ผ้าไตร 5 ขันธ์ ผ้าไตร 9 ขันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไร ?

ผ้าไตรจีวร 5 ขัณฑ์และผ้าไตรจีวร 9 ขัณฑ์
ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์ | สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวายผ้าไตร 9 ขัณฑ์

ผ้าไตร จีวร
ผ้า 3 ผืน ที่เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุ และสามเณร คือ

  1. ผ้าสบง (อันตรวาสก) คือ สำหรับผ้านุ่ง คู่กับผ้าจีวร แบ่งย่อยเป็น
    🔸 สบงขัณฑ์ หรือ สบงครอง คือ ผ้ามาตัดออกเป็นขัณฑ์ และนำมาเย็บต่อกันเป็นผืนเดียวกัน พระสงฆ์ใช้ครองในการทำสังฆกรรม ตามพระธรรมวินัย พระสงฆ์สามารถมีได้เพียงผืนเดียว
    🔸 สบงอนุวาต คือ ผ้าผืนเดียวไม่ได้ตัดขาดออกเป็นขัณฑ์ ลักษณะคล้ายผ้าอาบน้ำฝน พระสงฆ์ใช้ครองในการทำสังฆกรรมไม่ได้ พระสงฆ์จะใช้ครองตอนอยู่ในกุฏิ และสามารถมีได้หลายผืน
  2. ผ้าจีวร (อุตราสงค์) คือ ผ้านุ่งห่ม หรือ ผ้าห่มคลุมคู่กับผ้าสบง
  3. ผ้าพาดบ่า (สังฆาฎิ) คือ ผ้าพาดทาบบนผ้าจีวร บนบ่าซ้ายในพิธีสงฆ์

อ่านเพิ่มเติมบความ ผ้ามัสลิน และ ผ้าเทโร นิยมนำมาทำผ้าไตรจีวรนั้นแตกต่างกันอย่างไร ธาราญามีคำตอบ

สีผ้าไตรจีวร
ผ้าไตรจีวรในประเทศไทยมีความหลากหลายในการย้อมสีและการใช้งาน อาจมีมากถึงหลากหลายเฉดสี แต่สีที่นิยมการใช้งานอย่างทั่วไปมีดังนี้

• สีพระราชนิยม (พระราชทาน) เป็นสีกลางของพระสงฆ์ ทั้งมหานิกายและธรรมยุต หรือ
สีเดียวกันกับสังฆราชองค์ปัจจุบันครอง เป็นสีที่พระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9
• สีส้มทอง เป็นสีที่นิยมสำหรับพระสงฆ์มหานิกาย และเป็นสีมาตรฐานที่นิยมทั่วไปตาม
วัดต่าง ๆ
• สีแก่นขนุน เป็นสีที่นิยมสำหรับพระสงฆ์ธรรมยุต ใช้ในวัดหลักๆ เช่น วัดบวรนิเวศ และ
วัดป่ากรรมฐานทั่วไป เป็นต้น
• สีแก่นบวร เป็นสีที่นิยมสำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน

•สีกรัก เป็นอีกสีที่นิยมสำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน หรือวัดแทบภาคอีสาน

•สีกรักแดง (ครูบา) เป็นอีกสีที่เหมาะสำหรับพระครูบา หรือวัดแทบภาคเหนือ

ทั้งนี้ ผ้าไตร 5 หรือผ้าไตร 9 ขัณฑ์ และสีผ้าไตร นั้น จะขึ้นอยู่กับวัด ซึ่งอาจจะใช้กันแตกต่างกันออกไป ควรตรวจสอบก่อนเพื่อความสมบูรณ์ในการถวาย


ไตรครอง
ผ้าไตรครบชุด (7 ชิ้น) ประกอบด้วย
ผ้าสบงขัณฑ์, ผ้าจีวร, ผ้าพาดบ่าหรือสังฆาฏิ (2 ชั้น), อังสะ, รัดประคด, ผ้ารัดอก และผ้ารับประเคนหรือผ้ากราบ
นิยมถวาย งานบวชพระ หรือพิธีมงคลพิเศษ
ไตรเต็ม
ผ้าไตรครบชุด หรือ ไตรใหญ่ (7 ชิ้น) ประกอบด้วย
ผ้าสบงขัณฑ์, ผ้าจีวร, ผ้าพาดบ่าหรือสังฆาฏิ (1ชั้น), อังสะ, รัดประคด, ผ้ารัดอก และผ้ารับประเคนหรือผ้ากราบ
นิยมถวายพระงานมงคลพิเศษ อาทิ งานบวชพระ ทำบุญบ้าน ทำบุญเพื่อบรรพบุรุษหรือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว

🔸ไตรอาศัย หรือ ไตรเล็ก
ผ้าไตรเล็ก หรือ ไตรแบ่ง (3 ชิ้น) เป็นผ้าที่พระสงฆ์เอาไว้ผลัดเปลี่ยน หรือสำรองไว้ใช้ ประกอบด้วย
สบงอนุวาต, จีวร และ อังสะ
นิยมถวายพระงานบุญทั่วไป ใช้ได้ในทุกโอกาส ไม่จำกัด

ผ้าวัสสิกสาฎก หรือ ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง พระสงฆ์สามารถใช้ได้อเนกประสงค์ เช่น นุ่งสรงน้ำ, เช็ดตัว, ปูนอน และห่มคลุมกันหนาว เป็นต้น
นิยมถวายพระ ช่วงก่อนวันเข้าพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

บทความเกี่ยวการถวายสังฆทาน ถวายสังฆทานได้ถึงกี่โมง

ชุดผ้าไตรอันประณีต

 

ชุดผ้าไตรจีวร

ผ้าไตรมัสลิน สีพระราชนิยม 9 ขัณฑ์ ขนาด 1.9 – 2.0 เมตร ** สามารถถวายทำบุญได้ทุกวัด

เชิญดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ชุดผ้าไตรจีวร

ผ้าไตรมัสลิน สีส้มทอง (5 ขัณฑ์) ไตรเต็ม ไตรใหญ่ 7 ชิ้น ไตรอาศัย ไตรแบ่ง ไตรเล็ก 3 ชิ้น

เชิญดูรายละเอียดเพิ่มเติม