กฐิน กับ ผ้าป่า คืออะไร และต่างกันอย่างไร

กฐิน คืออะไร

กฐิน เป็นบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย

กฐิน ผ้าป่า คืออะไร?

กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น

(ที่มาข้อมูลกฐิน จาก https://news.trueid.net/detail/vWyxxKGp0ZMe)

จากข้อมูลที่ค้นหายังระบุว่าถึงการได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

ประเพณีการทอดกฐิน

ทั้งนี้ ประเพณีดังกล่าวมีมาช้านานแล้ว ทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน อีกทั้ง กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นไม่ได้ ซึ่งระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน นั่นเอง

 

มูลเหตุมีการทำบุญกฐินซึ่งมีเรื่องเล่าว่า พระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แต่จวนใกล้กำหนดเข้าพรรษาเสียก่อน จึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้ง ๆ ที่ผ้าสบงจีวรเปื้อนเปรอะ เนื่องจากระยะทางไกลและฝน ผ้าสบงจีวรจึงเปียกน้ำและเปื้อนโคลน จะหาผ้าผลัดเปลี่ยนก็ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของพระภิกษุเช่นกัน จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด

กฐิน
กฐิน

ชนิดของกฐิน ในประเทศไทย

ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของกฐิน การทอดกฐิน ได้เป็น 2 ชนิด คือ

จุลกฐิน

จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า “ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน” ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า “กฐินแล่น” (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)

มหากฐิน

มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้

การทอดกฐินในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงประทับบนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์บุษบก เสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค

กฐินหลวง

กฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น) กฐินหลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นต้น

กฐินต้น

ฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์

กฐินพระราชทาน

กฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย)

กฐินราษฎร์

ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ “บริวารกฐิน” มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย

การถวาย กฐิน เป็นกุศลผลบุญที่ใหญ่หลวง ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา หรือถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิก็ดี ปัจเจกภูมิก็ดี สาวกภูมิก็ดี สาวิกาภูมิก็ดี เมื่อมีวาสนาบารมีแก่กล้าแล้วก็จะได้สำเร็จดังมโนปณิธาน หรือความปรารถนาที่ตั้งไว้

ผ้าป่า คืออะไร

ผ้าป่า คืออะไร

“ผ้าป่า” คือ ผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเอง โดยไม่ได้ทีกี่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า “ซักผ้าป่า” ส่วนการถวายผ้าป่านิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินเรียกว่า “ทอดผ้าป่า” ความเป็นมาของพิธีทอดผ้าป่ากล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ เป็นต้น เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล้กน้อยพอแก่ความต้องการแล้วจึงนำมาซักทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อมสี เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างลำบากยุ่งยากและเป็นงานใหญ่ ภิกษุทั้งหลายจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันอย่างมาก เมื่อชาวบ้านทั้งหลายเห้นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ จึงต้องการนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาติโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้วคือ ไม่ต้องการ ก็จำนำผ้านั้นมาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าป่าจึงมีขึ้นด้วยสาเหตุนี้ การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมา แต่ในปัจจุบันนิยมทำกันในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่าง คือ

  1. ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าชนิดที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียกว่า ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน
  2. ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวมๆกันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอดกันตามวัดต่างๆที่อยู่ริมแม่น้ำ จึงเรียกว่า ผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้
  3. ผ้าป่าสามัคคี คือ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามบุคคล สถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางทีจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันหาเงินเพื่อนำไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ในปัจจุบันการจัดทำการทอดผ้าป่าชนิดนี้จะเห็นว่าเป็นที่นิยมทำกันมาก เพื่อรวมเงินสร้างสิ่งก่อสร้าง หรือจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น อาคารที่พักคนป่วยในโรงพยาบาล อาคารเรียน อุปกรณ์ทางการศึกษา อุปกรณ์ทางการแพทย์

กฐิน กับ ผ้าป่า แตกต่างกันอย่างไร

กฐิน ผ้าป่า แตกต่างกันอย่างไร

พิธีทอดกฐิน

จะทำได้เวลา 1 เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว ถึงสิ้นสุดวันลอยกระทงเท่านั้น

บุคคลรับต้องเป็นพระ-มีกาลพรรษาครบ 3 เดือน

ทอดถวายสถานที่วัดใด วัดหนึ่ง-ครั้งเดียวต่อปี วัดนั้น ต้องมีพระจำพรรษาอย่างน้อย 5 รูป

ความเชื่อของการทอดกฐิน คือ เชื่อกันว่ามีอานิสงส์สูง

พิธีทอดผ้าป่า

ทำได้ตลอดปี ไม่จำกัดเวลา บุคลล ประเภท เช่น มูลนิธิฯ ต่าง ๆ ร่วมประชาสัมพันธ์ ทอดผ้าป่าเสื้อผ้ามือสอง สำหรับน้องในชนบท เป็นต้น

ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างน้อย ควรมีพระหนึ่งรูปมาทำพิธี โดยมาชักผ้าบังสกุลนั้น (ผ้าที่แขวนกิ่งไม้ เปื้อนฝุ่น ซากศพ ไม่มีเจ้าของ เป็นต้น)

มีอานิสงส์ในการทำบุญทอดผ้าป่าหากใจเป็นกุศล

 

ผ้าป่า คืออะไร ? และมีความสำคัญอย่างไร

 

กฐินที่จัดได้เพียงปีละครั้ง ส่วนผ้าป่าจัดได้ตลอดทั้งปี และไม่ว่าจะร่วมงานประเพณีไหนก้ล้วนเป็นงานบุญที่สร้างความดีงามในจิตใจและส่งต่อให้ผู้อื่นได้อีกด้วย

(ที่มาข้อมูลความแตกต่างกฐินกับผ้าป่า จาก https://news.trueid.net/detail/vWyxxKGp0ZMe)

จะเห็นได้ว่าการถวายผ้าป่านั้นเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่อดีตและยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งของที่เราถวายให้พระสงฆนั้นจะเห็นได้ว่าในอดีตนั้นยังไม่มีการใส่ใจในเรื่องของที่มาถวายให้พระสงฆ์ เพราะยังไม่มีเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกแก่การถวายสังฆทานของพุทธศาสนิกชนหรือแม้แต่ผ้าอาบน้ำฝนหรือ ผ้าไตรจีวร แต่ในปัจจุบันนี้ ธาราญาเป็นผู้คัดสรรและจัดเตรียมสิ่งของด้วยความประณีตและตั้งใจ เพื่อให้ภิกษุใช้งานได้จริง เกิดความปิติยินดีเป็นบุญกุศลแก่ผู้ถวาย สิ่งของที่ทางเราจัดเตรียมถูกคัดสรรมาอย่างประณีตโดยคัดสรรสิ่งของที่มีคุณภาพ ผู้ถวายสามารถสบายใจได้ว่าได้ถวายสิ่งที่ดีที่สุดเหมือนจัดเตรียมด้วยตัวเอง ไม่ว่าในโอกาสใดก็สามารถจัดเตรียมให้ท่านได้เสมอ สามารถติดต่อมาได้ที่ www.dharayath.com