สังฆทาน คืออะไร มีที่มาอย่างไร ?

ประเทศไทยเรานั้นมีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอยู่หลายวันด้วยกัน เชื่อว่าหลายคนมักที่จะถือโอกาสในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานี้เข้าวัดทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต และหนึ่งในการทำบุญที่นิยมกันมากก็คือ การถวายสังฆทาน ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า สังทาน รวมไปถึงวิธีปฎิบัติในการวายสังฆทานที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดกุศลผลบุญแก่ผู้ถวายมากที่สุด

สังฆทานคือ ?

ชุดสังฆทาน คุณภาพจาก ธาราญา 

สังฆทาน ชุดเพียบพร้อม

 

สังฆทานแยกเป็น 2 คำ ได้แก่ สังฆะ” และ ทาน” โดย สังฆะ นั้นหมายถึง ภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ ทาน หมายถึง การให้, แบ่งปัน, แจกจ่ายวัตถุสิ่งของปัจจัยสี่ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เมื่อรวมความหมายแล้ว “สังฆทาน” จึงหมายถึง การถวายวัตถุปัจจัยแก่พระภิกษุโดยความตั้งใจอุทิศให้เป็นของ (หมู่พระภิกษุหรือสงฆ์ทั้งปวง) ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เป็นการสนับสนุนให้ชาวพุทธไม่นำเอาพระพุทธศาสนาไปผูกติดไว้กับบุคคล เพราะบุคคลนั้นไม่แน่นอน

ฉะนั้นแล้วการตั้งใจถวายสังฆทานแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า “ปาฏิปุคลิกทาน” เราไม่เรียกว่าเป็นการถวายสังฆทาน เพราะทานเช่นนี้ยังไม่ช่วยทำให้จิตใจห่างจากความยึดติดถือมั่น แต่กระนั้นก็ยังถือว่าเป็นทานที่ควรทำอยู่เพราะถือเป็นการฝึกให้ปัจเจกบุคคลรู้จักพัฒนาตนให้มีธรรม

การถวายสังฆทานมีที่มาอย่างไร

ในสมัยพุทธกาลพระนางมหาปชาบดี (พระแม่น้า) ต้องการถวายผ้าจีวรแก่พระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระนางถวายแก่สงฆ์ โดยอรรถาธิบายว่า การถวายแก่สงฆ์ย่อมให้อานิสงส์มากกว่าถวายแก่พระองค์เป็นการเฉพาะ ตั้งแต่นั้นมา ชาวพุทธจึงถือกันว่า การถวายสังฆทาน เป็นมหาทานที่ทำให้มีอานิสงส์มาก ได้บุญมาก

เครื่อง สังฆทาน ต้องมีลักษณะใด

ศัพท์ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ไทยทาน” หรือ “ไทยธรรม” หมายถึง ปัจจัยสี่ที่ไม่ขัดต่อสมณะภาวะ ซึ่งมีหลักพิจารณาอยู่ 5 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. สมควรไหม
2. ขัดกับพระวินัยของพระไหม
3. พระจำเป็นต้องใช้ไหม
4. มีคุณภาพดีไหม
5. เอื้อต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไหม

สังฆทาน ที่ดีควรมีหลักการเลือกอย่างไร คลิกอ่าน

สังฆทาน ประกอบด้วยทานวัตถุ 10 ประการ ดังต่อไปนี้

1. ภัตตาหาร อาหารคาว-หวานต่างๆ
2. น้ำ รวมทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณบริโภค (ชา กาแฟ น้ำผลไม้)
3. ผ้า เครื่องนุ่งห่ม
4. ยานพาหนะ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการเดินทาง รวมถึงปัจจัยค่าโดยสาร
5. มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาชนิดต่างๆ
6. ของหอม หรือธูปเทียนบูชาพระ
7. เครื่องลูบไล้ หรือเครื่องสุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกาย เช่น สบู่ เป็นต้น
8. ที่นอนอันควรแก่สมณะ
9. ที่อยู่อาศัยหรือกุฏิ เสนาสนะ และเครื่องสำหรับเสนาสนะ เช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
10. เครื่องส่องสว่าง เช่น ตะเกียง หลอดไฟฟ้า ไฟฉาย เป็นต้น

สำหรับอานิสงส์ของการถวายทานแด่พระสงฆ์ มีมากมายมหาศาล กล่าวได้โดยสังเขป คือ ผู้ถวายทานย่อมเป็นที่รักใคร่ของเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย, เป็นที่นิยมคบหา มีชื่อเสียงเกียรติคุณไปทั่ว มีสง่าราศี เป็นต้น