Category Archives: บทความ

อานิสงส์ของการถวายดอกไม้บูชาพระแต่ละชนิด !!

อานิสงส์ ของการถวาย ดอกไม้บูชาพระ แต่ละชนิด !!

เมื่อเราไปไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่เราจะต้องมีก็คือ ดอกไม้ ธูป เทียน ซึ่งเป็นวิธีที่ปฏิบัติกันมาตามหลักศาสนา โดยที่หลายๆคนก็ยังไม่รู้ว่าทำไมจึงต้องถวายสิ่งเหล่านี้ และอานิสงส์ผลบุญจากการถวายนั้นคือ ธูป ถือเป็นเครื่องหอมที่จุดเพื่อเป็นสื่อในการส่งคำอธิษฐานจิตของเราไปสู่เบื้องบน เทียน เป็นแสงสว่างนำทางให้ ดอกไม้ เป็นเครื่องหอม ถวายเพื่อให้มีความสุข ความสดชื่น ดอกไม้เป็นตัวแทนของความงดงาม และถูกประเมินค่าให้เป็นสิ่งมีคุณค่า กลายเป็นเครื่องบูชาที่ศาสนาต่าง ๆ เลือกใช้เป็นเครื่องบูชา พระพุทธศาสนาเองก็นิยมใช้ดอกไม้เป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเล่าถึง อานิสงส์แห่งการถวายดอกไม้ บูชาพระพุทธเจ้าไว้อย่างน่าสนใจ จึงขอยกมานำเสนอดังนี้ พระจุนทเถระหลังจากบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้อุทานขึ้นพร้อมเล่าถึงผลบุญที่ส่งผลให้เกิดในสมัยของพระสมณโคดมพุทธเจ้าว่า ครั้งสมัยพระสิทธัตถะพุทธเจ้า ท่านได้นำดอกไม้เข้าไปถวายถึงเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับอยู่ท่ามกลางหมู่สงฆ์ผู้เป็นพระขีณาสพ พระพุทธเจ้าตรัสขึ้นว่า “ผู้ใดมอบดอกไม้อันมีค่าและมีกลิ่นหอมฟุ้งแก่เรา เราจะพยากรณ์ผู้นั้น ขอท่านทั้งหลายในที่นี้โปรดฟังการพยากรณ์ของเรา ผู้นี้หลังจากสิ้นบุญจากโลกไปแล้วจะไปสู่สรวงสวรรค์ เป็นมิตรกับเหล่าเทพยดา มีวิมานทองคำที่วิจิตรตระการตาด้วยอัญมณี แวดล้อมด้วยบริวารนางฟ้า เสวยทิพยสมบัติเช่นนี้ถึง 74 ชาติ (คือเกิดเป็นเทวดาอย่างต่อเนื่องถึง 74 ชาติ) หลังจากนั้นจะเกิดเป็นพระราชาปกครองแผ่นดินถึง 300 ชาติ จากนั้นจะเกิดเป็นพระมหาจักรพรรดิราชถึง 75 ชาติ เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ทั้งปวง มีนามว่า “ทุชชยะ” เป็นเช่นนี้ไม่มีทางไปสู่อบายภูมิ จากนั้นเขาจะเกิดในตระกูลพราหมณ์ เป็นบุตรชายของวังคันตพราหมณ์กับนางสารีพราหมณ์ มีปัญญามาก ต่อมาบวชในศาสนาของพระอังคีรส […]

ฝึกนั่งสมาธิ 10 นาที ช่วยให้จิตใจสงบขึ้นทุกวัน จริงหรือ ?

ฝึกนั่งสมาธิ 10 นาที ช่วยให้จิตใจสงบขึ้นทุกวัน จริงหรือ ?

การนั่งสมาธิเป็นการฝึกปฏิบัติตนให้มีจิตที่ผ่องใส ลดความคิดฟุ้งซ่าน และทำให้จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน หลายคนอาจมองว่าการนั่งสมาธิมีความเชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว สามารถนำการนั่งสมาธิมาปรับใช้กับเรื่องอื่นๆ ได้มากมาย เพียงแต่อาจจะมีรายละเอียดที่ลึกซึ้งแตกต่างกัน เมื่อเทียบกับการนั่งสมาธิวิปัสสนาในทางพุทธ สำหรับการนั่งสมาธิในทางพระพุทธศาสนา นอกจากต้องการความสงบ ทำให้มีสติและเกิดปัญญาแล้ว ยังมีจุดประสงค์ในด้านการวิปัสสนา เช่น อานาปานสติ ที่สอนให้พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก และตระหนักรู้ปัจจุบันขณะอยู่ตลอดเวลา รวมถึงเมื่อฝึกนั่งสมาธิไปเรื่อยๆ ก็จะมีการแบ่งขั้นกรรมฐานต่างๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ จุดร่วมของการนั่งสมาธิก็คือ การทำจิตใจให้สงบ และจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น การตั้งใจทำงาน ก็ถือว่าเป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่งเช่นกัน การนั่งสมาธิมีกี่แบบ และท่านั่งพื้น การนั่งสมาธิมีหลายแบบ และหลายระดับ ซึ่งในแต่ละระดับก็อาจมีฐานต่างๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนั่งสมาธิเจริญกรรมฐาน ว่าต้องการเพียงความสงบในจิตใจ หรือต้องการฝึกปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งเห็นธรรม โดยการนั่งสมาธิในระดับ “ญาณ” ก็จะต้องมีผู้รู้มาคอยชี้แนะในการปฏิบัติ แต่หากจะแบ่งการนั่งสมาธิแบบพื้นฐาน สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่1. ขณิกสมาธิ : การทำสมาธิแบบชั่วครู่ เป็นขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการสมาธิในการเรียน และทำงาน มีสติรู้ตัวตนว่ากำลังทำอะไรอยู่ 2. อุปจารสมาธิ : การทำสมาธิในระยะเวลาที่นานขึ้น สำหรับผู้ที่กำลังจะได้ฌาน และนิมิตต่างๆ ตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา 3. […]

สังฆทาน “ยุคใหม่” เลือกซื้อสังฆทานออนไลน์ได้ง่ายๆ !!

สังฆทานยุคใหม่ เลือกซื้อสังฆทานออนไลน์ได้ง่ายๆ !!

สังฆทาน คือ การถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงพระภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อถวายให้แล้วก็ถือว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก อาจจะมี เพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่า เป็นการถวายสังฆทานเหมือนกัน สังฆทาน แยกเป็น 2 คำ ได้แก่ ”สังฆะ” และ ”ทาน” โดย (สังฆะ) หมายถึง ภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ (ทาน) หมายถึง การให้, แบ่งปัน, แจกจ่ายวัตถุสิ่งของปัจจัยสี่ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เมื่อรวมความหมายแล้ว “สังฆทาน”  ฉะนั้นแล้วการตั้งใจถวายเครื่องสังฆทานแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า “ปาฏิปุคลิกทาน” เราไม่เรียกว่าเป็นการถวายสังฆทานเพราะทานเช่นนี้ยังไม่ช่วยทำให้จิตใจห่างจากความยึดติดถือมั่น แต่กระนั้นก็ยังถือว่าเป็นทานที่ควรทำอยู่เพราะถือเป็นการฝึกให้ปัจเจกบุคคลรู้จักพัฒนาตนให้มีธรรม การถวายสังฆทานมีที่มาอย่างไร ในสมัยพุทธกาลพระนางมหาปชาบดี (พระแม่น้า) ต้องการถวายผ้าจีวรแก่พระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระนางถวายแก่สงฆ์ โดยอรรถาธิบายว่า การถวายแก่สงฆ์ย่อมให้อานิสงส์มากกว่าถวายแก่พระองค์เป็นการเฉพาะ ตั้งแต่นั้นมา ชาวพุทธจึงถือกันว่า การถวายสังฆทาน เป็นมหาทานที่ทำให้มีอานิสงส์มาก ได้บุญมาก การเลือกซื้อสังฆทานยุคใหม่ เลือกซื้อสังฆทานในปัจจุบัน หรือการเลือกซื้อ แบบ New Normal เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน ทำให้หลากหลายธุรกิจต้องปรับตัวไปตาม ๆ กัน เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงวัดหรือศาสนสถานของชาวพุทธศาสนิกชนชาวไทยด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันก็เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 และเรื่องฝุ่น pm2.5 ทำให้วิถีการทำบุญถวายสังฆทานของชาวไทยเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเลือกซื้อสังฆทานการในโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้น […]

ความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีลอยกระทง

ความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีลอยกระทง

วันลอยกระทงถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีเก่าแก่ที่สำคัญของคนไทย จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ซึ่งมักจะตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา จึงมักจะเห็นในหลายพื้นที่จัดงานเทศกาลลอยกระทงตามบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ ตำนานกล่าวไว้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยนำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วยเพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อยจึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวยจึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยในที่สุดจนสืบทอดมาจนปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป” และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ก่อนที่นางนพมาศ หรือ […]

บทสวด อโหสิกรรม ให้กับเจ้ากรรมนายเวร !!

บทสวด อโหสิกรรม ให้กับเจ้ากรรมนายเวร !!

เจ้ากรรมนายเวร คือใครก็ได้ที่เราเคยไปสร้างความไม่พอใจให้แก่เขา ไม่ว่าจะเป็นกาย วาจา หรือใจ หากมีคนผูกใจเจ็บว่าในอนาคตมีโอกาสเมื่อไหร่ขอแก้แค้นผู้ที่เบียดเบียนเรา หรือผูกใจต่อเราว่าขอให้ได้ทำร้ายคืน ผู้ที่มีจิตแค้นผูกใจเจ็บว่าจะล้างแค้นนั้นแหละเรียกเจ้ากรรมนายเวร แต่ทุกวันนี้และคำคำนี้ใช้กันจนพร่ำเพรื่อ แล้วมองกันดูว่าน่ากลัว มองในแง่ที่น่ากลัวลึกลับ หรือบางคนมองเป็นเรื่องเหลวไหล ถึงแม้กรณีว่าจะมีการ อโหสิกรรม ให้ ให้อภัยคือไม่โกรธไม่ผูกใจเจ็บ แต่ทว่าเราต้องได้รับใช้ผลของกรรมที่เราทำไปแล้ว ณ จุดนั้น ได้กรรมแต่ไม่ได้เวร แต่กรณีของบางรายที่ไม่ยอมอโหสิกรรมคือผูกใจเจ็บ เราจึงได้ทั้งเวร ทั้งกรรม บางทีมีโอกาสก็แกล้งกันคืนบ้าง มีอคติต่อกันบ้าง ต่างคนต่างสร้างกรรมต่อกัน พอตายไป บางทีคนหนึ่งไปเกิดเป็นคนอีกรอบ อีกคนยังไม่ได้ไปเกิดเป็นคนแต่ไปอยู่ในภพของโอปาติกะบ้าง บางทีเป็นโอปาติกะที่มีฤทธิ์เช่น เทวดา จิตที่ยังมีความอาฆาตต่อกันนั้น ยังไม่ได้ให้อภัย จึงมีการตามไปแก้แค้น ตามไปเอาคืนอยู่ตลอด จึงวุ่นวาย เจ้ากรรมนายเวรของเราทุกๆคน จึงมีได้ทุกภพ ไม่ว่าจะเป็นพรหม เทวดา นางฟ้า สัมภเวสี อสุรกาย พญานาค สัตว์เดรัจฉาน หรือแม้แต่มนุษย์ด้วยกันเอง แล้วแต่ภพภูมิ และบ่วงกรรมที่หมุนเวียนไป บางวาระกรรมมาสนองสองดวงจิตโคจรกันมาอีกวาระ คนบางคนแค่เราเจอหน้าครั้งแรกก็รู้สึกเกลียดไม่ถูกชะตาแล้ว เจ้ากรรมนายเวรที่น่ากลัวก็ได้แก่ พรหม เทวดา มนุษย์ด้วยกัน เพราะเขามีฤทธิ์ […]

การ สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา แก้กรรม ได้จริงหรือ ?

การ สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา แก้กรรม ได้จริงหรือ ?

สะเดาะเคราะห์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งมีทั้งเคราะห์ดีและเคราะห์ร้าย สิ่งที่ดีเรียกว่า “ศุภเคราะห์” สิ่งไม่ดี เรียกว่า “บาปเคราะห์” ก่อนที่บุคคลจะประสบเคราะห์ไม่ว่าจะทางดีหรือทางร้าย มักจะมีเครื่องปรากฏให้เห็นก่อนเรียกว่า “ลาง” ลางที่จะบอกว่ามีเคราะห์ดี เช่น เห็นพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ หรือเห็นพระเจ้า พระสงฆ์ และที่บอกว่าจะมีเคราะห์ร้าย เช่น เห็นบึ้ง เห็นงูทำทาน เห็นข้าวนึ่งแดง เป็นต้น เมื่อมีลางบอกเหตุในทางไม่ดีก็ต้องทำการสะเดาะเคราะห์ นั้นเอง ชาวพุทธเราเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจก็มักจะไปทำบุญเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การถวายสังฆทาน เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระสงฆ์อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก จะทำสิ่งใดก็ราบรื่นไม่ติดขัดพบแต่ความสำเร็จสมปรารถนา รวมทั้งมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ไม่ขัดสน การถวายน้ำมันตะเกียง เพื่อความรุ่งโรจน์โชติช่วงของชีวิตเช่นเดียวกับความสว่างของแสงตะเกียง ทำให้พ้นจากความมืดมิดทั้งการดำเนินชีวิตรวมทั้งปัญหาและความคิดที่สว่างไสวไม่อับจนหนทาง การทำทานแก่คนยากไร้ เป็นการทำบุญที่มาจากจิตใจอันไม่ยึดติด มีความไม่โลภ ผลบุญจึงหนุนนำให้มีแต่ความราบรื่น ยามมีเรื่องติดขัดก็จะมีผู้มาช่วยเหลือค้ำจุน ยามมีเคราะห์ภัยก็จะแคล้วคลาดเพราะแรงอนุโมทนาจิตจากผู้ยากไร้ที่ได้รับสิ่งของจากเรานั่นเอง การรักษาศีล ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเป็นมหากุศล เป็นเกราะคุ้มครองตัวเอง การทำบุญโลงศพ ซื้อโลงศพ บริจาคให้แก่ศพอนาถาไร้ญาติ จะได้อานิสงส์แรงยิ่งนักการทำบุญเช่นนี้จะช่วยเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่ง สามารถต้านเคราะห์ภัยหนักต่างๆและผ่อนหนักเป็นเบาได้ การนั่งสมาธิ หรือสวดมนต์ […]

อานิสงส์ของการ ถวายผ้ากฐิน และการถวายที่ถูกต้องควรทำอย่างไร ?

อานิสงส์ของการถวายผ้ากฐิน และการถวายที่ถูกต้องควรทำอย่างไร ?

กฐินเป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐิน ของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ า เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ า เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้าง ความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ า เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ า เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้าง […]

ขั้นตอนของพิธี อุปสมบท มีอะไรบ้าง ?

ขั้นตอนของ พิธีอุปสมบท มีอะไรบ้าง ?

ในพระพุทธศาสนา เรียกการบวชว่า “การอุปสมบท” แต่เดิมนั้น การบวชเรียกว่า “บรรพชา” ซึ่งแปลว่า เว้นทั่ว  เว้นจากความชั่วทุกอย่าง ปัจจุบันคำว่าบรรพชาใช้กับการบวชสามเณร ในขณะที่อุปสมบทใช้กับการบวชพระภิกษุ การบวชโดยนัยแล้วคือ การละทิ้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่เดิม สู่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ใหม่ ตามครรลองแห่งมรรค เพื่อเป็นการง่าย เพื่อเป็นการสะดวก เป็นทางอันปลอดโปร่ง แก่การบรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ คือ ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ปราศจากมิลทิน หมดจดจากความเศร้าหมอง และเป็นอิสระจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ประเพณีการบวช  ถือเป็นประเพณีที่เคร่งครัด เชื่อว่าการบวชสามารถอบรมให้เป็นคนดีได้ ผู้ชายเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป มักจะบวชเรียน ก่อนเข้าพรรษา ( แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ) ผู้ชายจะเข้าพิธีบวชพร้อม ๆ กัน และประเพณีการบวชจะมีการกวนขนมชนิดหนึ่งคือ ” ยาหนม ” เป็นขนมที่ต้องมีในงานบวช การจัดงานบวชมีขั้นตอนและพิธีการหลายอย่าง ตั้งแต่การเตรียมตัวจนถึงการบวชพระ ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน โดยวันนี้เราก็มีขั้นตอนในการจัดงานบวชมาฝากกัน หากท่านใดที่กำลังจะบวชหรือกำลังจะจัดงานบวชให้กับบุตรหลานก็สามารถศึกษาได้จากบทความนี้ การเตรียมตัวก่อนบวชพระ ขั้นตอนแรกก่อนจัดงานบวชจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในพิธีบวช ผู้ที่จะบวชหรือนาคจะต้องทำการขานนาคและท่องบทสวดคำบาลีต่างๆ จึงต้องฝึกซ้อมให้คล่องก่อนนั่นเอง เพื่อที่เมื่อถึงวันบวชจริงจะได้ไม่มีอาการเขินอายหรือท่องผิดท่องถูกได้ […]

ความสำคัญของวันออกพรรษา !!

ความสำคัญของ วันออกพรรษา

วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสววรค์ ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนา โปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนา ที่ชั้นดาวดึงส์ วันออกพรรษา  หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน  ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ ประวัติวันออกพรรษา ประวัติวันออกพรรษา มีเหตุการณ์ในพุทธประวัติเล่าว่าพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทวดาชั้นดาวดึงส์ ผู้เคยมาเกิดเป็นพระนางสิริมหามายา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ถึงเมืองสังกัสสะ ชาวบ้านต่างร่วมใจกันเดินทางไปรับเสด็จพระพุทธเจ้า เป็นที่มาของการตักบาตรเทโวโหรณะ และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาท เรียกว่า “ไตรโลกวิวรณปาฏิหาริย์” ความสำคัญของวันออกพรรษา เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชนเตรียมอาหารเพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์หลังวันออกพรรษา 1 วัน ในวันแรม 1 […]

10 สิ่งของในชุดสังฆทาน ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้งานได้จริง !!

10 สิ่งของในชุดสังฆทาน ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้งานได้จริง

สังฆทานคืออะไร? สังฆทาน แยกคำได้ว่า “สังฆะ” แปลว่า หมู่ กลุ่ม หรือส่วนรวม และ “ทาน” แปลว่าการให้ ความหมายโดยรวมคือ ถวายเป็นของสงฆ์ ดังนั้นคำว่า สังฆทาน แปลได้ว่า เป็นทานที่ตั้งใจถวายแก่พระสงฆ์โดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง ให้เป็นของส่วนรวม โดยจะถวายอะไรก็ได้ที่เหมาะสมกับชีวิตสมถะของพระภิกษุสงฆ์ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธา เป็นการแสดงถึงความตั้งใจจะถวายด้วยศรัทธาอันเป็นสาธารณะ และนี้แหละคือความหมายของคำว่าสังฆทาน ผู้ที่ถวายสังฆทานจะได้ทาน 3 ประการ ดังนี้1. วัตถุทาน – ช่วยลดความตระหนี่ของผู้ถวาย ฝึกเป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน2. อภัยทาน – ช่วยลดความโกรธ ฝึกรู้จักการให้อภัยโดยการแผ่เมตตาหลังการทำบุญ3. ธรรมทาน – การถวายหนังสือแด่พระสงฆ์เมื่อท่านนำไปอ่านแล้วเกิดความรู้ ถือเป็นทานที่เกิดจากการให้ธรรมะ ช่วงวันสำคัญทางพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนมักนิยมเข้าวัดไปทำบุญกัน โดยสิ่งหนึ่งที่นิยมทำ คือ การทำสังฆทาน หลายท่านมักซื้อของที่จัดเตรียมไว้สำเร็จแล้ว หรือการไปซื้อของใช้มาจัดเป็นชุดสังฆทานเอง ซึ่งสิ่งของ 10 อย่างที่พระสงฆ์จำเป็นต้องใช้ มีประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวันของพระสงฆ์ ได้แก่ เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เนื่องจากพระสมัยนี้ต้องเรียนพระปริยัติธรรม และจดกำหนดนัดหมายต่างๆ ช่วยจำ บางรูปท่านเป็นเหรัญญิกดูแลค่าใช้จ่าย ยิ่งต้องใช้มาก แต่ไม่ค่อยมีใครถวายเครืองเขียนเหล่านี้ พระท่านจึงต้องไปหาซื้อเองเสมอ […]