การทำบุญด้วยสังฆทานอันประณีต ดียังไง ?

การทำบุญ

เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการชำระใจให้บริสุทธิ์สะอาด บุญเป็นความสุขใจที่เกิดขึ้นหลังจากใครก็ตามได้ทำสิ่งที่มีคุณค่าต่อตนหรือต่อผู้อื่น การทำบุญ นั้นไม่ได้ทำแค่กับคนเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง สัตว์ และ สิ่งอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อม

คำว่า บุญ หมายถึง การชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญในงานมงคล หรืออวมงคล ถ้าจะทำให้ถูกต้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือ ความหลง และการทำบุญ คนทั่วไปมักหมายถึง การทำทานนั่นเอง เป็นการให้สิ่งของแกผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ด้วยความเต็มใจ

แต่คำว่า “บุญ” ในทางพระพุทธศาสนา มีความหมายมากกว่าการให้ ซึ่ง “บุญ” ในความหมายของทางพระพุทธศาสนา หมายถึง “ความดี” ฉะนั้นการที่เรากระทำความดี ก็ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งเช่นกัน เพราะความดีนั้นเกิดจากจิตใจที่บริสุทธิ์ เมื่อทำความดีก็จะเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์นั่นเอง

วิธีการทำบุญอย่างง่ายด้วยสังฆทานอันประณีต

วิธี การทำบุญ อย่างง่ายที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ในทุกวัน คือ

         1. การเอื้อเฟื้อ ให้ปัน

         2. การรักษาศีล

         3. การทำใจให้สงบ ทำปัญญา (ความรู้แจ้งเห็นจริง) ให้เกิดขึ้น

         4. การอ่อนน้อมหรือแสดงคารวะ

         5. การขวนขวายในกิจการที่ชอบที่ควร คือ ช่วยผู้อื่น หรือ ช่วยงานสาธารณะ

         6. การให้ส่วนบุญ คือการแบ่งส่วนบุญให้ผู้อื่น

         7. การพลอยยินดีในการทำความดีของผู้อื่น

         8. การฟังธรรมหรือฟังคำแนะนำอันเป็นธรรม

         9. การแสดงธรรมหรือให้คำแนะนำอันเป็นธรรม

         10. การทำความเห็นให้ถูกให้ตรง (ตามทำนองคลองธรรม)

ในทางพระพุทธศาสนาได้วางหลักเกณฑ์การทำบุญไว้ 3 ประการ คือ ทาน ศีล ภาวนา” เรียก “บุญกิริยาวัตถุทาน” แปลว่า การให้ คือ ตั้งใจให้ สละให้ หรือ บริจาค ในทางพระพุทธศาสนา กำหนดวิธีการทำบุญที่เป็นทานไว้หลายอย่าง โดยมีวัตถุประสงค์ของการให้ทานดังนี้

         1. เพื่ออนุเคราะห์ คือ ช่วยเหลือผู้มีความต้องการ เช่น ประสบภัย หรือขาดแคลน หรือได้รับความทุกข์ยาก ด้วยความกรุณา คือคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์

         2. เพื่อสงเคราะห์ คือ เกื้อกูลกันในระหว่างญาติเพื่อนบ้าน มิตรสหาย เป็นการแสดงไมตรีจิตต่อกัน ด้วยความเมตตา คือคิดจะให้เป็นสุข ทั้งข้อ ๑ และ ๒ เป็นการแสดงออกซึ่งความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว

         3. เพื่อบูชาคุณ เช่น บูชาคุณบิดา มารดา ผู้มีอุปการะอื่นๆ รวมทั้งพระภิกษุสามเณร ผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ เป็นการบูชาท่านผู้ควรบูชา 

กล่าวสรุปคือ บุญเป็นทรัพย์ที่ล้ำค่ากว่าเงินทองเพราะเป็นทรัพย์ที่แม้เราสิ้นลมหายใจไปแล้วบุญที่ได้สั่งสมมาก็จะติดตัวไปไม่มีวันหมด “เปรียบเสมือนเครื่องชำระจิตใจให้ใสสะอาด และเป็นบ่อเกิดของความสุขทางใจ บุญกุศลนั้นอุทิศกันได้ แต่ทำให้กันไม่ได้ ดังนั้นต้องหมั่นสร้างเอง และไม่มีสิ่งใดจะเป็นที่พึ่งให้แก่เราได้เท่ากับบุญกุศล”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *