📍ผ้าป่านสวิส 6000 บาท
——
🔸ชุดผ้าไตรเต็ม 9 ขัณฑ์ [ 7 ชิ้น – จีวร, สบงขัณฑ์, อังสะสไบ/กระเป๋า, สังฆาฏิ1ชั้น, ผ้ากราบ, ประคด และผ้ารัดอก ] 📍ผ้ามัสลิน 3080 บาท ~**ชุดยอดนิยม
📍ผ้าป่านสวิส 4230 บาท
——-
🔸ชุดผ้าไตรอาศัย (ไตรเล็ก) 9 ขัณฑ์ [ 3 ชิ้น – จีวร, สบงอนุวาต และอังสะสไบ/กระเป๋า ] 📍ผ้ามัสลิน 1890 บาท ~**ชุดยอดนิยม
📍ผ้าป่านสวิส 2650 บาท

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม
Line: @dharaya
IG: instagram.com/dharaya.th
Tel: 091-945-6614
การ “ทำบุญ” ในทางพุทธศาสนาไม่ได้มีเพียงการให้เงินให้ทอง หรือให้ทาน ทำบุญกับพระและวัดเท่านั้น “บุญ” หมายถึง การกระทำความดี มาจากภาษาบาลีว่า “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ดังนั้น บุญจึงเป็นเหมือนเครื่องกำจัดส่งเศร้าหมองที่เราเรียกกันว่า “กิเลส” ให้ออกไปจากใจ บุญจะช่วยให้เราลด ละ เลิก ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ และช่วยให้ใจเป็นอิสระพร้อมจะก้าวไปสู่การทำคุณงามความดีในขั้นต่อๆ ไป เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ มีความสุข และเป็นความสุขที่สงบและยั่งยืน
ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ปฏิบัติ เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม น่าเคารพยกย่อง เพราะถือว่าเป็น “คนดี” นั่นเอง นั่นแสดงว่าที่เราทำบุญกันมากมายก็เพราะ หวังประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ดังนั้นยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น ผลจิตใจยิ่งคับแคบ ความเมตตากรุณามีแต่จะน้อยลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง วันนี้ทาง “ธาราญา” จะมาแนะนำ วิธีการทำบุญง่ายๆ 2 วิธี ได้แก่ การทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน และการทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรจีวร
การถวายสังฆทานเป็นวิธีการทำบุญอีกวิธีหนึ่งที่คนไทยนิยมเป็นอย่างมาก การทำบุญด้วยชุดสังฆทาน การถวายปัจจัยให้พระสงฆ์ถือเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวผู้ทำเอง ช่วยเสริมดวง เพิ่มความสิริมงคลแก่ผู้ถวาย โดยการถวายของใช้ที่เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ และยังสามารถทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว อีกทั้งยังช่วยให้จิตใจสงบขึ้นได้อีกด้วย เป็นการทำทานที่ได้บุญมาก โดยสังฆทานของ “ธาราญา” นั้น ได้นำเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นแก่พระภิกษุสงฆ์ มาจัดเป็นชุดสังฆทานที่มีคุณภาพ พระภิกษุสงฆ์สามารถใช้งานได้จริง ไม่ว่าจะเป็น สังฆทานยา ที่นำเอายาสามัญที่มีความจำเป็นเป็นยาทุกชนิดก็ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรอง และมี อย. นอกจากนี้ “ธาราญา” ก็ยังจัดชุดสังฆทานต่างๆ เพื่อความสะดวกในการเลือกเพื่อทำไปนำบุญ เช่น สังฆทานวันเกิด สังฆทานเสริมดวง สังฆทานบรรเทากรรม เป็นต้น
การทำบุญด้วยผ้าไตรจีวรในทางพระพุทธศาสนานั้น มองว่าเป็นการช่วยให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย และคลายความอันตรายต่างๆได้ ดังนั้นผู้ให้จึงได้รับบุญกุศลอย่างเต็มที่ เกิดในภพหน้าจะมีหน้าตารูปร่างสวยงาม และมีผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส เป็นผู้อิ่มเอมใจ อันเกิดจากการอิ่มบุญ ขจัดพ้นจากความยากลำบาก และความยากจนแสนเข็ญ ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทุกหมู่เหล่า เมื่อใดก็ตามจะต้องพบกับความมีอุปสรรค อุปสรรคนั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี
ภยันตรายอื่นๆ อย่างสัตว์มีพิษและของมีคมต่างๆ ก็ทำร้ายไม่ได้ อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นในชาติหน้า จะเกิดมาเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมด้วยหน้าตาที่งดงาม และสติปัญญาที่น่านับถืออย่างยิ่ง โดยทาง “ธาราญา” ได้นำเอา ผ้าไตรจีวร ที่มีการนำผ้าอย่างดีมาทำการตัดเย็บอย่างปราณีต เนื้อผ้าหนา แต่มีความนุม เบาสบาย ซึ่งผ้าไตรนั้นก็มีหลากหลายสีให้เลือกนำไปถวายตามความเหมาะสมของวัดในแต่ละสถานที่
นอกจากการทำบุญด้วย 2 อย่างนี้ ยังมีการทำบุญอีกมากมายหลากหลายวิธี และแต่ความสะดวกของผู้ที่จะทำบุญ ในการทำบุญนั้น ไม่จำเป็นที่ต้องทำเฉพาะที่วัด หรือทำเฉพาะกับพระภิกษุเท่านั้น แต่การทำบุญนั้นยังสามารถทำได้กับ บุคคลคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นคนไร้บ้าน หรือคนเร่ร่อน หรือแม้กระทั่งกับสัตว์ก็สามารถทำบุญให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นทำบุญให้อาหารแก่สุนัขจรจัด หรือช่วงเหลือสัตว์ที่เจ็บป่วย เป็นต้น การทำบุญ คือการชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญในงานมงคลต่างๆ หรืองานอวมงคล ถ้าจะทำให้ถูกค้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือความหลง
การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรเพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง ดั่งความตั้งใจของผู้ถวายมีที่จิตศรัทธานั้น ควรต้องทำความเข้าใจในการเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม เพราะผ้าไตรผู้ซื้อไม่ได้ใช้ จึงไม่เข้าใจว่าจะเลือกอย่างไรพระท่านจึงนำไปใช้ได้จริง คงทน เหมะสมและตัดเย็บถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผ้าไตรจีวรที่ซื้อมาถวายส่วนมากจึงไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เนื้อผ้าหนาเกินไปหรือไม่ระบายอากาศ ลองคิดถึงสภาพอากาศบ้านเรานะคะ และคิดถึงผ้าหลายชั้นที่พระท่านครอง ผ้าหนาและไม่ระบายอากาศจึงไม่เหมะสมที่จะใช้งาน นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึง ขนาด สี และความเหมาะสมกับวัดที่นำไปถวาย เช่น มหานิกายใช้สีเหลืองส้ม ต่างจากธรรมยุตที่ใชสีกรักและเป็นผ้า 9 ขันธ์ เป็นต้น
5 สิ่งที่ต้องพิจารณา ผ้าไตรแบบไหน ที่พระภิกษุสงฆ์นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนี้
1 สี ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ
- พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน สีพระราชทาน
- พระสงฆ์มหานิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม สีพระราชทาน
การเลือกสีควรพิจารณาว่า นำไปถวายวัดไหน ใช้สีอะไร หรือ ถ้าไม่รู้ก็ควรเลือกสีพระราชทาน

2 วัตถุประสงฆ์ในการถวายผ้าไตร ผ้าไตรแบ่งได้ 2 แบบหลักตามความต้องการใช้งาน
แบบที่ 1ผ้าไตรชุดใหญ่ ใช้สำหรับการบวชพระ ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย ใช้ในการบวชพระ
- ฝ่ายธรรมยุตหรือเราเรียกว่าวัดป่านั้นต้องเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 9 ขันธ์ ที่มีสังฆาฏิ 2 ชั้น ประกอบด้วย7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 2 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน
- ฝ่ายมหานิกาย จะเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 5 ขันธ์ ประกอบด้วย7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 1 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน
แบบที่ 2 ไตรอาศัย ใช้สำหรับการเพื่อผลัดเปลี่ยนในชีวิตประจำวัน ประกอยด้วย ผ้า 3 ชนิดหลัก คือ จีวร สบง อังสะ และเช่นเดิมต้องพิจารณาว่าเป็นนิกายหรือฝ่ายไหน ธรรมยุต ต้องเป็น 9 ขันธ์ สีกรักแก่นขนุน ส่วนมหานิกาย 5 ขันธ์ สีเหลืองส้ม เป็นต้น
3 ชนิดผ้า
โทเร ราคาถูกที่สุด เนื้อผ้าเหมือนเสื้อนักเรียนค่ะ ผ้านุ่มปานกลาง ระบายอากาศได้พอสมควร เหมาะกับพระที่ต้องการบวชระยะสั้น และผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย
มิสลิน หรือมัสลิน เนื้อผ้านุ่ม ระบายอากาศดี ใส่สบาย เป็นที่นิยมเนื่องจากเหมาะสมกับสภาพอากาศ ราคาปานกลาง
ซันฟอไรซ์ เนื้อผ้านุ่ม ระบายอากาศดี เนื้อผ้าหนากว่ามิสลิน มีความคงทน ราคาปานกลาง
ฝ้าย เนื้อผ้าหนานุ่ม เหมาะกับอากาศเย็น เช่นทางภาคเหนือ ราคาค่อนข้างสูง
ไหม เนื้อผ้านุ่มลื่นเป็นเงา ใช้ถวายพระภิกษุผู้ใหญ่ที่มีสมณศักดิ์ ราคาสูง
4 ขนาด
จีวรนั้นก็เหมือนกับเสื้อผ้าทั่วไป หากเราจะซื้อไปถวายควรจะเลือกซื้อขนาดที่เหมาะสมแก่ผู้สวมใส่ เราควรคำนึงถึงพระภิกษุสงฆ์ที่เราจะเลือกซื้อผ้าไตรจีวรไปถวาย โดยคำนึงถึงความสูง ท้วมหรือสมส่วน ในการเลือกซื้อ
- พระภิกษุที่สูงไม่เกิน 160 ซม. ควรใช้ขนาด ความสูง 190 ซม. กว้าง 315 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้ขนาด ความสูง 200 ซม. กว้าง 315 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้ขนาด ความสูง 210 ซม. กว้าง 315 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้ขนาด ความสูง 220 ซม. กว้าง 315 ซม.
ถ้าต้องการเลือกซื้อมาถวายโดยไม่เจาะจง แนะนำให้ซื้อ ขนาดผ้า 210 x 315 ซม. เป็นมาตรฐานทั่วไปแก่พระภิกษุสงฆ์
5 การตัดเย็บ
การตัดเย็บผ้าไตรจีวรนอกจากจะต้อถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว คุณภาพการเย็บก็เป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่งที่ต้องกล่าวถึง ผ้าไตรชั้นดี จะเย็บตะเข็บคู่แท้ คือเย็บ 2 รอบด้วยระยะห่างเพียง 2 มิลลิเมตร เพื่อให้ผ้าที่ออกมามีความประณีต ความแข็งแรงคงทน ใช้งานได้นานสมประโยชน์อย่างแท้จริง

การเลือกซื้อผ้าไตร ข้อนี้สำคัญอย่างยิ่ง อย่า พิจารณาที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียว อย่างที่ขายกันทั่วไป ในราคาไตรละ 800 – 1,000 บาท แบบนั้น ทั้งเนื้อผ้า ขนาดผืนผ้า จนถึง ขั้นตอนและฝีมือการตัดเย็บ จะตกมาตรฐานนำไปใช้ประโยชน์มิได้ เพราะของที่ถวายไปพระท่าน อาจจะนำใช้ไม่ได้ เนื่องจากขนาดไม่ได้มาตรฐาน หรือ ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผิดประสงค์ทั้งผู้ให้และผู้รับ ทำให้ความตั้งใจทำบุญ ของท่านไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
โดยผ้าไตรจีวรของ ธาราญา นั้นมีเนื้อผ้าที่มีคุณภาพ นุ่ม เนื้อผ้าหนา ซึ่งทำให้พระภิกษุสงฆ์ที่นุ่งห่มนั้นรู้สึกสะบายเวลานุ่งห่ม ไม่ระคายเคืองผิว และนอกจากนั้นผ้าไตรของธาราญาก็ยังมีการตัดเย็บที่ประณีต และมีน้ำหนักเบา เหมาะแก่ผู้ต้องการถวายผ้าไตรจีวรเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด ซึ่งผ้าไตรทั่วไปที่มีขายตามท้องตลาดนั้น เนื้อผ้าไม่ได้คุณภาพ มีการตัดเย็บที่ไม่ประณีต ไม่สามารถใช้งานได้นาน และยังระคายเคืองผิวอีกด้วย
ผ้าไตรธรรมยุตหรือที่เราเรียกกันว่า วัดป่า นั้นจะต้องเป็นผ้าไตรครองชุดใหญ่ 9 ขันธ์ หรือไตรเต็ม 9 ขันฑ์ ที่มีสังฆาฏิ 2 ชั้น ประกอบไปด้วย 7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 2 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน
ผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรธรรมยุตที่นิยมใช้โดยทั่วไป มี 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
ผ้าโทเร
ผ้าโทเรนั้นจะมีลักษณะเป็นผ้าบาง มีส่วนผสมของ Polyester 65% และ Cotton 35% ใส่สบาย ระบายอากาศได้ดีมาก เพราะเป็นผ้าบางดูแลง่าย ซึมซับเหงื่อได้ดีระดับหนึ่ง เหมาะสำหรับใช้ตัดเป็นเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม ราคาไม่แพง จะไม่ทนทานเท่าผ้ามัสลิน
ผ้ามัสลิน
ผ้ามัสลินนั้นจะมีราคาแพงกว่าผ้าจีวรที่ตัดเย็บด้วยเนื้อผ้าโทเร หรือผ้าฝ้าย ด้วยเหตุผลที่ว่าผ้ามัสลิน เป็นเนื้อผ้าที่บางเบา ห่มแล้วสบาย เวลาอากาศร้อนผ้าจะเย็น เวลาอากาศเย็นก็เก็บไอร้อนจากตัวไว้ได้ดี ซักแล้วแห้งง่าย แถมยังทนทาน เนื้อผ้าทิ้งตัว ไม่ยับง่าย อีกทั้งยังเป็นผ้าที่สามารถนำกลับมาย้อมใหม่ได้ ผ้าที่พระภิกษุนิยมห่ม ได้แก่ ผ้ามัสลินแน่นอน เมื่อเป็นที่นิยมก็มักมีราคาที่แพง ผ้ามีคุณสมบัติไม่ยับง่าย ซับเหงื่อ แห้งไว ทนทาน ห่มแล้วเรียบร้อย สวยงาม ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเป็นสาเหตุให้ผ้าไตรจีวรที่ตัดเย็บด้วยผ้ามัสลิน จึงมีราคาแพง
การตัดเย็บผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรธรรมยุตผ้าไตรมัสลิน
ในการตัดเย็บ ผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรธรรมยุตผ้าไตรมัสลิน นอกจากจะต้องถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว คุณภาพในการตัดเย็บก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นกัน ผ้าไตรชั้นดีจะเย็บตะเข็บคู่แท้ คือเย็บ 2 รอบด้วยระยะห่างเพียง 2 มิลลิเมตร เพื่อให้ผ้าที่ออกมามีความประณีต ความแข็งแรงคงทน ใช้งานได้นาน
หากต้องการเลือกซื้อผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรธรรมยุตผ้าไตรมัสลิน มาถวายพระภิกษุสงฆ์โดยไม่เจาะจง เราขอแนะนำให้เลือกผ้าไตรจีวรขนาดความสูง 200 กว้าง 320 ซม. หรือ 210 x 320 เพราะเป็นขนาดมาตรฐาน สามารถนำมาใช้งานได้จริง
ผ้าไตรจีวร 5 ขัณฑ์และผ้าไตรจีวร 9 ขัณฑ์
ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์ | สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวายผ้าไตร 9 ขัณฑ์
ผ้าไตรจีวร
ผ้า 3 ผืน ที่เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุ และสามเณร คือ
- ผ้าสบง (อันตรวาสก) คือ สำหรับผ้านุ่ง คู่กับผ้าจีวร แบ่งย่อยเป็น
🔸 สบงขัณฑ์ หรือ สบงครอง คือ ผ้ามาตัดออกเป็นขัณฑ์ และนำมาเย็บต่อกันเป็นผืนเดียวกัน พระสงฆ์ใช้ครองในการทำสังฆกรรม ตามพระธรรมวินัย พระสงฆ์สามารถมีได้เพียงผืนเดียว
🔸 สบงอนุวาต คือ ผ้าผืนเดียวไม่ได้ตัดขาดออกเป็นขัณฑ์ ลักษณะคล้ายผ้าอาบน้ำฝน พระสงฆ์ใช้ครองในการทำสังฆกรรมไม่ได้ พระสงฆ์จะใช้ครองตอนอยู่ในกุฏิ และสามารถมีได้หลายผืน - ผ้าจีวร (อุตราสงค์) คือ ผ้านุ่งห่ม หรือ ผ้าห่มคลุมคู่กับผ้าสบง
- ผ้าพาดบ่า (สังฆาฎิ) คือ ผ้าพาดทาบบนผ้าจีวร บนบ่าซ้ายในพิธีสงฆ์
สีผ้าไตรจีวร
ผ้าไตรจีวรในประเทศไทยมีความหลากหลายในการย้อมสีและการใช้งาน อาจมีมากถึงหลากหลายเฉดสี แต่สีที่นิยมการใช้งานอย่างทั่วไปมีดังนี้
• สีพระราชนิยม (พระราชทาน) เป็นสีกลางของพระสงฆ์ ทั้งมหานิกายและธรรมยุต หรือ
สีเดียวกันกับสังฆราชองค์ปัจจุบันครอง เป็นสีที่พระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9
• สีส้มทอง เป็นสีที่นิยมสำหรับพระสงฆ์มหานิกาย และเป็นสีมาตรฐานที่นิยมทั่วไปตาม
วัดต่าง ๆ
• สีแก่นขนุน เป็นสีที่นิยมสำหรับพระสงฆ์ธรรมยุต ใช้ในวัดหลักๆ เช่น วัดบวรนิเวศ และ
วัดป่ากรรมฐานทั่วไป เป็นต้น
• สีแก่นบวร เป็นสีที่นิยมสำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน
•สีกรัก เป็นอีกสีที่นิยมสำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน หรือวัดแทบภาคอีสาน
•สีกรักแดง (ครูบา) เป็นอีกสีที่เหมาะสำหรับพระครูบา หรือวัดแทบภาคเหนือ
ทั้งนี้ ผ้าไตร 5 หรือ ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ และสีผ้าไตร นั้น จะขึ้นอยู่กับวัด ซึ่งอาจจะใช้กันแตกต่างกันออกไป ควรตรวจสอบก่อนเพื่อความสมบูรณ์ในการถวาย
ไตรครอง
ผ้าไตรครบชุด (7 ชิ้น) ประกอบด้วย
ผ้าสบงขัณฑ์, ผ้าจีวร, ผ้าพาดบ่าหรือสังฆาฏิ (2 ชั้น), อังสะ, รัดประคด, ผ้ารัดอก และผ้ารับประเคนหรือผ้ากราบ
นิยมถวาย งานบวชพระ หรือพิธีมงคลพิเศษ
ไตรเต็ม
ผ้าไตรครบชุด หรือ ไตรใหญ่ (7 ชิ้น) ประกอบด้วย
ผ้าสบงขัณฑ์, ผ้าจีวร, ผ้าพาดบ่าหรือสังฆาฏิ (1ชั้น), อังสะ, รัดประคด, ผ้ารัดอก และผ้ารับประเคนหรือผ้ากราบ
นิยมถวายพระงานมงคลพิเศษ อาทิ งานบวชพระ ทำบุญบ้าน ทำบุญเพื่อบรรพบุรุษหรือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
🔸ไตรอาศัย หรือ ไตรเล็ก
ผ้าไตรเล็ก หรือ ไตรแบ่ง (3 ชิ้น) เป็นผ้าที่พระสงฆ์เอาไว้ผลัดเปลี่ยน หรือสำรองไว้ใช้ ประกอบด้วย
สบงอนุวาต, จีวร และ อังสะ
นิยมถวายพระงานบุญทั่วไป ใช้ได้ในทุกโอกาส ไม่จำกัด
ผ้าวัสสิกสาฎก หรือ ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง พระสงฆ์สามารถใช้ได้อเนกประสงค์ เช่น นุ่งสรงน้ำ, เช็ดตัว, ปูนอน และห่มคลุมกันหนาว เป็นต้น
นิยมถวายพระ ช่วงก่อนวันเข้าพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘