เลือกซื้อ ชุดสังฆทาน ในปัจจุบัน หรือการเลือกซื้อ แบบ New Normal ทำให้หลากหลายธุรกิจต้องปรับตัวไปตาม ๆ กัน เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงวัดหรือศาสนสถานของชาวพุทธศาสนิกชนชาวไทยด้วยเช่นกัน ทำให้วิถีการทำบุญถวายสังฆทานของชาวไทยเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเลือกซื้อสังฆทานการในโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพราะนอกจากจะหาซื้อได้ง่ายแล้ว ยังมีข้าวของเครื่องใช้หลากหลายให้ได้เลือกสรร และยังมีหลากหลายราคา ที่ทำให้เราสามารถกำหนดได้อีกด้วยว่าต้องการซื้อสังฆทานแบบไหน ราคาเท่าไหร่ ดังนั้นในปัจจุบันการเลือกซื้อสังฆทานออนไลน์ จึงเข้ามาเป็นตัวเลือกอันดับแรกของผู้ที่ต้องการหาสังฆทานได้ทำบุญถวายพระภิกษุ แต่ไม่มีเวลาไปหาเลือกซื้อ โดยการเลือกสังฆทานสามารถเลือกซื้อได้จากร้านสังฆภัณฑ์โดยเลือกจากร้านที่จำหน่ายของที่ดีมีคุณภาพและต้องเป็นชุดสังฆภัณฑ์ จัดชุดสังฆทาน ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ การเลือกซื้อ ชุดสังฆทาน ยุคใหม่ที่มีคุณภาพ 1. มีเครื่องหมาย อย. และมีฉลากรายละเอียดติดอยู่ที่สังฆภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในชุดสังฆภัณฑ์, วันผลิต, วันหมดอายุ และราคาอย่างชัดเจน 2. สังฆภัณฑ์บรรจุอยู่ในหีบห่อที่แข็งแรง มิดชิด ไม่ฉีกขาด เพื่อให้แน่ใจว่าของที่บรรจุอยู่ภายในนั้นได้รับการปกป้องอย่างดีเพื่อรักษาคุณภาพของสังฆภัณฑ์ 3. พิจารณาดูว่าผลิตภัณฑ์ที่ประกอบเป็นเครื่องสังฆภัณฑ์นั้นเป็นของที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ ที่พระภิกษุสามารถใช้งานได้จริง 4. สังฆภัณฑ์ที่ดีจะต้องแยกสารเคมีและของใช้ออกจากกัน เพื่อไม่ให้เกิดการไหลซึมเปื้อนหรือปนเปื้อนสารเคมีเพื่อให้พระภิกษุได้ใช้ของที่บรรจุอยู่ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ ทำบุญออนไลน์ได้บุญไหม จะได้บุญจริงหรือเปล่า หลายคนสงสัยกันว่าทำบุญออนไลน์ได้บุญไหม ได้ผลจริงหรือเปล่า? แม้ว่าเราจะไม่ได้ไปถึงวัด ไม่ได้จุดธูปไหว้พระ ฟังธรรม ไม่ได้อยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่สงบร่มเย็นเหมือนอย่างที่คุ้นเคยกันมา แต่บอกเลยว่าได้บุญไม่ต่างกันแน่นอน เพราะศาสนาทุกศาสนาสอนไม่ให้เรายึดติด อะไรที่ไม่ทำให้ตัวเองและคนอื่นเดือดร้อน บอกเลยว่าดีทั้งนั้น […]
Category Archives: บทความผ้าไตร
บทความ ความรู้เกี่ยวกับผ้าไตรจีวร ต่างๆ
“กฐิน” คืออะไร? คำว่า “กฐิน” ภาษาบาลี แปลกันตามตัวอักษรว่า “ไม้สะดึง” สะดึง (อังกฤษ: Embroidery hoop; Embroidery frame) คือกรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น หรืออาจจะหมายถึงกรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร …. สะดึงมี 2 แบบ คือ (๑) สะดึงกลม ใช้ปักงานชิ้นเล็ก เช่น การปักตัวอักษร เครื่องหมายของโรงเรียน มุมผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น (๒) สะดึงสี่เหลี่ยม เหมาะสำหรับปักงานชิ้นใหญ่ จำเป็นต้องมีผ้าขึงสะดึง เพื่อบังคับผ้าที่ปัก ให้แน่นและเรียบตึงอยู่ได้นาน ช่วยให้งานปักประณีตเรียบร้อย ปักได้สะดวกและรวดเร็ว เช่น การปักหน้าหมอน ผ้าปูโต๊ะ ย่าม ตาลปัตร เป็นต้น ข้อมูลกฐิน (http://www.mahabunhome.com/kathin.html) กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 […]
อานิสงส์ การนำ ผ้าไตร มาถวายพระในทางพระพุทธศาสนานั้น มองว่าเป็นการช่วยให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย และคลายความอันตรายต่างๆได้ ดังนั้นผู้ให้จึงได้รับบุญกุศลอย่างเต็มที่ เกิดในภพหน้าจะมีหน้าตารูปร่างสวยงาม และมีผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส เป็นผู้อิ่มเอมใจ อันเกิดจากการอิ่มบุญ ขจัดพ้นจากความยากลำบาก และความยากจนแสนเข็ญ ผ้าไตร จีวร คือ ผ้าจีวร 3 ผืน เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ ผ้าจีวร และผ้าสบง แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร ส่วนในการเลือกซื้อผ้าไตรจีวร จะมีอยู่ 2 จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อบรรพชาอุปสมบท หรือ เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ความหมายของผ้าไตร ทำไมคนถึงนิยมนำมาถวายพระ อานิสงส์ถึงมากมาย พระสงฆ์ส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่แต่ในวัดปฎิบัติธรรม และทำภารกิจของสงฆ์ ดังนั้นญาติโยมที่นำผ้าไตร มาถวาย ก็เพื่อให้พระสงฆ์หมดความกังวลใจว่าจะไม่มีชุดนุ่งห่ม อีกทั้ง ผ้าไตรยังช่วยบำบัดความหนาว หรือป้องกันแมลงได้อีกด้วย ซึ่งมีผลต่อการดูแลสุขภาพของพระอีกด้วยเช่นกัน เพราะเหตุใดถวาย ผ้าไตรจึงได้ อานิสงส์ ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวายผ้าไตร แด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ […]
ผ้าไตรจีวร หรือ ผ้าไตร ผ้าไตรจีวร เป็นหนึ่งในจตุปัจจัย ที่เป็นเครื่องนุ่งห่ม สำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร การนำ ผ้าไตรจีวร มาถวายพระในทางพระพุทธศาสนานั้น มองว่าเป็นการช่วยให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย และคลายความอันตรายต่างๆได้ ดังนั้นผู้ให้จึงได้รับบุญกุศลอย่างเต็มที่ เกิดในภพหน้าจะมีหน้าตารูปร่างสวยงาม และมีผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส เป็นผู้อิ่มเอมใจ อันเกิดจากการอิ่มบุญ ขจัดพ้นจากความยากลำบาก และความยากจนแสนเข็ญ จุดประสงค์ของการถวายผ้าไตรจีวร เพื่อให้พระภิกษุหมดภาระในการแสวงหาผ้านุ่งห่ม ไม่ต้องกังวลใจ มีเวลาปฏิบัติธรรมอย่างเพียงพอ และเป็นการช่วยให้พระภิกษุมีผ้านุงห่ม ป้องกันเหลือบยุง บำบัดความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันไม่ให้ป่วยไข้เพราะร้อนและหนาวเกินไป และในสมัยพุทธกาลพระภิกษุจะใช้รักษาสุขภาพอนามัย คือใช้ชายจีวรกรองน้ำดื่มเมื่อถึงคราวจำเป็น อานิสงส์ หมายถึง อานิสงส์ หมายถึงผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ, ประโยชน์ที่เกิดจากการ ทำบุญ ใช้ว่า ผลานิสงส์ หรือผลอานิสงส์ ก็มี อานิสงส์ เป็นผลผลิตจากการประกอบความดีต่างๆ ตามคติที่ว่า ทำดีได้ดี หมายความว่าเมื่อทำความดี ความดีย่อมให้อานิสงส์เป็นคุณความดีก่อน ลำดับต่อมาคุณงามความดีนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจไหลออกมาสนองผู้ทำในรูปแบบต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่ทำ เปรียบเหมือนปลูกต้นมะม่วงย่อมจะได้ผลเป็นลูกมะม่วงก่อน ต่อมาลูกมะม่วงนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจต่อไปเมื่อนำไปเป็นอาหาร นำไปแลกเป็นของหรือนำไปขายเป็นเงิน อานิสงส์ของการถวายผ้าไตรจีวร ผู้ที่ถวาย […]
ทำบุญต้อนรับปี 2566 ปีเถาะ ทำบุญตักบาตร เนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่การตักบาตรคือการถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณรรูปเดียวหรือหลายรูปจะปฏิบัติเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวก็ได้เนื่องในวันปีใหม่จึงนิยมทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต วัตถุประสงค์ของการตักบาตรนอกจากจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการให้ทานเพื่อบูชาคุณแล้วยังมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1. ธำรงส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนา 2. ส่งเสริมและบำรุงพระภิกษุสามเณรผู้ทรงศีลทรงธรรม 3. ส่งเสริมคุณความดีของผู้ปฏิบัติทั้งผู้ตักบาตรและพระภิกษุสามเณรผู้รับบิณฑบาตร การตักบาตรจึงเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ เพราะเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณรได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฎิบัติธรรมตามพระธรรมวินัย และสั่งสอนประชาชนเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรสืบไป ทั้งนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติด้วยเพราะทำให้เป็นผู้มีใจบุญกุศลและเป็นการส่งเสริมผุ้ทรงคุณธรรม การทำบุญตักบาตรนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชใหม่ๆ ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงประทับที่สวนมะม่วง พระองค์เสด็จบิณฑบาตผ่านกรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ชาวเมืองเห็นพระมาบิณฑบาตก็ชวนกันนำอาหารมาตักบาตรเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา การตักบาตรจึงถือเป็นประเพณีมาจนบัดนี้ และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้เกด มีพ่อค้า ๒ คน นำข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย พระพุทธองค์ทรงรับไว้ด้วยบาตร นี่ก็เป็นที่มาของการตักบาตรทางพระพุทธศาสนาด้วยประการหนึ่ง นอกการการตักบาตรแล้วยังมีการทำบุญอีกหลากหลายวิธี ดังนี้ 1. ถือศีล 5 อานิสงส์เป็นผลให้เกิดความโชคดี และแก้เคราะห์ลดกรรมได้ 2. ทำบุญปล่อยสัตว์ เป็นการไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น ส่งผลให้หมดทุกข์ หมดภัยและพบความสุขความเจริญในชีวิต 3. ทำบุญ ให้ทาน ทำทานแก่คนยากไร้ เพื่อเป็นบุญส่งเสริมให้ชีวิตมีโชค มีทรัพย์ และมากด้วยบารมี จะมีแต่ความราบรื่น เรื่องติดขัดไม่มี จะแคล้วคลาดปลอดภัย […]
ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) เป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 8 อย่าง ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ก็มีหลักฐานว่า ทรงใช้ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่าจีวร ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อๆกัน ไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้งได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยเนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรนาของชาวมคธ จึงทรงดำริให้ตัดผ้าจีวร เป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัดแต่งแล้ว ให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ ผ้า 3 ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง ต่อมาทรงอนุญาต ผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่า ภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้ การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตร เพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง […]
การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรเพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง ดั่งความตั้งใจของผู้ถวายมีที่จิตศรัทธานั้น ควรต้องทำความเข้าใจในการเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม เพราะผ้าไตรผู้ซื้อไม่ได้ใช้ จึงไม่เข้าใจว่าจะเลือกอย่างไรพระท่านจึงนำไปใช้ได้จริง คงทน เหมะสมและตัดเย็บถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผ้าไตรจีวรที่ซื้อมาถวายส่วนมากจึงไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เนื้อผ้าหนาเกินไปหรือไม่ระบายอากาศ ลองคิดถึงสภาพอากาศบ้านเรานะคะ และคิดถึงผ้าหลายชั้นที่พระท่านครอง ผ้าหนาและไม่ระบายอากาศจึงไม่เหมะสมที่จะใช้งาน นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึง ขนาด สี และความเหมาะสมกับวัดที่นำไปถวาย เช่น มหานิกายใช้สีเหลืองส้ม ต่างจากธรรมยุตที่ใชสีกรักและเป็นผ้า 9 ขันธ์ เป็นต้น 5 สิ่งที่ต้องพิจารณา ผ้าไตรแบบไหน ที่พระภิกษุสงฆ์นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนี้ 1 สี ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน สีพระราชทาน พระสงฆ์มหานิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม สีพระราชทาน การเลือกสีควรพิจารณาว่า นำไปถวายวัดไหน ใช้สีอะไร หรือ ถ้าไม่รู้ก็ควรเลือกสีพระราชทาน 2 วัตถุประสงฆ์ในการถวายผ้าไตร ผ้าไตรแบ่งได้ 2 แบบหลักตามความต้องการใช้งาน แบบที่ 1ผ้าไตรชุดใหญ่ ใช้สำหรับการบวชพระ ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย ใช้ในการบวชพระ ฝ่ายธรรมยุตหรือเราเรียกว่าวัดป่านั้นต้องเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 9 ขันธ์ ที่มีสังฆาฏิ […]
ผ้าไตรจีวร 5 ขัณฑ์และผ้าไตรจีวร 9 ขัณฑ์ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์ | สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวายผ้าไตร 9 ขัณฑ์ ผ้าไตร จีวรผ้า 3 ผืน ที่เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุ และสามเณร คือ ผ้าสบง (อันตรวาสก) คือ สำหรับผ้านุ่ง คู่กับผ้าจีวร แบ่งย่อยเป็น🔸 สบงขัณฑ์ หรือ สบงครอง คือ ผ้ามาตัดออกเป็นขัณฑ์ และนำมาเย็บต่อกันเป็นผืนเดียวกัน พระสงฆ์ใช้ครองในการทำสังฆกรรม ตามพระธรรมวินัย พระสงฆ์สามารถมีได้เพียงผืนเดียว🔸 สบงอนุวาต คือ ผ้าผืนเดียวไม่ได้ตัดขาดออกเป็นขัณฑ์ […]
ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าจีวร 3 ผืน เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มของพระสงฆ์ ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม ได้แก่ สังฆาฏิ ผ้าจีวร และผ้าสบง ในการเลือกซื้อผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร จะมีอยู่ 2 จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อบรรพชาอุปสมบท หรือ เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ และในส่วนสีของผ้าไตร หรือ ไตรจีวร ก่อนที่จะซื้อเราต้องสอบถามกับทางวัดก่อนว่าทางวัดใช้ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร สีอะไร เพราะแต่ละวัดจะใช้สีไม่เหมือนกัน วันนี้เราจะมาดูส่วนของผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร กันว่ามีกี่แบบแต่ละแบบมีอะไรบ้าง ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร โดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ 1.ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย -จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม -สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง -อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม -สังฆาฏิ : เป็นผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร […]
ผ้าไตร หลายคนอาจสงสัยว่าคืออะไร ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับผ้าไตร ก่อนที่จะซื้อผ้าไตรถวายพระหรือนำไปทำบุญ ผ้าไตร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์ ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า ผ้าไตร ส่วนใหญ่มักนิยมเรียกย่อๆ ว่า ไตร ไตรเต็ม หรือ ไตรแบ่ง ไตรเต็ม คือ ผ้าไตรที่จัดรวมกันไว้เป็นชุดครบทั้ง 3 ผืน เหมือนผ้าไตรที่นิยมวายกันโดยทั่วไป บางโอกาสอาจจะเพิ่ม กายพันธน์ ผ้าอังสะ […]
- 1
- 2