ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่” นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึงทราบเหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอยเพียง 3 ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง ดังนั้น เมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำจึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำ นางวิสาขา จึงอาศัยเหตุนี้ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้าน และเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขาจึงได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาต ตามที่ขอนั้น และนางวิสาขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ ความหมายของ ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าอาบน้ำฝน เป็นของใช้จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับพระสงฆ์ ซึ่งคนไทยตั้งแต่อดีตมักนำไปถวายพระในเทศกาลเข้าพรรษา บางคนเรียกว่า ผ้าจำนำพรรษา กล่าวคือ เป็นผ้าที่ถวายกันประจำในเทศกาลเข้าพรรษา บางคนก็เรียกสั้นๆ ว่า ผ้าอาบ หรือถ้าเรียกเป็นศัพท์บาลีตามพระพุทธวินัยบาลี จะเรียกว่า ผ้าอุทก หรือ […]
วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง โดย วันเข้าพรรษา 2565ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ประวัติวันเข้าพรรษา “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน โดยแบ่งเป็น – ปุริมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ […]
การถวายสังฆทาน หมายถึงการ ถวายสิ่งของจตุปัจจัยวัตถุแก่หมู่พระสงฆ์ โดยไม่เลือกระบุถวายเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง กล่าวคือ ถวายเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการ หรือเพียงแค่ถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (โดย “ไม่เลือก” ว่าจำเพาะถวายรูปนั้นรูปนี้ เช่น เป็นพระผู้ทรงพรรษา พระรูปที่เรารู้จัก หรือพระรูปที่ตนศรัทธา) ที่เป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ หรือถวายโดยมีเจตนาเพื่อบำรุงพระสงฆ์สามเณรโดยไม่เลือกผู้รับ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน 10 อันดับของสังฆทาน ที่พระจะได้ประโยชน์มากที่สุด 1. เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เนื่องจากพระสมัยนี้ ต้องเรียนพระปริยัติธรรม และจดกำหนดนัดหมายต่างๆ ช่วยจำ บางรูปท่านเป็นเหรัญญิกดูแลค่าใช้จ่าย ยิ่งต้องใช้มาก แต่ไม่ค่อยมีใครถวายเครื่องเขียนเหล่านี้ พระท่านจึงต้องไปเดินหาซื้อเองเสมอ หากเราถวายไป พระท่านจะได้ใช้อย่างแน่นอน 2. ใบมีดโกน ควรเลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพ โกนได้เกลี้ยงเกลา เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ในการปลงผมได้อย่างสะดวกและปลอดภัย 3. ผ้าไตรจีวร แม้จะเป็นสิ่งที่พบเห็นในชุดสังฆทาน แต่ส่วนใหญ่มักเป็นของที่ไม่ได้ขนาดและไม่มีคุณภาพ ดังนั้นผู้ถวายสังฆทาน ควรเลือกอย่างเหมาะสม เช่น ผ้าไตรจีวรที่ทำจากผ้ามัสลิน เพราะเนื้อผ้าเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้น 4. หนังสือธรรมะ สารคดี นิตยสาร หรือที่ให้ความรู้ด้านอื่นๆ […]
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก “อาสาฬหปูรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ” อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกรกฎาคม หรือเดือนสิงหาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ ความหมายของวันอาสาฬหบูชา อาสาฬหบูชา สามมารถอ่านได้ทั้ง ๒ แบบ คือ “อา-สาน-หะ-บู-ชา” หรือ “อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา” ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า “การบูชาในเดือน ๘ […]
ดอกบัว กับพุทธศาสนานั้นเป็นสิ่งที่คู่กันมาโดยตลอด เมื่อเราไปวัด หรือ สถานที่ปฎิบัติธรรม เรามักจะ สังเกตเห็นว่าสิ่งที่พุทธศาสนิกชนนำมากราบและถวายบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะต้องมีดอกบัวเป็นดอกไม้พุทธบูชาประเภทหนึ่งอยู่เสมอ และเราก็มักจะได้ยินถึงการเปรียบเทียบดอกบัวกับมนุษย์ที่บอกว่า บัวก้นบึ้ง เปรียบเทียบกับ โมฆะบุรุษ มนุษย์ที่เกิดมาสูญเปล่า ไม่รู้ผิดหรือชอบ ไม่เกรงกลัวในบาปกรรม บัวใต้น้ำ เปรียบเทียบกับ บุคคลที่ยังรู้ผิดชอบชั่วดีบ้าง มีศีลบ้าง บุคคลกลุ่มนี้หากได้กัลยาณมิตรที่ดี ก็จะมีโอกาส มีความเจริญรุ่งเรือง กลายเป็นบัวปริ่มน้ำได้ บัวปริ่มน้ำ เปรียบเทียบกับ บุคคลที่มีศีล รู้จักการรักษาศีล 5 ให้คงไว้ รู้จักมีเมตตา เผื่อแผ่ ถือศีล 5 ได้ครบบ้าง ไม่ครบบ้าง แต่พยายามหมั่นฝึกฝน และมีโอกาสเป็นผู้เจริญแล้วได้ไม่ยาก บัวพ้นน้ำ เปรียบเทียบกับ ผู้รักษาศีล 5 ได้ครบถ้วน และไม่ละเลยการเพียรทำความดี เป็นผู้เจริญแล้ว ดอกบัวที่เราใช้กราบไหว้บูชา จึงมีความหมายและนัยมากกว่าการเป็นเพียงดอกไม้ที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ความสวยงามไว้เพียงเท่านั้น หากกล่าวไปถึงในอดีต ดอกไม้หลากหลายชนิดบนโลกใบนี้อาจจะไม่ได้มีไว้เพียงแค่เป็นตัวแทน การกราบไหว้ เคารพนับถือบูชาเท่านั้น แต่ความงามของดอกไม้เป็นเสมือนอาภรณ์ที่ประดับร่างกาย เพื่อให้เกิดความสวยงาม เพราะดอกไม้ไม่ได้มีเพียงรูปลักษณ์ที่งดงามท่านั้น แต่ดอกไม้ทุกชนิดบนโลกใบนี้ยังมีกลิ่นหอมเย้ายวนใจอีกด้วย การนำดอกไม้มาประดิษฐ์เป็นอาภรณ์ หรือประดับร่างกาย ยังทำให้มีกลิ่นหอมหวน และจิตใจผ่องใสเบิกบานได้เช่นกัน นอกจากนี้ในบรรดาเครื่องหอมทั้งปวงของคนสมัยโบราณ […]
วิธีการ แก้กรรม มีมากมาย แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน วิธีที่จะทำให้ กรรมบรรเทาลงได้นั้นมี ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ถ้าเจ้ากรรมนายเวรจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบริเวณที่เจ็บปวดได้รับอโหสิกรรมแล้วจะหายเจ็บปวดทันที กรรมนี้จะเบาลงและจะมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยสังเกตจากตัวเราเองว่า มีสิ่งที่ดีเข้ามามากขึ้นที่ป่วย ก็จะหาย ที่จนก็จะเริ่มมี แสดงว่าเราเริ่มมีบุญแล้ว หากกรรมยังเยอะ ก็ยังลำบากอยู่ แล้ว “กรรม” คืออะไร ? “กรรม” การกระทำด้วยเจตนา ทั้งในอดีตชาติ หรือในปัจจุบันก็ล้วนเป็นกรรมทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมีผลกระทบต่อปัจจุบันและอนาคต “ใครทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมไปตกอยู่ที่ผู้กระทำ” (การ แก้กรรม สามารถช่วยได้ จากหนักเป็นเบา) ไม่มีใครหลุดพ้นหรือหนีจากกฎแห่งกรรมไปได้ วิบากกรรมของแต่ละคนก็แตกต่างกัน วิธีการ แก้กรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ เช่น การใส่บาตร ถือศีล กินเจ ช่วยผู้ที่เดือดร้อน ถวายสังฆทาน สวดมนต์ กราบบิดามารดา ล้วนเป็นมหากุศล การทำบุญให้อธิษฐานจิตทุกครั้ง เพื่อนำส่งบุญให้ตัวเอง มีชีวิตที่ดีขึ้น เจริญขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นกุศลและเป็นบุญทั้งสิ้น คำกล่าวในการแก้กรรม คือ ให้ “ตั้งนะโม 3 จบ” ตามด้วย ข้าพเจ้า…..ชื่อตัวเอง…..นามสกุล………เกิดวันที่……….วันนี้ข้าพเจ้าขอตั้งจิตถึงบารมีสิ่งศักดิ์ทั่วสากลโลก รวมถึงองค์เทพองค์พรหมที่ปกปักษ์รักษากาย สังขาร วิญญาณลูกอยู่ วันนี้ลูกตั้งจิตถวาย……บุญที่ทำ……..ลูกขอถวายบุญกุศลนี้แก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ รวมถึงองค์เทพองค์พรหมทั้งหลายให้มีพระบารมีมากขึ้น และขอให้ทุกๆ พระองค์นำส่งบุญให้ลูกเจริญขึ้นทั้งการงาน การเงิน และความรัก […]
ทาน หมายถึง การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่หวังผลตอบแทน เมื่อเราให้ทานแม้จะไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทนก็ตาม แต่ก็จะมีบุญเกิดขึ้น และบุญนั้นจะช่วยให้เราสมบูรณ์พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ ถ้าใครปราศจากการให้ทานเกิดมาก็จะยากจน ทำบุญทำทานได้ไม่สะดวกเพราะมัวแต่กังวลเรื่องการทำมาหากิน “ทาน” จึงเป็นพื้นทานของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้า ทาน เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ10 การทำทานจึงเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง แล้ว บุญกิริยาวัตถุ10 คือ 1. ทานมัย – บุญจากการทำทาน คือ การให้ในทุกรูปแบบ 2. สีลมัย – บุญจากการรักษาศีล คือ รักษาศีล 5 เป็นพื้นฐาน 3. ภาวนามัย – บุญจากการเจริญสมาธิภาวนา คือ นั่งสมาธิภาวนา 4. อปจายนมัย – บุญเกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตน คือ ให้เกียรติผู้อื่น 5. เวยยาวัจจมัย – บุญจากการช่วยเหลือการงานที่ถูกที่ควร เช่น การเป็นจิตอาสา 6. ปัตติทานมัย – บุญจากการอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้อื่น ทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และผู้เสียชีวิต 7. ปัตตานุโมทนามัย – บุญจากการอนุโมทนา คือ แสดงความยินดีกับผู้อื่น 8. ธัมมัสสวนมัย – บุญจากการฟังธรรมในทุกรูปแบบจากพระสงฆ์ 9. ธัมมเทสนามัย – บุญจากการแสดงธรรม คือ รู้แล้วบอกต่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย อาทิเช่น […]
ความหมายของ “วันวิสาขบูชา” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน ประสูติ เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ” ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า ตรัสรู้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม […]
การปิดทององค์พระนั้น ชาวพุทธมีความเชื่อว่าเป็นการสร้างบุญมหากุศลอันยิ่งใหญ่ โดยมีคติความเชื่อว่าผู้ที่ได้มีโอกาสปิดทองพระไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดจะมีผิวพรรณผ่องใสงดงาม มีสง่าราศรี เป็นที่ถูกเนื้อต้องใจของผู้ที่พบเห็น ส่วนอานิสงค์ผลบุญที่ให้เห็นในชาตินี้ ในการทำบุญ ทำความดีไว้จะเป็นผลดีกับตัวเองและได้อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากการทำบุญตักบาตรแล้ว ก็ยังมีการไหว้พระปิดทอง โดยชาวพุทธมีความเชื่อมาช้านานว่า การไหว้พระปิดทองนั้น เป็นคติธรรมมุ่งหมายถึงการได้บูรณะต่อองค์พระพุทธปฏิมา เพื่อผลแห่งอานิสงส์ที่จะให้ผลโดยทันที และยังมีความเชื่ออีกว่าผู้ที่ได้มีโอกาส ปิดทองพระ ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดจะมีผิวพรรณผ่องใสงดงาม บทความนี้ ธาราญา จะบอกปิดทองพระ ตำแหน่งไหนดี ? เผื่อบางคนอาจจะยังไม่ทราบหรือยังสงสัยเวลาไปเข้าวัดทำบุญ จะต้องปิดทององค์พระ แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะปิดทองตำแหน่งดี ซึ่งแต่ละจุดก็จะมีความหมายและให้อานิสงส์ผลบุญที่แตกต่างกันออกไป ปิดทองที่พระเศียร (ศีรษะ) มีความเชื่อว่าการปิดทองบริเวณศรีษะของพระพุทธรูปจะทำให้ความจำดี มีสติปัญญาเป็นเลิศ ฉลาดหลักแหลม หัวไว เรียนเก่ง สามารถคิดและวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ปิดทองที่พระพักตร์ (ใบหน้า) การปิดทองบริเวณใบหน้าของพระพุทธรูปจะทำให้คุณประสบความสำเร็จในชีวิต มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ไร้ซึ่งอุปสรรคใด ๆ มาขัดขวาง ทุกสิ่งทุกอย่างราบเรียบราบรื่นไม่มีติดขัด ไม่มีสะดุด ปิดทองที่พระหัตถ์ (มือ) […]