🔸 ผ้าไตรจีวรธาราญา แตกต่างจากร้านทั่วไป เพราะ
ตัดเย็บประณีต ตัดขาดทุกขัณฑ์
ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย
นุ่งห่มเบาสบาย ระบายความร้อนได้ดี
พระภิกษุสงฆ์ ใช้งานได้จริง ครองผ้าได้เป็นประจำ
ฝีเข็มถี่ เย็บประณีต ตะเข็บคู่ จึงทนทานสูงกว่าร้านทั่วไป
ขนาด/ความยาวตรงตามที่ระบุ แตกต่างจากทั่วไปที่จะใช้ผ้าสั้นและบาง พระสงฆ์นุ่งห่มไม่ได้
มั่นใจได้ในคุณภาพ & เน้นพระสงฆ์ใช้งานได้จริง
อานิสงส์ของการถวายผ้าไตรจีวร
เป็นผู้ที่พร้อมไปด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์
มีแต่คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
หากเมื่อพบเจออุปสรรคจะสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
“ข้อมูลเพิ่มเติม”
ไตรเต็ม ไตรใหญ่ ประกอบด้วย 7 ชิ้น จีวร, สบงขัณฑ์, อังสะสไบ/กระเป๋า, สังฆาฏิ 1ชั้น, ผ้ากราบ, ผ้ารัดอก, ประคต
ไตรอาศัย ไตรแบ่ง ไตรเล็ก ประกอบด้วย 3 ชิ้น จีวร, สบงอนุวาต, อังสะสไบ/กระเป๋า
เนื้อผ้า :
ผ้ามัสลิน เป็นผ้า cotton 100% เนื้อผ้านุ่ม อากาศเย็นผ้าห่มแล้วจะอุ่น อากาศร้อนห่มแล้วจะเย็นสบายระบายความร้อนได้ดี
ผ้าสปันญี่ปุ่น เป็นผ้า cotton 100% เนื้อผ้านุ่ม ลื่น เงา ราคาจึงสูงกว่ามัสลิน
ผ้าป่านสวิส เป็นผ้า cotton 100% แท้ คล้ายมัสลิน แต่เนื้อผ้านุ่ม & เบากว่ามัสลิน ราคาสูง
สี :
สีพระราชนิยม หรือสีกลาง สามารถใช้ได้ทุกวัด และเป็นสีเดียวกับสังฆราชองค์ปัจจุบันครอง เช่น วัดราชบพิธ วัดบวร วัดเทพศิรินทร์ วัดชนะสงคราม วัดธรรมมงคล วัดพระรามเก้า วัดราชาธิวาส วัดโสมนัส วัดมงกุฏฯ วัดมเหยงคณ์ เป็นต้น
สีแก่น นิยมวัดสายพระป่ากรรมฐาน หรือ พระสงฆ์ธรรมยุติ เช่น วัดอโศการาม วัดป่าดาราภิรมย์ วัดป่ามณีกาญจน์ วัดป่าบ้านตาด วัดแถบอิสาน เป็นต้น
สีส้มทอง นิยมวัดสายพระบ้าน หรือ พระสงฆ์มหานิกาย เช่น วัดโพธิ์ วัดปากน้ำ วัดท่าซุง วัดสระเกศ วัดธรรมกาย เป็นต้น
ขนาด : ขึ้นอยู่กับ ความสูงพระ +20ซม. หรือ +30ซม. สำหรับสายพระป่ากรรมฐาน
แต่โดยทั่วไปสามารถถวายได้ทั้ง 1.90 เมตร 2.0 เมตร
ขัณฑ์ : คือ ลักษณะการเย็บที่นำจำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดออกเป็นขัณฑ์ตามพระวินัย นำมาตัดเย็บต่อกัน เป็น จีวร หรือ สบง
** ยิ่งจำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าที่ใช้ตัดเย็บจึงมากตาม *ราคา 9 ขัณฑ์ จึงสูงกว่า 5 ขัณฑ์
ชุดผ้าไตรจีวร 5 ขัณฑ์ นิยมวัดบ้าน หรือ พระสงฆ์มหานิกาย – 5 ขัณฑ์ ส่วนมากเป็นไตรจีวร “สีส้มทอง” เช่น วัดโพธิ์ วัดสระเกศ วัดปากน้ำ เป็นต้น
ชุดผ้าไตรจีวร 9 ขัณฑ์ นิยมวัดป่ากรรมฐาน หรือวัดแทบภาคอีสาน หรือวัดใน กทม. – 9 ขัณฑ์ ส่วนมากเป็นผ้าไตรสีแก่นขนุน/บวร & สีพระราชนิยม หรือสีพระราชทาน เช่น วัดราชบพิธ วัดบวร วัดพระรามเก้า วัดอโศกราม เป็นต้น
สอบถามข้อมูลสินค้า
Add Line Friend : @dharaya
ผ้าไตรจีวรนั้น เป็นหนึ่งในจตุปัจจัย ที่เป็นเครื่องนุ่งห่ม สำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร การนำ ผ้าไตร มาถวายพระในทางพระพุทธศาสนานั้น มองว่าเป็นการช่วยให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย และคลายความอันตรายต่างๆได้ ดังนั้นผู้ให้จึงได้รับบุญกุศลอย่างเต็มที่ เกิดในภพหน้าจะมีหน้าตารูปร่างสวยงาม และมีผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส เป็นผู้อิ่มเอมใจ อันเกิดจากการอิ่มบุญ ขจัดพ้นจากความยากลำบาก และความยากจนแสนเข็ญ
จุดประสงค์ของการ ถวายผ้าไตรจีวร
เพื่อให้พระภิกษุหมดภาระในการแสวงหาผ้านุ่งห่ม ไม่ต้องกังวลใจ มีเวลาปฏิบัติธรรมอย่างเพียงพอ และเป็นการช่วยให้พระภิกษุมีผ้านุงห่ม ป้องกันเหลือบยุง บำบัดความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันไม่ให้ป่วยไข้เพราะร้อนและหนาวเกินไป และในสมัยพุทธกาลพระภิกษุจะใช้รักษาสุขภาพอนามัย คือใช้ชายจีวรกรองน้ำดื่มเมื่อถึงคราวจำเป็น
ไตรจีวร หมายถึง ผ้า 3 ผืน นับเข้าในบริขาร 8 อย่างของพระภิกษุสงฆ์ ไตรครองประกอบด้วย ผ้า 7 ชิ้น
- จีวร คือ ผ้าห่มของพระภิกษุ สามเณร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอุตราสงค์
- สบง หมายถึง ผ้านุ่ง ของพระภิกษุ สามเณร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อันตรวาสก ในพระวินัย กำหนดการนุ่งไว้คือ ด้านบนนุ่งปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก ด้านล่างปิดหัวเข่า ลงมาเพียงครึ่งแข้ง การนุ่งแบบนี้ เรียกว่า นุ่งเป็นปริมณฑล
- สังฆาฏิ คือ ผ้าซ้อนทับจีวรอีกชั้นหนึ่งป้องการความหนาว (ปัจจุบันใช้พาดบ่าเนื่องจากอากาศไม่หนาวจนเกินไป)
- อังสะ หมายถึง ผ้าขนาดประมาณ ๒ x๑ ศอก สำหรับภิกษุสามเณร ใช้คล้องเฉียงบ่า ปิดไหล่ ตามพระวินัยห้ามมิให้เปลือยกายแต่ใช้ผ้าอังสะนี้ปิดร่างกายท่อนบน
- ประคตเอว คือ เครื่องคาดเอว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รัดประคตนิยมใช้ด้ายถักเป็นแผ่นคล้ายเข็มขัด ยาวประมาณเมตรครึ่งถึง ๒ เมตร
- ผ้ารัดอก หมายถึงผ้าหนา กว้างประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ยาวประมาณเมตรครึ่งถึง ๒ เมตร ใช้สำหรับรัดอกภิกษุสามเณร
- ผ้ากราบ หมายถึงผ้าที่พระสงฆ์ใช้รับของประเคนจากสตรีตามพระวินัยระบุว่า มิให้รับของประเคนมือต่อมือจากสตรี
คำกล่าวถวายผ้าไตรจีวร
อิมานิ มะยัง ภันเต // ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ // ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ // สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ // อิมานิ ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ // ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง // ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปลการถวายผ้าไตรจีวร
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ
อานิสงค์ของการถวายผ้าไตรจีวร
ผู้ที่ถวายผ้าไตรจีวร ด้วยจิตใจบริจาคที่บริสุทธิ์นั้น อานิสงค์จึงบังเกิดเป็นผลบุญยิ่งใหญ่ ดังนี้
- สามารถตัดบาปออกจากจิตใจ สามารถกำจัดกิเลส คือ ความโลภ ความตระหนี่ถี่เหนียว ให้บรรเทาเบาบางลงได้
- เวลา ยืน เดิน นั่ง เป็นสุขใจ เบิกบาน เกิดความภาคภูมิใจในบุญกุศลบังเกิดความอิ่มบุญ สุขใจ
- สามารถหลุดพ้นจากความยากจน ความลำบาก หลุดพ้นจากการขัดสนในทุกภพทุกชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัย 4 ทั้งหลาย
- หากเกิดชาติใดภพใด จะเป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ผิวพรรณผุดผ่อง แจ่มใส สง่างามน่ามอง
ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวาย ผ้าไตร แด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทุกหมู่เหล่า หากเมื่อใดก็ตามจะต้องพบกับความมีอุปสรรค อุปสรรคนั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี ภัยอันตรายอื่นๆ อย่างสัตว์มีพิษและของมีคมต่างๆ ก็ทำร้ายไม่ได้
อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นในชาติหน้า จะเกิดมาเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมด้วยหน้าตาที่งดงาม และสติปัญญาที่น่านับถืออย่างยิ่ง
แต่ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการจะถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ พึงต้องทำความซาบซึ้งในคุณแห่งพระสงฆ์ เพื่อให้ใจอ่อนน้อม ให้จิตใจบริสุทธิ์ และพึงต้องรักษาศีล 5 เป็นเบื้องต้น เพื่ออานิสงส์แห่งทานอันไพศาลนี้จักสำเร็จแก่ผู้ถวายนั้นเอง
การ “ทำบุญ” ในทางพุทธศาสนาไม่ได้มีเพียงการให้เงินให้ทอง หรือให้ทาน ทำบุญกับพระและวัดเท่านั้น “บุญ” หมายถึง การกระทำความดี มาจากภาษาบาลีว่า “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ดังนั้น บุญจึงเป็นเหมือนเครื่องกำจัดส่งเศร้าหมองที่เราเรียกกันว่า “กิเลส” ให้ออกไปจากใจ บุญจะช่วยให้เราลด ละ เลิก ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ และช่วยให้ใจเป็นอิสระพร้อมจะก้าวไปสู่การทำคุณงามความดีในขั้นต่อๆ ไป เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ มีความสุข และเป็นความสุขที่สงบและยั่งยืน
ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ปฏิบัติ เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม น่าเคารพยกย่อง เพราะถือว่าเป็น “คนดี” นั่นเอง นั่นแสดงว่าที่เราทำบุญกันมากมายก็เพราะ หวังประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ดังนั้นยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น ผลจิตใจยิ่งคับแคบ ความเมตตากรุณามีแต่จะน้อยลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง วันนี้ทาง “ธาราญา” จะมาแนะนำ วิธีการทำบุญง่ายๆ 2 วิธี ได้แก่ การทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน และการทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรจีวร
การถวายสังฆทานเป็นวิธีการทำบุญอีกวิธีหนึ่งที่คนไทยนิยมเป็นอย่างมาก การทำบุญด้วยชุดสังฆทาน การถวายปัจจัยให้พระสงฆ์ถือเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวผู้ทำเอง ช่วยเสริมดวง เพิ่มความสิริมงคลแก่ผู้ถวาย โดยการถวายของใช้ที่เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ และยังสามารถทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว อีกทั้งยังช่วยให้จิตใจสงบขึ้นได้อีกด้วย เป็นการทำทานที่ได้บุญมาก โดยสังฆทานของ “ธาราญา” นั้น ได้นำเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นแก่พระภิกษุสงฆ์ มาจัดเป็นชุดสังฆทานที่มีคุณภาพ พระภิกษุสงฆ์สามารถใช้งานได้จริง ไม่ว่าจะเป็น สังฆทานยา ที่นำเอายาสามัญที่มีความจำเป็นเป็นยาทุกชนิดก็ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรอง และมี อย. นอกจากนี้ “ธาราญา” ก็ยังจัดชุดสังฆทานต่างๆ เพื่อความสะดวกในการเลือกเพื่อทำไปนำบุญ เช่น สังฆทานวันเกิด สังฆทานเสริมดวง สังฆทานบรรเทากรรม เป็นต้น
การทำบุญด้วยผ้าไตรจีวรในทางพระพุทธศาสนานั้น มองว่าเป็นการช่วยให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย และคลายความอันตรายต่างๆได้ ดังนั้นผู้ให้จึงได้รับบุญกุศลอย่างเต็มที่ เกิดในภพหน้าจะมีหน้าตารูปร่างสวยงาม และมีผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส เป็นผู้อิ่มเอมใจ อันเกิดจากการอิ่มบุญ ขจัดพ้นจากความยากลำบาก และความยากจนแสนเข็ญ ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทุกหมู่เหล่า เมื่อใดก็ตามจะต้องพบกับความมีอุปสรรค อุปสรรคนั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี
ภยันตรายอื่นๆ อย่างสัตว์มีพิษและของมีคมต่างๆ ก็ทำร้ายไม่ได้ อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นในชาติหน้า จะเกิดมาเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมด้วยหน้าตาที่งดงาม และสติปัญญาที่น่านับถืออย่างยิ่ง โดยทาง “ธาราญา” ได้นำเอา ผ้าไตรจีวร ที่มีการนำผ้าอย่างดีมาทำการตัดเย็บอย่างปราณีต เนื้อผ้าหนา แต่มีความนุม เบาสบาย ซึ่งผ้าไตรนั้นก็มีหลากหลายสีให้เลือกนำไปถวายตามความเหมาะสมของวัดในแต่ละสถานที่
นอกจากการทำบุญด้วย 2 อย่างนี้ ยังมีการทำบุญอีกมากมายหลากหลายวิธี และแต่ความสะดวกของผู้ที่จะทำบุญ ในการทำบุญนั้น ไม่จำเป็นที่ต้องทำเฉพาะที่วัด หรือทำเฉพาะกับพระภิกษุเท่านั้น แต่การทำบุญนั้นยังสามารถทำได้กับ บุคคลคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นคนไร้บ้าน หรือคนเร่ร่อน หรือแม้กระทั่งกับสัตว์ก็สามารถทำบุญให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นทำบุญให้อาหารแก่สุนัขจรจัด หรือช่วงเหลือสัตว์ที่เจ็บป่วย เป็นต้น การทำบุญ คือการชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญในงานมงคลต่างๆ หรืองานอวมงคล ถ้าจะทำให้ถูกค้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือความหลง
ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) เป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 8 อย่าง
ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ก็มีหลักฐานว่า ทรงใช้ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่าจีวร ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อๆกัน ไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้งได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยเนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล
ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรนาของชาวมคธ จึงทรงดำริให้ตัดผ้าจีวร เป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัดแต่งแล้ว ให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ ผ้า 3 ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง ต่อมาทรงอนุญาต ผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่า ภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้
การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตร เพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง ดั่งความตั้งใจของผู้ถวายมีที่จิตศรัทธานั้น ควรต้องทำความเข้าใจในการเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม เพราะผ้าไตรผู้ซื้อไม่ได้ใช้ จึงไม่เข้าใจว่าจะเลือกอย่างไรพระท่านจึงนำไปใช้ได้จริง คงทน เหมะสมและตัดเย็บถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผ้าไตร ที่ซื้อมาถวายส่วนมากจึงไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เนื่อผ้าหนาเกินไปหรือไม่ระบายอากาศ ควรคำนึงถึงสภาพอากาศ และผ้าหลายชั้นที่พระท่านครอง ผ้าหนาและไม่ระบายอากาศจึงไม่เหมะสมที่จะใช้งาน นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึง ขนาด สี และความเหมาะสมกับวัดที่นำไปถวาย เช่น มหานิกายใช้สีเหลืองส้ม ต่างจากธรรมยุตที่ใช้สีกรักและเป็นผ้า 9 ขันธ์ เป็นต้น
สี ผ้าไตร ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ
- พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน สีพระราชทาน
- พระสงฆ์มหานิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม สีพระราชทาน
นอกเหนือจากนี้ สี ผ้าไตร ยังมีอีกหลากหลายสี ทั้งสีกรัก สีแก่นขนุน แก่นบวร สีทอง สีแก่นในวัง(สีพระราชทาน) แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้หลักๆจะเป็นสีทองกับสีแก่นในวัง(สีพระราชทาน) ซึ่งจากการที่ผลิตผ้าไตรจีวรส่งให้ร้านสังฆภัณ์ แหล่งใหญ่ สีผ้าไตรจีวรที่สั่งบ่อยๆ ก็จะมีแค่ 2 สีนี้ นานๆทีจะมีสี กรัก(ยังมีแบ่งเป็นกรักแดงกรักดำอีก) สีแก่นขนุน (สีออกเขียวๆ) แก่นบวร ออเดอร์เข้ามาบ้าง เพราะสีพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นของพระวัดป่าใช้ ทั้งนี้ทั้งนั้นการถวายผ้าไตรจีวร ไตรครอง ไตรอาศัย สบง อังษะ ผ้าอาบ ควรเลือกสีให้ตรงตามวัดที่นำไปถวายด้วย เพื่อที่พระสามารถนำไปใช้ได้เลย และควรเลือกผ้าไตรจีวร ที่มีการตัดเย็บที่ประณีต และสวยงาม ตะเข็บด้ายไม่ห่างเพราะจะทำให้ผ้าไม่ทนตะเข็บหลุดง่าย เนื้อผ้าดีมีมาตรฐาน ได้ขนาด และสีเดียวกันทั้งผืน
การเลือกสีของผ้าไตรจีวรนั้นควรพิจารณาว่า ผ้าไตรที่จะนำไปถวายคือวัดไหน และวัดนั้นใช้สีอะไร หรือ ถ้าไม่รู้ก็สามารถเลือกสีพระราชทานไว้ก่อน เพราะผ้าไตรสีพระราชทานเป็นสีที่นิยมใช้กันทั่วไป และนอกจากสีของผ้าไตรควรคำนึงถึงขนาดของผ้าไตรจีวร ดังนี้
พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 1.9 ม.
พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.0 ม.
พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.1
หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรมาถวายแก่พระภิกษุโดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้ท่านเลือกซื้อผ้าไตรจีวร ขนาดความสูง 2.0 ม.
เมื่อเรารู้จุดประสงค์ สี และขนาด เรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถเลือกซื้อผ้าไตรได้อย่างถูกต้อง
ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าจีวร 3 ผืน เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ ผ้าจีวร และผ้าสบง แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร ส่วนในการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรจะมีอยู่ 2 จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อบรรพชาอุปสมบท หรือ เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ อันดับแรกเมื่อเรารู้จุดประสงค์ของการซื้อผ้าไตรจีวรแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ สีของผ้าไตรจีวร ก่อนที่จะซื้อเราต้องสอบถามทางวัดก่อนว่าทางวัดใช้ผ้าไตรจีวรสีอะไร เพราะแต่ละวัดจะใช้สีไม่เหมือนกัน เมื่อเรารู้ทั้งจุดประสงค์ แล้วก็สีของไตรจีวรแล้ว เราจะมาดูส่วนของผ้าไตรจีวรกันว่ามีกี่แบบแต่ละแบบมีอะไรบ้าง
ผ้าไตรจีวร โดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ
1. ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย
– จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม
– สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง
– อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม
– สังฆาฏิ : เป็นผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร แต่พระเอามาใช้พาดบ่า
– ผ้ารัดอก : ผ้าที่ใช้รัดอก เวลาพระเอาสังฆาฏิพาดบ่า เพื่อให้ดูกระชับและเรียบร้อย
– รัดประคต : คือเชือกไว้รัดสบง หมีหน้าที่เสมือนข็มขัดของพระ
– ผ้าประเคน : เป็นผ้าที่ใช้รับสิ่งของ
2. ไตรอาศัย(ใช้ในชีวิตประจำวัน) ประกอบด้วย
– จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม
– สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง
– อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม
สีของผ้าไตรจีวร
ผ้าไตรจีวร ในปัจจุบันมีหลายสีด้วยกัน แต่ละวัดก็ใช้สีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละวัด ปัจจุบันสีที่นิยม และพบได้มาก ประกอบก้วย 6 สี ได้แก่
- สีทอง หรือ สีเหลือส้ม ปัจจุบันเป็นสีเนื้อผ้าที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ตามวัดต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
- สีพระราชทาน หรือ สีพระราชนิยม ส่วนมากเป็นสีที่พบมากและส่วนมากพระจะนิยมครองผ้าสีนี้ในงานพิธีต่างๆ
- สีแก่นบวช เป็นสีที่พบมากเช่นเดียวกัน
- สีแก่นขนุน เป็นสีที่พบในวัดสำคัญๆ เช่น วัดบวร วัดสังฆทาน วัดหนองป่าพง และสายวัดป่า เป็นต้น
- สีกรัก หรือสีอันโกโซน/สีน้ำหมาก ซึ่งพบเห็นได้ตามวัดป่า พระที่ครองสีนี้ เช่น ฟลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร เจ้าอาวาสวัดศรีนวลธรรมวิมล เป็นต้น
- สีกวักพิเศษ หรือสีครูบา เป็นสีที่สามารถพบเห็นได้น้อย และใชช้กันแฉพาะบางวัดเท่านั้น โดยส่วนมากแล้ว
ถ้าจำเป็นจะต้องไปถวายวัดป่า หรือวัดที่ใช้สีเนื้อผ้าที่แตกต่างกับสีผ้าทั่วไปนั้น เราจะนิยมถวายเนื้อผ้าสีขาว โดยพระท่านจะนำผ้าเหล่านั้นไปย้อมเป็นสีต่างๆ เอง เพื่อให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ ไม่ได้กล่าวไว้แน่นอน แต่มีการกำหนดห้ามในสีต่างๆ ที่แวววาว เช่น สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ แต่มีคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ทรงอุทรงเมื่อครั้งพระสงฆ์มาประชุมกันเป็นจำนวนมารกว่า “ภิกษุเหล่านี้ ดูช่างงดงามราวกับผ้ากัมพล (ผ้าสักหลาดหรือผ้าขนสัตว์) ที่มีสีเพียงดีงสีใบไม้แห้ง (ปัณฑปลาโส ใบไม้แห้ง)”
ไตรครองผืนนี้มีให้พระสงฆ์ท่านอย่างครบพร้อมสำหรับทั้งฤดูหนาวฤดูร้อน และชุดนี้ยังรวมทั้งไตรครอง ไตรอาศัยเข้าไว้ด้วยกัน และยังมีทุกผ้าตามพระวินัยระบุแม้ราคาจะสูงแต่ถ้าได้ถวายท่านแล้วย่อมเกิดประโยชน์ในการใช้งานสูงสุดอย่างแน่นอน
ข้อดี เหมาะกับถวายทั่วไปและเมื่อเพิ่งบวช เนื้อผ้าดี ถูกพระวินัย ข้อเสีย ความยาวอาจยังไม่เหมาะกับทุกส่วนสูง