ชุดเครื่องบวชพระภิกษุสงฆ์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

ชุดเครื่องบวชพระภิกษุสงฆ์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

การบวช เป็นศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาโดยมีขั้นตอนที่จะทำให้บุคคลธรรมดาผู้นับถือศาสนาต่างๆ กลายเป็นนักบวชของศาสนาที่ตนนับถือนั้น การบวชมักประกอบไปด้วยพิธีกรรมและแบบพิธีต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนการบวชเองนั้นก็มีความแตกต่างกันไปตามศาสนาและชื่อเรียกขาน ผู้ที่กำลังเตรียมเข้าสู่การบวชเรียกว่า ผู้เตรียมบวช

ในพระพุทธศาสนา เรียกการบวชว่าการอุปสมบท (บาลี: อุปสมฺปทา) แต่เดิมนั้น การบวชเรียกว่าบรรพชา (บาลี: ปพฺพชฺชา แปลว่า เว้นทั่ว, เว้นจากความชั่วทุกอย่าง) ปัจจุบันคำว่าบรรพชาใช้กับการบวชสามเณร ในขณะที่อุปสมบทใช้กับการบวชพระภิกษุ

การบวชโดยนัยแล้วคือ การละทิ้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่เดิม สู่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ใหม่ ตามครรลองแห่งมรรค เพื่อเป็นการง่าย เพื่อเป็นการสะดวก เป็นทางอันปลอดโปร่ง แก่การบรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ คือ ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ปราศจากมิลทิน หมดจดจากความเศร้าหมอง และเป็นอิสระจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดทั้งปวง

ในสมัยพุทธกาล การบวชมี 8 อย่าง ได้แก่

  • เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นการบวชที่พระโคตมพุทธเจ้าประทานแก่พระสาวกบางองค์ด้วยพระองค์เอง ด้วยการตรัสว่า “เอหิ ภิกขุ แปลว่า เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด” พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นคนแรกและพระสุภัททะเป็นคนสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าทรงบวชด้วยวิธีนี้
  • ติสรณคมนูปสัมปทา เป็นการบวชโดยให้ผู้ขอบวชเปล่งวาจาต่อหน้าพระสาวกว่าขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสามครั้ง ปัจจุบันวิธีนี้ใช้ในการบรรพชาสามเณร
  • ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา เป็นการบวชโดยให้คณะสงฆ์ประชุมกันในอุโบสถ โดยมีพระภิกษุรูปหนึ่งแจ้งว่ามีผู้ขอบวช เมื่อประกาศครบสี่ครั้งไม่มีพระรูปใดคัดค้าน ถือว่าผู้ขอบวชได้รับการยอมรับให้เป็นพระภิกษุ
  • ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา เป็นการบวชโดยที่พระพุทธเจ้าประทานครุธรรม 8 ประการ แก่พระนางมหาปชาบดีและสตรีชาวสากยะ 500 คน เมื่อพวกนางยอมรับครุธรรมก็ได้รับสถานะเป็นภิกษุณี
  • อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา เป็นการบวชภิกษุณีโดยให้รับญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาจากภิกษุณีสงฆ์ก่อนครั้งหนึ่ง และจึงรับญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาจากภิกษุสงฆ์อีกครั้ง เมื่อผ่านการอุปสมบททั้งสองครั้งแล้วจึงเป็นภิกษุณี
  • โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทแก่พระมหากัสสปะ เมื่อท่านรับโอวาทแล้วก็เป็นพระภิกษุ
  • ปัญหาพยากรณูปสัมปทา เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาของสามเณรโสปาก
  • ทูเตนอุปสัมปทา เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงส่งทูตของพระองค์ไปบวชหญิงโสเภณีชื่ออัฑฒกาสี

ชุดเครื่องบวชพระภิกษุสงฆ์ ประกอบไปด้วย

  • ไตรครอง ประกอบด้วยอัฐบขาล 7 อย่าง    
  • ไตรอาศัย (สบง, จีวร, อังสะ)              
  • ไตรคู่สวด – อุปัชฌาย์                  
  • ชุดนาค (เสื้อครุยนาค, สบงขาว, ผ้าสไบ)           
  • บาตรครบชุด                      
  • ตาลปัตร                          
  • ย่าม                              
  • อาสนะ
  • ต้นเทียนถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
  • กรวยขมา ถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
  • ธูป เทียน แพ พาน
  • เสื่อ
  • ที่นอนพระ
  • หมอน
  • มุ้ง 
  • ผ้าเช็ดตัว – ผ้าเช็ดหน้า
  • ผ้าห่ม
  • ปิ่นโต
  • กระโถน
  • จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ
  • รองเท้าแตะ

 ประเพณีการบวช  ถือเป็นประเพณีที่เคร่งครัด เชื่อว่าการบวชสามารถอบรมให้เป็นคนดีได้

            ผู้ชายเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป มักจะบวชเรียน ก่อนเข้าพรรษา (แรม 1 ค่ำ เดือน 8) ผู้ชายจะเข้าพิธีบวชพร้อมๆ กัน และประเพณีการบวชจะมีการกวนขนมชนิดหนึ่ง คือ “ยาหนม” เป็นขนมที่ต้องมีในงานบวช

พิธีการบวช

1. ตอนเย็นก่อนบวชจะมีพิธีโกนหัวนาค ณ โรงพิธีประชุมวงฆ์ นาคทั้งหลายจะรับศีล อาราธนาพระปริตรพระสงฆ์พรมน้ำมนต์และสระผมนาค ผู้ที่โกนหัวอาจเป็นพระสงฆ์หรือพ่อแม่ จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะโกนด้วยเล็กน้อย

2. หลังจากนั้นอาบน้ำ เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวนุ่งขาว ห่มขาว เรียกว่า “เจ้านาค”

3. กลางคืนจัดให้มีพิธีสงฆ์เรียกว่า “การสวดผ้า” เจ้านาคต้องมีไตรจีวร และจะมีการทำขวัญนาคด้วยในคืนนี้

4. จะมีการแห่นาคในวันบวชวันรุ่งขึ้น แห่รอบโบสถ์ 3 รอบ เป็นการบูชาพระพุทธศาสนา ขณะที่แห่จะมีการว่าเพลง “คำตัก”

5. เมื่อครบ 3 รอบ นาคจะจุดธูปเทียน บูชาพัทธสีมา มีการกรวดน้ำ

6. หลังจากนั้นญาติจะช่วยกันอุ้มนาคเข้าอุโบสถ ห้ามเหยียบธรณีประตู พ่อแม่นาคส่งไตรครองให้นาค เพื่อถวายพระอุปัชฌาย์ ถวายพระกรรมวาจาจารย์ (พระคู่สวด) และพระอนุสาวนาจารย์ ท่านละ 3 กรวย จากนั้นกล่าวคำขอบรรพชา รับศีล 10 พระอุปัชฌาย์คล้องบาตรสะพาย พระคู่สวดจะประกาศว่าผู้ชื่อนั้นๆ ได้มาขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วตั้งคำถามเป็นข้อๆ เรียกว่า “ขานนาค”

7. เมื่อขานนาคเสร็จ นาคขออุปสมบทต่อคณะสงฆ์ คณะสงฆ์กล่าว อนุศาสน์ (ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติขณะที่บวช)

8. เมื่อจบอนุศาสน์ พระบวชใหม่ถวายของบูชาพระคุณแก่คณะสงฆ์ จากนั้นรับของถวายเครืองไทยธรรมจากญาติ ขณะเดียวกันจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา มารดา ญาติเป็นอันเสร็จพิธี

ธาราญา ชุดเครื่องบวชพระภิกษุสงฆ์

สิ่งที่จำเป็นและสำคัญสุดในการบวชพระ คือ ชุดผ้าไตรจีวร บาตรพระ ตาลปัตร ย่ามพระ 

เชิญดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สังฆทานชุด

ธาราญา เพียบพร้อมบริบูรณ์ เหมาะสำหรับ งานมงคลพิเศษ อาทิ งานบวชพระ ทำบุญบ้าน ทำบุญวันเกิด

เชิญดูรายละเอียดเพิ่มเติม