เปรียบเทียบชุด ผ้าไตร ธาราญา กับ ชุดผ้าไตร ทั่วไป !!

เปรียบเทียบ ชุดผ้าไตร ธาราญา กับ ชุดผ้าไตร ทั่วไป

การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรเพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง ดั่งความตั้งใจของผู้ถวายมีที่จิตศรัทธานั้น ควรต้องทำความเข้าใจในการเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม เพราะผ้าไตรผู้ซื้อไม่ได้ใช้ จึงไม่เข้าใจว่าจะเลือกอย่างไรพระท่านจึงนำไปใช้ได้จริง คงทน เหมะสมและตัดเย็บถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผ้าไตรจีวรที่ซื้อมาถวายส่วนมากจึงไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เนื้อผ้าหนาเกินไปหรือไม่ระบายอากาศ ลองคิดถึงสภาพอากาศบ้านเรานะคะ และคิดถึงผ้าหลายชั้นที่พระท่านครอง ผ้าหนาและไม่ระบายอากาศจึงไม่เหมะสมที่จะใช้งาน นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึง ขนาด สี และความเหมาะสมกับวัดที่นำไปถวาย เช่น มหานิกายใช้สีเหลืองส้ม  ต่างจากธรรมยุตที่ใชสีกรักและเป็นผ้า 9 ขันธ์ เป็นต้น

5 สิ่งที่ต้องพิจารณา ผ้าไตรแบบไหน ที่พระภิกษุสงฆ์นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนี้

1 สี ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ

  • พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน สีพระราชทาน
  • พระสงฆ์มหานิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม สีพระราชทาน

การเลือกสีควรพิจารณาว่า นำไปถวายวัดไหน ใช้สีอะไร หรือ ถ้าไม่รู้ก็ควรเลือกสีพระราชทาน

ผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรมัสลิน
ชุดผ้าไตรจีวร

2 วัตถุประสงฆ์ในการถวายผ้าไตร ผ้าไตรแบ่งได้ 2 แบบหลักตามความต้องการใช้งาน

แบบที่ 1ผ้าไตรชุดใหญ่ ใช้สำหรับการบวชพระ ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย ใช้ในการบวชพระ

  • ฝ่ายธรรมยุตหรือเราเรียกว่าวัดป่านั้นต้องเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 9 ขันธ์ ที่มีสังฆาฏิ 2 ชั้น ประกอบด้วย7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 2 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน
  • ฝ่ายมหานิกาย จะเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 5 ขันธ์ ประกอบด้วย7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 1 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน

แบบที่ 2 ไตรอาศัย ใช้สำหรับการเพื่อผลัดเปลี่ยนในชีวิตประจำวัน ประกอยด้วย ผ้า 3 ชนิดหลัก คือ จีวร สบง อังสะ และเช่นเดิมต้องพิจารณาว่าเป็นนิกายหรือฝ่ายไหน ธรรมยุต ต้องเป็น 9 ขันธ์ สีกรักแก่นขนุน ส่วนมหานิกาย 5 ขันธ์ สีเหลืองส้ม เป็นต้น

3 ชนิดผ้า

โทเร ราคาถูกที่สุด เนื้อผ้าเหมือนเสื้อนักเรียนค่ะ ผ้านุ่มปานกลาง ระบายอากาศได้พอสมควร เหมาะกับพระที่ต้องการบวชระยะสั้น และผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย

มิสลิน หรือมัสลิน เนื้อผ้านุ่ม ระบายอากาศดี ใส่สบาย เป็นที่นิยมเนื่องจากเหมาะสมกับสภาพอากาศ ราคาปานกลาง

ซันฟอไรซ์ เนื้อผ้านุ่ม ระบายอากาศดี เนื้อผ้าหนากว่ามิสลิน มีความคงทน ราคาปานกลาง

ฝ้าย เนื้อผ้าหนานุ่ม เหมาะกับอากาศเย็น เช่นทางภาคเหนือ ราคาค่อนข้างสูง

ไหม เนื้อผ้านุ่มลื่นเป็นเงา ใช้ถวายพระภิกษุผู้ใหญ่ที่มีสมณศักดิ์ ราคาสูง

4 ขนาด

จีวรนั้นก็เหมือนกับเสื้อผ้าทั่วไป หากเราจะซื้อไปถวายควรจะเลือกซื้อขนาดที่เหมาะสมแก่ผู้สวมใส่ เราควรคำนึงถึงพระภิกษุสงฆ์ที่เราจะเลือกซื้อผ้าไตรจีวรไปถวาย  โดยคำนึงถึงความสูง ท้วมหรือสมส่วน ในการเลือกซื้อ

  • พระภิกษุที่สูงไม่เกิน 160 ซม. ควรใช้ขนาด ความสูง 190 ซม. กว้าง 315 ซม.
  • พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้ขนาด ความสูง 200 ซม. กว้าง 315 ซม.
  • พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้ขนาด ความสูง 210 ซม. กว้าง 315 ซม.
  • พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้ขนาด ความสูง 220 ซม. กว้าง 315 ซม.

ถ้าต้องการเลือกซื้อมาถวายโดยไม่เจาะจง แนะนำให้ซื้อ ขนาดผ้า 210 x 315 ซม. เป็นมาตรฐานทั่วไปแก่พระภิกษุสงฆ์

5 การตัดเย็บ

การตัดเย็บผ้าไตรจีวรนอกจากจะต้อถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว คุณภาพการเย็บก็เป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่งที่ต้องกล่าวถึง ผ้าไตรชั้นดี จะเย็บตะเข็บคู่แท้ คือเย็บ 2 รอบด้วยระยะห่างเพียง 2 มิลลิเมตร เพื่อให้ผ้าที่ออกมามีความประณีต ความแข็งแรงคงทน ใช้งานได้นานสมประโยชน์อย่างแท้จริง

เปรียบเทียบการตัดเย็บของชุดผ้าไตร ธาราญา กับ ชุดผัาไตรทั่วไป

การเลือกซื้อผ้าไตร ข้อนี้สำคัญอย่างยิ่ง อย่า พิจารณาที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียว อย่างที่ขายกันทั่วไป ในราคาไตรละ 800 – 1,000 บาท แบบนั้น ทั้งเนื้อผ้า ขนาดผืนผ้า จนถึง ขั้นตอนและฝีมือการตัดเย็บ จะตกมาตรฐานนำไปใช้ประโยชน์มิได้ เพราะของที่ถวายไปพระท่าน อาจจะนำใช้ไม่ได้ เนื่องจากขนาดไม่ได้มาตรฐาน หรือ ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผิดประสงค์ทั้งผู้ให้และผู้รับ ทำให้ความตั้งใจทำบุญ ของท่านไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

โดยผ้าไตรจีวรของ ธาราญา นั้นมีเนื้อผ้าที่มีคุณภาพ นุ่ม เนื้อผ้าหนา ซึ่งทำให้พระภิกษุสงฆ์ที่นุ่งห่มนั้นรู้สึกสะบายเวลานุ่งห่ม ไม่ระคายเคืองผิว และนอกจากนั้นผ้าไตรของธาราญาก็ยังมีการตัดเย็บที่ประณีต และมีน้ำหนักเบา เหมาะแก่ผู้ต้องการถวายผ้าไตรจีวรเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด ซึ่งผ้าไตรทั่วไปที่มีขายตามท้องตลาดนั้น เนื้อผ้าไม่ได้คุณภาพ มีการตัดเย็บที่ไม่ประณีต ไม่สามารถใช้งานได้นาน และยังระคายเคืองผิวอีกด้วย

ชุดสังฆทานและผ้าไตร อันประณีต