เปิดประวัติ ตักบาตรเทโว ประเพณีหลังออกพรรษา และ สถานที่จัดงานปี2566

ตักบาตรเทโว ออกพรรษา

ประวัติ ตักบาตรเทโว ประวัติ “ตักบาตรเทโว” ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นประเพณีการทำบุญตักบาตรหลังวันออกพรรษา โดยคำว่า “เทโวโรหณะ” แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก แต่เพื่อให้สะดวกในการสื่อความหมาย นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “การตักบาตรเทโว” โดยที่มาของประเพณีนี้ มาจากตำนาน “การเสด็จลงจากเทวโลกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” คือ หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปประกาศศาสนาทั่วชมพูทวีป ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ พาราณสี สาวัตถีตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นราชปิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพุทธสาวกและพระประยูรญาติทั้งหลายให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของแต่ละบุคคลมาเป็นลำดับถึง 6 พรรษา จากนั้นพระองค์ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายาพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดังนั้นในพรรษาที่ 7 หลังจากทรงตรัสรู้ พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษา ทรงเทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา ครั้นหลังออกพรรษา พระพุทธองค์ได้ทรงเสด็จลงสู่โลกโดยเสด็จสถิตเหนือยอดเขาสิเนรุราช โดยมีเหล่าเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างพากันมาถวายเครื่องสักการบูชาเพื่อรับเสด็จพระพุทธองค์ และระหว่างนั้นได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน ดังนั้นในวันนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั่นเอง เครดิตข้อมูลจาก https://www.pptvhd36.com วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 […]

การตัดกรรม คืออะไร คำสอนของพระพุทธเจ้าตัดกรรมได้จริงหรือไม่

ตัดกรรม

การตัดกรรม ในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนให้คนความเชื่อว่าทำบุญแล้วกรรมที่เคยทำน้ันจะหายไป หรือ ไปทำพิธีใด ๆ แล้วจะทำให้ชีวิตดีขึ้น มาจากการทำพิธีนั้น ๆ แต่จุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธ คือ การให้เข้าถึงปัญญาของการหลุดพ้น และ เห็นการเป็นไปของ ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องขนทุกข์ออกจากใจของสัตว์โลก เมื่อปฏิบัติตามคำสั่งสอนแล้ว จะทำให้เกิดปัญญา เห็นการตัดกรรมที่แท้จริงในคำสั่งสอน ด้วย หัวใจคำสอน คือ องค์มรรค8 หรือ ที่ว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา ตัดกรรมคืออะไร และมีความหมายอย่างไร การ ตัดกรรม คือ การหยุดทำความชั่วหยุดทำบาป ส่วนการตัดเวร คือ การหยุดการพยาบาทอาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน คือไม่แก้แค้นซึ่งกัน และกันรู้จักคำว่าให้อภัยซึ่งกันและกัน และผู้ที่ทำผิดก็ให้รู้จักคำว่าขอโทษ ผู้ที่ถูกขอโทษก็รู้จักคำว่าให้อภัย อันนี้เป็นอุบายตัดกรรมตัดเวร   อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การ “ตัดกรรม การตัดเวร” คืออะไร?   ในพระพุทธศาสนา กรรม (สันสกฤต: कर्म กรฺม, […]

เทศกาลกินเจ ปี 2566 ความหมายและการปฏิบัติตนในช่วงเทศกาล

เทศกาลกินเจ

เทศกาลกินเจ ปี 2566 ตรงกับวันที่เท่าไหร่ เทศกาลกินเจ   กำหนดตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี รวม 9 วัน ซึ่งจะตรงกับเดือนตุลาคมของไทย   เทศกาลกินเจปีนี้ ตรงกันวันอะไร สำหรับเทศกาลกิจเจปี 2566 นี้กับวันที่ 15-23 ตุลาคม โดยตามธรรมเนียมต้องเริ่มเตรียมล้างท้องก่อนในวันที่ 14 ต.ค.  ก่อน   ความหมาย “การกินเจ” เครดิตข้อมูล https://www.thaipbs.or.th/news/content/332721 “เจ” ในภาษาจีนทางพุทธศาสนานิกายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธนิกายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ […]

ออกพรรษา ปี 2566 กิจกรรมตักบาตรเทโวอิ่มบุญรับออกพรรษา

ออกพรรษา

วันออกพรรษา 2566 ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 ออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน พระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสววรค์ ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนา โปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนา ที่ชั้นดาวดึงส์ ออกพรรษา คือ อ่านเพิ่มเติม บทความ กิจกรรมในวันออกพรรษา วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้” คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด […]

กฐิน คืออะไร มีที่มาอย่างไร ธาราญามีคำตอบ

กฐิน

“กฐิน” คืออะไร? คำว่า “กฐิน” ภาษาบาลี แปลกันตามตัวอักษรว่า “ไม้สะดึง” สะดึง (อังกฤษ: Embroidery hoop; Embroidery frame) คือกรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น หรืออาจจะหมายถึงกรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร …. สะดึงมี 2 แบบ คือ (๑) สะดึงกลม ใช้ปักงานชิ้นเล็ก เช่น การปักตัวอักษร เครื่องหมายของโรงเรียน มุมผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น (๒) สะดึงสี่เหลี่ยม เหมาะสำหรับปักงานชิ้นใหญ่ จำเป็นต้องมีผ้าขึงสะดึง เพื่อบังคับผ้าที่ปัก ให้แน่นและเรียบตึงอยู่ได้นาน ช่วยให้งานปักประณีตเรียบร้อย ปักได้สะดวกและรวดเร็ว เช่น การปักหน้าหมอน ผ้าปูโต๊ะ ย่าม ตาลปัตร เป็นต้น ข้อมูลกฐิน (http://www.mahabunhome.com/kathin.html) กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 […]

การถวายผ้าไตรจีวร มีขั้นตอนและอานิสงส์อย่างไร ธาราญามีคำตอบ

ผ้าไตรจีวร คือ เครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุ ในสมัยพุทธกาลการจะหาผ้ามาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มทำได้ยากมาก พระภิกษุต้องเก็บผ้าที่เปื้อนฝุ่นตามถนน ผ้าสกปรกจากกองขยะ หรือแม้กระทั่งจากผ้าห่อศพในป่าช้า เมื่อได้ผ้าเหล่านั้นมาแล้ว พระอานนท์จึงได้เป็นผู้ออกแบบการตัดเย็บ โดยให้พระภิกษุเอาผ้ามาตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ และเย็บปะติดปะต่อกันจนได้เป็นลายคันนาตามที่พระอานนท์ได้ออกแบบ แล้วนำไปซักให้สะอาดและย้อมให้เป็นสีเดียวกันด้วยสีตามธรรมชาติ เช่น สีจากเปลือกไม้ แล้วอธิษฐานใช้เป็นจีวร จึงเรียกผ้านั้นว่า “ ผ้าบังสุกุล “ หรือ ผ้าป่า” ถึงแม้ “ ผ้าบังสุกุลจีวร “ จะเป็นผ้าที่ไม่มีใครอยากได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก สำหรับพระภิกษุ เพราะใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันความร้อน ความหนาว อันเกิดจากดินฟ้าอากาศและสัตว์พวกเหลือบ ยุง หรือสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย รวมทั้งใช้ปกปิดอวัยวะเพื่อไม่ให้เกิดความละอาย แต่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็คือ เพื่อให้เป็นผู้มีความสันโดษมักน้อย มีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้เลี้ยงง่าย อยู่ง่ายเพราะพระภิกษุยังชีพอยู่ได้เพราะชาวบ้านและต้องไม่สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านรวมทั้งที่อยู่อาศัยก็ให้เป็นไปตามอัตภาพ ตามสมณสารูปของพระภิกษุเท่านั้น ขั้นตอนการถวายผ้าไตรจีวร การถวายผ้าไตรจีวรแก่พระภิกษุสามารถถวายได้ทุกวัดและถวายได้ตลอดทั้งปี และทุกโอกาส สามารถทำได้ง่ายๆดังนี้ ถ้าตั้งใจถวายผ้าไตรจีวรอย่างเดียว ก็ให้จัดหาผ้าไตรจีวรที่เหมาะสมทั้งขนาด เนื้อผ้าและสี แล้วนำเข้าไปถวายแก่พระภิกษุเท่านี้ก็สำเร็จสมกับความตั้งใจแล้ว ถ้าตั้งใจถวายสังฆทานด้วยแต่ไม่มีเวลา ก็ให้ซื้อชุดสังฆทานที่ทางร้านจัดเตรียมไว้ หรือถ้ามีเวลาก็ให้สอบถามทางวัดก่อนว่า ทางวัดขาดอะไร ต้องการอะไร ก็เลือกซื้อสิ่งของตามนั้นพร้อมกับถวายผ้าไตรจีวรได้พร้อมกันเลย ถ้าตั้งใจทำบุญเลี้ยงพระด้วย ก็ให้เตรียมอาหารคาว […]

กฐิน วัดธรรมมงคล ประจำปี  2566 ธาราญา แนะนำทำบุญเสริมดวงชีวิต

กฐิน วัดธรรมมงคล

วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร หรือมักเรียกโดยย่อว่า วัดธรรมมงคล สังกัดธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2506 เดิมเป็นป่าสะแก ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) ใช้เป็นที่พักธุดงค์ในระหว่างเดินทางเข้ากรุงเทพฯ นายเถา-นางบุญมา อยู่ประเทศ มีศรัทธาจึงมอบที่ให้ และได้สร้างเป็นวัดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2506 ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 32 ไร่ มี พระภิกษุ สามเณร จำพรรษาประมาณ 300 กว่ารูป ปัจจุบันมีพระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์ (บุรมณ์ เตชธมฺโม) เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล เถาบุญนนทวิหาร ขอเชิญร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี เพื่อบูรณะพระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ศรีรัตนโกสินทร์ วันอาทิตย์ ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ วัดธรรมมงคล แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร กฐิน (บาลี: กฐิน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน […]

สังฆทานคือ อะไร หากจะจัดชุดสังฆทานเองต้องทำอย่างไร

ชุดสังฆทาน

“สังฆทาน” หรือ “ชุดไทยธรรม” เป็นการถวายทานที่พุทธศาสนิกชน ได้ถวายแด่นักบวชในพุทธศาสนา โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เป็นสิ่งของที่เป็นประโยชน์แด่พระสงฆ์ส่วนรวม เพราะฉะนั้นสังฆทานจึงไม่ใช่ของที่บรรจุอยู่ในถังสีเหลืองเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการถวายสังฆทานจึงหมายถึงการถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยไม่เลือกว่าใครเป็นผู้รับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนกลางของคณะสงฆ์ในวัด การถวายสังฆทานปรากฏอยู่ใน “ทักขิณาวิภังคสูตร” ในพระไตรปิฎก เล่าว่า ครั้งหนึ่งนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้าต้องการถวายจีวรแด่พระพุทธเจ้า ขณะประทับที่ วัดนิโครธาราม พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ โดยตรัสว่าให้ถวายผ้าจีวรนี้เป็นส่วนกลางแก่คณะสงฆ์ เพราะเป็นสังฆทานที่ได้อานิสงส์มากกว่าการถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา สิ่งที่บรรจุอยู่ในชุดสังฆทานควรเป็นของที่มีประโยชน์ด้านปัจจัย 4 แด่พระภิกษุสงฆ์ และควรเป็นของที่ใช้ประโยชน์ได้ พุทธศาสนิกชนส่วนหนึ่งนิยมจัดชุดสังฆทานเอง มั่นใจได้ว่าของใช้ต่างๆ ที่จัดหามานั้น ยังมีอายุการใช้งานตามฉลากที่มั่นใจได้ เพราะเชื่อว่าไม่ควรนำของหมดอายุ หรือของไม่ดีไปถวายพระ หลายคนมักกังวลเวลาจะแวะซื้อสังฆทานไปถวายพระ กลัวว่าจะได้ของไม่ดีบ้าง ของหมดอายุไปแล้วบ้าง หรือข้างในถังจะเป็นของที่พระจะไม่ได้ใช้และไม่ได้ประโยชน์หรือเปล่า อ่านบทความแนะนำ ถวายสังฆทานเพื่อให้ผู้ล่วงลับ ประกอบด้วยอะไรบ้าง ? หลายคนสงสัยว่า ถวายสังฆทาน ได้ถึงกี่โมง ? สังฆทานส่วนใหญ่ใส่อะไรบ้าง 1. ยาสามัญประจำบ้าน ยาหม่อง ยาพารา ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ไอยาเบื้องต้นที่สามารถบรรเทาได้ในช่วงแรกที่เกิดอาการ  2. เครื่องนุ่งห่มพระสงฆ์ ผ้าไตรจีวร เสื้ออังสะ ผ้าขนหนูสีสุภาพ รองเท้าแตะ หน้ากากอนามัยสีสุภาพ […]

การอโหสิกรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มีความเชื่อว่าอย่างไร

การอโหสิกรรม

การอโหสิกรรม คือ กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมในภพชาติต่อๆ ไปการขออโหสิกรรม คือ การขอโทษในสิ่งที่ตนทำผิดต่อผู้อื่นด้วยใจจริง การให้อโหสิกรรม คือ การให้อภัยต่อความผิดพลาดพลั้งที่ผู้อื่นกระทำต่อตน การอโหสิกรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา เชื่อว่าอย่างไร กรรมเบาบาง อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น สำเร็จในชีวิตนี้ และส่งผลชีวิตหน้า  บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้น จะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม นั่นคือ ในฐานะที่ชาวพุทธ เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่น ก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าใครทำกรรมใดไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรรมใดใครก่อไว้แล้วในเมื่อใจเป็นผู้จงใจทำลงไปแล้วเป็นกรรมอันเป็นบาป ภายหลังจึงมานึกได้และไม่ต้องการผลของบาป มันก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได้เพราะใจเป็นผู้สั่งให้กาย วาจา ทำลงไป พูดลงไป   วิธี การอโหสิกรรม  1) ด้วยการอโหสิร่วมกัน ต่างฝ่ายต่างเอ่ยให้อีกฝ่ายรับรู้ด้วยใจ  ยิ่งทั้งสองฝ่าย มีความหนักแน่น จิตใจคิดอโหสิอย่างบริสุทธิ์ใจเท่าไหร่ ก็ยิ่งขาดจากเวรได้เด็ดขาดเท่านั้น 2) ด้วยการอาศัยสัจจวาจาในการทำบุญร่วมกัน  คือ เมื่อทำบุญใหญ่ร่วมกันแล้วอ้างบุญใหญ่ที่ทำร่วมกันว่า ทำด้วยใจมีไมตรีต่อกัน ขอให้อานิสงส์ จงช่วยล้างเวรภัยระหว่างกัน หากกำลังบุญนั้นถึงพร้อม (เช่น ถวายสังฆทานกับพระอริยสงฆ์) ก็จะทำให้เกิดความอบอุ่น เบิกบานใจร่วมกัน โดยผ่านพ้นแรงอาฆาตเก่า ๆ ได้ จะรู้สึกกันเดี๋ยวนั้นว่า […]

พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ สิ่งที่ต้องทำและข้อห้ามในการทำพิธี มีอะไรบ้าง ธาราญามีคำตอบ

ทำบุญขึ้นบ้านใหม่

พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ จะเน้นปฏิบัติตามหลักความเชื่อของศาสนาพุทธ โดยเจ้าบ้านมักนิมนต์พระสงฆ์มาสวดให้พรและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทำบุญเลี้ยงพระ รวมทั้งร่วมรับประทานอาหารกับแขกที่เชิญมาร่วมงานทำบุญด้วยกัน นอกจากนี้ บางบ้านอาจประกอบพิธีขึ้นบ้านใหม่ตามวิถีไทยโบราณ โดยเตรียมของอย่างอื่นเสริมเข้ามาด้วย ได้แก่ ถุงเงิน ถุงทอง เงินเหรียญจำนวน 108 บาท เงินธนบัตรจำนวน 1,900 บาท ถั่ว งา ข้าว กลีบกุหลาบ กลีบดอกรัก กลีบดอกดาวเรือง กลีบดอกบานไม่รู้โรย เครื่องประดับ เครื่องครัว ถังเปล่า 2 ใบ พระพุทธรูป และชุดธูปเทียน สำหรับขั้นตอนการทำพิธีขึ้นบ้านใหม่แบบไทยนั้น ทำได้ง่าย ๆ เลยครับ ขั้นแรกเลยคือต้องไปวัดเพื่อนิมนต์พระสงฆ์ให้เรียบร้อยก่อน โดยงานบุญแบบนี้เค้าจะนิมนต์พระเป็นจำนวนเลขคี่ครับ (5 รูป, 7 รูป หรือ 9 รูป) ก็ให้นัดแนะสถานที่ วัน และเวลาให้เรียบร้อย หรือถ้ายังไม่มีฤกษ์ดีก็ปรึกษาทางวัดเลยก็ได้ครับ พระท่านจะได้เตรียมพระสงฆ์และรถรับส่งให้พร้อมในวันงาน   เมื่อถึงวันงานก็ให้เตรียมหิ้งพระพุทธ เสื่อและอาสนะสำหรับพระสงฆ์ และอาหารสำหรับถวายพระและเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน โดยเมื่อพระสงฆ์เดินทางมาถึงงานและเจ้าภาพพร้อมแล้ว พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ […]