
ประเทศไทยเรานั้นมีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอยู่หลายวันด้วยกัน เชื่อว่าหลายคนมักที่จะถือโอกาสในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานี้เข้าวัดทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต และหนึ่งในการทำบุญที่นิยมกันมากก็คือ การถวายสังฆทาน ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า สังฆทาน รวมไปถึงวิธีปฎิบัติในการวายสังฆทานที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดกุศลผลบุญแก่ผู้ถวายมากที่สุด
สังฆทาน คือ ?
สังฆทาน แยกเป็น 2 คำ ได้แก่ “สังฆะ” และ “ทาน” โดย สังฆะ นั้นหมายถึง ภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ ทาน หมายถึง การให้, แบ่งปัน, แจกจ่ายวัตถุสิ่งของปัจจัยสี่ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เมื่อรวมความหมายแล้ว “สังฆทาน” จึงหมายถึง การถวายวัตถุปัจจัยแก่พระภิกษุโดยความตั้งใจอุทิศให้เป็นของ (หมู่พระภิกษุหรือสงฆ์ทั้งปวง) ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เป็นการสนับสนุนให้ชาวพุทธไม่นำเอาพระพุทธศาสนาไปผูกติดไว้กับบุคคล เพราะบุคคลนั้นไม่แน่นอน
ฉะนั้นแล้วการตั้งใจถวายสังฆทานแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า “ปาฏิปุคลิกทาน” เราไม่เรียกว่าเป็นการถวายสังฆทาน เพราะทานเช่นนี้ยังไม่ช่วยทำให้จิตใจห่างจากความยึดติดถือมั่น แต่กระนั้นก็ยังถือว่าเป็นทานที่ควรทำอยู่เพราะถือเป็นการฝึกให้ปัจเจกบุคคลรู้จักพัฒนาตนให้มีธรรม
การถวายสังฆทานมีที่มาอย่างไร
ในสมัยพุทธกาลพระนางมหาปชาบดี (พระแม่น้า) ต้องการถวายผ้าจีวรแก่พระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระนางถวายแก่สงฆ์ โดยอรรถาธิบายว่า การถวายแก่สงฆ์ย่อมให้อานิสงส์มากกว่าถวายแก่พระองค์เป็นการเฉพาะ ตั้งแต่นั้นมา ชาวพุทธจึงถือกันว่า การถวายสังฆทาน เป็นมหาทานที่ทำให้มีอานิสงส์มาก ได้บุญมาก
เครื่องสังฆทานต้องมีลักษณะใด
ศัพท์ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ไทยทาน” หรือ “ไทยธรรม” หมายถึง ปัจจัยสี่ที่ไม่ขัดต่อสมณะภาวะ ซึ่งมีหลักพิจารณาอยู่ 5 ข้อ ดังต่อไปนี้
- สมควรไหม
2. ขัดกับพระวินัยของพระไหม
3. พระจำเป็นต้องใช้ไหม
4. มีคุณภาพดีไหม
5. เอื้อต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไหม
เครื่องสังฆทาน ประกอบด้วยทานวัตถุ 10 ประการ ดังต่อไปนี้
- ภัตตาหาร อาหารคาว-หวานต่างๆ
2. น้ำ รวมทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณบริโภค (ชา กาแฟ น้ำผลไม้)
3. ผ้า เครื่องนุ่งห่ม
4. ยานพาหนะ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการเดินทาง รวมถึงปัจจัยค่าโดยสาร
5. มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาชนิดต่างๆ
6. ของหอม หรือธูปเทียนบูชาพระ
7. เครื่องลูบไล้ หรือเครื่องสุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกาย เช่น สบู่ เป็นต้น
8. ที่นอนอันควรแก่สมณะ
9. ที่อยู่อาศัยหรือกุฏิ เสนาสนะ และเครื่องสำหรับเสนาสนะ เช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
10. เครื่องส่องสว่าง เช่น ตะเกียง หลอดไฟฟ้า ไฟฉาย เป็นต้น
สำหรับอานิสงส์ของการถวายทานแด่พระสงฆ์ มีมากมายมหาศาล กล่าวได้โดยสังเขป คือ ผู้ถวายทานย่อมเป็นที่รักใคร่ของเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย, เป็นที่นิยมคบหา มีชื่อเสียงเกียรติคุณไปทั่ว มีสง่าราศี เป็นต้น
การทำบุญ
เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการชำระใจให้บริสุทธิ์สะอาด บุญเป็นความสุขใจที่เกิดขึ้นหลังจากใครก็ตามได้ทำสิ่งที่มีคุณค่าต่อตนหรือต่อผู้อื่น การทำบุญ นั้นไม่ได้ทำแค่กับคนเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง สัตว์ และ สิ่งอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อม
คำว่า บุญ หมายถึง การชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญในงานมงคล หรืออวมงคล ถ้าจะทำให้ถูกต้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือ ความหลง และการทำบุญ คนทั่วไปมักหมายถึง การทำทานนั่นเอง เป็นการให้สิ่งของแกผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ด้วยความเต็มใจ
แต่คำว่า “บุญ” ในทางพระพุทธศาสนา มีความหมายมากกว่าการให้ ซึ่ง “บุญ” ในความหมายของทางพระพุทธศาสนา หมายถึง “ความดี” ฉะนั้นการที่เรากระทำความดี ก็ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งเช่นกัน เพราะความดีนั้นเกิดจากจิตใจที่บริสุทธิ์ เมื่อทำความดีก็จะเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์นั่นเอง
วิธีการทำบุญอย่างง่ายด้วยสังฆทานอันประณีต
วิธี การทำบุญ อย่างง่ายที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ในทุกวัน คือ
- การเอื้อเฟื้อ ให้ปัน
- การรักษาศีล
- การทำใจให้สงบ ทำปัญญา (ความรู้แจ้งเห็นจริง) ให้เกิดขึ้น
- การอ่อนน้อมหรือแสดงคารวะ
- การขวนขวายในกิจการที่ชอบที่ควร คือ ช่วยผู้อื่น หรือ ช่วยงานสาธารณะ
- การให้ส่วนบุญ คือการแบ่งส่วนบุญให้ผู้อื่น
- การพลอยยินดีในการทำความดีของผู้อื่น
- การฟังธรรมหรือฟังคำแนะนำอันเป็นธรรม
- การแสดงธรรมหรือให้คำแนะนำอันเป็นธรรม
- การทำความเห็นให้ถูกให้ตรง (ตามทำนองคลองธรรม)
ในทางพระพุทธศาสนาได้วางหลักเกณฑ์การทำบุญไว้ 3 ประการ คือ “ทาน ศีล ภาวนา” เรียก “บุญกิริยาวัตถุทาน” แปลว่า การให้ คือ ตั้งใจให้ สละให้ หรือ บริจาค ในทางพระพุทธศาสนา กำหนดวิธีการทำบุญที่เป็นทานไว้หลายอย่าง โดยมีวัตถุประสงค์ของการให้ทานดังนี้
- เพื่ออนุเคราะห์ คือ ช่วยเหลือผู้มีความต้องการ เช่น ประสบภัย หรือขาดแคลน หรือได้รับความทุกข์ยาก ด้วยความกรุณา คือคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
- เพื่อสงเคราะห์ คือ เกื้อกูลกันในระหว่างญาติเพื่อนบ้าน มิตรสหาย เป็นการแสดงไมตรีจิตต่อกัน ด้วยความเมตตา คือคิดจะให้เป็นสุข ทั้งข้อ ๑ และ ๒ เป็นการแสดงออกซึ่งความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว
- เพื่อบูชาคุณ เช่น บูชาคุณบิดา มารดา ผู้มีอุปการะอื่นๆ รวมทั้งพระภิกษุสามเณร ผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ เป็นการบูชาท่านผู้ควรบูชา
กล่าวสรุปคือ บุญเป็นทรัพย์ที่ล้ำค่ากว่าเงินทองเพราะเป็นทรัพย์ที่แม้เราสิ้นลมหายใจไปแล้วบุญที่ได้สั่งสมมาก็จะติดตัวไปไม่มีวันหมด “เปรียบเสมือนเครื่องชำระจิตใจให้ใสสะอาด และเป็นบ่อเกิดของความสุขทางใจ บุญกุศลนั้นอุทิศกันได้ แต่ทำให้กันไม่ได้ ดังนั้นต้องหมั่นสร้างเอง และไม่มีสิ่งใดจะเป็นที่พึ่งให้แก่เราได้เท่ากับบุญกุศล”
การดูดวง หรือ Horoscope
ดวงชะตา หมายถึง เกณฑ์ที่กำหนดชีวิตของคน หรือสัตว์ ตลอดจนบ้านเมือง อาจกล่าวว่า ดวงชะตา ของแต่ละบุคคล แต่ละชีวิต หรือแต่ละสถานที่ย่อมมีความแตกต่างกันไป ตามช่วงเวลา ระยะเวลาที่ชีวิต หรือสิ่งเหล่านั้นกำเนิดขึ้นรวมถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ก็มีผลต่อ การดูดวง ชะตา เช่นกัน จะเห็นว่าหลาย ๆ คนนิยมเช็คดวงชะตา ของตนเอง หรือสภาพแวดล้อมที่ตนเองอาศัยอยู่ เพื่อที่จะได้ทราบถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งที่มองเห็นด้วยตาเปล่า และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรืออาจย้อนไปอดีต มองถึงอนาคต ซึ่งสมัยก่อน กษัตริย์ไทยทุกพระองค์จะมีโหราศาสตร์คอยตรวจสอบฤกษ์ยาม ซึ่งเรียกว่า โหราศาสตร์
โหราศาสตร์ หรือ Astrology
เป็นศาสตร์หนึ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์เพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการทำนายอนาคต หรือ โชคชะตาของมนุษย์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง และของโลก โดยอาศัย เวลา และ ตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้า แต่ทางวิทยาศาสตร์นั้นมีการทดลอง พิสูจน์ได้ และสามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีได้
การดูดวงนั้นเป็นความเชื่อและเป็นเรื่องคู่กันมายาวนานกับคนไทย เนื่องจากหากคนเราขาดความเชื่อแล้วนั้นจะทำให้หมดศรัทธาในทุกสิ่ง การดูดวงจึงถือว่าเป็นสิ่งที่คนไทยนิยมดูกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ซึ่งการดูดวงมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการดูลายมือ การดูไพ่ยิปซี การดูผ่านตำราดวงชะตาวันเกิด หรือดูผ่านจิตสัมผัส ซึ่งบางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องที่งมงาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตของคนที่เกิดมานั้นจะต้องผ่านการดูดวงมาแล้วทั้งสิ้นอย่างน้อยที่สุดคือหนึ่งครั้ง ซึ่งบางคนนั้นเป็นคนยุคใหม่และไม่สนใจเรื่องประเภทนี้ แต่ก็เลือกที่จะดูเพื่อความสบายใจของตนเองและครอบครัว ซึ่งคนที่ชอบดูดวงนั้นมีเหตุผลที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
- ต้องการรู้อนาคตซึ่งแน่นอนว่าคนที่ดูดวงนั้นต้องการที่จะรู้อนาคตของตนเองว่าเป็นเช่นไร จะเดินทางไปในทิศทางไหน และจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนเองตั้งใจและหวังไว้หรือไม่ ในบางครั้งหากเจอหมอดูที่แม่น ก็จะทำนายทายทักได้ถูกต้องหรือไม่ก็ใกล้เคียง
- ต้องการเสริมบารมีสำหรับบางคนนั้นที่เป็นเจ้าใหญ่นายโต จำเป็นที่ต้องอาศัยดวง หรือโหงวเฮ้งต่าง ๆ เพื่อให้หน้าที่การงานประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี ซึ่งในบางครั้งอาจมีดวงของปีชงทำให้ต้องมีการแก้ชะตาราศี หรือแก้เคล็ดเกิดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามที่ถูกที่ควร เพื่อความสบายใจของผู้ดูดวงนั้นเป็นหลัก
- ต้องการพ้นจากทุกข์ที่เป็นอยู่สำหรับบางคนนั้นต้องการดูดวงเนื่องจากจิตใจเป็นทุกข์หม่นหมอง จึงหาวิธีที่จะทำให้ตนเองสบายใจขึ้นและคลายทุกข์โดยการพึ่งพาทางไสยศาสตร์ หรือดูเพื่อต้องการหาต้นตอและสาเหตุของการเกิดปัญหาเหล่านั้น และส่วนมากสิ่งที่หมอดูแนะนำให้ทำคือไปทำบุญปล่อยสัตว์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับเป็นเรื่องดีทั้งสิ้น
- ต้องการมีที่พึ่งทางใจเนื่องจากคนไทยนั้นมีความเชื่อเรื่องศาสนาค่อนข้างมาก และเวลาที่มีความทุกข์หรือสุขนั้น สิ่งแรกที่จะนึกถึงก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นอันดับแรก ทำให้การดูดวงนั้นจึงเป็นที่นิยมของคนที่ต้องการมีที่พึ่งทางจิตใจ เพื่อให้รู้ว่าตนเองจะต้องทำอะไรและจะต้องดำเนินชีวิตไปในทิศทางใด
ดังนั้นการดูดวงจึงเป็นความเชื่อ ความชอบในส่วนบุคคลเท่านั้น ซึ่งการดูดวงนั้นก็เป็นวิธีการ “คลายทุกข์” ได้อย่างหนึ่งของคนที่กำลังสิ้นหวังหรือหาทางออกไม่เจอ แต่ขอบอกไว้ก่อนว่า การดูดวง นั้น ดูได้ เชื่อได้ แต่อย่างมงาย
การเสริมดวงเป็นความเชื่อ และเป็นวิธีแก้เคล็ดสำหรับคนที่กำลังเครียด ดวงตก หรืออยากทำให้ชีวิตดีขึ้นมากกว่าเดิม ซึ่งในการ เสริมดวง นั้นก็มีหลากหลายวิธี หลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ว่าคนที่ต้องการเสริมดวงนั้นอยากเสริมดวงในด้านไหน และสะดวกที่จะเสริมดวงของตัวเองด้วยวิธีไหน วันนี้เราจะมาบอกเคล็ดลับการเสริมดวงแบบง่ายๆ เผื่อเราจะดวงดี ดวงเฮงขึ้น…………
พระสีวลี
หาโอกาสไปกราบไหว้พระสีวลีที่วัดไหนก็ได้ตามที่เราสะดวก พระสีวลีนั้นเป็นเอตทัคคาโชคลาภ ท่านเป็น 1 ใน 80 ศิษย์เอกของพระพุทธเจ้า เมื่อไปกราบไหว้ขอพรจากพระสีวลี ชีวิตจะมีโชคดีขึ้น และมีความราบรื่นก้าวหน้า มีเงินมีทองเพิ่มพูนมากขึ้น เสริมดวง ไปในตัว
ยักษ์และราหู
ไม่ควรมีรูปภาพ หรือรูปปั้นยักษ์และราหูประดับตกแต่งภายในบ้าน เพราะจะทำให้คนในบ้านทะเลาะเบาะแว้งกัน มีแต่เรื่องร้อน ๆ ขาดโชคขาดลาภ พลังของวิญญาณ อย่านำโปสเตอร์ รูปภาพหนังผี คนบาดเจ็บจากนิตยสารที่มีแต่ความน่ากลัวมาติดผนังบ้าน หรือรูปคนตายมาติดประดับไว้ที่ห้อง (ยกเว้นภาพถ่ายบุคคลในครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้ว) หลีกเลี่ยงภาพน่ากลัว หรือดูดุร้าย เพราะล้วนเป็นแหล่งเรียกคลื่นพลังงานที่ไม่เป็นมงคล จะทำให้โชคลาภหดหาย คนในบ้านจะมีแต่เรื่องร้าย ๆ เกิดขึ้น เกิดอุบัติเหตุ
กระเป๋าสตางค์
กระเป๋าสตางค์ควรเปลี่ยนใบใหม่เสมอในวันขึ้นปีใหม่ และใส่เงินจำนวน 900 หรือ 9,000 ในกระเป๋าไว้สักวัน หรือหนึ่งวันหนึ่งคืนเต็มๆ เพื่อเป็นการเอาเคล็ด เอาฤกษ์ เพื่อให้กระเป๋าใบนั้นเป็นกระเป๋าที่ดี เรียกเงินเรียกทอง เข้ากระเป๋าได้มาก ๆ มีเก็บมากกว่าจะต้องควักออกไป และทุกครั้งที่รับเงินสดเข้ามา ควรนำเงินมาใส่กระเป๋าเอาไว้ก่อน เพราะบางคนอาจจะนำไปฝากธนาคารเลย ซึ่งถ้าจะเอาเคล็ดเรียกโชคกันจริง ๆ ตามความเชื่อของคนเฒ่าคนแก่ เราควรเอาเงินเก็บใส่กระเป๋าสตางค์ไว้ก่อนเอง
เตียงนอน
อย่าตั้งเตียงนอนโดยเอาหัวเตียงหันไปชนกับผนังห้องน้ำ เพราะจะทำให้เสื่อมโชค อับโชค อย่าตั้งเตียงนอนโดยหันปลายเตียงเล็งตรงกับประตูทางเข้าพอดี เพราะจะทำให้ฝันร้ายและอับโชคเช่นกัน
สุนัข และแมวจรจัด
แบ่งอาหารและน้ำให้แก่สุนัข หรือแมวจรจัดที่หิวโหยบ้าง ในวันฝนตกก็อนุญาตให้สัตว์จรจัด เข้ามาหลบฝนในชายคาบ้าน การทำบุญทำทานกับสัตว์นั้นให้อานิสงส์ผลบุญแก่ตัวเราได้อย่างมหาศาล
ห้องครัว
ดูแลปัดกวาดเช็ดถูและจัดข้าวของเครื่องใช้ในครัวให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้ครัวสกปรก เพราะครัวเป็นขุมพลังของบ้าน บ้านที่ปล่อยให้ครัวสกปรกจะอับโชค เงินทองหามาได้ก็ต้องจ่ายออกไป เจริญรุ่งเรืองช้านัก
ผ้าเช็ดหน้า
อย่าให้ของขวัญคนรัก หรือเพื่อนสนิทเป็นผ้าเช็ดหน้า เพราะถือว่าเป็นลางไม่ดี ถือเป็นของขวัญอับโชค มอบให้กันแล้วจะมีเรื่องต้องพลัดพรากจากกัน หรือมีเรื่องต้องเมินหมางห่างเหินกันไป
กระจก
ขัดถูกระจกในบ้านให้สะอาดใสอยู่เสมอ ถ้าปล่อยให้กระจกขุ่นมัวเป็นประจำ ดวงชะตาของคนในบ้านจะหม่นหมองทำอะไรไม่ขึ้น
วันบริสุทธิ์
วันที่ควรงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์กับคู่รัก คือวันโกน วันพระ วันเกิด และวันเข้าพรรษา ตามธรรมเนียมโบราณนิยมปฏิบัติกันเช่นนี้ เพื่อให้เทวดาคุ้มครองรักษาตลอดไป
เหรียญนำโชค
เมื่อเจอเงินตกอยู่ตามทางเดิน แม้จะเป็นเพียงเหรียญบาทก็ให้เก็บเอาไว้ ให้ถือเสมือนเป็นเหรียญนำโชค การเดินผ่านเลยไป เพราะเห็นว่าเป็นเพียงเหรียญบาท เหรียญสลึงนั้น ถือเป็นการดูถูกเงินทอง ไม่เห็นคุณค่าของเงิน คนเฒ่าคนแก่เชื่อกันว่ามันจะทำให้คุณอับโชคทั้งวัน หรือในช่วง 3-7 วันนั้น
แหวนเสริมดวง
เลือกสวมแหวนที่ถูกโฉลกกับเดือนเกิด หรือวันเกิดเพื่อเสริมโชคดีให้ชีวิต ถ้าอยาก เสริมดวง การเงิน ควรสวมแหวนทอง แหวนเงิน แหวนหยก และแหวนหัวพลอยสีที่ถูกโฉลก ถ้าอยากเสริมดวงความรัก ให้สวมแหวนรูปหัวใจ รูปดาว เลือกแหวนเพชรหรือเทอร์ควอยส์ก็ได้ วงแหวนลูกปัดและหินสีต่าง ๆ – จะช่วยเสริมดวงเสน่ห์การสวมแหวน สวมแหวนนิ้วกลางขวา เสริมดวงการเงินและบารมี สวมแหวนนิ้วนาง นิ้วก้อย เสริมเสน่ห์ และเสริมดวงความรัก
ทำบุญโลงศพ
ไปที่มูลนิธิใกล้บ้าน ทำบุญบริจาคเงิน ร่วมกันซื้อโลงศพให้ศพอนาถาที่ไร้ญาติ การทำบุญโลงศพจะช่วยเสริมดวงชะตาให้กล้าแข็ง เหมาะสำหรับช่วงดวงอ่อน และมีทุกข์ มีเคราะห์
พระพรหมศักดิ์สิทธิ์
หาโอกาสไปกราบไหว้พระพรหมสักครั้ง ถ้าอยู่ที่กรุงเทพ ก็ไปไหว้ที่หัวมุมสี่แยกราชประสงค์โรงแรมเอราวัณก็ได้ หรือที่ศาลพระพรหมแห่งใดก็ได้ทั้งนั้น พระพรหมเป็นเทพศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวขวัญกันมากว่า บนบานอธิษฐานขออะไรมักได้ดังปรารถนา ด้วยว่าท่านเป็นเทพแห่งความสำเร็จนั่นเอง
หิ้งพระ
หิ้งพระ หรือหิ้งบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเทพต่าง ๆ หรือ ร.5, ในหลวงของเรา เมื่อตั้งหิ้งบูชาแล้วจะต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ หมั่นเปลี่ยนดอกไม้ พวงมาลัยถวายน้ำสะอาด ถ้าปล่อยให้หิ้งสกปรก มีแต่ฝุ่นจับเต็มไปหมด บ้านนั้นจะมีแต่ความเสื่อมถอย โชคลาภหดหาย ยากที่จะเจริญรุ่งเรือง
ไข่และส้ม
ในบ้านเรือนควรมีไข่ และมีส้มไว้ในตะกร้าเสมออย่าให้ขาด เพื่อเรียกความสมบูรณ์พูนสุขเข้าบ้าน ทำให้ชีวิตอยู่ดีมีสุขตลอดไป ไข่และส้มเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และความโชคดี
ผ้าไตร หลายคนอาจสงสัยว่าคืออะไร ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับผ้าไตร ก่อนที่จะซื้อผ้าไตรถวายพระหรือนำไปทำบุญ
ผ้าไตร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร
คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง
ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย
- ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์
- ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก
- สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า
ผ้าไตร ส่วนใหญ่มักนิยมเรียกย่อๆ ว่า ไตร ไตรเต็ม หรือ ไตรแบ่ง
ไตรเต็ม คือ ผ้าไตรที่จัดรวมกันไว้เป็นชุดครบทั้ง 3 ผืน เหมือนผ้าไตรที่นิยมวายกันโดยทั่วไป บางโอกาสอาจจะเพิ่ม กายพันธน์ ผ้าอังสะ ผ้ารัดอก และผ้ากราบ
- กายพันธน์ คือ ผ้าประคดรัดเอว (รัดประคด)
- ผ้าอังสะ คือ ผ้าที่มีลักษณะคล้ายเสื้อใช้คล้องไหล่เฉียงบ่าปิดไหล่ซ้าย พระจะใช้เมื่อเวลาอยู่ที่วัดตามลำพัง (ไม่ต้องห่มจีวรคลุมร่างทั้งผืน)
- ผ้ารัดอก ใช้สำหรับรัดจีวรเมื่อเวลาห่มดอง
- ผ้ากราบ ใช้สำหรับรองเมื่อเวลากราบและใช้ปูรับของเมื่อเวลาผู้หญิงประเคนของถวาย
ไตรแบ่ง คือ ผ้าไตรที่จัดไว้ไม่ครบ 3 ผืน มีเฉพาะผ้าจีวรกับผ้าสบงรวมกันแค่ 2 ผืน ไม่มีผ้าสังฆาฏิ ไตรแบ่งนี้จะใช้ในกรณีบรพชาเป็นสามเณร เพราะสารเณรไม่ใช้ผ้าสังฆาฏิ และนิยมจัดถวายพระตามความจำเป็น เพราะผ้าสังฆาฏิมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าและใช้น้อยกว่าผ้าผืนอื่น
การ ทำบุญวันเกิด นั้น เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำเป็นตัวอย่างเมื่อครั้งยังทรงผนวช ไม่ใช่ทำอย่างจีนหรือฝรั่ง โดยมีพระราชดำริว่า
“การที่คนเรามีอายุวนมาบรรจบครบรอบอีกครั้ง โดยไม่ตายไปเสียก่อน ถือเป็นลาภอันประเสริฐ จึงควรยินดี บำเพ็ญกุศลและ ทำบุญวันเกิด ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ให้สมกับที่มีน้ำใจยินดี และไม่ประมาท เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าจะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่ ถึงวันเกิดปีหนึ่งเป็นที่เตือนใจครั้งหนึ่ง ให้รู้สึกว่าอายุล่วงไปต่อความตายอีกก้าวหนึ่ง เมื่อรู้เช่นนั้น จะได้บรรเทาความมัวเมาประมาทในชีวิตเสียได้”
จึงทำให้เกิดการ ทำบุญวันเกิด ขึ้นเรียกว่า เฉลิมพระชนมพรรษา ขึ้น โดยมีการสวดมนต์เลี้ยงพระจำนวน 10 รูป และถวายสิ่งของแก่พระสงฆ์ เป็นการทำแบบเงียบๆ ต่อมาก็มีเจ้านาย ขุนนางทำบุญวันเกิดกันชุกชุมขึ้น และสืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อในสมัยพุทธกาลด้วยว่า สมัยนั้นมีสามีภรรยาพาลูกน้อยไปหาพราหมณ์ แต่พราหมณ์ทักว่าเด็กน้อยจะเสียชีวิตภายใน 7 วัน และแนะนำให้ทั้งสองคนพาลูกน้อยไปหาพระพุทธเจ้า โดยพระองค์ได้ออกอุบายนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระปริตร ตลอด 7 วันอันตราย เมื่อถึงเวลาที่ภัยจะมาทำร้ายก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เนื่องจากเด็กน้อยนอนฟังสวดพระปริตรอยู่ และด้วยพุทธานุภาพ ทำให้เด็กคนนั้นมีอายุยืนยาวถึง 120 ปี
วิธีการปฏิบัติในการทำบุญวันเกิด
อาจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างก็ได้ ดังนี้
- ตักบาตรพระสงฆ์เท่าอายุ หรือเกินกว่าอายุ หรือกี่รูปก็ได้ตามสะดวก
- บำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่บรรพบุรุษ ที่เรียกว่า ทักษิณานุประทานก่อนแล้วจึงบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเกิด
- ทำบุญ สวดมนต์ เลี้ยงพระ หรือมีพระธรรมเทศนาด้วย
- ถวายสังฆทาน
- ทำทานช่วยชีวิตสัตว์ เช่น ปล่อยนก ปล่อยปลา หรืออื่นๆ หรือบริจาคเงินเพื่อไปบำรุงโรงพยาบาล กิจกรรมด้านสังคมสงเคราะห์ และอื่นๆ อีกมากมาย
- รักษาศีลหรือบำเพ็ญภาวนา
- กราบขอพรจากบิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ
- บำเพ็ญคุณประโยชน์อื่นๆ โดยมุ่งที่การให้ มากกว่าการรับ
ของทำบุญวันเกิดในแต่ละวัน
- ท่านที่เกิดวันอาทิตย์ หลอดไฟ ไฟฉาย เทียน ธูป อุปกรณ์แสงสว่าง แว่นตา หมาก-พลู
2. ท่านที่เกิดวันจันทร์ ของที่เกี่ยวกับน้ำ เช่น แก้วน้ำ แจกัน ของที่มีลักษณะโปร่ง ใส3. ท่านที่เกิดวันอังคาร กรรไกร ยาสีฟัน แปรงสีฟัน พัดลม กรรไกรตัดเล็บ หรือของที่เกี่ยวกับโลหะ
4. ท่านที่เกิดวันพุธ (กลางวัน) สมุด กระดาษ ปากกา ดินสอ อุปกรณ์การศึกษา
5. ท่านที่เกิดวันพุธ (กลางคืน) พัดลม เทปธรรมะ ยาแก้โรคลม ยาหอม ไมโครโฟน เครื่องขยายเสียง
6. ท่านที่เกิดวันพฤหัสบดี สบง จีวร หนังสือธรรมะ ตู้ยา โต๊ะหมู่บูชา หมอน 1 คู่ อาสนะ7. ท่านที่เกิดวันศุกร์ ของเป็นคู่ ธูปหอม กำยาน หรือพวกเครื่องหอมต่าง ๆ
8. ท่านที่เกิดวันเสาร์ ซื้อที่ดินถวายวัด ร่ม กระเบื้องมุงหลังคา ถวายปัจจัยบำรุงกุฏิ ห้องน้ำพระสงฆ์
ราหูเป็นดาวเคราะห์ที่ปกติจะย้ายในทุกๆ 1 ปีครึ่ง ซึ่งมีความเชื่อกันว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ราหูย้าย จะส่งผลต่อดวงชะตาของคนทั้ง 12 ราศี ซึ่งก็จะมีทั้งส่งผลให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ดวงดีขึ้น สิ่งต่าง ๆ ราบรื่นมากขึ้น พ้นทุกข์ พ้นเคราะห์ หรือในทางกลับกันจะทำให้ชีวิตพบเจอแต่ความวุ่นวาย เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ลุ่มหลง มัวเมาไปกับสิ่งไม่ดีต่าง ๆ
ของไหว้
เนื่องจากดาวราหูมีเลข 8 เป็นสัญลักษณ์ และมีกำลังเท่ากับ 12 ดังนั้นของ ไหว้ราหู จึงต้องเป็น 8 หรือ 12 อย่าง/ชนิด และต้องประกอบไปด้วยของคาว ของหวาน ผลไม้ และเครื่องดื่มที่มีลักษณะเป็นสีดำที่ปรุงสุกแล้ว สามารถนำมารับประทานหรือดื่มได้ โดยของดำที่นิยมนำมาบูชาราหู ได้แก่
- ไก่ดำต้ม
- ปลาดุกย่าง
- เหล้าดำ
- กาแฟดำ
- เฉาก๊วย
- น้ำโค้ก (หรือน้ำอัดลม/น้ำหวานที่เป็นสีดำ)
- ซุปไก่
- งาดำ
- ถั่วดำ
- ข้าวเหนียวดำ
- สาหร่ายดำ
- ไข่เยี่ยวม้า
นอกจากนี้ต้องเตรียมน้ำเปล่า 1 ถ้วย พร้อมด้วยดอกไม้สีดำ และธูปตามจำนวนของที่ไหว้ด้วยนะคะ เช่น หากไหว้ 8 อย่าง/ชนิด ก็ใช้ธูป 8 ดอก (หากสามารถหาธูปดำได้ก็จะยิ่งดี)
**หมายเหตุ: ของไหว้สามารถเลือกจัดสรรได้ตามความเหมาะสมและตามความสะดวกของแต่ละคน
ขั้นตอนในการไหว้คือ
- ให้หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
- ควรไหว้ตั้งแต่เวลา 05 น. เป็นต้นไป
- จุดธูปเทียน พร้อมเริ่มด้วยการตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยการท่องบทสวด ดังนี้
บทสวดบูชาพระราหู
“กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิสังวิคคะรูโป อาคัมมะกินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติกินนุ สันตะระมาโน วะราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติสัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติ”
พระคาถาสุริยะบัพพา
“กุสเสโตมะมะ กุสเสโตโต ลาลามะมะโตลาโม โทลาโมมะมะ โทลาโมมะมะโทลาโมตัง เหกุติมะมะ เหกุติฯ”
พระคาถาจันทรบัพพา
“ยัตถะตังมะมะ ตังถะยะ ตะวะตังมะมะตัง วะติตัง เสกามะมะกาเสตัง กาติยังมะมะ ยะติกาฯ”
คำถวายของบูชาพระราหู
“นะโมเม พระราหูเทวานัง ธูปะทีปะ จะปุปผัง สักการะวันทะนัง สูปะพะยัญชะนะ
สัมปันนัง โภชะนานัง สาลีนัง
สะปะริวารัง อุทะกังวะรัง อาคัจฉันตุ
ปะริภุญชันตุ สัพพะทา หิตายะ
สุขายะ พระราหูเทวา มะหิทธิกา
เตปิอัมเห อะนุรัก ขันตุ
อาโรคะ เยนะ สุเขนะจะ”
“ข้าแต่พระราหู เทพแห่งโชคลาภอันศักดิ์สิทธิ์ที่สูงสุด ข้าขอบูชาท่านด้วยของดำ (8 หรือ 12 อย่าง) ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากโรคภัย และอันตรายใด ๆ ขอให้ท่านประทานพร โชคลาภ ความร่ำรวย ทั้งหลายทั้งปวง ให้แก่ข้าพเจ้า ด้วยเทอญ…….”
คาถาบูชาพระราหู (ท่อง 12 จบ)
“คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ”
จากนั้นกล่าว ชื่อ นามสกุล ขอบูชาพระราหูด้วยของดำ (8 หรือ 12 อย่าง) ขอให้อิทธิพลของดาวราหูจงส่งผลดีแก่ดวงชะตาของข้าพเจ้า ขอให้ได้พบเจอแต่กัลยาณมิตรที่ดี ขอให้มีสุขภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคร้ายใดๆ ขอให้เกิดความสุขในครอบครัว ขอให้ดาวราหูประทานพรโชคลาภและความสำเร็จแก่ข้าพเจ้า อธิษฐานเรื่องอื่นๆ ที่ปรารถนา…….
คาถาลาของไหว้
เมื่อธูปใกล้หมดให้ลาของไหว้ และสวด “เสสัง มังคะลา ยาจามิ” จากนั้นสามารถนำของไหว้มารับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคลได้เลยค่ะ หรือจะนำไปอาบไปดื่มก็ได้ โดยก่อนรับประทานหรือนำไปดื่มไปอาบให้ท่องคาถา “คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ” (ตามแบบฉบับของวัดศีรษะทอง ต้นตำรับการ ไหว้ราหู)
ผ้าป่า คือ ผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเองโดยไม่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า “ชักผ้าป่า” ส่วนการถวายผ้าป่านิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินเรียกว่า “ทอดผ้าป่า”
การทอด ผ้าป่า จัดเป็นการทำบุญที่นิยมกันมากในปัจจุบัน โดยมีชื่อเรียกตามลักษณะการรวมกันของเครื่องบริวาร หรือตามวัตถุประสงค์ของการทำบุญที่เกี่ยวกับงานที่จัดขึ้น วิธีการทอดผ้าป่านั้นไม่จำเป็นต้องนำผ้าไปวางทิ้งหรือทอดไว้ในป่าอีกเพราะขยายจากการทอดผ้า เป็นเงินหรือสิ่งของที่บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์โดยปรับเปลี่ยนให้เข้าตามยุคตามสมัยสังคม ถือตามความสะดวกของสาธุชนผู้มาร่วมประกอบพิธี ซึ่งถือว่าได้อุปโลกน์เป็นผ้าป่าไปแล้ว
ประเภทของ ผ้าป่า
ในปัจจุบันประเภทของผ้าป่ามีชื่อเรียก 3 อย่าง คือ
- ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน หรือเรียก ผ้าป่าแถมกฐิน
- ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่ามราจัดทำรวมๆ กันหลายๆ กอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอด ตามวัดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำ จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้
- ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตาม สถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอด จะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัด บางที่ก็มีจุดประสงค์เพื่อหาเงินไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นต้น
พิธีทอด ผ้าป่า
เจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์ที่จะทอดผ้าป่ากับทางเจ้าอาวาส เรียกว่า เป็นการจองผ้าป่า และทำกากำหนดเวลา จากนั้นก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งที่การทอดผ้าป่าต้องมี คือ ผ้า กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า ให้อุทิศถวาย ไม่เจาะจงพระรูปใด รูปหนึ่ง
การตั้งองค์ผ้าป่า
เจ้าภาพต้องจัดหาผ้าสำหรับพระภิกษุมาผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง 3 อย่าง แล้วแต่ศรัทธา จากนั้นให้นำกิ่งไม้ไปปักไว้ในภาชนะที่มีขนาดพอสมควร เพื่อใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะนำไปถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบน้ำฝน สมุด ดินสอ เป็นต้น ในส่วนของปัจจัย (เงิน) นิยมนำไปเสียบไว้กับต้นกล้วยที่มีขนาดเล็กในกองผ้าป่า
การนำผ้าป่าไปทอด
ในปัจจุบันการทอดผ้าป่านับว่าเป็นงานค่อนข้างใหญ่ ต้องมีการจองผ้าป่า เพื่อแจ้งให้ทางวัดทราบกำหนดการต่างๆ จะได้จัดเตรียมการต้อนรับ เมื่อถึงกำหนด ก็จะมีการแห่องค์ผ้าป่ามาเป็นกลองยาว แตวง อย่างครึกครื้น สนุกสนาน บ้างก็อาจจะมีการละเล่นพื้นบ้าน หรือร่วมร้องเพลง รำวงกัน
การทอดผ้าป่า
นำผ้าป่าไปวางตรงหน้าพระภิกษุสงฆ์ กล่าวถวายผ้าป่า พระสงฆ์รูปหนึ่งก็จะลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสกุลที่องค์ผ้าป่า โดยกกล่าวคำปริกรรมว่า “อิมัง ปังสุกล ละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ” แปลเป็นใจความได้ว่า “ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า ต่อจากนั้นพระสงฆ์ จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล เป็นอันเสร็จพิธี”
ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าจีวร 3 ผืน เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มของพระสงฆ์ ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม ได้แก่ สังฆาฏิ ผ้าจีวร และผ้าสบง ในการเลือกซื้อผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร จะมีอยู่ 2 จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อบรรพชาอุปสมบท หรือ เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ และในส่วนสีของผ้าไตร หรือ ไตรจีวร ก่อนที่จะซื้อเราต้องสอบถามกับทางวัดก่อนว่าทางวัดใช้ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร สีอะไร เพราะแต่ละวัดจะใช้สีไม่เหมือนกัน วันนี้เราจะมาดูส่วนของผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร กันว่ามีกี่แบบแต่ละแบบมีอะไรบ้าง
ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร โดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ
1.ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย
-จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม
-สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง
-อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม
-สังฆาฏิ : เป็นผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร แต่พระเอามาใช้พาดบ่า
-ผ้ารัดอก : ผ้าที่ใช้รัดอก เวลาพระเอาสังฆาฏิพาดบ่า เพื่อให้ดูกระชับและเรียบร้อย
-รัดประคต : คือเชือกไว้รัดสบง หมีหน้าที่เสมือนข็มขัดของพระ
-ผ้าประเคน : เป็นผ้าที่ใช้รับสิ่งของ
2.ไตรอาศัย(ใช้ในชีวิตประจำวัน) ประกอบด้วย
-จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม
-สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง
-อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม
ถ้าจุดประสงค์หลักของเราในการซื้อผ้าไตรคือซื้อเพื่อถวายแด่พระภิกษุ เราก็ต้องเลือกไตรอาศัยเพื่อนำไปถวาย
ถ้าจุดประสงค์หลักของเราในการซื้อผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร คือซื้อเพื่อถวายแด่พระภิกษุ เราก็ต้องเลือกไตรอาศัยเพื่อนำไปถวาย
สุดท้ายเราก็ต้องมาดูขนาดของผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร ว่าขนาดแบบไหนเราถึงจะสวมใส่ได้หรือขนาดไหนที่ภิกษุที่เราจะถวายให้ใส่ได้
การเลือกขนาดของผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร
พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 1.9 ม. พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.0 ม. พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.1
หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร มาถวายแก่พระภิกษุโดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้ท่านเลือกซื้อผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร ขนาดความสูง 2.0 ม.
เมื่อเรารู้จุดประสงค์ สี ชนิด และขนาด เรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถเลือกซื้อผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร ได้อย่างถูกต้อง
ผ้าไตรธรรมยุตหรือที่เราเรียกกันว่า วัดป่า นั้นจะต้องเป็นผ้าไตรครองชุดใหญ่ 9 ขันธ์ หรือไตรเต็ม 9 ขันฑ์ ที่มีสังฆาฏิ 2 ชั้น ประกอบไปด้วย 7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 2 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน
ผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรธรรมยุตที่นิยมใช้โดยทั่วไป มี 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
ผ้าโทเร
ผ้าโทเรนั้นจะมีลักษณะเป็นผ้าบาง มีส่วนผสมของ Polyester 65% และ Cotton 35% ใส่สบาย ระบายอากาศได้ดีมาก เพราะเป็นผ้าบางดูแลง่าย ซึมซับเหงื่อได้ดีระดับหนึ่ง เหมาะสำหรับใช้ตัดเป็นเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม ราคาไม่แพง จะไม่ทนทานเท่าผ้ามัสลิน
ผ้ามัสลิน
ผ้ามัสลินนั้นจะมีราคาแพงกว่าผ้าจีวรที่ตัดเย็บด้วยเนื้อผ้าโทเร หรือผ้าฝ้าย ด้วยเหตุผลที่ว่าผ้ามัสลิน เป็นเนื้อผ้าที่บางเบา ห่มแล้วสบาย เวลาอากาศร้อนผ้าจะเย็น เวลาอากาศเย็นก็เก็บไอร้อนจากตัวไว้ได้ดี ซักแล้วแห้งง่าย แถมยังทนทาน เนื้อผ้าทิ้งตัว ไม่ยับง่าย อีกทั้งยังเป็นผ้าที่สามารถนำกลับมาย้อมใหม่ได้ ผ้าที่พระภิกษุนิยมห่ม ได้แก่ ผ้ามัสลินแน่นอน เมื่อเป็นที่นิยมก็มักมีราคาที่แพง ผ้ามีคุณสมบัติไม่ยับง่าย ซับเหงื่อ แห้งไว ทนทาน ห่มแล้วเรียบร้อย สวยงาม ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเป็นสาเหตุให้ผ้าไตรจีวรที่ตัดเย็บด้วยผ้ามัสลิน จึงมีราคาแพง
การตัดเย็บผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรธรรมยุตผ้าไตรมัสลิน
ในการตัดเย็บ ผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรธรรมยุตผ้าไตรมัสลิน นอกจากจะต้องถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว คุณภาพในการตัดเย็บก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นกัน ผ้าไตรชั้นดีจะเย็บตะเข็บคู่แท้ คือเย็บ 2 รอบด้วยระยะห่างเพียง 2 มิลลิเมตร เพื่อให้ผ้าที่ออกมามีความประณีต ความแข็งแรงคงทน ใช้งานได้นาน
หากต้องการเลือกซื้อผ้าไตร ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรธรรมยุตผ้าไตรมัสลิน มาถวายพระภิกษุสงฆ์โดยไม่เจาะจง เราขอแนะนำให้เลือกผ้าไตรจีวรขนาดความสูง 200 กว้าง 320 ซม. หรือ 210 x 320 เพราะเป็นขนาดมาตรฐาน สามารถนำมาใช้งานได้จริง
กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียก ผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรง
อนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้โดยคำว่า
การทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติ
เถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรม นี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11ไปจนถึงวันขึ้นจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น
กฐิน คืออะไร กฐิน อ่านว่า กฐิน อ่านว่า [กะถิน กะถินนะ-] กฐิน เป็นผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล ที่แปลว่า ไม้สะดึงคือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร
กฐิน สามารถแบ่งตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้
1.กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น
2.กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)
3.กฐิน เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน
4.กฐิน เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์
ความเป็นมาของกฐิน
ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน 30 รูป ได้เดินทางเข้ามาเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันได้ถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างการเดินทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้เดินทางต่อเพื่อมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนหนัก เมื่อเดินทางมาถึงวัดพระเชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทางของพระสงฆ์ทั้ง 30 รูป เมื่อทราบความลำบากนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4)
การทอดกฐินตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีการเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามลักษณะวิธีการทอดถึง 4 รูปแบบคือ
- กฐิน หรือ มหากฐิน
2. จุลกฐิน หรือ กฐินแล่น
3. กฐินสามัคคี
4. กฐินตกค้าง
ซึ่งในบทความหน้านั้น เราจะมาอธิบายถึงความหมายในการทอดกฐินแต่ละรูปแบบให้ทุกคนได้เข้าใจกันว่า ในการทอดกฐินแต่ละรูปแบบนั้นคืออะไร และในแต่ละรูปแบบนั้นเค้าทำกันในช่วงไหนและทำยังไง
กฐิน หรือ มหากฐิน
เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่ง ที่มีความศรัทธาโดยเฉพาะ กล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน ณ วัดใด ก็ให้ทำใบปวารณาจองกฐินติดใบบอกไว้ ณ เขตวัดนั้นๆ เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน ซึ่งจะเป็นผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาวซึ่งยังไม่ได้ตัด ก็ให้ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังไม่ได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งจัดเป็นองค์กฐิน นำไปทอด ณ วัดที่ได้จองไว้นั้น
นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐินจะต้องมี ผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุดในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกสั้นๆ ว่า เทียนปาติโมกข์ จำนวน 24 เล่ม และมีธงผ้าขาวเขียนรูปจระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัดที่อยู่ตามริมน้ำ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว (ถ้าเป็นวัดที่อยู่ไกลแม่น้ำให้มีธงผ้าขาวเขียนรูปตะขาบปักไว้หน้าวัดแทนรูปสัตว์น้ำ) การปักธงนี้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และอนุโมทนาร่วมกุศลด้วยได้
นอกจากนี้แล้วยังมีประเพณีนิยมอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับเวลาของการทอดกฐิน ถ้าเป็นเวลาเช้าจะมีการทำบุญถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุ สามเณร ในวัดด้วย
กฐินที่ราษฎรเป็นเจ้าภาพนำองค์กฐินและบริวารกฐินไปทอดยังวัดต่างๆ นี้เรียกว่า กฐิน หรือ มหากฐิน เหตุที่เรียกว่ามหากฐินอาจเป็นเพราะจะให้เห็นความแตกต่างจากกฐินอีกชนิดหนึ่งคือ จุลกฐิน ก็ได้
จุลกฐิน หรือ กฐินแล่น
เป็นกฐินที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคนหมู่มาก ต้องรีบทำให้เสร็จ จึงเรียกว่า กฐินแล่น (หมายถึง เร่งรีบ ฟ้าว ต้องแล่น (วิ่ง) จึงจะเสร็จทันเวลา) เจ้าภาพผู้ที่จะทำจุลกฐินเพื่อทอดถวาย ณ วัดใดวัดหนึ่งจะต้องมีบารมี มีพวกพ้องคอยช่วยเหลือ เพราะต้องเริ่มจากการนำฝ้ายที่แก่ใช้ได้แล้วแต่ยังอยู่ในฝัก มีปริมาณมากพอที่จะทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้แล้ว ทำพิธีสมมติว่าฝ้ายจำนวนนั้นได้มีการหว่านแตกงอก ออกต้น เติบโต ผลิดอก ออกฝักแก่สุก แล้วเก็บมาอิ้วเอาเมล็ดออก ดีดเป็นผง ทำเป็นเส้นด้าย เบียออกเป็นไจ กรอออกเป็นเข็ด แล้วฆ่าด้วยน้ำข้าว ตากให้แห้ง ใส่กงปั่นเส้นหลอด ใส่กระสวยเครือแล้วทอเป็นแผ่นผ้าตามขนาดที่ต้องการนำไปทอดเป็นผ้ากฐิน
เมื่อพระสงฆ์รับผ้านั้นแล้ว มอบแก่พระภิกษุผู้เป็นองค์ครอง ซึ่งพระภิกษุองค์ครองจะจัดการต่อไปตามพระวินัย
หลังจากนั้นผู้ทอดต้องช่วยทำต่อ คือ นำผ้านั้นมาขยำ ทุบ ซัก แล้วไปตากให้แห้ง นำมาตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง แล้วเย็บย้อม ตากแห้ง พับ ทับรีดเสร็จเรียบร้อยนำไปถวายพระภิกษุองค์ครองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านทำพินทุอธิษฐาน เสร็จการพินทุอธิษฐานแล้วจะมีการประชุมสงฆ์ แจ้งให้ทราบ พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดจะอนุโมทนาเป็นเสร็จพิธีจุลกฐิน
แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ทอดกฐินไม่มีกำลังมาก พอจะตัดวิธีการในตอนต้นๆ ออกเสียก็ได้ โดยเริ่มตั้งแต่การนำเอาผ้าขาวผืนใหญ่มากะให้พอที่จะตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งแล้วนำไปทอด เมื่อพระภิกษุสงฆ์ท่านนำไปดำเนินการตามพระวินัยแล้ว ก็ช่วยทำต่อจากท่าน คือ ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อมให้เสร็จ แล้วนำกลับไปถวายพระภิกษุองค์ครองเพื่อพินทุ อธิษฐานต่อไปเหมือนวิธีทำที่กล่าวมาแล้วในการทำจุลกฐินเต็มรูปแบบ
ส่วนบริวารของจุลกฐิน ผ้าห่มพระประธาน และเทียนปาติโมกข์ ตลอดจนธงจรเข้ ตะขาบ ก็คงเป็นเช่นที่กล่าวมาในเรื่องของกฐินหรือมหากฐินนั่นเอง
กฐินสามัคคี
เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน จะบริจาคมากหรือน้อยโดยไม่กำหนด เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินการก็มักจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาคณะหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่มีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่น เมื่อได้ปัจจัยมาก็นำมาจัดหาผ้าอันเป็นองค์กฐินรวมทั้งบริวารต่างๆ เมื่อมีปัจจัยเหลือก็นำถวายวัดเพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณปฏิสังขรณ์ กุฏิ โบสถ์ เจดีย์ เป็นต้น กฐินสามัคคีนี้มักจะนำไปทอดยังวัดที่กำลังมีการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์ เพื่อเป็นการสมทบทุนให้สิ่งอันพึงประสงค์ของวัดให้สำเร็จเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว
เรื่องของกฐินสามัคคีเป็นที่นิยมแพร่หลายกันมาก เพราะนอกจากจะถือกันว่าเป็นบุญเป็นกุศลแล้ว ยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงวัด ตลอดจนเป็นการสร้างความสมานสามัคคีของชุมชน ให้มีความรักมั่นกลมเกลียวอันเนื่องมาจากอานิสงส์ของกฐินสามัคคีนั่นเอง
กฐินตกค้าง
กฐินประเภทนี้ เรื่ององค์กฐิน บริวารกฐิน ยังคงเป็นเช่นเดียวกับกฐินอื่นๆ ข้างต้น ส่วนข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือ ไม่มีการจองวัดล่วงหน้า การทอดก็ทอดได้เฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด และเจ้าภาพเดียวอาจจะทอดหลายวัดก็ได้ ตลอดจนสามารถนำเอาของไทยธรรมที่เหลือทำเป็นการบุญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ผ้าป่าแถมกฐิน ได้อีก
ประเทศไทยเราได้รับวัฒนธรรมการร้อยมาลัยมาจากอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศต้นกำเนิดสำคัญของศิลปะการร้อยมาลัยของหลายประเทศ โดยชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูจะร้อยพวงมาลัยด้วยวัสดุจากดอกไม้สด เช่น ดอกมะลิ หรือ ดอกกุหลาบ นำไปบูชาเทพต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล
การร้อยมาลัยได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงรัชกาลที่ 5 ซึ่งจะมีการจัดประกวดการร้อยมาลัยหรือการจัดดอกไม้เพื่อใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เรียกได้ว่าศิลปะการร้อยมาลัยเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงระดับรสนิยมของสังคมในช่วงนั้น เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ประชันความเหนือชั้นระหว่างผู้หญิงด้วยกันได้ ทั้งนี้เพราะในยุคนั้น ผู้หญิงต้องมีฝีมือการเป็นแม่บ้านแม่เรือนสูงกว่าผู้หญิงในยุคปัจจุบัน ทักษะการจัดดอกไม้หรือการร้อย พวงมาลัย ที่ประณีตและสวยงามจึงเปรียบเสมือนการเพิ่มคุณค่าให้ผู้หญิงในยุคที่สังคมยังมีการปกครองแบบผู้ชายเป็นใหญ่
ศิลปะการร้อยมาลัยได้รับการสืบทอดมาเรื่อย ๆ กลายเป็นวิชาความรู้ที่มีการสอนตามวิทยาลัยในวัง โรงเรียนการเรือน จนถึงสถาบันวิชาชีพต่าง ๆ ในปัจจุบัน พวงมาลัย ถูกนำมาใช้ตามงานมงคลมากมาย ได้แก่ งานแต่งงาน งานรับขวัญต่าง ๆ หรือ งานแสดงการต้อนรับบุคคลสำคัญ สื่อให้เห็นว่า พวงมาลัย จัดเป็นงานประดิษฐ์ที่ยังคงมีคุณค่าเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่คนไทยใช้ในงานสำคัญ ๆ ที่แสดงออกถึงความเคารพ และ ความยินดี จะเห็นได้ชัดจากการที่เรามอบพวงมาลัยให้บุคคลที่เรารัก ได้แก่ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และ ผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ หรือ แม้กระทั่งการใช้พวงมาลัยกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งดอกไม้ที่นำมาใช้ในการร้อยมาลัยนั้น ยังแฝงไว้ด้วยความหมายอันดี ที่แสดงถึงความเคารพ ความยินดี และ ความประสงค์ดี ที่ผู้ให้มีต่อผู้รับ โดยตัวอย่างความหมายของดอกไม้ที่นิยมนำมาใช้ในการร้อยมาลัย เช่น
ดอกมะลิ – ดอกไม้มงคลที่คนไทยจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของวันแม่ ด้วยกลิ่นอันหอมหวนชวนให้รู้สึกดี และ สีขาวบริสุทธิ์ของดอกมะลิ เปรียบดั่งความรักบริสุทธิ์ที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย ถือเป็นดอกไม้ยอดนิยมที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นพวงมาลัยเพื่อใช้ในงานมงคลต่าง ๆ
ดอกกุหลาบ – ดอกไม้แห่งความรักที่เรารู้จักกันดี ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็นราชินีแห่งดอกไม้ โดยดอกกุหลาบสีแดงสามารถสื่อได้หลากหลายความหมาย ได้แก่ ความรัก ความเคารพ ความชื่นชม และ ความจงรักภักดี การนำกลีบกุหลาบมาร้อยเป็นมาลัยช่วยเพิ่มความสวยงามและความน่าสนใจ ที่แฝงไปด้วยความหมายอันลึกซึ้ง
ดอกบานไม่รู้โรย – ดอกไม้ที่สื่อถึงความมั่นคงไม่แปรเปลี่ยน เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่เบ่งบานไม่โรยรา สื่อถึงความรักความศรัทธาที่มั่นคงไม่มีวันผันเปลี่ยนเช่นเดียวกับดอกบานไม่รู้โรย ถือเป็นหนึ่งในดอกไม้มงคลยอดนิยมที่ถูกนำมาร้อยเป็นมาลัย
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น มาลัย ยังมีดอกไม้ กลีบดอกไม้ และ ใบไม้ที่นิยมนำมาใช้อีกหลายชนิด ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายมีเป็นมงคลทั้งสิ้น อาทิ ดอกพุด ดอกรัก ดอกกล้วยไม้ ดอกจำผา-จำปี ดอกบานบุรี รวมไปถึง ใบไม้ต่าง ๆ เป็นต้น
ทอดกฐิน เป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐิน ของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ
กฐินหลวง
กฐินหลวงคือผ้าพระกฐินที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปถวายด้วยพระองค์เอง
กฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือทรงโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น) ทอดกฐิน หลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น ได้แก่
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร
วัดพระปฐมเจดีย์
วัดสุวรรณดาราราม
วัดนิเวศธรรมประวัติ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พิษณุโลก)
กฐินต้น
กฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์
กฐินพระราชทาน
กฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกบินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย)
กฐินราษฎร์
ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ “บริวารกฐิน” มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน
กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฎรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย
สังฆทานยา คือ การจัดเครื่องสังฆทาน ด้วยยารักษาโรค เพื่อนำไปถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน บำบัด รวมถึงการรักษาอาการอาพาธ เบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งถือเป็นการถวายจตุปัจจัยที่สำคัญ 1 ใน 4 โดยตรง คือ ยารักษาโรค และหากต้องการให้เกิดบุญ และให้ได้รับอานิสงส์แห่งบุญนั้น ก็ควรต้องเกิดจากจิตอันเป็นกุศล และใช้ปัจจัยที่ได้มาจากความสุจริต มีความตั้งใจและความปรารถนาดี ที่จะทะนุบำรุงศาสนา โดยผ่านการดูแลพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อที่จะเผยแผ่และสืบทอดคำสอนขององค์พระสัมมาพุทธเจ้าสืบต่อไป นอกจากนี้ เราจำเป็นต้อง ใส่ใจด้วยการคำนึงถึงผู้ที่รับยานั้นไปใช้ด้วย โดยจำเป็นต้องรู้ว่ายาชนิดใดบ้างที่เหมาะสมและมีประโยชน์ แก่พระสงฆ์ เพราะหากเลือกเอาแต่ตามสะดวกของผู้ให้ การทำบุญนี้อาจจะไม่เกิดบุญ และอาจจะสร้างกรรมโดยไม่รู้ตัว
ข้อควรทราบในการจัดยาเพื่อนำไปถวายสังฆทาน สังฆทานยา
1. ต้องเป็นยาสามัญประจำบ้าน
ยาสามัญประจำบ้าน เป็นกลุ่มยาทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ประชาชนทั่วไป ซึ่งไม่ได้เป็นแพทย์หรือดำเนินการทางแพทย์สามารถใช้ได้อย่างไม่อันตรายเพื่อรักษาตนเองเบื้องต้น ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง เช่น อาการไอ ปวดศีรษะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือมีบาดแผลเล็กๆน้อยๆ เป็นต้น และสามารถหาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
2. ทำความเข้าใจเรื่องสรรพคุณในการบรรเทา หรือรักษาโรค ของยาในแต่ละประเภท
ต้องพิจารณาด้วยว่าพระสงฆ์ในวัดที่จะไปทำบุญนั้น ท่านมีโอกาสหรือมีแนวโน้มที่จะอาพาธเป็นอะไรบ้าง มีโอกาสได้ใช้ยาที่จะไปถวายรึเปล่า เพราะหากนำยาไปถวายแต่ท่านไม่ได้ใช้ หรือมีโอกาสใช้ได้น้อย สุดท้ายยาก็หมดอายุ หรือเสื่อมคุณภาพ ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์
สังฆทานยา ยาสามัญประจำบ้านควรมีอะไรบ้าง
- ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย-ไซเมธิโคน
- ยาธาตุน้ำแดง ลดอาการท้องอืด
- ผงน้ำตาลเกลือแร่ แก้ท้องเสีย
- ผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย
- ยาระบายมะขามแขก
- ยาถ่ายพยาธิลำไส้ มีเบนดาโซล
- ยาพาราเซตามอล ลดไข้ บรรเทาปวด
- ยาคลอร์เฟนิรามีน แก้แพ้ ลดน้ำมูก
- ยาแก้ไอน้ำดำ
- ยาดมแก้วิงเวียน
- ยาหม่อง
- ยาไดเมนไฮดริเนท แก้เมารถ
- ยาโพวิโดน-ไอโอดีน ใส่แผลสด
- น้ำเกลือล้างแผล
- คาลาไมน์โลชั่น ยาทาแก้ผดผื่นคัน
กรรม คือ การกระทำด้วยเจตนา ทั้งในอดีตชาติ หรือในปัจจุบันก็ล้วนเป็นกรรมทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมีผลกระทบต่อปัจจุบันและอนาคต “ใครทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมไปตกอยู่ที่ผู้กระทำ” (การ แก้กรรม สามารถช่วยได้ จากหนักเป็นเบา)ไม่มีใครหลุดพ้นหรือหนีจากกฎแห่งกรรมไปได้ วิบากกรรมของแต่ละคนก็แตกต่างกัน บางคนว่างงาน บางคนไม่ประสบความสำเร็จกับการงาน ครอบครัวมีเหตุต้องทะเลาะกันเสมอ มีปัญหากับคนรักเป็นระยะๆ สร้างความทุกข์ให้กับตนเองอย่างมากมาย
วิธีการ แก้กรรม มีมากมาย แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน วิธีที่จะมำให้กรรมบรรเทาลงได้นั้นมี ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ถ้าเจ้ากรรมนายเวรจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบริเวณที่เจ็บปวดได้รับอโหสิกรรมแล้วจะหายเจ็บปวดทันที กรรมนี้จะเบาลงและจะมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยสังเกตจากตัวเราเองว่า มีสิ่งที่ดีเข้ามามากขึ้นที่ป่วย ก็จะหาย ที่จนก็จะเริ่มมี แสดงว่าเราเริ่มมีบุญแล้ว หากกรรมยังเยอะ ก็ยังลำบากอยู่
วิธีการ แก้กรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ เช่น การใส่บาตร ถือศีล กินเจ ช่วยผู้ที่เดือดร้อน ถวายสังฆทาน สวดมนต์ กราบบิดามารดา ล้วนเป็นมหากุศล การทำบุญให้อธิษฐานจิตทุกครั้ง เพื่อนำส่งบุญให้ตัวเอง มีชีวิตที่ดีขึ้น เจริญขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นกุศลและเป็นบุญทั้งสิ้น
คำกล่าวในการแก้กรรม คือ ให้ “ตั้งนะโม 3 จบ” ตามด้วย
ข้าพเจ้า…..ชื่อตัวเอง…..นามสกุล………เกิดวันที่……….วันนี้ข้าพเจ้าขอตั้งจิตถึงบารมีสิ่งศักดิ์ทั่วสากลโลก รวมถึงองค์เทพองค์พรหมที่ปกปักษ์รักษากาย สังขาร วิญญาณลูกอยู่ วันนี้ลูกตั้งจิตถวาย……บุญที่ทำ……..ลูกขอถวายบุญกุศลนี้แก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ รวมถึงองค์เทพองค์พรหมทั้งหลายให้มีพระบารมีมากขึ้น และขอให้ทุกๆ พระองค์นำส่งบุญให้ลูกเจริญขึ้นทั้งการงาน การเงิน และความรัก ให้ลูกมีเดช ปัญญา โภคะ ทุกภพทุกชาติ และขออุทิศบุญกุศลนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ รวมถึงวิญญาณที่ตามมา และ(วิญญาณโปร่งใส)ทุกผู้ทุกคน ศัตรูหมู่มาร มนุษย์ บริวาร ญาติ มิตร คนรับใช้ สามี ภรรยา บุตรธิดา ทุกภพทุกชาติ ขอให้ได้รับมหากุศลนี้ และอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ให้ขาดจากกัน ณ เดี๋ยวนี้บัดนี้เถอะ สาธุ ขอให้ข้าพเจ้ามีบารมีสูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น เต็มขึ้น เพื่อช่วยสังคมให้สูงขึ้น และสร้างคนให้เป็นพระต่อไป และให้เกิดปัญญาทางธรรม เกิดปัญญาทางโลกทุกคน สมบูรณ์พูนผลทุกอย่างด้วยบุญที่ทำ สาธุ….
ซึ่งยังมีอีกหลากหลายวิธีในการแก้กรรม ทั้งนี้ก็ต้องหมั่นทำความดี หมั่นสร้างบุญ สร้างกุศล
การ “ทำบุญขึ้นบ้านใหม่” เป็นความเชื่อในเรื่องของความเป็นสิริมงคลให้กับตัวบ้านและผู้อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านมือ 1 หรือ บ้านมือ 2 ก็ตาม จึงมี 6 สิ่งที่ต้องเตรียม ในการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ดังนี้
1. หาฤกษ์วันทำบุญขึ้นบ้านใหม่
เริ่มต้นด้วยการหาฤกษ์วัน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทั้งนี้จะเลือกเป็นวันดี วันมงคล หรือ ฤกษ์สะดวกก็ได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าของบ้าน ซึ่งการกำหนดวันนั้นแนะนำให้มีการเผื่อวัน เพื่อไว้สำหรับการเตรียมการต่างๆ แต่หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการประกอบพิธีเกี่ยวกับบ้านในวันเสาร์
2. นิมนต์พระสงฆ์
เมื่อได้วันทำบุญขึ้นบ้านใหม่แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนิมนต์พระสงฆ์ ซึ่งควรนิมนต์ไว้ล่วงหน้าประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยให้บอกรายละเอียด เช่น งานอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ต้องการพระสงฆ์กี่รูป (ปกติแล้วจะนิมนต์พระสงฆ์ที่ 5, 7 หรือ 9 รูป ตามความเหมาะสม) ส่วนใหญ่จะนิมนต์พระ 9 รูป เพราะเชื่อเป็นเลขมงคล โดยช่วงเวลาการเริ่มพิธี จะมีให้เลือก 2 ช่วงคือ ถวายภัตตาหารเช้า (07.30 น.) และ ถวายภัตตาหารเพล (10.30 น.) ซึ่งพระท่านจะเป็นผู้กำหนด แต่บางครั้งพระท่านก็จะให้เจ้าของบ้านเป็นผู้เลือก
3. จัดเตรียมสถานที่
ดูแลในเรื่องของความสะอาด และจัดเก็บของต่างๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมทั้งจัดบริเวณที่ทำพิธี ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะหมู่บูชา การปูอาสนะสำหรับพระสงฆ์
4. เตรียมสิ่งของต่างๆ ที่ต้องใช้
สำหรับสิ่งของที่ต้องเตรียมนั้น หลักๆ จะมี พระพุทธรูป โต๊ะหมู่บูชา ดอกไม้ ธูป เทียน กระถางธูป เชิงเทียน อาสนะ ของถวายสังฆทาน อุปกรณ์เจิมและพรมน้ำมนต์
5. จัดเตรียมอาหาร
ในส่วนของอาหาร จะแบ่งออกเป็น 3 ชุด คือ ชุดบูชาข้าวพระพุทธ ชุดถวายพระสงฆ์ ชุดสำหรับเจ้าที่เจ้าทางหรือศาลพระภูมิ โดยอาหารจะมีทั้งคาว หวาน และ น้ำดื่ม ซึ่งอาหารส่วนใหญ่ที่นำมาถวายจะเป็นของมงคล เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน ขนมถ้วยฟู และผลไม้มงคล มะพร้าว สาลี่ ทับทิม ส้ม ทั้งนี้ก็ยังมีอาหารสำหรับผู้ที่มาร่วมงานด้วยเช่นกัน โดยจะมีการแบ่งไว้อีกส่วนหนึ่ง
6. งบประมาณค่าใช้จ่าย
สำหรับค่าใช้จ่าย หลักๆ จะดูที่ขนาดของงาน หรือ จำนวนผู้ที่มาร่วมงาน ว่ามากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับกำลังและความต้องการของเจ้าของบ้านที่แต่ละบ้านย่อมไม่เหมือนกัน
สังฆทาน คืออะไร
การถวาย สังฆทาน หรือเครื่องสังฆทาน เป็นการถวายสิ่งของรวมทั้งสังฆภัณฑ์แก่พระภิกษุ โดยไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นรูปใดถึงแม้ว่าในการถวายนั้นจะมีพระสงฆ์มารับประเคนเพียงรูปเดียว แต่หากจุดประสงค์ในการถวายทานมีจุดมุ่งหมายเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์โดยรวมแล้วล่ะก็ถือว่าเป็นสังฆทานทั้งสิ้น
วิธีการเลือกซื้อสังฆทาน
คนไทยจำนวนมากมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และมีการทำบุญกันอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องกันอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งประเภทของการทำบุญที่ทำกันมากคือ การทำทาน ตักบาตรและการถวายสังฆทาน โดยในการทำบุญแต่ละครั้งก็จะจัดหาสำรับคาวหวานที่ปรุงแต่งอย่างประณีตเพื่อถวายแด่พระสงฆ์และสามเณร รวมทั้งถวายสังฆภัณฑ์ซึ่งเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในกิจของพระสงฆ์ซึ่งอาจถวายจำเพาะพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือถวายโดยไม่เจาะจงก็ได้ ซึ่งอย่างหลังนี้ชาวพุทธมีความเชื่อกันว่าจะได้อานิสงส์มาก
หากคุณไม่มีเวลาหรือหากไม่สะดวกที่จะจัดเตรียมของถวายสังฆทานด้วยตนเองสามารถเลือกซื้อได้จากร้านสังฆภัณฑ์โดยเลือกจากร้านที่จำหน่ายของที่ดีมีคุณภาพและต้องเป็นชุดสังฆภัณฑ์ จัดชุดสังฆทาน ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีเครื่องหมาย อย. และมีฉลากรายละเอียดติดอยู่ที่สังฆภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในชุดสังฆภัณฑ์, วันผลิต, วันหมดอายุ และราคาอย่างชัดเจน
2. สังฆภัณฑ์บรรจุอยู่ในหีบห่อที่แข็งแรง มิดชิด ไม่ฉีกขาด เพื่อให้แน่ใจว่าของที่บรรจุอยู่ภายในนั้นได้รับการปกป้องอย่างดีเพื่อรักษาคุณภาพของสังฆภัณฑ์
3. พิจารณาดูว่าผลิตภัณฑ์ที่ประกอบเป็นเครื่องสังฆภัณฑ์นั้นเป็นของที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ ที่พระภิกษุสามารถใช้งานได้จริง
4. สังฆภัณฑ์ที่ดีจะต้องแยกสารเคมีและของใช้ออกจากกัน เพื่อไม่ให้เกิดการไหลซึมเปื้อนหรือปนเปื้อนสารเคมีเพื่อให้พระภิกษุได้ใช้ของที่บรรจุอยู่ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นผ้าไตรจีวร สังฆทานชุดแบบใด ก็สามารถถวายพระภิษณุและสามเณรได้ทั้งสิ้น ตามกำลังและศรัทธา
FB • Facebook.con/dharaya.th
Line • https://lin.ee/kIlk97Y
IG • instagram.com/dharaya.th
Tel • 091-945-6614
www.dharayath.com
พระพรหมเป็นเทพผู้สร้างและกำหนดความเป็นไปของทุกสิ่ง ผู้ที่บูชาพระพรหมและประพฤติดี กระทำแต่ความดี จะได้รับการบันดาลพรให้สมหวังตามที่หวังไว้ พระพรหมทรงมีพระพักตร์สี่หน้า ในทางพุทธ อาจหมายถึงพรหมวิหารสี่ เมื่อตั้งมั่นและยึดถือปฏิบัติก็ย่อมได้รับแต่สิ่งดีๆ และเป็นเทพองค์ใหญ่ ดังนั้น จึงมักมีการบูชาพระพรหมในสถานที่เปิด เพื่อให้มีคนมาเคารพกราบไหว้บูชาท่านให้มาก หน่วยงานราชการและองค์กร หรือบริษัทที่มีพนักงานหรือบุคลากรจำนวนมาก จึงเหมาะที่จะมีการจัดสร้างและตั้งศาลบูชาพระพรหม และมักตั้งในตำแหน่งที่ผู้คนเดินผ่านไป ผ่านมา ยิ่งมีผู้มาเคารพกราบไหว้บูชายิ่งมากก็ยิ่งดี ดังนั้น การตั้งศาลบูชาพระพรหม จึงไม่ควรบูชาในบ้าน โดยเฉพาะถ้าบ้านนั้นมีคนอยู่น้อยยิ่งไม่เหมาะสม อาจเป็นการทอนบารมีท่านได้ ในบ้านควรตั้งเพียงศาลเจ้าที่ และศาลพระภูมิก็พอ
คาถาบูชาพระพรหม
โอมปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง
พรหมเรสสะยัม ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัม
ทะระมา ยิกยานัง ยะไวยะลา คะมุลัม
สะทา นันตะระ วิมุสะตินัน
นะมัตเต นะมัตเตร จะ อะการัง ตโถวาจะ
เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา
กัตถะนารัมลา จะสะระวะ ปะติตัม
สัมโภพะกลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ
คาถาบูชาพระพรหม แบบย่อ
โอม อหัม ปรัหมา อัสมิ
คาถาบูชาพระพรหม ผู้ใดสักการะและบูชาพระพรหม จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เป็นที่รักใคร่ของคนทั้งหลาย
วิธีขอพรพระพรหม
- วิธีสักการะ พระพรหม เริ่มจากการไหว้สักการะพระพรหมจากพักตร์แรก แล้วเวียนขวามือของเรา หรือ พระหัตถ์ซ้ายของพระพรหม จนถึงพักต์สุดท้าย
- การขอพรและการเตรียมของไหว้พระพรหม แต่ละพักตร์จะแตกต่างกันดังนี้
– พักตร์แรก ใช้ธูป 16 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด โดยให้ขอพรเกี่ยวกับเรื่องงาน การเรียน การสอบแข่งขัน ขออำนาจบารมี ขอความก้าวหน้าในชีวิต และขอพรให้บิดา
– พักตร์ที่ 2 ใช้ธูป 36 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด โดยให้ขอพรเรื่องทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน บ้าน รถ หนี้สินที่มีคนยืมแล้วไม่คืน
– พักตร์ที่ 3ใช้ธูป 39 ดอก เทียน9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด โดยให้ขอพรเกี่ยวกับสุขภาพ ครอบครัว คู่ชีวิต ญาติพี่น้อง คู่สัญญา และขอพรให้มารดา
– พักตร์ที่4 ใช้ธูป 19 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอกน้ำ 1 ขวด โดยให้ขอพรเรื่องโชคลาภ เงินทอง ขอโชค ขอลาภ เกี่ยวกับการเสี่ยงดวง การขอกู้ยืมเงิน และการขอบุตร
****หมายเหตุ สามารถไหว้ขอพรพระพรหมโดยขอพรเฉพาะเจาะจงตามเรื่องนั้นๆ ได้ แต่การไหว้ขอพรที่ถูกต้องคือไหว้ให้ถูกพักตร์ และ ควรไหว้ให้ครบทุกพักตร์เพราะรับพรได้ครบทุกประการ
ถ้าพูดถึงการ ทำบุญ หลายคนอาจคิดว่าเป็นสิ่งไหนก็ได้ แต่ความจริงแล้วตามหลักโหราศาสตร์ มีวิธีการทำบุญให้ได้อานิสงค์มากที่สุด หากใครทำแล้วก็จะส่งผลให้ชีวิตรุ่งเรือง มีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งการทำบุญที่ให้ได้อานิสงค์มากที่สุดมีดังนี้
1. ถือศีล 5 เป็นประจำ จะช่วยเสริมดวงชะตาและจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงามการทำดีและไม่เบียดเบียนใครถือเป็นการทำบุญกุศลที่ได้อานิสงส์เป็นผลให้เกิดความโชคดี และแก้เคราะห์ลดกรรมได้
2. การถือศีล 8 จะช่วยเสริมดวงและแก้เคราะห์ได้เช่นเดียวกับการถือศีล 5 แต่การถือศีล 8 นั้นปฏิบัติได้ยากยิ่งแต่เมื่อปฏิบัติได้สำเร็จจะได้กุศลแรงนักปฏิบัติแล้วยังช่วยเสริมดวงอำนาจบารมีได้
3. กินเจก็เพื่อลดละชีวิตสัตว์ ซึ่งได้อานิสงส์ผลบุญสูงและควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดถ้าอธิษฐานไว้ว่า 7 วัน ก็ทำให้ครบ 7 วัน อาจตั้งจิตว่าจะทำทุกวันพระและทุกเดือนหรือปฏิบัติทุกเดือน เดือนละ 3 วัน หรือ 7 วัน เป็นต้น
4. ไหว้พระ และถวายดอกไม้ธูปเทียน รวมทั้งการปิดทองคำเปลวและเครื่องหอมผลบุญนี้จะทำให้ชีวิตรุ่งเรือง มีความเจริญก้าวหน้า
5. ถวายน้ำมันตะเกียง เพื่อความรุ่งโรจน์โชติช่วงของชีวิตเช่นเดียวกับความสว่างของแสงตะเกียง ทำให้พ้นจากความมืดมิดทั้งการดำเนินชีวิตรวมทั้งปัญหาและความคิดที่สว่างไสวไม่อับจนหนทาง
6. ถวายสังฆทาน เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระสงฆ์อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก จะทำสิ่งใดก็ราบรื่นไม่ติดขัดพบแต่ความสำเร็จสมปรารถนา รวมทั้งมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ ไม่ขัดสน
7. ไหว้พระไหว้บูชาเทพต่างๆ จะทำให้พบกับความสุข ความเจริญเกิดความสุขใจว่ามีที่พึ่งพิงยึดเหนี่ยวนำมาซึ่งกำลังใจในการต่อสู้ชีวิตต่อไปและรู้สึกเสมอว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
8. ทำบุญปล่อยสัตว์ เป็นการไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น แต่ถือว่าได้บุญแรง จะต้องทำด้วยความตั้งใจจริงเช่น การไปซื้อสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่าไปปล่อยไถ่ชีวิตวัวควายถวายวัดเพื่อมอบให้ชาวนานำไปใช้ประโยชน์ซื้อปลาในตลาดที่จะถูกฆ่าไปปล่อยน้ำ ผลบุญนี้ยังผลให้หมดทุกข์ หมดภัยและพบความสุขความเจริญในชีวิต
9. ทำบุญ ให้ทาน เป็นการรู้จักเสียสละตนเองและแบ่งปันให้ผู้อื่นซึ่งผลบุญจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีจิตใจยินดีในการทำบุญให้ทานด้วยไม่ว่าจะเป็นการบำรุงพุทธศาสนา หรือการให้ทานเกื้อกูลคนยากไร้ล้วนแล้วแต่เป็นบุญส่งเสริมให้ชีวิตมีโชค มีทรัพย์ และมากด้วยบารมี
10. ทำทานแก่คนยากไร้ เป็นการทำบุญที่มาจากจิตใจอันไม่ยึดติดมีความไม่โลภผลบุญจึงหนุนนำให้มีแต่ความราบรื่น ยามมีเรื่องติดขัดก็จะมีผู้มาช่วยเหลือค้ำจุนยามมีเคราะห์ภัยก็จะแคล้วคลาดเพราะแรงอนุโมทนาจิตจากผู้ยากไร้ที่ได้รับสิ่งของจากเรานั่นเอง
11. ทำบุญโลงศพ ซื้อโลงศพบริจาคศพอนาถาไร้ญาติ จะได้อานิสงส์แรงยิ่งนักการทำบุญเช่นนี้จะช่วยเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่ง สามารถต้านเคราะห์ภัยหนักต่างๆ และผ่อนหนักเป็นเบาได้
12. พิมพ์หนังสือธรรมะแจก จัดพิมพ์เองหรือร่วมบริจาคสมทบทุนการพิมพ์กับผู้อื่นก็ได้เป็นการเสริมดวงให้มีวาสนาบารมี เพื่อให้ปัญญาสว่าง หมดทุกข์ หมดโศกไม่มีเคราะห์ร้ายมากล้ำกราย
13. บริจาคค่าน้ำ ค่าไฟ จะช่วยให้ชีวิตราบรื่น หมดทุกข์ หมดโศก ประสบแต่ความโชคดี
14. ซื้อข้าวสารถวายวัด เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า ตามสถานสงเคราะห์เป็นการสั่งสมบุญกุศล เพื่อให้ชีวิตมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์และเพียบพร้อมด้วยบารมี
15. การตักบาตรร่วมขัน กับผู้อื่นหรือทำบุญร่วมกับผู้อื่นไม่ว่าจะทำบุญด้วยการบริจาคทรัพย์หรือโดยทางอื่น จะส่งผลให้เนื้อคู่ดูดีดวงชะตาแข็งแกร่ง เกื้อกูลซึ่งกันและกันและจะได้แต่เพื่อนที่ดีในชาตินี้
ชุดสังฆทาน ควรมีอะไรบ้าง สังฆทาน คือ ของที่สามารถนำไปถวายเป็นสังฆทานได้ นิยมใช้เป็น ปัจจัยสี่ (ยกเว้นที่อยู่อาศัย) รวมถึงเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ซึ่งพระสงฆ์สามารถนำของในสังฆทานนั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริง ดังต่อไปนี้
1. อาหาร และ เครื่องดื่ม
สังฆทานอาหารและสังฆทานเครื่องดื่ม หลายคนอาจไม่รู้ว่าเราสามารถนำมาถวายเป็นสังฆทานได้ จริงๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นข้าว ผลไม้อบแห้งต่าง ๆ แยมทาขนมปัง รวมถึงอาหารกระป๋อง อาหารแห้ง ก็สามารถนำมาใส่ชุดสังฆทานถวายได้ เพราะพระสงฆ์สามารถฉันเพื่อบำรุงร่างกายเป็นกำลังในการทำงานเพื่อศาสนาต่อไป อีกทั้งเรายังสามารถถวายเครื่องดื่มต่าง ๆ ในชุดสังฆทานได้อีกด้วย
2. ยารักษาโรค
ยารักษาโรค เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรถวายในชุดสังฆทาน โดยเฉพาะยาสามัญประจำบ้านต่างๆ เช่น ยาแก้ปวดหัว ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นต้น
3. เครื่องนุ่งห่ม จีวร
ในชุดสังฆทานนั้นสามารถถวายเครื่องนุ่งห่ม จีวร หรือ ผ้าอาบน้ำฝนได้ เพราะเป็นของใช้ที่จำเป็นสำหรับพระสงฆ์
4. เครื่องอุปโภค
เครื่องอุปโภค ควรเป็นสิ่งของที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน เช่น
– ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย เทียนเล่มเล็ก ธูป เพื่อให้พระสงฆ์ใช้เป็นแสงสว่างยามค่ำคืนและจุดเพื่อบูชา ถวายสักการะแด่พระพุทธเจ้า ซึ่งมีความหมายว่า แสงสว่างอันรุ่งโรจน์ในชีวิตที่โชติช่วงชัชวาล
– อุปกรณ์เครื่องเขียน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ หรือสามเณรในการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือไว้ใช้จดนัดหมายกิจนิมนต์ต่าง ๆ
– อุปกรณ์ล้างห้องน้ำ เป็นเรื่องสุขอนามัยภายในวัดที่หลายคนอาจมองข้ามไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดที่มีญาติโยมไปทำบุญเป็นจำนวนมาก
– หนังสือธรรมะ ซึ่งมีไว้เพื่อให้พระสงฆ์แจกให้แก่ผู้ที่มาฟัวเทศนาเพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่พระสงฆ์ท่านสอนมากขึ้นเมื่อท่านเทศนาญาติโยมแล้วต้องการให้ผู้ที่มาฟังธรรมเข้าใจในสิ่งที่ท่านสอนมากขึ้น
– มีดโกน พระสงฆ์ต้องปลงคิ้วและผมอยู่ตลอดเวลาจากการสอบถามพระสงฆ์
– แชมพู หลายคนอาจคิดว่าพระสงฆ์ไม่จำเป็นต้องใช้ยาสระผม แต่แท้ที่จริงแล้วท่านยังต้องใช้ในการทำความสะอาดคราบเหงื่อไคลและเพื่อกำจัดเชื้อโรคต่างๆ บนหนังศีรษะ แต่ควรเลือกแบบที่ไม่มีกลิ่นหรือเป็นแชมพูยาจะดีที่สุด
– กาน้ำชา พระสงฆ์สามารถพกติดตัวขณะแสดงธรรมหรือปฏิบัติศาสนกิจได้
โดยในการถวายสังฆทาน การจัด ชุดสังฑทาน หากจะให้ตรงกับสมณบริโภค ผู้ถวายนั้นสามารถสอบถามจากทางพระสงฆ์ได้เลยว่าท่านขาดเหลือสิ่งใด เพื่อจะได้นำของมาถวายท่านได้ตรงความต้องการ และเกิดประโยชน์สูงสุด
หากถามถึงความเป็นมาในการ ดูดวง คงต้องย้อนกลับไปถึงประวัติเกี่ยวกับโหราศาสตร์ ซึ่งแต่เดิมมีความเชื่อกันว่าโหราศาสตร์มีจุดเริ่มต้นมาจากชาวอียิปต์ที่ถือเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่มีประวัติศาสตร์บนโลก และยังเป็นชนชาติแรกๆ ของโลกที่มีการทำบันทึกในเรื่องเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของกลุ่มดวงดาว
สำหรับประเทศไทยนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของโหราศาสตร์เริ่มต้นเข้ามาในยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในอดีตผู้ที่จะมีความรู้หรือใช้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของโหราศาสตร์ได้จะเป็นคนจำพวกขุนนางทั้งหลายที่ยอมลงทุนใช้ทั้งชีวิตของพวกเขาในการศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ตั้งแต่ที่ตัวเองยังอายุน้อย โหราศาสตร์ในสมัยอดีตจะเน้นในเรื่องของการพยากรณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นหลัก ใช้กันภายในราชสำนักเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันบางตำราก็บอกว่าโหราศาสตร์ไทยมีมาตั้งแต่ในยุคก่อนพระพุทธกาล คนที่ทำการเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโหราศาสตร์ก่อนเป็นกลุ่มแรกๆ ก็คือเหล่าบรรดาดาบสและฤาษีทีอยู่ในป่าหิมพานต์บริเวณเทือกเขาหิมาลัย พวกเขาเหล่านี้คือคนที่ศึกษาในเรื่องของดวงดาวจนสามารถเข้าฌานเพื่อส่งกระแสจิตไปยังกลุ่มดวงดาวเหล่านั้นเพื่อสอบถามความเป็นมาเกี่ยวกับอำนาจและอิทธิพลของดวงดาวแต่ด้วยความที่ในยุคก่อนๆ ยังไม่ได้มีเรื่องราวของการจดบันทึกเอาไว้จึงไม่ได้มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
อย่างไรก็ตามในยุคหลังๆ เรื่องของโหราศาสตร์ไม่ใช่เรื่องของคนที่เป็นเจ้าขุนมูลนายหรือคนที่ทำงานอยู่ในราชสำนักอีกต่อไป เพราะเราจะเห็นได้ว่าเมื่อเรื่องราวเหล่านี้ได้มีการส่งต่อมาจากสามัญชนธรรมดามันก็กลายเป็นเรื่องที่หลายคนค่อนข้างให้ความสนใจอย่างมาก จนมีการแตกแขนงการเรียนรู้ในเรื่องราวของโหราศาสตร์เกิดขึ้นมามากมายอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน ถือว่าเป็นสิ่งที่ยังคงน่าค้นหา น่าสนใจ และเชื่อว่ายังไงเสียก็ไม่มีทางที่จะสูญหายไปจากคนไทยอย่างแน่นอน
เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังสุวรรณภูมิและ ประดิษฐานอยู่บนผืนแผ่นดินนี้อย่างสถิตย์สถาพร ประชาชนไทยได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การทอด กฐิน ก็ได้กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแผ่นดินสยามได้ทรงรับเรื่องกฐินนี้ขึ้นเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่ง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธี ทำให้เรียกกฐินนี้ว่า กฐินหลวง วัดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัดราษฎร์หรือวัดหลวง หากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้วจะเรียกว่า กฐินหลวงทั้งสิ้น
ในสมัยต่อๆ มา เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น ประชาชนมีศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดิน ได้รับพระมหากรุณาให้ถวายผ้าพระ กฐิน ได้ตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเหตุให้แบ่งแยกกฐินหลวงออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
๑.กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี
กฐินดังกล่าวนี้ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระ กฐิน ด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ซึ่งทางราชการกำหนดขึ้น มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อย ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค จำนวน ๑๖ วัด คือ
๑. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
๒. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
๓. วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
๔. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
๕. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
๖. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
๗. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
๘. วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
๙. วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร
๑๐. วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร
๑๑. วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
๑๒. วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
๑๓. วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
๑๔. วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา
๑๕. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ พระนครศรีอยุธยา
๑๖. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
วัดหลวงทั้งหมดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระ กฐิน ด้วยพระองค์เองเพียงปีละ ๘-๙ วัดเท่านั้น นอกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรี หรือผู้ที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวายกฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังออกหมายกำหนดการเป็นประจำทุกปี จึงไม่มีการจองล่วงหน้า
แนวปฏิบัติ
การเฝ้าฯ รับเสด็จฯ งานถวายผ้าพระกฐินหลวงประจำปีที่สำนักพระราชวังออกเป็นหมายกำหนดการและกำหนดการแต่งการเฝ้าฯ รับเสด็จฯ * ผู้ที่เฝ้าฯ รับเสด็จฯ ตามหมายกำหนดการ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะได้รับรองเชิญให้นั่งพัก ณ ที่ซึ่งจัดไว้นอกพระอุโบสถตามลำดับชั้นยศและตำแหน่ง งานเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินตามราชประเพณีประจำปีที่สำนักพระราชวังออกเป็นหมายกำหนดการแต่งเครื่องแบบเต็มยศ จะมีกองเกียรติยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์พร้อมทั้งแตรวงประจำกองและทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ตั้งแถวรับเสด็จฯ เมื่อใกล้เวลาเสด็จฯ ประมาณ ๕ หรือ ๑๐ นาที เจ้าหน้าที่ผู้รับรองของสำนักพระราชวังจะได้เชิญข้าราชการผู้มีเกียรติที่มาเฝ้าไปยืนเรียงแถวรอรับเสด็จฯ ตามแนวทางลาดพระบาท (ถ้าสถานที่ไม่พอจะเข้าแถว ก็คงรอเฝ้าฯ ณ ที่ซึ่งจัดไว้นั้น) ได้เวลาเสด็จฯ มีแตรวงกองทหารเกียรติยศบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ผู้เฝ้าฯ ที่นั่งพักยืนถวายความเคารพ ผู้มาเฝ้าที่เข้าแถวรับเสด็จฯ ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์ จนสุดเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีและถวายความเคารพเมื่อเสด็จฯ ผ่าน เสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะได้เชิญและนำเฉพาะข้าราชการผู้ใหญ่เข้าไปเฝ้าฯ ในพระอุโบสถ เมื่อเข้าไปจะต้องถวายคำนับ แล้วยืนอยู่ ณ เก้าอี้ที่จะนั่งเฝ้าฯ ตามยศและตำแหน่ง เมื่อทรงปฏิบัติในการถวายพระกฐิน ประทับพระราชอาสน์ ผู้เฝ้าฯ ถวายคำนับแล้วนั่งได้ เมื่อเสด็จฯ กลับก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกับเมื่อเสด็จมาถึง
ราชประเพณีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน ถ้าพระอารามหลวงหรือวัดใดที่มีโรงเรียนตั้งอยู่ ย่อมจัดลูกเสือหรือนักเรียนตั้งแถวรับเสด็จฯ ถ้ามีแตรวงลูกเสือด้วยให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเมื่อเสด็จฯ ถึง และเสด็จฯ กลับ โรงเรียนที่จัดลูกเสือนักเรียนรับเสด็จฯ ตามระเบียบจะต้องจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์แทนพระพุทธรูป มีแจกัน พานดอกไม้ ธูปเทียนพร้อม แต่ไม่ต้องจุดเทียนหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ควรมีธูปเทียนแพ กระทงดอกไม้ใส่พานตั้งไว้ เป็นการถวายความเคารพสักการะในการรับเสด็จฯ ผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่/ครูใหญ่ ยืนที่ข้างๆ โต๊ะหมู่หน้าแถวนักเรียนและลูกเสือ เมื่อเสด็จฯ ถึง ณ ที่นั้นผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่หรือครูใหญ่ก้าวออกมาถวายความเคารพ (ถ้าเป็นครูชายสวมหมวก ทำวันทยหัตถ์ ถ้าเป็นครูหญิงถวายความเคารพด้วยการถอนสายบัว) แล้วกราบบังคมทูลรายงานจำนวนอาจารย์ ครู นักเรียนจบแล้วถอยออกไปถวายคำนับก่อนที่จะกลับไปยืนเฝ้าฯ ณ ที่เดิม
* ที่มา : หนังสือแนวทางการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
๒.กฐินต้น
กฐินดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวง และมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธี แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์อีกด้วย พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ได้เล่าประวัติเรื่องการเกิดขึ้นของกฐินต้นนี้ไว้ว่า “กฐินส่วนพระองค์นี้ ในสมัยก่อนรัชกาลที่ ๕ จะเรียกว่าอย่างไรนั้นยังไม่พบหลักฐาน มาเรียกกันว่า กฐินต้น ในรัชกาลที่ ๕ ภายหลังที่ได้มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ การเสด็จประพาสครั้งนั้น โปรดให้จัดให้ง่ายกว่าการเสด็จประพาสเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างสามัญคือ โปรดไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใดๆ พอพระราชหฤทัยจะประทับที่ไหนก็ประทับที่นั่น บางคราวก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จรถไฟไปโดยมิให้ใครรู้ การเสด็จประพาสครั้งนั้นเรียกว่า เสด็จประพาสต้น
เหตุที่เรียกว่าประพาสต้นก็เพราะเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จทรงเรือมาด ๔ แจว ประพาสในแม่น้ำอ้อม ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อเรือมาด ๔ แจว เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งลำสำหรับแจวตามเรือพระที่นั่งเวลามีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินโดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ เมื่อซื้อเรือมาดได้ดังพระราชประสงค์แล้วพระราชทานชื่อเรือลำนั้นว่า เรือต้น ในวันนั้นกว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงที่ประทับแรมที่เมืองราชบุรีเกือบ ๓ ทุ่ม เพราะน้ำเชี่ยว ผู้คนในขบวนเสด็จเหนื่อยหอบตามกัน
ประพาสต้น จึงเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จประพาสอย่างในวันนี้ว่า ประพาสต้น และยังเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ว่า พระกฐินต้น เรียกแบบเรือนไทยที่ทรงสร้างสำหรับประทับอย่างชาวบ้านว่า เรือนต้น กันต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงดำเนินตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินต้นเป็นประจำทุกปี การจะเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินต้นที่วัดใดมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. เป็นวัดที่ยังไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินมาก่อน
๒. ประชาชนมีความเลื่อมใสในวัดนั้นมาก
๓. ประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปจะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิดด้วย
แนวปฏิบัติ
ในกรณีที่เสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินเป็นารส่วนพระองค์เรียกกันว่า พระกฐินต้น ส่วนมากจะเป็นวัดในต่างจังหวัด สำนักพระราชวังจะออกเป็นหมายรับสั่ง ส่วนมากจะแต่งเครื่องแบบปกติขาว เฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่เฝ้าฯ เจ้าหน้าที่นอกนั้นหรือข้าราชการมนท้องถิ่น แต่งกายเครื่องแบบปกติกากีคอตั้งแบบข้าราชการ หรือกากีคอพับผูกผ้าผูกคอ การเฝ้าฯ รับเสด็จ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะรับรองข้าราชการและผู้มีเกียรติรอเฝ้าฯ ณ ที่ซึ่งจัดไว้นอกพระอุโบสถ การเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินในต่างจังหวัดนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องจัดข้าราชการเข้าแถวรับเสด็จฯ ณ ที่ซึ่งรถยนต์พระที่นั่งเทียบ เมื่อเสด็จฯ ลงจากรถยนต์พระที่นั่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเข้าไปเฝ้าฯ ถวายคำนับ (ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์) แล้วกราบบังคมทูลรายงานตนเอง และเบิกข้าราชการผู้ใหญ่ที่เฝ้าฯ เช่น
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า …………… ผู้ว่าราชการจังหวัด………… ขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาสเบิกผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท (ในกรณีที่ภริยาเฝ้าฯ อยู่ด้วย) นาง………….. ภริยาข้าพระพุทธเจ้า (จะทูลเกล้าถวายดอกไม้ด้วยก็ได้) แล้วต่อไปควรจะกราบบังคมทูลเฉพาะ ข้าราชการผู้ใหญ่ระดับสูง เช่น รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัด นายอำเภอของท้องที่ที่เสด็จฯ เท่านั้น
เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อไปถวายยังวัดหลวง นอกจาก วัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ว่า จะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง (๑๖ วัดดังที่กล่าวมาแล้ว) เหตุที่เกิดกฐินพระราชทานเพราะว่าปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคลหรือบุคลากรที่สมควรรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายได้และผู้ที่ได้รับพระราชทานจะเพิ่มไทยธรรมเป็นส่วนตัวโดยเสด็จพระราชกุศลด้วยตามกำลังศรัทธาก็ได้ ปัจจุบันกระทรวง ทบวง กรม คณะบุคคลหรือบุคคลใดมีความประสงค์จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงใดก็ติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการตามระเบียบ ซึ่งเท่ากับเป็นการจองกฐินไว้ก่อนนั่นเอง
แนวปฏิบัติ
ขั้นตอนของกฐินพระราชทานมีดังนี้
๑. เมื่อได้รับผ้าพระกฐินพระราชทานจากกรมการศาสนาแล้ว ควรถวายหลังวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระกฐินวันแรกแล้ว
๒. ให้ติดต่อกับวัดโดยตรง เพื่อแจ้งวัน เวลา และขอให้เจ้าอาวาสสั่งไวยาวัจกรเตรียมสถานที่และสิ่งจำเป็นที่มีบูชาพระรัตนตรัยมีเครื่องบูชาพร้อม อาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์อนุโมทนาพระกฐิน โต๊ะขนาดกว้างพอสมควรสำหรับวางพานแว่นฟ้า ผ้าไตรพระกฐินและพานเทียนพระปาติโมกข์ โต๊ะวางเครื่องบริขารพระกฐินและเครื่องไทยธรรม โต๊ะเก้าอี้สำหรับผู้เป็นประธานและผู้ไปร่วมพิธีตามสมควร
๓. เมื่อถึงวันกำหนด ก่อนผู้เป็นประธานจะไปถึงหรือก่อนเริ่มพิธี ให้เจ้าหน้าที่เชิญเครื่องพระกฐินจัดไว้บนโต๊ะ วางเทียนปาติโมกข์ไว้บนพาน และให้มีเจ้าหน้าที่แต่งเครื่องแบบหรือแต่งสากลนิยมคอยส่งให้ผู้เป็นประธานที่เชิงบันไดหรือประตูเข้าสถานที่ประกอบพิธี
๔. ประธานรับผ้าพระกฐินจากเจ้าหน้าที่ที่เชิงบันได พระอุโบสถอุ้มประคองยืนตรงถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วจึงเข้าสู่พระอุโบสถตรงไปวางไว้ที่พานแว่นฟ้า ซึ่งตั้งอยู่หน้าอาสนสงฆ์
(ถ้ามีปี่พาทย์หรือเครื่องดนตรีให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ขณะผู้เป็นประธานรับผ้าไตรจากเจ้าหน้าที่หรือรับที่โต๊ะหมู่ในกรณีที่จัดไว้ ต่อจากนั้นจึงบรรเลงเพลงช้า) ขณะประธานเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธีจนถึงเวลาจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วจึงส่งเทียนชนวนคืน ให้หยุดบรรเลงทันทีแม้จะยังไม่จบเพลงก็ตาม และควรมีเจ้าหน้าที่คอยให้สัญญาณเวลาให้เริ่มเพลงหรือให้หยุดบรรเลง
๕. เมื่อวางผ้าพระกฐินแล้ว จุดธูปเทียนเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบ ๓ หน
๖. เมื่อกราบพระรัตนตรัยแล้ว ไปที่พานแว่นฟ้าหยิบผ้าห่มพระประธานส่งให้เจ้าหน้าที่นำไปมอบแก่ไวยาวัจกร แล้วยกผ้าพระกฐินขึ้นประคอง พนมมือหันไปทางพระประธานว่า นโม ๓ จบ ต่อจากนั้นหันหน้าไปทางพระสงฆ์ว่าด้วยคำถวายพระกฐินดังนี้
“ผ้าพระกฐินทานกับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐกอปรด้วยพระราชศรัทธา โปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้า * น้อมนำมาถวายแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษากาลด้วยไตรมาสในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าพระกฐินทานนี้ กระทำกฐินัตถารกิจตามพระบรมพุทธานุญาตนั้นเทอญ”
( * ถ้าเป็นกระทรวง ทบวง กรม องค์การ สมาคม บริษัท ห้างร้าน ให้เปลี่ยนคำว่า ข้าพเจ้า เป็นชื่อหน่วยงานนั้นๆ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล่าฯ พระราชทาน)
กล่าวถวายพระกฐินทานจบแล้วประเคน พร้อมด้วยเทียนพระปาติโมกข์เสร็จแล้ว เข้านั่ง ณ ที่ซึ่งจัดไว้ในระหว่างที่ผู้เป็นประธานเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธี ผู้อยู่ในพิธีทั้งหมด ยืนแสดงความเคารพจนกว่าประธานจะนั่งลง จึงนั่งลงพร้อมกัน
๗. พระสงฆ์ทำพิธีกรรม
๘. เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีกรรมเสร็จออกไปครองผ้า (ปี่พาทย์บรรเลงเพลงสาธุการ ถ้ามี) ครองผ้าเสร็จกลับเข้านั่งยังอาสนสงฆ์ (ปี่พาทย์หยุดบรรเลง) ผู้เป็นประธานและผู้ไปร่วมพิธีถวายเครื่องพระกฐินแก่องค์ปกครอง เริ่มตั้งแต่บาตรเป็นต้นไปจนถึงเครื่องมือก่อสร้าง ถ้าจัดเครื่องไทยธรรมถวายเพิ่มเติมควรถวายภายหลังเครื่องพระกฐินหลวง
๙. ถ้ามีผู้บริจาคร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล ควรประกาศให้ที่ประชุมทราบ
๑๐. พอพระสงฆ์อนุโมทนา ผู้เป็นประธานกรวดน้ำ แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก จบประธานกราบพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี (ปี่พาทย์บรรเลงเพลงกราวรำ ถ้ามี)
๑๑. กรมการศาสนาเป็นผู้จัดสรรและดำเนินการขอพระราชทาน จึงขอให้รายงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานและยอดเงินโดยเสด็จพระราชกุศลไปยังกรมศาสนา หลังจากการถวายผ้าพระกฐินเสร็จแล้ว เพื่อจะได้รวบรวมดำเนินการกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานถวายพระราชกุศลโดยพร้อมเพรียงกัน
Cr. http://katin3.bu.ac.th/index.php/bukatin-history/bukatin-meaning-2
ผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าเปลี่ยนสำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะเดียวกับ ผ้าสบง โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้ำฝนจำเป็นต้องเปลือยกาย ทำให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาขามหาอุบาสิกา จึงคิดถวาย “ผ้าวัสสิกสาฏก” หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝนในพระไตรปิฎก คือ ครั้งหนึ่งสมัยพุทธกาล พระศาสดาประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร นางวิสาขาได้มาฟังธรรม แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาและหมู่สงฆ์ไปฉันที่บ้านของนางในวันรุ่งขึ้น เช้าวันนั้น เกิดฝนตกครั้งใหญ่ ตกในทวีปทั้ง 4 พระศาสดาจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสรงสนานกาย พระสงฆ์ทั้งหลายที่ไม่มีผ้าอาบน้ำฝนจึงออกมาสรงน้ำฝนโดยร่างเปลือยกายอยู่ พอดีกับนางวิสาขามหาอุบสิกาสั่งให้นางทาสีไปนิมนต์ภิกษุมารับภัตตาหารที่บ้านของตน เมื่อนางทาสีไปถึงที่วัดเห็นภิกษุเปลื้องผ้าสรงสนานกาย ก็เข้าใจว่า ในอารามมีแต่พวกชีเปลือย (อาชีวกนอกพระพุทธศาสนา) ไม่มีภิกษุอยู่จึงกลับบ้าน ส่วนนางวิสาขานั้นเป็นสตรีที่ฉลาดรู้แจ้งในเหตุการณ์ทั้งปวง เมื่อถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวันนั้นแล้ว จึงได้โอกาสอันควรทูลขอพร 8 ประการต่อพระศาสดา
- ขอถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่พระสงฆ์เพื่อปกปิดความเปลือยกาย
- ขอถวายภัตแต่พระอาคันตุกะ เนื่องจากพระอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง
- ขอถวายคมิกภัตแก่พระผู้เตรียมตัวเดินทาง เพื่อจะได้ไม่พลัดจากหมู่เกวียน
- ขอถวายคิลานภัตแก่พระอาพาธ เพื่อไม่ให้อาการอาพาธกำเริบ
- ขอถวายภัตแก่พระผู้พยาบาลพระอาพาธ เพื่อให้ท่านนำคิลานภัตไปถวายพระอาพาธได้ตามเวลา และพระผู้พยาบาลจะได้ไม่อดอาหาร
- ขอถวายคิลานเภสัชแก่พระอาพาธ เพื่อให้อาการอาพาธทุเลาลง
- ขอถวายยาคูเป็นประจำแก่สงฆ์
- ขอถวายผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่ภิกษุณีสงฆ์เพื่อปกปิดความไม่งามและไม่ให้ถูกเย้ยยัน
โดยนางวิสาขาได้ให้เหตุผลการถวายผ้าอาบน้ำฝนว่า เพื่อให้ใช้ปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ที่ดูไม่งามดังกล่าว ดังนั้น นางวิสาขาจึงเป็นอุบาสิกาคนแรกที่ได้รับอนุญาตให้ถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ ผ้าอาบน้ำฝน จึงถือเป็นบริขารพิเศษที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์ได้ใช้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัยปิฎก มิเช่นนั้นพระสงฆ์จะต้องอาบัตินิคสัคคิยปาจิตตีย์ คือ ต้องทำผ้ากว้างยาวให้ถูกขนาดตามพระวินัย คือ ยาว 6 คืบพระสุคต กว้าง 2 คืบครึ่ง ตามมาตราปัจจุบันคือ ยาว 4 ศอก 3 กระเบียด กว้าง 1 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว 1 กระเบียดเศษ ถ้าหากมีขนาดใหญ่กว่านี้ พระสงฆ์ต้องตัดให้ได้ขนาด จึงจะปลงอาบัติได้
“ผ้าป่า” คือ ผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเอง โดยไม่ได้ทีกี่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า “ซักผ้าป่า” ส่วนการถวายผ้าป่านิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินเรียกว่า “ทอดผ้าป่า”
ความเป็นมาของพิธีทอดผ้าป่ากล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ เป็นต้น เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล้กน้อยพอแก่ความต้องการแล้วจึงนำมาซักทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อมสี เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง
การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างลำบากยุ่งยากและเป็นงานใหญ่ ภิกษุทั้งหลายจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันอย่างมาก เมื่อชาวบ้านทั้งหลายเห้นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ จึงต้องการนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาติโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้วคือ ไม่ต้องการ ก็จำนำผ้านั้นมาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าป่าจึงมีขึ้นด้วยสาเหตุนี้
การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมา แต่ในปัจจุบันนิยมทำกันในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่าง คือ 1.ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน 2.ผ้าป่าโยง 3.ผ้าป่าสามัคคี ซึ่งในแต่ละชนิดมีรายละเอียดดังนี้
- ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าชนิดที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียกว่า ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน
- ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวมๆกันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอดกันตามวัดต่างๆที่อยู่ริมแม่น้ำ จึงเรียกว่า ผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้
- ผ้าป่าสามัคคี คือ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามบุคคล สถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางทีจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันหาเงินเพื่อนำไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ในปัจจุบันการจัดทำการทอดผ้าป่าชนิดนี้จะเห็นว่าเป็นที่นิยมทำกันมาก เพื่อรวมเงินสร้างสิ่งก่อสร้าง หรือจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น อาคารที่พักคนป่วยในโรงพยาบาล อาคารเรียน อุปกรณ์ทางการศึกษา อุปกรณ์ทางการแพทย์
การจัด สังฆทานวันเกิด การทำบุญถวายสังฆทาน ชุดสังฆทาน เมื่อถึงวันครบรอบวันเกิด ชาวพุทธส่วนใหญ่มักตื่นเช้าทำบุญตักบาตร เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต โดยเฉพาะการถวายสังฆทานด้วยเชื่อกันว่าทำแล้วจะได้บุญมาก ซึ่งได้เชื่อกันว่าเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง ซึ่งคนที่กำลังมองหาการจัดสังฆทานตามวันเกิดที่เหมาะสมกับตัวเรา ตามยุคสมัย และที่สำคัญพระสงฆ์สามารถนำไปใช้งานได้จริง
ในการทำสังฆทาน ซึ่งจะกระทำได้นั้นตามพุทธบัญญัติกล่าวนั้นต้องมีพระภิกษุ 4 รูปขึ้นไป จึงกระทำสังฆทานได้ ถ้าวัดนั้นมีไม่ถึงเราจะเรียกว่าถวายไทยธรรม ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า ในการถวาย สังฆทานวันเกิด ควรทำอย่างไร หรือต้องเตรียมอะไรไปถวายจึงจะเหมาะสม วันนี้เราจะมาแนะนำการจัดสังฆทานให้ตรงตามวันเกิดของแต่ละคนดังนี้
คนที่เกิดวันอาทิตย์
คนที่เกิดวันอาทิตย์ จะมีจุดเด่นที่สมองและวาจา ควรรู้จักใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับสถานการณ์เฉพาะหน้า และคนที่เกิดวันอาทิตย์มักทำบุญกับคนไม่ขึ้น ฉะนั้นการจัดชุดสังฆทาน ควรมีเครื่องอุปโภคและบริโภคอย่าง อาหารแห้ง เครื่องกระป๋อง เครื่องดื่ม ยาสีฟันแปรงสีฟัน สบู่ ผงซักฟอก หนังสือสวดมนต์ ร่ม รองเท้า เทียน น้ำมันตะเกียง และพระพุทธรูปปางถวายเนตร 1 องค์
คนที่เกิดวันจันทร์
คนที่เกิดวันจันทร์ เป็นคนที่มีเสน่ห์ น่าคบหา แต่มีข้อเสียอยู่ที่ปาก ที่อาจพูดล่วงเกินคนอื่นจนนำภัยมาถึงตัวได้ ซึ่งการจัดชุดสังฆทานของคนที่เกิดวันจันทร์นั้น ฉะนั้นการจัดชุดสังฆทานควรมีเครื่องอุปโภคบริโภค ข้าวสารอาหารแห้ง เครื่องกระป๋อง น้ำปาณะ หนังสือสวดมนต์ ร่ม รองเท้า และพระพุทธรูปปางห้ามญาติ 1 องค์
คนที่เกิดวันอังคาร
คนที่เกิดวันอังคาร เป็นคนที่ทุ่มเท จริงจังจนขาดสติ และบางครั้งก็ขยันจนไม่มีเป้าหมาย หรือทำไว้ก่อนนั้นเอง และส่วนใหญ่คนที่เกิดวันอังคารมักขาดสภาพคล่องทางการเงินบ่อย ๆ ด้วย ฉะนั้นการจัดชุดสังฆทานที่เหมาะกับคนวันอังคาร จะต้องมีเครื่องอุปโภคบริโภค หนังสือธรรมะ ผ้าไตรจีวร 1 ไตร และพระพุทธรูปปางห้ามไสยาสน์ 1 องค์
คนที่เกิดวันพุธกลางวัน
คนที่เกิดวันพุธ จะมีสมองและความคิดที่ตื่นตัวตลอดเวลา เหมาะกับการเป็นที่ปรึกษามากกว่าทำให้ตนเอง ด้วยเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ในสิ่งแปลกใหม่ทันโลก ทันเหตุการณ์ แต่ควรระวังอย่าไปขัดผลประโยชน์ของผู้อื่น ฉะนั้นการจัดชุดสังฆทานที่เหมาะสมกับผู้ที่เกิดวันพุธกลางวัน คือ เครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ รองเท้า ผ้าอาบน้ำฝน และพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร 1 องค์
คนที่เกิดวันพุธกลางคืน
คนที่เกิดวันพุธกลางคืน จะมีไหวพริบดี กล้าเผชิญหน้ากับทุกสถานการณ์ รู้จักเอาตัวรอด แต่เป็นคนหูเบา มักเชื่อคนใกล้ชิดได้ง่าย ฉะนั้นการจัดชุดสังฆทานที่เหมาะสมกับคนที่เกิดวันพุธกลางคือ จะเป็นชุดสังฆทานยา หลอดไฟ ตะเกียงเจ้าพายุ และพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ 1 องค์
คนที่เกิดวันพฤหัสบดี
คนที่เกิดวันพฤหัสบดี มักมีความขัดแย้งกับผู้มีอำนาจเหนือกว่า ทำดีไม่ได้ดี ไม่ค่อยได้รับความยุติธรรมเท่าที่ควร และต้องแบกรับภาระทานผู้อื่นเสมอ ฉะนั้นการจัดชุดสังฆทานที่เหมาะกับคนที่เกิดวันพฤหัสบดี คือ จามชาม ช้อน ภาชนะต่าง ๆ เสื่อ อาสนะ เครื่องบริโภคต่าง ๆ และพระพุทธรูปปางสมาธิ 1 องค์
คนที่เกิดวันศุกร์
คนที่เกิดวันศุกร์ มักเจอรักง่าย หน่ายเร็ว เจอแต่คนเจ้าชู้ โดนนินทาว่าร้ายและมักเสียทรัพย์เพราะผู้อื่นเสมอ แต่เป็นคนที่มีความมานะอดทน ฉะนั้นการจัดชุดสังฆทานที่เหมาะกับคนที่เกิดวันศุกร์ คือ เครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ หนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมะ ร่ม ผ้าเช็ดเท้า โคมไฟ หลอดไฟ ผ้าไตรจีวร และพระพุทธรูปปางรำพึง 1 องค์
คนที่เกิดวันเสาร์
คนที่เกิดวันเสาร์ เป็นคนที่มีท่าทางสง่าผึ่งผาย แต่ไม่กล้าตัดสินใจอะไรเท่าที่ควร และการเงินมักรั่วไหลได้ง่าย ๆ ฉะนั้นการจัดชุดสังฆทานที่เหมาะกับคนที่เกิดวันเสาร์นั้น ควรเป็นชุดสังฆทานที่มีเครื่องอุปโภคบริโภค รองเท้า ย่ามพระ ร่ม หนังสือธรรมะ เทียน หลอดไฟ และ พระพุทธรูปปางนาคปรก 1 องค์
กรรม คือ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทั้งในอดีตชาติ และในปัจจุบันซึ่งล้วนเป็นกรรมทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมีผลกระทบต่อปัจจุบันและอนาคต ใครทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมไปตกอยู่ที่ผู้กระทำ ไม่มีใครสามารถหลุดพ้นหรือหนีจากกฎแห่งกรรมไปได้ วิบากกรรมของแต่ละคนก็แตกต่างกัน บางคนว่างงาน บางคนไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ครอบครัวมีปัญหาต้องทะเลาะกันเสมอ มีปัญหากับคนรักเป็นระยะ สร้างความทุกข์ให้กับตนเองอย่างมากมาย
ดังนั้นวิธีการ แก้กรรม ให้ตัวเองจึงมีมากมาย แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล ในการบรรเทาวิบากกรรมนั้นมี อาจทำได้หลายวิธีถ้าเจ้ากรรมนายเวรจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบริเวณที่เจ็บปวดได้อโหสิกรรม จะหายเจ็บป่วยทันที กรรมนี้จะเบาบางและชีวิตจะดีขึ้น โดยสังเกตจากตัวเราว่า มีสิ่งที่ดีเข้ามามากขึ้นที่ป่วย ก็จะหาย ที่จนก็จะเริ่มมี แสดงว่าเราเริ่มมีบุญแล้ว หากกรรมยังเยอะ ก็ยังลำบากอยู่
วิธีการ แก้กรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ เช่น การใส่บาตร ถือศีล กินเจ ช่วยผู้ที่เดือดร้อน ถวายสังฆทาน สวดมนต์ กราบบิดามารดา ล้วนเป็นมหากุศล การทำบุญให้อธิษฐานจิตทุกครั้ง เพื่อนำส่งบุญให้ตัวเอง มีชีวิตที่ดีขึ้น เจริญขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นกุศลและเป็นบุญทั้งสิ้น โดยวันนี้เรามีวิธีการแก้ด้วยตนเอง 15 วิธี ดังนี้
1. ถือศีล 5 การ ถือศีล 5 เป็นประจำจะช่วยเสริมดวงชะตาและจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงามการทำดีและไม่เบียดเบียนใครถือเป็นการทำบุญกุศลที่ได้อานิสงส์ เป็นผลให้เกิดความโชคดี และแก้เคราะห์ลดกรรมได้
2. การถือศีล 8 จะช่วยเสริมดวงและแก้เคราะห์ได้เช่นเดียวกับการถือศีล 5 แต่การถือศีล 8 นั้นปฏิบัติได้ยากยิ่ง แต่เมื่อปฏิบัติได้สำเร็จจะได้กุศลแรงนักปฏิบัติแล้วยังช่วยเสริมดวงอำนาจ บารมีได้
3. กินเจ ก็เพื่อลดละชีวิตสัตว์ ซึ่งได้อานิสงส์ผลบุญสูงและควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถ้าอธิษฐานไว้ว่า 7 วัน ก็ทำให้ครบ 7 วัน อาจตั้งจิตว่าจะทำทุกวันพระและทุกเดือน หรือปฏิบัติทุกเดือน เดือนละ 3 วัน หรือ 7 วัน เป็นต้น
4. ไหว้พระและถวายดอกไม้ ธูปเทียน รวมทั้งการปิดทองคำเปลวและเครื่องหอม ผลบุญนี้จะทำให้ชีวิตรุ่งเรือง มีความเจริญก้าวหน้า
5. ถวายน้ำมันตะเกียง เพื่อความรุ่งโรจน์โชติช่วงของชีวิต เช่นเดียวกับความสว่างของแสงตะเกียง ทำให้พ้นจากความมืดมิดทั้งการดำเนินชีวิต รวมทั้งปัญหาและความคิดที่สว่างไสวไม่อับจนหนทาง
6. ถวายสังฆทาน เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระสงฆ์ อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก จะทำสิ่งใดก็ราบรื่นไม่ติดขัด พบแต่ความสำเร็จสมปรารถนา รวมทั้งมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ ไม่ขัดสน
7. ไหว้พระบูชาเทพต่างๆ จะทำให้พบกับความสุข ความเจริญ เกิดความสุขใจว่ามีที่พึ่งพิง ยึดเหนี่ยว นำมาซึ่งกำลังใจในการต่อสู้ชีวิตต่อไปและรู้สึกเสมอว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คอยคุ้มครองเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
8. ทำบุญปล่อยสัตว์ เป็นการไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น แต่ถือว่าได้บุญแรง จะต้องทำด้วยความตั้งใจจริง เช่น การไปซื้อสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่าไปปล่อย ไถ่ชีวิตวัวควายถวายวัดเพื่อมอบให้ชาวนานำไปใช้ประโยชน์ ซื้อปลาในตลาดที่จะถูกฆ่าไปปล่อยน้ำ ผลบุญนี้ยังผลให้หมดทุกข์ หมดภัย และพบความสุขความเจริญในชีวิต
9. ทำบุญ ให้ทาน เป็นการรู้จักเสียสละตนเองและแบ่งปันให้ผู้อื่น ซึ่งผลบุญจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีจิตใจยินดีในการทำบุญให้ทานด้วย ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงพุทธศาสนา หรือการให้ทานเกื้อกูลคนยากไร้ ล้วนแล้วแต่เป็นบุญส่งเสริมให้ชีวิตมีโชค มีทรัพย์ และมากด้วยบารมี
10. ทำทานแก่คนยากไร้ เป็นการทำบุญที่มาจากจิตใจอันไม่ยึดติดมีความไม่โลภ ผลบุญจึงหนุนนำให้มีแต่ความราบรื่น ยามมีเรื่องติดขัดก็จะมีผู้มาช่วยเหลือค้ำจุน ยามมีเคราะห์ภัยก็จะแคล้วคลาด เพราะแรงอนุโมทนาจิตจากผู้ยากไร้ที่ได้รับสิ่งของจากเรานั่นเอง
11. ทำบุญโลงศพ ซื้อโลงศพบริจาคศพอนาถาไร้ญาติ จะได้อานิสงส์แรงยิ่งนัก การทำบุญเช่นนี้จะช่วยเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่งสามารถต้านเคราะห์ภัยหนักต่างๆ และผ่อนหนักเป็นเบาได้
12. พิมพ์หนังสือธรรมะแจก จัดพิมพ์เองหรือร่วมบริจาคสมทบทุนการพิมพ์กับผู้อื่นก็ได้ เป็นการเสริมดวงให้มีวาสนาบารมี เพื่อให้ปัญญาสว่าง หมดทุกข์ หมดโศก ไม่มีเคราะห์ร้ายมากล้ำกราย
13. บริจาคค่าน้ำ ค่าไฟ จะช่วยให้ชีวิตราบรื่น หมดทุกข์ หมดโศก ประสบแต่ความโชคดี
14. ซื้อข้าวสารถวายวัด เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้าตามสถานสงเคราะห์เป็นการสั่งสมบุญกุศล เพื่อให้ชีวิตมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์และเพียบพร้อมด้วยบารมี
15. การตักบาตรร่วมขันกับผู้อื่นหรือทำบุญร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะทำบุญด้วยการบริจาคทรัพย์หรือโดยทางอื่น จะส่งผลให้เนื้อคู่ดูดี ดวงชะตาแข็งแกร่ง เกื้อกูลซึ่งกันและกัน และจะได้แต่เพื่อนที่ดีในชาตินี้
สมาธิ คือ ความสงบ ความสบาย และความรู้สึก เป็นสุขอย่างหนึ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท มีสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เมตตาสั่งสอนไว้ ดังนี้
- กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีล 5 หรือ ศีล 8 เพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง
- คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดีที่ได้กระทำไว้ดีแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่จะตั้งใจทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่าร่างกายทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดีล้วนๆ
- นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายนั่งให้อยู่ในท่าที่พอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตาหรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่ากำลังเข้าไปสู่สภาวะแห่งความสงบ สบายอย่างยิ่ง
- นึกกำหนดนิมิต เป็นดวงกลมใส ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตา เย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า “บริกรรมนิมิต” นึกสบายๆนึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวลเป็นพุทธานุสติว่า “สัมมา อะระหัง” หรือค่อยๆน้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆเคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับคำภาวนา
เทคนิคเบื้องต้นในการทำ สมาธิ
- หลับตาเบาๆ ผนังตาปิด 90%
- อย่าบังคับใจ เพียงตั้งสติ วางใจเบาๆ ณ ศูนย์กลางกาย กำหนดนิมิตเป็น ดวงแก้วใสๆ เบาๆ หรือ องค์พระใสๆ เบาๆ หรือ ลมหายใจ เข้า-ออก เบาๆ หรือ อาการท้อง พอง-ยุบ เบาๆ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
- กำหนดนิมิต นึกนิมิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกุศโลบายล่อใจให้เข้ามาตั้งมั่นในกาย
- เมื่อใจเข้ามาหยุดนิ่งในกาย การกำหนดนิมิตก็หยุดโดยอัตโนมัติ
- รับรู้การเปลี่ยนแปลงภายในกายและจิตใจ ด้วยความสงบ
- อยู่ในความดูแลของกัลยาณมิตรอย่างใกล้ชิด
หลักการฝึกสมาธิ
- น้อมใจมาเก็บไว้ ณ ศูนย์กลางกาย แต่ละครั้งเก็บไว้ให้นานที่สุด จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยมีใจตั้งมั่นภายใน
- มีสติกำกับใจตลอดเวลา ทำให้ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ ไม่ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูปฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส รู้ธรรมารมณ์ใดๆ
- ตั้งใจฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ และตรงเวลาเป็นประจำ
- มีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถจริง คอยควบคุม ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
ข้อควรระวัง
- อย่าใช้กำลัง คือ ไม่ใช้กำลังใดๆทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนใดของร่างการก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
- อย่าอยากเห็น คือ ทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอจากบริกรรมภาวนา และบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้
- อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน อาศัยการนึกถึง อาโลกกสิณ คือ กสิณความสว่างเป็นบาทเบื้องต้น
- เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดที่เดียวไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืน เดิน นอน หรือนั่ง อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสหรือองค์พระแก้วใสควบคู่กันไปตลอด
- นิมิตต่างๆที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดทั้งหมด ถ้านิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบนิมิตย่อมปรากฏขึ้นมาใหม่อีก
การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อซักซ้อมปฏิบัติอยู่เสมอๆไม่ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประครองรักษาดวงปฐมมรรคนั้นไว้ตลอดชีวิต ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่า ได้ที่พึ่งของชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ที่จะส่งผลให้เป็นผู้มีความสุขความเจริญ ทั้งในภพชาตินี้และภพชาติหน้า เด็กเคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เมตตาเด็ก ทุกคนมีความรักใคร่สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หากสามารถแนะนำต่อๆกันไป ขยายไปยังเหล่ามนุษยชาติอย่างไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ สันติสุขอันไพบูลย์ที่ทุกคนใฝ่ฝัน ก็ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
การทำบุญที่คนไทยส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเป็นการทำทานที่ได้บุญมากที่สุด คือ การ ถวายสังฆทาน เพราะเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด ผู้ที่ประสงค์จะทำทานจะเตรียมสิ่งของที่จะถวายทาน แล้วนำไปยังวัด เมื่อเจอพระสงฆ์แล้วให้ทำการนิมนต์พระสงฆ์รูปใดก็ได้มารับสังฆทาน ก็ถวายโดยไม่เจาะจง หากกำหนดว่าจะถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง ทานนั้นก็ไม่เป็นสังฆทาน
ในการ ถวายสังฆทาน นั้นหากมีกำลังมีปัจจัย ขอแนะนำว่าควรทำให้ครบทั้งปัจจัยสี่ มีอาหารคาวหวานให้ครบถ้วน น้ำสะอาด เครื่องนุ่งห่ม (เครื่องบวช) ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เพิ่มพระพุทธรูปประจำวันเกิดและหนังสือธรรมะเข้าไปด้วยเพื่อให้จิตใจของเจ้ากรรมนายเวร ช่วยให้เขาใจในรสพระธรรม เพื่อให้เขามีจิตใจที่เย็นสบายพ้นทุกข์
การถวายสังฆทานให้ได้อานิสงส์มากที่สุดนั้น คือ
1. เครื่องสังฆทานที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ (ทรัพย์ที่จะทำบริสุทธิ์)
2. ผู้ถวายมีจิตใจ แน่วแน่ บริสุทธิ์ และเบิกบาน ในอันที่จะนึกถึงประโยชน์ในเครื่องสังฆทานที่จำเป็นต่อพระสงฆ์ ทั้งก่อนให้ เวลาให้ และหลังให้
3. พระสงฆ์ (ผู้รับ) เป็นผู้ปฎิบัติชอบ (ยิ่งหากผู้รับถวายสังฆทานเป็น พระอริยเจ้า ยิ่งเป็นพระอริยเจ้าระดับ พระอรหันต์ ยิ่งสมบูรณ์แบบมีอานิสงส์มหาศาล และยิ่งถ้าพระอรหันต์นั้นออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ ยิ่งมหาศาลเป็นทวีคูณประมาณมิได้)
ถ้าต้องการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่ผู้ใดผู้ถวายทานก็มักจะบอกหรือเขียนชื่อนามสกุล ให้แก่พระสงฆ์ เพื่อท่านจะได้ทำพิธีอุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ที่บอกชื่อนั้น ๆ
การทำบุญถวายสังฆทานนั้นได้อานิสงส์ใหญ่มาก หากเราทำถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นสังฆทานที่สร้างกุศลเพื่อตนเอง หรือสังฆทานอุทิศให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ให้เราตั้งใจจัดหาซื้อของ ตามปัจจัยที่เรามี อย่าให้เราเดือดร้อนเพราะทำบุญ ให้ทำตามกำลัง
รู้หรือไม่ว่าในแต่ละวันเราสามารถมีความคิดมากมายได้ถึง 50,000 ความคิด ซึ่งมีทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดีต่อจิตใจเรา ในวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีที่จะกำจัดความยุ่งเหยิง ความคิดในจิตใจของเรา ซึ่งการทำ “สมาธิ” จึงเป็นทางออกที่ดี โดยการฝึกสมาธิในปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายๆ และนี่คือวิธีที่สามารถทำให้คุณฉลาดมากขึ้น มีความสุขมากขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้น
สมาธิ ช่วยให้ฉลาดมากขึ้น
ในปัจจุบันมีสิ่งต่างๆรอบข้างที่เข้ามาทำให้จิตใจเราจะวอกแวก และยังมีทั้งเสียงรบกวนต่างๆ ที่สามารถทำให้เราเสียสมาธิได้ ซึ่งการทำสมาธิคือทางออก การทำสมาธิช่วยการพัฒนาในด้านของความสนใจ โดยสอนให้เราจดจ่อ แน่วแน่ และตามความคิดของเราได้ทัน อีกทั้งยังเพิ่มเซลล์ประสาทในสมองของเรา โดยเฉพาะในส่วนของการควบคุมและการตอบสนองทางอารมณ์ ผลของการทำสมาธินั่นช่วยให้ฉลาดมากขึ้น ความจำและการเรียนรู้ดีขึ้น
ลดความเครียด
ความเครียดสามารถเป็นสาเหตุในการทำลายสุขภาพที่ร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจของเรา เกิดโรควิตกกังวล ความดันโลหิตสูง และโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โชคดีที่การทำสมาธิสามารถทำให้ผ่อนคลายโดยลดการกระตุ้นให้เกิดโรคได้
ใจมีความสุขมากขึ้น
เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) แสดงถึงผลการตรวจสมองของการตอบสนองแบบสู้หรือหนีต่อความเครียดที่ลดลง หลังจากการทำสมาธิเป็นเวลา 2 เดือน ในขณะเดียวกัน ผลยังแสดงถึงเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมต่อการแสดงออกด้านพฤติกรรมทางสังคมและความสามารถในการตัดสินใจที่เพิ่มขึ้น จึงขอเสนอว่าการทำสมาธิสามารถช่วยให้จิตใจของเราหลุดพ้นจากความเครียดได้
การนอนหลับดีขึ้น
ผู้ใหญ่ประมาณ 30% มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ และมักจะมีสาเหตุมาจากความเครียดและความวุ่นวายใจ การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ โดยให้จิตเราอยู่กับปัจจุบัน ความคิดไม่ฟุ้งซ่านและจิตใจปลอดโปร่ง อีกทั้งยังควบคุมพฤติกรรมและการแสดงของเรา ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถช่วยให้เรานอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้น
ยืดอายุสมอง
ผลของการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการทำสมาธิและอายุการทำงานของสมอง โดยขอแนะนำว่าการยกระดับการทำสมาธิและการยืดหยุ่นของสมองจากการทำสมาธิ สามารถช่วยปกป้องสติปัญญาจากการเสื่อมถอยได้ รูปแบบการดำเนินชีวิตอื่นๆ ทั้ง อาหารการกิน การออกกำลังกาย และการศึกษาล้วนมีความสำคัญต่อชีวิตเราทั้งนั้น แต่ก็เหมือนกับกล้ามเนื้อทั่วๆไปในร่างกาย สมองก็ต้องการการออกกำลังกายเป็นประจำเช่นกัน
ผ้าไตรจีวร 5 ขัณฑ์และผ้าไตรจีวร 9 ขัณฑ์
ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์ | สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวายผ้าไตร 9 ขัณฑ์
ผ้าไตร จีวร
ผ้า 3 ผืน ที่เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุ และสามเณร คือ
- ผ้าสบง (อันตรวาสก) คือ สำหรับผ้านุ่ง คู่กับผ้าจีวร แบ่งย่อยเป็น
🔸 สบงขัณฑ์ หรือ สบงครอง คือ ผ้ามาตัดออกเป็นขัณฑ์ และนำมาเย็บต่อกันเป็นผืนเดียวกัน พระสงฆ์ใช้ครองในการทำสังฆกรรม ตามพระธรรมวินัย พระสงฆ์สามารถมีได้เพียงผืนเดียว
🔸 สบงอนุวาต คือ ผ้าผืนเดียวไม่ได้ตัดขาดออกเป็นขัณฑ์ ลักษณะคล้ายผ้าอาบน้ำฝน พระสงฆ์ใช้ครองในการทำสังฆกรรมไม่ได้ พระสงฆ์จะใช้ครองตอนอยู่ในกุฏิ และสามารถมีได้หลายผืน - ผ้าจีวร (อุตราสงค์) คือ ผ้านุ่งห่ม หรือ ผ้าห่มคลุมคู่กับผ้าสบง
- ผ้าพาดบ่า (สังฆาฎิ) คือ ผ้าพาดทาบบนผ้าจีวร บนบ่าซ้ายในพิธีสงฆ์
สีผ้าไตรจีวร
ผ้าไตรจีวรในประเทศไทยมีความหลากหลายในการย้อมสีและการใช้งาน อาจมีมากถึงหลากหลายเฉดสี แต่สีที่นิยมการใช้งานอย่างทั่วไปมีดังนี้
• สีพระราชนิยม (พระราชทาน) เป็นสีกลางของพระสงฆ์ ทั้งมหานิกายและธรรมยุต หรือ
สีเดียวกันกับสังฆราชองค์ปัจจุบันครอง เป็นสีที่พระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9
• สีส้มทอง เป็นสีที่นิยมสำหรับพระสงฆ์มหานิกาย และเป็นสีมาตรฐานที่นิยมทั่วไปตาม
วัดต่าง ๆ
• สีแก่นขนุน เป็นสีที่นิยมสำหรับพระสงฆ์ธรรมยุต ใช้ในวัดหลักๆ เช่น วัดบวรนิเวศ และ
วัดป่ากรรมฐานทั่วไป เป็นต้น
• สีแก่นบวร เป็นสีที่นิยมสำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน
•สีกรัก เป็นอีกสีที่นิยมสำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน หรือวัดแทบภาคอีสาน
•สีกรักแดง (ครูบา) เป็นอีกสีที่เหมาะสำหรับพระครูบา หรือวัดแทบภาคเหนือ
ทั้งนี้ ผ้าไตร 5 หรือผ้าไตร 9 ขัณฑ์ และสีผ้าไตร นั้น จะขึ้นอยู่กับวัด ซึ่งอาจจะใช้กันแตกต่างกันออกไป ควรตรวจสอบก่อนเพื่อความสมบูรณ์ในการถวาย
ไตรครอง
ผ้าไตรครบชุด (7 ชิ้น) ประกอบด้วย
ผ้าสบงขัณฑ์, ผ้าจีวร, ผ้าพาดบ่าหรือสังฆาฏิ (2 ชั้น), อังสะ, รัดประคด, ผ้ารัดอก และผ้ารับประเคนหรือผ้ากราบ
นิยมถวาย งานบวชพระ หรือพิธีมงคลพิเศษ
ไตรเต็ม
ผ้าไตรครบชุด หรือ ไตรใหญ่ (7 ชิ้น) ประกอบด้วย
ผ้าสบงขัณฑ์, ผ้าจีวร, ผ้าพาดบ่าหรือสังฆาฏิ (1ชั้น), อังสะ, รัดประคด, ผ้ารัดอก และผ้ารับประเคนหรือผ้ากราบ
นิยมถวายพระงานมงคลพิเศษ อาทิ งานบวชพระ ทำบุญบ้าน ทำบุญเพื่อบรรพบุรุษหรือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
🔸ไตรอาศัย หรือ ไตรเล็ก
ผ้าไตรเล็ก หรือ ไตรแบ่ง (3 ชิ้น) เป็นผ้าที่พระสงฆ์เอาไว้ผลัดเปลี่ยน หรือสำรองไว้ใช้ ประกอบด้วย
สบงอนุวาต, จีวร และ อังสะ
นิยมถวายพระงานบุญทั่วไป ใช้ได้ในทุกโอกาส ไม่จำกัด
ผ้าวัสสิกสาฎก หรือ ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง พระสงฆ์สามารถใช้ได้อเนกประสงค์ เช่น นุ่งสรงน้ำ, เช็ดตัว, ปูนอน และห่มคลุมกันหนาว เป็นต้น
นิยมถวายพระ ช่วงก่อนวันเข้าพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
การ ตัดกรรม คือ การหยุดทำความชั่วหยุดทำบาป ส่วนการตัดเวร คือ การหยุดการพยาบาทอาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน คือไม่แก้แค้นซึ่งกัน และกันรู้จักคำว่าให้อภัยซึ่งกันและกัน และผู้ที่ทำผิดก็ให้รู้จักคำว่าขอโทษ ผู้ที่ถูกขอโทษก็รู้จักคำว่าให้อภัย อันนี้เป็นอุบายตัดกรรมตัดเวร
พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าใครทำกรรมใดไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรรมใดใครก่อไว้แล้วในเมื่อใจเป็นผู้จงใจทำลงไปแล้วเป็นกรรมอันเป็นบาป ภายหลังจึงมานึกได้และไม่ต้องการผลของบาป มันก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได้เพราะใจเป็นผู้สั่งให้กาย วาจา ทำลงไป พูดลงไป
โดยคติความเชื่อ “พิธี ตัดกรรม” หรือ “การแก้กรรม” คือการชำระล้างกรรมเก่าๆ ที่แต่ละคนเคยทำไว้ในชาติก่อนๆ เพื่อชาตินี้จะได้มีชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น มีหน้าที่การงานที่ดีขึ้น ความรักราบรื่นและอื่นๆ เพราะจะไม่มีกรรมเก่ามารบกวนอีกต่อไป
“พิธีตัดกรรม” เป็นประเพณีนิยมของชาวมอญรามัญ ชาวพม่า เมื่อครั้งอดีตกาลและได้สืบทอดกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน ชาวพม่าเชื่อว่ายังมีสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกว่านี้อีก สิ่งนั้นคือ “อดีตกรรม” เชื่อในเรื่องอดีตกรรมที่ตายตัว และโชคชะตาที่อาจปรับเปลี่ยนได้ด้วยการสวดมนต์ และการประกอบพิธีกรรม จึงต้องมีบทสวดต่างๆ ไว้เพื่อป้องกันภยันตราย ประกอบพิธีกรรมขึ้นมาเพื่อการสะเดาะเคราะห์กับองค์พระเจดีย์ และพระพุทธรูป สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เหมาะกับบุคคลนั้นๆ อย่างเช่นที่ มหาเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาก โดยเชื่อกันว่าการร่วมบูชาแม่ยักษ์จะสามารถช่วยในการตัดกรรมหรือศัตรูได้ เป็นต้น
การสะเดาะเคราะห์ หรือ “ยะดะยา-เฉ่” เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการขจัดความกลัวอันเกิดขึ้นโดยทั่วไปกับมนุษย์ และเพื่อใช้แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต มักมีความเกี่ยวเนื่องกับโชคชะตา การดูดวงชะตา ซึ่งชาวพม่าส่วนมากยังมักต้องพึ่งพาคำทำนายของหมอดูดวงชะตาอยู่เป็นประจำ พร้อมกับคำแนะนำสำหรับการสะเดาะเคราะห์ของแต่ละคนด้วย
วิธีการสะเดาะเคราะห์มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ปล่อยนกปล่อยปลา เลี้ยงอาหารสัตว์ มอบสิ่งของให้ผู้อื่น กินผลไม้บางชนิด ทิ้งขยะให้พ้นจากบ้าน การถวายสังฆทาน และถวายฉัตรต่อพระเจดีย์ ในบรรดาคำแนะนำเพื่อการสะเดาะเคราะห์นั้น การถวายฉัตรต่อองค์พระเจดีย์ ดูจะเป็นข้อปฏิบัติที่กระทำกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะหากพบกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ ก็ตาม ชาวพม่ามักถือว่าการสะเดาะเคราะห์ด้วยวิธีดังกล่าวนั้นเป็นบุญกิริยาที่ประเสริฐสุด เชื่อว่าหากมีวาสนาได้ถวายพระฉัตรแด่องค์พระเจดีย์ ชีวิตก็จะมีแต่ความร่มเย็นและประสบแต่ความสำเร็จ
แต่ไม่ว่าจะเป็นชาวพม่าหรือชาวไทยที่ยังมีความเชื่อเรื่องบุญ-กรรม อยู่ เราก็มักจะเห็นพิธีกรรมความเชื่อเหล่านี้หลงเหลืออยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะเรียกพิธีกรรมเหล่านี้แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พิธีสวดถอนวิบากกรรม สวดแก่บ่วงกรรม สวดปลดกรรม สวดบังสุกุลเป็น-บังสุกุลตาย
ทุกคนคงจะเคยได้ยินคำว่า “บิดา มารดา คือพระอรหันต์ของบ้าน”บิดามารดาถือเป็นบุคคลที่มีบุญคุณอันสูงสุดของลูกๆ และเป็นหน้าที่ของลูกที่ต้องตอบแทนพระคุณท่านให้ถึงที่สุด ลูกคนใดที่ทำไม่ดีกับบิดามารดาแม้เพียงเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา หรือทางความคิดก็ตาม ถือว่าได้สร้างบาปมหันต์ ลูกที่ทำให้บิดามารดาน้ำตาตกเท่ากับทำให้บิดามารดาตกนรก เป็นบาปหนักอย่างยิ่ง หากไม่ทำการขอขมาเพื่อให้ท่านอโหสิกรรม ชีวิตก็จะหาความเจริญไม่ได้ เพราะมีบาปติดตัวมีชั่วติดตน
ดังนั้น เพื่อให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น เจริญรุ่งเรืองขึ้น เราควรหาโอกาส ขอขมากรรม กับบิดา มารดา เพราะว่าเราคงจำไม่ได้ว่าได้ติดค้างกรรมอะไรกับท่านเอาไว้บ้าง บางขณะเราเองอาจจะไม่รู้ตัวก็ได้ ทำให้เราจะติดกรรมกับท่านได้
วิธีขอขมาบิดามารดา เพื่อให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
การ ขอขมากรรม บิดามารดา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตทำได้ทุกเทศกาล ไม่ใช่เฉพาะวันพ่อ วันแม่ เท่านั้น สำหรับการขอขมาบิดามารดา เป็นสิ่งที่ลูก ๆ ทุกคนควรทำ เพราะใน 1 ปีที่ผ่านมา เราไม่อาจรู้ได้ว่า มีสิ่งใดบ้างที่เราทำลงไป และเป็นเหตุให้บิดามารดาไม่พอใจ ไม่สบายใจ ไม่ว่าโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม และการขอขมาบิดามารดา ยังเป็นการแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณของบิดามารดาที่เลี้ยงดูเรามาอีกด้วย ซึ่งการขอขมาบิดามารดาสามารถทำได้ทุกวัน และทุกเทศกาล
สิ่งที่ควรเตรียมในการขอขมาบิดามารดา
- พานธูปเทียนแพ และพวงมาลัย ที่มีดอกมะลิ ในพวงมาลัย 1 พวง
- ซองใส่ปัจจัยให้พ่อแม่ ถือเป็นการซื้อชีวิตใหม่จากบุพการี
- ชุดใหม่ให้พ่อแม่ นิยมเป็นชุดนอน และอาหารที่ท่านโปรด
- กะลังมังใบใหม่ใส่น้ำอุ่น น้ำลอยดอกมะลิ หรืออาจจะเป็นน้ำใส่น้ำอบให้หอม ๆ
- ผ้าเช็ดมือ เช็ดเท้าผืนใหม่
- ผ้าขาวดิบ
- ถาดใส่ของ (วางทับด้วยผ้าขาวดิบ)
- สถานที่ทำพิธีขอขมา ควรเป็นกลางแจ้ง
หมายเหตุ : หากไม่มี หรือไม่สามารถเตรียมตามความพร้อมทั้งหลายเหล่านี้ได้ ท่านสามารถกระทำเพียงน้อมจิตตั้ง นะโมฯ ทำการกล่าวคำสมาลาโทษได้เลย
ขั้นตอนในการขอขมาบิดามารดา
1.ก่อนทำพิธีขอขมาพ่อแม่ ให้อธิษฐานจิตบอกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ดังนี้
“องค์พระพุทธเจ้า ลูกชื่อ……………………………..วันนี้ลูกตั้งใจจะขอขมา ขอโอสิกรรมจากคุณพ่อคุณแม่ ขอองค์พระพุทธจงบันดาลให้ลูกทำสิ่งนี้สำเร็จเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ด้วยเทอญ แม่ซื้อ เทพยดาทั้งหลาย เจ้าที่เจ้าทาง พระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระแม่พระพาย พระแม่พระเพลิง วันนี้ เวลานี้ ลูกชื่อ………………………….ได้ตั้งใจที่จะทำพิธีขอขมา ขออโหสิกรรมจากคุณพ่อ คุณแม่ ขอจงเป็นพยานให้ลูกด้วยเทอญ”
2. ให้พ่อกับแม่นั่งบนเก้าอี้หรือโซฟา ขณะที่เรานั่งกับพื้น พร้อมกราบท่าน 3 ครั้ง
3. ให้ยกเท้าของท่านมาล้างในกะละมังน้ำอุ่นที่เตรียมไว้ โดยขณะที่ล้างเท้าให้ท่านอยู่นั้น ก็กล่าวขอขมากรรมในสิ่งที่เคยล่วงเกินท่าน ทั้งในอดีตที่ผ่านมาและในอนาคต ทั้งกายก็ดี วาจาก็ดี ใจก็ดี หรือในสิ่งที่ทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจ ลูกกราบขออโหสิกรรมในสิ่งเหล่านั้นด้วย
4. หลังจากที่เราล้างเท้าท่านไป พูดไป จนเสร็จก็ให้นำเท้าของท่านมาวางบนขาเรา ซึ่งมีผ้าเช็ดเท้ารองอยู่ หลังจากนั้น ก็ให้เช็ดเท้าท่านให้แห้ง
5. เมื่อเช็ดเท้าของท่านแห้งดีแล้ว ก็ให้นำเท้าของท่านมาวางไว้บนขาเราก่อน และอธิษฐานจิตพร้อมพูดบอกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ อีกครั้งว่า “พระแม่ธรณีเจ้าขา พระแม่คงคาเจ้าขา พระแม่พระพายเจ้าขา พระแม่พระเพลิงเจ้าขา ลูกมาขอกราบขมาลาโทษ ขอเป็นทิพยญาณ นำความดีและกุศลผลบุญที่ลูกทำในครั้งนี้ไปบอกปู่ยมราช และนายนิติยบาลให้ด้วย ให้ช่วยจดบันทึกคุณงามความดีครั้งนี้ ที่ผ่านมาลูกจะเป็นยังไงก็แล้วแต่ ลูกขอรับใช้กรรม แต่หลังจากนี้ไป ลูกกราบขอชีวิตใหม่จากบุพการี”
6. จากนั้นให้เราก้มหมอบลง และนำเท้าท่านมาวางบนหัวเรา
7. หลังจากนั้น ก็นำพานธูปเทียนแพมามอบให้กับท่าน พร้อมพูดว่า
“พ่อคะ/แม่คะ ลูกขอขมา ขออโหสิกรรม ขอชีวิตใหม่ที่ดีให้ลูกด้วยนะคะ (ท่านก็จะพูดให้ศีลให้พร ให้ชีวิตใหม่กับเรา)”
8. สุดท้าย ให้อธิษฐานจิตอีกครั้งถึงพระพุทธเจ้า พร้อมกล่าวว่า
“ลูกชื่อ………………………..ขออนุโมทนาบุญ จากพระพุทธเจ้า ให้สำเร็จบุญนี้ให้ลูกด้วย ลูกขอนำกุศลบุญส่วนหนึ่ง อุทิศให้กับเจ้ากรรมนายเวร ที่ติดตามลูกมาแต่อดีตชาติจนปัจจุบัน ให้รับกุศลของลูก ณ บัดนี้
คำกล่าว ขอขมาพ่อแม่
นอกจากคำกล่าวขอขมาข้างต้น ยังมีอีกหนึ่งคำกล่าวที่สามารถใช้ในพิธีขอขมาได้เช่นกัน คือ
“กายกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โยโทโส ที่ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล) ประมาทพลาดพลั้งทำผิดมาในชาตินี้ ตั้งแต่เกิด จนถึงปัจจุบัน (หากนึกเรื่องได้ เช่น เคยด่าว่าพ่อแม่ เคยขัดใจท่าน เคยเถียงท่าน ควรบอกให้หมด) หนูสำนึกแล้ว ในกรรมนั้น ขอให้พ่อและแม่ อโหสิกรรมให้กับลูกในทุก ๆ เรื่อง”
อโหสิกรรม คือ กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมในภพชาติต่อๆ ไปการขออโหสิกรรม คือ การขอโทษในสิ่งที่ตนทำผิดต่อผู้อื่นด้วยใจจริง การให้อโหสิกรรม คือ การให้อภัยต่อความผิดพลาดพลั้งที่ผู้อื่นกระทำต่อตน
คำว่า อโหสิกรรม มาจากคำ 2 คำ คือ
อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า “ได้มีแล้ว” หมายความว่า ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว
กรฺม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การกระทำ หมายถึง การกระทำที่มีเจตนา
แปลรวมกันว่า กรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป
ด้านดีของการอโหสิกรรม
ตามหลักพระพุทธศาสนา เชื่อว่า
1) กรรมเบาบาง อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น สำเร็จในชีวิตนี้ และส่งผลชีวิตหน้า
บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้น จะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า
แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้ หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม
นั่นคือ ในฐานะที่ชาวพุทธ เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่น ก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
2) อานิสงส์สูง เพราะละการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ยกระดับก้าวสู่มรรคผลนิพพาน
อโหสิกรรมหรืออภัยทาน-สามารถทำได้จากความเมตตาที่มีอยู่เพียงพอในจิตใจ จึงมีอานิสงส์ใกล้เคียงกับธรรมทาน ที่ถือว่ามีอานิสงส์สูง เพราะเป็นการให้ปัญญา-แสงสว่างเพื่อพัฒนาจิตใจของผู้อื่นให้ก้าวหน้าไปสู่มรรค-ผล-นิพพานในที่สุดต่อไปตามวาสนาบารมีแห่งตน
ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการตัดอัตตา-ตัวตน การยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความทุกข์กับคนทุกคน ถ้าเรายกโทษ ไม่เอาโทษให้ผู้อื่นได้ เท่ากับเราได้สละตัวตนเราออกไปแล้ว เป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้เราและผู้อื่นที่เรายกโทษให้เขา ได้ก้าวขึ้นไปสู่อริยมรรค-อริยผล-และพระนิพพานในอนาคตได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น
วิธีการขออโหสิกรรม
1) ด้วยการอโหสิร่วมกัน ต่างฝ่ายต่างเอ่ยให้อีกฝ่ายรับรู้ด้วยใจ
ยิ่งทั้งสองฝ่าย มีความหนักแน่น จิตใจคิดอโหสิอย่างบริสุทธิ์ใจเท่าไหร่ ก็ยิ่งขาดจากเวรได้เด็ดขาดเท่านั้น
2) ด้วยการอาศัยสัจจวาจาในการทำบุญร่วมกัน
คือ เมื่อทำบุญใหญ่ร่วมกันแล้วอ้างบุญใหญ่ที่ทำร่วมกันว่า ทำด้วยใจมีไมตรีต่อกัน ขอให้อานิสงส์ จงช่วยล้างเวรภัยระหว่างกัน หากกำลังบุญนั้นถึงพร้อม (เช่น ถวายสังฆทานกับพระอริยสงฆ์) ก็จะทำให้เกิดความอบอุ่น เบิกบานใจร่วมกัน โดยผ่านพ้นแรงอาฆาตเก่า ๆ ได้ จะรู้สึกกันเดี๋ยวนั้นว่า หมดภัยหมดเวรต่อกันแล้ว
3) ด้วยขอโทษ และมีการยกโทษให้จากใจจริง
เมื่อเกิดการประพฤติล่วงเกินผู้อื่นด้วยกาย วาจา หรือใจ แล้วไปขอให้ผู้ที่เราประพฤติล่วงเกินยกโทษให้ เมื่อท่านยกโทษให้แล้วก็ถือว่ากรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม ไม่ให้ผลอีกต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ความจริงใจในการอโหสิกรรม
ความสำคัญของความสมัครใจ ความจริงใจที่จะอโหสิกรรมให้กันนั้น อยู่ที่ความคิดขออภัย ให้อภัย ไม่จองเวรซึ่งกันและกัน ซึ่งพึงระวัง เนื่องจากว่า โดยมากนั้น มักจะเป็นการขออโหสิแบบมีมานะ หรือเจือด้วยโทสะแฝงในใจลึก ๆ บางท่านเจตนาขออภัย ขออโหสิจริง ๆ แต่แล้วในวันหนึ่ง เกิดคิดเล็กคิดน้อยขึ้นมาอีกแบบอดไม่ได้ตามประสาปุถุชน จึงมีผลให้การอโหสิกรรมนั้นให้ผลไม่เต็มที่ สามารถขออโหสิกรรมจากได้จากทุกคน
คำขอขมาและอธิษฐานจิต (สำหรับอธิษฐานหน้าพระพุทธรูป หรือสวดก่อนนอน)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินบิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วยกาย วาจา ใจ
ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมา ข้าพเจ้าขออนุญาตมีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐาน คำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีตขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระ ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร ขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัว ตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใด ๆ โรคภัยใด ๆ ขอให้มลายสิ้นไป ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม ตั้งแต่บัดนี้จนตราบเข้าสู่นิพพานเทอญ
ข้าพเจ้าขอถอนคำสัญญา คำสาบาน คำอธิษฐาน ที่ผูกมัดตัวเองและผู้อื่น ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระจากสัญญาทั้งปวง (หากข้าพเจ้าหมดอายุแล้ว ข้าพเจ้าขออยู่ต่อเพื่อสร้างบารมี) หากมีผู้ใดเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความอาฆาต ความพยาบาท และคำสาปแช่งในทุกชาติ ทุกภพ ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชนของเจ้ากรรม ขอให้พ้นจากนรกภูมิ และพบแสงสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ให้ความหมายของคำว่า อภัยทาน ดังนี้
อภัยทาน คือ การยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่ เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย
ความจริงนั้น ทุกคนที่สนใจบริหารจิต จะต้องสนใจอบรมจิตให้รู้จักอภัยในความผิดทั้งปวง ไม่ว่าผู้ใดจะทำแก่ตน แม้การให้อภัยจะเป็นการทำได้ไม่ง่ายนัก สำหรับบางคนที่ไม่เคยอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก
ตัวอย่างเช่น เวลาขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารคอยขึ้นรถอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะมีผู้เบียดแย่งขึ้นหน้า ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่ข้างหลัง ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ให้ถือเป็นโอกาสอบรมจิตใจให้รู้จักอภัยให้เขาเสีย เพราะเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรถือโกรธกันหนักหนา เป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกินควรจะอภัยให้กันได้ แต่บางทีไม่ตั้งใจคิดเอาไว้ก็จะไม่ทันให้อภัยจะเป็นเพียงโกระแล้วจะหายโกรธ ไปเอง
โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ้งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น”
ฉะนั้น การให้อภัยทาน ก็คือ “การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู” ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ “ละโทสะกิเลส” และเป็นการเจริญ “เมตตาพรหมวิหารธรรม” จึงเป็นสิ่งที่สาธุชนทั้งหลายควรบำเพ็ญให้มีขึ้นในตน เพราะมีผลานิสงส์มาก
พุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของอภัยทานว่า
ให้อภัย คำว่า อภัย นี้แปลว่า ไม่ต้องกลัว ให้อภัย คือเราให้ความไม่ต้องกลัวแก่บุคคลนั้น แปลว่า บุคคลนั้นไม่ต้องกลัวเรา นี่คือให้อภัย ทีนี้บางคนอาจจะคิดว่า นี้มันไม่ใช่ให้ทาน นี่มันไม่รู้ เขาพูดไปทั้งที่ไม่รู้การให้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทาน แต่เขาเรียกว่า “ อภัยทาน ”เป็นสิ่งที่ให้กันได้ ให้ได้ทั้งทางกาย ให้ได้ทั้งทางวาจา ให้ได้ทั้งทางจิตใจ ทางร่างกาย เขามาขอขมาขออภัยเราก็รับ ทางวาจา บอกอโหสิกรรม ทางจิตใจ เราก็สลัดความโกรธ ความอาฆาตจองเวรอย่างนี้ก็เรียกว่า“ อภัยทาน ” ทั้งนั้นมีได้ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ
ทีนี้แยกประเภทให้เห็นชัดว่าอภัยทานนี้ อย่างน้อยก็มีอยู่สัก 3 อย่าง อภัยทานอย่างแรกคือ
1.การให้อภัยโทษ ให้ขมาโทษ คือยอมรับการขมาโทษ เรียกว่า ให้อภัยโทษ รับการขอขมานี่ เข้าใจกันดีแล้วไม่ต้องอธิบายก็ได้
2.เราไม่เบียดเบียน ไม่ประทุษร้ายใคร นั่นคือให้อภัยทานเหมือนกัน เราจงเป็นอยู่อย่างไม่เบียดเบียน อย่างไม่ประทุษร้ายใคร ที่เขาเรียกกันว่า “ศีล” ศีล นั่นแหละคือ อภัยทานเราไม่ประทุษร้าย ไม่เบียดเบียนแก่ชีวิตแก่ร่างกาย หรือแก่น้ำใจ ไม่เบียดเบียนเนื้อตัวของเขา ไม่เบียดเบียนจิตใจของเขา ไม่ทำลายชีวิตของเขาทุกระดับ นับตั้งแต่สัตว์เดรัจฉานขึ้นมา จนถึงมนุษย์ จนกระทั่งเทวดา หรือพรหมอะไร ถ้ามันจะมี แปลว่าสิ่งที่มีชีวิต มีความรู้สึกนึกคิดแล้ว เราไม่เบียดเบียนให้เขารู้สึกกระทบกระทั่งเป็นทุกข์นี้เรียกว่า ให้ความไม่เบียดเบียน ความไม่ประทุษร้าย
3.แผ่เมตตาจิตอยู่เป็นปกติ ทุกวัน ทุกคืน ทุกลมหายใจเข้าออก นี้ก็คือ อภัยทาน นึกดูแล้วก็น่ารวย ในข้อที่ว่าอภัยทานนี้ไม่ต้องลงทุนสักสตางค์หนึ่งก็ได้ ต้องเสียหลายแสนนะ แต่ว่าทำอภัยทานนี้ ไม่ต้องให้สตางค์สักสตางค์หนึ่งก็ทำได้ แล้วยังจะมีผลสูงกว่าเสียด้วย
อนึ่ง ขอให้รู้ไว้ว่า อภัยทานนี่มันทำยากกว่าที่จะให้วัตถุ เพราะมันเป็นเรื่องจิตใจมากขึ้นไปอีก คนถือตัว ใครมาขอขมาก็ไม่ยอมให้ แถมทำผู้อื่นเดือดร้อนอยู่เรื่อย ไม่รักผู้อื่น ไม่เห็นใจผู้อื่น นี่เรียกว่า ไม่มีอภัยทาน ขอให้ตัดสินใจแน่ลงไปว่า เรานี้ตั้งแต่วันนี้ไป จะสะสางเรื่องอภัยทานนี้ให้เป็นชิ้นเป็นอัน สำหรับวัตถุทานก็ทำมามากแล้ว แต่เรื่องอภัยทานนี้ดูยังโหรงเหรง นี่ขอให้ไปชำระสะสาง คือทำให้มันมีขึ้น ให้มันครบถ้วน ให้มันถูกต้องว่า
1. ให้อภัยโทษ ยอมรับขมา
2. ไม่เบียดเบียน ไม่กระทบกระทั่ง ไม่ประทุษร้ายใครหมด
3. อยู่ด้วยจิตที่แผ่เมตตา ทั้งกลางวัน กลางคืน
ทั้งหมดนี้ ก็เป็นอภัยทานเช่นกัน
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไม พระธุดงค์ ท่านได้เดินเพื่ออะไร การออกธุดงค์ของพระนั้น เพือแสวงหาที่เงียบสงัดปลีกวิเวก เพื่อทำสมาธิ บำเพ็ญสมณธรรม แล้วก็เปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ติดในสถานที่นั้น
พระมหากัสสปเถระ ได้รับยกย่องเป็นผู้เลิศในทางผู้ทรงธุดงค์
เมื่อท่านอุปสมบทแล้วทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจากอุปสมบทได้ 8 วัน พุทธบริษัททั้งหลายรู้จักท่านในนาม “พระมหากัสสะ” ท่านได้ช่วยรับภารธุระอบรมสั่งสอนพระภิกษุและพุทธบริษัทอื่นๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทานธุดงค์ 3 ประการ อย่างเคร่งครัด คือ
- ถือการนุ่งห่มบังสุกุลเป็นวัตร
- ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
- ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง 3 ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ทรงธุดงค์ นอกจากนี้ พระบรมศาสดายังทรงยกย่องท่านในทางอื่นๆ อีกหลายประการ กล่าวคือ
“กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอนุ่มดี”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์ทรงใช้สอบเถิด พระเจ้าข้า”
“กัสสปะ แล้วเธอจะใช้อะไรทำสังฆาฏิเล่า”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อข้าพระองค์ได้รับจากพระองค์ ก็จะใช้เป็นสังฆาฏิ พระเจ้าข้า”
พระบรมศาสดาได้ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าให้แก่ท่านแล้วทรงยกย่องท่านอีก 4 ประการ คือ
- กัสสปะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยตถาคต เป็นผู้มักน้อยสันโดษภิกษุทั้งหลายควรถือเป็นแบบอย่างกัสสปะ เมื่อเธอเข้าไปใกล้ตระกูลแล้ว ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคนใหม่ ไม่คุ้นเคย ไม่คะนองกาย วาจา และใจ ในสกุลเป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น ตั้งจิตเป็นกลางว่า “ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญจงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีจิตเป็นฉันใด ผู้อื่นก็มีใจเป็นฉันนั้น”
- กัสสปะ มิจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น
- ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านไปใช้สอย ทรงสอนภิกษุให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ โดยยกพระมหากัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง
การเดินธุดงค์ของพระมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร แล้วเดินแค่ไหนถึงจะหยุด เดินในป่า หรือเดินในเมืองถึงจะเรียกว่าถูกต้องตามพระวินัย
พระธุดงค์ ท่านเดินทำให้ไม่ติดที่ และเป็นการฝึกสมาธิทำในอิริยาบถเดินไปด้วย คือทำสมาธิสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง หรือแม้คนป่วย หรือคนจะหลับก็นอนทำสมาธิได้ เพราะฉะนั้นทำได้ทุกอิริยาบถ แต่เราจะใช้อิริยาบถหลักคือการนั่งนั่นเอง เพราะถ้าเกิดนอนทำก็จะเผลอหลับได้ง่าย แล้วตอนเดินจริงๆ แล้วเราต้องแบ่งใจมาให้กับการเคลื่อนไหวอิริยาบถด้วย ดังนั้นจะทำสมาธิได้ยากกว่าตอนนั่งนิดนึง แต่มีข้อดีคือ ทำให้ดึงสติได้ดี ตอนนั่งหลับตา เนื่องจากไม่ต้องระวังอิริยาบถบางทีใจไปคิดนั้นคิดนี่ บางคนทำสมาธิตอนเดินทำได้ดีก็มี
เพราะฉะนั้น พระธุดงค์ท่านเอง ก่อนจะไปเดินธุดงค์ท่านก็ฝึกทำสมาธิอย่างจริงจัง จนกระทั่งได้สมาธิระดับนึง แล้วตอนเดินก็เป็นการประคองสติ โดยเฉพาะมีญาติโยมอยู่ด้วยก็ยิ่งจะต้องมีความสงบ สำรวมมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นก็จะมีข้อดีหลายด้าน ในส่วนของพระ ท่านก็จะจาริกไปเรื่อยๆ แต่ละวันไม่ได้เดินซ้ำที่เดิม ทำให้ไม่ติดที่ และสร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นกับญาติโยม เห็นพระธุดงค์เดินมาโยมเองก็ปลื้ม เป็นการระลึกนึกถึงพระรัตนตรัย นึกถึงการทำความดี ประโยชน์ก็เกิดขึ้นหลายสถาน
ตั้งแต่โบราณมาจึงนิยมเดินธุดงค์กันหลังออกพรรษาไปแล้ว ถามว่าเดินในป่า หรือเดินในเมือง จริงๆ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลก็มีการเดินจาริกทั้งในเมืองและในป่า พอผ่านเมืองชาวเมืองก็มาต้อนรับกันเต็มเลย เหมือนตอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระภิกษุสงฆ์เป็นพันๆ รูปเดินจาริกไปโปรดหมู่ญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ก็จาริกผ่านป่าเข้าสู่เมือง พระราชา พระมหากษัตริย์ ชาวบ้านทั้งหลายก็มารับกันเต็มเมือง
เพราะฉะนั้นเราทำได้ทั้งในป่าและในเมือง
ถ้าหากมุ่งประโยชน์ของพระ เดินในป่าก็ดี ธรรมชาติสงบร่มรื่น
ถ้าหากมุ่งประโยชน์กับญาติโยม อันนี้ก็ต้องเดินในจุดที่มีประชาชนอยู่ ยิ่งอยู่ในกรุงก็ต้องถือว่าพระท่านเสียสละมากๆ เลย เพราะต้องสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ เพราะมีผู้ที่พบเห็นแล้วเกิดความศรัทธาเป็นแสน เป็นล้านคน
ประโยชน์ของการเดินธุดงค์มี 3 อย่าง คือ
- ประโยชน์ต่อพระภิกษุที่เดินธุดงค์ ซึ่งเป็นพระภิกษุในโครงการบวชแสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย เมื่อออกพรรษารับกฐินแล้วมีศรัทธาตั้งใจบวชต่อไม่สึก ก็ได้มารวมกัน และปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ พระภิกษุออกเดินธุดงค์ก็เสมือนหนึ่งเดินจงกลมด้วย ลองพิจารณาว่าท่านเดินถือกลดสะพายย่าม กลางแดดร้อน แต่หน้าของท่านใสมีรอยยิ้มบนใบหน้า ผิวอาจจะดูคล้ำบ้าง แต่ว่าถึงดำก็ดำนวล และความบริสุทธิ์ผ่องใสเกิดขึ้นจากความบริสุทธิ์ภายใน ระหว่างเดินก็ระลึกนึกถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ว่าเรากำลังเดินตามรอยท่านอยู่ และระลึกว่าจะต้องตั้งใจฝึกตามอย่างหลวงปู่ให้ได้ ทุกย่างก้าวมีอุดมการณ์ในการบวชที่หนักแน่น ระหว่างเดินก็ได้ประโยชน์จากการปฏิบัติธรรมด้วย หลายๆรูปบรรลุธรรมระหว่างเดินธุดงค์ก็มี นี้คือประโยชน์ต่อพระภิกษุ
- ประโยชน์ต่อญาติโยม ทำให้โยมทั้งหลายมีความสุขกายสุขใจที่ได้เห็นพระผ่านมาถึงหน้าบ้านเป็นร้อยเป็นพันรูป ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
- ประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา กล่าวคือ เมื่อญาติโยมมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็ยังผลให้เกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาในภาพรวม แม้คนที่อยู่ไกลๆไม่ได้มาต้อนรับโดยตรง ก็เกิดปีติอยากที่จะมาศึกษาพระพุทธศาสนา อยากจะทราบว่าพระเดินเป็นแถวยาวๆ เดินทำไม เพื่ออะไร พอศึกษาแล้วก็ศรัทธา แล้วเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการปฏิบัติธรรมตามแบบอย่างด้วย เกิดเป็นผลต่อความรุ่งเรืองมั่นคงของพระพุทธศาสนา
ในปัจจุบันมีผู้คนเป็นจำนวนมากที่เชื่อในเรื่องของการ เสริมดวง ด้วย วิธีการต่างๆ พูดง่ายๆ ว่า ใครว่าทำอะไรแล้วรุ่งก็พยายามเสาะหาวิธีเหล่านั้นมาทำ เพื่อหวังว่าชีวิตจะดีขึ้น ซึ่งก็เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเสริมดวงด้วยวิธีไหน วันนี้เรามีคำแนะนำ 15 ข้อนี้ แล้วลองนำไปปรับใช้กับชีวิตของท่านดู ไม่แน่ว่าในระยะเวลาอันใกล้นี้ ชีวิตคุณอาจจะดีขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัวเลยก็ได้
1. ถือศีล 5 การถือศีล 5 เป็นประจำจะช่วย เสริมดวง ชะตาและจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงาม การทำดีและไม่เบียดเบียนใครถือเป็นการทำบุญกุศลที่ได้อานิสงส์เป็นผลให้เกิดความโชคดี และแก้เคราะห์ลดกรรมได้
2. การถือศีล 8 จะช่วยเสริมดวงและแก้เคราะห์ได้เช่นเดียวกับการถือศีล 5 แต่การถือศีล 8 นั้นปฏิบัติได้ยากยิ่ง แต่เมื่อปฏิบัติได้สำเร็จจะได้กุศลแรงนัก ปฏิบัติแล้วยังช่วยเสริมดวงอำนาจ บารมีได้
3. กินเจ ก็เพื่อลดละชีวิตสัตว์ ซึ่งได้อานิสงส์ผลบุญสูงและควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถ้าอธิษฐานไว้ว่า 7 วัน ก็ทำให้ครบ 7 วัน อาจตั้งจิตว่าจะทำทุกวันพระและทุกเดือน หรือปฏิบัติทุกเดือน เดือนละ 3 วัน หรือ 7 วัน เป็นต้น
4. ไหว้พระและถวายดอกไม้ ธูปเทียน รวมทั้งการปิดทองคำเปลวและเครื่องหอม ผลบุญนี้จะทำให้ชีวิตรุ่งเรือง มีความเจริญก้าวหน้า
5. ถวายน้ำมันตะเกียง เพื่อความรุ่งโรจน์โชติช่วงของชีวิต เช่นเดียวกับความสว่างของแสงตะเกียง ทำให้พ้นจากความมืดมิดทั้งการดำเนินชีวิต รวมทั้งปัญหาและความคิดที่สว่างไสวไม่อับจนหนทาง
6. ถวายสังฆทาน เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระสงฆ์ อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก จะทำสิ่งใดก็ราบรื่นไม่ติดขัด พบแต่ความสำเร็จสมปรารถนา รวมทั้งมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ ไม่ขัดสน
7. ไหว้พระ ไหว้บูชาเทพต่างๆ จะทำให้พบกับความสุข ความเจริญ เกิดความสุขใจ ว่ามีที่พึ่งพิง ยึดเหนี่ยว นำมาซึ่งกำลังใจในการต่อสู้ชีวิตต่อไปและรู้สึกเสมอว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คอยคุ้มครองเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
8. ทำบุญปล่อยสัตว์ เป็นการไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น แต่ถือว่าได้บุญแรง จะต้องทำด้วยความตั้งใจจริง เช่น การไปซื้อสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่าไปปล่อย ไถ่ชีวิตวัวควายถวายวัด เพื่อมอบให้ชาวนานำไปใช้ประโยชน์ ซื้อปลาในตลาดที่จะถูกฆ่าไปปล่อยน้ำ ผลบุญนี้ยังผลให้หมดทุกข์ หมดภัย และพบความสุขความเจริญในชีวิต
9. ทำบุญ ให้ทาน เป็นการรู้จักเสียสละตนเองและแบ่งปันให้ผู้อื่น ซึ่งผลบุญจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีจิตใจยินดีในการทำบุญให้ทานด้วย ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงพุทธศาสนา หรือการให้ทานเกื้อกูลคนยากไร้ ล้วนแล้วแต่เป็นบุญส่งเสริมให้ชีวิตมีโชค มีทรัพย์ และมากด้วยบารมี
10. ทำทานแก่คนยากไร้ เป็นการทำบุญที่มาจากจิตใจอันไม่ยึดติดมีความไม่โลภ ผลบุญจึงหนุนนำให้มีแต่ความราบรื่น ยามมีเรื่องติดขัดก็จะมีผู้มาช่วยเหลือค้ำจุน ยามมีเคราะห์ภัยก็จะแคล้วคลาด เพราะแรงอนุโมทนาจิตจากผู้ยากไร้ที่ได้รับสิ่งของจากเรานั่นเอง
11. ทำบุญโลงศพ ซื้อโลงศพบริจาคศพอนาถาไร้ญาติ จะได้อานิสงส์แรงยิ่งนัก การทำบุญเช่นนี้จะช่วยเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่ง สามารถต้านเคราะห์ภัยหนักต่างๆ และผ่อนหนักเป็นเบาได้
12. พิมพ์หนังสือธรรมะแจก จัดพิมพ์เองหรือร่วมบริจาคสมทบทุนการพิมพ์กับผู้อื่นก็ได้ เป็นการเสริมดวงให้มีวาสนาบารมี เพื่อให้ปัญญาสว่าง หมดทุกข์ หมดโศก ไม่มีเคราะห์ร้ายมากล้ำกราย
13. บริจาคค่าน้ำ ค่าไฟ จะช่วยให้ชีวิตราบรื่น หมดทุกข์ หมดโศก ประสบแต่ความโชคดี
14. ซื้อข้าวสารถวายวัด เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้าตามสถานสงเคราะห์เป็นการสั่งสมบุญกุศล เพื่อให้ชีวิตมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์และเพียบพร้อมด้วยบารมี
15. การตักบาตรร่วมขันกับผู้อื่นหรือทำบุญร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะทำบุญด้วยการบริจาคทรัพย์หรือโดยทางอื่น จะส่งผลให้เนื้อคู่ดูดี ดวงชะตาแข็งแกร่ง เกื้อกูลซึ่งกันและกัน และจะได้แต่เพื่อนที่ดีในชาตินี้
การถวาย สังฆทาน นั้นมีนัยยะสำคัญในการช่วยทำนุบำรุงให้พุทธศาสนาและพระสงฆ์อยู่ได้ในสังคมโลก หากใครที่อยากได้บุญมาก การเลือกสังฆทานที่มีประโยชน์ต่อพระสงฆ์และพุทธศาสนาในขณะนั้นจะช่วยให้การทำบุญครั้งนี้ได้ผลบุญยิ่งขึ้นนั้นเอง เพราะฉะนั้นในบทความครั้งนี้เราจึงขอเสนอวิธีการ “เลือกสังฆทานอย่างไรให้พระได้ใช้ให้คนไทยได้บุญ”
1.เลือกสังฆทานโดยคำนึงถึงของที่จำเป็นต่อพระ
หากเราสำรวจภายในวัดปัจจุบันนี้ เราจะจบพบว่าสังฆทานหลากหลายชุดที่ถูกนำมาถวายที่วัดแต่ไม่มีพระรูปไหนใช้เลย และสังฆทานเหล่านั้นก็ถูกทิ้งไว้ให้ฝุ่นจับแล้วดูเก่าเป็นอย่างมาก และเมื่อถึงเวลาที่นำไปใช้จริงแล้ว กลับพบว่าของในสังฆทานอาจจะหมดอายุหรือไม่ได้คุณภาพเสียแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ควรคำนึงในการเลือกสังฆทานก็คือ การคำนึงถึงความจำเป็นถึงของภายในสังฆทานว่าหากเราถวายไปแล้วพระท่านจะได้ใช้หรือไม่
2.เลือกสังฆทานโดยแบ่งประเภทสังฆทาน
การเลือกซื้อสังฆทานโดยแบ่งประเภทก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยแบ่งประเภทของสังฆทานออกเป็น สังฆทานที่เป็นของกิน สังฆทานที่เป็นยารักษาโรค สังฆทานที่เป็นเครื่องอุปโภค หากเราเลือกสังฆทานที่ถูกต้องต่อความจำเป็นต่อวัดก็จะช่วยให้ได้บุญมากขึ้น
3.ถวายสังฆทานเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า
การเลือกซื้อสังฆทานไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในรูปแบบสังฆทานปกติเพราะคำว่า “การถวายสังฆทาน” เพราะใจความสำคัญของสังฆทานคือการถวายของที่จำเป็นต่อพระนั้นเอง เพราะฉะนั้นแล้วหากวัดไหนที่ขาดแคลนเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทใดหรือชนิดใด เราก็สามารถถวายได้ตามที่วัดกำลังขาดแคลน ซึ่งของเหล่านั้นยังถูกนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์จริงๆอีกด้วย
4.เลือกซื้อของมาทำสังฆทานเอง
สังฆทานในปัจจุบันบางชุดก็เป็นของไม่มีคุณภาพ เกินความจำเป็นและยังมีราคาแพงอีกด้วย เพราะฉะนั้น หากเราสามารถเลือกซื้อของมาทำสังฆทานเองได้ ก็จะเป็นสิ่งที่ดีเพราะเราสามารถเลือกของที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมต่อความต้องการของเราได้ และยังได้ของที่ถูกใจและประหยัดอีกด้วย
5.เลือกถวายสังฆทานเป็นหนังสือธรรมมะ
การซื้อหนังสือธรรมะเป็นสังฆทานก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการถวายความรู้ถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่กว่าการถวายสิ่งของธรรมดา และนอกจากนั้นยังสามารถที่ช่วยเป็นสื่อนำการสอนของพระต่อบุคคลธรรมดา ทำให้พระสามารถนำไปแจกจ่ายญาติโยมในการทำบุญอีกด้วย
พิธีการ ทำบุญบ้าน ใหม่ เป็นประเพณีโบราณของบ้านเราที่สืบต่อกันมานาน ยิ่งในต่างจังหวัดจะเห็นได้ชัดเจนเลย ถ้าใครสร้างบ้านเสร็จใหม่ ๆ ไม่นานก็จะทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งการขึ้นบ้านใหม่นี้ถือเป็นงานบุญที่คนบ้านใกล้เรือนเคียงมักจะมาร่วมงานกันอยู่เสมอ วันนี้จะอธิบายถึงพิธีขึ้นบ้านใหม่มันมีขั้นตอนยังไงบ้าง
พิธีขึ้นบ้านใหม่เป็นเหมือนการจัดงานบุญเพื่อเอาฤกษ์เอาชัยในการย้ายเข้าไปอยู่บ้านหลังใหม่ กล่าวได้ว่า สร้างบ้านใหม่ ย้ายที่อยู่ใหม่ ก็อยากให้บ้านมีแต่เรื่องดี ๆ และเสริมสิริมงคลให้ผู้อยู่อาศัย จึงมีการทำบุญทำกุศลครั้งใหญ่ เชิญพระเชิญเจ้ามาให้พรถึงบ้าน บางคนอาจให้พระท่านเจิมบ้านเลขที่ให้ด้วยเลย ก็แล้วแต่สะดวก
พิธี ทำบุญบ้าน ใหม่ ทำยังไง ?
สำหรับขั้นตอนการทำพิธีขึ้นบ้านใหม่แบบไทยนั้น ทำได้ง่าย ๆ ขั้นแรกเลยคือต้องไปวัดเพื่อนิมนต์พระสงฆ์ให้เรียบร้อยก่อน โดยงานบุญแบบนี้เค้าจะนิมนต์พระเป็นจำนวนเลขคี่ (5 รูป, 7 รูป หรือ 9 รูป) ทำการนัดแนะสถานที่ วัน และเวลาให้เรียบร้อย หรือถ้ายังไม่มีฤกษ์ดีก็ปรึกษาทางวัดก็ได้ พระท่านจะได้เตรียมพระสงฆ์และรถรับส่งให้พร้อมในวันงาน
เมื่อถึงวันงานก็ให้เตรียมหิ้งพระพุทธ เสื่อและอาสนะสำหรับพระสงฆ์ และอาหารสำหรับถวายพระและเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน โดยเมื่อพระสงฆ์เดินทางมาถึงงานและเจ้าภาพพร้อมแล้ว ขั้นตอนพิธีการจะเป็นดังนี้
1. จุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม หน้าพระพุทธ แล้วกราบ 3 ครั้ง จากนั้นให้หันไปกราบพระสงฆ์อีก 3 ครั้ง
2. พระสงฆ์สวดมนต์ให้พร
3. นำอาหารทั้งคาวหวานที่เตรียมไว้ ถวายทั้งพระพุทธและพระสงฆ์
4. หลังจากพระฉันเสร็จแล้ว จะมีการสวดให้พรอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นพระสงฆ์จึงจะเดินทางกลับวัด
5. จากนั้นจะเป็นการเลี้ยงอาหารญาติและแขกที่มาร่วมงาน ก็ถือเป็นอันจบพิธีขึ้นบ้านใหม่
ข้อห้ามของพิธีขึ้นบ้านใหม่ มีอะไรบ้าง ?
ตามหลักโหราศาสตร์แล้ว วันเสาร์เป็นวันแห่งความทุกข์ ถือเป็นฤกษ์ไม่ดีในการจัดงานบุญเสริมสิริมงคล ดังนั้นปกติแล้วเค้าจึงไม่จัดพิธีขึ้นบ้านใหม่กันในวันเสาร์
“พิธีเข้าบ้านใหม่” ชื่อคล้าย แต่ไม่เหมือน
นอกจากพิธีขึ้นบ้านใหม่ที่คนไทยนิยมทำกันแล้ว ยังมีอีกพิธีหนึ่งครับนั่นก็คือ พิธีเข้าบ้านใหม่ ชื่ออาจคล้ายกัน แต่ขั้นตอนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งบางบ้านอาจทำ 2 พิธีต่อกันเลย ไม่ได้บังคับว่าต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีสิ่งของที่ต้องเตรียม ดังนี้
1. พระพุทธรูป
2. ดอกไม้ ธูป เทียน
3. อาหารคาว จำนวน 2 ชุด
4. ขนมไทยมงคล เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง จำนวน 2 ชุด
5. ผลไม้มงคล เช่น กล้วย ส้ม มะพร้าว จำนวน 2 ชุด
6. ข้าวสาร อาหารแห้ง
7. น้ำดื่ม
8. ดอกไม้มงคล เช่น ดอกรัก ดอกกุหลาบ
9. ถั่ว งา ข้าวตอก
10. พานเงิน พานทอง เงินสด เครื่องประดับ
11. เครื่องครัว
ส่วนขั้นตอนการทำพิธีเข้าบ้านใหม่ สามารถทำได้ดังนี้
1. ให้ผู้ชายที่มีอาวุโสสูงสุดในบ้านเป็นคนถือพระพุทธรูปเข้าไปไว้ที่หิ้งพระประจำบ้าน โดยให้คนที่เหลือเดินตามเข้าไป จากนั้นก็ถวายดอกไม้ จุดธูป เทียน และไหว้พระพุทธรูปเพื่อเป็นสิริมงคล
2. ขั้นตอนต่อไปเป็นการนำของมงคลเข้าบ้าน โดยการนำเงินสดและเครื่องประดับ ใส่พานเงินพานทอง และนำผลไม้มงคล และเครื่องครัว ขนทุกสิ่งอย่างเข้ามาในบ้าน ในระหว่างนี้ห้ามพูดคำหยาบหรือเรื่องไม่ดี ให้พูดแต่เรื่องดี ๆ อย่าง อยู่แล้วร่ำรวย หรือบ้านนี้ดี อยู่แล้วมีแต่โชคดี ในระหว่างขั้นตอนนี้ อาจมีการโปรยดอกไม้มงคลไปทั่วบ้านด้วยก็ได้ เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคล
การที่มีปัญหาเกี่ยวกับความรัก สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งนั้น มาจากการที่ชาติหนึ่งชาติใดเคยสร้างกรรมเอาไว้และอาจจะมีกรรมผูกพันจากการอธิษฐานเอาไว้ การ “แก้กรรม ความรัก” จะช่วยในเรื่องใดบ้าง? จากการสาปแช่งของเจ้ากรรมนายเวร การมีหนี้กรรมที่ต้องชดใช้ ก่อนอื่นนั้นครูบาอาจารย์ท่านแนะนำให้ทำการถอนการอธิษฐานเสียก่อน เหมือนกับเราไปขอแก้ไขในสิ่งที่เราเคยทำเอาไว้ ซึ่งจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้น ต้องอยู่ที่บุญของตนเองด้วย
ดังนั้น จึงต้องมีการสร้างบุญกุศลให้กับตนเองเสียก่อน ให้ตนเองนั้นมีต้นทุนที่ดี ในการทำการอะไรก็ตาม ปัญหาความรัก คู่ครอง ครอบครัว เป็นปัญหา มีสาเหตุทั้งจากเรื่องของกรรมใหม่และกรรมเก่า แต่ส่วนมากจะหนักไปทางกรรมใหม่เป็นเหตุหลัก ด้วยการผิดศีลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือของทั้งคู่และการมัวเมาในกิเลส อำนาจฝ่ายต่ำ และการไม่ยอมกันและกัน หากเป็นในเรื่องของกรรมเก่า เช่น ในอดีตชาติเคยหลอกให้คนอื่นรักหลงแล้วทิ้งขวาง หรือมีสามีหรือภรรยาหลายคนดูแลไม่ดี เป็นเหตุให้คนไหนคนหนึ่งทุกข์ทรมาน หรือเป็นผู้ที่ชอบยุยงให้ครอบครัวตนเองหรือผู้อื่นต้องมีความแตกแยกกันด้วยการกระทำทั้งกาย วาจาและใจ สมัยนี้ถือเป็นเรื่องที่นิยมมากขึ้นสำหรับการ แก้กรรม ความรัก
แก้กรรมความรัก ของคนเกิดทั้ง 7 วัน
คนเกิดวันจันทร์ : ทำบุญกับเด็กหรือคนชรา
ทำบุญกับคนที่ขาดความรัก เช่น เด็กกำพร้า คนที่ถูกทอดทิ้ง เป็นต้น แล้วอธิษฐานว่าขอให้บุญนี้ไปตัดรอนวิบากกรรมที่เคยเบียดเบียนความรักหรือจิตใจของผู้ใดมา ตั้งแต่นี้ต่อไปขอให้เจอความรักที่ดี มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
คนเกิดวันอังคาร : หมั่นใส่บาตรทำบุญ
ให้ลุกขึ้นใส่บาตรติดต่อกันให้ได้อย่างน้อยสามเดือน ด้วยของหวานหรือของสวยงาม เช่น ดอกไม้สด แล้วอธิษฐานว่าบุญกุศลนี้ขอให้หนุนนำพาคนรักที่เคยใส่บาตรร่วมขันกันมา ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน ให้มาพบเจอกันและเกื้อกูลกันต่อไป และอย่าลืมกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวรในเรื่องของความรักด้วย
คนเกิดวันพุธ : สวดมนต์ ไหว้พระ
ให้สวดมนต์บทพุทธคุณให้เกินอายุหนึ่งจบ เช่น อายุ 20 ให้สวด 21 จบ อย่างต่ำสามเดือนติดต่อกัน แล้วอุทิศบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรด้านความรักที่เคยเบียดเบียนจิตใจกันมา ขออโหสิกรรมและขอให้เจอกัลยาณมิตรที่มาเป็นคู่กันในภพนี้ชาตินี้
คนเกิดวันพฤหัสบดี : บวชชีพราหมณ์
ให้ไปบวชชีพราหมณ์ คือการถือศีลแปดปฏิบัติธรรมนั่นเอง จะกี่วันก็ได้ตามสะดวก แต่ไม่ควรจะต่ำกว่าหนึ่งหรือสองวัน และทำไปเรื่อย ๆ เมื่อมีเวลาทุกครั้ง ให้อธิษฐานว่า ขอบุญกุศลในครั้งนี้ให้ไปขายกรรมกับเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ผูกมัดกันอยู่ในเรื่องของการมีคู่ ทำให้มีคู่ยาก หรือเจอคู่เวรคู่กรรม ขออโหสิกรรมต่อไปนี้ ขอให้เจอมิตรที่ดี คู่ที่ดี
คนเกิดวันศุกร์ : ถวายสังฆทาน
ให้ไปถวายสังฆทานเป็นคู่ เช่น แจกัน รองเท้าแตะ ช้อนส้อม และอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรในเรื่องความรัก ทำบ่อย ๆ เท่าที่จะทำได้ แล้วอธิษฐานขอให้เจอคู่ที่ดีที่เคยเกื้อกูลกันมา
คนเกิดวันเสาร์ : นั่งสมาธิ
ให้หมั่นนั่งสมาธิบ่อย ๆ อย่างน้อย 15 นาที เป็นต้นไป และอุทิศส่วนกุศลให้กับพระแม่อุมาเทวี ขอให้พบเจอคนดี แล้วหมั่นไปสักการะพระแม่อุมาเทวีบ่อย ๆ เพื่อขอคู่ที่ดี หรือขอสติปัญญาญาณจากพระแม่เพื่อแก้ปัญหาเรื่องคู่
คนเกิดวันอาทิตย์ : หล่อพระ
ควรหาเวลาไปร่วมหล่อพระพุทธรูปหรือการสร้างพระ แล้วเขียนคำอธิษฐานลงไปเวลาหล่อพระในเรื่องของปัญหาการมีคู่ และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรในเรื่องของความรักบ่อย ๆ
การ ถวายสังฆทาน นั้น สามารถดำเนินการได้ตลอดทั้งปี เมื่อไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้หรือจะเป็นที่บ้านก็สามารถทำได้ โดยแจ้งแก่ทางวัดให้จัด พระสงฆ์ ไป รับสังฆทาน ตามจำนวนที่ต้องการถวาย หัวหน้าสงฆ์ หรือ เจ้าอาวาส ของวัดนั้น ก็จะจัดภิกษุรูปใดหรือหลายรูปไปรับก็ได้ ขอให้ผู้ที่จะถวายพึงไว้ว่า ท่านมารับในนามของ สงฆ์ หรือเป็นผู้แทนของสงฆ์ทั้งหมด ไม่ควรพึงเพ่งเล็งว่าเป็นพระรูปใดรูปหนึ่ง
ขั้นตอนการถวายสังฆทาน ในพิธีการถวาย ต้องจุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม (ด้านซ้ายและขวาของ พระพุทธรูป หรือด้านขวาและซ้ายมือของเรา)
จากนั้น…..กล่าวคำบูชาพระรัตนะตรัยพร้อมกัน และกราบพระอีกครั้งว่า
“อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวังตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมังนะมะสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ” (กราบ)
จากนั้น…..แล้วอาราธนาศีล ว่า
“มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ”
เสร็จแล้ว พระจะให้ศีล เราพนมมือกล่าวรับศีลจากพระ รับศีลจบแล้วตั้งนะโม…เพื่อเป็นการเคารพนบนอบต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า
“นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ” 3 จบ
จากนั้น…..กล่าวคำถวายสังฆทานโดยกล่าวดังนี้
“อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”
โดยกล่าวคำแปลต่อ โดยกล่าวว่า
“ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ”
เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จ พระจะกล่าวพร้อมกันว่า “สาธุ” แล้วเราเข้าไปถวายสังฆทาน ซึ่งจะนำมาวางอยู่ต่อหน้าพระสงฆ์ก่อนแล้ว เวลาประเคนถ้าประเคน 2 คน ก็จับเครื่องไทยธรรมนั้น ๆ ทั้ง 2 คน ยกให้สูงจากพื้นที่วางของ แล้วประเคนให้พระสงฆ์รับ หลังจากนั้นพระสงฆ์จะอนุโมทนา ตอนนี้เป็นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำบุญเพื่ออุทิศให้กับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต้องมีสมาธิมีเจตนาแน่วแน่ในการทำบุญอุทิศ ซึ่งจะทำให้ได้อานิสงส์แรง พระจะสวดเป็นภาษาบาลีว่า
“ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา”
พอพระเริ่มกล่าวคำว่า ยะถา วะริวะหา… เราก็เริ่มกรวดน้ำทันที (ให้รินน้ำลงในที่รองรับช้า ๆ เป็นสายน้ำอย่าให้ขาดสายจะดี) พร้อมกับกล่าวคำอุทิศส่วนบุญที่เราได้ทำในครั้งนี้ไปให้กับ บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่ทุกข์ก็ให้พ้นทุกข์ ที่มีสุข ก็ให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น หรือกล่าวคำกรวดน้ำเป็นภาษาบาลีอย่างย่อก็ได้ว่า
“อิทังเม ญาติณังโหตุ สุขิตาโหตุ ญาตะโญ”
แปลว่า “ขอให้บุญนี้จงสำเร็จแก่บิดามารดา และญาติพี่น้องของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอให้มีความสุขกายสุขใจ” ถ้าว่าไม่ได้หรือจำไม่ได้ ก็ให้กล่าวเป็นภาษาไทยอย่างเดียวก็ได้ แต่ต้องตั้งจิตอธิษฐานด้วยใจ อย่ากล่าวแต่ปากโดยใจมิได้จดจ่อกับสิ่งที่กล่าว
เมื่อพระสวดคำว่า “จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา” ก็ให้รินน้ำลงให้หมด ขณะนี้พระยังสวดต่ออีก เป็นการสวดให้พรแก่ตัวเราแล้ว ไม่ใช่การอุทิศส่วนบุญให้ผู้อื่น/สัตว์อื่น) เราก็นั่งพนมมือทำจิตใจให้อิ่มเอิบเบิกบานรับพรจากพระ เมื่อพระสวดจบก็เป็นอันเสร็จ พิธีถวายสังฆทาน อย่างสมบูรณ์
การถวายสังฆทานอุทิศให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว
การถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่ออุทิศแก่ผู้ตาย หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า มะตะกะภัต พิธีการต่าง ๆ ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการถวายสังฆทาน ผ้าไตรทั่วไป แต่จะมีความแตกต่างกัน ตรงที่ คำกล่าวถวายมีการเปลี่ยนคำบางคำไป เพื่อให้เหมาะสมและถูกต้อง ตามความตั้งใจที่ต้องการถวายสังฆทานแด่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
แล้วควร ถวายสังฆทาน อุทิศให้กับผู้ที่ล่วงลับเมื่อไหร่
ในการทำบุญถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่ออุทิศให้ผู้ล่วงลับ สามารถทำได้ทุกวัน และยังมีวันพิเศษที่ควรทำบุญให้ตามความเชื่อ ได้แก่ วันพระ วันครบรอบวันตาย 7 วัน, 50 วัน, 100 วัน, และหากเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ก็ยังมีการทำบุญในสถานที่เกิดอุบัติเหตุนั้นๆด้วย ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้
1. วันพระ เฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ: เป็นวันที่ยมโลกนรกหยุดทัณฑ์ทรมานให้สัตว์นรก 1 วันโลกมนุษย์ สัตว์นรกมีทุกขเวทนาเบาบางลง จึงมีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลที่ตนทำและอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ได้เต็มที่ ส่วนญาติที่เกิดเป็นเทวดาก็จะนิยมมาฟังธรรมในวันพระและตรวจดูการทำบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับผู้ที่ทำความดีในโลกนี้ เราจึงควรทำบุญตักบาตร และ ถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่ออุทิศบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ
2. วันครบรอบวันตาย 7 วัน: ในกรณีที่ผู้ตายไปแล้วเป็นผู้ที่ทำกรรมดีและชั่วไม่มากพอ บุญบาปที่ตนทำในโลกนี้ยังไม่ส่งผลในทันที ผู้ตายจะวนเวียนอยู่ 7 วันเพื่อให้มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลได้ หากผู้ตายระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำได้ หรือ หากญาติมิตรทำบุญอุทิศให้อย่างถูกวิธี และอนุโมทนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะพาไปเกิดในที่ดี เราจึงควรทำบุญตักบาตร และ ถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่ออุทิศบุญแก่ผู้ล่วงลับในวันนี้แช่นกัน
3. วันครบรอบวันตาย 50 วัน: ในกรณีที่ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ยมโลกพาไปยมโลกแล้ว ช่วงระหว่างเวลา 50 วันหลังตาย คือช่วงเวลาที่ผู้ตายกำลังรอคอยลำดับคิวการพิพากษาตั้งแต่ถูกลากตัวไปจากมนุษย์โลก ผ่านประตูยมโลก อยู่หน้าลานรอขานชื่อเพื่อเข้าพบพระยายมราช
*พระยายมราช คือ เทพชั้นจาตุมหาราชิกาประเภทหนึ่งที่มีกรรมเกี่ยวพันด้านกฎหมาย ชอบตัดสินคดีความด้วยความซื่อสัตย์ตอนสมัยเป็นมนุษย์และทำบุญ หรือเมื่อทำบุญก็ตั้งความปรารถนาไว้
4. วันครบรอบวันตาย 100 วัน: ช่วงเวลาระหว่าง 51 ถึง 100 วัน คือช่วงกำลังถูกพิพากษา พระยายมราชจะซักถามความประพฤติตอนสมัยเป็นมนุษย์ และจะส่งไปเกิดเป็นอะไรต่ออะไร ช่วงนี้ถ้าญาติทำบุญตักบาตร หรือถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร และอุทิศบุญไปให้ก็ยังรับบุญได้
ขั้นตอนการถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร ให้ผู้ที่ล่วงลับ
จัดเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ หรือจตุปัจจัยที่จะนำไปถวายตามสมควร โดยไม่ลืมที่จะคำนึงถึง การถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร ที่จะต้องเป็นไปเพื่อหมู่สงฆ์ ตามความหมายของคำว่า “สังฆทาน” และตามข้อกำหนด ของพระวินัย ว่าด้วยสิ่งของต้องห้ามต่าง อาทิเช่น สุรา หรือสิ่งเสพติด ในการถวายสังฆทาน ถ้าเป็นอาหาร หรือที่เรียกว่าสังฆทานสด ต้องนึงถึงประเภทของอาหารตามพระวินัยเช่นกัน และ เลือกให้เหมาะสมกับกาลเวลา คือควรถวายก่อนเพล สังฆทานทั่วไปควรจัด สังฆทานด้วยตนเอง ไม่สมควร ถวายสังฆทานที่จัดสำเร็จรูป เพราะอาจไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพของสิ่งของต่างๆนั้นได้ครบถ้วน ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายในหลายๆด้านตามมา จากสิ่งของที่ไม่ได้คุณภาพ
นำสังฆทานที่จัดเตรียมแล้วไปยังวัดที่ต้องการถวาย จากนั้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบของทางวัด ว่าต้องการมาถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร แจ้งความประสงค์หรือไปยัง จุดที่ ได้มีการกำหนดไว้แล้วเพื่อการถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร ของวัดนั้น ซึ่งมีการกำหนดสถานที่ไว้แล้ว
แจ้งต่อท่านถึงความตั้งใจ ที่จะมาถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร แก่ผู้ล่วงลับ โดยอาจเขียนชื่อและนามสกุลของ พูดล่วงลับ แจ้งกับพระสงฆ์ผู้มารับสังฆทาน หรือ ผ้าไตร เพื่อให้ท่านรับทราบถึงจุดประสงฆ์ของการทำสังฆทานในครั้งนี้ จากนั้นท่านอาจกล่าว ขึ้น เพื่อเรียกขาน วิญญาณผู้ล่วงลับให้มารับทราบ มาเตรียมรับบุญนี้
เริ่มด้วยการ จุดธูปเทียนบูชา กราบพระรัตนตรัย ที่อยู่ในบริเวณที่จะถวายสังฆทานนั้น จากนั้น พระท่านจะให้กล่าวคำอาราธนาศีลและรับศีล โดยว่าตามนี้
- คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ - สมาทาน ศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ - ตั้งนะโม 3 จบ
- กล่าวคำถวายสังฆทานอุทิศให้ผู้ล่วงลับ
อิมานิ มะยัง ภันเต มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ที่เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งมะตะกะภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ โปรดรับ ซึ่งมะตะกะภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายและญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า มีบิดา มารดาเป็นต้น และขออุทิศให้ (ชื่อของผู้ที่จะอุทิศกุศลให้) สิ้นกาลนานเทอญ - เมื่อกล่าวคำถวายสังฆทาน หรือ ผ้าไตร จบแล้ว ให้ยกของทั้งหมดที่เตรียมมาประเคนกับภิกษุสงฆ์
- อาจนำชื่อ นามสกุลของผู้เสียชีวิต เผาลงในภาชนะ รองรับ หรือในภาชนะที่จะกรวดน้ำ จากนั้น พระท่านจะสวดบทกรวดน้ำให้เราตั้งใจกรวดน้ำ และส่งผลบุญให้ถึงแก่ผู้ล่วงลับที่เราตั้งใจมาทำสังฆทานให้ในวันนี้
- เมื่อกรวดน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กราบ 3 ครั้ง ลุกขึ้นนำน้ำที่กรวด ไปเทรดลงบนดินหรือต้นไม้ เลือกเทที่ต้นใหญ่จะยิ่งดี พร้อมทั้งกล่าวอัญเชิญพระแม่ธรณี ,ท่านท้าวเวสสุวรรโณ และปวงเทพเทวา ให้มาเป็นสักขีพยานรับรู้ในการ สร้างและอุทิศบุญครั้งนี้แก่ผู้ล่วงลับ โดยกล่าวหรือละลึกถึงชื่อผู้ล่วงลับที่เราต้องการส่งบุญนี้ให้
- นำภาชนะกรวดน้ำเก็บเข้าที่ และกราบลาพระ เป็นอันเสร็จพิธี
ในชีวิตประจำวัน เมื่อทำงานก็ฝึกให้มีสมาธิอยู่กับการทำงานหรือเคลื่อนไหวอิริยาบถต่างๆ ของร่างกาย เช่น การเดิน การนั่ง แทนคำสวดมนต์ พร้อมกับมีสติปัญญารู้หรือเห็นจิต หรือการเคลื่อนไหวอิริยาบถต่างๆ ของร่างกาย การเกิด ดับ ในขณะปัจจุบันตลอดเวลา เวลาว่างจากการทำงานหรือกิจกรรมที่ทำ ก็ให้มีสมาธิอยู่กับคำสวดมนต์พร้อมกับมีสติปัญญารู้หรือเห็นจิต ถ้าฝึกได้ก็จะเป็นผู้มี สติ สามธิ ปัญญา อย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ของการสวดมนต์ ไหว้พระ สวดมนต์ สมาธิ
- จะทำให้ระลึกถึงคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้มีความรู้สึกละอายแก่ใจและเกรงกลัวต่อการทำชั่ว ถ้าสวดมนต์พร้อมแปลจะทำให้เข้าใจคำสอนไปด้วย
- เป็นการฝึกสมาธิ คือ ให้ใจมีความสงบตั้งมั่นอยู่กับคำสวดมนต์อย่างต่อเนื่อง
- ฝึกให้มีสมาธิ เห็นหรือรู้เท่าทันอาการของจิต หรือกิริยาของจิต หรือพฤติแห่งจิตที่แสดงออกมาเป็นความคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งและอารมณ์ต่างๆ แทรกคำสวดมนต์เป็นระยะๆ
- มีปัญญาเห็นว่า ถ้าขาดสติเผลอเพลินติดไปกับความคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้นก็จะทำให้ลืมคำสวดมนต์และจะทำให้เกิดทุกข์ ถ้ามีสติ สมาธิ ปัญญารู้เท่าทัน ก็จะไม่เผลอเพลินติดไปกับสิ่งใดให้ใจเป็นทุกข์ เรียกว่า เห็นอริยสัจจ์
- ฝึกสติ สมาธิ ปัญญา รู้คำสวดมนต์ควบคู่ไปกับรู้ความ คิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งและอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดแทรกคำสวดมนต์ต่างๆ ที่เกิดแทรกคำสวดมนต์ได้ทุกความคิดอย่างต่อเนื่อง โดยรู้อยู่กับที่ไม่เผลอเพลินติดไปเลย แล้วจะรู้หรือเห็นจิตต่างๆ นั้นเกิดขึ้นดับไป เป็นการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ไหว้พระ สวดมนต์ สมาธิก่อนนอน นับเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เรามีความสุขขึ้นได้ โดยที่ในแต่ละวันเราต้องพบเจอกับเรื่องราวมากมาย ทั้งเรื่องที่ทำให้ชีวิตเป็นสุข ไปจนถึงเรื่องราวแย่ๆ ที่ทำให้ชีวิตวุ่นวาย เมื่อกลับถึงบ้านเราต่างก็ต้องการเวลาพักผ่อน อยากนอนหลับสบายเพื่อลืมเรื่องราวแย่ๆ
การไหว้พระ สวดมนต์ สมาธิก่อนนอนจะช่วยให้เรามีสมาธิ จิตใจสงบ ผ่องใส อีกทั้งยังเป็นการแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้ทำมาในแต่ละวันให้กับเพื่อนมนุษย์ หรือสรรพสัตว์ต่างๆ บนโลก เมื่อเรามีสมาธิ จิตใจเย็นลง จะทำให้เรานอนหลับสบาย ตื่นเช้ามาจะรู้สึกสดใส พร้อมที่จะสู้ไปกับงาน หรือการเรียนได้อย่างมีความสุข
ซึ่งใน การไหว้พระ สวดมนต์ สมาธิก่อนนอน นั้นไม่ว่าจะเป็นบทใดก็ตามล้วนแล้วแต่มีอานุภาพในตัวเองอยู่มากมาย อีกทั้งยังแฝงไปด้วยข้อคิดดีๆ ที่จะเป็นหลักนำทางให้เราดำเนินชีวิตในทุกๆ วันไปได้อย่างราบรื่น ฉะนั้น การสวดมนต์ก่อนนอนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ยิ่งปฏิบัติทุกวันก็จะส่งผลที่ดีในเรื่องของสมาธิ ปัญญา ทำให้ใจของเราสามารถพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างละเอียด รอบคอบ และใจเย็นมากขึ้น
สังฆทานวันเกิด หมายถึง กิจกรรมที่ทำเนื่องในวันคล้ายวันเกิด เป็นกิจกรรมการทำบุญในพระพุทธศาสนา ซึ่งการถวายสังฆทานถือเป็นการทำบุญชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเชื่อว่าได้บุญมาก โดยมีความเชื่อว่าอานิสงส์แห่งบุญนี้จะช่วยส่งเสริมให้ชีวิตมีความสุข มีความร่ำรวย ทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง มีความรักสุขสมหวัง และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
คนวันอาทิตย์ มักจะชอบโดนเอาเปรียบ ถูกเบียดเบียน ทำให้เสียทรัพย์สิน อารมณ์ร้อนใจร้อน ทำให้พลาดโอกาสที่ดีบ่อยครั้ง ควรทำบุญ( สังฆทานวันเกิด )ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคตามแต่ศรัทธา แต่ที่ไม่ควรขาดคือ
- ใบมีดโกนดีๆ เพราะเป็นของจำเป็นมากสำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่จะใช้โกนศีรษะ และต้องใช้กันบ่อยครั้งทำให้มีบารมียิ่งขึ้น
- ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย หรือเทียน,หลอดไฟ เพิ่มแสงสว่างให้ชีวิตไม่มืดมน
คนวันจันทร์ เป็นคนอ่อนโยนมีเสน่ห์ แต่มักจะโลเล หวั่นไหวง่าย ไม่หนักแน่น ถูกหลอกได้ง่าย เจอแต่รักซ้ำซ้อน การจัดสังฆทานสำหรับคนวันนี้นอกจากข้าวของเครื่องใช้อื่นๆแล้วที่ขาดไม่ได้คือ
- เครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมชง เช่น ขิงผง ชารางจืด มะตูม อานิสงส์แห่งการถวายเครื่องดื่มจะทำให้คำพูดไม่ห้วนกระด้างจนเกินไป
- ธูปหอม เทียนหอม ธงคู่ แจกันคู่ เชิงเทียนคู่ ของหอมและของเป็นคู่เป็นสัญลักษณ์ของความรักทำให้สมปรารถนา
คนวันอังคาร บางครั้งก็บุ่มบ่ามใจร้อน เกินไป ขยันขันแข็งดี แต่มักเก็บเงินไม่อยู่ การเงินผันผวนขาดช่วงได้บ่อยๆ นอกจากข้าวของเครื่องใช้ที่อยากจะทำบุญแล้ว สิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติมคือ
- ข้าวสาร ถังเก็บข้าวสาร คูลเลอร์น้ำ ข้าวสารจะเพิ่มบุญทางด้านการเงิน และอุปกรณ์เก็บกักข้าวและน้ำจะทำให้เก็บเงินอยู่
- ถังดับเพลิง สายยางน้ำ อุปกรณ์ป้องกันภัย เสริมส่งให้แก้ไขปัดเป่าปัญหาและอุปสรรค ที่ร้อนรนให้บรรเทาเบาบางลง
คนวันพุธ เป็นคนไม่หยุดนิ่ง คิดเร็วทำเร็ว บางครั้งปากไวกว่าใจคิด ก่อศัตรูโดยไม่รู้ตัว ทั้งยังขี้เบื่อ ความคิดไม่อยู่นิ่ง อดทนอะไรได้ไม่นาน ขี้หลงขี้ลืม การจัดของเพิ่มเติมเพื่อลดวิบากกรรมจากข้อเสียของพื้นนิสัยควรเพิ่มสิ่งเหล่านี้เข้าไป
- ยาสมานแผลต่างๆ ยาแก้ไอ ยาสามัญประจำบ้าน ยาบำรุงสุขภาพ เพิ่มผลบุญในการแก้ไขข้อบกพร่องด้านสุขภาพและความคิด
- เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ ซองจดหมาย แสตมป์ อุปกรณ์ทางการสื่อสาร ช่วยเพิ่มบุญทางด้านความคิด มีสมาธิจดจ่อมากขึ้น
คนวันพฤหัสบดี มักขัดแย้งกับผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า ทำดีไม่ได้ดี ไม่ค่อยได้รับความยุติธรรม ต้องแบกรับภาระแทนผู้อื่นเสมอ การจัดของถวายพระเพื่อลดวิบากเหล่านี้คือ
- จาน ช้อน ส้อม ภาชนะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับทางวัด เสริมส่งให้ได้รับความเกื้อหนุนเมตตาจากผู้ใหญ่ และคนทั่วไป
- เสื่อ ผ้าปูรองนั่ง ผ้าปูลาด อาสนะ เสริมส่งให้ได้รับการอุปถัมภ์ มีที่พักพิงมีหลักยึดเหนี่ยวให้กับชีวิต
คนวันศุกร์ เจอแต่รักง่ายหน่ายเร็ว พบแต่คนเจ้าชู้ โดนนินทาว่าร้ายลับหลังเสมอ เสียทรัพย์เพราะผู้อื่น หรือไว้ใจมากไป
- สบู่กึ่งยารักษาผิว แป้งลดผด เครื่องประทินผิวที่ช่วยลดแบคทีเรียตามร่างกาย เสริมส่งในการลดอุปสรรคจากสิ่งที่เรามองไม่เห็น
- โคมไฟ หลอดไฟ สำหรับอ่านหนังสือ อุปกรณ์ซ่อมแซมต่างๆเช่นไขควง สว่าน ประแจ เสริมส่งให้เกิดความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
คนวันเสาร์ หาเงินเก่งแต่รูรั่วทางการเงินเยอะ เหนื่อยยากด้วยตัวเองตลอดพึ่งพาใครไม่ได้ ความรักไม่ค่อยสมหวังขัดแย้งกันตลอดเวลา ต้องคอยแก้ไขปัญหาให้กับผู้อื่นอยู่เสมอ
- ตู้บริจาครับบริจาคเงิน ถังใส่น้ำ กะละมัง กระติกน้ำ แท็งก์น้ำ เสริมส่งพลังในการเก็บทรัพย์ได้มากยิ่งขึ้น
- ไม้กวาด น้ำยาทำความสะอาด แปรงขัดห้องน้ำ ที่ตักผง ถังขยะ เพิ่มผลบุญในการปัดเป่าปัญหาให้หมดไปจากชีวิต
ในความเป็นจริงตามพุทธศาสนาไม่เคยระบุว่าจะต้องนำสิ่งใดไปถวาย การถวายสังฆทานวันเกิด สังฆทาน ชุดสังฆทาน นั้น พุทธศาสนิกชนสามารถนำเครื่องไทยธรรม(ปัจจัย 4) นำสิ่งใดไปถวายพระสงฆ์เป็นสังฆทานก็ได้โดยให้มุ่งคำนึงถึงประโยชน์ที่พระสงฆ์จะได้รับ ทั้งนี้การจะทำบุญให้ได้บุญย่อมสำคัญที่จิตใจของผู้ให้ ไม่ควรตั้งมั่นว่าเมื่อทำบุญไปแล้วจะได้รับสิ่งตอบแทนกลับมา นอกจากนี้การถวายสังฆทานวันเกิด สังฆทาน ชุดสังฆทาน ด้วยอาหารสด อาหารแห้งแก่พระภิกษุ ควรเลือกถวายอาหารที่ไขมันต่ำ ลดอาหารประเภทที่มีไขมัน รวมถึงกะทิ ของหวานต่างๆ และเครื่องกระป๋อง เนื่องจากอาหารหลายชนิดจะไปเพิ่มความเสี่ยงให้พระสงฆ์เป็นโรคเบาหวาน และโรคทางระบบหัวใจ
สรุป การจัดของถวายสังฆทานวันเกิด สังฆทาน ชุดสังฆทาน ตามวันเกิดเพื่อให้ได้รับอานิสงส์มาก เราสามารถนำเครื่องไทยธรรม(ปัจจัย 4) อะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องนำสิ่งของตามเงื่อนไขที่ใครก็ไม่รู้เป็นผู้กำหนดขึ้นมา “บุญและอานิสงส์แห่งบุญนั้น ย่อมขึ้นกับจิตของผู้ให้ จะเป็นบุญก็ต่อเมื่อ ผู้ให้โดยศรัทธา เคารพ และให้ตามกาลอันควร ซึ่งอานิสงส์จะได้รับมากหรือน้อย ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับประโยชน์จากการนำไปใช้ หรือประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ผู้รับเป็นสำคัญ”
สมาธิ การฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขซึ่งมนุษย์เรานั้นสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เมตตาสั่งสอนไว้ ดังนี้
- กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีลห้า หรือศีลแปด เพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง
- คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดีที่ได้กระทำไว้ดีแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่จะตั้งใจทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่าร่างกายทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดีล้วนๆ
- นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย นั่งให้อยู่ในท่าที่พอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตาหรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่า กำลังเข้าไปสู่สภาวะแห่งความสงบ สบายอย่างยิ่ง
- นึกกำหนดนิมิต เป็นดวงกลมใส ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตา เย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า “บริกรรมนิมิต” นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวล เป็นพุทธานุสติว่า “สัมมา อะระหัง” หรือค่อยๆน้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆเคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆกับคำภาวนา
สมาธิ การฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ มีผลอย่างไรกับการทำงาน สามารถช่วยในเรื่องใดบ้าง??
สมาธิ การฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ คือจุดตั้งต้นของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จหลายๆ คน อาทิเช่น ริชาร์ด แบรนสัน ผู้ก่อตั้งธุรกิจกลุ่ม Virgin ก็เป็นหนึ่งคนที่ทำการฝึกสมาธอยู่เสมอ หรือ เอเรียนน่า ฮัฟฟิงตัน นักเขียนผู้ก่อตั้ง The Huffington Post ที่เป็นทั้งที่ปรึกษาให้กับบริษัทใหญ่ๆ หลากหลายที่ รวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ที่มีโปรแกรมการฝึกสมาธิให้กับพนักงานทุกคนเพื่อประโยชน์ในการทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน การตั้งต้นง่ายๆ ที่เริ่มจากสมาธิ การฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ ด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก ก็ช่วยให้คุณสามารถจดจ่ออยู่กับปัจจุบันได้อย่างง่ายดาย นี่คือหลากหลายข้อดีที่การฝึกสมาธิจะช่วยให้งานและทีมงานของคุณมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ช่วยเรื่องความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ
ถึงแม้จะเป็นการทำสมาธิ การฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ ในช่วงเวลาสั้นๆแต่ก็มีผลรับรองว่าสามารถช่วยในเรื่องของการสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้ เพราะการทำสมาธิ การฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ คือการทำจิตใจให้ว่าง สมองของคุณจะปลอดโปร่งพร้อมที่จะคิดไอเดียใหม่ๆ บริษัท วอลต์ ดิสนีย์ คือหนึ่งในบริษัทที่เริ่มบุกเบิกให้พนักงานในบริษัทได้มีการทำกิจกรรฝึกสมาธิหลังจากที่พวกเค้าพบว่าพนักงานของเขามีจินตนาการและไอเดียที่บันเจิดมากขึ้นหลังจากที่ได้ฝึกสมาธิ
ช่วยเพิ่มและสร้างสรรค์ไอเดียและเพิ่มความจดจ่อบนเนื้องาน
เป็นเรื่องปกติที่ในออฟฟิศมักจะมีสิ่งที่คอยมาก่อกวนทำลายสมาธิอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยของเพื่อนร่วมงาน เสียงโทรศัพท์ที่ดังอยู่ตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่คุณจะสามารถจดจ่ออยู่กับงานของคุณได้ มีผลวิจัยพบว่าในช่วงเวลาที่วุ่นวายนี้ เพียงคุณลองทำสมาธิ การฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ เป็นระยะเวลาสั้นๆ ก็ช่วยให้คุณกลับมาจดจ่อและมีสมาธิในการทำงานมากขึ้นได้
ช่วยขจัดความเครียดได้ดี
เพราะความเครียดมีผลกระทบทั้งกับร่างกายและจิตใจ อันจะนำไปสู่การบั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในที่สุด และอาจส่งผลไปถึงจำนวนการลาออกของพนักงานได้ การฝึกสมาธิสม่ำเสมอจะช่วยในเรื่องการลดฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ยังช่วยลดการทำงานของสมองส่วนที่จะไปส่งเสริมเรื่องการตอบสนองเรื่องของความเครียดอีกด้วย
ช่วยในการสร้างพลังบวก
การจดจ่ออยู่กับปัจจุบันคืออีกหนึ่งวิธีของการทำสมาธิ การฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ ที่จะช่วยให้คุณตระหนักรู้ถึงพลังงานลบที่อาจจะกำลังเกิดขึ้น และการที่คุณตระหนักรู้จะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายอารมณ์ลบๆ เหล่านั้นลง มีหลากหลายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการฝึกสมาธิช่วยลดในเรื่องของพลังงานลบและสร้างพลังงานบวก
ช่วยให้ความคิดไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วุ่นวายใจ ผลการวิจัยแนะนำว่าการทำสมาธิ การฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิจะช่วยควบคุมให้ความคิดของคุณไม่ฟุ้งซ่าน เหตุผลเป็นเพราะขั้นตอนสำคัญของการทำสมาธิ การฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ คือทำจิตใจให้ว่างและจดจ่ออยู่เฉพาะกับปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เหมือนคุณได้หยุดเวลาและตระหนักรู้กับสิ่งที่กำลังอยู่ตรงหน้า
ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าวัสสิกสาฏก เป็นผ้าที่พระสงฆ์มีไว้เพื่อใช้ผลัดกับผ้าสบงปกติ เพื่อปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์
ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าวัสสิกสาฏก เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีตกาล ในครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสให้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 7 ไปจนถึงเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ และทรงอนุญาตนุ่งหุ่มได้ตั้งแต่ แรม 1 ค่ำเดือน 8 ไป และห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์แสวงหาผ้านุ่งห่มเลยไปจากทรงอนุญาตไว้ เมื่อทรงกำหนดไว้ดังนี้แล้วครั้งถึงเวลาบรรดาพุทธศาสนิกชน
จึงชวนกันบริจาคทรัพย์ของตน และจัดหาผ้าอาบน้ำฝน ผ้าวัสสิกสาฏก นำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ที่วัด ทั้งนี้เพื่อมิให้พระภิกษุสงฆ์ต้องกังวลในเรื่องการแสวงหา จะได้ตั้งหน้าประพฤติสมณธรรมโดย มิต้องกังวลจึงเป็นอานิสงส์อย่างหนึ่งที่ควรจะประกอบ เพื่อจรรโลงศาสนาให้รุ่งเรืองถาวรสืบไป
สำหรับอานิสงส์ของการถวายผ้าอาบน้ำฝน ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าวัสสิกสาฏก จะได้พบแต่ความสุขความเจริญ จะมั่งมีด้วยทรัพย์สินเงินทองและบริวารมากมาย เมื่อสิ้นบุญไปแล้วก็จะไปเกิดเป็นเทพบตรเทพธดาบนสรวงสวรรค์เสวยทิพยสมบัติสืบไป
ส่วนในการเลือกซื้อ ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าวัสสิกสาฏก เพื่อนำมาถวายนั้น จะต้องพิจารณาดูจากเนื้อผ้าที่ได้มาตรฐาน คงทน เนื่องจาก ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าวัสสิกสาฏก นั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่พระภิษุสงฆ์ใช้บ่อยเป็นประจำทุกวัน
ดังนั้น นอกจากจะพิจารณาจากราคาแล้วนั้น ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าวัสสิกสาฏก จึงต้องพิจารณาถึงวัสดุ เนื้อผ้าอย่างดีที่ได้มาตรฐานแต่อย่างไรก็ดีในการเลือกสิ่งของเพื่อนำมาถวายพระนั้นต้องไม่ละเลยพิจารณาถึงสิ่งของที่จะนำมาใช้ สิ่งของนั้นยังคงใช้ได้ ไม่หมดอายุหรือหมดสภาพ เช่นเดียวกันกับ ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าวัสสิกสาฏก ควรพิจารณาถึงเนื้อผ้า ซึ่งผ้าอาบน้ำฝน ผ้าวัสสิกสาฏก ที่นำมาถวายต้องไม่บางเกินไปเพราะจะลำบากต่อการใช้งานและไม่คงทน
ในปัจจุบันการทำบุญด้วยสังฆทาน ในรูปแบบของสังฆทานสำเร็จรูป ยังคงได้รับความนิยมอยู่มาก แม้บางท่านจะรู้ว่า สังฆทาน ไม่มีคุณภาพแต่ก็ยังมักนิยมหิ้วไปทำบุญกันอยู่มาก ถึงแม้สังฆทานจะมีกฎหมายกำกับดูแล คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับสินค้า สิ่งของเครื่องใช้ที่นำมาใส่ในถังสังฆทาน และกฎหมายกำกับดูแลด้านฉลากที่ต้องติดให้เห็นชัดเจน แต่ก็ยังมีสังฆทานไม่ติดฉลาก สิ่งของเครื่องใช้ใน สังฆทาน ไม่มีคุณภาพ ไม่มีประโยชน์ที่วัด หรือพระภิกษุ สามเณรไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ชุด สังฆทานยา ก็ต้องทำกฎหมาย คือ ติดฉลากให้ถูกต้อง เพราะเมื่อบรรจุในกล่องแล้ว ผู้ซื้อจะไม่ทราบ ดังนั้นต้องติดฉลากให้มีข้อมูลครบ ทั้งเป็นการทำตามกฎหมายและเพื่อให้ผู้ซื้อและพระภิกษุ สามเณร อ่านแล้วได้ประโยชน์ ดังนั้นในฉลากติดหน้ากล่อง ควรมีชื่อยา สรรพคุณ วิธีใช้ ปริมาณ วันเดือนปีหมดอายุ
ปัจจุบันชุดสังฆทานยา ได้รับความนิยมมาก ดังนั้นข้อควรทราบในการเลือกซื้อชุดสังฆทานยา เพื่อนำไปถวายแก่พระภิกษุ สามเณรให้ได้ประโยชน์มากที่สุดมีดังนี้
ประการแรก ต้องเลือกจากกลุ่มยาที่มีการหยิบใช้ประจำ คือกลุ่มยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งยาสามัญประจำบ้าน มีทั้งแผนปัจจุบัน และแผนโบราณ สังเกตว่า ยาแผนปัจจุบันจะมีกรอบสีเขียว พิมพ์คำว่า ยาสามัญประจำบ้าน ส่วนยาแผนโบราณ ก็จะมีข้อมูลฉลากเช่นกัน ยาสามัญประจำบ้าน สามารถหาซื้อได้ง่าย และนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง เหมาะแก่การนำมาจัดชุดสังฆทานยา
ประการที่ในการจัดชุดสังฆทานยามักจะมีผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น วิตามิน สมุนไพร หากจะนำไปจัดชุดสังฆทานยา ควรเลือกกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากครบถ้วน และไม่ควรเป็นกลุ่มที่มีการขายที่เข้าข่ายโฆษณาหลอดลวง โม้เกินจริง
ประการที่สามชุดสังฆทานยาจัดทำแบบสำเร็จที่วางขายในร้านของชำ ห้างสรรพสินค้า หรือ ร้านสังฆภัณฑ์ มักจัดทำไว้ขายช่วงเวลานาน หรือนำไปวางไว้ในที่มีแสงแดด จัดใส่ในกล่องที่อับร้อน จึงอาจมีความเสี่ยงที่จะพบปัญหา เช่น ยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพ เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อ ชุดสังฆทานยา เพื่อนำไปทำบุญ มีข้อแนะนำ คือ การซื้อสังฆทานยา ควรเลือกที่มีฉลากถูกต้อง วางขายในที่ไม่โดนแสงแดด ไม่เก่า ไม่ปะปนกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่อาจทำให้ยาเสื่อมสภาพ
คำว่า “อภัยทาน” ประกอบขึ้นจากคำสามคำ กล่าวคือ “อ+ภย+ทาน” แปลว่า “การให้ความไม่กลัว” หรือ “การให้ความไม่มีภัย หรือให้ความปลอดภัย” ซึ่งหมายถึง การอดโทษ หรือการยกโทษให้แก่กัน ไม่ถือโทษโกรธพยาบาทอาฆาตจองเวรต่อกันอีกต่อไป การให้ในลักษณะนี้เป็นการสร้างบรรยากาศของสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น โดยการที่บุคคล หรือกลุ่มบุคคลได้แสดงให้บุคคลอื่น หรือกลุ่มบุคคลอื่นไม่มีความเกรงกลัว ขลาดกลัว หรือหวาดระแวงต่อการคิด พูด และการกระทำของเรา อันเป็นการเปิดพื้นที่ให้จิตของเราได้มีโอกาสให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา หรือขออภัยต่อบุคคลอื่นในสิ่งที่เราได้ล่วงละเมิดในวิถีทางที่ไม่เหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งนำไปสู่การไม่จองเวร หรือพยาบาทซึ่งกันและกัน
อภัยทาน ให้ทาน ทำทาน คือ การสละอารมณ์โกรธเป็นทาน ให้อภัย ให้ทาน ทำทาน ไม่จองเวร สละอารมณ์โกรธพยาบาทให้ขาดออกจากใจ เป็นการเจริญเมตตาพรหมวิหาร
อานิสงส์แห่ง อภัยทาน ให้ทาน ทำทาน นั้นเรียกได้ว่าสูงที่สุดในพระพุทธศาสนา แม้จะได้ทำอามิสทานคือ การให้ทานวัตถุไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต อย่างมากก็ได้เพียงสวรรค์สมบัติ หรือ ความสุขที่เป็นทางกามารมณ์ หรือได้ไปเกิดในภพภูมิที่เป็นสุขอย่างในสวรรค์เท่านั้น
แต่การให้อภัยทาน ให้ทาน ทำทาน นั้นถือเป็นการให้ ระดับโลกุตตระ ซึ่งเป็นการละซึ่งพยาบาท ละกิเลสโทสะได้ จะมีผลหลายประการตั้งแต่รูปร่างหน้าตาผิวพรรณภายนอกจะสดใสอิ่มเอิบมีความสุขในใจ
ผลทางจิตก็จะส่งผลให้กลายเป็นผู้ทรงญาณ มีปัญญา ชีวิตมีความสุขไม่ทุกข์ร้อนในเรื่องใดได้ง่าย ผลในทางสวรรค์สมบัติขั้นสูงของอภัยทาน ให้ทาน ทำทาน นี้ ก็จะส่งผลให้ไปเกิดเป็นชั้นพรหมเป็นอย่างต่ำ เพราะว่าได้มีการบำเพ็ญพรหมวิหารธรรมมาดีแล้ว และมีความสุขยาวนานเมื่อกลับมาเกิดใหม่ก็จะได้เป็นมนุษย์และเข้าถึงกระแสนิพพานได้ง่ายและเร็ว
สภาพความเป็นไปของร่างกายที่ปราศจากโรคภัยเรียกว่า “สุขภาพ” ใครไม่มีโรค ถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐ (อโรคยาปรมาลาภา-ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ) ของที่ได้มาเกินคาดหมายนามว่า “ลาภ” นี้ ใครๆ ก็อยากได้ แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ เนื่องเพราะสรรพสิ่งล้วนเป็นไปอันไม่แน่นอนโดยธรรมดา หรือเป็นไปตามกฎธรรมชาติคือ อนิจฺจา ทุกฺขา อนตฺตา หรือ “ธรรมนิยาม” นั่นเอง
จากคำกล่าวที่ว่า อโรคยาปรมาลาภา การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใดก็ยังเป็นคำพูดที่ฟังดูแล้วไม่ล้าสมัย เพราะคงจะไม่มีใครปฏิเสธว่าการมีสุขภาพดี มีค่ากว่าการมีเงินทองร้อยล้านด้วยซ้ำไป เพราะแม้ว่าจะมีเงินมากองจนท่วมตัวก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีให้กลับคืนมาได้ ตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนด พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นสิ่งที่จะแสดงผลออกมาเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง เช่น บางคนทำงานหนักพักผ่อนน้อยเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานๆทำให้ร่างกายรับไม่ไหว สุขภาพอ่อนแอ และสามารถติดเชื้อได้ง่าย
ความเชื่อในกฎแห่งกรรมตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ผู้ที่มักประสบด้วยโรคภัยไข้เจ็บ สุขภาพไม่แข็งแรง เป็นคนอายุสั้น มักจะเกิดจากเหตุของกรรม ทั้งกรรมในปัจจุบัน คือ การกระทำของตนเอง เช่น ไม่รักษาสุขภาพ รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกาย หรือ การกระทำอันเกิดจากการฆ่าสัตว์ เบียดเบียนชีวิต ซึ่งกรณีนี้ จะมีทั้งกรรมปัจจุบันและกรรมในอดีต ทำให้ผู้กระทำต้องประสบเคราะห์กรรมเจ็บป่วยด้วยโรคภัยที่รักษาไม่หายขาด กลับมาป่วยซ้ำๆ บางคนเป็นโรคเรื้อรังตั้งแต่ยังเด็กก็มี บางคนอายุสั้น เชื่อว่าเป็นผลจากเศษกรรมของปาณาติบาต (กรรมจากการฆ่าสัตว์ การเบียดเบียนชีวิต)
ที่สามารถให้ผลได้ จากการทำกรรมในชาตินี้ หรือ ชาติก่อนๆก็ตาม ส่วนถ้าทำกรรมปาณาติบาตในชาตินี้จะให้ผลเร็วแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรุนแรงของกรรมและความสม่ำเสมอในการกระทำกรรมนั้นๆ บางคนอาจเห็นผลได้ในไม่ช้า บางคนอาจเห็นผลในบั้นปลายของชีวิต หรือบางคนอาจเห็นผลในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไปก็ย่อมได้ เพราะลำดับการให้ผลของกรรมนั้นขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย แต่สำหรับผู้ที่เจ็บป่วยอยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม
นอกจากการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน การดูแลสุขภาพของตนเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายแล้ว ตามคติความเชื่อเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยให้ทุเลาลงอย่างที่ปฏิบัติต่อๆกันมา คือ การสร้างบุญสร้างกุศลในรูปแบบต่างๆ การสร้างบุญสร้างกุศลที่คนส่วนใหญ่นิยมทำและสามารถทำได้ง่าย คือการถวายสังฆทาน ชุดสังฆทาน ซึ่งหากมีการเจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยก็มักจะถวายสังฆทานยา เพราะคนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าการถวาย สังฆทานยา นั้นจะสามารถช่วยบรรเทาความทุกข์กายทุกข์ใจ บรรเทากรรมที่ก่อไว้ทั้งในอดีตชาติ หรือในปัจจุบันได้นั่นเอง
ประเพณี กรวดน้ำ นั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่สมันพุทธกาล โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้สอนให้พระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งได้มาทำบุญเลี้ยงพระ ทรงหลั่งทักษิโณทก (กรวดน้ำ) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการ “อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล” ให้แก่พระญาติที่ล่วงลับของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นมา เวลาทำบุญ หรือถวายสังฆทาน ชุดสังฆทานจึงนิยมใช้การกรวดน้ำเป็นสัญลักษณ์แทนการอุทิศส่วนกุศล
การ กรวดน้ำ หลังทำบุญ ถวายสังฆทาน ชุดสังฆทานเสร็จคือ การตั้งใจอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่เราได้ทำไว้แล้วไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วพร้อมทั้งรินน้ำให้ไหลลงไปที่พื้นดินหรือที่รองรับ แล้วเอาไปเทที่พิ้นดินอีกต่อหนึ่งหรือรดที่โคนต้นไม้ก็ได้ เริ่มต้นจากการเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะ จะเป็นคณฑี แก้วน้ำ ขวดน้ำ หรือขัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ และหาภาชนะสำหรับรองน้ำกรวดไว้ให้พร้อม พอพระเริ่มอนุโมทนาขึ้นบทว่า “ยถา วาริวหา………..” ก็เริ่มกรวดน้ำ (รินน้ำ) ลงในภาชนะรองรับ ในระหว่างที่ทำการกรวดน้ำนั้น เราควรระลึกถึงผู้ที่มีพระคุณ หรือมีเวรกรรมต่อกัน เพื่ออุทิศผลบุญที่ได้ ทำให้แก่บุคคลเหล่านั้น เมื่อพระว่าจบและขึ้นบทว่า สัพพีติโย……พร้อมกัน ผู้กรวดน้ำพึงหยุดกรวดน้ำและประนมมือรับพร เสร็จแล้วจึงนำน้ำที่กรวดนั้นไปเทลงบนดินที่สะอาด หรือที่โคนต้นไม้ก็ได้
- วิธีการกรวดน้ำที่ถูกวิธี และเกิดผลสูงสุด
1. การกรวดน้ำมี 2 วิธี คือ กรวดน้ำเปียก คือ ใช้น้ำเป็นสื่อ รินน้ำลงไปพร้อมกับ #อุทิศผลบุญกุศล ไปด้วย กรวดน้ำแห้ง คือ ไม่ใช้น้ำ ใช้แต่สิบนิ้วพนมอธิษฐาน แล้วอุทิศผลบุญกุศลไปให้
2. การอุทิศผลบุญมี 2 วิธี คือ อุทิศเจาะจง ได้แก่ การออกชื่อผู้ที่เราจะให้ท่านรับ เช่น ชื่อพ่อ แม่ ลูก หรือใครก็ได้ อุทิศไม่เจาะจง ได้แก่ การกล่าวรวมๆกันไป เช่น ญาติทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ทางที่ถูกควรทำทั้งสองวิธี คือผู้ที่มีคุณหรือมีเวรต่อกันมาก เราก็ควรอุทิศเจาะจง ที่เหลือก็อุทิศรวมๆ
3. น้ำสำหรับกรวด ควรเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีสีและกลิ่น และเมื่อกรวดก็ควรรินลงในที่สะอาดและไปเทในที่สะอาด และที่สำคัญ อย่ารินลงกระโถนหรือที่สกปรก
4. น้ำเป็นสื่อ ดินเป็นพยาน การกรวดน้ำ มิใช่จะอุทิศไปให้ผู้ตายกินน้ำ แต่ใช้น้ำเป็นสื่อและใช้แผ่นดินเป็นพยาน ให้รับรู้ในการอุทิศส่วนบุญ
5. ควรกรวดน้ำตอนไหนดี? ควรกรวดน้ำทันทีในขณะที่ พระ อนุโมทนา หลังทำบุญ หรือหลังถวายสังฆทาน ชุดสังฆทานเสร็จ แต่ถ้าไม่สะดวกจะทำตอนหลังก็ได้ แต่ทำในขณะนั้นดีกว่า ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ ถ้ามี เปรต ญาติ มารอรับส่วนบุญ ท่านก็ย่อมได้รับในทันที การรอไปกรวดที่บ้านหรือกรวดภายหลัง บางครั้งก็อาจลืมไป ผู้ที่เขาตั้งใจรับก็อด ผู้ที่เราตั้งใจจะให้ก็ชวดไปด้วย
6. ควรรินน้ำตอนไหน? ควรเริ่มรินน้ำพร้อมกับตั้งใจอุทิศ ในขณะที่พระผู้นำเริ่มสวดว่า “ยะถาวาริวะหาปูรา…” และรินให้หมดเมื่อ พระ ว่ามาถึง “…มะณิโชติระโส ยะถา…” พอ พระ ทั้งหมดรับพร้อมกันว่า “สัพพีติโย วิวัชชันตุ…” เราก็พนมมือรับพรท่านไปจนจบ จึงจะถือว่าถูกต้อง
7. ถ้ายังว่าบท กรวดน้ำ ไม่เสร็จ จะทำอย่างไร? ก็ควรใช้บท กรวดน้ำ ที่สั้นๆหรือใช้บท กรวดน้ำ ย่อก็ได้ เช่น “อิทัง โน ญาตีนังไหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขออุทิศส่วนบุญ นี้จงสำเร็จแก่ …. (ออกชื่อผู้ล่วงลับ) …. และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด” หรือจะใช้แต่ภาษาไทยอย่างเดียวก็ได้ว่า “ขออุทิศส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนี้ จงสำเร็จแก่ พ่อ แม่ ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงได้รับส่วนบุญกุศลครั้งนี้โดยเร็วพลัน และโดยทั่วถึงกันเทอญ” ส่วนบทยาวๆ เราควรเอาไว้กรวดส่วนตัว หรือกรวดในขณะ ทำวัตร สวดมนต์ รวมกันก็ได้ ข้อสำคัญ ถ้าเป็นภาษาพระ ควรจะรู้คำแปลหรือความหมายด้วย ถ้าไม่รู้ความหมาย ก็ควรใช้คำไทยอย่างเดียวดีกว่า เพราะป้องกันความโง่งมงายได้8. อย่าทำน้ำสกปรกด้วยการเอานิ้วไปรอไว้ ควรรินให้ไหลเป็นสายไม่ขาดระยะ และไม่ควรใช้วิธี เกาะตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นทางเหมือนเล่นงูกินหาง ถ้าเป็นในงานพิธีต่างๆ ให้เจ้าภาพหรือประธาน รินน้ำกรวดเพียงคนเดียวหรือคู่เดียวก็พอ คนนอกนั้นก็ พนมมือ ตั้งใจ อุทิศ ไปให้
9. การทำบุญถวายสังฆทาน ชุดสังฆทาน และ อุทิศส่วนบุญ ควรสำรวมจิตใจ อย่าให้จิตฟุ้งซ่าน ปลูก ศรัทธา ความเชื่อ และความเลื่อมใส ให้มั่นคงใน จิตใจ ผลของบุญ และการอุทิศส่วนบุญ ย่อมมีอานิสงค์มาก ผลบุญ ที่เราอุทิศไปให้ ถ้าไม่มีใครมารับก็ยังคงเป็นของเราอยู่ครบถ้วน ไม่มีผู้ใดจะมาโกงหรือแย่งชิงไปได้เลย
10. บุญ เป็นของกายสิทธิ์ ยิ่งให้ยิ่งมาก ยิ่งตระหนี่ยิ่งน้อย ยิ่งอุทิศให้คนอื่นหมดเลยเราก็ยิ่งจะได้บุญหมดเลย ทำบุญ ถวายสังฆทาน ชุดสังฆทานกรวดน้ำ สวดมนต์ อุทิศ พระ ตักบาตร อนุโมทนา บทสวด พ่อแม่ ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร สิ่งศักดิ์สิทธิ์
หวย หรือ สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นกิจกรรมเสี่ยงโชคที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน เป็นการลุ้นรางวัลลุ้นหวยกันมานาน แต่ละคนก็จะมีเลขเด็ดในดวงใจที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ หรือทำนายจากความฝันหรือเหตุการณ์แปลกประหลาดต่างๆ ที่ได้ยินได้ฟังมา แต่สำหรับบางคนที่มีเลขเด็ดทุกงวด และซื้อหวยแทบทุกงวด ซื้อมาทั้งชีวิต แต่กลับไม่เคยถูกรางวัลเหมือนคนอื่นเขาสักที ผิดกับบางคนที่ไม่ได้ตั้งใจซื้อด้วยซ้ำ แต่กลับตกเป็นข่าวถูกหวยรางวัลที่ 1 ไปแบบงงๆ วันนี้ทางธาราญาเรานั้นมีเคล็บลับการ เสริมดวง วันหวยออก สำหรับคนที่อยากจะถูกหวย ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล ส่วนจะช่วยให้คุณได้โชคได้ลาภ ถูกหวยรวยเบอร์มากน้อยแค่ไหน ก็แล้วแต่บุญพาวาสนา
1. หมั่นเก็บกวาดทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ
ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ห้องนอน ห้องรับแขก ระเบียงหน้าบ้าน หรือบริเวณอื่น ๆ ภายในบ้าน คุณต้องอย่าลืมที่จะเก็บบ้าน ปัดกวาดเช็ดถู หรือจัดบ้านให้สะอาดและดูเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ ทางเดินต้องไร้สิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างจากภายนอกส่องเข้ามาถึงภายในบ้านได้อย่างพอดี ไม่รก ไม่มืด ไม่เหม็นอับ จามชามต่าง ๆ เมื่อใช้เสร็จต้องทำความสะอาดทุกครั้ง ห้ามปล่อยทิ้งไว้ หากทำได้ตามนี้รับรองว่าโชคลาภพุ่งเข้าชนคุณแน่ ๆ เพราะการดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้านให้สะอาดและไร้ซึ่งสิ่งกีดขวางจะเป็นตัวดึงดูดโชคลาคดี ๆ และเงินทองเข้ามา
2. สีเสื้อผ้าที่สวมใส่ในวันหวยออก
ในวันหวยออกต้องแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ใหม่ สะอาด ดูเรียบร้อย และแนะนำลองหาสีเสื้อมงคลสำหรับคนเกิดแต่ละวันมาใส่เพื่อเสริมดวงเสริมความโชคดีก็ได้ค่ะ หรืออย่างน้อยที่สุดไม่ใส่สีที่เป็นกาลกิณีเป็นพอจ้า
3. ทำบุญและขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
การทำบุญนั้นมีได้หลายหลายวิธี แต่ที่คนส่วนใหญ่มักทำกันคือ การทำบุญถวายสังฆทาน ถวายผ้าไตร เพราะการทำบุญถวายสังฆทาน ถวายผ้าไตรนั้นสามารถทำได้ง่ายไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรมากมายและในการทำบุญถวายสังฆทาน ถวายผ้าไตรก็สามารถทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรได้อีกด้วย หรือหากจะไปขอพร บนบานอะไรกับเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์องค์ไหนก็ได้ทั้งนั้น ตามสะดวกเลยค่ะ แต่อย่าลืมนะว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะประทานใด ๆ ให้คุณก็ขึ้นกับบุญสัมพันธ์ที่คุณมีต่อท่านด้วย หากไม่ได้รับตามที่ขอก็ห้ามกล่าวโทษท่านเด็ดขาด ตรงกันข้ามหากถูกหวยแล้วอย่าลืมไปแก้บน และอย่าลืมที่จะทำบุญอุทิศให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงเทวดาประจำตัวและเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายด้วย
ข้อห้ามก่อนวันเสี่ยงดวง
- ตื่นเช้าขึ้นมาในวันเสี่ยงดวงด้วยความสดใส พยายามอย่าหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี และห้ามพูดคำหยาบคาย อุทานด้วยคำไม่สุภาพ ไม่ด่าใคร ไม่ตะโกนหรือใช้เสียงดังเอะอะโวยวาย เพราะจะเป็นตัวขัดโชคลาภหรือทำให้โชคลาภและพลังงานดี ๆ ที่จะได้รับหายไปนั่นเอง ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นการ เสริมดวง อย่างหนึ่งเช่นกัน
- ตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยงของวันเสี่ยงดวงควรเลี่ยงการรับเงิน จับเงิน รับโอนเงินต่าง ๆ เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้โชคลาภก้อนใหญ่หลุดลอยไป หรือที่เรียกกันว่า “โชคเล็กตัดโชคใหญ่” นั่นเอง หากจะทำให้ทำหลังผลหวยออกเท่านั้น
หากคุณรู้สึกว่าคุณชอบเลขไหน ไม่ว่าจะเป็นการฝันเห็น หรือรู้สึกถูกโฉลกกับเลขนี้ขึ้นมาซะอย่างนั้น หรือแม้แต่เป็นเลขเดิมที่เคยเสี่ยงทายไปแล้วและถูกรางวัล แต่คุณกลับรู้สึกแปลก ๆ แบบบอกไม่ถูกกับเลขนั้น แนะนำว่าอย่าปล่อยผ่านเด็ดขาด เพราะมีให้เห็นกันเยอะแยะมาก เมื่อไหร่ก็ตามที่เราหลงลืมเลขนั้น ๆ ไป หรือแม้แต่ได้เลขมาแล้ว แต่ไม่ได้นำมาเล่น สุดท้ายเลขตัวนี้ก็มักจะกลับมาออกให้เราเจ็บใจ เหมือนกับว่าเราเองนั่นแหละที่เป็นคนปล่อยให้โชคลาภหลุดมือไปเอง
สังฆทาน เสริมดวง คนไทยเรานั้นมีความเชื่อในเรื่องของดวงชะตาอยู่ไม่น้อย ในการทำบุญก็สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ บริจาคโลหิต ทำบุญโลงศพ รวมถึงการไหว้พระทำบุญถวายสังฆทานนั่นเอง
หากนึกถึงสังฆทาน หลาย ๆ คนมักจะติดภาพการถวายสังฆทานถังสีเหลืองที่บรรจุสิ่งของเป็นจตุปัจจัยแด่พระภิกษุสงฆ์ แต่การถวายสังฆทานโดยแท้จริงแล้วคือการถวายทานที่มุ่งเจาะจงไปในหมู่สงฆ์ โดยไม่เลือกถวายเฉพาะรูปใดรูปหนึ่ง แต่ถวายให้เป็นสิทธิ์กลางแด่คณะสงฆ์ เพื่อที่คณะสงฆ์จะได้จัดสรรแบ่งปันต่อไป และถึงแม้ว่าเราถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์เพียงรูปเดียว แต่ถ้าท่านมารับถวายในนามตัวแทนสงฆ์ ก็จัดเป็นการถวายสังฆทานได้เช่นกัน
ทุกท่านคงอาจสงสัย ว่าการถวายสังฆทานกับการเสริมดวงเกี่ยวข้องกันยังไง เพราะว่า ในบางช่วงชีวิตดวงของบางคนอาจจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิต คือ จะทำให้เกิดอุปสรรค ทำสิ่งต่าง ๆ ก็ไม่ราบรื่น อาจเกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ ซึ่งจะต้องเสริมดวงด้วยการทำบุญเสริมดวงชะตาชีวิต และการทำบุญถวายสังฆทานก็มีอานิสงส์มาก และผลบุญจากการถวายสังฆทานจะช่วยหนุนนำชีวิตของเรา
ดังที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสรรเสริญการถวายสังฆทานเอาไว้ดังนี้ “เราไม่กล่าวว่า ปาฏิบุคลิกทานมีผลมากกว่าสังฆทานด้วยปริยายอะไรๆ เลย สังฆทานเป็นประมุขของผู้หวังบุญ พระสงฆ์นั่นแลเป็นประมุขของผู้บูชาและเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลกไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า” จะเห็นได้ว่าการถวายสังฆทาน เป็นการทำทานที่ได้ผลบุญมหาศาลจริงๆ
ชุดสังฆทานเพื่อเสริมดวงนั้นควรเป็นชุดสังฆทานที่พระสงฆ์สามารถนำของในสังฆทานนั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม จีวร หรือเครื่องอุปโภค ควรเป็นของที่มีคุณภาพ ไม่หมดอายุ มี อย. และพระภิกษุสงฆ์สามารถใช้งานได้จริงนั่นเอง
หลายคนอาจจะสงสัยถึงการทำบุญในลักษณะต่างๆ ว่าทำอะไรแล้วเสริมด้านใดหรือลดกรรมเรื่องอะไร ซึ่งจริงๆ แล้วก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละคน ทั้งนี้ในการ ทำบุญวันเกิด แต่ละวันควรทำบุญเสริมดวงให้ปังตามวันเกิดอย่างไร ทั้งในเรื่องของการถวายสังฆทานวันเกิด วันนี้ธาราญามีแนวทางมาแนะนำ
ทำบุญวันเกิด สำหรับคนเกิดวันอาทิตย์
ดวงคนวันอาทิตย์ มักระวังจะเสียเปรียบผู้อื่น ถูกโกง ถูกให้ร้ายป้ายสีให้เสียชื่อเสียง
เก็บเงินไม่อยู่ เพราะฉะนั้นการทำบุญของคุณนั้นมักจะเป็นการถวายสังฆทานวันเกิด
ถวายผ้าไตร หรือ ผ้าอาบน้ำฝนในช่วงเข้าพรรษาเพื่อให้ชั่วดาของท่านเกิดมงคล
การงาน : บูชา ไหว้ขอพร พระแก้วมรกต, เจ้าพ่อหลักเมือง, พระสยามเทวาธิราช, พระศิวะมหาเทพ เจ้าพ่อกวนอู ด้วยมะพร้าวอ่อนมีเปียไม่ปอกเปลือก 1 ผล และไข่ต้ม 6 ฟอง
การเงิน : ทำบุญถวายสังฆทาน โดยเพิ่มของตัวแทนวันเกิด คือ ไฟฉาย เทียน แว่นตา น้ำตาลปี๊บ
ความรัก : แก้ด้วยการใส่บาตรด้วยมะพร้าว ไข่ ดอกไม้สีแดง
สุขภาพ : ทำบุญที่เกี่ยวกับดวงตาและหัวใจ ห้ามกินอาหารที่มีไขมันมาก ควรทานส้ม ถั่ว ผักมากๆ
ทำบุญวันเกิด สำหรับคนเกิดวันจันทร์
ดวงคนวันจันทร์ ระวังใจอ่อน เงินทองหมดไปกับการช่วยเหลือผู้อื่น ชอบเอาธุระคนอื่นเป็นเรื่องของตน ดังนั้นคุณควรทำบุญเสริมดวงเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีความเข้มแข็งมั่นคง โดยคุณควรถวายผ้าไตรจีวร หรือ ทำสังฆทานถวายสังฆทานวันเกิด อย่างต่อเนื่องในช่วงเข้าพรรษาเพื่อส่งเสริมให้ชีวิตมีความรุ่งเรื่อง
การงาน : บูชา ไหว้ขอพร เจ้าแม่กวนอิม พระสุรัสวดี ท้าวสุรนารี พระสุพรรณกัลยา (วีรสตรีต่างๆ) ด้วยอ้อยจำนวน 2 ข้อ หรือ 15 ท่อน ดอกมะลิ ดอกเบญจมาศ ดอกไม้สีขาว สีเหลือง
การเงิน : ทำบุญถวายสังฆทาน โดยเพิ่มของตัวแทนวันเกิด คือ กาน้ำ กระติกน้ำ หรือน้ำบำรุงภาพ
ความรัก : แก้ด้วยการใส่บาตร ด้วยส้มหรือมะนาว 4 ผล หรือผลไม้รสเปรี้ยว
สุขภาพ : ทำบุญที่เกี่ยวกับรักษาโรค ห้ามกินเนื้อวัว เครื่องในหมู ควรทานน้ำขิง กล้วย สัปปะรด
ทำบุญวันเกิด สำหรับคนเกิดวันอังคาร
ดวงคนวันอังคาร ระวังศัตรูเรื่องงานหรือคนอิจฉา นินทาว่าร้าย บริวารหักหลัง บวกกับด้วยคุณเป็นคนแรง คนกล้า คนขยัน คนอย่างคุณรักการปฎิบัติมากกว่าการคิดแผน การทำบุญเสริมดวงของคุณจึงเหมาะอย่างยิ่งกับ การปล่อยชีวิต โค กระบือ นี่เป็นการเสริมบุญเรื่องงานของคุณโดยเฉพาะ
การงาน : บูชา ไหว้ขอพร พระพิฆเนศ เจ้าพ่อเห้งเจีย พระนอนฯ พระนเรศวรฯ พระเจ้าตากสินด้วยกุหลาบสีชมพู 8 ดอก พุทราดิบ 8 ลูก ทับทิม 3 ลูก ฝักบัว 5 ฝัก
การเงิน : ทำบุญถวายสังฆทานวันเกิด โดยเพิ่มของตัวแทนวันเกิด มีดโกน กรรไกร
ความรัก : แก้ด้วยการใส่บาตร ข้าวหอม อ้อยควั่น 15 ท่อน มะลิ 2 พวง ขนมทองทั้ง 9
สุขภาพ : ทำบุญปล่อยชีวิตสัตว์ เครื่องมือแพทย์ ห้ามกินเลือดทุกชนิด ควรทานมังสวิรัติเสริมดวง
ทำบุญวันเกิด สำหรับคนเกิดวันพุธ
ดวงคนวันพุธ ระวังคำพูด การตัดสินใจที่ผิดพลาด คดีความ มักขี้โรค ป่วยง่าย อย่าหูเบา การบำบุญเสริมดวงด้วยการถวายเทียนพรรษา หรือ การถวายธูปเทียนที่พระสงฆ์ใช้เป็นประจำในโบสถ์ จะเป็นการแก้เคล็ดทำให้คุณมีความเป็นมงคลในชีวิตมากขึ้น
การงาน : บูชา ไหว้ขอพร หลวงปู่ทวด เจ้าพ่อเสือ ท้าวลทั้ง 4 พระกฤษณะเทพ ด้วยส้มหรือมะนาว 4 ผลการเงิน : ทำบุญถวายสังฆทานวันเกิด โดยเพิ่มของตัวแทนวันเกิด คือ หนังสือสวดมนต์ ยาสามัญประจำบ้าน
ความรัก : แก้ด้วยการใส่บาตร ส้ม อินทผลัม แกงสายบัว มะดันดอง
สุขภาพ : ทำบุญกับเด็กกำพร้า คนชรา ผู้ป่วยเบาหวาน ห้ามกินปู-หอย ควรทานส้ม น้ำสมุนไพร น้ำถั่วแดง
ทำบุญวันเกิด สำหรับคนเกิดวันพฤหัสบดี
ดวงคนวันพฤหัสบดี ระวังความดื้อรั้น ชอบสอนคน สันโดษ ซื่อตรงเกินไป ควรเสริมดวงบารมีให้ผู้ใหญ่เมตตา เอ็นดูด้วยการสวดมนต์ให้เป็นประจำและถวายน้ำปานะกับภิกษุสงฆ์เมื่อมีโอกาส ถวายปัจจัยเกี่ยวกับ ค่าน้ำ ค่าไฟ ตามควร เพื่อสนับสนุนดวงคุณให้เกิดความราบรื่น
การงาน : บูชา ไหว้ขอพร พระพุทธชินราช หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโตฯ พระพรหม รัชกาลที่ 5 หลวงพ่อสด พระแม่ลักษมีด้วยฟักทอง 1 ลูก ดอกแคขาว 19 ดอก แตงกวา 5 ผล
การเงิน : ทำบุญถวายสังฆทานวันเกิด โดยเพิ่มของตัวแทนวันเกิด คือ จีวร สบง พระพุทธรูป
ความรัก : แก้ด้วยการใส่บาตร ข้าวหอม ฟักทองแกงบวด แกงส้มดอกแคใส่กุ้ง แตงกวา 5 ผล
สุขภาพ : สวดมนต์ทำสมาธิ ทำบุญกับคนพิการ ห้ามดื่มสุราเมรัย ควรทานผักบุ้ง ตำลึง แอปเปิ้ล
ทำบุญวันเกิด สำหรับคนเกิดวันศุกร์
ดวงคนวันศุกร์ มักทำคุณใครไม่ขึ้น ขี้ใจน้อย แสนงอน เจ้าน้ำตา ควรเสริมการทำบุญที่เกี่ยวในเรื่องต่างๆ ก็จะขอแนะนำให้ไปกราบพระแม่ธรณี หรือ ไปกราบบูชาพระนาคปรก (พระปางวันเสาร์) เพื่อขจัดปัดเป่าให้การงานราบรื่นกว่าเดิม
การงาน : บูชา ไหว้ขอพร พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่ทับทิม พระนางพญา ด้วยพวงมาลัย 6 พวง
การเงิน : ทำบุญถวายสังฆทานวันเกิด โดยเพิ่มของตัวแทนวันเกิด คือ ปิ่นโต ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าเช็ดหน้า
ความรัก : แก้ด้วยการใส่บาตร ด้วยอาหารมังสวิรัติ สัปปะรด ลูกตาลเชื่อม
สุขภาพ : ทำบุญกับสถาบันมะเร็ง ห้ามกินเนื้อวัว ปลาช่อน หอยขม ควรทานแอปเปิ้ล ฟักทอง ดอกแค
ทำบุญวันเกิด สำหรับคนเกิดวันเสาร์ ดวงคนวันเสาร์ มักขาดคนอุปถัมภ์ แลกมาด้วยความเหนื่อยยาก พึ่งตัวเองและช่วยเหลือผู้อื่น การทำบุญด้วยการเติมน้ำมันตะเกียง หรือ บริจาคโลงศพ ก็จะเป็นการสละทานเพื่อเสริมและ เปิดดวงของคุณให้ดียิ่งขึ้น
การงาน : บูชา ไหว้ขอพร พระนารายณ์ เทพเจ้าไต้ฮงกง พระปางนาคปรก ด้วยกล้วยน้ำว้า 1 หวี
การเงิน : ทำบุญถวายสังฆทานวันเกิด โดยเพิ่มของตัวแทนวันเกิด คือ ร่ม 1 คัน หรือกระโถน
ความรัก : แก้ด้วยการใส่บาตร อาหารเส้นต่างๆ น้ำทับทิม ขนมลูกบัว สับปะรด
สุขภาพ : ทำบุญกับคนพิการหรืออัมพาต ปล่อยวัว ปล่อยเต่า ห้ามกินเลือดหมู ควรกินมะพร้าวเสริมดวง
แท้จริงแล้วการสร้างบุญสร้างกุศลนอกเหนือจากการระลึกถึงความดี การตั้งมั่นจิตใจเพื่ออุทิศสวนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ หรือคนรักแล้วนั้นผลบุญที่ได้ก็จะส่งถึงผู้ที่น้อมถวายเช่นกัน
หลายครั้งที่เราไปทำบุญ หลายคนอาจจะเคยมีความสงสัยว่า เราควรจะทำบุญด้วยชุดสังฆทาน หรืออะไรดี และควรใช้หลักเกณฑ์ไหนดี เพื่อที่จะให้เราได้บุญเต็มที่ ได้สะเดาะเคราะห์ เสริมดวง การเงินคล่องตัว เงินทองไหลมาเทมา มีคนช่วยเหลือสนับสนุน เอ็นดูตลอดเวลา ศัตรูหมู่มารไม่มาวุ่นวาย มีความสุขสมหวัง ความรักราบรื่น และมีสุขภาพแข็งแรง
วันนี้ทางธาราญามีข้อแนะนำดีๆ สำหรับคนที่ต้องการทำบุญ หรือ ถวายสังฆทาน แล้วได้บุญอย่างเต็มที่โดยเราจะเอาวันเกิดมาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
คนที่เกิดวันอาทิตย์
คนที่เกิดวันอาทิตย์ ทำบุญตักบาตรด้วยอาหารประเภทไข่ต้ม ไข่พะโล้ ไข่ลูกเขย ผัดฟักทองใส่ไข่ แกงส้มดอกแค ของหวานหรือผลไม้ ก็จะเป็นกล้วยบวชชี กล้วยเชื่อม บัวลอยไข่หวาน น้ำมะพร้าว ฟักทองแกงบวช ฟักเชื่อม มันเชื่อม
การถวายสังฆทาน
ควรจัดชุดสังฆทาน เป็นธูป เทียน แผ่นทอง หลอดไฟ ตะเกียง น้ำมันพืช จะส่งเสริมให้คนที่เกิดวันอาทิตย์มีความก้าวหน้า ผ่านพ้นจากอุปสรรคปัญหาในเรื่องของการงาน มีผู้ใหญ่และคนรอบข้างให้เกื้อหนุนได้เป็นอย่างดี และอุปสรรคในชีวิตจะผ่านพ้นไปด้วยดี รวมทั้งให้พ้นวิบากกรรมจากศัตรูคู่แข่งก็จะมาแผ้วพานได้ คนวันอาทิตย์ต้องอย่าใจร้อน เลิกทิฐิ แล้วชีวิตคุณจะมีความสุข
คนที่เกิดวันจันทร์
คนที่เกิดวันจันทร์ ทำบุญตักบาตรด้วยแกงเขียวหวานหมู แกงพะแนงหมู หมูทอด ไข่พะโล้ใส่หมู ผลไม้เป็นส้ม น้ำส้มคั้น น้ำมะนาว
การถวายสังฆทาน
ควรจัดชุดสังฆทาน เป็นกาน้ำ กระติกน้ำ แทงค์น้ำ เครื่องเขียน ซองจดหมาย เครื่องเสียงจะส่งเสริมให้คนวันจันทร์ผ่านวิบากกรรม อุปสรรคปัญหา พบเจอแต่กัลยาณมิตรที่ดี ให้การช่วยเหลือคนวันจันทร์ได้ โดยที่ไม่ต้องไปรับภาระแทนคนอื่นที่จะทำให้มีความทุกข์ใจ แคล้วคลาดจากคนที่มาเอาเปรียบเบียดเบียนได้ เจรจากับใครมีคนยอมรับนับถือ เชื่อถือ มีความก้าวหน้าในชีวิต คนวันจันทร์ต้องพยายามทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส อย่าวิตกกังวลจนเกินไปจะได้มีความมั่นใจที่จะทำให้คุณมีพลังชีวิตที่ดี
คนที่เกิดวันอังคาร
คนที่เกิดวันอังคาร ทำบุญตักบาตรด้วยอาหารประเภทข้าวมันไก่ ข้าวหน้าเป็ด ห่านพะโล้ เป็ดพะโล้ พวกประเภทสัตว์ปีกทั้งหลาย หรือจะเป็นแกงไก่ หรือแกงปลาดุกก็ได้ ของหวานเป็นพวกขนมชั้น ขนมถ้วยฟู วุ้น น้ำอ้อย น้ำสมุนไพร น้ำขิง น้ำมะตูม นม
การถวายสังฆทาน
ควรจัดชุดสังฆทาน เป็นผ้าไตร สบง จีวร รัดปะคด น้ำดื่ม จะช่วยส่งเสริมคนวันอังคารให้ผ่านพ้นวิบากกรรมเรื่องของความรักให้มีความรักที่ราบรื่น มีครอบครัวที่อบอุ่น และการเงินให้คล่องตัว ไม่ติดขัด มีสติใจเย็นลงให้มากขึ้น ลดการชิงดีชิงเด่นจะทำให้ชีวิตมีความสุขได้
คนที่เกิดวันพุธ (ทั้งกลางวัน และ กลางคืน)
คนที่เกิดวันพุธ ควรทำบุญตักบาตรด้วยอาหารที่ปรุงด้วยพืชพันธุ์ ไม้เลื้อยต่างๆ แกงจืดตำลึงใส่หมู ต้มฟักใส่หมู ผัดฟักทองใส่ไข่ ผักกาดดองผัดไข่ แกงเขียวหวานหมู ผัดคะน้ำมันหอยหรือปลาค็ม ผัดแขนงหมูกรอบ อาหารกระป๋อง ของหวานหรือผลไม้ ข้าวหมาก ข้าวเหนียวดำ เฉาก๊วย ขนมเปียกปูน ขนุน ทุเรียน ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน
การถวายสังฆทาน
ควรจัดชุดสังฆทาน เป็นหนังสือธรรมะ หนังสือมนต์พิธี อุปกรณ์การศึกษา หลอดไฟ ถวายพัดลม เทปธรรมะ ยาแก้โรคลม ยาหอม ยาหม่อง จะทำให้คนวันพุธมีสติ ปัญญาเกิด มีความคิดสร้างสรรค์ ผ่านพ้นจากวิบากกรรมที่หลงเชื่ออะไรได้ง่ายๆ ความลุ่มหลงมัวเมาในอบายมุข หรือพ้นจากการกระทำที่ผิดศีลธรรม คนวันพุธขอให้คุณมีสติ อย่าคิดมากจนถึงฟุ้งซ่าน ทำอะไรให้คิดให้รอบคอบ
คนที่เกิดวันพฤหัสบดี
คนที่เกิดวันพฤหัสบดี ควรทำบุญตักบาตรด้วย แกงเลียง บวบผัดไข่ ผัดน้ำเต้า แกงจืดฟักใส่ไก่ ผัดผักบุ้ง อาหารประเภทที่ปรุงจากปลาน้ำจืดต่างๆ เช่น ปลาช่อน ปลาตะเพียน ผัดเผ็ดลูกชิ้นปลากราย หรือไก่ผัดขิง ของหวานหรือผลไม้อย่างเช่น แตงไทยน้ำกะทิ แตงโม เมล่อน แคนตาลูป
การถวายสังฆทาน
ควรจัดชุดสังฆทาน เป็นหนังสือธรรมะ แผ่นพับสวดมนต์ ตู้พระไตรปิฎก ทำบุญร่วมเป็นเจ้าภาพบวชพระบวชเณรและควรจะนั่งสมาธิ ถือศีล ทานมังสวิรัติในวันเกิด จะช่วยส่งเสริมในเรื่องของความช่วยเหลือจากผู้คนรอบข้าง ความมั่นคงในหน้าที่การงาน มีความสมหวังจากสิ่งที่ตั้งใจ ให้ผ่านพ้นจากวิบากกรรมที่เชื่อคนอื่นจนเกินไป และเรื่องของการเงินให้มีความมั่นคง
คนเกิดวันศุกร์
คนที่เกิดวันศุกร์ ควรทำบุญตักบาตรด้วย ผัดมะระใส่ไข่ มะระยัดไส้ ผัดมะเขือยาวใส่หมู ลาบหมู ขนมจีนแกงเขียวหวานหมู ของหวานหรือผลไม้ เช่นขนมเปียกปูน สัปปะรด อินทผาลัม
การถวายสังฆทาน
สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน น้ำยาทำความสะอาด ซักล้าง กระโถน ถังขยะ หรือจะล้างห้องน้ำวัด กวาดลานวัด ทำบุญกับมูลนิธิโรคมะเร็ง ก็จะเป็นบุญอย่างยิ่ง ที่จะทำให้คนเกิดวันเสาร์ผ่านพ้นวิบากกรรมเกี่ยวกับความรัก และสุขภาพ การรับภาระรอบข้างที่ค่อนข้างจะทำให้เกิดความทุกข์ โดยเฉพาะกับญาติพี่น้อง เกิดความเครียดที่จะส่งผลถึงสุขภาพได้ การทำบุญจะส่งเสริมทำให้จิตใจผ่องใสมีความสบายใจ คนวันศุกร์มองโลกในแง่ดีเข้าไว้ อย่านำความทุกข์มาไว้ให้มากนักชีวิตก็จะมีความสุข ความสำเร็จได้ไม่ยากคนที่เกิดวันเสาร์
คนเกิดวันเสาร์ ควรทำบุญตักบาตรด้วยอาหารประเภทเส้น เช่น ก๋วยเตี๋ยวไก่ ก๋วยเตี๋ยวหมู ขนมจีนแกงไก่ ขนมจีนน้ำยาปลา ยำวุ้นเส้น เส้นจันทน์ผัดไทยใส่กุ้ง ของหวานหรือผลไม้ เช่น สลิ่ม ทับทิม พุทราเชื่อม กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี สัปปะรด ลูกตาลเชื่อม
การถวายสังฆทาน
มีดโกน กรรไกร กรรไกรตัดเล็บ เข็มเย็บผ้า เข็ดกลัด มีดปอกผลไม้ ยารักษาโรค ทำบุญกับคนพิการ โรคมะเร็ง มูลนิธิตามโรงพยาบาล บริจาคเครื่องมือแพทย์ บริจาคให้กับคนด้อยโอกาส เด็กกำพร้า เพราะบุญกุศลจะช่วยเสริมในเรื่องของสุขภาพ หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่งเสริมเรื่องของความรัก กระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้พ้นจากวิบากกรรมของความรัก ความทุกข์ยากลำบากกายและใจทั้งเหตุมาจากตนเองและผู้อื่น ขอให้คนวันเสาร์มีความขยันเข้าไว้ อย่างไรก็ไม่ลำบาก อย่าคิดชิงดีชิงเด่น ทำชีวิตปัจจุบันให้ดีที่สุด คุณก็จะมีความสุขในชีวิต
การ ปฏิบัติธรรม ในพระพุทธศาสนาคือ การฝึกอบรมจิตให้เกิดความรอบรู้จนถึงที่สุดว่าอัตภาพของตนเองซึ่งประกอบด้วยรูปและนามนี้นั้นคืออะไร ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถปรับทำให้รูปและนามคือ กายและจิต นี้อยู่ในสภาพปกติได้ ไม่มีความบกพร่องทั้งทางกายและทางจิต และที่สำคัญที่สุดคือไม่ให้มีความพร่องทางจิตเกิดขึ้น ในขณะมีความพร่องทางกายหรือแม้ขณะกายจะต้องแตกดับไปก็ตามที เนื่องจากความพร่องทางจิต คือความทุกข์นั่นเอง
ฉะนั้น การ ปฏิบัติธรรม ในพระพุทธศาสนามีจุดประสงค์ในการปฏิบัติเพื่อความจางคลายของทุกข์ แล้วดับทุกข์ให้หมดโดยสิ้นเชิงได้ในที่สุด หากพิจารณากันแล้ว การปฏิบัติพุทธธรรมเป็นความประสงค์และจำเป็นอย่างแท้จริงของคนทุกคน โดยไม่เลือกเชื้อชาติ อาชีพ เพศ และวัยเพียงแต่ให้เขาเหล่านั้นได้เข้าใจอย่างแท้จริง เพราะทุกคนต้องการความสุขและรังเกียจทุกข์
การปฏิบัติธรรม โดยทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่า จะต้องปฏิบัติที่วัด หรือที่สำนักที่จัดขึ้นไว้เพื่อการปฏิบัติโดยเฉพาะเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงเลย เมื่อความทุกข์นั้นสามารถทำให้ลดจางคลายและหมดไปได้ ไม่แต่เฉพาะในวัดและสำนักปฏิบัติเท่านั้น ดังนั้น จำเป็นอย่างไรจึงต้องรอเพียงแค่ไปทำสมาธิ ไหว้พระตอนที่อยู่ในวัด หรือ สำนัก ปฏิบัติ ท่านจงใช้ความพยายามทำความเข้าใจในหลักการสมาธิ ให้แจ่มแจ้ง
แล้วท่านจะสามารถหาความสุข (คลายทุกข์) ได้ แม้ในขณะที่ท่านกำลังทำงานประจำวันของท่านอยู่ก็ตาม และแม้นิพพานก็มีอยู่ตรงหน้าท่าน แหละเพียงท่านทำเหตุ (การปฏิบัติ) ให้ถูกต้องและเพียงพอ ผลที่ท่านต้องการก็จะเกิดมีขึ้นปรากฏแก่จิตของท่านตามขั้นตอน
หลักการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ทั้งวิธีปฏิบัติและความเข้าใจที่ถูกต้อง เพียงแต่ท่านเป็นคนมีเหตุมีผลใจเปิดรับสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล ไม่ยอมทำหรือปฏิบัติตนในสิ่งนอกเหตุเหนือผล มีขันติ วิริยะ และความตั้งใจจริงพอสมควรเท่านั้น
ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม คือ
- การขัดเกลาตนเอง
ควรเริ่มจากกิเลสตัวที่มีกำลังมากที่สุด ไม่ใช่กิเลสตัวที่มีกำลังน้อยที่สุด เพราะเมื่อทำให้กิเลสตัวที่มีกำลังมากอ่อนแรงได้ ความอดทนอดกลั้นจะเพิ่มขึ้น ภูมิคุ้มกันกิเลสตัวเล็กๆ จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องอาศัยความพยายามมากนัก
2. โทสะ เห็นง่าย เกิดง่าย
สร้างความสูญเสียรุนแรง แต่ในเบื้องต้นกำจัดง่ายกว่า โลภะ ราคะ และโมหะ
3. เมื่อกำจัดกิเลสหยาบๆ ได้บางส่วน
กิเลสชั้นละเอียดจะเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มีความแนบเนียนกว่า พบว่า มันคืสิ่งที่เราไม่อยากสละ เนื่องจากมันสร้างความพอใจให้เรา จำเป็นต้องอาศัยกำลังสติเป็นอย่างมากในการเท่าทันระวังตน
4. แม้ไม่พูดในทางร้าย แต่เรายังคิดร้ายอยู่เสมอ
ความคิดร้ายนั้น ปรุงแต่งขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นกระบวนการ มิใช่สิ่งที่จงใจสร้างขึ้นเอง ดังนั้นเราจึงไม่ควรยอมรับว่า ความคิดคือตัวตนของเรา และการคิดดีตลอดเวลาก็เป็นไปไม่ได้ แต่นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่ หนทางแก้ไขคือ เมื่อเกิดความคิดทางร้าย ให้มีสติน้อมเข้ามาพิจารณา จับจ้องไปที่ตัวความคิด จะพบว่าทุกความคิดจะหายไปเองตามธรรมชาติ ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จะรู้สึกว่า กาย วาจา สำรวมขึ้น ความคิดฟุ้งซ่านน้อยลง ความอยากพูดน้อยลง อยากเป็นผู้ฟังมากขึ้น เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น
5. ลาภคือเงินทองวัตถุ
ยศ คือ ตำแหน่งความสำคัญ สรรเสริญคือคำชื่นชม สุขคือความอิ่มใจ บรรดาสี่อย่างนี้ เงินทองคือส่วนที่สามารถสละง่ายที่สุด และที่เราต้องการเงินทอง ตำแหน่ง และคำสรรเสริญ ก็เพราะเราต้องการความสุข ดังนั้น ผู้ที่สามารถมีความสุขด้วยวิธีง่ายๆ จะมีความต้องการเงินทอง ตำแหน่ง และคำชื่นชมน้อยลงไปด้วย
6. การเกรงกลัวผู้มีอำนาจ เป็นเรื่องธรรมดาของปุทุชน
แต่เมื่อเรารู้สึกพอใจในสิ่งที่ตนมี และเรียนรู้ที่จะขยายขอบเขตความเมตตาไปได้ระดับหนึ่ง จิตใจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าประหลาด ใจจะไม่นึกกลัวผู้มีอำนาจอย่างไร้เหตุผล อีกทั้งยังรู้สึกเห็นใจผู้ที่ด้อยกว่าตน อยากช่วยเขาในฐานะเพื่อนมนุษย์ มิใช่ช่วยในฐานะผู้ที่วิเศษกว่าเขา ความอ่อนน้อมถ่อมตนจะเพิ่มขึ้น ความอยากเป็นคนยิ่งใหญ่ เป็นคนสำคัญจะน้อยลง มีความภูมิใจ พอใจในความธรรมดาของชีวิต ทำให้ชีวิตมีความเรียบง่ายยิ่งขึ้น ซับซ้อนน้อยลง
7. การทำงานด้วยจิตว่าง
เมื่อเริ่มต้น จำเป็นต้องอาศัยความรักในหน้าที่ แต่ความรักเพียงอย่างเดียว ไม่ทำให้เกิดภาวะทำงานด้วยจิตว่างได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องอาศัยวิปัสสนาควบคู่ไปด้วย คือความรู้สึกตัวอยู่กับสิ่งที่ทำตรงหน้า การรู้สึกตัวนี้ ช่วยให้งานที่ทำอยู่มีความสนุกสนานเพิ่มขึ้น และความสนุกสนานนี่เองที่สร้างสมาธิ เมื่อเกิดสมาธิ และความรู้สึกตัวขณะที่ทำงาน เมื่อนั้น การทำงานด้วยจิตว่างก็จะเกิดขึ้นมาได้ การงานที่ทำอยู่จะสามารถพัฒนาไปได้แบบก้าวกระโดด
8. การทำสมาธิ วิปัสสนา
คือเหตุแห่งการละวาง ไม่ใช่ผล สมาธิ วิปัสสนาไม่ใช่เป้าหมาย หากแต่เป็นกระบวนการที่นำไปสู่ผลลัพธ์ คือการละวาง การทำสมาธิ วิปัสสนาเพียงอย่างเดียว ทำให้เกิดความละวางได้ช้า จำเป็นต้องยึดมั่นหลักของความเมตตา ทาน และศีลควบคู่ไปด้วย จิตจึงมีกำลังสามารถละวางได้เพิ่มขึ้น
9. ข้าศึกร้ายแรงของการปฏิบัติธรรมคือการเพ่งโทษผู้อื่น
เนื่องจากทุกครั้งที่เพ่งโทษผู้อื่น อัตตาจะขยายเผ่าพันธุ์เพิ่มมากขึ้น บ้างครั้งการเพ่งโทษผู้อื่นก็มาในรูปความหวังดี การอบรมสั่งสอน ผลที่ได้จากการเพ่งโทษผู้อื่น ก็คือความอ่อนแอ ความตกต่ำของจิต จิตที่เพ่งโทษผู้อื่น จะกลายเป็นจิตที่มีความยโสโอหัง เป็นอัตตาที่มาในคราบของปัญญาซึ่งผู้สนใจการปฏิบัติธรรมไม่ควรบ่มเพราะให้เกิดขึ้น
10. เมื่อปฏิบัติธรรมไประดับหนึ่ง
จะพบว่า จิตใจแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งคือจิตสำนึกดีงาม ส่วนหนึ่งคือจิตใต้สำนึกที่เต็มไปด้วยกิเลส ถ้ามีจิตสำนึกที่ดีงามมาก แต่จิตใต้สำนึกมีกิเลสมาก ชีวิตจะมีความทุกข์ เนื่องจากช่องว่างระหว่างสิ่งที่รู้ กับสิ่งที่ทำได้ ยังห่างไกลกันมาก วิปัสสนา และสมาธินี่เองคือส่วนที่สร้างสมดุลให้เกิดขึ้น เนื่องจากจิตถอยตนเองออกมาเป็นผู้สังเกต เมื่อสังเกตมากขึ้นๆ ช่องว่างระหว่างความรู้ กับสิ่งที่ทำได้จะน้อยลง ความสมดุล ความสุขจะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการปฏิบัติในขั้นภาวนาจึงมีความสำคัญมาก ไม่เช่นนั้นแล้ว ผู้ศึกษาธรรมะจะกลายเป็นคนสองบุคลิก ทำให้เกิดความทุกข์อันเนื่องมาจากความขัดแย้งภายในจิตใจของตนเอง ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงพูดเสมอว่า ธรรมะของท่าน ไม่ใช่หลักปรัชญา หากแต่คือหลักปฏิบัติที่ต้องอาศัยการภาวนาทางจิตเข้าไปด้วยจึงจะเห็นผลลัพธ์สูงสุด
11. การแสวงหาความสุข
จะทำให้เกิดความทุกข์ตามมา ต่อเมื่อหยุดแสวงหา ความสุขจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นความสุขอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเย็นเหมือนน้ำ นิ่ง และราบเรียบ เราอาจเรียกความสุขชนิดนี้ว่า ความเบิกบาน หนทางในการได้มานั้น จะต้องละวางทั้งความสุข และความทุกข์ แล้วความเป็นกลางของจิตจะเกิด เมื่อความเป็นกลางเกิด ความเบิกบานจะงอกงามขึ้นเองโดยไม่จำเป็นต้องแสวงหา
12. ความศรัทธานั้นจำเป็นมากในช่วงต้น
แต่ต้องละวางลงบ้างในช่วงกลาง เนื่องจาก ตัวศรัทธานี่เอง จะเป็นเครื่องกัน ลดทอนความกล้าหาญในการเพ่งมองชีวิตตามความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม แม้จะลดทอนลงในช่วงกลางของการปฏิบัติ แต่ในช่วงต่อๆ ไป ความศรัทธาที่แท้จริงจะค่อยๆ งอกงามขึ้นเอง เป็นความศรัทธาที่ต่างจากช่วงต้น เพราะเป็นความศรัทธาที่ถูกทดสอบด้วยปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
13. หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์
คือการขูดเกลาความชั่วของตน เราอาจเรียกความชั่วนี้ว่า กิเลส เราสามารถขูดเกลากิเลสได้ผ่านการทำงาน การใช้ชีวิต การมีความรัก การมีครอบครัว รวมถึงการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ การขูดเกลากิเลสนี้เป็นหน้าที่อันดับหนึ่งของทุกคน ของมนุษยชาติ ทำอย่างไรความโลภ โกรธ หลงของเราจะลดลง ความรู้จักพอ สมาธิ ความขยันขันแข็งของเราจะเพิ่มมากขึ้น เราไม่สามารถแยกการขูดเกลากิเลสออกจากชีวิตได้ เพราะที่สุดแล้ว การขูดเกลากิเลสจะส่งผลโดยตรงต่อความเจริญก้าวหน้า และความสุขในชีวิตของเรา
14. ชีวิตที่เรียบง่ายนั้นไม่ได้ทำง่ายอย่างชื่อ
เพราะต้องใช้สติปัญญา และการตกผลึกชีวิตอย่างหนักหน่วงจึงเกิดขึ้นได้ ชีวิตที่เรียบง่าย คือชีวิตของผู้มีกิเลสน้อย เป็นวิถีทางของผู้แสวงหาความร่ำรวยด้วยการทำลายความโลภ จนเกิดเป็นความสันโดษ มักน้อย และความพอใจ หากต้องการชีวิตที่เรียบง่ายอย่าเพียงแค่คิด เพราะความคิดไม่สามารถเท่าทันกิเลสได้ จำเป็นต้องมีหลักสมาธิ วิปัสสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น วิถีแห่งความเรียบง่าย จึงเป็นอีกภาคหนึ่งของวิถีแห่งการภาวนาอย่างแท้จริง
15. จริงอยู่การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตน
แต่การส่งเสริมให้คนรอบข้าง สนใจในสิ่งเดียวกัน จะทำให้การปฏิบัติธรรมเป็นไปง่ายขึ้น ทั้งนี้ไม่ควรแยกเวลา สถานที่ เพราะการปฏิบัติธรรมนั้นทำลงที่ใจเป็นสำคัญ จึงสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกสถานการณ์
16. เมื่อจิตเกิดการพัฒนา ชีวิตจะลงตัวมากขึ้น
ไม่ใช่เพราะมีเงินมากขึ้น หรือหน้าที่ก้าวหน้าขึ้น แต่เป็นเพราะว่า ผู้ฝึกฝนจิตใจ จะกลายเป็นผู้อยู่เหนือสถานการ์ดีร้าย มีเรื่องร้ายก็ไม่สะเทือน มีเรื่องดีก็ไม่หวั่นไหว โลกจะกระทบใจได้น้อยลง เป็นผู้อาศัยอยู่ในโลก แต่ไม่ไหลตามโลก จะอาศัยปัจจัยภายนอกเพื่อสร้างความสุขน้อยลงเป็นลำดับ เพราะมีความสุขที่ระเบิดได้เองจากภายใน
17. การเห็นกิเลสของตนเองคือความสนุกสนานของชีวิต
ไม่มีความสุขใดที่อิ่มใจมากไปกว่า ความสุขที่ได้จากการเห็นความชั่วช้าของตนเอง ต่อเมื่อเห็นความชั่วช้าของตนเองแล้ว ความชั่วช้าที่มีอยู่จะหยุดการเจริญเติบโต ทำให้มีแนวโน้มจะกำจัดความชั่วร้ายได้ง่ายขึ้น
18. การทำความดีนั้น
เป็นเรื่องของการทวนกระแสกิเลส เบื้องต้น ผู้ปฏิบัติจะไม่อยากทำ ต่อเมื่อฝืนใจทำไปอย่างต่อเนื่อง ความดีที่กระทำจะค่อยๆ เพิ่มขนาด สามารถทำความดีใหญ่ๆ ได้มากขึ้นเรื่อยๆ
19. การปฏิบัติธรรม คือการสนใจตนเอง
เพ่งจ้องความเลวของตนเอง มิใช่การวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น คือการน้อมนำสถานการณ์ต่างๆ มาสอนใจตนเองจนเกิดสติปัญญา เห็นความเคลื่อนไหว ไม่มั่นคงของชีวิต ทำให้สามารถละวางสิ่งต่างๆ ได้อย่างที่ควรจะเป็น
20. การปฏิบัติธรรม
คือการเสพกินผลไม้จากแดนสวรรค์ ผู้ไม่เคยเสพย่อมไม่สามารถเข้าถึงความอิ่มอร่อยนั้นได้ จำเป็นต้องใช้ตาของตน หูของตน จมูกของตน ลิ้นของตน กายของตน และใจของตน เข้าไปสัมผัสด้วยประสบการณ์ตรงของตนเอง
ในการถวายเลือกซื้อ ผ้าไตรจีวร ที่จะนำมาถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ หลายท่านยังขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่า ผ้าไตร ที่เราจะนำไปทำบุญหรือถวายแก่ครูบาอาจารย์นั้น ควรใช้ผ้าไตรชนิดไหน แบบใด ในการเลือกซื้อผ้าไตรหากเราเปลือกซื้อควรจะทราบด้วยว่าชุดผ้าไตรที่เราเลือกซื้อไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์นั้นท่าจะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยหรือไม่
พระสงฆ์มีอยู่สองนิกาย
1.พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน
2.พระสงฆ์นิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม
ส่วน ผ้าไตรจีวร นั้นมีอยู่ด้วยกันสอง
แบบที่ 1 ไตรที่ใช้สำหรับการบวชพระ (ไตรใหญ่สีราชนิยม 9 ขันธ์) ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย ใช้ในการบวชพระ
ผ้าไตรจีวรชุดใหญ่ ประกอบด้วย
- สังฆาฏิ 2 ชั้น
- จีวร
- สบงขันธ์
- อังสะ
- ผ้ารัดอก
- ประคดไหม
- ผ้ารับประเคน
ผ้าไตรอาศัย ประกอบด้วย
1. จีวร
2. สบง
3. อังสะ
ใช้ถวายพระสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน หรือสำหรับผัดเปลี่ยนนั่นเอง ไม่สามารถใช้ในพิธีบวชพระได้ ผ้าไตรอาศัย ราคาจะถูกกว่าราคาผ้าไตรจีวรชุดใหญ่ มีหลายท่านที่ยังคงเข้าใจเรื่องการเลือกซื้อผ้าไตรที่จะนำไปถวายแก่พระสงฆ์ที่ผิดอยู่ ผ้าไตรที่วางขายกันอยู่ตามท้องตลาด ราคาประมาณ 800 – 1,000 บาท นั้น เป็น ผ้าไตรจีวรที่ยังไม่ได้มาตรฐาน
เนื้อผ้าที่นำมาตับเย็บอาจจะไม่ได้คุณภาพ อายุการใช้งานอาจจะไม่คงทน หากเราซื้อไปถวายแก่ครูบาอาจารย์ไม่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ตามจุดประสงค์ของผู้นำไปถวาย เพราะขนาดของผ้าไตรอาจจะเล็ก หรือเป็นผ้าที่ตัดเย็บไม่ถูกต้องหลักพระธรรมวินัย เรื่องนี้เราควรจะศึกษาหาความรู้เอาไว้ เพื่อที่เราจะได้จัดซื้อ ผ้าไตรจีวรไปถวายแก่ครูบาอาจารย์ได้ถูกต้อง ถูกชนิด สามารถนำเอาไปใช้งานได้จริง หากไม่เช่นนั้นแล้วสิ่งที่เราทำไปอาจจะได้บุญไม่เต็มที่เพราะการที่เรานำข้าวของไปถวายพระควรจะนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่ถูกนำไปวางทิ้งไม่เกิดประโยชน์
ลักษณะของจีวรนั้นก็เหมือนกับเสื้อผ้าทั่วไป หากเราจะซื้อไปถวายแก่ครูบาอาจารย์เราควรจะเลือกซื้อขนาดที่เหมาะสมแก่ผู้สวมใส่ สิ่งแรกเราควรจะทราบว่าพระภิกษุสงฆ์ที่เราจะเลือกซื้อผ้าไตรถวายนั้นท่านมีส่วนสูงมากน้อยแค่ไหน ท่านเป็นพระภิกษุนิกายไหน ธรรมยุต หรือมหานิกาย เพื่อที่เราจะได้เลือกซื้อสีที่ท่านใช้ให้ถูกต้อง และที่สำคัญในการตัดเย็บต้องถูกหลักพระวินัยด้วย
ในการเลือกซื้อผ้าไตร ผ้าไตรจีวรนั้นเราต้องทราบว่าพระภิกษุท่านมีความสูงเท่าไหร่
- พระภิกษุที่สูงไม่เกิน 160 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 190 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 200 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 210 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้ขนาดความสูง 220 ซม. กว้าง 320 ซม.
หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรมาถวายแก่พระภิกษุโดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้ท่านเลือกซื้อ ผ้าไตรจีวรขนาดความสูง 200 กว้าง 320 ซม. หรือ 210 x 320 เป็นมาตรฐานทั่วไปแก่พระภิกษุสงฆ์
ราคาของ ผ้าไตรจีวรชุดใหญ่ ไตรเต็ม สามารถนำไปใช้ในการบวชพระ แบ่งออกไปตามขนาด ความสูงของพระภิกษุสงฆ์
- ขนาดที่ 1. 180 ซม. x 320 ซม. ราคา 3,750 บาท
- ขนาดที่ 2. 190 ซม. x 320 ซม. ราคา 3,800 บาท
- ขนาดที่ 3. 200 ซม. x 320 ซม. ราคา 3,900 บาท
- ขนาดที่ 4. 210 ซม. x 320 ซม. ราคา 4,000 บาท
- ขนาดที่ 5. 220 ซม. x 320 ซม. ราคา 4,200 บาท
ราคาของ ผ้าไตรจีวรชุดแบ่ง (ไตรอาศัย สีแก่นขนุน) ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัยประกอบด้วย(ตัดเย็บด้วยผ้ามัสลิน)
- จีวร
- ผ้าสบง
- อังสะ
ราคาของ ผ้าไตรจีวร แบ่งขนาดตามความสูงของพระสงฆ์
- ขนาด 180 ซม. x 320 ซม. = 1,800 บาท
- ขนาด 190 ซม. x 320 ซม. = 1,880 บาท
- ขนาด 200 ซม. x 320 ซม. = 2,000 บาท
- ขนาด 210 ซม. x 320 ซม. = 2,200 บาท
- ขนาด 220 ซม. x 320 ซม. = 2,100 บาท
ผ้าไตร นั้นมีขนาดคล้ายกับเสื้อผ้าทั่วไปที่ต้องมีขนาดเหมาะสมแก่พระสงฆ์ที่สวมใส่จึงจะรู้สึกสบายความสูงของพระภิกษุกับขนาดของจีวร
- พระภิกษุสูงไม่เกิน 160 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 190 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุสูง 160 – 170 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 200 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุสูง 170 – 180 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 210 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างอ้วนใหญ่ ควรใช้ผ้าไตรจีวรขนาดความสูง 220 ซม. กว้าง 320 ซม.
หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตรมาถวายพระภิกษุสงฆ์โดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้เลือกผ้าไตรขนาดความสูง 200 กว้าง 320 ซม. หรือ 210 x 320 เพราะเป็นขนาดมาตรฐาน สามารถนำมาใช้งานได้จริง อย่าเลือกซื้อผ้าไตรจีวรที่ราคาถูกแต่ไม่ได้คุณภาพที่ดี และที่สำคัญหากท่านเลือกซื้อผ้าไตรที่ขาดคุณภาพ เอาแต้ราคาถูก เมื่อเรานำไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์แล้วจะไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ไม่เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ท่านจะได้แต่อานิสงส์ในการถวายผ้าไตรแต่บุญที่ท่านควรจะได้กลับไม่เต็มอย่างที่ท่านต้องการ เพราะสิ่งที่ท่านนำไปทำบุญนั้นไม่เกิดประโยชน์อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ท่านพลาดโอกาสที่ดีในการสร้างบุญกุศล
ในการถวายเลือกซื้อ ผ้าไตรจีวร ที่จะนำมาถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ หลายท่านยังขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่า ผ้าไตร ที่เราจะนำไปทำบุญหรือถวายแก่ครูบาอาจารย์นั้น ควรใช้ผ้าไตรชนิดไหน แบบใด ในการเลือกซื้อผ้าไตรหากเราเปลือกซื้อควรจะทราบด้วยว่าชุดผ้าไตรที่เราเลือกซื้อไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์นั้นท่าจะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยหรือไม่
พระสงฆ์มีอยู่สองนิกาย
1.พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน
2.พระสงฆ์นิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม
ส่วน ผ้าไตรจีวร นั้นมีอยู่ด้วยกันสอง
แบบที่ 1 ไตรที่ใช้สำหรับการบวชพระ (ไตรใหญ่สีราชนิยม 9 ขันธ์) ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย ใช้ในการบวชพระ
ผ้าไตรจีวรชุดใหญ่ ประกอบด้วย
- สังฆาฏิ 2 ชั้น
- จีวร
- สบงขันธ์
- อังสะ
- ผ้ารัดอก
- ประคดไหม
- ผ้ารับประเคน
ผ้าไตรอาศัย ประกอบด้วย
1. จีวร
2. สบง
3. อังสะ
ใช้ถวายพระสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน หรือสำหรับผัดเปลี่ยนนั่นเอง ไม่สามารถใช้ในพิธีบวชพระได้ ผ้าไตรอาศัย ราคาจะถูกกว่าราคาผ้าไตรจีวรชุดใหญ่ มีหลายท่านที่ยังคงเข้าใจเรื่องการเลือกซื้อผ้าไตรที่จะนำไปถวายแก่พระสงฆ์ที่ผิดอยู่ ผ้าไตรที่วางขายกันอยู่ตามท้องตลาด ราคาประมาณ 800 – 1,000 บาท นั้น เป็น ผ้าไตรจีวรที่ยังไม่ได้มาตรฐาน
เนื้อผ้าที่นำมาตับเย็บอาจจะไม่ได้คุณภาพ อายุการใช้งานอาจจะไม่คงทน หากเราซื้อไปถวายแก่ครูบาอาจารย์ไม่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ตามจุดประสงค์ของผู้นำไปถวาย เพราะขนาดของผ้าไตรอาจจะเล็ก หรือเป็นผ้าที่ตัดเย็บไม่ถูกต้องหลักพระธรรมวินัย เรื่องนี้เราควรจะศึกษาหาความรู้เอาไว้ เพื่อที่เราจะได้จัดซื้อ ผ้าไตรจีวรไปถวายแก่ครูบาอาจารย์ได้ถูกต้อง ถูกชนิด สามารถนำเอาไปใช้งานได้จริง หากไม่เช่นนั้นแล้วสิ่งที่เราทำไปอาจจะได้บุญไม่เต็มที่เพราะการที่เรานำข้าวของไปถวายพระควรจะนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่ถูกนำไปวางทิ้งไม่เกิดประโยชน์
ลักษณะของจีวรนั้นก็เหมือนกับเสื้อผ้าทั่วไป หากเราจะซื้อไปถวายแก่ครูบาอาจารย์เราควรจะเลือกซื้อขนาดที่เหมาะสมแก่ผู้สวมใส่ สิ่งแรกเราควรจะทราบว่าพระภิกษุสงฆ์ที่เราจะเลือกซื้อผ้าไตรถวายนั้นท่านมีส่วนสูงมากน้อยแค่ไหน ท่านเป็นพระภิกษุนิกายไหน ธรรมยุต หรือมหานิกาย เพื่อที่เราจะได้เลือกซื้อสีที่ท่านใช้ให้ถูกต้อง และที่สำคัญในการตัดเย็บต้องถูกหลักพระวินัยด้วย
ในการเลือกซื้อผ้าไตร ผ้าไตรจีวรนั้นเราต้องทราบว่าพระภิกษุท่านมีความสูงเท่าไหร่
- พระภิกษุที่สูงไม่เกิน 160 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 190 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 200 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 210 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้ขนาดความสูง 220 ซม. กว้าง 320 ซม.
หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรมาถวายแก่พระภิกษุโดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้ท่านเลือกซื้อ ผ้าไตรจีวรขนาดความสูง 200 กว้าง 320 ซม. หรือ 210 x 320 เป็นมาตรฐานทั่วไปแก่พระภิกษุสงฆ์
ราคาของ ผ้าไตรจีวรชุดใหญ่ ไตรเต็ม สามารถนำไปใช้ในการบวชพระ แบ่งออกไปตามขนาด ความสูงของพระภิกษุสงฆ์
- ขนาดที่ 1. 180 ซม. x 320 ซม. ราคา 3,750 บาท
- ขนาดที่ 2. 190 ซม. x 320 ซม. ราคา 3,800 บาท
- ขนาดที่ 3. 200 ซม. x 320 ซม. ราคา 3,900 บาท
- ขนาดที่ 4. 210 ซม. x 320 ซม. ราคา 4,000 บาท
- ขนาดที่ 5. 220 ซม. x 320 ซม. ราคา 4,200 บาท
ราคาของ ผ้าไตรจีวรชุดแบ่ง (ไตรอาศัย สีแก่นขนุน) ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัยประกอบด้วย(ตัดเย็บด้วยผ้ามัสลิน)
- จีวร
- ผ้าสบง
- อังสะ
ราคาของ ผ้าไตรจีวร แบ่งขนาดตามความสูงของพระสงฆ์
- ขนาด 180 ซม. x 320 ซม. = 1,800 บาท
- ขนาด 190 ซม. x 320 ซม. = 1,880 บาท
- ขนาด 200 ซม. x 320 ซม. = 2,000 บาท
- ขนาด 210 ซม. x 320 ซม. = 2,200 บาท
- ขนาด 220 ซม. x 320 ซม. = 2,100 บาท
ผ้าไตร นั้นมีขนาดคล้ายกับเสื้อผ้าทั่วไปที่ต้องมีขนาดเหมาะสมแก่พระสงฆ์ที่สวมใส่จึงจะรู้สึกสบายความสูงของพระภิกษุกับขนาดของจีวร
- พระภิกษุสูงไม่เกิน 160 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 190 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุสูง 160 – 170 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 200 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุสูง 170 – 180 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 210 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างอ้วนใหญ่ ควรใช้ผ้าไตรจีวรขนาดความสูง 220 ซม. กว้าง 320 ซม.
หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตรมาถวายพระภิกษุสงฆ์โดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้เลือกผ้าไตรขนาดความสูง 200 กว้าง 320 ซม. หรือ 210 x 320 เพราะเป็นขนาดมาตรฐาน สามารถนำมาใช้งานได้จริง อย่าเลือกซื้อผ้าไตรจีวรที่ราคาถูกแต่ไม่ได้คุณภาพที่ดี และที่สำคัญหากท่านเลือกซื้อผ้าไตรที่ขาดคุณภาพ เอาแต้ราคาถูก เมื่อเรานำไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์แล้วจะไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ไม่เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ท่านจะได้แต่อานิสงส์ในการถวายผ้าไตรแต่บุญที่ท่านควรจะได้กลับไม่เต็มอย่างที่ท่านต้องการ เพราะสิ่งที่ท่านนำไปทำบุญนั้นไม่เกิดประโยชน์อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ท่านพลาดโอกาสที่ดีในการสร้างบุญกุศล
ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าจีวร 3 ผืน เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ ผ้าจีวร และผ้าสบง แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร ส่วนในการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรจะมีอยู่ 2 จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อบรรพชาอุปสมบท หรือ เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ อันดับแรกเมื่อเรารู้จุดประสงค์ของการซื้อผ้าไตรจีวรแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ สีของผ้าไตรจีวร ก่อนที่จะซื้อเราต้องสอบถามทางวัดก่อนว่าทางวัดใช้ผ้าไตรจีวรสีอะไร เพราะแต่ละวัดจะใช้สีไม่เหมือนกัน เมื่อเรารู้ทั้งจุดประสงค์ แล้วก็สีของไตรจีวรแล้ว เราจะมาดูส่วนของผ้าไตรจีวรกันว่ามีกี่แบบแต่ละแบบมีอะไรบ้าง
ผ้าไตรจีวร โดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ
1. ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย
– จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม
– สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง
– อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม
– สังฆาฏิ : เป็นผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร แต่พระเอามาใช้พาดบ่า
– ผ้ารัดอก : ผ้าที่ใช้รัดอก เวลาพระเอาสังฆาฏิพาดบ่า เพื่อให้ดูกระชับและเรียบร้อย
– รัดประคต : คือเชือกไว้รัดสบง หมีหน้าที่เสมือนข็มขัดของพระ
– ผ้าประเคน : เป็นผ้าที่ใช้รับสิ่งของ
2. ไตรอาศัย(ใช้ในชีวิตประจำวัน) ประกอบด้วย
– จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม
– สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง
– อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม
สีของผ้าไตรจีวร
ผ้าไตรจีวร ในปัจจุบันมีหลายสีด้วยกัน แต่ละวัดก็ใช้สีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละวัด ปัจจุบันสีที่นิยม และพบได้มาก ประกอบก้วย 6 สี ได้แก่
- สีทอง หรือ สีเหลือส้ม ปัจจุบันเป็นสีเนื้อผ้าที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ตามวัดต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
- สีพระราชทาน หรือ สีพระราชนิยม ส่วนมากเป็นสีที่พบมากและส่วนมากพระจะนิยมครองผ้าสีนี้ในงานพิธีต่างๆ
- สีแก่นบวช เป็นสีที่พบมากเช่นเดียวกันในหมุ๋ซํโ)ษ?ฒ๊๕ซษฒฌ๕ณ๋.๕ณํโ
- สีแก่นขนุน เป็นสีที่พบในวัดสำคัญๆ เช่น วัดบวร วัดสังฆทาน วัดหนองป่าพง และสายวัดป่า เป็นต้น
- สีกรัก หรือสีอันโกโซน/สีน้ำหมาก ซึ่งพบเห็นได้ตามวัดป่า พระที่ครองสีนี้ เช่น ฟลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร เจ้าอาวาสวัดศรีนวลธรรมวิมล เป็นต้น
- สีกวักพิเศษ หรือสีครูบา เป็นสีที่สามารถพบเห็นได้น้อย และใชช้กันแฉพาะบางวัดเท่านั้น โดยส่วนมากแล้ว
ถ้าจำเป็นจะต้องไปถวายวัดป่า หรือวัดที่ใช้สีเนื้อผ้าที่แตกต่างกับสีผ้าทั่วไปนั้น เราจะนิยมถวายเนื้อผ้าสีขาว โดยพระท่านจะนำผ้าเหล่านั้นไปย้อมเป็นสีต่างๆ เอง เพื่อให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ ไม่ได้กล่าวไว้แน่นอน แต่มีการกำหนดห้ามในสีต่างๆ ที่แวววาว เช่น สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ แต่มีคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ทรงอุทรงเมื่อครั้งพระสงฆ์มาประชุมกันเป็นจำนวนมารกว่า “ภิกษุเหล่านี้ ดูช่างงดงามราวกับผ้ากัมพล (ผ้าสักหลาดหรือผ้าขนสัตว์) ที่มีสีเพียงดีงสีใบไม้แห้ง (ปัณฑปลาโส ใบไม้แห้ง)”
ไตรครองผืนนี้มีให้พระสงฆ์ท่านอย่างครบพร้อมสำหรับทั้งฤดูหนาวฤดูร้อน และชุดนี้ยังรวมทั้งไตรครอง ไตรอาศัยเข้าไว้ด้วยกัน และยังมีทุกผ้าตามพระวินัยระบุแม้ราคาจะสูงแต่ถ้าได้ถวายท่านแล้วย่อมเกิดประโยชน์ในการใช้งานสูงสุดอย่างแน่นอน
ข้อดี เหมาะกับถวายทั่วไปและเมื่อเพิ่งบวช เนื้อผ้าดี ถูกพระวินัย ข้อเสีย ความยาวอาจยังไม่เหมาะกับทุกส่วนสูง
ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าจีวร 3 ผืน เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ ผ้าจีวร และผ้าสบง แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร ส่วนในการเลือกซื้อผ้าไตรจีวร จะมีอยู่ 2 จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อบรรพชาอุปสมบท หรือ เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์
ความหมายของ ผ้าไตร ทำไมคนถึงนิยมนำมาถวายพระ
พระสงฆ์ส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่แต่ในวัดปฎิบัติธรรม และทำภารกิจของสงฆ์ ดังนั้นญาติโยมที่นำ ผ้าไตร มาถวาย ก็เพื่อให้พระสงฆ์หมดความกังวลใจว่าจะไม่มีชุดนุ่งห่ม อีกทั้ง ผ้าไตรยังช่วยบำบัดความหนาว หรือป้องกันแมลงได้อีกด้วย ซึ่งมีผลต่อการดูแลสุขภาพของพระอีกด้วยเช่นกัน
เพราะเหตุใดถวาย ผ้าไตรจึงได้อานิสงส์
การนำ ผ้าไตร มาถวายพระในทางพระพุทธศาสนานั้น มองว่าเป็นการช่วยให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย และคลายความอันตรายต่างๆได้ ดังนั้นผู้ให้จึงได้รับบุญกุศลอย่างเต็มที่ เกิดในภพหน้าจะมีหน้าตารูปร่างสวยงาม และมีผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส เป็นผู้อิ่มเอมใจ อันเกิดจากการอิ่มบุญ ขจัดพ้นจากความยากลำบาก และความยากจนแสนเข็ญ
ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวาย ผ้าไตร แด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทุกหมู่เหล่า หากเมื่อใดก็ตามจะต้องพบกับความมีอุปสรรค อุปสรรคนั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี ภัยอันตรายอื่นๆ อย่างสัตว์มีพิษและของมีคมต่างๆ ก็ทำร้ายไม่ได้
อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นในชาติหน้า จะเกิดมาเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมด้วยหน้าตาที่งดงาม และสติปัญญาที่น่านับถืออย่างยิ่ง
ผู้ถวายผ้าไตรจีวร แด่พระสงฆ์ด้วยจิตบริจาคที่บริสุทธิ์ อานิสงส์จึงบังเกิดเป็นผลบุญมหาศาล ดังนี้
- สามารถตัดบาปออกจากจิตใจ กำจัดกิเลส คือ ความโลภ ความตระหนี่ถี่เหนียว ให้บรรเทาเบาบาง
- ยืน เดิน นั่ง เป็นสุขใจ เบิกบาน เกิดความภาคภูมิใจในบุญกุศลบังเกิดความอิ่มบุญ สุขใจ
- พ้นจากความยากจน ความลำบาก ขัดสนในทุกภพทุกชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัยทั้ง 4
- เกิดชาติใดภพใด จะเป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส
การถวายสังฆทานเป็นการทำบุญที่คนไทยเชื่อกันว่าเป็นการทำทานที่ได้บุญมาก เพราะสังฆทานเป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด ผู้ที่ประสงค์จะทำทานจะเตรียมสิ่งของที่จะถวายทาน เมื่อพร้อมแล้วนำไปยังวัด บอกท่านเจ้าอาวาสว่า ต้องการถวายสังฆทาน ท่านจะนิมนต์พระสงฆ์รูปใดมารับสังฆทาน ก็ได้ หรือจะเตรียมของแล้วนำของไปยังวัด ไปพบพระสงฆ์รูปใดก็แจ้งความจำนงขอถวายสังฆทาน ท่านก็จะทำพิธีรับสังฆทาน หากกำหนดว่าจะถวายแก่พระรูปใดรูปหนึ่ง การทานนั้นก็ไม่เป็น สังฆทาน
ชุดสังฆทาน สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านสังฆภัณฑ์ทั่วไป แต่ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ได้หันมาสนใจเลือกซื้อสังฆทานออนไลน์ มากขึ้น เนื่องจากสามารถหาซื้อได้ง่าย และในปัจจุบันก็มีการจัดรูปแบบใหม่ๆที่ไม่ใช่สังฆทานถังสีเหลืองเหมือนเมื่อก่อน มีความสะดวกมากขึ้นในการเลือกซื้อ เพราะเพียงแค่เราทำการเลือกชุดสังฆทาน แบบที่เราต้องการนำไปถวาย เพียงไม่นานสังฆทานออนไลน์ที่เราเลือกนั้นก็จะมาส่งให้เราถึงที่ ไม่ต้องเสียเวลาออกไปเลือกซื้อให้ลำบาก และยังได้ชุดสังฆทานที่ทันสมัย น่าใช้อีกด้วย
ในการเลือกซื้อสังฆทานนั้นหากเราสำรวจภายในวัดปัจจุบันนี้ เราจะพบว่าสังฆทานหลากหลายชุดที่ถูกนำมาถวายที่วัดแต่ไม่มีพระรูปไหนใช้เลย และสังฆทานเหล่านั้นก็ถูกทิ้งไว้ให้ฝุ่นจับแล้วดูเก่าเป็นอย่างมาก และเมื่อถึงเวลาที่นำไปใช้จริงแล้ว กลับพบว่าของในสังฆทานอาจจะหมดอายุหรือไม่ได้คุณภาพเสียแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ควรคำนึงในการเลือกสังฆทานก็คือ การคำนึงถึงความจำเป็นถึงของภายในสังฆทานว่าหากเราถวายไปแล้วพระท่านจะได้ใช้หรือไม่ …
การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรเพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง ดั่งความตั้งใจของผู้ถวายมีที่จิตศรัทธานั้น ควรต้องทำความเข้าใจในการเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม เพราะผ้าไตรผู้ซื้อไม่ได้ใช้ จึงไม่เข้าใจว่าจะเลือกอย่างไรพระท่านจึงนำไปใช้ได้จริง คงทน เหมะสมและตัดเย็บถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผ้าไตรจีวรที่ซื้อมาถวายส่วนมากจึงไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เนื้อผ้าหนาเกินไปหรือไม่ระบายอากาศ ลองคิดถึงสภาพอากาศบ้านเรานะคะ และคิดถึงผ้าหลายชั้นที่พระท่านครอง ผ้าหนาและไม่ระบายอากาศจึงไม่เหมะสมที่จะใช้งาน นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึง ขนาด สี และความเหมาะสมกับวัดที่นำไปถวาย เช่น มหานิกายใช้สีเหลืองส้ม ต่างจากธรรมยุตที่ใชสีกรักและเป็นผ้า 9 ขันธ์ เป็นต้น
5 สิ่งที่ต้องพิจารณา ผ้าไตรแบบไหน ที่พระภิกษุสงฆ์นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนี้
1 สี ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ
- พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน สีพระราชทาน
- พระสงฆ์มหานิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม สีพระราชทาน
การเลือกสีควรพิจารณาว่า นำไปถวายวัดไหน ใช้สีอะไร หรือ ถ้าไม่รู้ก็ควรเลือกสีพระราชทาน

2 วัตถุประสงฆ์ในการถวายผ้าไตร ผ้าไตรแบ่งได้ 2 แบบหลักตามความต้องการใช้งาน
แบบที่ 1ผ้าไตรชุดใหญ่ ใช้สำหรับการบวชพระ ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย ใช้ในการบวชพระ
- ฝ่ายธรรมยุตหรือเราเรียกว่าวัดป่านั้นต้องเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 9 ขันธ์ ที่มีสังฆาฏิ 2 ชั้น ประกอบด้วย7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 2 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน
- ฝ่ายมหานิกาย จะเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 5 ขันธ์ ประกอบด้วย7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 1 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน
แบบที่ 2 ไตรอาศัย ใช้สำหรับการเพื่อผลัดเปลี่ยนในชีวิตประจำวัน ประกอยด้วย ผ้า 3 ชนิดหลัก คือ จีวร สบง อังสะ และเช่นเดิมต้องพิจารณาว่าเป็นนิกายหรือฝ่ายไหน ธรรมยุต ต้องเป็น 9 ขันธ์ สีกรักแก่นขนุน ส่วนมหานิกาย 5 ขันธ์ สีเหลืองส้ม เป็นต้น
3 ชนิดผ้า
โทเร ราคาถูกที่สุด เนื้อผ้าเหมือนเสื้อนักเรียนค่ะ ผ้านุ่มปานกลาง ระบายอากาศได้พอสมควร เหมาะกับพระที่ต้องการบวชระยะสั้น และผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย
มิสลิน หรือมัสลิน เนื้อผ้านุ่ม ระบายอากาศดี ใส่สบาย เป็นที่นิยมเนื่องจากเหมาะสมกับสภาพอากาศ ราคาปานกลาง
ซันฟอไรซ์ เนื้อผ้านุ่ม ระบายอากาศดี เนื้อผ้าหนากว่ามิสลิน มีความคงทน ราคาปานกลาง
ฝ้าย เนื้อผ้าหนานุ่ม เหมาะกับอากาศเย็น เช่นทางภาคเหนือ ราคาค่อนข้างสูง
ไหม เนื้อผ้านุ่มลื่นเป็นเงา ใช้ถวายพระภิกษุผู้ใหญ่ที่มีสมณศักดิ์ ราคาสูง
4 ขนาด
จีวรนั้นก็เหมือนกับเสื้อผ้าทั่วไป หากเราจะซื้อไปถวายควรจะเลือกซื้อขนาดที่เหมาะสมแก่ผู้สวมใส่ เราควรคำนึงถึงพระภิกษุสงฆ์ที่เราจะเลือกซื้อผ้าไตรจีวรไปถวาย โดยคำนึงถึงความสูง ท้วมหรือสมส่วน ในการเลือกซื้อ
- พระภิกษุที่สูงไม่เกิน 160 ซม. ควรใช้ขนาด ความสูง 190 ซม. กว้าง 315 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้ขนาด ความสูง 200 ซม. กว้าง 315 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้ขนาด ความสูง 210 ซม. กว้าง 315 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้ขนาด ความสูง 220 ซม. กว้าง 315 ซม.
ถ้าต้องการเลือกซื้อมาถวายโดยไม่เจาะจง แนะนำให้ซื้อ ขนาดผ้า 210 x 315 ซม. เป็นมาตรฐานทั่วไปแก่พระภิกษุสงฆ์
5 การตัดเย็บ
การตัดเย็บผ้าไตรจีวรนอกจากจะต้อถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว คุณภาพการเย็บก็เป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่งที่ต้องกล่าวถึง ผ้าไตรชั้นดี จะเย็บตะเข็บคู่แท้ คือเย็บ 2 รอบด้วยระยะห่างเพียง 2 มิลลิเมตร เพื่อให้ผ้าที่ออกมามีความประณีต ความแข็งแรงคงทน ใช้งานได้นานสมประโยชน์อย่างแท้จริง

การเลือกซื้อผ้าไตร ข้อนี้สำคัญอย่างยิ่ง อย่า พิจารณาที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียว อย่างที่ขายกันทั่วไป ในราคาไตรละ 800 – 1,000 บาท แบบนั้น ทั้งเนื้อผ้า ขนาดผืนผ้า จนถึง ขั้นตอนและฝีมือการตัดเย็บ จะตกมาตรฐานนำไปใช้ประโยชน์มิได้ เพราะของที่ถวายไปพระท่าน อาจจะนำใช้ไม่ได้ เนื่องจากขนาดไม่ได้มาตรฐาน หรือ ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผิดประสงค์ทั้งผู้ให้และผู้รับ ทำให้ความตั้งใจทำบุญ ของท่านไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
โดยผ้าไตรจีวรของ ธาราญา นั้นมีเนื้อผ้าที่มีคุณภาพ นุ่ม เนื้อผ้าหนา ซึ่งทำให้พระภิกษุสงฆ์ที่นุ่งห่มนั้นรู้สึกสะบายเวลานุ่งห่ม ไม่ระคายเคืองผิว และนอกจากนั้นผ้าไตรของธาราญาก็ยังมีการตัดเย็บที่ประณีต และมีน้ำหนักเบา เหมาะแก่ผู้ต้องการถวายผ้าไตรจีวรเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด ซึ่งผ้าไตรทั่วไปที่มีขายตามท้องตลาดนั้น เนื้อผ้าไม่ได้คุณภาพ มีการตัดเย็บที่ไม่ประณีต ไม่สามารถใช้งานได้นาน และยังระคายเคืองผิวอีกด้วย
กรรม แปลว่า สิ่งที่คนกระทำ คำว่า ทำ หมายถึง ทั้งทำด้วยกาย อันเรียกว่า กายกรรม ทั้งทำด้วยวาจา อันเรียกว่า วจีกรรม ทั้ง ทำด้วยใจหรือความคิด อันเรียกว่า มโนกรรม นั่นคือความหมายของกรรม กรรม คือ กิจที่ที่บุคคลจงใจทำหรือทำด้วยเจตนา ถ้าทำด้วยไม่มีเจตนาไม่เรียกว่า กรรม อย่างเช่นไม่มีเจตนาเหยียบมดตาย ไม่เป็นกรรม คือ ปาณาติบาต ต่อเมื่อเจตนาจะเหยียบให้ตายจึงเป็นกรรม คือ ปาณาติบาต แต่เมื่อจัดอย่างละเอียด สิ่งที่ทำด้วยไม่มีเจตนาก็จัดเป็นกรรมชนิดหนึ่ง เรียกว่า กรรมสักว่าทำ เพราะอาจให้โทษได้เหมือนกัน เหมือนอย่างที่กฎหมายถือว่าผิดในฐานประมาท
กรรมเกี่ยวกับคนเรา หรือ คนเรานั่นแหละเกี่ยวกับกรรมอยู่ตลอดเวลา เพราะคนเรานั้นตั้งแต่ตื่นนอนขึ้น จนถึงหลับไปใหม่ ก็มีเจตนาทำอะไรต่างๆ พูดอะไรต่างๆ คิดอะไรต่างๆ อยู่เสมอ โดยปกติไม่มีใครหยุดนิ่งอยู่เฉยๆ ได้ ถึงมือไม่ทำ ปากก็พูด ถึงปากไม่พูด ใจก็คิดถึงเรื่องต่างๆ การต่างๆ ที่ทำ เรียกว่า กายกรรม คำต่างๆ ที่พูดนี่แหละ เรียกว่า วจีกรรม เรื่องต่างๆ ที่คิด เรียกว่า มโนกรรม กรรม นั้น ดี หรือ ไม่ดี กรรมจะดีหรือไม่ดี ก็สุดแต่ผลที่เกิดขึ้นจากกรรมนั้น ๆ ถ้าให้เกิดผลเป็นคุณเกื้อกูลแก่ตนเองและผู้อื่น ก็เป็นกรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม แปลว่า กรรมที่เป็นกิจของคนฉลาด หรือ บุญกรรม กรรมที่เป็นบุญ คือความดีเป็นเครื่องชำระล้างความชั่ว เช่น รักษาศีล ประพฤติธรรมที่คู่กับศีล หรือแม้กิจการที่ดีที่ชอบ ที่เป็นตามที่แสดงมาแล้วที่เป็นสุจริตต่างๆ เช่น การตั้งใจช่วยมารดาบิดาทำการงาน การตั้งใจเรียน การตั้งใจประพฤติตนให้ดี การช่วยเหลือเกื้อกูลมิตรสหาย การทำสาธารณสงเคราะห์ต่างๆ
ส่วนกรรมที่ให้เกิดผลเป็นโทษเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อนเป็นกรรมชั่ว ไม่ดี เรียก อกุศลกรรม แปลว่ากรรมที่เป็นกิจของคนไม่ฉลาด บาปกรรม กรรมเป็นบาป เช่น การประพฤติผิดในศีลธรรม ประพฤติทุจริตต่างๆ ที่ตรงกันข้ามกับกุศลกรรม ตัวอย่างของกรรมดีและกรรมไม่ดี ข้างต้นนั้น
กรรม แบ่งได้หลายประเภท ในที่นี้จะแบ่งประเภทตามลำดับการให้ผลของกรรมก่อน ซึ่งมีทั้งหมด 4 ประเภท คือ
1. ครุกรรม คือกรรมหนัก ใครทำครุกรรม ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีก็ปิดอบายไปเลย ละโลกแล้วไปสู่สุคติภูมิแน่นอน คือ ไปสวรรค์ ไปเป็นพรหม อรูปพรหม เคยทำบาปเท่าไรก็ตาม ปิดประตูเลย ตัวอย่างของครุกรรมฝ่ายดี คือการได้ฌานสมาบัติ นั่งสมาธิจนได้ดวงสว่างใส ๆ ได้ปฐมฌานเป็นต้นไป ใครเคยทำกรรมไม่ดีอะไรมาก็ตาม ถ้านั่งสมาธิจนได้ปฐมฌาน เกิดดวงใส ๆ นิ่งที่กลางท้องปิดอบายเลยชาตินี้
ส่วนครุกรรมฝ่ายบาป ได้แก่ อนันตริยกรรม 5 คือ 1.ฆ่าพ่อ 2.ฆ่าแม่ 3.ฆ่าพระอรหันต์ 4.ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต 5.ทำสงฆ์ให้แตกกัน (สังฆเภท) ใน 5 ข้อนี้ ใครทำลงไปต่อให้เคยทำความดีเท่าไรหรือภายหลังไปทำบุญอีกเท่าไรก็ตาม ตกนรก 100 เปอร์เซ็นต์ ปิดสวรรค์ปิดนิพพาน ชาตินั้นไม่มีทางขึ้นสวรรค์และหมดสิทธิ์เข้าพระนิพพาน
ที่หนักที่สุด คือ สังฆเภท ทำให้สงฆ์แตกกัน ใครไปยุให้พระทะเลาะกัน รู้เถอะว่ากรรมหนักที่สุด ยิ่งกว่าฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ หรือทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อเลือดเสียอีก การทำให้สงฆ์แตกกันเป็นกรรมหนักมาก และสร้างความเสียหายใหญ่หลวง ถ้าหากไปทำผิดเข้าแล้ว บุญไม่ได้ช่วยอะไรเลยหรือ ช่วยเหมือนกัน แต่ช่วยแค่ให้พ้นจากนรกขุมลึกมาอยู่ขุมตื้น อย่างไรก็ต้องตกนรก
2. อาสันนกรรม กรรมก่อนตาย ก่อนตายคิดถึงอะไร สิ่งนั้นจะให้ผลก่อน คนเราทำทั้งบุญทั้งบาปมามากมาย ถ้าก่อนตายใจนึกถึงบุญกุศล ใจสว่างผ่องใส จะทำให้ไปสวรรค์ แต่ถ้าก่อนตายนึกถึงเรื่องที่ไม่ดี เป็นอกุศล เศร้าหมอง ก็จะต้องไปอบาย โบราณจึงบอกคนใกล้ตายว่าให้นึกถึงพระเพราะรู้หลักนี้ดี รู้ว่านึกถึงพระรัตนตรัย ใจจะได้สว่าง แล้วจะได้ไปดี แล้วบาปที่ทำหายไปไหนหรือเปล่า ไม่หาย แต่จะให้ผลทีหลัง
ตัวอย่างเช่น พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อพระติสสเถระ โยมพี่สาวของท่านเอาจีวรเนื้อดีมาถวาย ท่านชอบมาก ตั้งใจจะใช้วันรุ่งขึ้น แต่คืนนั้นท่านมรณภาพไปก่อน ด้วยความที่ใจเกาะอยู่กับจีวร ผลคือตายแล้วไปเกิดเป็นเล็นเกาะอยู่ที่จีวร ทั้ง ๆ ที่สร้างบุญไว้มาก
พอท่านมรณภาพแล้ว ข้าวของที่มีอยู่คณะสงฆ์จะนำมาแบ่งกัน เช่น จีวรก็ตัดแบ่งกัน ขณะที่พระท่านเตรียมจะแบ่งจีวรกันนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าให้ชะลอไว้ก่อน พอถึงวันที่ 8 ทรงรับสั่งให้แบ่งกันได้ เพราะขณะที่พระภิกษุคุยกันว่าจะแบ่งจีวรนั้น พระติสสเถระที่เกิดเป็นเล็นก็วิ่งวุ่นอยู่บนจีวร เพราะความหวง หากมีการแบ่งจีวรในตอนนั้น เล็นจะผูกโกรธพระภิกษุทั้งหลาย และจะทำให้ไปเกิดในมหานรก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงรับสั่งให้รอ 7 วัน พอวันที่ 7 เล็นก็ตาย แล้วไปเกิดที่สวรรค์ชั้นดุสิต เพราะมีบุญเก่ามาก แต่ที่ไปเกิดเป็นเล็น เพราะใจเกาะอยู่ที่ผ้าจะเห็นได้ว่า อาสันนกรรมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เราจึงไม่ควรยึดติดอะไรมากเกินไปเอาแค่พอประมาณ แล้วให้ใจเราเกาะกับเรื่องที่ใส ๆ อยู่เสมอ
3. อาจิณณกรรม บางคนรู้หลักว่า ทำใจใส ๆ นึกถึงพระ นึกถึง “สัมมา อะระหัง” แล้วจะไปดี เลยคิดว่าต่อจากนี้ไปทำอะไรตามใจชอบได้เลย ใกล้ตายเมื่อไรค่อย “สัมมา อะระหัง” ค่อยนึกถึงพระ ไปดีแน่นอน แต่พอถึงเวลาจริง ๆ ตั้งตัวไม่ติด แล้วถ้าทุกขเวทนาบีบคั้นก็จะนึกถึงบุญไม่ออกจะนึกถึงแต่สิ่งที่ทำจนคุ้นเคย เสี่ยงมาก มีโอกาสไปอบายมาก ถ้าจะให้ปลอดภัยแน่นอน ต้องทำดีเป็นอาจิณณกรรม คือทำบ่อย ๆ สม่ำเสมอ พอใกล้ตายเราจะนึกถึงบุญออก
4. กตัตตากรรม คือกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผู้ทำไม่มีเจตนา ให้ผลเป็นลำดับสุดท้าย ถ้าไม่มีกรรมอย่างอื่นมากมาย กรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ก็จะส่งผลที่จริงเรื่องกรรมมีความซับซ้อนมาก ยังมีรายละเอียดมากกว่านี้อีกมากมาย

กรรมนั้นสามารถ แก้กรรมได้ไหม ความจริงก็คือ กรรมที่ทำไปแล้วในอดีต เราเปลี่ยนไม่ได้ แต่สมารถบรรเทากรรมได้ ซึ่งเวลาเราทำบาปก็เหมือนเติมเกลือ ทำบุญเหมือนเติมน้ำ ถ้าน้ำน้อยเกลือมากมันก็เค็มจัด วิบากกรรมก็ส่งผลแรง แต่ถ้าเราเติมบุญ คือเติมน้ำลงไปให้เจือจาง ความเค็มก็น้อยลงทุกอย่างจะทุเลาเบาบาง หนักจะเป็นเบา เบาก็หายไปเลย เพราะฉะนั้นการบรรเทากรรมในอดีตทำได้ด้วยการสร้างบุญ ซึ่งมีหลากหลายวิธี แต่วิธีที่สามาถทำได้ง่าย ก็คือ การถวายสังฆทาน ซึ่งสังฆทานนั้นสามารถหาซื้อได้ง่าย หรือหากสะดวกและมีเวลา ก็ยังสามารถหาซื้อของใช้ต่างๆที่จำเป็นแก่พระภิกษุสงฆ์มาจัดเป็นชุดสังฆทานเองได้ เพราะนอกจากจะได้ของที่มีคุณภาพแล้ว พระภิกษุก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย ซึ่งการถวายสังฆทานก็ช่วยบรรเทากรรมลงได้ไม่มากก็น้อย
ดวง 2564 ใครที่กำลังอยากรู้ว่าดวงชะตาในปีใหม่นี้จะเป็นไปในทิศทางไหนมาเปิดคำทำนายดูดวงปีนักษัตรครบทั้ง 12 ปีกันเลย พร้อมด้วยเคล็ดลับ วิธีเสริมดวงปี 2564 ให้ปัง!! เสริมดวงชะตาให้ชีวิตรุ่งโรจน์ จะเป็นยังไงบ้าง ไปดูกันเลย !!
ปีชวด
ปีนี้เป็นปีที่เหมาะกับการลงทุนของคุณ เพราะข้อมูลข่าวสาร และความรู้ที่คุณได้ศึกษาเพิ่มเติม จะได้โอกาส นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะทำให้การลงทุนของคุณ ได้ผลตอบแทนดีมาก ได้เป้าหมายที่คุณตั้งเป้าไว้อย่างแน่นอน
ส่วนเรื่องต่างๆยังเป็นปีที่ต้องใช้ความพยายาม ความขยัน และตั้งใจเพิ่มขึ้น คือ ต้องทำเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จึงจะสำเร็จได้ง่าย และระวังเรื่องเจ็บป่วย ต้องกินวิตามินเสริม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ส่วนคนที่มีโรคประจำตัว ยังเป็นปีที่ต้องดูแลสุขภาพให้ดี ให้หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยได้
เคล็ดลับการเสริมดวง ชะตาประจำปี2564 ให้ไปใส่บาตรพระสงฆ์ 3 รูป และไปไหว้พระพิฆเนศ โดยทำภายในวันเดียวกัน เพื่อเปิดดวง แล้วความสำเร็จจะเข้ามาได้ง่ายขึ้น
ปีฉลู
ปีนี้ให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะทำเรื่องสำคัญในชีวิต จะเป็นปีที่ท้าทายสำหรับการลงทุนของคุณ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เปลี่ยนการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน แล้วการลงทุนของคุณ ก็จะประสบความสำเร็จในปีนี้ได้ง่ายขึ้น
ปีนี้ยังคงมีความอึดอัด กดดันในหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องเกี่ยวกับที่บ้าน เกี่ยวกับเจ้านาย ห้ามใช้อารมณ์รุนแรง และใช้สื่อทางโซเชียลโจมตี จะทำให้เกิดเรื่องที่ไม่ดี ตั้งแต่ต้นปี 2564 นี้ ท่านที่เกิดนักษัตรปีฉลู แนะนำให้จัดของในบ้านใหม่เพื่อปรับพลังงาน โดยเคลียร์ของรกๆที่ไม่ได้ใช้ออก แล้วเปิดหน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทสักครึ่งชั่วโมง จะทำให้ฮวงจุ้ยของบ้านคุณดีขึ้น เรื่องดีๆก็จะเข้ามาได้ง่ายขึ้น
เคล็ดลับการเสริมดวง ชะตาประจำปี2564 ให้ไหว้พระประธานในอุโบสถ 3 วัด ภายในวันเดียวกัน จะทำให้ดวงของคุณเฮงแน่นอน
ปีขาล
ปีนี้มีเกณฑ์การเงินที่ดี การลงทุนต้องเน้น ใช้การวิเคราะห์ทางพื้นฐานให้มากขึ้นกว่าเดิม จะช่วยการลงทุนของคุณได้มากขึ้น ส่วนการงานมีโอกาสได้รับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งที่ดี ไม่ต้องไปวิ่งตามใคร แค่เป็นตัวของตัวเอง ทำให้เต็มที่ แล้วจะดีเอง
ดวงปีนี้คุณจะปังมาก คุณจะมีเสน่ห์มากเป็นพิเศษ ใครเห็นก็จะรัก ชอบเอ็นดู และที่สำคัญ คุณต้องยิ้มแย้มให้มากเข้าไว้ ดวงคุณก็จะยิ่งเปิด ยิ่งเฮง อีกทั้งปีนี้จะมีข่าวดี มีเกณฑ์ที่จะได้แต่งงาน มีลูกมีหลานด้วย ส่วนเรื่องปัญหาเอกสาร กฎหมาย คดีความ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณจะต้องระวังในปีนี้
เคล็ดลับการเสริมดวง ชะตาประจำปี2564 ให้ไปไหว้เจ้าพ่อเสือ โดยซื้อหมูสามชั้นชิ้นใหญ่ๆไปไหว้ด้วย จะดีมาก ดวงคุณจะเปิดและได้รับความคุ้มครอง
ปีเถาะ
ปีนี้จะเป็นปีที่คุณต้องเริ่มต้นอะไรใหม่ๆในทุกเรื่องการลงทุน คุณต้องใช้กลยุทธ์การลงทุนใหม่ๆ ในการจัดพอร์ตการลงทุน การวางแผนกระจายเงินไปลงทุนออกไป เหมือนกับการใส่ไข่ ไว้ในตะกร้าหลายๆใบ พอตะกร้าใบนึงตกแตก คุณก็ยังมีรายได้จากการลงทุนอีกหลายๆทาง อีกทั้งยังเป็นปีที่ต้องเริ่มทำอะไรเพิ่ม ไม่ว่าจะเรื่องงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบ ธุรกิจ ไอเดีย ความคิดของคุณ รวมถึงการพัฒนา เรียนรู้ ศึกษาสิ่งต่างๆให้มากขึ้น จะทำให้คุณก้าวข้ามผ่านอุปสรรคเดิมๆไปได้
เรื่องดีๆ ปีนี้ผู้ใหญ่ หัวหน้า จะค่อยช่วยเหลือ สนับสนุนคุณในทุกๆเรื่อง สามารถลุยได้เลย และมีโอกาสได้ทำธุรกิจใหม่ หรืองานใหม่ในปีนี้ โดยสิ่งที่สำคัญห้ามใช้ทางลัดคุณจะต้องทำทุกอย่างแบบตรงไปตรงมา จึงจะดี
เคล็ดลับการเสริมดวง ชะตาประจำปี2564 การถวายหลอดไฟเข้าวัด หรือการทำบุญเกี่ยวกับไฟฟ้า และให้ไปทำบุญโรงทาน หรือร่วมทำบุญแจกทาน จะทำให้มีเรื่องราวดีๆเข้ามาบุญกุศลจะหนุนนำดวงของคุณ
ปีมะโรง
ปีนี้ด้านการลงทุนของคุณยังทรงๆ ยังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน จึงทำให้การวางแผนการลงทุนของคุณ ยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ให้เขียนแผนการลงทุนออกมาให้ชัดเจน เพื่อจัดสัดส่วนการลงทุน และออกแบบการลงทุนโดยให้ไปขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ในด้านที่คุณจะลงทุน จะทำให้คุณสำเร็จในการลงทุนได้ง่ายขึ้น ปีนี้ต้องระวังความใจร้อน การพูด เจรจา ต้องคิดให้ดี ก่อนที่จะพูดออกไป จะทำให้คุณไม่ต้องเจอเรื่องที่ยุ่งยาก เพราะคำพูด เมื่อเราพูดออกไปแล้ว คำพูดจะเป็นนายของเรานั่นเอง และต้องระวังปัญหาจากเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง บริวาร
เคล็ดลับการเสริมดวง ชะตาประจำปี2564 ให้นำส้ม 9 ผล น้ำชา 1 ขวด ไปไหว้ เทพเจ้ามังกรเขียว วัดทิพย์วารี หรือศาลเจ้ามังกรทั่วประเทศ เพื่อขอความราบรื่นและความคุ้มครองตลอดทั้งปี ให้ทำภายในวันเดียวให้เสร็จ
ปีมะเส็ง
ปีนี้มีโอกาสได้เงินก้อนๆเข้ามา เป็นปีที่คุณต้องลงมือทำทุกอย่างด้วยตัวเอง การลงทุนต้องวิเคราะห์ให้ดีก่อนลงทุน ไม่ใช่ลงทุนตามที่คุณชอบอย่างเดียว ควรศึกษาข้อมูลให้ชัดเจน แล้วการลงทุนของคุณจะง่ายขึ้นเยอะ ปีมีเกณฑ์การเดินทางไปทำงานที่ไกลๆหรือต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจออนไลน์ โดยจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ให้กับคุณได้ ซึ่งจะดีมาก และให้ศึกษา เรียนรู้เพิ่ม จะทำให้คุณโตแบบก้าวกระโดดได้เลย แต่ระวังมีเรื่องวุ่นๆเข้ามา ซึ่งจะทำให้คุณต้องใช้ความคิดอย่างมากในการแก้ปัญหา ต้องมีสติรับมือให้มาก
เคล็ดลับการเสริมดวง ชะตาประจำปี2564 ให้ไปไหว้เจ้าพ่อกวนอู จะทำให้ตำแหน่ง หน้าที่การงาน และเรื่องราวต่างในชีวิตคุณ มีควมก้าวหน้ามากขึ้น
ปีมะเมีย
ปีนี้ให้มองโลกในแง่ดี แบบทุ่งลาเวนเดอร์ อาจมีปัญหา อุปสรรค การได้รับงานหนักๆเข้ามา การถูกนินทา ว่ากล่าว ให้มองบวกเข้าไว้ เป็นบททดสอบ ความอดทนสำหรับตัวคุณ และการคิดบวก จะทำให้คุณผ่านเรื่องราวหนักๆ เหล่านี้ไปได้
ปีนี้การลงทุนของคุณมีโอกาสที่ดี มีความสำเร็จในการลงทุนสูง จะสร้างผลตอบแทนมาให้กับคุณได้เยอะ ต้องจริงจังกับการลงทุนให้ดี และเป็นปีที่ดวงของคุณจะมีเสน่ห์มาก ดึงดูดความรักเข้ามามากเป็นพิเศษ แต่ต้องระวังความเจ้าชู้ จะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความรักได้เช่นกัน อีกทั้งมีเกณฑ์ผ่าตัด
เคล็ดลับการเสริมดวง ชะตาประจำปี2564 ให้ไปไหว้เจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า ทำบุญเข้าโรงพยาบาล และให้ไปไหว้เจ้าพ่อม้า ศาลเจ้ากวนอู จะทำให้ดวงชะตาของคุณดีขึ้น
ปีมะแม
ปีนี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง ระมัดระวังการใช้ชีวิต ต้องมีสติให้มาก ในทุกๆเรื่อง ทั้งการงาน การลงทุน การเงิน คุณต้องเซฟที่สุด อะไรที่เสี่ยง ควรดูให้ดี ก่อนตัดสินใจ การลงทุนของคุณ ให้เน้นการลงทุนที่มีปันผลเข้ามาช่วย ให้เงินทำงานแทนคุณ แล้วอย่าลืม ต้องอัพเดทงบการเงินของบริษัท ที่คุณไปลงทุนอยู่เป็นประจำ จะทำให้มีเรื่องดีๆเข้ามาได้เช่นกัน ปีนี้ต้องระมัดระวังการเดินทาง อุบัติเหตุ และสุขภาพเจ็บป่วย
เคล็ดลับการเสริมดวง ชะตาประจำปี2564 เน้นการไปร่วมทำบุญใหญ่ๆ เช่น การสร้างพระ สร้างอุโบสถ รวมทั้งการสวดมนต์ นั่งสมาธิเป็นประจำ และในวันเกิดของคุณ ให้ไปไหว้เทพเจ้าไท่ส่วยเอี๊ย จะช่วยเสริมดวงให้กับคุณได้
ปีวอก
ปีนี้จะเป็นปีที่คุณ โดดเด่นในหน้าที่การงาน การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ให้ทำทุกสิ่งให้เต็มที่ ใช้ความพยายามให้มาก จะทำให้มีความสำเร็จที่ดีเข้ามาอย่างแน่นอน โดยใช้การเจรจา พูดคุย และความเป็นตัวเรานั่นเอง จะทำให้คนรอบข้างประทับใจ ส่วนคนที่เป็นเซลล์ ยอดขายในปีนี้จะดีเป็นพิเศษ ลุยได้เลย ส่วนการลงทุนของคุณ ให้เน้นการลงทุนระยะกลางและระยะยาวจะดีกว่า การลงทุนระยะสั้น แต่สิ่งที่ต้องระวังในปีนี้ คือ การใช้เงินฟุ่มเฟือย และการพนัน ห้ามเด็ดขาด
เคล็ดลับการเสริมดวง ดวงชะตาประจำปี2564 ให้ไปไหว้ ศาลเจ้าพ่อเฮ่งเจีย นำลูกพีช 5 ผลไปไหว้ จะช่วยเปิดดวงความเฮงให้กับคุณได้
ปีระกา
เน้นการลงทุนระยะสั้น จะดีในปีนี้ ต้องใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคมาช่วย ในการดูกราฟแท่งเทียน วิเคราะห์การลงทุน เพื่อกำหนดทิศทางการลงทุนของคุณ จะทำให้มีความสำเร็จมากขึ้น ปีนี้ ยังเป็นปีที่คุณจะต้องลุย แข่งขัน และใช้ความรู้ ความสามารถ โชว์ศักยภาพของคุณออกมาให้เต็มที่ เพื่อความสำเร็จของคุณที่จะง่ายขึ้น อีกทั้งยังมีเกณฑ์ได้แสดงความคิดเห็นในที่ประชุม หรือโอกาสต่างๆในที่สาธารณะได้ดี จะทำให้ตัวคุณ มีความโดดเด่น และโอกาสที่ดี จะเข้ามาต่อยอดให้กับคุณได้อีกด้วย ระมัดระวังในเรื่องของอุบัติเหตุเล็กน้อย และเจ็บป่วย เช่น ปวดหัว ไมเกรน ปวดท้อง ปวดเมื่อย
เคล็ดลับการเสริมดวง ชะตาประจำปี2564 ปีนี้ให้ไปไหว้เจ้าแม่ทับทิม โดยนำแอปเปิ้ล 5 ผลไปไหว้ และทำบุญทำทานเกี่ยวกับบ้านพักคนชรา จะทำให้ดวงชะตาของคุณดีขึ้น
ปีจอ
ดวงปีนี้มีโชคจากการลงทุน สามารถลงทุนได้ทุกประเภท ลองหาโอกาส เรียนรู้ ศึกษาและจังหวะการลงทุนของคุณดู ส่วนเรื่องการเงิน จะมีโชคดีๆเข้ามา ดวงเปิดรับทรัพย์ ตั้งใจทำสิ่งใดก็จะสำเร็จตามที่เราตั้งเป้าหมายไว้ แต่ยังคงต้องทำงานหนัก
ส่วนปีนี้จะมีความวุ่นวาย เพราะเรื่องคนอื่น ฉะนั้นอย่าเอาเรื่องของคนอื่น มาทำให้ชีวิตเราไม่เป็นสุข ดูแลสุขภาพตัวเราเองให้ดี ไม่สบายก็ต้องไปหาหมอ และคนที่มีโรคประจำตัว ต้องหมั่นตรวจเช็คสุขภาพประจำปี
เคล็ดลับการเสริมดวง ชะตาประจำปี2564 ให้ไปไหว้ศาลเจ้านาจา โดยนำสาลี่สีทอง 5 ผล ไปไหว้ และการทำบุญสถานสงเคราะห์เด็ก จะช่วยเสริมดวงให้กับคุณได้
ปีกุน
เป็นปีที่ดีของการใช้ระบบมาช่วย การคิดนวัตกรรม แพลตฟอร์มใหม่ๆ มาใช้ในการลงทุนได้ดี จะทำให้การลงทุนของคุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น รวมทั้งการออมหุ้น ออมกองทุน ออมทอง จะดีเป็นพิเศษ อีกทั้งดวงปีนี้
มีโอกาสได้โชคโดยไม่คาดฝัน จะเป็นปีที่ดีของคุณ จะดูหรูหราขึ้นกว่าเดิม ส่วนในเรื่องการทำงาน คุณต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง เพราะจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ และให้ระวังบาดแผลจากของมีคม
เคล็ดลับการเสริมดวง ชะตาประจำปี2564 ให้ไปไหว้พระแม่อุมาเทวี วัดแขก และการไปทำบุญโรงพยาบาลสงฆ์ จะทำให้ดวงของคุณเฮงแน่นอน
การถวาย สังฆทาน นั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่นการถวายกุฏิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือ แม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์
การถวายสังฆทาน หมายถึงการ ถวายสิ่งของจตุปัจจัยวัตถุแก่หมู่พระสงฆ์ โดยไม่เลือกระบุถวายเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง กล่าวคือ ถวายเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการ
หรือเพียงแค่ถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (โดยไม่เลือกว่าจำเพาะถวายรูปนั้นรูปนี้ เช่น เป็นพระผู้ทรงพรรษา พระรูปที่เรารู้จัก หรือพระรูปที่ตนศรัทธา) ที่เป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ หรือถวายโดยมีเจตนาเพื่อบำรุงพระสงฆ์สามเณรโดยไม่เลือกผู้รับ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน
เมื่อพิจารณาจากมูลอันจะเป็นสังฆทานดังกล่าว การที่จะเป็นสังฆทานหรือไม่นั้น มีหลักสำคัญอยู่ที่การถวายสิ่งของเพื่อบำรุงสังฆบริษัท หรือตัวแทนแห่งสังฆบริษัท เพื่อประโยชน์ในด้านการไม่เลือกปฏิบัติและความเท่าเทียมด้านปัจจัยสี่ของพระสงฆ์นั่นเอง

วันนี้ธาราญาจะมาแนะนำการทำบุญถวายสังฆทาน หรือ สังฆทานออนไลน์ ในแต่ละวันเพื่อความเป็นสิริมงคลในปี 2564 นี้
คนเกิดวันจันทร์
ควรถวายสังฆทาน เป็นกาน้ำ กระติกน้ำ แทงค์น้ำ เครื่องเขียน ซองจดหมาย เครื่องเสียงจะส่งเสริมให้คนวันจันทร์ผ่านวิบากกรรม อุปวรรคปัญหา พบเจอแต่กัลยาณมิตรที่ดี ให้การช่วยเหลือคนวันจันทร์ได้ โดยไม่ต้องไปรับภาระแทนคนอื่น ที่จะทำให้มีความทุกข์ใจ แคล้วคลาดจากคนที่มาเอาเปรียบเบียดเบียนได้ เจรจากับใครมีคนยอมรับนับถือ มีความก้าวหน้าในชีวิต คนวันจันทร์ต้องพยายามทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส และอย่าวิตกกังวลเกินไป
คนเกิดวันอังคาร
ควรถวายสังฆทาน เป็นผ้าไตร สบง จีวร วัดปะคด น้ำดื่ม จะช่วยส่งเสริมคนวันอังคารให้ผ่านพ้นวิบากกรรมเรื่องของความรักให้มีความรักที่ราบรื่น มีครอบครัวที่อบอุ่น และการเงินให้คล่องตัว ไม่ติดขัด มีสติ ใจเย็นลงให้มากขึ้น ลดการชิงดีชิงเด่น จะทำให้ชีวิตมีความสุขได้
คนเกิดวันพุธ
ควรถวายสังฆทาน เป็นหนังสือธรรมะ หนังสือสวดมนต์พิธี อุปกรณ์การศึกษา หลอดไฟ ถวายพัดลม เทปธรรมะ ยาแก้โรคลม ยาหอม ยาหม่อง จะทำให้คนวันพุธมีสติ ปัญญาเกิด มีความคิดสร้างสรรค์ ผ่านพ้นวิบากกรรมที่หลงเชื่ออะไรได้ง่ายๆ ความลุ่มหลงมัวเมาในอบายมุข หรือพ้นจากการกระทำที่ผิดศีลธรรม คนวันพุธควรมีสติ อย่าคิดมากคนถึงฟุ้งซ่าน ทำอะไรให้คิดให้รอบคอบที่สุด
คนเกิดวันพฤหัสบดี
ควรถวายสังฆทาน เป็นหนังสือธรรมะ แผ่นพับสวดมนต์ ตู้พระไตรปิฎก ทำบุญร้วมเป็นเจ้าภาพบวชพระ บวชเณร และควรจะนั่งสมาธิ ถือศีล ทานมังสวิรัติในวันเกิด จะช่วยส่งเสริมในเรื่องของความช่วยเหลือจากเหลือจากผู้คนรอบข้าง ความมั่นคงในหน้าที่การงาน มีความสมหวังจากสิ่งที่ตั้งใจ ให้ผ่านพ้นจากวิบากกรรมที่เชื่อคนอื่นจนเกินไป และเรื่องของการเงินให้มีความมั่นคง
คนเกิดวันศุกร์
ควรถวายสังฆทาน ด้วยสบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน น้ำยาทำความสะอาด ซักล้าง กระโถน ถังขยะ หรือจะล้างห้องน้ำวัด กวาดลานวัด ทำบุญกับมูลนิธิโรคมะเร็ง ก็จะเป็นบุญอย่างยิ่ง ที่จะทำให้คนเกิดวันศุกร์ผ่านพ้นวิบากกรรมเกี่ยวกับความรัก และสุขภาพ การรับภาระรอบข้างที่ค่อนข้างจะทำให้เกิดความทุกข์ โดยเฉพาะกับญาติพี่น้อง เกิดความเครียดที่จะส่งผลถึงสุขภาพได้ การทำบุญจะส่งเสริมทำให้จิตใจผ่องใสมีความสบายใจ คนวันศุกร์ควรมองโลกในแง่ดีเข้าไว้ อย่านำความทุกข์มาไว้ให้มากแล้วชีวิตก็จะมีความสุข ความสำเร็จได้ไม่ยาก
คนเกิดวันเสาร์
ควรถวายสังฆทาน มีดโกน กรรไกร กรรไกรตัดเล็บ เข็มเย็บผ้า เข็มกลัด มีดปอกผลไม้ ยารักษาโรค ทำบุญกับคนพิการ โรคมะเร็ง มูลนิธิตามโรงพยาบาล บริจาคเครื่องมือแพทย์ บริจาคให้กับคนด้อยโอกาส เด็กกำพร้า เพราะบุญกุศลจะช่วยเสริมในเรื่องของสุขภาพ หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่งเสริมเรื่องของความรัก กระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้พ้นจากวิบากกรรมของความรัก ความทุกข์ยากลำบากกายและใจ ทั้งเหตุมาจากตนเองและผู้อื่น คนวันเสาร์ควรมีความขยันเข้าไว้ ยังไงก็ไม่ลำบาก อย่าคิดชิงดีชิงเด่น ทำชีวิตปัจจุบันให้ดีที่สุด แล้วก็จะมีความสุขในชีวิต
คนเกิดวันอาทิตย์
ควรถวายสังฆทาน เป็นธูป เทียน แผ่นทอง หลอดไฟ ตะเกียง น้ำมันพืช จะส่งเสริมให้คนที่เกิดวันอาทิตย์มีความก้าวหน้า ผ่านพ้นจากอุปสรรคปัญหาในเรื่องของการงาน มีผู้ใหญ่และคนรอบข้างให้เกื้อหนุนได้เป็นอย่างดี และอุปสรรคในชีวิตจะผ่านพ้นไปด้วยดี
กฐิน เป็นบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย
มูลเหตุมีการทำบุญกฐินซึ่งมีเรื่องเล่าว่า พระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แต่จวนใกล้กำหนดเข้าพรรษาเสียก่อน จึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้ง ๆ ที่ผ้าสบงจีวรเปื้อนเปรอะ เนื่องจากระยะทางไกลและฝน ผ้าสบงจีวรจึงเปียกน้ำและเปื้อนโคลน จะหาผ้าผลัดเปลี่ยนก็ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของพระภิกษุเช่นกัน จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด
ชนิดของกฐิน ในประเทศไทย
ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของกฐิน การทอดกฐิน ได้เป็น 2 ชนิด คือ
จุลกฐิน
จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า “ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน” ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า “กฐินแล่น” (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)
มหากฐิน
มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้
การทอดกฐินในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงประทับบนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์บุษบก เสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค
กฐินหลวง
กฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น)
กฐินหลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นต้น
กฐินต้น
กฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์
กฐินพระราชทาน
กฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย)
กฐินราษฎร์
ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ “บริวารกฐิน” มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน
กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย
การถวาย กฐิน เป็นกุศลผลบุญที่ใหญ่หลวง ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา หรือถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิก็ดี ปัจเจกภูมิก็ดี สาวกภูมิก็ดี สาวิกาภูมิก็ดี เมื่อมีวาสนาบารมีแก่กล้าแล้วก็จะได้สำเร็จดังมโนปณิธาน หรือความปรารถนาที่ตั้งไว้
ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) เป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 8 อย่าง
ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ก็มีหลักฐานว่า ทรงใช้ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่าจีวร ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อๆกัน ไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้งได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยเนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล
ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรนาของชาวมคธ จึงทรงดำริให้ตัดผ้าจีวร เป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัดแต่งแล้ว ให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ ผ้า 3 ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง ต่อมาทรงอนุญาต ผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่า ภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้
การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตร เพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง ดั่งความตั้งใจของผู้ถวายมีที่จิตศรัทธานั้น ควรต้องทำความเข้าใจในการเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม เพราะผ้าไตรผู้ซื้อไม่ได้ใช้ จึงไม่เข้าใจว่าจะเลือกอย่างไรพระท่านจึงนำไปใช้ได้จริง คงทน เหมะสมและตัดเย็บถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผ้าไตร ที่ซื้อมาถวายส่วนมากจึงไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เนื่อผ้าหนาเกินไปหรือไม่ระบายอากาศ ควรคำนึงถึงสภาพอากาศ และผ้าหลายชั้นที่พระท่านครอง ผ้าหนาและไม่ระบายอากาศจึงไม่เหมะสมที่จะใช้งาน นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึง ขนาด สี และความเหมาะสมกับวัดที่นำไปถวาย เช่น มหานิกายใช้สีเหลืองส้ม ต่างจากธรรมยุตที่ใช้สีกรักและเป็นผ้า 9 ขันธ์ เป็นต้น
สี ผ้าไตร ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ
- พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน สีพระราชทาน
- พระสงฆ์มหานิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม สีพระราชทาน
นอกเหนือจากนี้ สี ผ้าไตร ยังมีอีกหลากหลายสี ทั้งสีกรัก สีแก่นขนุน แก่นบวร สีทอง สีแก่นในวัง(สีพระราชทาน) แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้หลักๆจะเป็นสีทองกับสีแก่นในวัง(สีพระราชทาน) ซึ่งจากการที่ผลิตผ้าไตรจีวรส่งให้ร้านสังฆภัณ์ แหล่งใหญ่ สีผ้าไตรจีวรที่สั่งบ่อยๆ ก็จะมีแค่ 2 สีนี้ นานๆทีจะมีสี กรัก(ยังมีแบ่งเป็นกรักแดงกรักดำอีก) สีแก่นขนุน (สีออกเขียวๆ) แก่นบวร ออเดอร์เข้ามาบ้าง เพราะสีพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นของพระวัดป่าใช้ ทั้งนี้ทั้งนั้นการถวายผ้าไตรจีวร ไตรครอง ไตรอาศัย สบง อังษะ ผ้าอาบ ควรเลือกสีให้ตรงตามวัดที่นำไปถวายด้วย เพื่อที่พระสามารถนำไปใช้ได้เลย และควรเลือกผ้าไตรจีวร ที่มีการตัดเย็บที่ประณีต และสวยงาม ตะเข็บด้ายไม่ห่างเพราะจะทำให้ผ้าไม่ทนตะเข็บหลุดง่าย เนื้อผ้าดีมีมาตรฐาน ได้ขนาด และสีเดียวกันทั้งผืน
การเลือกสีของผ้าไตรจีวรนั้นควรพิจารณาว่า ผ้าไตรที่จะนำไปถวายคือวัดไหน และวัดนั้นใช้สีอะไร หรือ ถ้าไม่รู้ก็สามารถเลือกสีพระราชทานไว้ก่อน เพราะผ้าไตรสีพระราชทานเป็นสีที่นิยมใช้กันทั่วไป และนอกจากสีของผ้าไตรควรคำนึงถึงขนาดของผ้าไตรจีวร ดังนี้
พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 1.9 ม.
พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.0 ม.
พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.1
หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรมาถวายแก่พระภิกษุโดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้ท่านเลือกซื้อผ้าไตรจีวร ขนาดความสูง 2.0 ม.
เมื่อเรารู้จุดประสงค์ สี และขนาด เรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถเลือกซื้อผ้าไตรได้อย่างถูกต้อง
การปฏิบัติธรรม คือ การเอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต ทำการทำงาน ทำหน้าที่ ทำทุกเรื่องทุกอย่างให้ดี ให้ถูกต้อง คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ทำให้เป็นชีวิตที่ดี มีความสุขที่แท้จริง เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่ใช่เฉพาะการปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่วัด อยู่ป่า แล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิ ไม่ใช่แค่นั้นอันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้น เรียกว่า เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง แต่อันที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลา เมื่อทำงานหรือทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง ตั้งใจทำให้ดี ให้เกิดคุณประโยชน์ ให้สำเร็จความมุ่งหมายที่ดีงาม ก็เป็นการปฏิบัติธรรม
วิธีการปฏิบัติธรรม
การปฏิบัติธรรมมี 2 อย่าง คือ ศมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ล้วนแต่ต้องอาศัยสติเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์กรรมฐาน และอาศัยปัญญาคือสัมปชัญญะเป็นเครื่องกำกับการปฏิบัตินั้นไว้เสมอ ไม่เช่นนั้นเราจะปฏิบัติผิดพลาดได้ง่ายๆ
สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน
ไม่ว่าเราจะทำสมถะหรือวิปัสสนา เราก็ต้องมีสัมปชัญญะรู้ชัดว่า เราจะทำกรรมฐานชนิดใด และต้องรู้ด้วยว่าเราจะทำกรรมฐานนั้นๆ เพื่ออะไร ซึ่งสมถะนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อทำจิตที่ไม่สงบให้เกิดความสงบ เพื่อทำจิตที่ไม่มีความสุขสบายให้เกิดความสุขสบาย และเพื่อทำจิตที่เป็นอกุศลให้เปลี่ยนเป็นจิตที่เป็นกุศล ส่วนวิปัสสนานั้นไม่ได้ฝึกเพื่อสิ่งเหล่านี้ แต่ฝึกเพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ หรือฝึกเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจเท่านั้นเอง
กายกับใจหรือขันธ์ 5 คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า ทุกข์ และ ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องรู้ เพราะฉะนั้น หน้าที่ของพวกเราก็คือการรู้กายรู้ใจเนืองๆ หรือที่เรียกว่าการเจริญวิปัสสนานั่นเอง ต้องรู้เนืองๆ จนเกิดปัญญารู้ความจริงของกายของใจ ปัญญาชนิดนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ อันเป็นปัญญาที่เข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเมื่อไรเรามีปัญญาเห็นว่ากายกับใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือไม่ใช่ตัวเราอย่างแท้จริง เมื่อนั้น จิตจะปล่อยวางความยึดถือกายและใจลงได้ แล้วประจักษ์ชัดถึงนิพพานโดยอัตโนมัติ
ข้อดีของการปฏิบัติธรรม
การปฎิบัติธรรมช่วยให้เราเตรียมใจรับมือกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และสิ่งต่างๆ รวมถึงความคิดของตัวเราเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมบังคับบัญชาได้ การเข้าใจในความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ความไม่มีตัวตนของตัวเราและสรรพสิ่งต่างๆ จะช่วยให้สามารถเผชิญอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความพลัดพรากจากคนรัก ของรัก ความสูญเสีย ความผิดหวัง ความเจ็บป่วย ความตายของคนที่รัก หรือแม้แต่ความตายที่ใกล้เข้ามาของตัวเราเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ หรือกล่าวง่ายๆว่า ข้อดีของการปฏิบัติธรรม คือ ช่วยให้เราคลายความเศร้าหมองได้เร็วขึ้น สามารถรับมือและเอาชนะความทุกข์ที่ผ่านเข้ามาได้ดีมากยิ่งขึ้น
การปฏิบัติธรรมที่บ้าน
หลายคนอาจสงสัยว่า เราสามารถอยู่ที่บ้านได้หรือไม่ ซึ่งตามหลักแล้วนั้นวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายของคำว่า ปฏิบัติธรรม การทำสมาธิ หรือการ ไหว้พระ คือการเว้นหมดจากที่ควรเว้น เว้นจากการปฏิบัติหรือการเป็นอยู่ชนิดที่เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นไปเพื่อความทุกข์ เราจะเว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำอยู่ที่วัดเท่านั้น อยู่ที่บ้านก็สามารถปฏิบัติธรรม การทำสมาธิ หรือการ ไหว้พระได้ เพียงประพฤติปฏิบัติ ให้ตรงตามความหมายนั้นเท่านั้น คือว่า เว้นหมดจากสิ่งที่ควรเว้น ในทุกๆระดับ หรือแม้ว่าเราจะอาศัยคำอีกคำหนึ่ง คือคำว่า พรหมจรรย์ แปลว่า การประพฤติประเสริฐ ประพฤติอย่างพรหม ก็ไม่ได้จำกัดว่าที่บ้านหรือที่วัด ถ้าประพฤติได้ก็ประพฤติ อย่างจะถือศีลพรหมจรรย์อยู่ที่บ้าน ศีล 8 ศีล 10 นั้นก็ยังถือได้ คำว่า พรหมจรรย์ นั้นมีความหมายว่า การประพฤติอย่างเต็มที่หรือเคร่งครัด ติดต่อกันเป็นระยะยาว เป็นการปฏิบัติตลอดชีวิต อย่างนี้ก็ยังได้ พูดกันง่ายๆ ว่า ประพฤติพรหมจรรย์ที่บ้านก็ทำได้
ซึ่งการปฏิบัติธรรม หรือการเจริญสติ ให้มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา สามารถทำได้ทุกที่ นั่นก็หมายความว่า จะเริ่มทำที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ แต่จากประสบการณ์ตรง ขอบอกว่า ถ้าต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรเริ่มตั้งแต่ยังเด็กหรืออยู่ในวัยหนุ่มสาว ไม่ควรรอจนแก่ชรา ดังนั้นเมื่อบุคคลใดไม่สามารถอาจจะออกไปปฏิบัติธรรม การทำสมาธิ หรือการ ไหว้พระ ที่วัดได้นั้นก็สามารถปฏิบัติที่บ้านได้ เพียงพยายามประพฤติปฏิบัติในธรรมะ ซึ่งเป็นการปฏิบัติให้ดีที่สุดให้สูงที่สุด ตามที่จะทำได้ ก็จะเป็นการปฏิบัติธรรมอยู่ที่บ้าน เรียกว่า ปฏิบัติธรรมอยู่ที่บ้าน
การ ทำบุญบ้าน เป็นการทำบุญเสริมสิริมงคลให้กับตัวเอง วันนี้ทางธาราญาได้รวบรวมหลักการน่าสนใจในการทำบุญบ้านแบบง่ายๆ การทำบุญเลี้ยงพระ การทำบุญบ้านไม่ได้ยากอย่างที่คิด ข้อมูลนี้สามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่จะจัดงานทำบุญ ทำบุญบ้าน
การดูฤกษ์ทำบุญบ้าน
แม้ว่าฤกษ์ที่ดีที่สุดของการ ทำบุญบ้าน จริงๆแล้วก็คือฤกษ์ที่เจ้าของบ้านสะดวก อาจจะเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ที่เจ้าของบ้านและหมู่ญาติสามารถมารวมตัวกันได้ แต่บางตำราโบราณยังมีความเชื่อว่าไม่ควรทำในวันเสาร์ (เชื่อกันว่าเป็นวันแห่งโทษทุกข์ รวมถึงดาวเสาร์ยังจัดเป็นดาวแห่งบาปเคราะห์) บางบ้านดูปฏิทินจีนประกอบให้เลือกวันที่ตรงกับวันธงไชย (วันดีหรือวันที่มีฤกษ์ดีที่เหมาะสมกับสิ่งที่ดี ช่วยส่งเสริมให้มีความสุข ความสำเร็จ เช่น การขึ้นบ้านใหม่ พิธีแต่งงาน ฤกษ์เข้าหอ ส่งตัว การออกรถใหม่ การเปิดบริษัท โรงงาน เป็นต้น) ที่สำคัญควรนิมนต์พระล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งเดือน
นิมนต์พระกี่รูป
จำนวนพระตามประเพณีนิยมในการทำบุญ ทำบุญบ้าน คือเลขคี่ ซึ่งนิยมตั้งแต่ 5, 7 หรือ 9 รูป โดยหากสถานที่จัดงานทำบุญมีพื้นที่มากพอ แนะนำให้นิมนต์พระจำนวน 9 รูปจะเหมาะสมที่สุด
เตรียมสถานที่อย่างไร
การจัดสถานที่ก่อนวันทำบุญบ้าน ควรทำความสะอาดบ้านให้สะอาด เก็บสิ่งของต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อย กำหนดมุมที่จะจัดวางโต๊ะหมู่บูชา พื้นที่สำหรับสงฆ์ ซึ่งเป็นมุมที่ไม่ควรแขวนหรือประดับภาพใดๆ เหนือศีรษะของพระภิกษุสงฆ์
เตรียมอุปกรณ์สำคัญอะไรบ้าง
อุปกรณ์สำคัญในการ ทำบุญ ทำบุญบ้าน ได้แก่ โต๊ะหมู่บูชา อาสนะพระ ตาลปัตร ขันน้ำมนต์ แป้งเจิม แผ่นทอง สายสิญจน์ เทียนน้ำมนต์ ดอกไม้ ธูปเทียน พานพุ่ม เป็นต้น โดยจัดวางให้เป็นระเบียบถูกที่ถูกตำแหน่งดังนี้
- โต๊ะหมู่บูชาพระ ที่จัดเพื่อการแสดงความเคารพในพระรัตนตรัย จำต้องมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธาน ทิศการตั้งโต๊ะหมู่ไม่ได้ถูกกำหนดมาแบบตายตัว ควรพิจารณาจากความเหมาะสมของสถานที่โดยวางไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์องค์ที่ 1 และไม่ควรตั้งอยู่ใต้บันได หน้าห้องน้ำ หรือหันไปในมุมอับเป็นต้น
- อาสนะ สามารถหยิบยืมจากวัดมาใช้ได้ โดยอาสนะให้จัดวางให้มีระยะห่างพอดี ไม่ชิดติดกันจนเกินไป คำนึงถึงการวางข้าวของเครื่องใช้ของพระสงฆ์ด้วย (ตาลปัตร พร้อมน้ำดื่ม กระดาษชำระ และกระโถน)
- อาหาร แบ่งออกเป็น 3 ชุดได้แก่ชุดบูชาข้าวพระพุทธ สำหรับพระสงฆ์ตามจำนวน และสำหรับเจ้าที่เจ้าทาง (หรือศาลพระภูมิที่ได้ทำการตั้งวางไว้แล้วของแต่ละบ้าน) ประกอบด้วยข้าว อาหารคาว ผลไม้ ของหวาน และน้ำดื่ม ชุดสำหรับพระพุทธวางไว้ด้านหน้าโต๊ะหมู่ สำหรับภัตตาหารของสงฆ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 วง (ในกรณีนิมนต์พระ 9 รูป) สำหรับเจ้าที่เจ้าทางจัดเป็นสำรับเช่นกันแล้วนำไปวางไว้นอกชายคาบ้าน อาหารที่เป็นมงคลนิยมถวายได้แก่ ขนมมงคลไทย 5 อย่าง เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน และขนมถ้วยฟู ผลไม้มงคลอย่างกล้วย มะพร้าว สาลี่ ทับทิม และส้ม
- ของถวายสังฆทาน สามารถถวายได้ทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภค ปัจจัย หรือผ้าไตรที่หลายบ้านนิยมถวายร่วมด้วยเพื่อความเป็นสิริมงคล
- อุปกรณ์เพื่อการการเจิมและการปะพรมน้ำพระพุทธมนต์ ที่จะทำเป็นขั้นตอนท้ายสุดของพิธี โดยเจ้าของบ้าน (ฝ่ายชาย) ต้องเดินถือขันน้ำมนต์นำพระสงฆ์ไปตามห้องต่างๆเพื่อการปะพรม และปิดท้ายที่การเจิมประตู (ส่วนมากนิยมที่ประตูด้านหน้า) โดยอุปกรณ์ประกอบไปด้วยขี้ผึ้งสำหรับติดแผ่นทอง แผ่นทอง หรืออาจใช้เพียงแป้งเจิมหรือดินสอพองก็ได้
เริ่มพิธีตอนไหน
ช่วงเวลาการทำบุญ ทำบุญบ้าน สามารถเลือกว่าจะถวายภัตตาหารเช้าหรือเพล โดยถ้าเป็นการถวายภัตตาหารเช้าให้เริ่มเวลาประมาณ 7.30 น. หรือหากเลือกถวายภัตตาหารเพลก็ควรเริ่มพิธีเวลาประมาณ 10.30 น. อย่างไรก็ตามเวลาก็อาจยืดหยุ่นตามศาสนกิจของพระวัดที่เราได้ทำการนิมนต์ด้วย
ในการทำพิธีทำบุญ ทำบุญบ้านนั้น เจ้าของบ้านต้องเตรียมบทสวดสำหรับการไว้สวดต่อหน้าพระก็มีตั้งแต่ บทบูชาพระรัตนตรัย และ บทกราบนมัสการพระรัตนตรัย บทอาราธนาศีล 5 บทสมาทานศีล บทอาราธนาพระปริต
ขั้นตอนปฏิบัติของพิธีทำบุญบ้าน
- นิมนต์พระสงฆ์เข้ายังสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ ถวายน้ำดื่ม สนทนาธรรม และพร้อมเริ่มพิธีการเมื่อถึงเวลาฤกษ์
- จุดเทียนธูปที่โต๊ะหมู่บูชา ประธานฝ่ายเจ้าบ้านจุดเทียนโดยเริ่มจากด้านขวาของพระพุทธก่อนแล้วจึงตามด้วยเทียนด้านซ้าย และธูป ตามลำดับ
- กราบพระพุทธ แบบเบญจางค์ประดิษฐ์ ประธานฝ่ายเจ้าบ้านกล่าวบูชาพระรัตนตรัย ตามด้วยอาราธนาศีล 5 ฝ่ายเจ้าบ้านกล่าวตามพระสงฆ์ด้วยบทสมาทานศีล ฝ่ายเจ้าบ้านกล่าวบทอาราธนาพระปริตร
- ประธานฝ่ายเจ้าบ้านจุดเทียนสำหรับทำน้ำพระพุทธมนต์ เมื่อพระสงฆ์สวดถึง “อเสวนา จ พาลานัง” ถวายข้าวพระพุทธ ประธานถวายพระพุทธโดยวางภัตตาหารบนโต๊ะหรือผ้าขาวด้านหน้าโต๊ะหมู่ฯ วางให้สูงกว่าอาสนะพระสงฆ์
- ประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เจ้าบ้านและแขกเหรื่อช่วยกันประเคน
- เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วให้นำจตุปัจจัย ดอกไม้ ธูป เทียน และหรือสังฆทานมาวางรอไว้ที่หน้าพระสงฆ์ทุกรูป ดอกไม้วางขนานปลายดอกไม้ชี้ไปทางด้านขวามือของพระสงฆ์ และเจ้าภาพเข้ามาที่ต่อหน้าพระเพื่อยกถวาย หลังจากที่กล่าวคำถวายสังฆทานแล้ว
- ลาข้าวพระพุทธ ต่อเนื่องด้วยการถวายสังฆทานด้วยบทถวายสังฆทาน
- พระสงฆ์สวดอนุโมทนา เจ้าบ้านและผู้ร่วมงานกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญกุศล
- พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พร้อมทั้งสวดชยันโตฯ พนมมือ รับน้ำพระพุทธมนต์
- เจ้าภาพนำจตุปัจจัยขึ้นรถ เพื่อส่งพระกลับวัด
- เสร็จพิธี
การทำบุญบ้าน นอกจากเหตุผลเพื่อการเสริมสิริมงคลให้กับบ้านแล้ว หลายคนเชื่อว่าการ ทำบุญบ้าน ยังหมายถึงการแสดงเคารพต่อพระรัตนตรัย และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกียรติกับเหล่าเทวดา เจ้าที่เจ้าทางที่อาศัยอยู่ ณ สถานที่นั้นๆ เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย
คุณเป็นไหมที่เสี่ยงโชค เสี่ยงดวง แล้วเหมือนจะได้ แต่ไม่ได้เพราะเฉียดนิดเดียว หรือทำอะไรก็ติดๆขัด ๆไม่ราบรื่น ไม่เป็นดั่งที่คุณหวังไว้ หากคุณเป็นหนึ่งในบุคคลที่เจอสถานการณ์แบบนี้ ลองมาศึกษาหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดหรือบรรเทาไปกับ 5 เคล็ดลับ เสริมดวง ชะตา โชคลาภ ซึ่งหลังจากได้ลองทำแล้วอาจจะพบเจอแต่เรื่องดีๆเข้ามาในชีวิต หรืออาจจะได้ลาภก้อนโดโดยไม่รู้ตัวเลยก็เป็นได้
5 เคล็ดลับ เสริมดวงโชคลาภ ทำแล้วดีชีวิตปังไม่ติดขัด
1. ไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์
การไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นวิธีล้างจิตล้างใจให้สงบ บริสุทธิ์ ด้วยการไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์ที่เคารพบูชา ตามความเชื่อความศรัทธาของตนเอง พร้อมถวายข้าวของสำหรับการกราบไหว้ด้วย จะช่วยให้จิตใจผ่องแผ้ว และเมื่อจิตใจเบิกบานแล้ว จะลงมือทำอะไร หรือเสี่ยงโชคเสี่ยงดวงอะไรก็จะเสริมดวงชะตา เสริมให้มีโอกาสสมหวังได้
2. หมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร
การหมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรก็ถือเป็นการเสริมดวงชะตา เพราะในบางครั้งเมื่อพบเจอเหตุการณ์ร้ายๆ หรือเจอปัญหาติดขัด รวมถึงการเสี่ยงโชค เสี่ยงดวง เพราะหวังโชคลาภต่างๆ เข้ามาบ้าง มีแต่ติดขัด ไม่เคยสมหวัง หรือไม่คล่องตัว อาจจะมีเจ้ากรรมนายเวรที่คอยติดตามและขัดขวางอยู่ ทางแก้ไขคือทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญรูปแบบใด ก็ขอให้อธิษฐานจิตอุทิศให้เขาด้วย เพื่อให้ผลบุญนั้นเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้
3. ทำทานปล่อยสัตว์ที่กำลังจะถึงชีวิต
การทำบุญทำทานด้วยการปล่อยสัตว์ที่กำลังจะถึงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็ก หรือสัตว์ใหญ่ เช่น ปล่อยนก ปล่อยปลา หรือไถ่ชีวิตโคกระบือที่กำลังจะถูกฆ่า ถือเป็นการทำบุญที่ช่วยต่อชีวิต หรือให้ชีวิตใหม่ ซึ่งเป็นการแก้เคล็ดเสริมดวงช่วยเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นดี แก้เคล็ดสิ่งต่างๆ ที่ติดขัดให้ไหลลื่นคล่องตัวมากขึ้น
4.หาโอกาสรับประทานอาหารเจ หรือมังสวิรัต
การหาโอกาสรับประทานอาหารเจ หรือมังสวิรัติ ถือเป็นการแก้เคล็ดเสริมดวง ที่สามารถทำได้ไม่ยาก โดยสามารถเลือกทำได้ในช่วงวันที่สะดวก เช่น วันเกิด วันพระ หรือสัปดาห์ละ 3-5 วัน ซึ่งการรับประทานเจ หรือมังสวิรัส จะเป็นวิธีที่ช่วยลดการเบียดเบียนชีวิตอื่น เมื่อทำบ่อยๆ ผลบุญจะช่วยเสริมดวงให้โชคลาภไหลลื่น การเสี่ยงดวงต่างๆ ไม่ติดขัด ทั้งยังปรับสมดุลภายในร่างกายได้อีกด้วย
5. ปฏิบัติตนอยู่ในศีล 5
การปฏิบัติตนอยู่ในศีล 5 เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่ควรมี โดยการรักษาศีล 5 ข้อได้อย่างเป็นกิจวัตรประจำวัน จะช่วยเสริมให้มีสติในการใช้ชีวิต และสร้างบุญสร้างกุศลให้กับตัวเองไปในตัว เมื่อชำระตัวเองให้อยู่ในศีล ชีวิตก็จะดีขึ้น การเสี่ยงโชคเสี่ยงดวงต่างๆ จะลื่นไหล เป็นเสริมดวงชะตา อีกอย่างที่สามารถทำได้ง่ายเช่นกัน
หากช่วงนี้ใครที่รู้สึกว่าดวงของคุณไม่ค่อยดี ทำอะไรก็ติดๆขัดๆ แถมถูกหมอดูทายทัก ว่าช่วงนี้ดวงของคุณกุด ดวงตก มีเกณฑ์ทำมาค้าขายไม่รุ่ง หรือแม้กระทั่งเรื่องความรักก็ไม่สมหวัง หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับคุณสามารถนำเคล็ดลับในการเสริมดวงเพื่อให้พลิกผันจากร้ายกลับกลายเป็นดี ซึ่งก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถปฏิบัติกันได้ทุกคน และเราก็เชื่อว่าเคล็ดลับเสริมดวงนี้จะสามารถช่วยให้ชีวิตคุณดีขึ้นได้
โดยเคล็บลับเสริมดวงชะตา ทั้ง 5 ข้อนี้ หากใครไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้ครบทุกข้อ ก็สามารถลองเลือกวิธีที่คุณสามารถปฏิบัติได้ หรือลองไปปรับใช้ดูตามความสะดวกและเหมาะสมของแต่ละคนกัน แต่อย่าลืมหมั่นทำบุญกรวดน้ำขอขมากรรมและอุทิศบุญกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร รวมทั้งเทพที่ปกปักษ์รักษาตัวกันด้วย ขอให้ท่านปกป้องคุ้มครอง ขอให้ท่านช่วยขจัดสิ่งร้ายๆ ให้หมดไป ขอให้มีกำลังใจในการทำสิ่งดีๆ และมีประโยชน์ รับรองว่าเรื่องร้ายต่างๆ ที่คุณกำลังเผชิญอยู่จะค่อยๆ ดีขึ้น ราบรื่นขึ้น และมีแต่ความเฮงอย่างแน่นอน
การ “ทำบุญ” ในทางพุทธศาสนาไม่ได้มีเพียงการให้เงินให้ทอง หรือให้ทาน ทำบุญกับพระและวัดเท่านั้น “บุญ” หมายถึง การกระทำความดี มาจากภาษาบาลีว่า “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ดังนั้น บุญจึงเป็นเหมือนเครื่องกำจัดส่งเศร้าหมองที่เราเรียกกันว่า “กิเลส” ให้ออกไปจากใจ บุญจะช่วยให้เราลด ละ เลิก ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ และช่วยให้ใจเป็นอิสระพร้อมจะก้าวไปสู่การทำคุณงามความดีในขั้นต่อๆ ไป เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ มีความสุข และเป็นความสุขที่สงบและยั่งยืน
ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ปฏิบัติ เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม น่าเคารพยกย่อง เพราะถือว่าเป็น “คนดี” นั่นเอง นั่นแสดงว่าที่เราทำบุญกันมากมายก็เพราะ หวังประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ดังนั้นยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น ผลจิตใจยิ่งคับแคบ ความเมตตากรุณามีแต่จะน้อยลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง วันนี้ทาง “ธาราญา” จะมาแนะนำ วิธีการทำบุญง่ายๆ 2 วิธี ได้แก่ การทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน และการทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรจีวร
การถวายสังฆทานเป็นวิธีการทำบุญอีกวิธีหนึ่งที่คนไทยนิยมเป็นอย่างมาก การทำบุญด้วยชุดสังฆทาน การถวายปัจจัยให้พระสงฆ์ถือเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวผู้ทำเอง ช่วยเสริมดวง เพิ่มความสิริมงคลแก่ผู้ถวาย โดยการถวายของใช้ที่เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ และยังสามารถทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว อีกทั้งยังช่วยให้จิตใจสงบขึ้นได้อีกด้วย เป็นการทำทานที่ได้บุญมาก โดยสังฆทานของ “ธาราญา” นั้น ได้นำเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นแก่พระภิกษุสงฆ์ มาจัดเป็นชุดสังฆทานที่มีคุณภาพ พระภิกษุสงฆ์สามารถใช้งานได้จริง ไม่ว่าจะเป็น สังฆทานยา ที่นำเอายาสามัญที่มีความจำเป็นเป็นยาทุกชนิดก็ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรอง และมี อย. นอกจากนี้ “ธาราญา” ก็ยังจัดชุดสังฆทานต่างๆ เพื่อความสะดวกในการเลือกเพื่อทำไปนำบุญ เช่น สังฆทานวันเกิด สังฆทานเสริมดวง สังฆทานบรรเทากรรม เป็นต้น
การทำบุญด้วยผ้าไตรจีวรในทางพระพุทธศาสนานั้น มองว่าเป็นการช่วยให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย และคลายความอันตรายต่างๆได้ ดังนั้นผู้ให้จึงได้รับบุญกุศลอย่างเต็มที่ เกิดในภพหน้าจะมีหน้าตารูปร่างสวยงาม และมีผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส เป็นผู้อิ่มเอมใจ อันเกิดจากการอิ่มบุญ ขจัดพ้นจากความยากลำบาก และความยากจนแสนเข็ญ ผู้ที่ทำบุญด้วยการถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทุกหมู่เหล่า เมื่อใดก็ตามจะต้องพบกับความมีอุปสรรค อุปสรรคนั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี
ภยันตรายอื่นๆ อย่างสัตว์มีพิษและของมีคมต่างๆ ก็ทำร้ายไม่ได้ อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นในชาติหน้า จะเกิดมาเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมด้วยหน้าตาที่งดงาม และสติปัญญาที่น่านับถืออย่างยิ่ง โดยทาง “ธาราญา” ได้นำเอา ผ้าไตรจีวร ที่มีการนำผ้าอย่างดีมาทำการตัดเย็บอย่างปราณีต เนื้อผ้าหนา แต่มีความนุม เบาสบาย ซึ่งผ้าไตรนั้นก็มีหลากหลายสีให้เลือกนำไปถวายตามความเหมาะสมของวัดในแต่ละสถานที่
นอกจากการทำบุญด้วย 2 อย่างนี้ ยังมีการทำบุญอีกมากมายหลากหลายวิธี และแต่ความสะดวกของผู้ที่จะทำบุญ ในการทำบุญนั้น ไม่จำเป็นที่ต้องทำเฉพาะที่วัด หรือทำเฉพาะกับพระภิกษุเท่านั้น แต่การทำบุญนั้นยังสามารถทำได้กับ บุคคลคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นคนไร้บ้าน หรือคนเร่ร่อน หรือแม้กระทั่งกับสัตว์ก็สามารถทำบุญให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นทำบุญให้อาหารแก่สุนัขจรจัด หรือช่วงเหลือสัตว์ที่เจ็บป่วย เป็นต้น การทำบุญ คือการชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญในงานมงคลต่างๆ หรืองานอวมงคล ถ้าจะทำให้ถูกค้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือความหลง
สังฆทานหมายถึงอะไร ?
สังฆทาน แยกเป็น 2 คำ ได้แก่ ”สังฆะ” และ ”ทาน” โดย (สังฆะ) หมายถึง ภิกษุตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป และ (ทาน) หมายถึง การให้ แบ่งปัน แจกจ่ายวัตถุสิ่งของปัจจัยสี่ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เมื่อรวมความหมายแล้ว “สังฆทาน” จึงหมายถึง การถวายวัตถุปัจจัยแก่พระภิกษุรูปหนึ่งโดยความตั้งใจอุทิศให้เป็นของ (หมู่พระภิกษุหรือสงฆ์ทั้งปวง) ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เป็นการสนับสนุนให้ชาวพุทธไม่นำเอาพระพุทธศาสนาไปผูกติดไว้กับบุคคล เพราะบุคคลนั้นไม่แน่นอน
ฉะนั้นแล้วการตั้งใจถวายเครื่องสังฆทานแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า “ปาฏิปุคลิกทาน” เราไม่เรียกว่าเป็นการถวายสังฆทานเพราะทานเช่นนี้ยังไม่ช่วยทำให้จิตใจห่างจากความยึดติดถือมั่น แต่กระนั้นก็ยังถือว่าเป็นทานที่ควรทำอยู่เพราะถือเป็นการฝึกให้ปัจเจกบุคคลรู้จักพัฒนาตนให้มีธรรม
การถวายสังฆทานมีที่มาอย่างไร
ในสมัยพุทธกาลพระนางมหาปชาบดี (พระแม่น้า) ต้องการถวายผ้าจีวรแก่พระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระนางถวายแก่สงฆ์ โดยอรรถาธิบายว่า การถวายแก่สงฆ์ย่อมให้อานิสงส์มากกว่าถวายแก่พระองค์เป็นการเฉพาะ ตั้งแต่นั้นมา ชาวพุทธจึงถือกันว่า การถวายสังฆทาน มหาทานที่ทำให้มีอานิสงส์มาก ได้บุญมาก
ของที่อยู่ในชุดสังฆทานต้องมีลักษณะใด
“ไทยทาน” หรือ “ไทยธรรม” หมายถึงปัจจัยสี่ที่ไม่ขัดต่อสมณะภาวะ ซึ่งมีหลักพิจารณาอยู่ 5 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. สมควรไหม
2. ขัดกับพระวินัยของพระไหม
3. พระจำเป็นต้องใช้ไหม
4. มีคุณภาพดีไหม
5. เอื้อต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไหม
เครื่องสังฆทาน ประกอบด้วยทานวัตถุ 10 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ภัตตาหาร อาหารคาว-หวานต่างๆ
2. น้ำ รวมทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณบริโภค (ชา กาแฟ น้ำผลไม้)
3. ผ้า เครื่องนุ่งห่ม
4. ยานพาหนะ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการเดินทาง รวมถึงปัจจัยค่าโดยสาร
5. มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาชนิดต่างๆ
6. ของหอม หรือธูปเทียนบูชาพระ
7. เครื่องลูบไล้ หรือเครื่องสุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกาย เช่น สบู่ เป็นต้น
8. ที่นอนอันควรแก่สมณะ
9. ที่อยู่อาศัยหรือกุฏิ เสนาสนะ และเครื่องสำหรับเสนาสนะ เช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
10. เครื่องส่องสว่าง เช่น ตะเกียง หลอดไฟฟ้า ไฟฉาย เป็นต้น
สำหรับอานิสงส์ของการถวายทานแด่พระสงฆ์ มีมากมายมหาศาล กล่าวได้โดยสังเขป คือ ผู้ถวายทานย่อมเป็นที่รักใคร่ของเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย เป็นที่นิยมคบหา มีชื่อเสียงเกียรติคุณไปทั่ว มีสง่าราศี เป็นต้น
ชุดสังฆทานทั่วไปที่เห็นการตามท้องตลาด ส่วนมากจะเห็นเป็นถังสีเหลือง และบรรจุไปด้วยของใช้ต่างๆ หรือจะเป็นกลุ่มยาสามัญ โดยผู้ที่ต้องการซื้อชุกสังฆทานไปถวายพระภิกษุก็สามารถเลือกได้ตามเจตนารมณ์ของผู้ที่จะถวาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนทั่วไปมักจะเลือกเป็นชุดของใช้ทั่วไป เว้นแต่ผู้ที่ต้องการถวายสังฆทานเพื่อแก้เคล็ด แก้ดวงชะตา หรือแก้กรรม ก็จะเลือกสังฆทานแบบอื่นตามความเชื่อของแต่ละบุคคล
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยมักจะเลือกถวายเป็นสังฆทานยา เพราะมีความเชื่อว่า เมื่อถวายยาให้แก่พระภิกษุแล้วจะสามารถบรรเทาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยได้ หรือผู้ที่เจอความทุกข์ยากแสนเข็ญ เจอแต่อุปสรรคปัญหา ไร้ซึ่งทางออก ก็จะเลือกถวายเป็นหลอดไฟ เพราะมีความเชื่อว่า เมื่อถวายหลอดไฟและจะทำให้เจอแสงสว่างในชีวิต พบเจอทางออกในการแก้ปัญหาได้
แต่สังฆทานที่พบเห็นอยู่ทั่วไปนั้น ได้มีการตรวจพบอยู่บ่อยๆว่า สังฆทานและชุดไทยธรรมไม่ได้มาตรฐาน ผู้ค้าไม่แสดงรายชื่อสินค้า ไม่ติดฉลาก ไม่ติดราคา และวันหมดอายุของสินค้า และยังพบร้านค้าที่นำสินค้ากลุ่มยามัญที่หมดอายุแล้ว จนฉลากซีดมาบรรจุในสังฆทานด้วย บางร้านบรรจุสินค้าที่ในกล่องผลิตภัณฑ์เพียงชิ้นเดียว ซึ่งนอกจากจะไม่ได้บุญแล้ว ยังเป็นบาป และยังเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย
โดยทาง ธาราญา นั้นได้มองเห็นถึงปัญหาในจุดนี้ จึงได้จัดทำชุดสังฆทานที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีฉลาก วันหมดอายุของสินค้า และราคาที่ชัดเจน ส่วนยาสามัญที่นำมาจัดชุดสังฆทานก็เป็นกลุ่มยาสามัญที่มีความจำเป็นเป็นยาทุกชนิดก็ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรอง และมี อย. ซึ่งของทุกชิ้นที่ทาง ธาราญา นำมาจัดเป็นชุดสังฆทานนั้น มีประโยชน์แก่พระภิษุกอย่างแท้จริง ทั้งนี้ทางธาราญา ยังได้มีการจัดชุดสังฆทานต่างๆ เพื่อให้คุณได้เลือกตามความเชื่อ ความต้องการของคุณ และเพื่อความสะดวกในการเลือกเพื่อทำไปนำบุญ ได้แก่ เช่น สังฆทานวันเกิด สังฆทานเสริมดวง สังฆทานบรรเทากรรม สังฆทานยา เป็นต้น
คำว่า “จิตสงบ” นั้นไม่ใช่ว่าไม่มีอะไร แต่ต้องมีความสงบครอบอยู่ ท่านกล่าวถึงองค์ของความสงบขั้นแรกว่า หนึ่งมีวิตก ยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา แล้วก็มีวิจาร คือพิจารณาตามอารมณที่เกิดขึ้นมา ต่อไปก็จะมีปีติคือ ความยินดีในสิ่งที่เราวิตกไปนั้น ในสิ่งที่เราวิจารไปนั้น จะเกิดปีติ คือความยินดีซาบซึ้งอยู่โดยเฉพาะของมัน แล้วก็มีสุข สุขอยู่ไหน สุขอยู่ในการวิตก สุขอยู่ในการวิจาร สุขอยู่กับความอิ่มใจ สุขอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นแหละ แต่ว่ามันสุขอยู่ในความสงบ วิตกก็วิตกอยู่ในความสงบ วิจารก็วิจารอยู่ในความสงบ ความอิ่มใจก็อยู่ในความสงบ สุขก็อยู่ในความสงบ ทั้งสี่อย่างนี้เป็นอารมณ์อันเดียว อย่างที่ห้า คือ เอกัคคตา ห้าอย่างแต่เป็นอันเดียวกัน คือทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์ แต่มีลักษณะอยู่ในขอบเขตอันเดียวกัน คือเมื่อจิตสงบ วิตกก็มี วิจารก็มี ปิติก็มี สุขก็มี เอกัคคตาก็มี ทั้งหมดนี้เป็นอารมณ์เดียวกัน
คำที่ว่าอารมณ์เดียวกันนั้น ทำไมจึงมีหลายอย่างหมายความว่า มันจะมีหลายอาการก็ เพราะอาการทั้งหลายเหล่านั้น จะมารวมอยู่ในความสงบอันเดียวกันไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญ เหมือนกับว่ามีคน 5 คน แต่ลักษณะของคนทั้ง 5 คนนั้นมีอาการเดียวกัน คือจะมีอารมณ์ทั้ง 5 อารมณ์
การทำให้จิตใจสงบ
การทำจิตให้สงบ คือการวางให้พอดี ตั้งใจเกินไปมากมันก็เลยไป ปล่อยเกินไปมันก็ไม่ถึง เพราะขาดความพอดี ธรรมดาจิตเป็นของไม่อยู่นิ่ง เป็นของมีกิริยาไหวตัวอยู่เรื่อย ฉะนั้นจิตใจของเราจึงไม่มีกำลัง
การทำจิตใจของเราให้มีกำลัง กับการทำกายของเราให้มีกำลังมันต่างกัน การทำกายให้มีกำลังก็คือ การออกกำลัง ทำกายบริหาร มีการกระโดด การวิ่ง นี่คือการทำกายให้มีกำลัง การทำจิตใจให้มีกำลังก็คือทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ทำจิตให้คิดนั่นคิดนี่ไปต่างๆ ให้อยู่ในขอบเขตของมัน เพราะว่าจิตของเรานั้นไม่เคยได้สงบ ไม่เคยมีกำลัง มันจึงไม่มีกำลังทางด้านสมาธิภายใน
การทำสมาธิ
หากจะทำสมาธิ ก็ตั้งใจ ให้เอาความรู้สึกกำหนดอยู่กับลมหายใจ ถ้าหากว่าเราหายใจสั้นเกินไปหรือยาวเกินไป ก็ไม่พอดี ไม่ได้สัดได้ส่วนกัน ไม่เกิดความสงบ เหมือนกันกับเราเย็บจักร ผู้เย็บจักรมีมือมีเท้าเราต้องถีบจักรเปล่าดูก่อน ให้รู้จักให้คล่องกับเท้าของเราเสียก่อนจึงเอาผ้ามาเย็บ
การกำหนดลมหายใจก็เหมือนกัน หายใจเฉยๆกำหนดรู้ไว้ จะพอดีขนาดไหน ยาวขนาดไหน สั้นขนาดไหน จะให้ค่อยขนาดไหน แรงขนาดไหน จะยาวก็ไม่เอากับมัน จะสั้นก็ไม่เอากับมัน จะค่อยก็ไม่เอากับมัน เอาตามความพอดี เอายาวพอดี เอาสั้นพอดี เอาค่อยพอดีเอาแรงพอดี นั่นชื่อว่าความพอดี เราไม่ได้ขัดไม่ได้ข้องแล้วก็ปล่อย หายใจดูก่อนไม่ต้องทำอะไร
ถ้าหากว่าจิตสบายแล้ว จิตพอดีแล้ว ก็ยกลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ หายใจเข้าต้นลมอยู่ปลายจมูก กลางลมอยู่หทัยคือหัวใจ ปลายลมอยู่สะดือ อันนี้เป็นแหล่งการเดินลม เมื่อหายใจออก ต้นลมจะอยู่สะดือ กลางลมจะอยู่หทัย ปลายลมจะอยู่จมูก นี่มันสลับกันอย่างนี้ กำหนดรู้เมื่อลมผ่านจมูก ผ่านหทัย ผ่านสะดือ พอสุดแล้วก็จะเวียนกลับมาอีกเป็นสามจุดนี้ ให้ความรู้ของเราอยู่ในความเวียนเข้าออกทั้งสามจุดนี้ พยายามติดตามลมหายใจเช่นนี้เรื่อยไป เพื่อรักษาความรู้นั้นและทำสติสัมปชัญญะของเราให้กล้าขึ้น
เคล็ดลับ 10 วิธีการฝึกสมาธิง่ายๆ
1. จัดท่าทางให้ถูกต้อง
จริงอยู่ว่าใครๆ ก็นั่งขัดสมาธิ เพื่อนั่งสมาธิได้ แต่การนั่งที่ถูกต้อง คือ คุณต้องแน่ใจว่าคุณนั่งตัวตรง หัวตรง นั่นเพราะร่างกายของเราสัมพันธ์กับจิตใจค่ะ หากคุณนั่งตัวงอแล้วละก็ จิตใจของคุณก็จะล่องลอยไป ไม่อยู่กับเนื้อกับตัวนะคะ แต่ไม่ต้องนั่งเกร็งมาก ให้นั่งเหมือนเรากำลังผ่อนคลายดีที่สุด
2. เปิดตานั่งสมาธิ
บางครั้งการนั่งสมาธิ ไม่จำเป็นต้องหลับตาเสมอไป คุณสามารถเปิดตาไว้ แต่ปรับระดับสายตาให้มองต่ำลง โดยกำหนดจุดให้เพ่งรวบรวมสมาธิไว้ เพราะบางคนเมื่อปิดตาแล้วกลับรู้สึกฟุ้งซ่าน ในหัวสมองเต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ อย่างไรก็ตาม ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าวิธีใดทำแล้วได้ผลมากกว่ากัน
3. กำหนดรู้ลมหายใจ
การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็นการกำหนดที่ตั้งของสติ เพื่อให้จิตเราอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่นๆ แต่เราไม่จำเป็นต้องไปบังคับการหายใจ แค่ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ
4. นับลมหายใจเข้า-ออก
การนับลมหายใจเข้าออก เป็นวิธีปฏิบัติสมาธิมาตั้งแต่โบราณ โดยเมื่อคุณหายใจออกก็ให้คุณเริ่มนับหนึ่งในใจ ต่อไปก็เป็นสองสามสี่ตามลำดับ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกว่าความคิดของคุณกำลังล่องลอยออกไปที่อื่น ให้คุณกลับมาตั้งต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง เพื่อให้คุณนำจิตกลับมาที่เดิม
5. ควบคุมความคิดไม่ให้เข้ามารบกวน
เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณกำลังมีความ คิดเข้ามารบกวนจิตใจ ค่อยๆ ขจัดความคิดเหล่านี้ออกไป โดยหันมาสนใจกับการกำหนดลมหายใจ อย่าพยายามหยุดความคิดในทันที เพราะมันจะทำให้คุณฟุ้งซ่านและไม่สามารถกลับเข้าสู่สมาธิได้อีก
6. กำจัดอารมณ์ให้หมดสิ้น
มันเป็นการยากที่จะนั่งสมาธิในขณะที่จิตของคุณเต็มไปด้วยอารมณ์ เพราะอารมณ์จะทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆ ในจิตใจ โดยเฉพาะอารมณ์โกรธ กลัว เสียใจ ซึ่งไม่ได้ทำให้คุณอยู่กับปัจจุบัน หรืออยู่กับสิ่งที่เป็นในตอนนี้เลย ให้คุณจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้โดยกำหนดลมหายใจไปที่ความรู้สึกของร่าง กายที่ควบคุมอารมณ์ส่วนนั้น เพราะจะทำให้คุณไม่คิดถึงเรื่องราวที่ทำให้คุณกลัว หรือโกรธอีก แต่หันมาเพ่งกับสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้แทน
7. ความเงียบบ่อเกิดแห่งความสงบ
การนั่งสมาธิควรจะนั่งในที่เงียบๆ เพื่อทำจิตให้ว่าง ไม่ใส่ใจถึงบุคคล เสียง หรือสิ่งอื่นที่อยู่โดยรอบ เพราะความเงียบจะนำมาซึ่งความสงบเยือกเย็น และความรู้สึกมั่นคง เมื่อไหร่ก็ตามที่ความเงียบภายนอกและภายในประสานกันได้ คุณก็จะรู้สึกได้พักกายพักใจ ผ่อนคลายจากความคิดที่รบกวนคุณอยู่ตลอดมา
8. เวลาในการนั่งสมาธิ
เมื่อเริ่มต้นนั่งสมาธิใหม่ๆ คุณอาจจะลองนั่งก่อนประมาณสัก 10 นาที และจึงค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าจิตคุณเริ่มนิ่งมากขึ้น แต่อย่าบังคับตัวเองให้นั่งนานเกินไปหากคุณยังไม่พร้อม ทั้งนี้ ระยะเวลาที่เหมาะ คือประมาณ 25 นาที เพราะเป็นระยะเวลาที่ไม่ทำให้รู้สึกปวดเมื่อยร่างกายเกินไปจนรบกวนสมาธิได้
9. สถานที่ในการนั่งสมาธิ
สถานที่และบรรยากาศก็ช่วยให้คุณทำสมาธิได้ดีขึ้น ซึ่งการนั่งสมาธิในห้องพระจะช่วยให้จิตใจสงบและรู้สึกเป็นสมาธิมาก หรือคุณอาจจะวางสิ่งเล็กๆ ที่คุณชอบ หรือช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายไว้รอบๆ ที่คุณนั่งสมาธิก็ได้
10. มีความสุขไปกับการนั่งสมาธิ
คนเราหากทำอะไรแล้วมีความสุข เราก็จะทำมันได้ดี และรู้สึกอยากทำต่อไป ในการนั่งสมาธิก็เช่นกัน หากคุณมีความสุขในการนั่งสมาธิ คุณก็จะรู้สึกผ่อนคลายสบายตัวและอยากจะทำต่อไป จนสามารถทำเป็นกิจวัตรที่ทำทุกวันได้
นอกจากกว่าใช้วิธีสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบแล้ว ท่านยังสามารถสวดมนต์ไหว้พระ ทำบุญ ตักบาตร เพื่อให้จิตใจสงบได้อีกด้วย เพราะการสวดมนต์ไหว้พระ ทำบุญตักบาตรนั้นก็ถือว่าเป็นการฝึกสมาธิให้จิตใจสงบนิ่งเช่นกัน
สีมงคลประจำ 12 นักษัตร เสริมดวงชะตา เสริมความร่ำรวย ปี 2564 หากเลือกใช้ให้ถูกสีจะมีแต่ความมงคลเข้ามาในชีวิต ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับของใช้ ของแต่งบ้าน หรือว่าจะเป็นสีเสื้อ สีรถ สีวอลเปเปอร์โทรศัพท์ หรือสิ่งของสำคัญที่คุณใช้เป็นประจำทุกวัน แบบละเอียดยิบกันให้ได้ดูกัน
ปีชวด พื้นฐานดวงเป็นคนเฉลียวฉลาด ชอบพูดและวางตัวดี สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เร็ว มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นที่ชอบพอของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด แต่ถึงแม้จะเป็นคนร่าเริงแจ่มใสแต่ไม่ชอบพึ่งพาผู้อื่น ชอบทำทุกอย่างด้วยตนเอง จึงค่อนข้างระวังตัว และไม่ไว้ใจผู้อื่นง่าย ๆ ซึ่งตรงข้ามกับการแสดงออก ราวกับว่าเป็นคนสองบุคลิก สีถูกโฉลก น้ำตาลเหลือง เขียว (ธาตุ ดินและไม้)
ปีฉลู พื้นฐานดวงเป็นคนมีความแน่วแน่มั่นคงในจิตใจ อารมณ์และความคิด ไม่อ่อนไหวเอนเอียงตามผู้อื่นโดยง่าย สุขุมรอบคอบและใจเย็น แต่อย่าทำให้อารมณ์เสีย จะเกรี้ยวกราด คนปีนี้อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักกาละเทศะ เป็นคนหัวเก่า อนุรักษ์นิยม ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ เป็นคนรักครอบครัว ทำทุกอย่างเพื่อความสุขของ ครอบครัว สีที่ถูกโฉลก ขาว เหลือง และน้ำตาล
ปีขาล พื้นฐานดวงเป็นคนชอบแสวงหา ไม่ชอบหยุดนิ่งอยู่กับที่รักความก้าวหน้า สิ่งแปลกใหม่ที่ตื่นเต้น จึงเป็นคนเจ้าชู้ แต่ถ้าได้พบคนถูกใจจะปักใจหยุดอยู่ที่ผู้นั้นเพียงคนเดียว ผู้ที่เกิดปีนี้เป็นนักสู้ชอบการแข่งขัน อดทนทำตามความคิดของตนเอง เพื่อให้บรรลุจุดหมาย และมีความเป็นผู้นำ แต่เพราะ ความใจร้อนตัดสินใจเร็ว จึงมักขาดความรอบคอบ และไม่รับฟังความเห็นของผู้อื่น สีที่ถูกโฉลก สีเขียว น้ำเงิน เทาและดำ
ปีเถาะ คนปีนี้มีข้อดีหลายประการ ชอบช่วยเหลือคน มีน้ำใจและจริงใจโดยเฉพาะกับมิตรสหาย รักสันติและมีมิตรมาก เหมาะกับอาชีพค้าขาย เป็นคนที่เชื่อใจและไว้ใจผู้อื่นง่ายเกินไปจึงมักประสพปัญหาที่ตัวเองไม่ได้ก่อเสมอ แต่สามารถแก้ปัญหาได้เร็วทำให้ ไม่เสียใจอยู่นาน ชอบความสะดวกสะบาย แสวงหาสิ่งที่ปลอดภัย สีที่ถูกโฉลก ขาว เหลือง และน้ำตาล
ปีมะโรง ผู้ที่เกิดปีนี้เป็นคนดวงแข็งมาแต่กำเนิด เพรียบพร้อมด้วยพลัง อำนาจและโชคลาภ เป็นนักษัตรที่สมบูรณ์ หากตั้งใจทำงานจะได้ผลงานที่ดี เป็นผู้ที่พิถีพิถันในการ ทำงานจะได้ผลงานมาก เป็นคนพูดจาตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม ดื้อรั้นและรักเพื่อนฝูง ไม่ชอบพึ่งพาผู้อื่นรักศักดิ์ศรี คนปีนี้บุคลิกอบอุ่น มีความเมตตา มีความคิดน่าสนใจและน่าเชื่อถือจึงได้รับความไว้วางใจจากมิตรสหาย สีที่ถูกโฉลก สีเทา ดำ และเหลือง
ปีมะเส็ง คนปีมะเส็งฉลาดปราดเปรื่อง มีจินตนาการกว้างไกลเป็นนักษัตรแห่งปัญญา เป็นคนตัดสินใจเร็วในการทำงาน มีความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อและทำให้สำเร็จด้วยความรวดเร็ว แต่ค่อนข้างจะใช้ความรู้สึกตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มากกว่าการใช้เหตุผล ชอบการเอาใจจากคนใกล้ชิด เป็นคนมีเสน่ห์พูดเก่ง มีอารมณ์ขัน เป็นที่สนใจของคนรอบข้าง เนื่องจาก เป็นคนจริงจังจึงขี้หึง แต่เป็นผู้มีดวงเกี่ยวกับโชคลาภ เป็นคนประหยัด ชอบเก็บหอมรอมริบ จึงเป็นคนไม่ขัดสน สีที่ถูกโฉลก สีน้ำตาล เหลือง น้ำเงิน และเทา
ปีมะเมีย ลักษณะทั่วไป เป็นนักจัดการในเรื่องต่าง ๆได้ดี มีไหวพริบปฏิภาณในการทำงาน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีความสามารถในการจัดการเรื่องเงินทอง แต่มีข้อด้อยคือเป็นคนใจร้อน อารมณ์มักแปรปรวนบ่อย ชอบเปลี่ยนจุดมุ่งหมาย เมื่อเจออุปสรรค ทะเยอทะยานในทุกด้าน ชอบได้รับการยกย่องชมเชย ยามเมื่อมี ครอบครัว ชอบทำทุกอย่างให้ครอบครัวด้วยตนเอง เป็นผู้ที่ยึดมั่นในคำสัญญาที่เชื่อถือได้ เป็นคนร่าเริงสนุกสนาน อบอุ่นและจริงใจ สีที่ถูกโฉลก สีแดง ม่วง ส้มและสีขาว
ปีมะแม เป็นคนอารมณ์อ่อนไหว มีเสน่ห์ในตัวเองเป็นคนน่าคบหาสมาคม ถึงจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีก็เป็นคนขี้กังวล โลเลและมองโลกในแง่ร้าย จึงทำให้ไม่มีความสุขเท่าที่ควร โดยพื้นฐานเป็นคนขี้อาย ต้องการคนคุ้มครองไม่กล้าตัดสินใจแก้ปัญหา จึงถนัดเป็นผู้ตามมากกว่าผู้นำ คนปีนี้ชอบคิดฝัน ชอบจินตนาการ มีจิตใจดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น รักสวยรักงาม ชอบความสงบ สีที่ถูกโฉลก สีเหลือง เงิน น้ำตาล และเทา
ปีวอก เป็นคนมีอารมณ์ขันขี้เล่น ชอบพูดคุยคล่องแคล่ว ฉลาดหลักแหลม ไหวพริบเป็นเลิศ เป็นคนทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เป็นผู้ที่เก่งในการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว เป็นผู้ที่ปรับตัวเองได้เร็วไม่ชอบอะไรที่ซ้ำซาก ไม่ค่อยรักษาระเบียบวินัย คนปีนี้ไม่ไว้วางใจผู้อื่นง่าย ๆ มักถือตนเป็นใหญ่ เป็นคนมีเล่เหลี่ยมพอควร จึงใช้บุคลิกของตน หลบหลีกภัยและยังสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสสร้างชื่อได้ด้วย สีที่ถูกโฉลก สีน้ำตาล เหลือง แดง และส้ม
ปีระกา คนที่เกิดปีนี้ มีเสน่ห์ในสายตาผู้ที่พบเห็น ชื่นชอบความงามและความหรูหรา ชอบเปิดเผยและโอ้อวดตัวเอง ชอบเข้าสังคมเป็นคนซื่อตรง แต่บางครั้งดูเย่อหยิ่ง พูดจาไม่อ้อมค้อม ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก แต่เอนเอียงไปด้านอนุรักษ์นิยม ชอบคนเอาอกเอาใจ ถ้าหากหัดควบคุมรายจ่ายจะมีทรัพย์มาก ข้อดีเป็นคนมีระเบียบ มีความ ละเอียดรอบคอบ ไม่ชอบทำงานเช้าชามเย็นชาม แต่เป็นคนเจ้าระเบียบ หากได้รับมอบหมายงานจะทำได้อย่างไม่มีที่ติ สีที่ถูกโฉลก สีแดง ม่วง น้ำตาล และเหลือง
ปีจอ เป็นคนที่มีความซื่อสัตว์และเสียสละอย่างมาก จะยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อคนที่รัก เป็นคนรอบคอบช่างสังเกต ระมัดระวัง มีความยุติธรรม รักความถูกต้อง เหมาะที่จะทำงานใหญ่ แยกแยะเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานได้ดี ใช้ชีวิตสมถะเรียบง่าย ไม่ชอบเข้าสังคม อารมณ์รุนแรง สีที่ถูกโฉลก สีแดง ม่วง ส้ม และเขียว
ปีกุน เป็นคนมองโลกในแง่ดี จิตใจซื่อตรงและไม่ชอบโกหก โดยทั่วไปใจกว้างและ มีเมตตา ไม่ค่อยถือโทษโกรธใครนาน รักเพื่อนแต่มีมิตรน้อย เป็นคนฉลาดแต่ไม่เฉลียว จึงโดนหลอกใช้งาน เป็นคนใจอ่อนไม่ชอบเผชิญหน้า มีทักษะการเรียนรู้เร็วแต่ไม่ละเอียด มีความมุมานะในการทำงานเป็นคนลังเลไม่กล้าตัดสินใจจึงมักพลาดโอกาสที่ดี สีที่ถูกโฉลก สีน้ำเงิน สีเทา สีดำและสีเขียว
การขอขมาพ่อแม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตทำได้ทุกเทศกาล ไม่ใช่เฉพาะวันพ่อ วันแม่ เท่านั้น ใครที่อยากขอขมาในสิ่งที่ทำไม่ดีกับพ่อแม่ แต่ไม่รู้วิธีขอขมาพ่อแม่ หรือสิ่งที่ควรเตรียมก่อนขอขมาพ่อแม่นั้น วันนี้ทาง ธาราญา จะมาแนะนำให้ทุกท่านได้ทราบ
สำหรับการขอขมาพ่อแม่ เป็นสิ่งที่ลูก ๆ ทุกคนควรทำ เพราะใน 1 ปีที่ผ่านมา เราไม่อาจรู้ได้ว่า มีสิ่งใดบ้างที่เราทำลงไป และเป็นเหตุให้พ่อแม่ไม่พอใจ ไม่สบายใจบ้าง ไม่ว่าโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม และการขอขมาพ่อแม่ ยังเป็นการแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูเรามาอีกด้วย ซึ่งการขอขมาพ่อแม่สามารถทำได้ทุกวัน และทุกเทศกาล ดังนั้น หากใครที่อยากขอขมาในสิ่งที่ทำไม่ดีกับพ่อแม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับตัวเองและครอบครัวก็สามารถทำได้ ดังนี้
วิธีการขอขมากรรมกับพ่อแม่
สิ่งที่ควรเตรียมในการขอขมาพ่อแม่
- พานธูปเทียนแพ และพวงมาลัย ที่มีดอกมะลิ ในพวงมาลัย 1 พวง
- ซองใส่ปัจจัยให้พ่อแม่ ถือเป็นการซื้อชีวิตใหม่จากบุพการี
- ชุดใหม่ให้พ่อแม่ นิยมเป็นชุดนอน และอาหารที่ท่านโปรด
- กะลังมังใบใหม่ใส่น้ำอุ่น น้ำลอยดอกมะลิ หรืออาจจะเป็นน้ำใส่น้ำอบให้หอม ๆ
- ผ้าเช็ดมือ เช็ดเท้าผืนใหม่
- ผ้าขาวดิบ
- ถาดใส่ของ (วางทับด้วยผ้าขาวดิบ)
- สถานที่ทำพิธีขอขมา ควรเป็นกลางแจ้ง
หมายเหตุ : หากไม่มี หรือไม่สามารถเตรียมตามความพร้อมทั้งหลายเหล่านี้ได้ ท่านสามารถกระทำเพียงน้อมจิตตั้ง นะโมฯ ทำการกล่าวคำสมาลาโทษได้เลย
ขั้นตอนในการขอขมาพ่อแม่
1. ก่อนทำพิธีขอขมาพ่อแม่ ให้อธิฐานจิตบอกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ดังนี้
“องค์พระพุทธเจ้า ลูกชื่อ……………………………. วันนี้ลูกตั้งใจจะขอขมา ขอโอสิกรรมจากคุณพ่อคุณแม่
ขอองค์พระพุทธจงบันดาลให้ลูกทำสิ่งนี้สำเร็จเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ด้วยเทอญ
แม่ซื้อ เทพยดาทั้งหลาย เจ้าที่เจ้าทาง พระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระแม่พระพาย พระแม่พระเพลิง
วันนี้ เวลานี้ ลูกชื่อ………………………….ได้ตั้งใจที่จะทำพิธีขอขมา ขออโหสิกรรมจากคุณพ่อ คุณแม่ ขอจงเป็นพยานให้ลูกด้วยเทอญ”
2. ให้พ่อกับแม่นั่งบนเก้าอี้หรือโซฟา ขณะที่เรานั่งกับพื้น พร้อมกราบท่าน 3 ครั้ง
3. ให้ยกเท้าของท่านมาล้างในกะละมังน้ำอุ่นที่เตรียมไว้ โดยขณะที่ล้างเท้าให้ท่านอยู่นั้น ก็กล่าวขอขมากรรมในสิ่งที่เคยล่วงเกินท่าน ทั้งในอดีตที่ผ่านมาและในอนาคต ทั้งกายก็ดี วาจาก็ดี ใจก็ดี หรือในสิ่งที่ทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจ ลูกกราบขออโหสิกรรมในสิ่งเหล่านั้นด้วย
4. หลังจากที่เราล้างเท้าท่านไป พูดไป จนเสร็จ ก็ให้นำเท้าของท่านมาวางบนขาเรา ซึ่งมีผ้าเช็ดเท้ารองอยู่ หลังจากนั้น ก็ให้เช็ดเท้าท่านให้แห้ง
5. เมื่อเช็ดเท้าของท่านแห้งดีแล้ว ก็ให้นำเท้าของท่านมาวางไว้บนขาเราก่อน และอธิษฐานจิตพร้อมพูดบอกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ อีกครั้งว่า “พระแม่ธรณีเจ้าขา พระแม่คงคาเจ้าขา พระแม่พระพายเจ้าขา พระแม่พระเพลิงเจ้าขา ลูกมาขอกราบขมาลาโทษ ขอเป็นทิพยญาณ นำความดีและกุศลผลบุญที่ลูกทำในครั้งนี้ ไปบอกปู่ยมราช และนายนิติยบาลให้ด้วย ให้ช่วยจดบันทึกคุณงามความดีครั้งนี้ ที่ผ่านมาลูกจะเป็นยังไงก็แล้วแต่ ลูกขอรับใช้กรรม แต่หลังจากนี้ไป ลูกกราบขอชีวิตใหม่จากบุพการี”
6. จากนั้นให้เราก้มหมอบลง และนำเท้าท่านทาวางบนหัวเรา
7. หลังจากนั้น ก็นำพานธูปเทียนแพมามอบให้กับท่าน พร้อมพูดว่า “พ่อคะ/แม่คะ ลูกขอขมา ขออโหสิกรรม ขอชีวิตใหม่ที่ดีให้ลูกด้วยนะคะ (ท่านก็จะพูดให้ศีลให้พร ให้ชีวิตใหม่กับเรา)”
8. สุดท้ายให้อธิษฐานจิตอีกครั้งถึงพระพุทธเจ้า พร้อมกล่าวว่า “ลูกชื่อ………………………..ขออนุโมทนาบุญ จากพระพุทธเจ้า ให้สำเร็จบุญนี้ให้ลูกด้วย ลูกขอนำกุศลบุญส่วนหนึ่ง อุทิศให้กับเจ้ากรรมนายเวร ที่ติดตามลูกมาแต่อดีตชาติจนปัจจุบัน ให้รับกุศลของลูก ณ บัดนี้ เดี๋ยวนี้……..(เราพูดเองต่อ ขานเอง เออเอง) รับเลยจ๊ะ รับแล้วใช่ไหมจ๊ะ สาธุ สาธุ สาธุ”
คำกล่าวขอขมาพ่อแม่
นอกจากคำกล่าวขอขมาข้างต้น ยังมีอีกหนึ่งคำกล่าวที่สามารถใช้ในพิธีขอขมาได้เช่นกัน คือ
“กายกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โยโทโส ที่ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล) ประมาทพลาดพลั้งทำผิดมาในชาตินี้ ตั้งแต่เกิด จนถึงปัจจุบัน (หากนึกเรื่องได้ เช่น เคยด่าว่าพ่อแม่ เคยขัดใจท่าน เคยเถียงท่าน ควรบอกให้หมด) หนูสำนึกแล้ว ในกรรมนั้น ขอให้พ่อและแม่ อโหสิกรรมให้กับลูกในทุก ๆ เรื่อง”
หมายเหตุ :
- กรณีที่คุณพ่อเสียชีวิตไปแล้ว หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่ได้อยู่ด้วยกัน หลังจากที่ล้างเท้าคุณแม่เสร็จแล้วบอก ขอให้คุณแม่เป็นตัวแทนคุณพ่อ พร้อมขอให้ช่วยยกโทษ และอโหสิกรรมให้แทนคุณพ่อด้วย หลังจากนั้น ให้นำพวงมาลัยกับซองเงิน มาให้คุณแม่แล้ว จึงกราบเท้าคุณแม่แทนคุณพ่อ เพิ่มอีก 3 ครั้ง
- กรณีที่คุณแม่เสียชีวิตไปแล้ว หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่ได้อยู่ด้วยกัน หลังจากที่ล้างเท้าคุณพ่อเสร็จแล้วบอก ขอให้คุณพ่อเป็นตัวแทนคุณแม่ พร้อมขอให้ช่วยยกโทษ และอโหสิกรรมให้แทนคุณแม่ด้วย หลังจากนั้น ให้นำพวงมาลัยกับซองเงิน มาให้คุณพ่อแล้ว จึงกราบเท้าคุณพ่อแทนคุณแม่ เพิ่มอีก 3 ครั้ง
- กรณีที่คุณพ่อ-คุณแม่เสียชีวิตไปแล้ว หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่ได้อยู่ด้วยกัน
สำหรับกรณีนี้ ขอให้คุณพ่อหรือคุณแม่ของแฟนเป็นตัวแทนในการขอขมา แต่ถ้าไม่มีแฟน ก็เปลี่ยนเป็นคุณปู่ย่า ตายาย แทน แต่ถ้าไม่มีอีก ก็ให้ใช้พ่อแม่บุญธรรมแทน จะใช้พ่อบุญธรรมหรือแม่บุญธรรมเพียงคนเดียวแทนทั้งสองฝ่ายก็ได้ ถ้าไม่มีพ่อแม่บุญธรรม ให้หาครูบาอาจารย์ที่เราเคารพรักจริง ๆ แทนก็ได้ พร้อมทำตามขั้นตอนเหมือนที่ขอขมากับคุณพ่อคุณแม่ทุกอย่าง
อย่างไรก็ดี ขอให้เราพึงระลึกไว้เสมอว่า พิธีขอขมากรรมต่อพ่อแม่เป็นเพียงการขอขมาให้ความผิดที่เราได้เคยกระทำต่อท่านเท่านั้น ดังนั้น หากต้องการตอบแทนท่านจริง ๆ ขอเพียงเราปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดี กตัญญูต่อท่าน ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในความรู้สึกของพ่อแม่แล้ว
การบวช เป็นศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาโดยมีขั้นตอนที่จะทำให้บุคคลธรรมดาผู้นับถือศาสนาต่างๆ กลายเป็นนักบวชของศาสนาที่ตนนับถือนั้น การบวชมักประกอบไปด้วยพิธีกรรมและแบบพิธีต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนการบวชเองนั้นก็มีความแตกต่างกันไปตามศาสนาและชื่อเรียกขาน ผู้ที่กำลังเตรียมเข้าสู่การบวชเรียกว่า ผู้เตรียมบวช
ในพระพุทธศาสนา เรียกการบวชว่าการอุปสมบท (บาลี: อุปสมฺปทา) แต่เดิมนั้น การบวชเรียกว่าบรรพชา (บาลี: ปพฺพชฺชา แปลว่า เว้นทั่ว, เว้นจากความชั่วทุกอย่าง) ปัจจุบันคำว่าบรรพชาใช้กับการบวชสามเณร ในขณะที่อุปสมบทใช้กับการบวชพระภิกษุ
การบวชโดยนัยแล้วคือ การละทิ้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่เดิม สู่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ใหม่ ตามครรลองแห่งมรรค เพื่อเป็นการง่าย เพื่อเป็นการสะดวก เป็นทางอันปลอดโปร่ง แก่การบรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ คือ ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ปราศจากมิลทิน หมดจดจากความเศร้าหมอง และเป็นอิสระจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
ในสมัยพุทธกาล การบวชมี 8 อย่าง ได้แก่
- เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นการบวชที่พระโคตมพุทธเจ้าประทานแก่พระสาวกบางองค์ด้วยพระองค์เอง ด้วยการตรัสว่า “เอหิ ภิกขุ แปลว่า เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด” พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นคนแรกและพระสุภัททะเป็นคนสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าทรงบวชด้วยวิธีนี้
- ติสรณคมนูปสัมปทา เป็นการบวชโดยให้ผู้ขอบวชเปล่งวาจาต่อหน้าพระสาวกว่าขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสามครั้ง ปัจจุบันวิธีนี้ใช้ในการบรรพชาสามเณร
- ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา เป็นการบวชโดยให้คณะสงฆ์ประชุมกันในอุโบสถ โดยมีพระภิกษุรูปหนึ่งแจ้งว่ามีผู้ขอบวช เมื่อประกาศครบสี่ครั้งไม่มีพระรูปใดคัดค้าน ถือว่าผู้ขอบวชได้รับการยอมรับให้เป็นพระภิกษุ
- ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา เป็นการบวชโดยที่พระพุทธเจ้าประทานครุธรรม 8 ประการ แก่พระนางมหาปชาบดีและสตรีชาวสากยะ 500 คน เมื่อพวกนางยอมรับครุธรรมก็ได้รับสถานะเป็นภิกษุณี
- อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา เป็นการบวชภิกษุณีโดยให้รับญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาจากภิกษุณีสงฆ์ก่อนครั้งหนึ่ง และจึงรับญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาจากภิกษุสงฆ์อีกครั้ง เมื่อผ่านการอุปสมบททั้งสองครั้งแล้วจึงเป็นภิกษุณี
- โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทแก่พระมหากัสสปะ เมื่อท่านรับโอวาทแล้วก็เป็นพระภิกษุ
- ปัญหาพยากรณูปสัมปทา เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาของสามเณรโสปาก
- ทูเตนอุปสัมปทา เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงส่งทูตของพระองค์ไปบวชหญิงโสเภณีชื่ออัฑฒกาสี
ชุดเครื่องบวชพระภิกษุสงฆ์ ประกอบไปด้วย
- ไตรครอง ประกอบด้วยอัฐบขาล 7 อย่าง
- ไตรอาศัย (สบง, จีวร, อังสะ)
- ไตรคู่สวด – อุปัชฌาย์
- ชุดนาค (เสื้อครุยนาค, สบงขาว, ผ้าสไบ)
- บาตรครบชุด
- ตาลปัตร
- ย่าม
- อาสนะ
- ต้นเทียนถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
- กรวยขมา ถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
- ธูป เทียน แพ พาน
- เสื่อ
- ที่นอนพระ
- หมอน
- มุ้ง
- ผ้าเช็ดตัว – ผ้าเช็ดหน้า
- ผ้าห่ม
- ปิ่นโต
- กระโถน
- จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ
- รองเท้าแตะ
ประเพณีการบวช ถือเป็นประเพณีที่เคร่งครัด เชื่อว่าการบวชสามารถอบรมให้เป็นคนดีได้
ผู้ชายเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป มักจะบวชเรียน ก่อนเข้าพรรษา (แรม 1 ค่ำ เดือน 8) ผู้ชายจะเข้าพิธีบวชพร้อมๆ กัน และประเพณีการบวชจะมีการกวนขนมชนิดหนึ่ง คือ “ยาหนม” เป็นขนมที่ต้องมีในงานบวช
พิธีการบวช
1. ตอนเย็นก่อนบวชจะมีพิธีโกนหัวนาค ณ โรงพิธีประชุมวงฆ์ นาคทั้งหลายจะรับศีล อาราธนาพระปริตรพระสงฆ์พรมน้ำมนต์และสระผมนาค ผู้ที่โกนหัวอาจเป็นพระสงฆ์หรือพ่อแม่ จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะโกนด้วยเล็กน้อย
2. หลังจากนั้นอาบน้ำ เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวนุ่งขาว ห่มขาว เรียกว่า “เจ้านาค”
3. กลางคืนจัดให้มีพิธีสงฆ์เรียกว่า “การสวดผ้า” เจ้านาคต้องมีไตรจีวร และจะมีการทำขวัญนาคด้วยในคืนนี้
4. จะมีการแห่นาคในวันบวชวันรุ่งขึ้น แห่รอบโบสถ์ 3 รอบ เป็นการบูชาพระพุทธศาสนา ขณะที่แห่จะมีการว่าเพลง “คำตัก”
5. เมื่อครบ 3 รอบ นาคจะจุดธูปเทียน บูชาพัทธสีมา มีการกรวดน้ำ
6. หลังจากนั้นญาติจะช่วยกันอุ้มนาคเข้าอุโบสถ ห้ามเหยียบธรณีประตู พ่อแม่นาคส่งไตรครองให้นาค เพื่อถวายพระอุปัชฌาย์ ถวายพระกรรมวาจาจารย์ (พระคู่สวด) และพระอนุสาวนาจารย์ ท่านละ 3 กรวย จากนั้นกล่าวคำขอบรรพชา รับศีล 10 พระอุปัชฌาย์คล้องบาตรสะพาย พระคู่สวดจะประกาศว่าผู้ชื่อนั้นๆ ได้มาขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วตั้งคำถามเป็นข้อๆ เรียกว่า “ขานนาค”
7. เมื่อขานนาคเสร็จ นาคขออุปสมบทต่อคณะสงฆ์ คณะสงฆ์กล่าว อนุศาสน์ (ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติขณะที่บวช)
8. เมื่อจบอนุศาสน์ พระบวชใหม่ถวายของบูชาพระคุณแก่คณะสงฆ์ จากนั้นรับของถวายเครืองไทยธรรมจากญาติ ขณะเดียวกันจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา มารดา ญาติเป็นอันเสร็จพิธี
พิธีศพ หรือ งานศพ เป็นพิธีที่จัดขึ้นในโอกาสการเสียชีวิตของบุคคล ประเพณีเกี่ยวกับงานศพนั้นแตกต่างไปตามวัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา ที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น งานศพไทยพิธีฌาปนกิจ พิธีงานศพไทยเมื่อถึงจุดสิ้นสุดของวัฏจักรในการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ เมื่อร่างกายของเราไร้ลมหายใจ เมื่อสังขารถึงคราวดับขันธ์ สิ่งสำคัญที่จะต้องเกิดขึ้นหลังจากนั้นก็คือ การทำพิธีศพ ซึ่งถือเป็นความเชื่อสืบต่อจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ว่าเป็นหนทางในการส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่ภพภูมิที่ดี และเพื่อเป็นเครื่องย้ำเตือนจิตใจของผู้ที่ยังคงเวียนว่ายอยู่ในโลกปัจจุบัน ถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร ซึ่งอาจจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้คนรอบข้างตระหนักถึงการสะสมบุญ โดยหมั่นสร้างความดีในขณะที่ยังมีชีวิต เพื่อที่ชาติภพต่อไปจะได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์อีก
การจัดงานศพ ต้องเตรียมอะไรบ้าง ?
ความตาย เป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้นได้เลย จะต่างกันก็เพียงแต่จะช้าหรือจะเร็วเท่านั้นเอง ฉะนั้นแล้วตอนมีชีวิตอยู่เราก็ต้องใช้ชีวิตให้มีความสุข เพราะสักวันเราจะต้องถึงแก่ความตาย และหน้าที่เตรียมงานก็เป็นของลูก หลาน ญาติ พี่ น้องที่ต่อไป การดำเนินการเกี่ยวกับ พิธีศพ ตามลัทธิประเพณีนิยม เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ตายและเป็นการไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้ายให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว งานศพ เป็นงานที่เต็มไปด้วยความโศกเศร้าของเจ้าภาพ และญาติพี่น้อง ผู้ร่วมงานทุกท่านจึงอยู่ในความสำรวมในทุกพิธีการ ซึ่งในแต่ละพิธีการจะมีข้อปฏิบัติและสิ่งของที่ควรจัดเตรียมในงานศพ ดังนี้
พิธีรดน้ำศพ เริ่มต้นหลังจากนำศพใส่โลงเรียบร้อยแล้ว เป็นพิธีที่ทำเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่ล่วงลับ โดยเจ้าภาพมักจะเชิญคนสนิท ญาติ หรือคนที่รู้จักไปร่วมพิธีรดน้ำศพ โดยทำการเคารพศพ และเทน้ำอบที่ได้จัดเตรียมไว้ลงบนฝ่ามือ และอโหสิกรรมให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
พิธีสวดอภิธรรม เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศบุญส่วนกุศล และระลึกถึงคุณความดีของผู้ที่ล่วงลับ ด้วยการนิมนต์พระ จำนวน 4 รูป เพื่อมาสวดบทอภิธรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ซึ่งโดยปกติแล้วในงานสวดอภิธรรมมักจะนิยมสวด 1 คืน 3 คืน 5 คืน และ 7 คืน
ในส่วนนี้เองเจ้าภาพต้องมีการจัดเตรียม “สังฆทานงานศพ” หรือเครื่องไทยธรรม และสบง จำนวน 4 ชุด เพื่อถวายพระสวดอภิธรรม และบังสุกุลให้กับผู้เสียชีวิตในแต่ละคืน พร้อมปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่กำลังศรัทธา
หลังเสร็จพิธีงานสวดอภิธรรมในแต่ละคืน ในรุ่งเช้าเจ้าภาพหรือญาติจะช่วยกันหามโลงศพเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ที่ล่วงลับ โดยการวนซ้ายของเมรุจำนวน 3 รอบ เปรียบเสมือนการเวียน
นอกจากนี้ สังฆทานที่ต้องเตรียมแล้วนั้น ยังมีสิ่งของอย่างอื่นที่ต้องเตรียมอีก ดังนี้
- โลงศพ
- อุปกรณ์ หมอน-ผ้าขาว-สายสินธุ์-กระดาษกาว-ตะปู-กระถางธูป-ตะเกียบ
- ผ้าคลุมศพ
- เหรียญโปรยซื้อทาง
- ชุดรดน้ำศพ มาลัยข้อมูล+มะลิกุหลาบ+น้ำอบไทย
- อาหารและเครื่องดื่มเลี้ยงแขก
- อาหารไหว้ศพ เช้า-เย็น
- อาหารเลี้ยงเพลพระ
- ผ้าไตรเต็มเครื่องไทยธรรม 1 ชุด (สำหรับกัณฑ์เทศน์)
- ดอกไม้จันทน์และช่อเชิญ
- ผ้าสบง
- เครื่องไทยธรรม/สังฆทาน ดอกไม้ถวายพระ ซึ่งสังฆทานนั้นก็เป็นชุดสังฆทานที่บรรจุสิ่งของที่พระภิกษุสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เหมือนสังฆทานอื่นๆ โดยสิ่งของที่นำไปถวายนั้นต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานนั่นเอง
ในช่วงชีวิตคนเรา มีความผูกพันกับพิธีศพอยู่หลายครั้ง เมื่อชีวิตเดินทางมาถึงช่วงที่คนรอบข้างกลายเป็นใบไม้ที่ร่วงโรย เมื่อชีวิตเริ่มเติบโตและได้เห็นการล้มหายตายจากของคนที่เรารัก เมื่อนั้นก็จะเกิดความเข้าใจในสัจธรรมต่างๆ มากขึ้น มีเกิด ก็ต้องมีแก่ เมื่อมีแก่ ก็ต้องมีเจ็บและตายเป็นธรรมดาของสังขาร เป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ล้วนแล้วแต่จะต้องเผชิญหน้า และเมื่อถึงวาระที่เราต้องเผชิญ สิ่งที่เราจะได้รับจากการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ก็คือ การจัดพิธีศพเพื่อระลึกถึงเป็นครั้งสุดท้าย
ทั้งนี้จึงอยากให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับพิธีฌาปนกิจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำพิธีศพ โดยสืบทอดกันมายาวนาน ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญสุดท้ายก่อนร่างกายของผู้ล่วงลับจะสูญสลายไปสู่ภพภูมิใหม่
คำว่า ปฏิบัติธรรม นั้น หมายความว่าอย่างไร ปฏิบัติธรรมก็คือ เอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ เอามาใช้ดำเนินชีวิตทำการทำงาน คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง ทำให้เป็นชีวิตที่ดีมีความสุขนั่นเอง
เมื่อปฏิบัติธรรมก็หมายถึงว่า เอาธรรมมาใช้ในชีวิตจริง หรือเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต ถ้ายังไม่ได้ใช้ ก็ไม่เรียกว่าเป็นการปฏิบัติพูดง่ายๆ จึงว่า การปฏิบัติธรรมคือการเอาธรรมมาใช้นั่นเอง ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของเรา
เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมก็จึงเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่เฉพาะการที่จะปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่ที่วัด ไปอยู่ที่ป่า แล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิอะไรอย่างนั้น ไม่ใช่แค่นั้น อันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เป็นการพยายามนำธรรมมาใช้ในขั้นลึก ในการที่จะฝึกฝนจิตใจอย่างจริงๆ จังๆ
ถ้าจะเรียกเป็นภาษาสมัยใหม่ การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้นก็เรียกว่าเป็นการปฏิบัติแบบ intensive เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง
ที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลา เรานั่งกันอยู่ในที่นี้ ก็ต้องมีการปฏิบัติธรรม คือเอาธรรมมาใช้ เมื่อปฏิบัติสิ่งนั้น ทำสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง ก็เป็นการปฏิบัติธรรม
เมื่อทำงานหรือทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง ตั้งใจทำให้ดี ให้เกิดคุณประโยชน์ ให้สำเร็จความมุ่งหมายที่ดีงาม ก็เป็นการปฏิบัติธรรม
ดังนั้น ถ้าตนมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน แล้วศึกษาเล่าเรียนอย่างถูกต้อง มีความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจเล่าเรียน เล่าเรียนให้ได้ผล ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เช่น เล่าเรียนโดยมีอิทธิบาท ๔ มีฉันทะ พอใจรักในการเรียนนั้น มีวิริยะ มีความเพียร ใจสู้ มีจิตตะ เอาใจใส่ รับผิดชอบ มีวิมังสา คอยไตร่ตรอง ตรวจสอบ ทดสอบ ทดลองให้ได้ผลดียิ่งขึ้นไป อย่างนี้ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรม
หรือในการทำงานก็เหมือนกัน เมื่อมีอิทธิบาท ๔ เอาอิทธิบาท ๔ มาใช้ในการทำงานนั้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรม
แม้แต่ออกไปในท้องถนน ไปขับรถ ถ้าขับโดยรักษากฎจราจร ขับเรียบร้อยดีไม่ประมาท มีความสุภาพ หรือลึกเข้าไป แม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใสสบายใจในเวลาที่ขับรถนั้นได้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรมในระดับต่างๆ
แล้วแต่ว่าใครจะสามารถเอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือในการทำกิจหน้าที่นั้นๆ ให้ได้ผลแค่ไหนเพียงไร ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรมทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงนั้น ต้องมีอยู่ตลอดเวลา เพราะเราทุกคนมีหน้าที่ต้องดำเนินชีวิตให้ดีงามถูกต้องแม้แต่การนั่งฟังปาฐกถานี่ก็มีการปฏิบัติธรรม เมื่อตั้งใจฟัง ฟังเป็น ใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่รับฟังนั้น ทำให้เกิดปัญญาขึ้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมทั้งนั้น
ปฏิบัติธรรมแล้วได้อะไร ?
ต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจะปฏิบัติไปเพื่ออะไรพระพุทธองค์ทรงแย้มพระโอษฐ์ตรัสว่า ตถาคตสามารถบอกเธอถึงสิ่งที่หายไปนั้นก็คือความโกรธได้หายไป ความหม่นหมองวิตกกังวลก็หายไป ความเศร้าท้อแท้ก็หายไป
ความกังวลไม่สบายใจได้หายไป ความเห็นแก่ตัว โลภะ โทสะ โมหะพิษร้ายทั้งสามก็หายไป อวิชาคือความไม่รู้ที่ปิดกั้น ปุถุชนทั้งหลายก็ได้สูญสิ้นไป
กล่าวสรุปคือ “การปฎิบัติธรรมช่วยให้เราเตรียมใจรับมือกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และสิ่งต่างๆ รวมถึงความคิดของตัวเราเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมบังคับบัญชาได้ การเข้าใจในความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ความไม่มีตัวตนของตัวเราและสรรพสิ่งต่างๆ จะช่วยให้สามารถเผชิญอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความพลัดพรากจากคนรัก ของรัก ความสูญเสีย ความผิดหวัง ความเจ็บป่วย ความตายของคนที่รัก หรือแม้แต่ความตายที่ใกล้เข้ามาของตัวเราเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้
ข้อดีของการปฏิบัติธรรมคือ ช่วยให้เราคลายความเศร้าหมองได้เร็วขึ้น สามารถรับมือและเอาชนะความทุกข์ที่ผ่านเข้ามาได้ดีมากยิ่งขึ้น”
เป็นอันว่า การปฏิบัติธรรมนี้ เป็นเรื่องที่กว้างมาก หมายถึง การนำเอาธรรมมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิต หรือการทำกิจทำงานทำหน้าที่ให้ถูกต้อง ทำทุกเรื่องทุกอย่างให้ถูกต้อง ให้ดี ให้เกิดผลเป็นประโยชน์ เพื่อจะได้เข้าถึงชีวิตที่ดีงามมีความสุขที่แท้จริงนั่นเอง เป็นการปฏิบัติธรรม
ผ้าอาบน้ำฝน ถึงแม้ว่าไม่ได้จัดอยู่ในชุดไตรจีวร แต่ก็หมายถึงเครื่องนุ่งห่มอันจำเป็นสำหรับพระภิกษุสงฆ์เช่นกัน การถวายผ้าอาบน้ำฝนให้พระภิกษุนั้น ก้เพื่อให้ท่านได้ใช้สำหรับอาบน้ำในช่วงฤดูฝน ซึ่งจัดเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาเพียงปีละครั้งก่อนเข้าพรรษา คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 7 เป็นต้อนไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 โดยจะเลือกช่วงเวลาไหน วันใด ก้ได้ในช่วงเวลานี้
ซึ่งขนาดของผ้าอาบน้ำฝนนั้นกำหนดมาตราฐานไว้ว่า จะต้องมีความยาวของผ้า 4 ศอก กับ 3 กระเบียด กว้างศอกคืบ 4 นิ้ว 1 กระเบียด กับ 2 อนุกระเบียดคิดตามประมาณของช่างไม้ จะยาวหรือกว้างหว่านั้นไม่ได้ จะเป็นโทษแก่พระภิกษุสงฆ์
พิธีการและขั้นตอนการถวายผ้าอาบน้ำฝน
1. เมื่อถึงวันกำหนดแล้ว พึงประชุมพร้อมกันตามสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ จะเป็นพระอุโบสถ หรือศาลาการเปรียญ นำผ้าอาบน้ำฝน 1 ผู้นำและของถวายอย่างอื่นเป็นบริวาร เช่น ร่ม พุ่มเทียน ไม้ขีด สบู่ ยาสีฟัน กระดาษชำระ ฯลฯ
2. เมื่อพระสงฆ์ลงประชุมเรียบร้อยแล้ว ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวคำถวาย
3. เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จแล้ว เจ้าของผ้าประเคนผ้าแก่พระภิกษุผู้จับได้ฉลากของตนเป็นราย ๆ ต่อไป 4. เสร็จการประเมินแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา ทายกกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว
อานิสงส์ ของการถวายผ้าอาบน้ำฝน
การถวายผ้าอาบน้ำฝนมีความเชื่อที่ถือกันมานานว่า ผู้ใดที่ถวายผ้าอาบน้ำฝนให้กับพระภิกษุสงฆ์ จะถือว่าเป็นการทำบุญที่ช่วยทำนุบำรุงและสนับสนุนพระศาสนาให้คงอยู่สืบไป และเพื่อมิให้พระภิกษุสงฆ์ต้องลำบากในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน แต่จะได้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัตธรรมตามหลักคำสอนของพุทธศาสนาและช่วยเผยแผ่ให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบไป และผู้ทืได้บริจาคผ้าอาบน้ำฝน ก็จะได้พบแต่ความสุขความเจริญ จะมั่งมีด้วยทรัพย์สินเงินทองและบริวารมากมาย เมื่อสิ้นบุญไปแล้วก็จะไปเกิดเป็นเทพบตรเทพธดาบนสรวงสวรรค์เสวยทิพยสมบัติสืบไป
การถวายสังฆทาน เครื่องสังฆทาน เป็นการถวายสิ่งของรวมทั้งสังฆภัณฑ์แก่พระภิกษุโดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นรูปใด แม้ว่าในการถวายนั้นจะมีพระสงฆ์มารับประเคนเพียงรูปเดียว แต่หากจุดประสงค์ในการถวายทานมีจุดมุ่งหมายเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์โดยรวมแล้วล่ะก็ถือว่าเป็นสังฆทานทั้งสิ้น
ความเป็นมาในการถวายสังฆทาน
การถวายสังฆทานมีที่มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยเริ่มจากพระนางมหาปชาบดีซึ่งมีศักดิ์เป็นพระน้านางและพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้าได้นำผ้าใหม่ที่พระนางได้ทรงกรอด้ายและทอขึ้นมาเองเพื่อตั้งใจนำมาถวายพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ทรงให้พระนางนำผ้านั้นถวายแด่หมู่สงฆ์เพื่อให้ได้อานิสงส์ที่มากกว่าถวายผ้าแด่พระพุทธองค์เพียงผู้เดียว พระนางทรงทำตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสบอกไว้ ดังนั้นจึงเป็นที่ของการถวายสังฆทานของชาวพุทธเนื่องจากมีความเชื่อกันว่าได้บุญมากและได้อานิสงส์ที่มากกว่าการถวายทานแด่พระสงฆ์ที่จำเพาะเจาะจงเพียงรูปเดียว
อานิสงส์ในการถวายสังฆทาน
ชาวพุทธมีความเชื่อกันว่าการถวายสังฆทานได้บุญและได้อานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่าผลของสังฆทานจะส่งให้แก่ผู้ถวายไปทุกภพทุกชาติ ทำให้ไม่ต้องพบเจอกับความขัดสนยากจน ซึ่งผลของสังฆทานจะส่งไปไกลมากจนแม้พระพุทธองค์ก็ยังทรงมองไม่เห็นที่สุดของผลนั้น แม้กระทั่งเข้าสู่พระนิพพานแล้วผลของสังฆทานนั้นก็ยังไม่หมดสิ้น
เครื่องสังฆภัณฑ์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
สังฆภัณฑ์โดยความหมายตามคำศัพท์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นของพระสงฆ์ และยังรวมถึงเครื่องใช้ที่ใช้ในพิธีการทางศาสนาอีกด้วย เมื่อจะทำบุญถวายสังฆทาน ในงานบุญหรืองานมงคลต่างๆ สามารถเตรียมเครื่องสังฆภัณฑ์หรือซื้อเครื่องสังฆภัณฑ์จากร้านจำหน่ายโดยเฉพาะ ซึ่งทางร้านจะจัดเตรียมของที่จำเป็นบรรจุเอาไว้เป็นชุดเพื่อความสะดวกในการถวายพระสงฆ์
หากจะซื้อหาสังฆภัณฑ์หรือจัดเตรียมชุดสังฆภัณฑ์ด้วยตนเอง ควรเลือกสิ่งของที่มีคุณภาพและมีความจำเป็นต่อพระสงฆ์จริงๆ เพราะการเลือกของที่มีคุณภาพของสังฆทาน นอกจากจะให้ประโยชน์แก่พระสงฆ์อย่างแท้จริงแล้ว ในความเชื่อทางพุทธศาสนายังถือว่าการถวายทานด้วยของที่ดีมีคุณภาพถือเป็นอานิสงส์อันยิ่งใหญ่อีกด้วย
สิ่งของที่สามารถนำมาจัดเป็นชุดสังฆภัณฑ์ ประกอบไปด้วย
1. ผ้าไตรจีวร เป็นผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่มซึ่งประกอบไปด้วยผ้าสามผืนคือจีวร ,สบง และ อังสะ ซึ่งผ้าไตรจีวรประเภทนี้เป็นผ้าไตรจีวรที่พระภิกษุใช้นุ่งห่มในชีวิตประจำวัน แต่หากเป็นผ้าไตรชุดใหญ่จะเป็นผ้าไตรที่ใช้ในการบวชพระ ซึ่งผ้าไตรชนิดดีๆ ที่สามารถนำมาจัดชุดสังฆภัณฑ์ได้นั้นควรเลือกผ้าที่มีความแข็งแรงทนทาน มีการตัดเย็บที่ดี สามารถใช้งานได้ทนทาน อีกทั้งยังสามารถระบายอากาศได้ดี เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองที่มีอากาศค่อนข้างร้อน ซึ่งหากเลือกผ้าที่มีคุณภาพต่ำก็จะทำให้อายุการใช้งานไม่คงทน พระภิกษุไม่สามารถนำไปใช้งานได้เต็มที่ตามจุดประสงค์ของผู้ถวาย ซึ่งผ้าไตรจีวรดีๆ นั้นมักตัดเย็บมาจากผ้ามัสลิน รองลงมาคือผ้าซันฟอไรซ์ ส่วนผ้าโทเรนั้นมีราคาถูกและมีอายุการใช้งานที่ไม่ทนทานนัก มีความเชื่อว่าการถวายผ้าไตรแด่พระสงฆ์ อานิสงส์ถวายผ้าไตร จะส่งผลให้นุ่งห่มอะไรก็งาม ไม่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มดีๆ ผิวพรรณงดงาม หากอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับก็จะทำให้ท่านเหล่านั้นได้รับเครื่องทรงทิพย์
2. ใบมีดโกน ควรเลือกที่มีคุณภาพดี เพราะพระภิกษุต้องใช้โกนผมทุกวันโกน การเลือกมีดโกนที่มีคุณภาพดีจะทำให้ใช้งานได้นาน ถ้าจะให้ดีควรเลือกมีดโกนแบบใบมีด 2 ด้าน เพราะสะดวกในการใช้งาน มีความเชื่อกันว่าการถวายมีดโกนแด่พระสงฆ์จะทำให้ผู้ถวายเป็นผู้ที่มีสมาธิดี ทำการสิ่งใดก็มีความละเอียดรอบคอบ
3. รองเท้า เพื่อให้พระภิกษุได้ใส่เดินไปทำกิจต่างๆ ควรเลือกแบบที่มีความทนทาน ไม่ลื่น และสีของรองเท้าต้องเลือกสีที่ออกไปทางสีน้ำตาลและไม่มีลวดลายจึงจะถูกต้องตามพระวินัย ซึ่งอานิสงส์ของการถวายรองเท้าจะทำให้เป็นผู้ที่มีบริวารมาก
4. ยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาที่ใช้รับประทานเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างง่ายๆ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้, ยาแก้ปวดท้อง, ยาใส่แผล, พลาสเตอร์ปิดแผล เป็นต้น ในความเชื่อของชาวพุทธผู้ที่ถวายยารักษาโรคจะได้รับอานิสงส์คือจะเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย
5. ผ้าขนหนูเนื้อดี ที่สามารถซับน้ำและระบายความชื้นได้ดีทำให้เนื้อผ้าไม่อับชื้น ตากแล้วแห้งเร็ว อีกทั้งเนื้อผ้าที่ดีจะทำให้ใช้งานได้ทนนาน ผ้าขนหนูสามารถเลือกใช้สีสุภาพโดยไม่จำเป็นต้องใช้สีเหลืองก็ได้
6. อุปกรณ์เครื่องเขียนและหนังสือสวดมนต์ เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับพระภิกษุเพื่อใช้ในการจดบันทึกต่างๆ รวมถึงใช้เพื่อเล่าเรียนศึกษาพระธรรมวินัย การถวายหนังสือสวดมนต์จะมีอานิสงส์คือทำให้เป็นผู้มีสติปัญญาดี
7. น้ำยาทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างจานและน้ำยาทำความสะอาดพื้น อาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่สามารถทำความสะอาดได้อย่างอ่อนโยนและไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอานิสงส์ของการถวายน้ำยาทำความสะอาดคือทำให้เป็นผู้ที่มีผิวพรรณงดงาม หากเป็นโรคใดๆ เกี่ยวกับผิวพรรณก็จะมีอาการทุเลาลง
8. ร่มพระ เพื่อช่วยให้พระภิกษุเดินทางทำกิจต่างๆ ได้โดยสะดวกราบรื่น ช่วยป้องกันแดดและฝน ซึ่งอานิสงส์ของการถวายร่มก็คือจะทำให้เป็นผู้ที่มีความสุขร่มเย็น อยู่ที่ใดก็มีแต่ความสุขสบาย ไม่เดือดร้อน
การเลือกซื้อชุดสังฆภัณฑ์
หากไม่มีเวลาหรือไม่สะดวกที่จะจัดเตรียมเครื่องสังฆภัณฑ์ด้วยตนเอง สามารถเลือกซื้อได้จากร้านสังฆภัณฑ์โดยเลือกจากร้านที่จำหน่ายของดีมีคุณภาพ และต้องเป็นชุดสังฆภัณฑ์ จัดชุดสังฆทาน ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีเครื่องหมาย อย.และมีฉลากรายละเอียดติดอยู่ที่สังฆภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในชุดสังฆภัณฑ์, วันผลิต, วันหมดอายุ และราคาอย่างชัดเจน
2. สังฆภัณฑ์บรรจุอยู่ในหีบห่อที่แข็งแรง มิดชิด ไม่ฉีกขาด เพื่อให้แน่ใจว่าของที่บรรจุอยู่ภายในนั้นได้รับการปกป้องอย่างดีเพื่อรักษาคุณภาพของสังฆภัณฑ์
3. พิจารณาดูว่าผลิตภัณฑ์ที่ประกอบเป็นเครื่องสังฆภัณฑ์นั้นเป็นของที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ ที่พระภิกษุสามารถใช้งานได้จริง
4. สังฆภัณฑ์ที่ดีจะต้องแยกสารเคมีและของใช้ออกจากกัน เพื่อไม่ให้เกิดการไหลซึมเปื้อนหรือปนเปื้อนสารเคมีเพื่อให้พระภิกษุได้ใช้ของที่บรรจุอยู่ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่
การถวายสังฆภัณฑ์แด่พระภิกษุสงฆ์สามารถทำได้ในหลายโอกาส ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ,วันสำคัญทางพุทธศาสนา,วันมงคลอย่างงานแต่งงานหรือขึ้นบ้านใหม่,วันเกิด และถวายในโอกาสใดก็ได้ที่อยากทำบุญ โดยสังฆภัณฑ์ที่จะถวายพระนั้น หากเป็นสังฆภัณฑ์ที่มีอาหารบรรจุอยู่ด้วยควรถวายก่อนเที่ยงเพื่อไม่ให้เป็นการผิดวินัยสงฆ์ ส่วนสังฆภัณฑ์ที่เป็นของใช้สามารถถวายในเวลาเช้าหรือเวลาหลังเที่ยงก็ได้ และการถวายสังฆภัณฑ์นั้นสามารถถวายโดยระบุพระภิกษุสงฆ์ที่ต้องการถวายหรือจะถวายเป็นส่วนกลางโดยไม่กำหนดพระภิกษุผู้รับก็ได้ การเลือกสังฆภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี และถูกต้องตามพระวินัยเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ทั้งผู้ถวายและผู้รับ ผู้ถวายจะได้รับความสบายใจและความอิ่มใจ ในขณะที่ผู้รับก็ได้ใช้ประโยชน์จากสังฆภัณฑ์ที่ได้รับนั้นได้อย่างเต็มที่
สำหรับชาวพุทธแล้ว คงไม่มีใครไม่เคยถวายสังฆทาน เพราะการถวายปัจจัยให้พระสงฆ์ถือเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวผู้ทำ อีกทั้งยังช่วยให้จิตใจสงบอีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ไม่ใช่ว่าเราจะนำสิ่งของต่าง ๆ ไปมอบให้พระสงฆ์ได้เลย ทั้งนี้เราควรทำตามวิธีปฏิบัติที่สืบต่อกันมายาวนาน รวมถึงเลือกสิ่งที่ของที่มีความจำเป็นต่อพระสงฆ์ให้มากที่สุด ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เตรียมของที่จะถวายสังฆทาน
ตามปกติแล้วเราจะเลือกซื้อถังสังฆทานที่ถูกจัดเป็นชุดตามร้านร้านสังฆภัณฑ์ ซึ่งบางร้านก็บรรจุของน้อย หรือนำของที่ไม่ได้คุณภาพมบรรจุใส่ถัง บางอย่างก็ค้างนานจนหมดอายุการใช้งาน ทำให้พระไม่สามารถนำไปใช้ได้ มีแต่ต้องทิ้งให้เสียของ ดังนั้นหากมีเวลา การจัดเตรียมของเองจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า โดยเฉพาะสิ่งของต่อไปนี้ที่มีความจำเป็นต่อพระสงฆ์มาก แต่น้อยครั้งนักที่ถูกบรรจุอยู่ในถัง
– เครื่องเขียนและอุปกรณ์การเรียน เนื่องจากมีพระสงฆ์บางรูปที่ยังศึกษาเล่าเรียนอยู่ จึงทำเป็นต้องใช้สิ่งของเหล่านี้
– มีดโกน ควรเลือกมีดโกนที่มีคุณภาพ โกนได้สะอาดเกลี้ยงเกลา เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของพระสงฆ์เวลาปลงผม
– ผ้าไตรจีวร เนื่องจากผ้าไตรจีวรที่อยู่ในชุดสังฆทานมักเป็นของที่ไม่ได้ขนาด และมีเนื้อผ้าไม่เหมาะสม
– หนังสือธรรมะ หรือหนังสือให้ความรู้อื่น ๆ
– รองเท้า โดยรองเท้าที่นำมาถวายสังฆทาน ควรเป็นรองเท้าที่เหมาะกับสถานที่นั้น ๆ โดยสามารถสอบถามข้อมูลจากเจ้าอาวาสหรือเจ้าหน้าที่วัดก่อนไปได้
– ยารักษาโรค ควรเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีคุณภาพ และใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน
– ผ้าขนหนู ควรเลือกผืนที่ไม่มีลวดลายฉูดฉาด สามารถเลือกสีอื่น ๆ นอกจากสีเหลืองได้
– เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา
– ผลิตภัณฑ์และชุดอุปกรณ์ทำความสะอาด
– แชมพูสระผม เนื่องจากพระสงฆ์ต้องใช้ในการชำระล้างศรีษะก่อนการปลงผม
- เลือกวัดที่ต้องการถวาย
โดยขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ที่ทำบุญ สามารถทำไกลหรือใกล้บ้านก็ได้ จากนั้นจึงพบเจ้าอาวาสเพื่อแจ้งความประสงค์ว่าต้องการถวายสังฆทาน
- จุดธูปบูชาพระรัตนตรัย
เมื่อกราบพระเสร็จแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปคือการอาราธนาศีลและรับศีล โดยหลังจากรับศีลจบให้ท่องนะโม 3 จบ แล้วท่องคำถวายสังฆทาน
- ประเคนสังฆทานให้พระสงฆ์
หากเป็นผู้ชายสามารถประเคนให้พระได้โดยตรง แต่หากเป็นผู้หญิง ให้วางสิ่งของนั้น ๆ ลงบนผ้ารับประเคน ไม่ควรถวายให้พระสงฆ์โดยตรง
- หลังฟังพระกล่าวคำอนุโมทนา
ให้ผู้ถวายสังฆทานทำการกรวดน้ำ เพื่อส่งผลบุญที่ได้ทำให้แก่ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร เป็นต้น
แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการไปวัด ทำบุญ ถวายสังฆทาน เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค หรือเรียกว่า การไปวัดทำบุญในยุคนิวนอร์มอลนั่นเอง
การไปทำบุญที่วัด อาจทำให้เราต้องสัมผัสสิ่งของต่างๆที่ใช้ร่วมกันเวลาทำบุญ และอาจเสี่ยงพาเชื้อโควิดกลับบ้านโดยไม่รู้ตัว วันนี้ ธาราญา ได้รวบรวมจุดเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้มาไว้ที่นี่แล้ว เพื่อให้ทุกคนระวังตัว ก่อนจะสัมผัสสิ่งของภายในวัด ในการดำเนินชีวิตวิถีใหม่หรือยุคนิวนอร์มอลนั้น ไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบของการจัดพิธีกรรมทางศาสนาแต่อย่างใด เพียงแต่เพิ่มเติมระบบการจัดการและการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมสำหรับงานที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือการแพร่เชื้อโควิด-19 โดยมีมาตรการดังนี้
1.จุดตัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิผู้ร่วมงานก่อนเข้าพื้นที่
2.จุดลงทะเบียน เตรียมกระตาษลงทะเบียนไว้ให้ผู้ร่วมงานทุกคนลงชื่อ เบอร์ติดต่อ เพราะหากมีใครคนใดคนหนึ่งตรวจพบว่าติดเชื้อจะสามารถติดตามตัวผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ให้กักตัว และเข้ารับการตรวจได้ทันท่วงทีเมื่อมีอาการ
3.จัดเตรียมจุดล้างมือด้วยสบู่ อุปกรณ์ล้างมือ เช่น แอลกอฮอล์เจลไว้บริเวณทางเข้าประตูทางเข้า-ออก ให้เพียงพอ
4.กรณีที่มีการจัดพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การนั่งสมาธิ สวดมนต์ ควรกำหนดระยะห่าง1-2 เมตร
5.ใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานที่
6.ทำความสะอาดพื้นที่ บริเวณพื้นผิว อุปกรณ์ที่มีการสัมผัสร่วมกัน และเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดภายในสถานปฏิบัติธรรมในพื้นที่หรือจุดที่มีการสัมผัสร่วมอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
7.หากมีอาหารเลี้ยงแขก ควรจัดเป็นกล่องแจกให้กินเป็นคนๆ ไม่จัดกับข้าวเป็นชุดเพื่อกินร่วมกัน
จุดเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ในวัดที่ต้องระวัง
1.อุปกรณ์สำหรับพิธีสงฆ์และพิธีกรรม เช่น เชิงเทียน หมอนรองกราบ ขันน้ำมนต์ ชุดกรวดน้ำ
2.เครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์และญาติโยม เช่น อาสน์สงฆ์ เก้าอี้ โต๊ะ
3.สิ่งของที่จับบ่อย เช่น กล่องรับบริจาค ไม้เคาะระฆัง
4.พื้นที่ภายในโบสถ์ ศาลา และกุฎิ
5.โรงทาน พื้นที่เตรียมอาหารและพื้นครัว
6.ห้องน้ำ ลูกบิด ก๊อกน้ำ สายชำระ โถส้วม และพื้นห้องน้ำ
ป้องกันโควิด-19 เมื่อไปทำบุญที่วัด
1.หากรู้สึกป่วยไม่สบาย มีไข้สูง มีอาการไอ จาม มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตัว เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ไม่ควรไปวัด
2.ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ทั้งก่อนและหลังร่วมงานแล้ว
3. ไม่ดื่มเหล้าในวัด วัดเป็นสถานที่ห้ามขายและห้ามดื่มเหล้า การดื่มเหล้าในวัดผิดกฎหมายฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4.ไม่สูบบุหรี่ในวัด วัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ การสูบบุหรี่ในวัดผิดกฎหมาย ฝ่าฝืนมีโทษ ปรับ 5,000 บาท
5.รักษาระยะห่างระหว่างพระสงฆ์และญาติโยม หรือคนอื่นๆ 1-2 เมตร งดการพูดคุยแบบใกล้ชิด
6.พระสงฆ์ ญาติโยม และเจ้าหน้าที่ในวัด ต้องสวมหน้ากากตลอดการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
วัดนับเป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในชุมชน เพราะนอกจากการเป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์และประกอบศาสนกิจสำหรับชาวพุทธแล้ว วัดยังกลายเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานทางประเพณีและวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนมายาวนาน มีทั้งคนที่เดินทางไปทำบุญ ปฏิบัติธรรม หรือแม้กระทั่งสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความรู้กับพระสงฆ์ที่วัดอย่างสม่ำเสมอ
ในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ในยุคนิวนอร์มอลนี้ พระสงฆ์และญาติโยมจึงต้องปรับการปฏิบัติตัวและวิถีของการไปวัด เพื่อความปลอดภัยของทั้งพระภิกษุสงฆ์และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ได้
สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายแท้จริง ก็คือ ให้พุทธศาสนิกชนตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ คือเอาธรรมนั่นเองไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลดีแก่ชีวิตของตนเอง อันเนื่องไปด้วยกันกับสังคม เพราะแท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงต้องการวัตถุสิ่งของอะไรที่เราเอาไปบูชาด้วยซ้ำ มันเป็นการแสดงน้ำใจของเราเอง แล้วมองให้ลึกลงไป การแสดงน้ำใจอย่างจริงจัง ก็คือ ต้องคิดได้ว่า พระองค์ทรงหวังดีต่อเราแล้วนี่ จึงทรงสอนให้เราปฏิบัติ ให้เราทำความดีอันนั้นอันนี้ เราก็เอาความดีนั้นไปทำ นี่คือบูชาแท้จริง
เพื่อจะให้การบูชาด้วยอามิสนั้น มีความหมายขึ้น อย่างน้อยคนก็ทำอามิสบูชากันเรื่อย ท่านก็หาทางที่จะทำให้อามิสบูชานี้ไปเชื่อมกับปฏิบัติบูชาได้ง่ายขึ้น ก็เลยมีการให้ความหมายสำหรับเครื่องบูชาแต่ละอย่างๆนั้นด้วย อย่างไรก็ตาม ความหมายเหล่านี้ ให้ถือว่าเป็นมติของนักปราชญ์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องตายตัว ให้ถือว่าเป็นเพียงการหาความหมายให้แก่สิ่งเหล่านี้ เพื่อจะได้มีทางคิดเชื่อมอามิสต่อไปหาธรรม ที่จะทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติให้ได้
ในปัจจุบันคนส่วนมากมักจะบูชาด้วยธูป เทียน ดอกไม้ เป็นหลัก ซึ่งแต่ละอย่างนี้ก็มีความหมายที่ต่วกันออกไปมีมติหนึ่งท่านว่าไว้ดี น่าเอาไปใช้สื่อกัน คือ มติที่ว่า ธูป เทียน ดอกไม้ ที่ใช้เป็นเครื่องบูชา มี 3 อย่าง ตรงกับพระรัตนตรัย ซึ่งก็มี 3 อย่าง แล้วก็จัดได้ว่า
1. ธูป ใช้บูชา พระพุทธเจ้า
2. เทียน ใช้บูชา พระธรรม
3. ดอกไม้ ใช้บูชา พระสงฆ์
แล้วก็ให้ความหมายต่อไป ที่ว่า ธูป ใช้บูชาพระพุทธเจ้านั้น ตรงกันเลย ธูปนั้นจะเห็นว่ามี 3 ดอก แล้ว 3 ดอกนั้น ก็ตรงกับพระคุณ 3 ของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธคุณ 3 คือ
1. พระปัญญาคุณ พระคุณ คือ พระปัญญา ที่ทำให้ตรัสรู้
2. พระวิสุทธิคุณ พระคุณ คือ ความบริสุทธิ์ เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ทรงบริสุทธิ์จากกิเลส เพราะปัญญาที่ตรัสรู้ ทำให้บริสุทธิ์สะอาดหมดจดจากกิเลส และหลุดพ้นจากความทุกข์
วิสุทธิคุณนี้ อันเดียวกับวิมุตติคุณ จะเรียกวิสุทธิคุณก็ได้ วิมุตติคุณก็ได้ คือ หลุดพ้นจากกิเลสและปวงทุกข์ เป็นพระคุณที่สอง
3. พระมหากรุณาคุณ พระคุณ คือ มหากรุณา พระพุทธเจ้าทรงมีพระทัยมุ่งหมายใฝ่จะช่วยเหลือปวงสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ ข้อนี้เป็นพระคุณอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้พระองค์ทรงออกประกาศพระศาสนา
พระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณมากมาย สรุปได้เป็น 3 เมื่อเราบูชาพระพุทธเจ้า ก็คือบูชาพระคุณ 3 ประการนี้
อีกด้านหนึ่ง จะเห็นว่า ธูปนี้มีกลิ่นส่งออกมาหอม กลิ่นหอมนั้นถือเป็นสัญลักษณ์ สื่อถึงการฟุ้งขจรแห่งคุณค่า และกิตติศัพท์ของความดี เรียกว่าเป็นกลิ่นของความดี โดยนิยมว่าคุณธรรมความดี เริ่มตั้งแต่พระพุทธคุณนี้มีกลิ่นหอม เหมือนกับว่า เมื่อเราได้ยินคุณความดีของคนผู้หนึ่ง ซึ่งคนพูดกันมาก ก็เรียกว่า คนนั้นหอม แต่กลิ่นของความดี หรือความหอมของคุณธรรมและการทำความดีนี้ ประเสริฐยิ่งกว่ากลิ่นหอมของธูป เพราะว่ากลิ่นหอมของธูปนั้น ไปทวนลมไม่ได้ แต่กลิ่นหอมของความดี ไปทวนลมได้ ท่านจึงให้นึกต่อขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งว่า กลิ่นหอมของคุณธรรมความดีนั้น ประเสริ{ยิ่งกว่ากลิ่นหอมของวัตถุ มีธูป เป็นต้น
สรุปว่า บูชาพระพุทธเจ้าด้วยธูป และ 3 ดอกของธูปนั้น หมายถึง บูชาพระคุณ 3 ประการ ได้แก่ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ
เครื่องบูชาอย่างที่สอง คือ เทียน เป็นเครื่องหมายของการบูชาพระธรรม จะเห็นว่า การบูชาด้วยเทียนนี้ ใช้เทียน 2 เล่ม ทำไมใช้เทียน 2 เล่ม พระพุทธศาสนานั้นแยกเป็น 2 ส่วน คือ ธรรม กับ วินัย เราเรียกว่า พระธรรมวินัย เป็นชื่อแท้ของพระพุทธศาสนา
ธรรม กับ วินัย รวมกันทำให้เป็นพระพุทธศาสนาอยู่ได้ ถ้ามีแต่ธรรม ไม่มีวินัย ธรรมก็ดำรงอยู่ไม่นาน มีแต่วินัย ไม่มีธรรม วินัยก็ไม่รู้จะสื่อไปถึงอะไร
วินัยเป็นเครื่องสื่อถึงธรรม ขยายความว่า วินัยมาช่วยสื่อให้ถึงธรรม โดยเป็นเครื่องฝึกคน เพื่อจะนำคนให้ถึงธรรม เป็นเครื่องมือของธรรมในการจัดสรร และจัดการสังคมของมนุษย์ และธรรมจะปรากฏเป็นประโยชน์แก่หมู่มนุษย์ ถึงขั้นที่มนุษย์จัดการให้เป็นไปได้ ก็ด้วยอาศัยวินัย ที่เป็นสมมติ เป็นรูปแบบ ธรรมเป็นของจริงในธรรมชาติ เป็นเนื้อหาสาระที่ต้องการ วินัยเป็นรูปแบบ เป็นการจัดตั้งวางระบบแบบแผนในสังคม ในหมู่ชน เพื่อให้มนุษย์เข้าถึงธรรม เป็นไปตามธรรมในทางที่จะได้ประโยชน์จากธรรม ทำให้ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ ปรากฏผลออกมาแก่หมู่มนุษย์ รวมแล้วก็เป็นองค์ประกอบสำคัญของพระพุทธศาสนา 2 อย่าง คือ ธรรม กับ วินัย ด้วยเหตุนี้ เราจึงใช้เทียน 2 เล่ม เป็นสัญลักษณ์ของ พระธรรม กับ พระวินัย
เทียนนั้นจุดแล้วให้ความสว่าง ก็เหมือนกับธรรม รวมทั้งวินัย ที่เป็นเหมือนดวงประทีปส่องสว่าง ทำให้คนมองเห็น คือทำให้เกิดปัญญา มีความรู้เข้าใจ แล้วรู้จักดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง พัฒนาคุณความดีอะไรต่างๆ ตลอดจนลุถึงสัจธรรม นี้เป็นความหมายของเทียน ที่ใช้บูชาพระธรรม
สิ่งสุดท้าย คือ ดอกไม้ ใช้บูชาพระสงฆ์ ทำไมใช้ดอกไม้บูชาพระสงฆ์ จะเห็นว่าดอกไม้ที่เรานำมาบูชานี่ มีสีสัน เป็นประเภทและชนิดต่างๆ เรียกว่านานาพันธุ์ คือ พันธุ์ต่างๆก็ได้ หรือนานาพรรณ หลากสีหลายประเภทก็ได้ ดอกไม้นี้สารพัด เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง รูปร่างแปลกๆผิดแผกกันไป ดอกไม้เหล่านั้น เวลานำมาบูชา จะเห็นได้ว่าเขาจะจัดให้เป็นสัดส่วน สวยงามน่าดู โดยทำเป็นพวงมาลามาลัยบ้าง จัดเป็นพุ่มพานบ้าง จัดใส่แจกันบ้าง ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ดอกไม้มากมายหลายเภทหลากพรรณ ที่จัดสรรอย่างดี มีสัดส่วนสีสันงามตานี้ มีความหมายโยงไปหาพระสงฆ์
พระสงฆ์นี้เป็นหมู่ เป็นชุมชน อันประกอบด้วยภิกษุทั้งหลาย ที่มาจากชาติตระกูลต่างๆ มีภูมิหลัง มีการศึกษาอบรมต่างๆกัน มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึกอะไรๆ ต่างกันไปทั้งนั้น แต่ละบุคคลไม่เหมือนกันเลย แต่พอเข้าสู่สังฆะ มารวมกันเป็นสงฆ์นี้ มีวินัยอันหนึ่งอันเดียวกัน ปฏิบัติเพื่อธรรม ตามแนวทางของธรรมอันเดียวกัน โดยเฉพาะมีวินัยเป็นเครื่องจัดตั้งวางระบบ ก็มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย งดงาม เหมือนดังดอกไม้ต่างสีต่างพันธุ์ ดอกเล็กดอกใหญ่มากมายนั้น ที่ช่างดอกไม้ได้จัดสรรให้เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม
สังคมในปุจจุบันนี้ ถ้าได้มีการจัดตั้งวางระบบให้ดีด้วยวินัย คือกฎเกณฑ์กติกาที่วางไว้ดีแล้ว ก็รวมเข้าอยู่ในหลักการคือธรรมอันเดียวกัน ก็จะเป็นชุมชน เป็นสังคมที่ดีงาม มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสง่าน่าชื่นชมเช่นอย่างนั้น ด้วยเหตุฉะนี้ เราจึงบูชาสังฆะ คือ พระสงฆ์ ด้วยดอกไม้ ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ก็เป็นความหมายของเครื่องบูชา 3 ประการ
เมื่อเรามองความหมายของเครื่องบูชาอย่างนี้แล้ว ก็จะเห็นทางปฏิบัติ โดยมีความรู้ความเข้าใจขยายกว้างออกไป แล้วจิตใจก็เปิดโล่งได้ ไม่ไปติดอยู่แค่วัตถุ มีสิ่งที่จะนำไปพิจารณาใคร่ครวญ นำทางชีวิตจิตใจให้ก้าวหน้าได้ และเป็นสิ่งที่จะพาความคิดคำนึงให้ลึกซึ้งต่อไป ในการศึกษาพระธรรมวินัยอีกด้วย
ในยุคที่การเดินทางออกนอกบ้านมีความเสี่ยงมากขึ้น หรือบางคนอาจจะงานยุ่ง มีเวลาน้อย ไม่ชอบเดินทาง แล้วสายบุญอย่างเราจะแก้ปัญหาอย่างไรกันดี โดยที่ไม่ต้องออกไปเสี่ยงกับการติดเชื้อโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาด บอกเลยว่าในสังคมยุค New Normal เรื่องแบบนี้จะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
เพราะในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า เราสามารถทำบุญออนไลน์ ด้วยการทำสังฆทานออนไลน์ได้ง่าย ๆ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต หรือมีแอปพลิเคชั่น ในมือถือสมาร์ตโฟน ไม่ว่าจะทำบุญสะเดาะเคราะห์ ต่อดวงชะตา เสริมโชคลาภ แก้ชง แก้บน รวมทั้งการบริจาคให้กับสมาคมหรือมูลนิธิช่วยเหลือสังคมด้านต่าง ๆ ก็ทำได้ทั้งนั้น และบางที่เรายังสามารถนำมาใช้ในการขอลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย บอกได้ว่าถูกใจสายบุญอย่างเราจริง ๆ เพราะทั้งสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดเวลา แถมยังไม่ต้องเดินทางออกจากบ้านให้สิ้นเปลืองพลังงานอีกด้วย วันนี้เราจึงมาแนะนำการทำบุญออนไลน์ด้วยการทำสังฆทานออนไลน์มาเอาใจสายบุญกับ ทำบุญ From Home สบายใจ และห่างไกล COVID-19
เริ่มด้วยการเลือกสั่งชุดสังฆทานที่มีสินค้าคุณภาพให้เลือกหลากหลาย พร้อมบริการนำสังฆทานของคุณไปถวายให้ถึงวัดหรือส่งตรงให้ถึงบ้านด้วยมาตรฐาน EMS หรือขนส่งเอกชน โดยสามารถเลือกซื้อสังฆทานออนไลน์กับทาง ธาราญา ได้ทาง www.dharayath.com ซึ่งทางธาราญาก็ชุดสังฆทานให้เลือกมากมายตามความต้องการของผู้ที่ต้องนำไปทำบุญ และท่านสามารถมั่นใจทาง ธาราญา ได้ว่าสังฆทานของทาง ธาราญา นั้นมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีวันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุระบุไว้อย่างชัดเจน และพระสงฆ์ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้จริง
ประโยชน์ของการทำบุญถวายสังฆทานออนไลน์
- ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ทำให้วัดปิดไม่ให้ผู้คนเข้าไปทำบุญ หรือจำนวนคนที่มาวัดน้อยลง พระภิกษุสงฆ์ ก็ยังได้รับของใช้และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน
- เนื่องจากท่านไม่ต้องออกนอกบ้าน จึงลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ และแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นร่วมทั้งพระภิกษุสงฆ์ด้วย
- ช่วยให้ท่านรู้สึกสุขกายสบายใจ เพิ่มความสะดวกให้กับท่านผู้ที่อยากทำบุญ แต่กังวลเรื่องความปลอดภัยจากเชื้อโรค
ทำบุญออนไลน์ได้บุญไหม จะได้บุญจริงหรือเปล่า
หลายคนสงสัยกันว่าทำบุญออนไลน์ได้บุญไหม ได้ผลจริงหรือเปล่า? แม้ว่าเราจะไม่ได้ไปถึงวัด ไม่ได้จุดธูปไหว้พระ ฟังธรรม ไม่ได้อยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่สงบร่มเย็นเหมือนอย่างที่คุ้นเคยกันมา แต่บอกเลยว่าได้บุญไม่ต่างกันแน่นอน เพราะศาสนาทุกศาสนาสอนไม่ให้เรายึดติด อะไรที่ไม่ทำให้ตัวเองและคนอื่นเดือดร้อน บอกเลยว่าดีทั้งนั้น และหัวใจสำคัญของการทำบุญคือ ลด ละ เลิก จากกิเลสทั้งปวง เพราะจริง ๆ แล้วการทำบุญ เราสามารถทำได้ทุกรูปแบบ ไม่จำกัดเพียงแค่การถวายเงิน หรือสิ่งของเท่านั้น อย่างเช่น การทำความดี คิดดี พูดดี ก็คือการทำบุญอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
สิ่งสำคัญคือขอเพียงแค่ใจเรามีความสุจริตเป็นที่ตั้ง และจิตอันเป็นกุศล ไม่ว่าจะทำบุญรูปแบบไหน แค่เราพร้อมที่จะเป็นผู้ให้ ล้วนแต่เกิดเป็นผลบุญทั้งนั้น แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่มองว่าการทำบุญออนไลน์มีความเสี่ยง ไม่มั่นใจว่าเงินของเราจะถูกนำไปใช้ตามเป้าหมายจริง ๆ กลัวว่าจะถูกหลอกเอาได้ ก็ต้องบอกว่าปัจจุบันเราสามารถตรวจสอบช่องทางที่เราจะทำบุญได้แล้ว หรือถ้าไม่มั่นใจก็เลือกทำบุญออนไลน์ กับหน่วยงานที่มีความชัดเจน มีความน่าเชื่อถือ เช่น ทำบุญออนไลน์โรงพยาบาลสงฆ์ บริจาคให้มูลนิธิ บริจาค e-Donation ผ่านธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ เรียกได้ว่าการทำบุญออนไลน์เป็นทางเลือกที่เข้ากับยุคสมัยและเหมาะสถานการณ์จริง ๆ
ปัจจจุบันการทำบุญสามารถทำได้มากมายหลายแบบ ส่วนจะเป็นบุญหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ
1.ก่อนทำบุญควรคิดถึงแต่สิ่งดีๆไม่ฟุ้งซ่าน
2.ขณะทำบุญต้องมีสมาธิ คิดถึงบุญกุศลที่เราต้องการแผ่ให้
3.หลังทำบุญยังคงต้องมีสมาธิ และจิตใจที่สงบ
ซึ่งหากทำบุญและรักษาองค์ประกอบนี้ไว้ได้แล้ว ถือว่า มีความสมบูรณ์และมีรางวัลในตัวเองอยู่แล้ว นั่นก็คือความสุขที่ผู้ทำได้รับ สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะทำบุญในรูปแบบไหน หากมีใจที่บริสุทธิ์ พร้อมเป็นผู้ให้ สะดวกกาย สบายใจที่จะทำล้วนแล้วแต่เกิดบุญทั้งนั้น
ในช่วง วันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นอีกวันที่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะถือโอกาสเข้าวัดทำบุญ ฟังเทศน์ แต่อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เรามักจะเห็นพร้อมๆ กันกิจกรรมการทำบุญคือ“ถวายเทียนพรรษา”ในอดีตมีเรื่องเล่าว่าในระหว่างวันเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์จะไม่สามารถไปจำวัดที่อื่นได้ และประกอบกับว่าในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน วัดในต่างจังหวัดไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องอาศัยแสงสว่างจากเทียน ญาติโยม จึงมีการถวายเทียนในวันเข้าพรรษา เป็นที่มาของการ “แห่เทียนเข้าพรรษา” นั่นเอง
โดยการทำบุญด้วยการถวายเทียนแบบนี้มีอานิสงส์ผลบุญที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้การทำบุญด้วยวิธีอื่นๆ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยานเล่าถึงเรื่องราว อานิสงส์การถวายเทียนหรือหลอดไฟในวันเข้าพรรษาว่า “การถวายเทียนเข้าพรรษา หรือว่า ถวายกระแสไฟในพระพุทธ-ศาสนา เหมือนกัน อย่างนี้ถ้าเกิดเป็นเทวดาจะมีรัศมีกายสว่างมากถ้าบรรลุมรรคผล จะเป็นบุคคลผู้เลิศใน ทิพจักขุญาณ อย่างพระอนุรุทธ” ท่านได้ถวายเทียนเข้าพรรษาตลอดมา ถวายพระประทีปโคมไฟวัดไหนมืดชอบถวายตะเกียงบ้างน้ำมันบ้างให้มีแสงสว่างต่อมาในชาติสุดท้าย เมื่อเป็น พระอรหันต์วิชชาสาม ท่านสามารถมี ทิพจักขุญาณสว่างกว่าพระอรหันต์ทั้งหมด แม้แต่ พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณก็ยังสู้ไม่ได้
อีกประการหนึ่งถ้าท่านทั้งหลายไปเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม ก็จะมีรัศมีกายสว่างมาก เพราะเทวดา นางฟ้า และพรหมเขาถือรัศมีกายเป็นสำคัญเขาไม่ถือเครื่องแต่งกายเป็นสำคัญ องค์ไหนถ้ารัศมีกายสว่างมากองค์นั้นมีบุญมาก เมื่อมีจิตใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาเช่นนี้ พระชินศรีตรัสว่าเป็นมงคลอันสูงสุด ดังพระบาลีว่า “ปูชาปูชะนียานัง เอตัมมังคลมุตตมัง” การบูชาบุคคลผู้ควรบูชาเป็นมงคลอันสูงสุด อนึ่งชื่อว่าได้ขวนขวายในกิจ อันปราศจากโทษความเดือนร้อนในภายหลังมิได้ ย่อมได้รับผลพิเศษทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
การถวายเทียนพรรษานี้เป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน 3 เดือน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงได้จัดทำให้เป็นกุศลพิธีขึ้น เมื่อได้นำเทียนไปถวายพระสงฆ์แล้ว ท่านก็จะได้จุดบูชาต่อหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ส่งผลให้ผู้ถวายย่อมได้รับอานิสงส์ คือ
1. ทำให้เกิดปัญญา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเทียน
2. ทำให้สว่างไสวรุ่งเรือง ผู้ถวายย่อมทำให้มีความรุ่งเรืองด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ
3. ทำให้คลี่คลายเรื่องราวต่างๆ ที่มีปัญหาในชีวิตให้ร้ายกลายเป็นดี
4. เจริญไปด้วยมิตรบริวาร
5. ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย
6. เมื่อจากโลกนี้ไปย่อมมีกายทิพย์อันสว่างไสว
7. เมื่อลาลับโลกนี้ไปย่อมไปสู่สุคติสวรรค์
8. หากบารมีมากพอ ย่อมทำให้เกิดดวงตาจักษุ คือปัญญารู้แจ้งเข้าสู่พระนิพพาน
การถวายเทียนพรรษานี้เป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน 3 เดือน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงได้จัดทำให้เป็นกุศลพิธีขึ้น เมื่อได้นำเทียนไปถวายพระสงฆ์แล้ว ท่านก็จะได้จุดบูชาต่อหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ผู้ถวายย่อมได้รับอานิสงค์
ตั้งแต่ในอดีตที่เคยมีการถวายเทียน มีความเชื่อว่า จะทำให้ชีวิตดีรุ่งเรืองโชติช่วงเหมือนดังแสงไฟจากเทียน หากเจอปัญหาก็จะพบทางออกที่เป็นเหมือนแสงสว่างของเทียน ต่อมาก็ได้มีการถวายเทียนเพื่อเป็นการเสิรมดวงความรัก โดยนิยมถวายเป็นคู่ เพราะเชื่อว่าแสงเทียนจะช่วยส่องสว่างในชีวิตเสริมให้ดวงความรักดีขึ้น มีชีวิตคู่ที่ราบรื่น สำหรับคนโสดก็จะทำให้พบเจอแต่เรื่องดีๆ หรือเจอกับเนื้อคู่ในเร็ววันนั่นเอง
อย่างไรก็ดีตั้งแต่ในอดีต ผู้คนนิยมถวายเทียนพรรษาเพื่อให้พระภิกษุได้ใช้ส่องสว่างขณะจำพรรษาอยู่ที่วัด เชื่อว่าการถวายเทียน จะช่วยให้ชีวิตโชติช่วง พบเจอแต่เรื่องดีหรือ ถวายหลอดไฟก็ได้ แต่ผมแนะนำให้ถวายเป็นเทียนพรรษาดีกว่า เพราะตามตำราโบราณ มันได้ความรู้สึกบางอย่าง ซึ่งดีกว่าเป็นหลอดไฟ หากเป็นเทียน เวลาพระไปเดินจงกลมตรงไหน ก็จุดได้เลย
ผ้าอาบน้ำฝนที่เรียกกันว่า “วัสสิกพัตร” นั้นเป็นสิ่งที่ชาวพุทธในภาคเหนือนิยมแก่พระสงฆ์ในงานเข้าพรรษา เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่พระสงฆ์ ที่เข้าประจำอยู่ในวัด พระยาอนุมานราชธนได้เขียนไว้ในเรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรมของชาวพุทธอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวกับวันเข้าพรรษา คือการถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุสงฆ์เดิมทีเดียวนั้น
พระพุธเจ้าทรงอนุญาตให้ ภิกษุใช้ผ้า 3 ผืน ซึ่งรวมเรียกว่าไตรจีวร คือ สบง ได้แก่ ผ้านุ่ง 1 จีวร ได้แก่ผ้าห่ม 1 สังฆาฏิ ได้แก่ผ้าพาดบ่า ยังไม่ได้ทรงอนุญาตให้ใช้ผ้าอาบน้ำฝนครั้นเวลาฝนตกภิกษุที่จะอาบน้ำฝนก็ไม่มีผ้าที่จะนุ่งอาบ จะต้องเปลือยกายอาบน้ำฝน วันหนึ่งนางวิสาขา ใช้หญิงคนใช้ให้เข้าไปในวัดขณะฝนตก หยิงคนใช้เห็นภิกษุเปลือยกาย อาบน้ำฝนเข้าใจว่าเป็นพวกเดียรถียร์ จึงกลับไปบอกนางวิสาขาจึงได้กราบทูลพระพุทธเจ้าเพื่อขอพระบรมพุทธานุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่ภิกษุขอให้ภิกษุรับผ้าอาบน้ำฝนตั้งแต่นั้นมา และได้กลายเป็นประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝนจนบัดนี้
ผ้าอาบน้ำฝนนั้น มีกำหนดไว้ตามที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตคือ กว้างศอกคืบ 14 นิ้ว 1 กระเบียดกับ 2 อนุกระเบียด ยาว 4 ศอกกับ 3 กระเบียด ทำยาวหรือกว้างกว่านี้ใช้ไม่ได้เป็นโทษแก่ภิกษุ เวลาที่จะถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้น มีพระพุทธบัญญัติไว้ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 7 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นเวลาก่อนเข้าพรรษา 1 เดือน เวลานี้เป็นระยะเวลาที่ภิกษุจะแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ ผู้ประสงค์ที่บำเพ็ญถูกต้องตาม พระพุทธานุญาต จึงหาผ้าอาบน้ำฝนมาถวายในระยะนี้ ที่ปฏิบัติกันทั่วไป นิยมถวายกันในวันขึ้น 15 ค่ำก่อนพรรษา 1 วัน เพราะวันนี้เป็นวันธรรมสวนะและเป็นวันอาสาฬหบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั่วไปประชุมกันที่วัดเป็นปกติอยู่แล้ว จึงถือโอกาสถวายผ้าอาบน้ำฝนในวันนั้น
หน้าที่ของชาวพุทธ เมื่อถึงวันเข้าพรรษา นอกจากจะจัดดอกไม้ธูปเทียนและของใช้ประจำอื่นๆ เช่น สบู่ แปลงสีฟัน สีย้อมผ้า และยารักษาโรค เป็นต้น ไปถวายพระเถระอุปัชฌาย์อาจารย์ที่ตนเคารพนับถือแล้ว พึงทำจิตใจของตนให้สะอาด ปราศจากความอิจฉาริษยาพยาบาท ให้อภัยในความผิดพลาดหรือสิ่งที่ล่วงเกินซึ่งกันและกันที่ตั้งใจและไม่ต้องใจ ไม่ถือเป็นสาเหตุโกรธเคืองกัน เพื่อเป็นกำลังใจในการบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเพื่อให้เจริญถาวร ก้าวหน้าเป็นพุทธบูชา และตั้งจิตอธิษฐานว่า จะงดเว้นจากความชั่วทั้งปวง ประกอบแต่คุณงามความดี ตลอดเวลา เดือนในพรรษานี้ ก็จะเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่เพื่อที่จะบันดาลให้ได้รับความสุขอันยิ่งใหญ่ในจิตใจ อันสืบเนื่องมาจากมีความอิจฉาพยาบาทในจิตใจ และผลจากการบำเพ็ญคุณงามความดีตามที่ได้อธิษฐานใจไว้ตามควรแก่อัตภาพ
ในวันเข้าพรรษา
เมื่อถึงวันเข้าพรรษานอกจากทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ปฏิบัติธรรมก็จะมีการถวายผ้าอาบน้ำฝนรวมอยู่ด้วย การถวายผ้าอาบน้ำฝนแม้จะไม่มีการกำหนดวัน แต่โดยมากจะทำบุญถวายกันในวันเข้าพรรษา การถวายนั้นมีทั้งถวายแบบเจาะจง ถวายแบบสังฆทานไม่เจาะจงพระรูปหนึ่งรูปใดและในรูปแบบนี้จัดเป็นแบบสลากภัต การทำบุญเป็นเรื่องของการชำระใจให้สะอาด สุขใจที่ได้ทำในสิ่งดี ๆ และหากมีความตั้งใจทั้งก่อนให้ ขณะที่ให้และหลังจากการให้ จิตใจที่ปลื้มปีติทั้งสามเวลาเหล่านี้ก็จะก่อเกิด บุญเกิดความปีติสุขใจ
นอกจากนี้ช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษายังมีประเพณีท้องถิ่นที่ได้รับการกล่าวขานเป็นที่รู้จักอย่าง การทำบุญตักบาตร ดอกไม้ ดอกเข้าพรรษา อีกทั้งยังมีกิจกรรมที่ดีอีกมากมายที่ใช้ช่วงเวลาที่มีความหมายนี้เป็นการเริ่มต้น อย่าง การงดเหล้าเข้าพรรษา งดอบายมุขหรือแม้แต่การรณรงค์ปลูกต้นไม้ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสอดคล้องกับสภาพอากาศอีกทั้งยังช่วยลดภาวะโลกร้อน นักวัฒนธรรมกล่าวทิ้งท้าย จากสองวาระสำคัญทางพุทธศาสนาวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาในปีนี้ นับเป็นอีกโอกาสที่ดีต่อการตั้งมั่นทำบุญสร้างกุศล ตั้งจิตอธิษฐานปฏิบัติตัวเริ่มต้นทำสิ่งดีงาม ลด ละ เลิกอบายมุขทั้งหลายทั้งปวง บุญกุศลที่เกิดขึ้นก็จะก่อเกิดความสุขความปิติเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง
ประวัติวันเข้าพรรษา
“เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน โดยแบ่งเป็น
- การเข้าพรรษาแรก หรือ “ปุริมพรรษา” หรือวันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากนั้นพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน จะมีสิทธิในการรับกฐินในช่วงเวลาหนึ่งเดือน
- การเข้าพรรษาหลัง หรือ “ปัจฉิมพรรษา” หรือวันเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่ วันแรมค่ำ 1 เดือน 9 และไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 พระสงฆ์ที่จำพรรษาในวันออกพรรษาหลังนั้นจึงไม่มีสิทธิ์ได้รับกฐิน
อย่างไรก็ตามหากมีกิจธุระ คือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า “สัตตาหะ” หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่
1. การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้
นอกจากนี้หากระหว่าง เดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า “วิหาร” แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า “อาราม” ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา
อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์ อย่างสูง
นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ “ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา” ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้ มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็น และในการนี้จะต้องมีธูป-เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อม ใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว
ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว
พิธีทางศาสนาในวันประเพณีเข้าพรรษา
ประเพณีวันเข้าพรรษานั้นไม่ใช่เป็นแค่เพียงช่วงที่พระสงฆ์ถือศีลเข้าพรรษาเพียงฝ่ายเดียว แต่พุทธศาสนิกชนก็มีกิจกรรมและพิธีทางศาสนาที่จะต้องทำในประเพณีเข้าพรรษาด้วยเช่นกัน พิธีทางศาสนาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายที่มักทำกันในช่วงวันเข้าพรรษา มีดังนี้
- หล่อและถวายเทียนพรรษา
เป็นอีกหนึ่งความสำคัญของวันเข้าพรรษาเลยก็ว่าได้สำหรับวันเข้าพรรษา นั่นคือการหล่อและถวายเทียนเข้าพรรษา กลายมาเป็นประเพณีแห่เทียนพรรษาที่โด่งดังที่สุดในประเทศไทยคือที่จังหวัดอุบลราชธานี ประชาชนจะได้ชมความสวยงามวิจิตรตระการตาของขบวนแห่เทียนพรรษา ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะเปลี่ยนมาถวายหลอดไฟ แต่ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาก็ยังคงอยู่ไว้เช่นเดิม
- การถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัย
พิธีนี้จะทำในประเพณีเข้าพรรษา ซึ่งผ้าอาบน้ำฝนหรือผ้าวัสสิกสาฏก เป็นผ้าที่ใช้สำหรับเปลี่ยนสรงน้ำสำหรับพระสงฆ์ เหตุที่ต้องถวายผ้าอาบน้ำฝนเพราะเนื่องจากในสมัยพุทธกาล พระสงฆ์มีผ้าสบงเพียงผืนเดียว จึงจำเป็นจะต้องเปลือยกายเวลาอาบน้ำ ทำให้ดูไม่งาม นางวิสาขาจึงทำการถวายผ้าอาบน้ำฝนให้พระสงฆ์เป็นคนแรก และทำเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในวันเข้าพรรษาต่อ ๆ กันมาถึงปัจจุบัน
- ทำบุญตักบาตร รักษาศีล
เป็นอีกหนึ่งความสำคัญของวันเข้าพรรษาเลยก็ว่าได้ สำหรับการทำบุญตักบาตร รักษาศีล ใส่ชุดปฏิบัติธรรม ทำจิตใจให้ผ่องใส ซึ่งที่วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีการตักบาตรดอกไม้เป็นประจำทุกปี จึงมีพุทธศาสนิกชนไปทำบุญ ตักบาตรดอกไม้กันอย่างคับคั่ง ส่วนในกรุงเทพฯ มีวัดใหญ่ ๆ ที่วัดบวรนิเวศฯ วัดเบญจมบพิตร วัดราชบพิธฯ ใครที่อยากลองตักบาตรดอกไม้ในวันเข้าพรรษาก็ลองไปที่วัดดังกล่าวได้
- ร่วมฟังเทศน์มหาชาติ
ประเพณีเทศน์มหาชาติจะจัดในเทศกาลเข้าพรรษา การเทศน์มหาชาติคือ การเทศนาเวสสันดรชาดก แบ่งการพรรณาออกเป็นตอน ๆ ทั้งหมด 13 กัณฑ์ เชื่อว่าหากใครที่ฟังเทศน์มหาชาติจบทั้งหมด 13 กัณฑ์จะได้ไปสุคติภูมิหรือเกิดบนสวรรค์ และการฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์เป็นอย่างมาก
เนื่องในวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนจะได้ไปทำบุญตักบาตร และที่สำคัญอย่าลืมงดเหล้า เข้าพรรษา ตลอดระยะเวลา 3 เดือน หากคุณลดละเลิกสิ่งอบายมุขเหล่านี้ได้ก็จะเป็นประโยชน์กับตัวคุณเอง นอกจากวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันมาฆบูชา ฯลฯ แล้ว วันเข้าพรรษาก็เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
เมื่อกล่าวถึง สมาธิ ต้องเข้าใจในเบื้องต้นว่า สมาธิมิใช่เรื่องของฤๅษีชีไพร หรือมิใช่เป็นเรื่องที่ประพฤติปฏิบัติได้เฉพาะผู้ที่เป็นนักบวชเท่านั้น แต่สมาธิเป็นเรื่องของการฝึกฝนอบรมจิตใจ และเป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคง ตั้งมั่น และทำให้มีคุณภาพทางจิตใจที่ดีขึ้น ซึ่งในทางพระพุทธศาสนานั้น สมาธิสามารถประพฤติปฏิบัติได้ ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อความมีชีวิตที่อยู่เป็นสุขในเพศภาวะของผู้ที่ยังครองเรือน และยังเป็นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นสำหรับผู้ที่เป็นนักบวชอีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม สมาธิ ถือเป็นเรื่องสากล กล่าวคือ มิใช่เฉพาะพุทธศาสนิกชนเท่านั้นที่จะสามารถปฏิบัติสมาธิได้ แม้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็สามารถปฏิบัติสมาธิได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การฝึกสมาธิจะเน้นให้ความสำคัญของการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นผลด้วยตนเองแล้ว หากมีข้อสงสัยในเชิงปฏิบัติ ก็สามารถที่จะสอบถามจากผู้รู้ผู้ชำนาญได้อย่างตรงเป้าหมาย หรือตรงต่อประสบการณ์ที่ตนเองได้ปฏิบัติมา และถึงแม้จะมีการอธิบายรายละเอียดความรู้ของสมาธิในเชิงทฤษฎี แต่กระนั้นก็มิอาจที่จะละเลยสมาธิในเชิงปฏิบัติได้
ความหมายของสมาธิ
การอธิบายความหมายของสมาธิ สามารถอธิบายได้ทั้งในเชิงลักษณะผลของสมาธิที่เกิดขึ้น และอธิบายในลักษณะในเชิงการปฏิบัติ เช่น สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ
ความหมายในเชิงลักษณะผลของสมาธิ
สมาธิ คือ อาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อย่างต่อเนื่อง หรือ อาการที่ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไปมา เป็นอาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่งแน่วแน่ มีแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใส สว่างไสวผุดขึ้นในใจ จนกระทั่งสามารถเห็นความบริสุทธิ์นั้นด้วยใจตนเอง อันจะก่อให้เกิดทั้งกำลังใจ กำลังขวัญ กำลังปัญญา และความสุขแก่ผู้ปฏิบัติในเวลาเดียวกัน
ความหมายในเชิงลักษณะการปฏิบัติสมาธิ
กล่าวอีกนัยหนึ่งในเชิงลักษณะการปฏิบัติ สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด หรือการที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน
ประโยชน์ของการทำสมาธิ
ในแต่ละวันเราสามารถมีความคิดมากมายได้ถึง 50,000 ความคิด นั่นเป็นเรื่องน่ากลัวมาก ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยที่เราพบว่ามันอาจจะยากที่จะกำจัดความยุ่งเหยิงในจิตใจของเรา ซึ่งการทำสมาธิจึงเป็นทางออกที่ดี โดยพระสงฆ์มีการปฏิบัติมาเป็นเวลานับพันปีเพื่อให้มีสติ จิตใจปลอดโปร่ง มีทัศนคติในด้านบวก และจิตใจสงบ การฝึกสมาธิแบบสมัยก่อนได้มีการดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน นี่คือวิธีที่สามารถทำให้คุณฉลาดมากขึ้น มีความสุขมากขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้น
ฉลาดมากขึ้น
ในปัจจุบันมันง่ายมากที่จิตใจเราจะวอกแวกไปกับสังคมโลกที่ถูกเชื่อมต่อเข้าหากัน และมันเป็นเรื่องท้าทายที่จะกำจัดเสียงรบกวนจากสิ่งรอบข้าง ซึ่งการทำสมาธิคือทางออก ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการทำสมาธิช่วยการพัฒนาในด้านของความสนใจ โดยสอนให้เราจดจ่อ แน่วแน่ และตามความคิดของเราได้ทัน อีกทั้งยังเพิ่มเซลล์ประสาทในสมองของเรา โดยเฉพาะในส่วนของการควบคุมและการตอบสนองทางอารมณ์ ผลของการทำสมาธินั่นช่วยให้ฉลาดมากขึ้น ความจำและการเรียนรู้ดีขึ้น
ลดความเครียด
ความเครียดสามารถเป็นสาเหตุในการทำลายสุขภาพที่ร้ายแรงต่อทั้งร่างกายและจิตใจของเรา เกิดโรควิตกกังวล ความดันโลหิตสูง และโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โชคดีที่การทำสมาธิสามารถทำให้ผ่อนคลายโดยลดการกระตุ้นให้เกิดโรคได้ ตัวอย่างเช่น แสดงให้เห็นถึงการลดเกร็งของกล้ามเนื้อ ความดันโลหิตลดลง และอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ รวมไปถึงคลื่นสองก็มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น
ใจมีความสุขมากขึ้น
เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) แสดงถึงผลการตรวจสมองของการตอบสนองแบบสู้หรือหนีต่อความเครียดที่ลดลง หลังจากการทำสมาธิเป็นเวลา 2 เดือน ในขณะเดียวกัน ผลยังแสดงถึงเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมต่อการแสดงออกด้านพฤติกรรมทางสังคมและความสามารถในการตัดสินใจที่เพิ่มขึ้น จึงขอเสนอว่าการทำสมาธิสามารถช่วยให้จิตใจของเราหลุดพ้นจากความเครียดได้
การนอนหลับดีขึ้น
ประมาณ 30% ของผู้ใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ และมักจะมีสาเหตุมาจากความเครียดและความวุ่นวายใจ การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ โดยให้จิตเราอยู่กับปัจจุบัน ความคิดไม่ฟุ้งซ่านและจิตใจปลอดโปร่ง อีกทั้งยังควบคุมพฤติกรรมและการแสดงของเรา ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถช่วยให้เรานอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้น
ยืดอายุสมอง
ผลของการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการทำสมาธิและอายุการทำงานของสมอง โดยขอแนะนำว่าการยกระดับการทำสมาธิและการยืดหยุ่นของสมองจากการทำสมาธิ สามารถช่วยปกป้องสติปัญญาจากการเสื่อมถอยได้ รูปแบบการดำเนินชีวิตอื่นๆ ทั้ง อาหารการกิน การออกกำลังกาย และการศึกษาล้วนมีความสำคัญต่อชีวิตเราทั้งนั้น แต่ก็เหมือนกับกล้ามเนื้อทั่วๆไปในร่างกาย สมองก็ต้องการการออกกำลังกายเป็นประจำเช่นกัน
สมาธิแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ
แม้ว่าสมาธิจิตมีอยู่ 3 ระดับแต่ตามหลักการปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน จิตที่เป็นสมาธิในบางระดับเท่านั้นที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนา สมาธิ 3 ระดับ ประกอบไปด้วย
- ขณิกสมาธิ หมายถึง สมาธิที่เกิดขึ้นชั่วระยะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานในสัตว์ทุกประเภทที่นำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
- อุปจารสมาธิ หมายถึง สภาพของจิตที่เข้าสู่สมาธิแบบเฉียดๆ หรือจวนจะแน่วแน่ใกล้เข้าสู่ปฐมฌาน เป็นภาวะจิตที่ประณีตขึ้นมาจากขณิกสมาธิ แม้ว่าภาวจิตถูกควบคุมจะอยู่ในอารมณ์หนึ่ง (เอกัคตา) แต่ยังไม่ลึกและแน่วแน่ มีความฟุ้งซ่านซัดส่ายไปมาและยังมีการรับรู้อยู่บางระดับหนึ่ง มีความประณีตกว่าขณิกสมาธิและสมาธิระดับต้นๆ ที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนาที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิปฏิบัติ
- อัปปนาสมาธิ หมายถึง สมาธิที่แนบสนิทอยู่ในฌาน หรือสามบัติ 8 ฌานเหล่านี้จัดเป็นระดับของสภาวจิตที่อยู่เหนือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในขณะนั้น จิตจะอยู่เหนือการรับรู้ทางจักขุวิญญาณโสตวิญญาณ และความรู้สึกจากทางผัสสะ เป็นสมาธิจิตที่อยู่เหนือการควบคุมของเจตสิกที่เป็นเวทนา คือ อารมณ์ความรู้สึกพึงสังเกตุว่า ในการปฏิบัติวิปัสสนาแบบแรกนั้น จิตจะอยู่ในสมาธิระดับต้นๆ ระหว่างขณิกสมาธิกับอุปจารสมาธิยังไม่เข้าถึงอัปปนาสมาธิ ส่วนอัปปนาสมาธินั้น เป็นสมาธิในการบำเพ็ญฌานสมาบัติตามแบบโยคะ ที่พระพุทธศาสนาสามารถนำมาเป็นฐานต่อไปยังการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาเป็นขั้นที่ 9 ที่เรียกว่า นิโรธสมาบัติ
นี่คือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธกับบำเพ็ญสมาธิตามแบบโยคะ โดยฝ่ายแรกเน้นการทำสมาธิเพื่อพัฒนาปัญญาบนฐานแห่งความเป็นจริงในสัจธรรม ตั้งจิตมั่นในสมาธิ 3 กล่าวคือ พิจารณาไตรลักษณ์เพื่อความหลุดพ้นด้วยการกำหนดอนัตตลักษณะ อนิจจลักษณะ และทุกขลักษณะ ขณะที่ฝ่ายหลังเป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งไปไกลสู่ฌานวิเศษ เพื่อบรรลุโมกษะตามความเชื่อของปรัชญาอุปนิษัท
การ ปฏิบัติธรรม คือ การเอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต ทำการทำงาน ทำหน้าที่ ทำทุกเรื่องทุกอย่างให้ดี ให้ถูกต้อง คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ทำให้เป็นชีวิตที่ดี มีความสุขที่แท้จริง เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงเป็นเรื่องกว้างๆ ไม่ใช่เฉพาะการปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่วัด อยู่ป่า แล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิ ไม่ใช่แค่นั้นอันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้น เรียกว่า เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง แต่อันที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลา เมื่อทำงานหรือทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง ตั้งใจทำให้ดี ให้เกิดคุณประโยชน์ ให้สำเร็จความมุ่งหมายที่ดีงาม ก็เป็นการปฏิบัติธรรม
การเตรียมตัวก่อนไปปฏิบัติธรรม
1) เตรียมเคลียร์ภาระและการงาน
ผู้ที่เป็น “มนุษย์หาเงินเดือน” ก็ควรรีบลางานแต่เนิ่น ๆ พอใบลาอนุมัติ ก็รีบป่าวประกาศให้เพื่อนร่วมงานและญาติมิตรรู้กันทั่วว่าเราจะหายตัวไปปฏิบัติธรรม (มารหน้าไหนก็อย่าขวาง) หากใครต้องการอะไรจากเรา เขาจะได้สอบถามแต่เนิ่น ๆ ไม่ฉุกละหุก จากนั้นเคลียร์งานเก่าที่คั่งค้างให้เสร็จ งานใดที่ไม่เสร็จง่าย ๆ ก็มอบหมายให้ใครที่ใจดีรับช่วงต่อไปสักระย สำหรับผู้ที่มีภาระต้องรับส่งลูกหลานไปโรงเรียน หรือต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนตู้เย็น ผ่อนทีวี ฯลฯ ก็ควรรีบสะสางหรือมอบหมายภาระอันใหญ่หลวงนี้ให้ใครรับหน้าที่แทนไปก่อน จะได้หมดห่วง
2) เตรียมจัดการเก็บกระเป๋า
บางแห่งกำหนดให้ใส่ชุดขาว บางแห่งก็อนุโลมให้สวมกางเกง ผ้าถุง หรือกระโปรงยาว (ที่กว้างพอจะนั่งกรรมฐานได้โดยไม่อึดอัดรัดรึง) ที่สีสุภาพ เช่น ดำ เท่า น้ำตาล กรมท่าได้ แต่เสื้อควรเป็นเสื้อมีแขนสีขาวที่ไม่มีลวดลายหรือตัวหนังสือใด ๆ ไปรบกวนสมาธิของผู้ร่วมปฏิบัติธรรม ควรเตรียมเสื้อผ้าให้เพียงพอกับจำนวนวัน (ยกเว้นในกรณีที่มีบริการซักรีดให้) เพื่อจะได้ไม่ต้องพะวักพะวนกับการซักล้างที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเจริญสติให้ต่อเนื่อง ควรเลือกเนื้อผ้าที่ใส่สบายในขณะปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะผู้ที่ไวต่อความร้อนหรือความเย็นของอากาศก็ควรพิจารณาให้รอบคอบ สำหรับคุณผู้หญิงควรเตรียมผ้าสไบไปด้วย แต่ไม่ต้องแบกกระเป๋าเครื่องสำอางให้เปลืองแรง เพราะเรามักจะสมาทานศีล 8 กัน
นอกจากเสื้อผ้า อย่าลืมยาประจำตัว (ถ้ามี) และหากที่พักห่างจากหอปฏิบัติธรรม ควรนำร่มและไฟฉายติดตัวไป พกยาทากันยุงและแป้งโรยกันมดไปด้วยยิ่งดี ส่วนของมีค่าอย่านำติดตัวไปให้เป็นกังวล
3) เตรียมกายของเราให้แข็งแรง
พักผ่อนให้เพียงพอแต่เนิ่น ๆ รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์พร้อม เพราะการปฏิบัติธรรมต้องอาศัยพละกำลังทั้งกายและใจ ผู้ประมาททำงานจนดึกดื่นค่อนคืน เมื่อมาเข้ากรรมฐานก็หมดเรี่ยวแรง ง่วงเหงาหาวนอน หรือป่วยไข้เสียโอกาสดี ๆ ที่หายากไปโดยเปล่าประโยชน์
4) เตรียมใจให้แกร่งและสงบ
กายพร้อมแล้ว ใจก็ต้องพร้อมด้วย ควรงดดูหนัง ดูละคร ฟังเพลง เที่ยวเตร่ หรือติดตามข่าวสารที่พาให้วุ่นวายใจ อย่างน้อย ๆ 1 สัปดาห์ล่วงหน้า เพื่อให้ใจกระเพื่อมน้อยลง ผู้ที่ห่างเหินห้องพระ ก็ควรปัดฝุ่น สวดมนต์ ให้ใจสงบ ที่สำคัญเตรียมกำลังใจให้แข็งแกร่งหนักแน่นเข้าไป เพราะมักจะมีเหตุให้ละล้าละลังจนอาจยกเลิกการไปปฏิบัติธรรมได้ พึงท่องให้ขึ้นใจว่า “โอกาสที่จะเกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ก็จัดว่ายากมากแล้ว แต่โอกาสที่ผู้ใดจะได้ปฏิบัติธรรมยิ่งยากที่สุด เมื่อได้มาอย่าขว้างทิ้งไปง่าย ๆ เพราะอาจไม่มีโอกาสเช่นนี้อีก”
5) เตรียมซ้อมเพื่อทบทวนวิชา
ผู้ที่ห่างเหินการเดินจงกรม นั่งกรรมฐานและกำหนดอิริยาบถย่อยที่บ้านก็ควรจะปัดฝุ่นขัดสนิมตัวเอง ซ้อมล่วงหน้านาน ๆ จะได้ไม่เสียเวลาวันแรก ๆ ของการปฏิบัติไปอย่างฝืด ๆ ซ้อมตื่นแต่เช้ามืดด้วยยิ่งดี (เพราะคงไม่ใช่ทุกคนที่เคยชินกับการตื่นก่อนตี 4 จะได้ไม่ต้องนั่งสัปหงกให้ครูบาอาจารย์เห็น)
6) เตรียมก้าวเข้ามาอย่างปล่อยวาง
เมื่อเตรียมพร้อมแล้ว ก็ปล่อยวางทุกอย่างไว้ที่บ้านกับที่ทำงาน ก้าวเข้ามาพร้อมหน้าเปื้อนรอยยิ้มและใจที่พองฟู เบาสบาย ผ่องใส สงบเย็น
6 สิ่งที่ควรปล่อยวางเมื่อไปปฏิบัติธรรม
เมื่อก้าวมาถึงแล้ว ก็ต้องเริ่มด้วย การวาง 6 สิ่งที่พึงทำ
1) วางหัวโขน
ไม่ว่าจะมียศถาบรรดาศักดิ์อย่างไร ตำแหน่งหน้าที่การงานหรือฐานะทางสังคมโดดเด่นเพียงใด เมื่อมาเข้ากรรมฐานก็ต้องละวางลงให้หมด เจ้านาย ลูกน้อง เศรษฐี ยาจก ทุกคนจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเท่าเทียมกัน เมื่อวางลงได้ก็จะรู้สึกเบาสบาย ปฏิบัติก้าวหน้าได้ไว เพราะได้ละความยึดติดในตัวตน เรา เขา ไปแล้วส่วนหนึ่ง
2) วางกังวลภาระ
ตอนนี้เรามีเพียงตัวคนเดียว ไม่มีพ่อ-แม่-พี่-น้อง-ลูก-สามี/ภรรยาให้ต้องห่วงใย ไม่มีการงานรกสมอง ไม่มีสมบัติที่ต้องหวงแหน ไม่มีการศึกษาที่กลัวเรียนไม่ทันเพื่อนฝูง มีแต่งานปฏิบัติธรรมตรงหน้าที่จะตั้งใจทำให้ดีที่สุด เมื่อปล่อยวางได้ ความฟุ้งซ่านจะเบาลง และปฏิบัติก้าวหน้าได้ไว
3) วางสรรพความรู้เก่า
วางทั้งความรู้ทางโลกและทางธรรมที่เคยร่ำเรียนมาไว้ก่อน ทำตนเป็นแก้วน้ำเปล่า ๆ ที่รอให้ครูบาอาจารย์เติมให้เต็ม ก็จะได้ความรู้ใหม่ ๆ อีกมากมายโดยไม่เสียเวลาเปล่า อย่าเสียเวลาไปกับการเปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมในระหว่างการปฏิบัติธรรม จะฟุ้งซ่านโดยเปล่าประโยชน์ รอไว้กลับไปวิเคราะห์ความแตกต่างที่บ้านดีกว่า
4) วางว่า “เราต้องเป็นหนึ่ง”
การปฏิบัติธรรมต้องทำอย่างผ่อนคลาย ใช้สติตามดูกายกับจิต ตามที่เป็นจริง แล้วให้ปัญญาค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเอง เหมือนการปลูกต้นไม้ งานของเรา คือ รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช เมื่อสภาวะเหมาะสมแล้ว ต้นอ่อนก็จะค่อย ๆ งอกขึ้นมาเองและเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ต่อไป อย่าคาดหวังในผลสำเร็จ เพราะนั่นคือความโลภ เป็นกิเลสที่ทำให้ใจขุ่นมัว ปัญญาย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้
5) วางใจให้ลึกซึ้งในคำสอน
ความศรัทธาในตัวครูบาอาจารย์ ในคำแนะนำสั่งสอนและในแนวทางของการปฏิบัติธรรม เป็นหัวใจสำคัญข้อหนึ่งของนักปฏิบัติธรรม ควรเปิดใจให้กว้าง รับฟังคำแนะนำสั่งสอนด้วยความเคารพเชื่อถือ และตั้งใจทำตามคำแนะนำอย่างเต็มกำลัง เมื่อมีข้อสงสัยก็ไต่ถามจนกระจ่าง
6) วางไว้ก่อน “ความกลัวตาย”
ความยึดติดในตัวตนของเราเป็นเหตุให้เรา “รักตัวกลัวตาย” เมื่อเกิดเวทนาในระหว่างการปฏิบัติแม้เพียงเล็กน้อย ก็เริ่มกังวลกลัวความเจ็บปวด เมื่อเวทนาแรงกล้าขึ้น ก็เริ่มฟุ้งซ่านกลัวตาย เราจึงควรตั้งสติให้รู้เท่าทันความฟุ้งซ่านนั้น ไม่มีใครเคยตายเพราะการปฏิบัติธรรม ตรงกันข้าม ครูบาอาจารย์มักกล่าวว่า เวทนาเป็นกุญแจที่ไขประตูสู่พระนิพพาน เมื่อเกิดเวทนาขึ้นมาก็ควรวางความกลัวตายลงเสีย แล้วตามดูเวทนาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง จะสามารถพัฒนาจนเกิดปัญญาญาณได้
ในการปฏิบัติธรรม มี 6 สิ่งที่ควรตั้งใจ คือ
1) ตั้งใจเก็บวาจา
การพูดเป็นหนทางให้สมาธิรั่วออกไปง่ายที่สุด เร็วที่สุด และมากที่สุด ตลอดเวลาที่เข้าปฏิบัติธรรม ควรงดพูดกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด นอกจากพูดกับครูบาอาจารย์และพี่เลี้ยงเท่านั้น การพูดจากับผู้ปฏิบัติธรรมอื่น นอกจากทำให้สมาธิ่ของตนรั่วออกไปแล้ว ยังเป็นการทำลายสมาธิองผู้อื่นด้วย อันจะเป็นเวรเป็นกรรมต่อไป หากจำเป็นต้องสอบถามกิจธุระกับเจ้าหน้าที่หรือผู้บริการก็ควรให้สั้นที่สุด และมีสติกำหนดรู้ตลอดเวลาที่พูด หรือหากเลี่ยงไปใช้การเขียนแทนได้ก็จะดี
2) ตั้งใจปฏิบัติช้า ๆ
การเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถใหญ่หรืออิริยาบถย่อย จะต้องพยายามทำอย่างช้า ๆ เหมือนคนป่วยหนัก เพื่อให้สติตามรู้ได้ทัน จนเกิดปัญญาเห็นแจ้งตามความเป็นจริง
3) ตั้งใจรักษาศีล
ศีลวิสุทธิ-ความบริสุทธิ์แห่งศีล เป็นบาทฐานที่สำคัญยิ่งของการปฏิบัติธรรม เพราะจะช่วยให้เราเจริญกรรมฐานได้ด้วยจิตใจที่มั่นคง ไม่ต้องฟุ้งซ่านกังวลกับความรู้สึกผิดใด ๆ เราคงแก้ไขความผิดพลาดในอดีตที่ผ่านไปแล้วไม่ได้ แต่เราสามารถรักษาศีลในปัจจุบันให้บริสุทธิ์ได้ จึง