บุญกฐินคือ บุญที่เรียกว่า “กาลทาน” นี้มีกําหนดให้ทําได้เฉพาะใน ช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุก ปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “บุญ เดือน 12” ชาวอีสานเชื่อว่าผู้ใดได้ทําบุญ กฐิน จะไม่ตกนรกและจะได้รับผลบุญที่ทําในชาตินี้ไว้เก็บกินในชาติหน้า งานบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสําคัญ กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียก “ผ้าไตรจีวร” ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น ความหมายและความสำคัญของการถวาย กฐิน ความหมายของกฐิน กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่าไม้สะดึง คือ “กรอบไม้” หรือ “ไม้แบบ” สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ) อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้ กฐินเป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น […]
Tag Archives: กฐิน
“กฐิน” คืออะไร? คำว่า “กฐิน” ภาษาบาลี แปลกันตามตัวอักษรว่า “ไม้สะดึง” สะดึง (อังกฤษ: Embroidery hoop; Embroidery frame) คือกรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น หรืออาจจะหมายถึงกรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร …. สะดึงมี 2 แบบ คือ (๑) สะดึงกลม ใช้ปักงานชิ้นเล็ก เช่น การปักตัวอักษร เครื่องหมายของโรงเรียน มุมผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น (๒) สะดึงสี่เหลี่ยม เหมาะสำหรับปักงานชิ้นใหญ่ จำเป็นต้องมีผ้าขึงสะดึง เพื่อบังคับผ้าที่ปัก ให้แน่นและเรียบตึงอยู่ได้นาน ช่วยให้งานปักประณีตเรียบร้อย ปักได้สะดวกและรวดเร็ว เช่น การปักหน้าหมอน ผ้าปูโต๊ะ ย่าม ตาลปัตร เป็นต้น ข้อมูลกฐิน (http://www.mahabunhome.com/kathin.html) กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 […]
“กฐิน” คืออะไร? กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น (ที่มาข้อมูลกฐิน จาก https://news.trueid.net/detail/vWyxxKGp0ZMe) จากข้อมูลที่ค้นหายังระบุว่าถึงการได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ประเพณีการทอดกฐิน ทั้งนี้ ประเพณีดังกล่าวมีมาช้านานแล้ว ทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา […]
กฐินเป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐิน ของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ า เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ า เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้าง ความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ า เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ า เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้าง […]
กฐิน เป็นบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย มูลเหตุมีการทำบุญกฐินซึ่งมีเรื่องเล่าว่า พระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แต่จวนใกล้กำหนดเข้าพรรษาเสียก่อน จึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้ง ๆ ที่ผ้าสบงจีวรเปื้อนเปรอะ เนื่องจากระยะทางไกลและฝน ผ้าสบงจีวรจึงเปียกน้ำและเปื้อนโคลน จะหาผ้าผลัดเปลี่ยนก็ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของพระภิกษุเช่นกัน จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด ชนิดของกฐิน ในประเทศไทย ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของกฐิน การทอดกฐิน ได้เป็น 2 ชนิด คือ จุลกฐิน จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย […]
เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังสุวรรณภูมิและ ประดิษฐานอยู่บนผืนแผ่นดินนี้อย่างสถิตย์สถาพร ประชาชนไทยได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การทอด กฐิน ก็ได้กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแผ่นดินสยามได้ทรงรับเรื่องกฐินนี้ขึ้นเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่ง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธี ทำให้เรียกกฐินนี้ว่า กฐินหลวง วัดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัดราษฎร์หรือวัดหลวง หากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้วจะเรียกว่า กฐินหลวงทั้งสิ้น ในสมัยต่อๆ มา เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น ประชาชนมีศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดิน ได้รับพระมหากรุณาให้ถวายผ้าพระ กฐิน ได้ตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเหตุให้แบ่งแยกกฐินหลวงออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ ๑.กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีกฐินดังกล่าวนี้ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระ กฐิน ด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ซึ่งทางราชการกำหนดขึ้น มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อย ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค จำนวน ๑๖ วัด คือ ๑. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร๒. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร๓. วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร๔. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร๕. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร๖. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร๗. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร๘. วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร๙. วัดราชาธิวาส […]
กฐิน หรือ มหากฐิน เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่ง ที่มีความศรัทธาโดยเฉพาะ กล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน ณ วัดใด ก็ให้ทำใบปวารณาจองกฐินติดใบบอกไว้ ณ เขตวัดนั้นๆ เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน ซึ่งจะเป็นผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาวซึ่งยังไม่ได้ตัด ก็ให้ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังไม่ได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งจัดเป็นองค์กฐิน นำไปทอด ณ วัดที่ได้จองไว้นั้น นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐินจะต้องมี ผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุดในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกสั้นๆ ว่า เทียนปาติโมกข์ จำนวน 24 เล่ม และมีธงผ้าขาวเขียนรูปจระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัดที่อยู่ตามริมน้ำ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว (ถ้าเป็นวัดที่อยู่ไกลแม่น้ำให้มีธงผ้าขาวเขียนรูปตะขาบปักไว้หน้าวัดแทนรูปสัตว์น้ำ) การปักธงนี้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และอนุโมทนาร่วมกุศลด้วยได้ นอกจากนี้แล้วยังมีประเพณีนิยมอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับเวลาของการทอดกฐิน ถ้าเป็นเวลาเช้าจะมีการทำบุญถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุ สามเณร ในวัดด้วยกฐินที่ราษฎรเป็นเจ้าภาพนำองค์กฐินและบริวารกฐินไปทอดยังวัดต่างๆ นี้เรียกว่า กฐิน หรือ มหากฐิน เหตุที่เรียกว่ามหากฐินอาจเป็นเพราะจะให้เห็นความแตกต่างจากกฐินอีกชนิดหนึ่งคือ จุลกฐิน […]
กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียก ผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรม นี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11ไปจนถึงวันขึ้นจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น กฐิน คืออะไร กฐิน อ่านว่า กฐิน อ่านว่า [กะถิน กะถินนะ-] กฐิน เป็นผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล ที่แปลว่า ไม้สะดึงคือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร กฐิน สามารถแบ่งตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้ 1.กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น2.กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)3.กฐิน เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน4.กฐิน เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์ ความเป็นมาของกฐิน ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน 30 รูป ได้เดินทางเข้ามาเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันได้ถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา […]
คือ ผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเองโดยไม่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า “ชักผ้าป่า” ส่วนการถวายผ้าป่านิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินเรียกว่า “ทอดผ้าป่า” การทอด ผ้าป่า จัดเป็นการทำบุญที่นิยมกันมากในปัจจุบัน โดยมีชื่อเรียกตามลักษณะการรวมกันของเครื่องบริวาร หรือตามวัตถุประสงค์ของการทำบุญที่เกี่ยวกับงานที่จัดขึ้น วิธีการทอดผ้าป่านั้นไม่จำเป็นต้องนำผ้าไปวางทิ้งหรือทอดไว้ในป่าอีกเพราะขยายจากการทอดผ้า เป็นเงินหรือสิ่งของที่บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์โดยปรับเปลี่ยนให้เข้าตามยุคตามสมัยสังคม ถือตามความสะดวกของสาธุชนผู้มาร่วมประกอบพิธี ซึ่งถือว่าได้อุปโลกน์เป็นผ้าป่าไปแล้ว ประเภทของ ผ้าป่า ในปัจจุบันประเภทของผ้าป่ามีชื่อเรียก 3 อย่าง คือ ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน หรือเรียก ผ้าป่าแถมกฐิน ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่ามราจัดทำรวมๆ กันหลายๆ กอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอด ตามวัดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำ จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้ ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตาม สถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอด จะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัด บางที่ก็มีจุดประสงค์เพื่อหาเงินไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นต้น พิธีทอด ผ้าป่า เจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์ที่จะทอดผ้าป่ากับทางเจ้าอาวาส เรียกว่า […]