ทำบุญ คืออะไร และ อานิสงส์ คืออะไร มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ธาราญามีคำตอบ

ทำบุญ

ทำบุญ หมายถึงอะไร

ทำบุญ หมายถึง การชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ ในงานมงคลหรือ อวมงคล ถ้าจะทำให้ถูกต้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือความหลง

ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ

๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม

๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ

๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น

๔. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรมรวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)

๕. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจจมัย)

๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือในการทำงานก็เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)

๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น การชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนาไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดีของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)

๘. ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย)

๙. แสดงธรรม ให้ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรมนำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงามก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)

๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ ถือเป็นบุญด้วยเช่นกัน (ทิฏฐุชุกรรม)

ทั้ง 10 ข้อข้างต้นจะทำให้ได้ผลบุญมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับอีก 3 ข้อ ดังนี้

1. ผู้รับ จะต้องเป็นผู้มีศีล ไม่จำเป็นต้องเป็นพระหรือนักบวช เป็นบุคคลธรรมดาก็ได้เช่นกัน หากผู้รับมีขาดศีลจะทำให้เราได้บุญน้อย
2. สิ่งของที่ให้ต้องบริสุทธิ์หรือได้มาโดยสุจริต
3. ผู้ให้ ต้องมีจิตอันเป็นกุศล กล่าวคือ ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ ต้องตั้งใจดี

 

อานิสงส์ หมายถึงอะไร

อานิสงส์ แปลว่า คุณเป็นเนื่องไหลไหลออกเนืองๆ แห่งผล คือ ให้ผลที่น่าชื่นใจโดยยิ่ง

อานิสงส์ หมายถึงผลแห่งกุศลกรรมผลบุญ, ประโยชน์ที่เกิดจากการทำบุญ ใช้ว่า ผลานิสงส์ หรือผลอานิสงส์ ก็มี

อานิสงส์ เป็นผลผลิตจากการประกอบความดีต่างๆ ตามคติที่ว่า ทำดีได้ดี หมายความว่าเมื่อทำความดี ความดีย่อมให้อานิสงส์เป็นคุณความดีก่อน ลำดับต่อมาคุณงามความดีนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจไหลออกมาสนองผู้ทำในรูปแบบต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่ทำ เปรียบเหมือนปลูกต้นมะม่วงย่อมจะได้ผลเป็นลูกมะม่วงก่อน ต่อมาลูกมะม่วงนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจต่อไปเมื่อนำไปเป็นอาหาร นำไปแลกเป็นของหรือนำไปขายเป็นเงิน

ตัวอย่าง อานิสงส์ ถวายสังฆทาน | ถวายผ้าไตร

อานิสงส์ของการถวายผ้าไตรจีวร 

  • เป็นผู้ที่พร้อมไปด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์
  • มีแต่คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
  • หากเมื่อพบเจออุปสรรคจะสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ถวายสังฆทานเล้วได้อานิสงส์อย่างไรบ้าง

การทำบุญถวายสังฆทาน ๑ ครั้งในชีวิต และถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์มีศรัทธาแท้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า
“ผลของสังฆทานนี้จะดลบันดาลให้แก่บุคคลผู้ถวาย เกิดไปทุกชาติขึ้นชื่อว่าความยากจนเข็ญใจไม่มี ในแดนใดที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากขัดสน คนที่ถวายสังฆทานแล้วจะไม่ไปเกิดที่นั่น
การถวายสังฆทานปกติเป็นทานที่มีบุญมหาศาลอยู่แล้ว แต่ถ้าทำถูกจะได้อานิสงส์ทวีคูณประมาณมิได้

1. เครื่องสังฆทานที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ (ทรัพย์ที่จะทำบริสุทธิ์)

2. ผู้ถวายมีจิตใจ แน่วแน่ บริสุทธิ์ และเบิกบาน ในอันที่จะนึกถึงประโยชน์ในเครื่องสังฆทานที่จำเป็นต่อพระสงฆ์ ทั้งก่อนให้ เวลาให้ และหลังให้

3.พระสงฆ์ (ผู้รับ) เป็นผู้ปฎิบัติชอบ (ยิ่งหากผู้รับถวายสังฆทานเป็น พระอริยเจ้า ยิ่งเป็นพระอริยเจ้าระดับ พระอรหันต์ ยิ่งสมบูรณ์แบบมีอานิสงส์มหาศาล และยิ่งถ้าพระอรหันต์นั้นออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ ยิ่งมหาศาลเป็นทวีคูณประมาณมิได้)

สังฆทาน คุณภาพ จาก ธาราญา

ผ้าไตรจีวร ถวายสังฆทาน

ชุดสังฆทานและผ้าไตรทั้งหมด คลิกดูชุดสังฆทานและผ้าไตร

https://dharayath.com/%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%86%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%99/

ชุดผ้าไตร 9 ขันธ์ และ 5 ขันธ์

ผ้าไตร 9 ขันธ์ผ้าไตร 9 ขันธ์ | ชุดผ้าไตรจีวร 9 ขัณฑ์ นิยมวัดป่ากรรมฐาน หรือวัดแทบภาคอีสาน หรือวัดใน กทม. – 9 ขัณฑ์ ส่วนมากเป็นผ้าไตรสีแก่นขนุน/บวร & สีพระราชนิยม หรือสีพระราชทาน เช่น วัดราชบพิธ วัดบวร วัดพระรามเก้า วัดอโศกราม เป็นต้น

ผ้าไตรอาศัย ผ้ามัสลิน สีแก่นขนุน (9 ขัณฑ์)

 

 

ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ผ้าไตร 5 ขันธ์ | ชุดผ้าไตรจีวร 5 ขัณฑ์ นิยมวัดบ้าน หรือ พระสงฆ์มหานิกาย – 5 ขัณฑ์ ส่วนมากเป็นไตรจีวร “สีส้มทอง” เช่น วัดโพธิ์ วัดสระเกศ วัดปากน้ำ เป็นต้น

ผ้าไตรอาศัย ผ้ามัสลิน สีส้มทอง (5 ขัณฑ์)

 

ความแตกต่างระหว่างผ้าไตร 9 ขันธ์ และ 5 ขันธ์ คลิกอ่านบทความ

https://dharayath.com/%e0%b8%9c%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%9c%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b8%a7%e0%b8%a3-5-%e0%b8%82/