Category Archives: ความรู้เรื่องบุญและสังฑทาน

การถวายผ้าไตรจีวร มีขั้นตอนและอานิสงส์อย่างไร ธาราญามีคำตอบ

ผ้าไตรจีวร คือ เครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุ ในสมัยพุทธกาลการจะหาผ้ามาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มทำได้ยากมาก พระภิกษุต้องเก็บผ้าที่เปื้อนฝุ่นตามถนน ผ้าสกปรกจากกองขยะ หรือแม้กระทั่งจากผ้าห่อศพในป่าช้า เมื่อได้ผ้าเหล่านั้นมาแล้ว พระอานนท์จึงได้เป็นผู้ออกแบบการตัดเย็บ โดยให้พระภิกษุเอาผ้ามาตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ และเย็บปะติดปะต่อกันจนได้เป็นลายคันนาตามที่พระอานนท์ได้ออกแบบ แล้วนำไปซักให้สะอาดและย้อมให้เป็นสีเดียวกันด้วยสีตามธรรมชาติ เช่น สีจากเปลือกไม้ แล้วอธิษฐานใช้เป็นจีวร จึงเรียกผ้านั้นว่า “ ผ้าบังสุกุล “ หรือ ผ้าป่า” ถึงแม้ “ ผ้าบังสุกุลจีวร “ จะเป็นผ้าที่ไม่มีใครอยากได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก สำหรับพระภิกษุ เพราะใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันความร้อน ความหนาว อันเกิดจากดินฟ้าอากาศและสัตว์พวกเหลือบ ยุง หรือสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย รวมทั้งใช้ปกปิดอวัยวะเพื่อไม่ให้เกิดความละอาย แต่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็คือ เพื่อให้เป็นผู้มีความสันโดษมักน้อย มีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้เลี้ยงง่าย อยู่ง่ายเพราะพระภิกษุยังชีพอยู่ได้เพราะชาวบ้านและต้องไม่สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านรวมทั้งที่อยู่อาศัยก็ให้เป็นไปตามอัตภาพ ตามสมณสารูปของพระภิกษุเท่านั้น ขั้นตอนการถวายผ้าไตรจีวร การถวายผ้าไตรจีวรแก่พระภิกษุสามารถถวายได้ทุกวัดและถวายได้ตลอดทั้งปี และทุกโอกาส สามารถทำได้ง่ายๆดังนี้ ถ้าตั้งใจถวายผ้าไตรจีวรอย่างเดียว ก็ให้จัดหาผ้าไตรจีวรที่เหมาะสมทั้งขนาด เนื้อผ้าและสี แล้วนำเข้าไปถวายแก่พระภิกษุเท่านี้ก็สำเร็จสมกับความตั้งใจแล้ว ถ้าตั้งใจถวายสังฆทานด้วยแต่ไม่มีเวลา ก็ให้ซื้อชุดสังฆทานที่ทางร้านจัดเตรียมไว้ หรือถ้ามีเวลาก็ให้สอบถามทางวัดก่อนว่า ทางวัดขาดอะไร ต้องการอะไร ก็เลือกซื้อสิ่งของตามนั้นพร้อมกับถวายผ้าไตรจีวรได้พร้อมกันเลย ถ้าตั้งใจทำบุญเลี้ยงพระด้วย ก็ให้เตรียมอาหารคาว […]

กฐิน วัดธรรมมงคล ประจำปี  2566 ธาราญา แนะนำทำบุญเสริมดวงชีวิต

กฐิน วัดธรรมมงคล

วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร หรือมักเรียกโดยย่อว่า วัดธรรมมงคล สังกัดธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2506 เดิมเป็นป่าสะแก ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) ใช้เป็นที่พักธุดงค์ในระหว่างเดินทางเข้ากรุงเทพฯ นายเถา-นางบุญมา อยู่ประเทศ มีศรัทธาจึงมอบที่ให้ และได้สร้างเป็นวัดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2506 ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 32 ไร่ มี พระภิกษุ สามเณร จำพรรษาประมาณ 300 กว่ารูป ปัจจุบันมีพระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์ (บุรมณ์ เตชธมฺโม) เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล เถาบุญนนทวิหาร ขอเชิญร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี เพื่อบูรณะพระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ศรีรัตนโกสินทร์ วันอาทิตย์ ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ วัดธรรมมงคล แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร กฐิน (บาลี: กฐิน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน […]

สังฆทาน คืออะไร หากจะจัดชุดสังฆทานเองต้องทำอย่างไร

ชุดสังฆทาน

“สังฆทาน” หรือ “ชุดไทยธรรม” เป็นการถวายทานที่พุทธศาสนิกชน ได้ถวายแด่นักบวชในพุทธศาสนา โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เป็นสิ่งของที่เป็นประโยชน์แด่พระสงฆ์ส่วนรวม เพราะฉะนั้นสังฆทานจึงไม่ใช่ของที่บรรจุอยู่ในถังสีเหลืองเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการถวายสังฆทานจึงหมายถึงการถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยไม่เลือกว่าใครเป็นผู้รับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนกลางของคณะสงฆ์ในวัด การถวายสังฆทานปรากฏอยู่ใน “ทักขิณาวิภังคสูตร” ในพระไตรปิฎก เล่าว่า ครั้งหนึ่งนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้าต้องการถวายจีวรแด่พระพุทธเจ้า ขณะประทับที่ วัดนิโครธาราม พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ โดยตรัสว่าให้ถวายผ้าจีวรนี้เป็นส่วนกลางแก่คณะสงฆ์ เพราะเป็นสังฆทานที่ได้อานิสงส์มากกว่าการถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา สิ่งที่บรรจุอยู่ในชุดสังฆทานควรเป็นของที่มีประโยชน์ด้านปัจจัย 4 แด่พระภิกษุสงฆ์ และควรเป็นของที่ใช้ประโยชน์ได้ พุทธศาสนิกชนส่วนหนึ่งนิยมจัดชุดสังฆทานเอง มั่นใจได้ว่าของใช้ต่างๆ ที่จัดหามานั้น ยังมีอายุการใช้งานตามฉลากที่มั่นใจได้ เพราะเชื่อว่าไม่ควรนำของหมดอายุ หรือของไม่ดีไปถวายพระ หลายคนมักกังวลเวลาจะแวะซื้อสังฆทานไปถวายพระ กลัวว่าจะได้ของไม่ดีบ้าง ของหมดอายุไปแล้วบ้าง หรือข้างในถังจะเป็นของที่พระจะไม่ได้ใช้และไม่ได้ประโยชน์หรือเปล่า อ่านบทความแนะนำ ถวายสังฆทานเพื่อให้ผู้ล่วงลับ ประกอบด้วยอะไรบ้าง ? หลายคนสงสัยว่า ถวายสังฆทาน ได้ถึงกี่โมง ? สังฆทานส่วนใหญ่ใส่อะไรบ้าง 1. ยาสามัญประจำบ้าน ยาหม่อง ยาพารา ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ไอยาเบื้องต้นที่สามารถบรรเทาได้ในช่วงแรกที่เกิดอาการ  2. เครื่องนุ่งห่มพระสงฆ์ ผ้าไตรจีวร เสื้ออังสะ ผ้าขนหนูสีสุภาพ รองเท้าแตะ หน้ากากอนามัยสีสุภาพ […]

อโหสิกรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มีความเชื่อว่าอย่างไร

ขออโหสิกรรม

อโหสิกรรม คือ กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมในภพชาติต่อๆ ไปการขออโหสิกรรม คือ การขอโทษในสิ่งที่ตนทำผิดต่อผู้อื่นด้วยใจจริง การให้อโหสิกรรม คือ การให้อภัยต่อความผิดพลาดพลั้งที่ผู้อื่นกระทำต่อตน อโหสิกรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา เชื่อว่าอย่างไร กรรมเบาบาง อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น สำเร็จในชีวิตนี้ และส่งผลชีวิตหน้า  บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้น จะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม นั่นคือ ในฐานะที่ชาวพุทธ เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่น ก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าใครทำกรรมใดไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรรมใดใครก่อไว้แล้วในเมื่อใจเป็นผู้จงใจทำลงไปแล้วเป็นกรรมอันเป็นบาป ภายหลังจึงมานึกได้และไม่ต้องการผลของบาป มันก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได้เพราะใจเป็นผู้สั่งให้กาย วาจา ทำลงไป พูดลงไป   วิธีการขออโหสิกรรม  1) ด้วยการอโหสิร่วมกัน ต่างฝ่ายต่างเอ่ยให้อีกฝ่ายรับรู้ด้วยใจ  ยิ่งทั้งสองฝ่าย มีความหนักแน่น จิตใจคิดอโหสิอย่างบริสุทธิ์ใจเท่าไหร่ ก็ยิ่งขาดจากเวรได้เด็ดขาดเท่านั้น 2) ด้วยการอาศัยสัจจวาจาในการทำบุญร่วมกัน  คือ เมื่อทำบุญใหญ่ร่วมกันแล้วอ้างบุญใหญ่ที่ทำร่วมกันว่า ทำด้วยใจมีไมตรีต่อกัน ขอให้อานิสงส์ จงช่วยล้างเวรภัยระหว่างกัน หากกำลังบุญนั้นถึงพร้อม (เช่น ถวายสังฆทานกับพระอริยสงฆ์) ก็จะทำให้เกิดความอบอุ่น เบิกบานใจร่วมกัน โดยผ่านพ้นแรงอาฆาตเก่า ๆ ได้ จะรู้สึกกันเดี๋ยวนั้นว่า หมดภัยหมดเวรต่อกันแล้ว […]

พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ สิ่งที่ต้องทำและข้อห้ามในการทำพิธี มีอะไรบ้าง ธาราญามีคำตอบ

ทำบุญขึ้นบ้านใหม่

พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ จะเน้นปฏิบัติตามหลักความเชื่อของศาสนาพุทธ โดยเจ้าบ้านมักนิมนต์พระสงฆ์มาสวดให้พรและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทำบุญเลี้ยงพระ รวมทั้งร่วมรับประทานอาหารกับแขกที่เชิญมาร่วมงานทำบุญด้วยกัน นอกจากนี้ บางบ้านอาจประกอบพิธีขึ้นบ้านใหม่ตามวิถีไทยโบราณ โดยเตรียมของอย่างอื่นเสริมเข้ามาด้วย ได้แก่ ถุงเงิน ถุงทอง เงินเหรียญจำนวน 108 บาท เงินธนบัตรจำนวน 1,900 บาท ถั่ว งา ข้าว กลีบกุหลาบ กลีบดอกรัก กลีบดอกดาวเรือง กลีบดอกบานไม่รู้โรย เครื่องประดับ เครื่องครัว ถังเปล่า 2 ใบ พระพุทธรูป และชุดธูปเทียน สำหรับขั้นตอนการทำพิธีขึ้นบ้านใหม่แบบไทยนั้น ทำได้ง่าย ๆ เลยครับ ขั้นแรกเลยคือต้องไปวัดเพื่อนิมนต์พระสงฆ์ให้เรียบร้อยก่อน โดยงานบุญแบบนี้เค้าจะนิมนต์พระเป็นจำนวนเลขคี่ครับ (5 รูป, 7 รูป หรือ 9 รูป) ก็ให้นัดแนะสถานที่ วัน และเวลาให้เรียบร้อย หรือถ้ายังไม่มีฤกษ์ดีก็ปรึกษาทางวัดเลยก็ได้ครับ พระท่านจะได้เตรียมพระสงฆ์และรถรับส่งให้พร้อมในวันงาน   เมื่อถึงวันงานก็ให้เตรียมหิ้งพระพุทธ เสื่อและอาสนะสำหรับพระสงฆ์ และอาหารสำหรับถวายพระและเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน โดยเมื่อพระสงฆ์เดินทางมาถึงงานและเจ้าภาพพร้อมแล้ว พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ […]

การขออโหสิกรรม เพื่อขอขมาเจ้ากรรมนายเวร ลดกรรมได้จริงหรือไม่

การขออโหสิกรรม

 การขออโหสิกรรม นั้นเป็นผลสะท้อนทางจิตใจที่ต้องการให้ผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นได้รับรู้ถึงจิตใจที่ไม่ต้องการผูกพยาบาทซึ่งกันและกัน นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการให้อภัยทานซึ่งนับได้ว่าเป็นทานอันยิ่งใหญ่ เพื่อให้กรรมที่ได้ทำไว้ลดความผูกพยาบาท จึงมักจะเร่ิมจากการขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน และลำดับต่อมาได้แก่ การเข้าสู่การปฏิบัติ ตามหลัก ศีล สมาธิ และปัญญา หรือองค์มรรคแปด โดยมีหลักอิทธิบาทสี่ เป็นกำลังใจ เพื่อนำพาไปสู่หนทางของนิพพาน พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าใครทำกรรมใดไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรรมใดใครก่อไว้แล้วในเมื่อใจเป็นผู้จงใจทำลงไปแล้วเป็นกรรมอันเป็นบาป ภายหลังจึงมานึกได้และไม่ต้องการผลของบาป มันก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได้เพราะใจเป็นผู้สั่งให้กาย วาจา ทำลงไป พูดลงไป การขออโหสิกรรม คืออะไร อโหสิกรรม คือ กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมในภพชาติต่อๆ ไปการขออโหสิกรรม คือ การขอโทษในสิ่งที่ตนทำผิดต่อผู้อื่นด้วยใจจริง การให้อโหสิกรรม คือ การให้อภัยต่อความผิดพลาดพลั้งที่ผู้อื่นกระทำต่อตน อ่านบทความเพิ่มเติม เกี่ยวกับ การขออโหสิกรรมคืออะไร อ่านบทความเพิ่มเติม เกี่ยวกับ การ “ตัดกรรม การตัดเวร” คืออะไร?   บทสวด ขออโหสิกรรม สวดบทขอขมาอโหสิกรรมเจ้ากรรมนายเวร “กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมัง อะสัญจิจจะกัมมัง ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง […]

สังฆภัณฑ์ คืออะไร แตกต่างจาก คำว่า “ชุดสังฆทาน” อย่างไร ธาราญามีคำตอบ

สังฆภัณฑ์ ชุดสังฆทาน

“สังฆภัณฑ์” และ “สังฆทาน” เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาพุทธศาสนา โดยมักใช้เพื่ออธิบายหลักการและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตพุทธศาสนิกชน แต่มีความแตกต่างกัน บทความนี้ธาราญามีคำตอบในความหมายและมีความแตกต่างกันอย่างไร ความหมาย  “สังฆภัณฑ์” สังฆภัณฑ์ คือ สิ่งของเครื่องใช้ในกิจของพระสงฆ์ แต่หากจะขยายความสังฆภัณฑ์ก็คือ เครื่องใช้สำหรับพิธีการทางศาสนาเข้าไปด้วย เช่น โต๊ะหมู่บูชา เครื่องบูชา เครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป รูปเหมือนต่าง ๆเป็นต้น สังฆภัณฑ์ยังรวมถึง สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวของพระสงฆ์ด้วย เช่น จีวร บาตร อาสนะ สบง เป็นต้น สิ่งต่าง ๆที่คนทั่วไปตั้งใจนำมาถวายพระภิกษุสงฆ์  ชุดสังฆทาน คือ คือ การถวายสิ่งของที่เป็นปัจจัยสี่แด่พระภิกษุสงฆ์หรือเป็นสิ่งที่พระภิกษุสงฆ์จำเป็นต้องใช้ หรือสรุปได้ว่า “สังฆทานก็คือทานเพื่อพระสงฆ์” ไม่ใช่ถวายเพื่อมุ่ง สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา ให้ตนเองหรือ อุทิศบุญกุศล ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับโดยนำของที่ผู้ล่วงลับชอบหรือ ใช้อยู่เป็นประจำมาถวายพระ แต่ถ้าหากท่านต้องการทำบุญให้กับสัตว์เลี้ยง ที่เสียชีวิตไปแล้วหรือต้องการบริจาคอาหารสัตว์ให้กับวัดก็สามารถทำได้ เพียงแต่แยกอาหารสัตว์ ออกจากเครื่องสังฆทาน โดยไม่ควรใส่ปะปนกับสิ่งของอื่นๆ เพียงเท่านี้พระภิกษุสงฆ์ก็จะได้ใช้ประโยชน์จากสังฆทาน ที่ถวายและนอกจากคุณจะถวายสังฆทานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว คุณยังได้รับอานิสงส์จากการถวายสังฆทาน อีกด้วย สังฆทานคืออะไร สังฆทาน คือ การถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงพระภิกษุรูปหนึ่งรูปใด […]

วันเข้าพรรษานี้ทำบุญถวายเทียน ถวายผ้าอาบน้ำฝนและชมแห่เทียน ธาราญามีแนะนำ

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา ที่จะมาถึงในปีนี้ 2 สิงหาคม 2566 เป็นวันหยุดยาวหลายท่านได้เดินทางกลับบ้านต่างจังหวัดเพื่ออยู่กับครอบครัว รวมไปถึงชวนกันไปทำบุญที่วัด  โดยกิจกรรมในวันเข้าพรรษาที่นิยมทำบุญประเพณี ถวายเทียนเข้าพรรษา ถวายผ้าไตร ทำบุญชุดสังฆทาน  ร่วมสวดมนต์ภาวนา  และ ร่วมชมขบวนแห่เทียนเข้าพรรษา ในปีนี้ทาง ธาราญา แนะนำ ชมแห่เทียนเข้าพรรษา ที่จังหวัดนครราชสีมา แล้วขอให้เดินทางกลับบ้านอย่างมีความสุขอิ่มบุญกันถ้วนหน้า บทความแนะนำ กิจกรรมเข้าพรรษามีอะไรบ้าง คลิกอ่านเพิ่ม วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญอย่างไร วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง https://th.wikipedia.org/wiki ในประเทศไทยมีประเพณีมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ไทยมาช้านาน ดังปรากฏประเพณีมากมายที่เกี่ยวกับการเข้าจำพรรษา เช่น ประเพณีถวายเทียนพรรษา แก่พระสงฆ์เพื่อจุดบูชาตามอารามและเพื่อถวายให้พระสงฆ์สามเณรนำไปจุดเพื่ออ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในระหว่างเข้าจำพรรษา ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือผ้าวัสสิกสาฏก แก่พระสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์นำไปใช้สรงน้ำฝนในพรรษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่พุทธศาสนิกชนไทยถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีคือ ประเพณีถวายผ้ากฐิน ที่จัดหลังพระสงฆ์ปวารณาออกพรรษา เพื่อถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ที่จำครบพรรษาจะได้กรานและได้รับอานิสงส์กฐิน เป็นต้น ประวัติ วันเข้าพรรษา “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน […]

วันอาสาฬหบูชา คือวันอะไรและการปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษาเริ่ม ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ๑ วัน เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน) ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา แล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของ พระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  ขอขอบคุณความรู้เกี่ยวกับ วันอาสาฬหบูชา จากเว็บ wiki  […]

ทำบุญ วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาปีนี้ เลือกชุดถวายสังฆทานอย่างไร ธาราญามีข้อแนะนำ

ทำบุญ

วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญของชาวพุทธอีกวันหนึ่งซึ่งอยู่ติดกัน ซึ่งคนไทยนิยมพาครอบครัวออกไป ทำบุญ ถวายเทียน ถวายผ้าไตรจีวร และชุดสังฆทาน เป็นพุทธบูชาที่วัดและอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว การหาเลือกซื้อชุดสังฆทานและเทียนเข้าพรรษาให้ได้คุณภาพให้ตรงกับความต้องการกับพระสงฆ์ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะด้วยศรัทธาของผู้ถวายนั้นย่อมส่งผลถึงความตั้งใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันสำคัญทางศาสนา  วันอาสาฬหบูชาสำคัญอย่างไรกับ ทำบุญ ของชาวพุทธ ขอขอบคุณความรู้เกี่ยวกับ วันอาสาฬหบูชา จากเว็บ wiki  วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น “สัมมาสัมพุทธะ” คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก “พระปัจเจกพุทธเจ้า” ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า “วันพระธรรม” วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นภิกษุองค์แรกในพระศาสนา และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า “วันพระสงฆ์” ทำบุญ ถวายสังฆทานเล้วได้อานิสงส์อย่างไรบ้าง การถวายสังฆทาน ๑ ครั้งในชีวิต และถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์มีศรัทธาแท้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า […]