ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าจีวร 3 ผืน เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มของพระสงฆ์ ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม ได้แก่ สังฆาฏิ ผ้าจีวร และผ้าสบง ในการเลือกซื้อผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร จะมีอยู่ 2 จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อบรรพชาอุปสมบท หรือ เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ และในส่วนสีของผ้าไตร หรือ ไตรจีวร ก่อนที่จะซื้อเราต้องสอบถามกับทางวัดก่อนว่าทางวัดใช้ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร สีอะไร เพราะแต่ละวัดจะใช้สีไม่เหมือนกัน วันนี้เราจะมาดูส่วนของผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร กันว่ามีกี่แบบแต่ละแบบมีอะไรบ้าง
ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร โดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ
1.ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย
-จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม
-สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง
-อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม
-สังฆาฏิ : เป็นผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร แต่พระเอามาใช้พาดบ่า
-ผ้ารัดอก : ผ้าที่ใช้รัดอก เวลาพระเอาสังฆาฏิพาดบ่า เพื่อให้ดูกระชับและเรียบร้อย
-รัดประคต : คือเชือกไว้รัดสบง หมีหน้าที่เสมือนข็มขัดของพระ
-ผ้าประเคน : เป็นผ้าที่ใช้รับสิ่งของ
2.ไตรอาศัย(ใช้ในชีวิตประจำวัน) ประกอบด้วย
-จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม
-สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง
-อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม
ถ้าจุดประสงค์หลักของเราในการซื้อผ้าไตรคือซื้อเพื่อถวายแด่พระภิกษุ เราก็ต้องเลือกไตรอาศัยเพื่อนำไปถวาย
ถ้าจุดประสงค์หลักของเราในการซื้อผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร คือซื้อเพื่อถวายแด่พระภิกษุ เราก็ต้องเลือกไตรอาศัยเพื่อนำไปถวาย
สุดท้ายเราก็ต้องมาดูขนาดของผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร ว่าขนาดแบบไหนเราถึงจะสวมใส่ได้หรือขนาดไหนที่ภิกษุที่เราจะถวายให้ใส่ได้
การเลือกขนาดของผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร
พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 1.9 ม. พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.0 ม. พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.1
หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร มาถวายแก่พระภิกษุโดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้ท่านเลือกซื้อผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร ขนาดความสูง 2.0 ม.