Category Archives: บทความ

การแก้กรรม ควรจะแก้อย่างไรให้ถูกต้อง และได้ผลจริง !!

กรรม คือ การกระทำด้วยเจตนา ทั้งในอดีตชาติ หรือในปัจจุบันก็ล้วนเป็นกรรมทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมีผลกระทบต่อปัจจุบันและอนาคต  “ใครทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมไปตกอยู่ที่ผู้กระทำ” (การ แก้กรรม สามารถช่วยได้ จากหนักเป็นเบา)ไม่มีใครหลุดพ้นหรือหนีจากกฎแห่งกรรมไปได้ วิบากกรรมของแต่ละคนก็แตกต่างกัน บางคนว่างงาน บางคนไม่ประสบความสำเร็จกับการงาน ครอบครัวมีเหตุต้องทะเลาะกันเสมอ มีปัญหากับคนรักเป็นระยะๆ สร้างความทุกข์ให้กับตนเองอย่างมากมาย วิธีการ แก้กรรม มีมากมาย แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน วิธีที่จะมำให้กรรมบรรเทาลงได้นั้นมี ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ถ้าเจ้ากรรมนายเวรจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบริเวณที่เจ็บปวดได้รับอโหสิกรรมแล้วจะหายเจ็บปวดทันที กรรมนี้จะเบาลงและจะมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยสังเกตจากตัวเราเองว่า มีสิ่งที่ดีเข้ามามากขึ้นที่ป่วย ก็จะหาย ที่จนก็จะเริ่มมี แสดงว่าเราเริ่มมีบุญแล้ว หากกรรมยังเยอะ ก็ยังลำบากอยู่ วิธีการ แก้กรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ เช่น การใส่บาตร ถือศีล กินเจ ช่วยผู้ที่เดือดร้อน ถวายสังฆทาน สวดมนต์ กราบบิดามารดา ล้วนเป็นมหากุศล การทำบุญให้อธิษฐานจิตทุกครั้ง เพื่อนำส่งบุญให้ตัวเอง มีชีวิตที่ดีขึ้น เจริญขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นกุศลและเป็นบุญทั้งสิ้น อ่านบทความเพิ่มเติม เกี่ยวกับ การตัดกรรม อ่านบทความแนะนำ การขออโหสิกรรมคืออะไร และมีขั้นตอนอย่างไร ? คำกล่าวในการแก้กรรม คือ ให้ “ตั้งนะโม […]

สังฆทานยา คืออะไร ? และต้องจัดอย่างไรให้ถูกต้อง

สังฆทานยา คือ การจัดเครื่องสังฆทาน ด้วยยารักษาโรค เพื่อนำไปถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน บำบัด รวมถึงการรักษาอาการอาพาธ เบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งถือเป็นการถวายจตุปัจจัยที่สำคัญ 1 ใน 4 โดยตรง คือ ยารักษาโรค และหากต้องการให้เกิดบุญ และให้ได้รับอานิสงส์แห่งบุญนั้น ก็ควรต้องเกิดจากจิตอันเป็นกุศล และใช้ปัจจัยที่ได้มาจากความสุจริต มีความตั้งใจและความปรารถนาดี ที่จะทะนุบำรุงศาสนา โดยผ่านการดูแลพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อที่จะเผยแผ่และสืบทอดคำสอนขององค์พระสัมมาพุทธเจ้าสืบต่อไป นอกจากนี้ เราจำเป็นต้อง ใส่ใจด้วยการคำนึงถึงผู้ที่รับยานั้นไปใช้ด้วย โดยจำเป็นต้องรู้ว่ายาชนิดใดบ้างที่เหมาะสมและมีประโยชน์ แก่พระสงฆ์ เพราะหากเลือกเอาแต่ตามสะดวกของผู้ให้ การทำบุญนี้อาจจะไม่เกิดบุญ และอาจจะสร้างกรรมโดยไม่รู้ตัว ข้อควรทราบในการจัดยาเพื่อนำไปถวายสังฆทาน สังฆทานยา 1. ต้องเป็นยาสามัญประจำบ้าน ยาสามัญประจำบ้าน เป็นกลุ่มยาทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ประชาชนทั่วไป ซึ่งไม่ได้เป็นแพทย์หรือดำเนินการทางแพทย์สามารถใช้ได้อย่างไม่อันตรายเพื่อรักษาตนเองเบื้องต้น ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง เช่น อาการไอ ปวดศีรษะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือมีบาดแผลเล็กๆน้อยๆ เป็นต้น และสามารถหาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ 2. ทำความเข้าใจเรื่องสรรพคุณในการบรรเทา หรือรักษาโรค ของยาในแต่ละประเภท […]

การ ทอดกฐิน ในประเทศไทย มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง ?

ทอดกฐิน เป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐิน ของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ กฐินหลวงกฐินหลวงคือผ้าพระกฐินที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปถวายด้วยพระองค์เองกฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือทรงโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น) ทอดกฐิน หลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น ได้แก่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหารวัดราชโอรสารามราชวรวิหารวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดบวรนิเวศราชวรวิหารวัดราชาธิวาสราชวรวิหารวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหารวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหารวัดพระปฐมเจดีย์วัดสุวรรณดารารามวัดนิเวศธรรมประวัติวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พิษณุโลก) กฐินต้นกฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์ กฐินพระราชทานกฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกบินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย) กฐินราษฎร์ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ “บริวารกฐิน” มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฎรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย  

ความเป็นมาและความสำคัญของ พวงมาลัย

        ประเทศไทยเราได้รับวัฒนธรรมการร้อยมาลัยมาจากอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศต้นกำเนิดสำคัญของศิลปะการร้อยมาลัยของหลายประเทศ โดยชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูจะร้อยพวงมาลัยด้วยวัสดุจากดอกไม้สด เช่น ดอกมะลิ หรือ ดอกกุหลาบ นำไปบูชาเทพต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล         การร้อยมาลัยได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงรัชกาลที่ 5 ซึ่งจะมีการจัดประกวดการร้อยมาลัยหรือการจัดดอกไม้เพื่อใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เรียกได้ว่าศิลปะการร้อยมาลัยเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงระดับรสนิยมของสังคมในช่วงนั้น เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ประชันความเหนือชั้นระหว่างผู้หญิงด้วยกันได้ ทั้งนี้เพราะในยุคนั้น ผู้หญิงต้องมีฝีมือการเป็นแม่บ้านแม่เรือนสูงกว่าผู้หญิงในยุคปัจจุบัน ทักษะการจัดดอกไม้หรือการร้อย พวงมาลัย ที่ประณีตและสวยงามจึงเปรียบเสมือนการเพิ่มคุณค่าให้ผู้หญิงในยุคที่สังคมยังมีการปกครองแบบผู้ชายเป็นใหญ่         ศิลปะการร้อยมาลัยได้รับการสืบทอดมาเรื่อย ๆ กลายเป็นวิชาความรู้ที่มีการสอนตามวิทยาลัยในวัง โรงเรียนการเรือน จนถึงสถาบันวิชาชีพต่าง ๆ ในปัจจุบัน พวงมาลัย ถูกนำมาใช้ตามงานมงคลมากมาย ได้แก่ งานแต่งงาน งานรับขวัญต่าง ๆ หรือ งานแสดงการต้อนรับบุคคลสำคัญ สื่อให้เห็นว่า พวงมาลัย จัดเป็นงานประดิษฐ์ที่ยังคงมีคุณค่าเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่คนไทยใช้ในงานสำคัญ ๆ ที่แสดงออกถึงความเคารพ และ […]

ความหมายของกฐินในแต่ละรูปแบบ

กฐิน หรือ มหากฐิน เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่ง ที่มีความศรัทธาโดยเฉพาะ กล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน ณ วัดใด ก็ให้ทำใบปวารณาจองกฐินติดใบบอกไว้ ณ เขตวัดนั้นๆ เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน ซึ่งจะเป็นผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาวซึ่งยังไม่ได้ตัด ก็ให้ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังไม่ได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งจัดเป็นองค์กฐิน นำไปทอด ณ วัดที่ได้จองไว้นั้น นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐินจะต้องมี ผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุดในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกสั้นๆ ว่า เทียนปาติโมกข์ จำนวน 24 เล่ม และมีธงผ้าขาวเขียนรูปจระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัดที่อยู่ตามริมน้ำ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว (ถ้าเป็นวัดที่อยู่ไกลแม่น้ำให้มีธงผ้าขาวเขียนรูปตะขาบปักไว้หน้าวัดแทนรูปสัตว์น้ำ) การปักธงนี้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และอนุโมทนาร่วมกุศลด้วยได้ นอกจากนี้แล้วยังมีประเพณีนิยมอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับเวลาของการทอดกฐิน ถ้าเป็นเวลาเช้าจะมีการทำบุญถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุ สามเณร ในวัดด้วยกฐินที่ราษฎรเป็นเจ้าภาพนำองค์กฐินและบริวารกฐินไปทอดยังวัดต่างๆ นี้เรียกว่า กฐิน หรือ มหากฐิน เหตุที่เรียกว่ามหากฐินอาจเป็นเพราะจะให้เห็นความแตกต่างจากกฐินอีกชนิดหนึ่งคือ จุลกฐิน […]

กฐิน คืออะไร และมีความเป็นมาอย่างไร ?

กฐิน

กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียก ผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรม นี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11ไปจนถึงวันขึ้นจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น กฐิน คืออะไร กฐิน อ่านว่า กฐิน อ่านว่า [กะถิน กะถินนะ-] กฐิน เป็นผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล ที่แปลว่า ไม้สะดึงคือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร กฐิน สามารถแบ่งตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้ 1.กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น2.กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)3.กฐิน เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน4.กฐิน เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์ ความเป็นมาของกฐิน ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน 30 รูป ได้เดินทางเข้ามาเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันได้ถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา […]

ผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรธรรมยุต ผ้าไตรมัสลิน แตกต่างกันอย่างไร ?

ผ้าไตรธรรมยุตหรือที่เราเรียกกันว่า วัดป่า นั้นจะต้องเป็นผ้าไตรครองชุดใหญ่ 9 ขันธ์ หรือไตรเต็ม 9 ขันฑ์ ที่มีสังฆาฏิ 2 ชั้น ประกอบไปด้วย 7 ชิ้น คือ  สังฆาฏิ 2 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน ผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรธรรมยุตที่นิยมใช้โดยทั่วไป มี 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้ ผ้าโทเร ผ้าโทเรนั้นจะมีลักษณะเป็นผ้าบาง มีส่วนผสมของ Polyester 65% และ Cotton 35% ใส่สบาย ระบายอากาศได้ดีมาก เพราะเป็นผ้าบางดูแลง่าย ซึมซับเหงื่อได้ดีระดับหนึ่ง เหมาะสำหรับใช้ตัดเป็นเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม ราคาไม่แพง จะไม่ทนทานเท่าผ้ามัสลิน ผ้ามัสลิน ผ้ามัสลินนั้นจะมีราคาแพงกว่าผ้าจีวรที่ตัดเย็บด้วยเนื้อผ้าโทเร หรือผ้าฝ้าย ด้วยเหตุผลที่ว่าผ้ามัสลิน เป็นเนื้อผ้าที่บางเบา ห่มแล้วสบาย เวลาอากาศร้อนผ้าจะเย็น เวลาอากาศเย็นก็เก็บไอร้อนจากตัวไว้ได้ดี ซักแล้วแห้งง่าย […]

วิธีการเลือก ผ้าไตร หรือผ้าไตรจีวร ที่ถูกต้องตามธรรมวินัย

ผ้าไตร

ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าจีวร 3 ผืน  เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มของพระสงฆ์ ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม ได้แก่ สังฆาฏิ ผ้าจีวร และผ้าสบง ในการเลือกซื้อผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร จะมีอยู่ 2 จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อบรรพชาอุปสมบท หรือ เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ และในส่วนสีของผ้าไตร หรือ ไตรจีวร  ก่อนที่จะซื้อเราต้องสอบถามกับทางวัดก่อนว่าทางวัดใช้ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร สีอะไร เพราะแต่ละวัดจะใช้สีไม่เหมือนกัน วันนี้เราจะมาดูส่วนของผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร กันว่ามีกี่แบบแต่ละแบบมีอะไรบ้าง ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร โดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ 1.ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย -จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม -สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง -อังสะ  : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม -สังฆาฏิ : เป็นผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร […]

ผ้าป่า คืออะไร ? และมีความสำคัญอย่างไร

คือ ผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเองโดยไม่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า “ชักผ้าป่า” ส่วนการถวายผ้าป่านิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินเรียกว่า “ทอดผ้าป่า” การทอด ผ้าป่า จัดเป็นการทำบุญที่นิยมกันมากในปัจจุบัน โดยมีชื่อเรียกตามลักษณะการรวมกันของเครื่องบริวาร หรือตามวัตถุประสงค์ของการทำบุญที่เกี่ยวกับงานที่จัดขึ้น วิธีการทอดผ้าป่านั้นไม่จำเป็นต้องนำผ้าไปวางทิ้งหรือทอดไว้ในป่าอีกเพราะขยายจากการทอดผ้า เป็นเงินหรือสิ่งของที่บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์โดยปรับเปลี่ยนให้เข้าตามยุคตามสมัยสังคม ถือตามความสะดวกของสาธุชนผู้มาร่วมประกอบพิธี ซึ่งถือว่าได้อุปโลกน์เป็นผ้าป่าไปแล้ว ประเภทของ ผ้าป่า ในปัจจุบันประเภทของผ้าป่ามีชื่อเรียก 3  อย่าง คือ ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน หรือเรียก ผ้าป่าแถมกฐิน ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่ามราจัดทำรวมๆ กันหลายๆ กอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอด ตามวัดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำ จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้ ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตาม สถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอด จะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัด บางที่ก็มีจุดประสงค์เพื่อหาเงินไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นต้น พิธีทอด ผ้าป่า เจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์ที่จะทอดผ้าป่ากับทางเจ้าอาวาส เรียกว่า […]

การไหว้ราหู ควรจะต้องไหว้อย่างไรบ้าง ?

ราหูเป็นดาวเคราะห์ที่ปกติจะย้ายในทุกๆ 1 ปีครึ่ง ซึ่งมีความเชื่อกันว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ราหูย้าย จะส่งผลต่อดวงชะตาของคนทั้ง 12 ราศี ซึ่งก็จะมีทั้งส่งผลให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ดวงดีขึ้น สิ่งต่าง ๆ ราบรื่นมากขึ้น พ้นทุกข์ พ้นเคราะห์ หรือในทางกลับกันจะทำให้ชีวิตพบเจอแต่ความวุ่นวาย เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ลุ่มหลง มัวเมาไปกับสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ของไหว้          เนื่องจากดาวราหูมีเลข 8 เป็นสัญลักษณ์ และมีกำลังเท่ากับ 12 ดังนั้นของ ไหว้ราหู จึงต้องเป็น 8 หรือ 12 อย่าง/ชนิด และต้องประกอบไปด้วยของคาว ของหวาน ผลไม้ และเครื่องดื่มที่มีลักษณะเป็นสีดำที่ปรุงสุกแล้ว สามารถนำมารับประทานหรือดื่มได้ โดยของดำที่นิยมนำมาบูชาราหู ได้แก่ ไก่ดำต้ม ปลาดุกย่าง เหล้าดำ กาแฟดำ เฉาก๊วย น้ำโค้ก (หรือน้ำอัดลม/น้ำหวานที่เป็นสีดำ) ซุปไก่ งาดำ ถั่วดำ ข้าวเหนียวดำ สาหร่ายดำ […]