ในการถวายเลือกซื้อ ผ้าไตรจีวร ที่จะนำมาถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ หลายท่านยังขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่า ผ้าไตร ที่เราจะนำไปทำบุญหรือถวายแก่ครูบาอาจารย์นั้น ควรใช้ผ้าไตรชนิดไหน แบบใด ในการเลือกซื้อผ้าไตรหากเราเปลือกซื้อควรจะทราบด้วยว่าชุดผ้าไตรที่เราเลือกซื้อไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์นั้นท่าจะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยหรือไม่
พระสงฆ์มีอยู่สองนิกาย
1.พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน
2.พระสงฆ์นิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม
ส่วน ผ้าไตรจีวร นั้นมีอยู่ด้วยกันสอง
แบบที่ 1 ไตรที่ใช้สำหรับการบวชพระ (ไตรใหญ่สีราชนิยม 9 ขันธ์) ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย ใช้ในการบวชพระ
ผ้าไตรจีวรชุดใหญ่ ประกอบด้วย
- สังฆาฏิ 2 ชั้น
- จีวร
- สบงขันธ์
- อังสะ
- ผ้ารัดอก
- ประคดไหม
- ผ้ารับประเคน
ผ้าไตรอาศัย ประกอบด้วย
1. จีวร
2. สบง
3. อังสะ
ใช้ถวายพระสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน หรือสำหรับผัดเปลี่ยนนั่นเอง ไม่สามารถใช้ในพิธีบวชพระได้ ผ้าไตรอาศัย ราคาจะถูกกว่าราคาผ้าไตรจีวรชุดใหญ่ มีหลายท่านที่ยังคงเข้าใจเรื่องการเลือกซื้อผ้าไตรที่จะนำไปถวายแก่พระสงฆ์ที่ผิดอยู่ ผ้าไตรที่วางขายกันอยู่ตามท้องตลาด ราคาประมาณ 800 – 1,000 บาท นั้น เป็น ผ้าไตรจีวรที่ยังไม่ได้มาตรฐาน
เนื้อผ้าที่นำมาตับเย็บอาจจะไม่ได้คุณภาพ อายุการใช้งานอาจจะไม่คงทน หากเราซื้อไปถวายแก่ครูบาอาจารย์ไม่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ตามจุดประสงค์ของผู้นำไปถวาย เพราะขนาดของผ้าไตรอาจจะเล็ก หรือเป็นผ้าที่ตัดเย็บไม่ถูกต้องหลักพระธรรมวินัย เรื่องนี้เราควรจะศึกษาหาความรู้เอาไว้ เพื่อที่เราจะได้จัดซื้อ ผ้าไตรจีวรไปถวายแก่ครูบาอาจารย์ได้ถูกต้อง ถูกชนิด สามารถนำเอาไปใช้งานได้จริง หากไม่เช่นนั้นแล้วสิ่งที่เราทำไปอาจจะได้บุญไม่เต็มที่เพราะการที่เรานำข้าวของไปถวายพระควรจะนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่ถูกนำไปวางทิ้งไม่เกิดประโยชน์
ลักษณะของจีวรนั้นก็เหมือนกับเสื้อผ้าทั่วไป หากเราจะซื้อไปถวายแก่ครูบาอาจารย์เราควรจะเลือกซื้อขนาดที่เหมาะสมแก่ผู้สวมใส่ สิ่งแรกเราควรจะทราบว่าพระภิกษุสงฆ์ที่เราจะเลือกซื้อผ้าไตรถวายนั้นท่านมีส่วนสูงมากน้อยแค่ไหน ท่านเป็นพระภิกษุนิกายไหน ธรรมยุต หรือมหานิกาย เพื่อที่เราจะได้เลือกซื้อสีที่ท่านใช้ให้ถูกต้อง และที่สำคัญในการตัดเย็บต้องถูกหลักพระวินัยด้วย
ในการเลือกซื้อผ้าไตร ผ้าไตรจีวรนั้นเราต้องทราบว่าพระภิกษุท่านมีความสูงเท่าไหร่
- พระภิกษุที่สูงไม่เกิน 160 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 190 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 200 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 210 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้ขนาดความสูง 220 ซม. กว้าง 320 ซม.
หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรมาถวายแก่พระภิกษุโดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้ท่านเลือกซื้อ ผ้าไตรจีวรขนาดความสูง 200 กว้าง 320 ซม. หรือ 210 x 320 เป็นมาตรฐานทั่วไปแก่พระภิกษุสงฆ์
ราคาของ ผ้าไตรจีวรชุดใหญ่ ไตรเต็ม สามารถนำไปใช้ในการบวชพระ แบ่งออกไปตามขนาด ความสูงของพระภิกษุสงฆ์
- ขนาดที่ 1. 180 ซม. x 320 ซม. ราคา 3,750 บาท
- ขนาดที่ 2. 190 ซม. x 320 ซม. ราคา 3,800 บาท
- ขนาดที่ 3. 200 ซม. x 320 ซม. ราคา 3,900 บาท
- ขนาดที่ 4. 210 ซม. x 320 ซม. ราคา 4,000 บาท
- ขนาดที่ 5. 220 ซม. x 320 ซม. ราคา 4,200 บาท
ราคาของ ผ้าไตรจีวรชุดแบ่ง (ไตรอาศัย สีแก่นขนุน) ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัยประกอบด้วย(ตัดเย็บด้วยผ้ามัสลิน)
- จีวร
- ผ้าสบง
- อังสะ
ราคาของ ผ้าไตรจีวร แบ่งขนาดตามความสูงของพระสงฆ์
- ขนาด 180 ซม. x 320 ซม. = 1,800 บาท
- ขนาด 190 ซม. x 320 ซม. = 1,880 บาท
- ขนาด 200 ซม. x 320 ซม. = 2,000 บาท
- ขนาด 210 ซม. x 320 ซม. = 2,200 บาท
- ขนาด 220 ซม. x 320 ซม. = 2,100 บาท
ผ้าไตร นั้นมีขนาดคล้ายกับเสื้อผ้าทั่วไปที่ต้องมีขนาดเหมาะสมแก่พระสงฆ์ที่สวมใส่จึงจะรู้สึกสบายความสูงของพระภิกษุกับขนาดของจีวร
- พระภิกษุสูงไม่เกิน 160 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 190 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุสูง 160 – 170 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 200 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุสูง 170 – 180 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 210 ซม. กว้าง 320 ซม.
- พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างอ้วนใหญ่ ควรใช้ผ้าไตรจีวรขนาดความสูง 220 ซม. กว้าง 320 ซม.
หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตรมาถวายพระภิกษุสงฆ์โดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้เลือกผ้าไตรขนาดความสูง 200 กว้าง 320 ซม. หรือ 210 x 320 เพราะเป็นขนาดมาตรฐาน สามารถนำมาใช้งานได้จริง อย่าเลือกซื้อผ้าไตรจีวรที่ราคาถูกแต่ไม่ได้คุณภาพที่ดี และที่สำคัญหากท่านเลือกซื้อผ้าไตรที่ขาดคุณภาพ เอาแต้ราคาถูก เมื่อเรานำไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์แล้วจะไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ไม่เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ท่านจะได้แต่อานิสงส์ในการถวายผ้าไตรแต่บุญที่ท่านควรจะได้กลับไม่เต็มอย่างที่ท่านต้องการ เพราะสิ่งที่ท่านนำไปทำบุญนั้นไม่เกิดประโยชน์อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ท่านพลาดโอกาสที่ดีในการสร้างบุญกุศล