วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษาเริ่ม ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ๑ วัน เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน) ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา แล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของ พระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอขอบคุณความรู้เกี่ยวกับ วันอาสาฬหบูชา จากเว็บ wiki […]
Author Archives: Dharaya
วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญของชาวพุทธอีกวันหนึ่งซึ่งอยู่ติดกัน ซึ่งคนไทยนิยมพาครอบครัวออกไป ทำบุญ ถวายเทียน ถวายผ้าไตรจีวร และชุดสังฆทาน เป็นพุทธบูชาที่วัดและอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว การหาเลือกซื้อชุดสังฆทานและเทียนเข้าพรรษาให้ได้คุณภาพให้ตรงกับความต้องการกับพระสงฆ์ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะด้วยศรัทธาของผู้ถวายนั้นย่อมส่งผลถึงความตั้งใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันสำคัญทางศาสนา วันอาสาฬหบูชาสำคัญอย่างไรกับ ทำบุญ ของชาวพุทธ ขอขอบคุณความรู้เกี่ยวกับ วันอาสาฬหบูชา จากเว็บ wiki วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น “สัมมาสัมพุทธะ” คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก “พระปัจเจกพุทธเจ้า” ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า “วันพระธรรม” วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นภิกษุองค์แรกในพระศาสนา และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า “วันพระสงฆ์” ทำบุญ ถวายสังฆทานเล้วได้อานิสงส์อย่างไรบ้าง การถวายสังฆทาน ๑ ครั้งในชีวิต และถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์มีศรัทธาแท้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า […]
สำหรับทำบุญวันเกิดและทำบุญขึ้นบ้านใหม่ นับว่าเป็นวันที่สำคัญทางจิตใจอีกวันหนึ่งที่เรานิยมทำบุญและต้ังใจเป็นพิเศษ โดยส่วนมากเมื่อถึงวันเกิดนิยมไปทำบุญ นำผ้าไตร หรือ ชุดสังฆทาน และ ไปปล่อยสัตว์ ตามวัดดังๆ เช่น วัดไร่ขิง วัดหลวงพ่อโสธร เป็นต้น แต่สิ่งหนึ่งที่ควรระลึกถึงหลังจากทำบุญและกรวดน้ำ คือ ขออโหสิกรรม ซึ่งนับว่าเป็นความเชื่อที่นำพาให้จิตใจเกิดความสว่างและเบิกบาน โดยเฉพาะการขออโหสิกรรมและให้การอโหสิกรรมกับผู้ที่คิดร้ายกับเรา จะนำพาให้จิตเราไม่เศร้าหมอง ทำให้กาย วาจา และใจ เรานั้นมีพลังงานในด้านดีเกิดขึ้น จึงทำให้การทำงาน ขออโหสิกรรม คืออะไร กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมในภพชาติต่อๆ ไปการขออโหสิกรรม คือ การขอโทษในสิ่งที่ตนทำผิดต่อผู้อื่นด้วยใจจริง การให้อโหสิกรรม คือ การให้อภัยต่อความผิดพลาดพลั้งที่ผู้อื่นกระทำต่อตน คำว่า อโหสิกรรม มาจากคำ 2 คำ คือ อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า “ได้มีแล้ว” หมายความว่า ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว กรฺม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การกระทำ หมายถึง การกระทำที่มีเจตนา แปลรวมกันว่า กรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป ขออโหสิกรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา เชื่อว่า 1) กรรมเบาบาง อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น […]
ถ้ากล่าวถึง “วัดจุฬามณี” จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นอีกนึ่งสถาที่ทำบุญยอดนิยมนำสังฆทาน ผ้าไตรจีวร ไปทำบุญถวาย เพื่อเสริมดวงชะตา และ ขอพรเป็นอย่างมาก หลายคนคงเริ่มค้นหาข้อมูลว่ามีความสำคัญอย่างไร และมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดที่สำคัญ และมีชื่อเสียงอะไรบ้าง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็ คือ องค์ท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งวัดจุฬามณีมีข่าวดังมากมายเกี่ยวกับ ผู้ที่เดินทางไปขอพรไหว้พระ เสริมดวง แก้กรรม หรือ ขอโชค ขอลาภ กันมากมาย นั้น กล่าวกันว่า ได้สมดังปรารถนา และต้องกลับมาแก้บนที่นี่อีกครั้งกันอย่างมากมาย มาทำความรู้จักกับ วัดจุฬามณี (จังหวัดสมุทรสงคราม) (https://th.wikipedia.org) วัดจุฬามณีเดิมมีชื่อเรียกว่า วัดแม่เจ้าทิพย์ สร้างมาแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2172–2190 ตามประวัติว่าท่านท้าวแก้วผลึก (น้อย) ธิดาคนหนึ่งของท่านพลายซึ่งเป็นนายตลาดบางช้าง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขนอนตลาด ต้นวงศ์ราชนิกูลบางช้าง เป็นผู้สร้าง ในช่วงสงครามกรุงศรีอยุธยากับพม่า ท่านนาค (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) พระอัครชายาเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะทรงครรภ์แก่ ได้หลบซ่อนพม่าอยู่ในป่าทึบหลังวัดจุฬามณี ต่อมาได้มีประสูติการท่านฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) คาดว่าสถานที่ประสูติน่าจะใกล้ต้นจันทน์อันเป็นนิวาสถานหลังเก่าของท่านเศรษฐีทอง อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) […]
เมื่อวันเกิดมาถึงเรามักคนไทยมักจะนิยมออกไปทำบุญวันเกิด เช่น ใส่บาตรตอนเช้า หรือ ไปปล่อยปลา ตามความเชื่อ เมื่อใครทำบุญวันเกิดจะทำให้ชีวิตมีความรุ่งเรืองและมีจิตที่เบิกบานต่อการทำงาน หรือ การเรียน รวมถึงการเสริมดวงชะตาให้ดีขึ้น บทความนี้จะแนะนำ มูลนิธิที่นิยมไปทำบุญเพื่อเสริมดวงชะตาชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเกิด และ จะได้แนะนำการเลือกสังฆทานให่้เหมาะตรงกับวันเกิด เสริมดวงชะตา วันเกิดมีวิธีบ้าง (เคล็ดลับการเสริมดวง คลิกอ่าน) คลิกอ่าน ความรู้เกี่ยวกับ เหมาะสำหรับ ผู้ที่เกิดวันจันทร์ถึงวันวันอาทิตย์ ทำบุญวันเกิด เสริมดวงชะตา การงาน การเงิน ปังๆ อย่างแรกที่นิยมคือ บทสวด คาถายันทุน ที่นิยมเพื่อเสริมดวงชะตาชีวิตในวันเกิด ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ […]
หลักคำสอนพระพุทธศานาในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนให้คนทำบุญแล้วกรรมที่เคยทำน้ันจะหาย หรือ ไปทำพิธีตัดกรรมใด ๆ แล้วจะทำให้ชีวิตดีขึ้น มาจากการทำพิธีนั้น ๆ แต่จุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธ คือ การให้เข้าถึงปัญญาของการหลุดพ้น และ เห็นการเป็นไปของ ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องขนทุกข์ออกจากใจของสัตว์โลก เมื่อปฏิบัติตามคำสั่งสอนแล้ว จะทำให้เกิดปัญญา เห็นการตัดกรรมที่แท้จริงในคำสั่งสอน คำสอนที่เป็นหลัก คือ องค์มรรค8 หรือ ที่เราเรียกกัน บ่อย ๆ ว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา หลักคำสอนพระพุทธศานา ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา (องค์มรรค 8) แต่การเริ่มต้นนั้นมักจะมาจากการ ทำบุญ ทำทาน เพื่อละความโลก เช่น การถวายสังฆทาน การทำบุญวันเกิด ถวายผ้าไตร ใส่บาตร ข้อปฏิบัติการทำบุญ ที่สำคัญ ได้แก่ บุญกิริยา 10 อย่าง บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, […]
หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าผ้าไตรจีวรพระในประเทศไทยนั้นมีกี่ประเภท และ หลายท่านยังสงสัยว่าพระแต่ละวัดนั้นใส่ สีผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวรพระ ไม่เหมือนกัน ซึ่งในบทความนี้จะมาทำความเข้าในเรื่องของ ประเภทจีวร รวมถึง การเลือกซื้อถวาย เป็นสังฆทาน หรือ ทำบุญในเรื่องงานบุญ สำคัญ ๆ ผ้าไตรจีวรพระคืออะไร ผ้าไตร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร ความรู้เกี่ยวกับ ผ้าไตร คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ? คลิกอ่าน เหตุใดผ้าไตรจีวรพระทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรง ๆ จะหมายถึง ผ้าสามผืน ดังนั้นสรุปคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์ ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง […]
หลายคนยังสงสัยในการเลือกซื้อ ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตรอาศัย ว่าจะเลือกแบบใด และมีวิธีเลือกอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของขนาดและสี รวมไปถึงความหนาของผ้าไตร บทความนี้จะรวบรวมทั้งความหมาย วิธีเลือกผ้าไตร และ อานิสงส์การถวายสังฆทานผ้าไตร ผ้าไตร / ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตรอาศัย คืออะไร ผ้าไตร / ผ้าไตรอาศัย คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์ ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก […]
ทำบุญ หมายถึงอะไร ทำบุญ หมายถึง การชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ ในงานมงคลหรือ อวมงคล ถ้าจะทำให้ถูกต้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือความหลง ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ ๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม ๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ ๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง […]
ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตร สำหรับเตรียมตัวจัดงานบวชน้ัน หลายท่านจะมีความสับสนการเลือกและไม่เข้าใจว่า ทำไมบางครั้งที่ร้านขายผ้าไตรจะถามเราว่า เอาแบบ 5 ขันธ์หรือ 9 ขันธ์ บทความนี้จะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกผ้าไตรสำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อผ้าไตรสำหรับเตรียมในงานบวชให้กับลูกหลาน หรือ จัดหาเพื่อถวายผ้าไตรแด่พระภิกษุ ผ้าไตร / ผ้าไตรจีวร คืออะไร ผ้าไตร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์ ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า ผ้าไตร ส่วนใหญ่มักนิยมเรียกย่อๆ ว่า […]